ข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้ ระบุว่าคณะกรรมการสรรหาซีอีโอไมโครซอฟท์ เอนเอียงไปทาง Alan Mulally ซีอีโอของฟอร์ด และผู้บริหารคนใน Satya Nadella
แต่สำหรับสายตาของคนภายนอกบริษัท โดยเฉพาะผู้บริหารหรือผู้นำทางความคิดของวงการไอทีสหรัฐในซิลิคอนวัลเลย์หลายรายที่คุยกับเว็บไซต์ AllThingsD กลับอยากให้ Tony Bates อดีตซีอีโอของ Skype (ปัจจุบันคุมด้านธุรกิจและยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์) เป็นซีอีโอด้วยคะแนนค่อนข้างเป็นเอกฉันท์
ถ้ายังจำกันได้ อดีตผู้บริหารโนเกียเปิดบริษัทใหม่ Newkia สร้างมือถือ Android (ชื่อบริษัทจะไม่ใช่ Newkia แต่ยังไม่เปิดเผย)
ล่าสุดบริษัทหาคนมาเป็นซีอีโอได้แล้วคือ Urpo Karjalainen (ตามภาพ) อดีตผู้บริหารของโนเกียในเอเชียมาตั้งแต่ปี 1997 และเคยเป็นผู้บริหารของ BlackBerry ในเอเชียอยู่ช่วงหนึ่ง นอกจากตำแหน่งซีอีโอแล้วเขาจะมีตำแหน่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมก่อตั้งด้วย
Newkia มีฐานที่มั่นอยู่ในสิงคโปร์ บริษัทให้ข้อมูลว่าจะวางขายมือถือเครื่องแรกในครึ่งหลังของปี 2014
ที่มา - ZDNet
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวภายในของไมโครซอฟท์ว่ากระบวนการสรรหาตัวซีอีโอคนใหม่ตอนนี้เหลือตัวเต็งแค่ 2 คน ได้แก่ Alan Mulally ซีอีโอของฟอร์ด และผู้บริหารคนใน Satya Nadella ที่คุมฝ่ายซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์
ส่วนตัวเต็งคนอื่นๆ ที่เป็นคนในคือ Tony Bates และ Stephen Elop ก็ยังไม่ถึงกับหลุดโผ แต่โอกาสได้เป็นซีอีโอก็น้อยลงมาก อย่างไรก็ตาม กระบวนการคัดเลือกยังไม่นิ่งและก็ยังมีโอกาสที่จะมีบุคคลอื่นเข้ามาให้เลือกเพิ่มเติมอีก
แหล่งข่าวบอกว่าบิล เกตส์ และบอร์ดคนอื่นๆ ได้พูดคุยกับ "ว่าที่ซีอีโอ" หลายคนมาก แต่ก็ยอมรับว่ายังตัดสินใจลำบากเพราะตำแหน่งนี้มีความซับซ้อนสูงมาก หาคนที่เหมาะสมไม่ง่าย
เมื่อต้นเดือนนี้ Acer ประกาศผลประกอบการที่ย่ำแย่ โดยซีอีโอ JT Wang ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ และประธานบริษัท Jim Wong จะมานั่งเป็นซีอีโอแทน
เวลาผ่านมาแค่ 2 สัปดาห์ ปรากฎว่า Jim Wong ก็ตัดสินใจลาออกไปอีกคนโดยไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัด
งานนี้ Stan Shih ผู้ก่อตั้ง Acer จะกลับมานั่งเป็นประธานบอร์ดและประธานบริษัทชั่วคราว โดย Acer จะยุบตำแหน่งซีอีโอทิ้งไปเหลือแค่ประธานบริษัทตำแหน่งเดียว และบริษัทจะสรรหาตัวประธานบริษัทคนใหม่มารับหน้าที่แทน Shih ในเร็วๆ นี้
Shih ประกาศว่าจะไม่รับเงินเดือน และดึง George Huang ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอีกคนเข้ามาอยู่ในทีมบริหารเพื่อกอบกู้วิกฤตของบริษัทด้วย
เมื่อวานนี้มีประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของไมโครซอฟท์ ซึ่งบิล เกตส์ ก็ได้เปิดใจพูดกับผู้ถือหุ้นในประเด็นเรื่องการหาตัวซีอีโอคนใหม่ของบริษัท
เกตส์บอกว่าเขาและบอร์ดมีพันธะผูกผันในการหาตัวซีอีโอคนใหม่ที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อบริษัทที่เขารัก เขามีความมุ่งมั่นว่าไมโครซอฟท์จะต้องเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ และทำให้โลกนี้ดีขึ้น
เขายังบอกว่าวัฒนธรรมของไมโครซอฟท์อาจแปลกไปจากทั่วไป เพราะตั้งบริษัทมา 38 ปีเพิ่งมีซีอีโอเพียงแค่สองคน แต่บอร์ดก็จะมองหาคนที่มีประสบการณ์ในการบริหาร "องค์กรด้านเทคโนโลยี" (technological organization) และโอกาสของไมโครซอฟท์ในโลกคอมพิวเตอร์ยังมีอีกมากในอนาคต ที่ผ่านมาเป็นแค่เพียงส่วนเล็กๆ ของโลกคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ข่าวนี้ใกล้เคียงกับข่าวลือก่อนหน้านี้ว่า ไมโครซอฟท์จะตั้ง Kevin Turner เป็นซีอีโอชั่วคราว ก่อนส่งไม้ต่อให้ Stephen Elop
เว็บไซต์ AllThingsD "อ้าง" ข้อมูลวงในจากผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์หลายคนว่า ความเห็นส่วนใหญ่ของผู้บริหารไมโครซอฟท์คือควรตั้งซีอีโอผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ มีความเป็นผู้นำสูง เข้ามาดูแลบริษัทในช่วงเปลี่ยนผ่านไปยังทิศทางที่เหมาะสมไปก่อน และระหว่างนั้นก็ฝึกผู้บริหารคนในให้พร้อมต่อการเป็นซีอีโอคนต่อไป
Wall Street Journal มีบทสัมภาษณ์เบื้องหลังการตัดสินใจลงจากตำแหน่งซีอีโอของสตีฟ บัลเมอร์ ที่เกิดจากความตั้งใจเปลี่ยนแปลงไมโครซอฟท์ของเขาเอง แต่การเปลี่ยนแปลงกลับเกิดขึ้นได้ช้ากว่าที่เขาคาด จนเขารู้สึกว่าปัญหาส่วนหนึ่งก็เกิดจากตัวเขาเองด้วยและตัดสินใจออกจากตำแหน่งเพื่อเร่งให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น
เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ที่บัลเมอร์เริ่มคิดถึงการยกเครื่องไมโครซอฟท์ครั้งใหญ่ (ต้นฉบับใช้คำว่า reboot) เขาปรึกษากับ Allan Mulally ซีอีโอของ Ford ในช่วงคริสต์มาสเป็นเวลา 4 ชั่วโมง โดยบัลเมอร์นำสินค้าของไมโครซอฟท์และคู่แข่งไปขอความเห็นจาก Mulally และ Mulally ก็เล่าให้บัลเมอร์ฟังว่าเขาพลิกฟื้นกิจการของ Ford ด้วยการทำงานเป็นทีมและการทำให้แบรนด์ของ Ford เรียบง่ายขึ้น
เว็บไซต์ WPDang ของจีนรายงานจากแหล่งข่าววงในที่ไม่ประสงค์ออกนามว่า ไมโครซอฟท์จะตัดสินใจให้ Kevin Turner ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็น COO ของไมโครซอฟท์มาทำหน้าที่เป็นซีอีโอชั่วคราวของไมโครซอฟท์ประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะยกตำแหน่งนี้ให้ Stephen Elop อีกทอดหนึ่ง
ทั้งนี้แหล่งข่าวดังกล่าวยังไม่ได้รับการยืนยันจากไมโครซอฟท์ ขณะที่เว็บไซต์ Windows Phone Central ได้ให้ระดับความน่าเชื่อถือของข่าวลือนี้อยู่ที่ 5 เต็ม 10 ครับ
ที่มา: Windows Phone Central
Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวภายในไมโครซอฟท์ว่า กระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่นั้นตอนนี้เหลือตัวเลือกอยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว (ข่าวก่อนหน้านี้มี 10 คน)
โดยกลุุ่มบุคคลจากภายนอกนั้นเหลืออยู่ 5 คน ซึ่งรวมถึง Alan Mulally ซีอีโอฟอร์ด, Stephen Elop อดีตซีอีโอโนเกีย ส่วนคนในไมโครซอฟท์นั้นเหลืออยู่อย่างน้อย 3 คนคือ Tony Bates อดีตซีอีโอ Skype และ Satya Nadella หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร ส่วนอีกหนึ่งคนไม่มีการเปิดเผยชื่อ
ที่มา: Reuters
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ BlackBerry คือ Fairfax ขอร่วมทุนแทนซื้อหุ้น และปลดซีอีโอ Thosten Heins ซีอีโอรักษาการที่มาแทนคือ John Chen อดีตซีอีโอของบริษัทฐานข้อมูล Sybase
John Chen ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ Reuters ว่าเขาเคยผ่านสถานการณ์กู้วิกฤตของ Sybase มาแล้วในปี 1998 ซึ่งเขาสามารถพลิกฟื้นกิจการที่ขาดทุนภายในหนึ่งปี และขายบริษัทให้ SAP ในราคาหลายพันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2010
ผู้บริหารระดับสูงของ HTC ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times (ต้องสมัครสมาชิกจึงอ่านได้) มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
John Sculley อดีตซีอีโอของแอปเปิลในปี 1983-1993 (ผู้ไม่ได้ไล่ Steve Jobs ออก) กล่าวชื่นชมการทำงานของ Tim Cook ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งซีอีโอครบรอบ 2 ปี หลังจากมีหลายเสียงวิจารณ์การทำงานของ Tim Cook
หลังจากการเปิดตัวสินค้าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา มีหลายเสียงวิจารณ์การทำงานของ Tim Cook ว่าไม่มีนวัตกรรมใหม่หรืออะไรที่ทำให้ตื่นเต้นเท่ายุคของ Steve Jobs แต่ John Sculley ได้กล่าวชม Tim Cook ว่า "Tim Cook ทำงานได้ยอดเยี่ยม เขาไม่พยายามเป็น Steve Jobs มีเพียงคนเดียวที่จะเป็น Steve Jobs ได้ นั่นคือตัวของ Steve เอง"
Wall Street Journal รายงานข่าววงในจากกระบวนการสรรหาซีอีโอไมโครซอฟท์คนใหม่ ว่ามีตัวเลือกขั้นต้นเป็นคนในอย่างน้อย 2 ราย และคนนอกอีกอย่างน้อย 8 ราย
รายชื่อคนนอกที่เข้าข่ายได้แก่ Alan Mulally (ซีอีโอ Ford), Mark Hurd (ประธานบริษัท Oracle), Stephen Elop (ผู้บริหารโนเกีย), Charles Phillips (Infor), Paul Maritz (Pivotal)
ส่วนรายชื่อคนในคือ Tony Bates (อดีตซีอีโอ Skype) และ Satya Nadella (หัวหน้าทีมวินโดวส์คนปัจจุบัน)
สถานะตอนนี้คือคณะกรรมการสรรหาตัวบุคคลเริ่มไปพูดคุยและสัมภาษณ์บุคคลข้างต้นบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีใครได้รับการทาบทามอย่างเป็นทางการและเข้าไปคุยกับบอร์ดไมโครซอฟท์แบบเต็มคณะ
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า Mike Lazaridis ผู้ก่อตั้ง BlackBerry สนใจซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทคืนเพื่อออกจากตลาดหลักทรัพย์ ล่าสุดเริ่มมีความเคลื่อนไหวแล้วครับ
Mike Lazaridis ยื่นเอกสารแจ้งต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) เพื่อเตรียมการเสนอซื้อหุ้นของ BlackBerry (ส่วนที่อยู่ในตลาดสหรัฐ) แล้ว โดยเขาจะร่วมมือกับ Doug Fregin ผู้ก่อตั้งบริษัทอีกคนหนึ่ง ทำให้มีหุ้นในมือทั้งหมดประมาณ 8% หรือประมาณ 41.7 ล้านหุ้น
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดของไมโครซอฟท์ว่า ทางบอร์ดของไมโครซอฟท์กำลังพิจารณาว่าที่ซีอีโอคนถัดไปของไมโครซอฟท์ภายหลังที่ Steve Ballmer ประกาศเตรียมลงจากตำแหน่งซีอีโอภายใน 12 เดือน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้
ในรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์กระบุว่า ในรายชื่อว่าที่ซีอีโอคนถัดไปของไมโครซอฟท์ มีคนปฏิเสธที่จะย้ายมาเป็นซีอีโอของไมโครซอฟท์เช่น John Donahoe ซีอีโอของ Ebay, Charles Giancarlo อดีตผู้บริหารของ Cisco (ปัจจุบันทำงานในบริษัทลงทุนด้านเทคโนโลยี Silver Lake)
ยักษ์สื่อสารจีน Huawei ประกาศใช้นโยบาย "ซีอีโอหมุนเวียน" (Rotating CEO) โดยจะให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร 3 คนสลับกันนั่งเก้าอี้ซีอีโอกันคนละ 6 เดือน
เป้าหมายของยุทธศาสตร์นี้เพื่อให้ตำแหน่งซีอีโอเป็นเก้าอี้ชั่วคราว ไม่ยึดติดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คนที่มาเป็นซีอีโอในช่วงนั้นจะยังทำงานในตำแหน่งเดิมของตัวเองต่อไป แต่จะเพิ่มหน้าที่นำการประชุมกับบอร์ดและทีมผู้บริหาร รวมถึงเป็นแกนหลักด้านการปฏิบัติงานและแก้ปัญหายามเกิดวิกฤตเข้ามา
จากข่าวลือ Alan Mulally ซีอีโอของ Ford เป็นตัวเต็งซีอีโอไมโครซอฟท์ ล่าสุด Mulally ออกมาให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ USA Today สั้นๆ ว่าเขายังมีความสุขดีกับ Ford และไม่มีแผนการอื่นใดนอกจากการเป็นซีอีโอของ Ford ต่อไปจนถึงปี 2014
เขาพูดถึงไมโครซอฟท์ว่าเป็นคู่ค้าที่ดีเยี่ยมในการพัฒนาระบบ Ford Sync ร่วมกัน เขาบอกว่า Ford เป็นบริษัทที่สนใจเทคโนโลยีด้านไอที เพราะมันเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ของ Ford และผลก็ออกมาแล้วว่าลูกค้าชอบฟีเจอร์เหล่านี้
ที่มา - USA Today
The Globe and Mail หนังสือพิมพ์รายใหญ่ของประเทศแคนาดา เจาะลึกเบื้องหลังความตกต่ำ ความล่าช้า ความผิดพลาดของ BlackBerry ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา
The Globe and Mail ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้บริหารและอดีตผู้บริหารหลายคน โดยผู้บริหารคนสำคัญที่ให้สัมภาษณ์คือ Mike Lazaridis ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอร่วมของบริษัท
บทสัมภาษณ์ชุดนี้ชี้ให้เห็นความแตกแยกเชิงโครงสร้างของบริษัทเอง และแนวทางที่ไม่ตรงกันของทั้งอดีตซีโอร่วมสองคนคือ Mike Lazaridis/Jim Balsillie กับซีอีโอคนปัจจุบัน Thorsten Heins
ไมโครซอฟท์มีธรรมเนียมการจัดประชุมใหญ่ประจำปีของบริษัท ที่เชิญพนักงานเข้าร่วมรับฟังผู้บริหารระดับสูงบอกเล่ายุทธศาสตร์ของบริษัทในอีก 1 ปีข้างหน้า
แต่การประชุมของปีนี้พิเศษหน่อยเพราะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายที่สตีฟ บัลเมอร์ จะขึ้นเวทีในฐานะซีอีโอ (หลังอยู่กับบริษัทมานาน 33 ปี)
เว็บไซต์ AllThingsD อ้างแหล่งข่าววงในว่าตอนนี้ "ตัวเต็ง" ว่าที่ซีอีโอคนใหม่ของไมโครซอฟท์คือ Alan Mulally ซีอีโอคนปัจจุบันของบริษัทรถยนต์ Ford โดยน้ำหนักเริ่มเทมาทาง Mulally มากกว่า Stephen Elop แล้ว
Mulally แสดงความเห็นทางอีเมลมายัง AllThingsD ว่าในตอนนี้เขาโฟกัสเฉพาะการทำงานที่ Ford เท่านั้น และแหล่งข่าวของ AllThingsD ก็ระบุว่าไมโครซอฟท์ยังไม่ได้เริ่มการทาบทาม Mulally อย่างเป็นทางการ
นี่เป็นข่าวสุดท้ายในซีรีย์เก็บตกงานประชุมกับนักวิเคราะห์ทางการเงินที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้น
สำหรับข่าวนี้จะพูดถึงสิ่งที่ สตีฟ บัลเมอร์ รู้สึกเสียดายมากที่สุดในยุคของเขาครับ
ไมโครซอฟท์จัดงานประชุมกับนักวิเคราะห์ทางการเงิน อธิบายแผนการและสภาพธุรกิจของบริษัทหลายอย่าง
ประเด็นสำคัญที่สุดที่ทุกคนอยากรู้ย่อมเป็นเรื่องซีอีโอคนใหม่ ซึ่งบัลเมอร์บอกว่ายังอยู่ระหว่างกระบวนการสรรหาโดยบอร์ด (เช่นเดิม) เขายังเล่าเรื่องส่วนตัวว่ารู้สึกแปลกๆ เล็กน้อยที่ประกาศเกษียณอายุไปแล้วแต่ยังไม่มีผู้สืบทอด และหลังจากเกษียณไปแล้วเขาจะยังถือหุ้นไมโครซอฟท์ 4% โดยยังไม่คิดขายออกไปในระยะอันใกล้นี้ และทรัพย์สินของเขา 70% มาจากไมโครซอฟท์
บัลเมอร์ยังบอกใบ้ (รึเปล่า?) ว่าบอร์ดแนะนำให้เขาไปคุยกับผู้บริหารขององค์กรอื่นๆ เพื่อหาคนที่เหมาะสมมาสืบทอดอำนาจ แต่เขาลองไปคุยดูแล้วก็พบว่าผู้บริหารคนในของไมโครซอฟท์เก่งกว่ามาก
ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เอกสารของโนเกียที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ ระบุว่าซีอีโอ Stephen Elop จะได้เงินชดเชยในการเปลี่ยนงานจากโนเกียไปไมโครซอฟท์ราว 18.8 ล้านยูโร (เกือบ 800 ล้านบาท) โดยจะจ่ายเมื่อการควบกิจการเสร็จสมบูรณ์
เงินจำนวนนี้ประกอบด้วยเงินเดือน 4.1 ล้านยูโร ผลประโยชน์อื่นอีก 1 แสนยูโร และที่เหลือคือหุ้นมูลค่าประมาณ 14.6 ล้านยูโร (มูลค่าอาจเปลี่ยนแปลงตามราคาหุ้นในอนาคต) โดยคนจ่ายเงินจริงๆ คือไมโครซอฟท์จ่ายประมาณ 70% ส่วนโนเกียจ่ายอีก 30%
ค่ายเกมยักษ์ใหญ่ EA ประกาศชื่อซีอีโอคนใหม่ที่มาแทน John Riccitiello ซีอีโอคนเดิมที่ลาออกไปเมื่อเดือนมีนาคม หลังผลประกอบการย่ำแย่ติดต่อกัน
รอบนี้บอร์ดของ EA เลือก Andrew Wilson ผู้บริหารคนในที่ทำงานกับบริษัทมาตั้งแต่ปี 2000 โดยเขามีประสบการณ์คุมทีมพัฒนาเกมมาอย่างโชกโชน เริ่มจากเกมตระกูล FIFA, กลุ่มเกมออนไลน์ฝั่งเอเชียและสตูดิโอของ EA ในเกาหลีใต้ ตำแหน่งก่อนหน้านี้ของเขารับงานใหญ่อย่างเกมกีฬาตระกูล EA SPORTS ทั้งหมด รวมถึงแพลตฟอร์มขายเกมดิจิทัล Origin อีกด้วย
Reuters อ้างแหล่งข่าววงในเกี่ยวกับการคัดหาซีอีโอคนใหม่ของไมโครซอฟท์