Tags:
Node Thumbnail

The New York Times มีบทสัมภาษณ์ Stephen Wolfram เกี่ยวกับภาษา Wolfram Language ที่เปิดตัวในปี 2013 เพื่อเป็นภาษาที่ใช้ประมวลผลความรู้ประเภทต่างๆ

Tags:
Node Thumbnail

Wolfram Research เจ้าของระบบฐานข้อมูลความรู้ Wolfram Alpha เปิดตัวระบบปัญญาประดิษฐ์ใหม่ชื่อ Wolfram Language Image Identification Project ซึ่งมีความสามารถในการตอบว่าภาพที่เราอัพโหลดเข้าไป เป็นภาพของอะไร?

ระบบดังกล่าวใช้ฟังก์ชันที่ชื่อ ImageIdentify ซึ่งรวมอยู่ใน Wolfram Language ในการทำงาน โดย Stephen Wolfram ซีอีโอ Wolfram Research บอกว่ามันยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก แต่ก็ทำงานออกมาได้ดีพอสมควร

ไปทดสอบความแม่นยำของ ImageIdentify กันได้ที่เว็บ Image Identification Project ส่วนใครที่สนใจรายละเอียดการทำงานก็เข้าไปอ่านต่อได้จากที่มาครับ

Tags:

ซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์ Mathematica ประกาศออกเวอร์ชันเว็บแอพแล้ว หลังจากมีแต่ซอฟต์แวร์แบบเดสก์ท็อปเพียงอย่างเดียวมานานหลายปี

Mathematica เวอร์ชันเว็บใช้ชื่อว่า Mathematica Online มันสามารถทำงานได้เหมือน Mathematica เวอร์ชันเดสก์ท็อปเกือบทุกประการ ยกเว้นงานประมวลผลบางอย่างที่อาจตอบสนองเร็วสู้เวอร์ชันเดสก์ท็อปไม่ได้

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน Mathematica เวอร์ชันออนไลน์คือเราสามารถสร้างกราฟหรือสมการขั้นสูง แล้วนำมา embed บนเว็บไซต์อื่นๆ รวมถึงการเก็บไฟล์บน Wolfram Cloud ได้ด้วย (อนาคตยังสามารถเก็บไฟล์บน Wolfram Private Cloud สำหรับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่เก็บไฟล์)

Tags:
Node Thumbnail

Stephen Wolfram แห่ง Wolfram Alpha ประกาศโครงการใหม่ชื่อ Wolfram Connected Devices Project ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่เก็บรายละเอียดของอุปกรณ์ใดๆ ในโลกที่ต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ นาฬิกา อุปกรณ์ด้านการแพทย์หรือกีฬา ฯลฯ

เป้าหมายของโครงการนี้คือต้องการให้อุปกรณ์ทุกประเภทสามารถสื่อสารกับภาษาโปรแกรม Wolfram Language ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้บรรยาย-พรรณนาข้อมูล แต่จุดเริ่มต้นก็ต้องทราบก่อนว่าอุปกรณ์ที่จะคุยกันมีข้อมูลทางเทคนิคอย่างไรบ้าง

Tags:
Node Thumbnail

Wolfram เปิดตัว Wolfram Language มาแล้วก่อนหน้านี้ แต่แทบไม่มีรายละเอียดใดๆ ตอนนี้ทาง Wolfram ก็เปิดตัวออกมาเป็นทางการและเปิดรายละเอียดทั้งหมดแล้ว พร้อมกับประกาศว่าจะเปิดให้ผู้ใช้ Raspberry Pi ดาวน์โหลดไปใช้ฟรีเฉพาะการใช้งานเพื่อการศึกษา

Wolfram Language ที่จริงแล้วเป็นภาษาที่เกือบจะเหมือนกับ Mathmatica ทั้งชุด แต่มีฟังก์ชั่นเรียกข้อมูลกว่า 5,000 ฟังก์ชั่น เรียกข้อมูลจาก Wolfram|Alpha ออกมาได้ เช่น การดึงข้อมูลตลาดหุ้นก็สามารถดึงได้ภายในฟังก์ชั่นเดียวเท่านั้น

Tags:

Wolfram ผู้ผลิตโปรแกรม Mathematica และผู้ให้บริการ Wolfram|Alpha เตรียมเปิดบริการใหม่ เป็นภาษาเขียนโปรแกรมชื่อว่า Wolfram Language ที่ใช้ประมวลความรู้เข้ามาเป็นโค้ด

ความพิเศษของ Wolfram Language คงเป็นการดึงเอาความสามารถของ Wolfram|Alpha เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาษา ทำให้มีความสามารถในการประมวลภาษาธรรมชาติอยู่บางส่วน เช่น การประมวลวันที่และเวลาก็สามารถใส่ได้หลายรูปแบบเท่าที่จะระบุวันเวลาได้ถูกต้อง ขณะที่ตัวภาษายังใช้สร้างหน้าจอรับอินพุตและแสดงผลได้

Tags:
Node Thumbnail

เว็บไซต์ Wolfram Alpha ที่เรียกตัวเองว่าเป็น "knowledge engine" (ล้อเลียนมาจาก search engine) เปิดบริการวิเคราะห์การใช้งานเว็บเฟซบุ๊กอย่างละเอียด เมื่อผู้ใช้ค้นหาคำว่า "facebook report"

ผู้ใช้ที่ต้องการวิเคราะห์การใช้งานของตัวเองจะต้องให้สิทธิ์ Wolfram Alpha เข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก ยกเว้นข้อมูลเฉพาะบางอย่างเท่านั้น แต่บทวิเคราะห์ก็ละเอียดมากเช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

Wolfram|Alpha บริการค้นหาข้อมูลเชิงสถิติออกฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ส่วนตัวโดยใช้ข้อมูลจากบัญชี Facebook เป็นฐานข้อมูล

วิธีใช้งานฟีเจอร์นี้ทำได้โดยพิมพ์คำสั่ง "facebook report" ลงไปบนช่องค้นหา และเชื่อมต่อบัญชีเข้ากับบริการ จากนั้น Wolfram|Alpha จะแสดงผลข้อมูลพื้นฐานของเราเช่น อายุเท่าไร เกิดเมื่อไร อีกนานแค่ไหนจะถึงวันเกิด และซับซ้อนมากขึ้นอย่างการระบุว่าเพื่อนเราอยู่ในประเทศใดบ้าง อายุเฉลี่ยเท่าไร เล่นเวลาไหน ผ่านแอพอะไร ทำอะไรบ้าง ฯลฯ

Tags:

Wolfram|Alpha มีแอพเวอร์ชันมือถือมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว (มีบน iOS และ Android - รายละเอียด)

ล่าสุดบริษัทประกาศออกแอพเวอร์ชันพีซีเพิ่มเติม ความสามารถทัดเทียมกันแต่ปรับแต่งส่วนติดต่อผู้ใช้ให้เหมาะกับหน้าจอของพีซีที่กว้างกว่าอุปกรณ์พกพา ในเว็บของ Wolfram|Alpha บอกว่ารองรับ Windows 7 เพียงรุ่นเดียว แต่ผมก็เข้าใจว่าน่าจะทำงานบนวินโดวส์รุ่นเก่าๆ ได้ด้วยนะครับ

แอพตัวนี้ขายในราคา 2.99 ดอลลาร์ โดยจับมือกับอินเทลขายบน AppUp Center (ลิงก์ไปยังแอพ)

Tags:

Wolfram Alpha มีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเริ่มขยายอาณาจักรจากสมการคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงสถิติ มายังข้อมูลเป็นตัวอักษรบ้างแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

หนังสือพิมพ์ The New York Times มีบทสัมภาษณ์ Stephen Wolfram นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้าง Mathematica และ Stephen Wolfram ถึงแผนธุรกิจของ Wolfram Alpha Pro ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันก่อน

แต่ข้อมูลที่น่าสนใจคือสถิติการใช้งานของ Wolfram Alpha ในเชิงธุรกิจ โดยลูกค้ารายใหญ่ในตอนนี้คือแอปเปิล ซึ่งดึงข้อมูลจาก Wolfram Alpha มาใช้กับ Siri (25% ของการค้นหาข้อมูลใน Wolfram Alpha มาจาก Siri)

Tags:

Wolfram|Alpha ระบบค้นหาและฐานข้อมูล กำลังจะเพิ่มบริการรุ่น Pro ในวันพรุ่งนี้ (8 ก.พ.)

ความสามารถของรุ่น Pro ได้แก่

  • ดาวน์โหลดผลลัพธ์ออกมาเป็นไฟล์ CDF ซึ่งเป็นฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลของ Wolfram และดาวน์โหลดข้อมูลแบบ raw ได้
  • ดาวน์โหลดกราฟิกผลลัพธ์ในฟอร์แมตอื่นๆ เช่น ภาพแบบเวกเตอร์
  • ปรับแต่งภาพกราฟิกได้ เช่น ปรับขนาด เปลี่ยนสี เปลี่ยนชื่อกราฟ
  • เพิ่มคีย์บอร์ดสำหรับใส่ตัวอักษรพิเศษ
  • ค้นหาข้อมูลด้วยภาพ (แบบเดียวกับ Google Image)

ในเบื้องต้นจะตั้งราคา 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับคนทั่วไป และ 2.99 ดอลลาร์สำหรับนักเรียนครับ

Tags:
Node Thumbnail

Wolfram|Alpha บริการค้นข้อมูลเชิงสถิติที่สามารถแยกแยะคำค้นด้วยภาษาธรรมชาติ (และเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่ Siri ของแอปเปิลใช้หาคำตอบให้แก่ผู้ใช้) ประกาศเพิ่มสถิติการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล NFL ย้อนหลัง 25 ปี เข้ามาเป็นอีกหนึ่งฐานข้อมูลอ้างอิง

Wolfram|Alpha พยายามเพิ่มฐานข้อมูลเชิงสถิติมาแล้วหลายครั้ง เช่น ข้อมูลด้านการศึกษาของโรงเรียนในสหรัฐ, ข้อมูลของสปีชีส์เชิงชีววิทยา แต่รอบนี้เป็นการเพิ่มข้อมูลที่ใกล้ตัวหน่อย ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องบันเทิงเริงใจ ไม่ได้วิชาการมาก แต่ก็ย่อมเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ดีแน่นอน

ผู้ใช้ Wolfram|Alpha ตอนนี้สามารถเทียบสถิติของนักกีฬา NFL ที่ตัวเองสนใจได้ หรือค้นหาเกมการแข่งขันที่มีสถิติเข้าตามเงื่อนไขที่ตัวเองต้องการได้

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์เตรียมอัพเดต Bing สัปดาห์หน้า โดยจะให้ Wolfram Alpha เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลสุขภาพและด้านโภชนาการแล้วส่งมาแสดงผลบน Bing นอกจากนั้นจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่จะแสดงข้อมูลสภาพอากาศและงานแสดงนิทรรศการของท้องถิ่น และปรับปรุงฟีเจอร์เดิม ได้แก่ Bing Shopping และการพรีวิวเว็บไซต์ก่อนที่จะเราจะคลิกลิงก์ลงไป โดยจะเริ่มเปิดให้กับบางกลุ่มผู้ใช้ก่อน แล้วจะเปิดให้ผู้ใช้ทั้งหมดในอีกหลายสัปดาห์ต่อจากนั้น

ในที่สุดก็มีความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับ Wolfram Alpha จริงๆ เป็นไปตามข่าวลือก่อนหน้านี้ (ดูข่าวเก่า)

ที่มา: ZDNet

Tags:
Node Thumbnail

มีข่าวลือว่า ไมโครซอฟท์ได้บรรลุข้อตกลงกับ Wolfram Research ผู้พัฒนา Wolfram Alpha ในการใช้ผลลัพธ์การคำนวณโดยการประมวลผลบางอย่างจากทาง Wolfram Alpha ไปแสดงบน Bing ได้

โดยทั้งสองได้ปฏิเสธที่จะให้ความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับข่าวดังกล่าว

นอกจากนั้นคุณ Stephen Wolfram ผู้ก่อตั้งยังกล่าวในบล็อกส่วนตัวของเขาว่าปัญหาทางด้านภาษาศาสตร์ทำให้ Wolfram Alpha ไม่เข้าใจคำค้นที่ส่งเข้ามา จึงไม่สามารถส่งผลลัพธ์กลับไปได้ แต่ทางทีมพัฒนากำลังการปรับปรุงอยู่ คงต้องใช้เวลาซักพักหนึ่ง

Tags:

C|Net ได้อ้างข่าวตาม Guardian ว่า Wolfram Alpha "ระบบค้นหาความรู้ด้วยการคำนวณ" (computational knowledge engine) จากผู้ผลิตโปรแกรม Mathematica ได้เปิด API เพื่อให้นักพัฒนาสามารถดึงข้อมูลไปแสดงบนหน้าเว็บหรือโปรแกรมของตัวเองได้

Tags:
Node Thumbnail

ดูเหมือนว่างานจะเข้าสำหรับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เสียแล้ว เมื่อนักศึกษาของตัวเองเริ่มใช้ Wolfram Alpha ในการทำการบ้านแทนที่จะคิดเองทำเอง ทำให้ศาสตราจารย์หลาย ๆ คนเริ่มกังวลว่าจะมีผลกับขั้นตอนในการเรียน

สำหรับ Wolfram Alpha เองนั้น มีเป้าหมายที่จะนำการประมวลผลคณิตศาสตร์ขั้นสูงเข้าสู่สาธารณะชนทั่วไป โดยผู้ใช้สามารถที่จะป้อนข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษแล้วมีคำตอบออกมาให้ในทันที ทำให้ศาสตราจารย์หลาย ๆ คนเริ่มกังวล

Tags:
Node Thumbnail

สร้างความฮือฮาอยู่ในปัจจุบันนี้กับระบบค้นหาตัวใหม่อย่าง Wolfram Alpha ที่ใช้เปลี่ยนระบบการค้นหาเดิมๆ เป็นการตอบปัญหาแทน ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการเทคโนโลยีเลยทีเดียว

หลังจากที่เปิดตัวไม่ถึงอาทิตย์ได้มีนักพัฒนาที่ชื่อว่า Richard Berry ทำส่วนเสริมขึ้นมาเพื่อให้ผลการค้นหาจาก Wolfram Alpha จะไปปรากฏขึ้นด้านขวาของหน้าจอ เมื่อคุณใช้กูเกิลในการค้นหา

ส่วนเสริมตัวนี้ตัวนี้สามารถโหลดได้ที่ Wolfram Alpha Google Add-on โดยรองรับบราวเซอร์อย่างไฟร์ฟอกซ์ตั้งแต่รุ่น 2.0 - 3.5 เลยทีเดียว โดยการจะลงส่วนเสริมตัวนี้จะต้องแสดงความยินยอมในการใช้งานโดยการเพื่อให้สามารถลงได้ตามปกติ

Tags:

วันนี้ Wolfram Alpha ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วครับ ถึงแม้จะช้าไปกว่ากำหนดการเดิมเล็กน้อย

Tags:

Wolfram Alpha เสิร์ชเอ็นจิ้นรูปแบบใหม่ที่กำลังเปิดตัวในเดือนนี้ พัฒนาจากคุณ Stephen Wolfram (ผู้พัฒนาโปรแกรม Mathematica โปรแกรมคำนวณสูตรคณิตศาสตร์ชื่อดัง) ผู้พัฒนาเรียกมันว่าเป็น "Computational Knowledge engine"
มันไม่ใช่เสิร์ชเอ็นจิ้นในรูปแบบ Google ที่พยายามค้นหาหน้าเว็บที่คาดว่าจะมีคำตอบให้กับผู้ใช้ แต่มันจะพยายามค้นหาคำตอบให้กับสิ่งที่คุณถามโดยตรง