KBTG บริษัทเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย นำโดย นายเรืองโรจน์ พูนผล หรือกระทิง ประธาน KBTG จัดแถลงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต ระบุว่า ตอนนี้ KBTG กำลังเข้าสู่การปรับตัว หรือ Digital Transformation เฟสสองแล้ว หลักๆคือ การนำระบบ Automation มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์, สร้าง AI Factory และการเข้าสู่วงการ DeFi หรือ Decentralized Finance
ธนาคารกสิกรไทย เผยมียอดโอนเงินต่างประเทศผ่าน K PLUS ปีที่แล้ว ถึง 8,000 ล้านบาท หรือโตกว่า 165% เตรียมเปิดให้โอนไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีมูลค่าการโอนออกสูงเป็นอันดับ 2 และ 3 ของประเทศไทย คาดจะมียอดธุรกรรมรวมกว่า 10,000 ล้านบาทในสิ้นปี
หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS เทียบได้กับแบงค์ชาติของสิงคโปร์) ออกประกาศแนะนำให้คนสิงคโปร์หันมาแจก "อั่งเปาดิจิทัล" แทนการแจกเงินสดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
MAS ให้เหตุผลว่า อั่งเปาดิจิทัล (e-hong bao) สามารถส่งให้กันได้จากระยะไกล ไม่จำเป็นต้องมาเจอกันจริงๆ จะจัดงานพบหน้าผ่านออนไลน์แล้วส่งอั่งเปาให้กันก็ได้ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม ลดปริมาณการพิมพ์ธนบัตรใหม่ด้วย ซึ่ง MAS ก็กระตุ้นให้บริษัทฟินเทคในสิงคโปร์พัฒนาการส่งของขวัญออนลไน์ (e-gifting) มาสักระยะหนึ่งแล้ว
ส่วนคนที่ยังต้องการธนบัตรใหม่ไปใส่ซองแจกในวันตรุษจีน MAS ก็ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์ ต้องจองคิวล่วงหน้าก่อนไปรับธนบัตรใหม่ที่สาขาของธนาคาร
วันนี้ 16 ธันวาคม รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 2 พบปัญหาไม่สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง ของธนาคารกรุงไทยได้ โดยระบบแจ้งว่าเป็นเพราะมีผู้ใช้งานจำนวนมาก
ผู้ใช้งานต้องกดยืนยันเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งผ่านแอป เป๋าตัง และยังเป็นแอปวอลเลตไว้ใช้จ่ายในโครงการคนละครึ่งด้วย
TMB ธนาคารทหารไทย เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Business ONE เจาะกลุ่มธุรกิจรายย่อยหรือคนทำธุรกิจ แสดงแดชบอร์ดบัญชีของธุรกิจตนเอง รวมถึงจัดการธุรกรรมการเงินหลายครั้งได้บนแพลตฟอร์ม โดยมีฟังก์ชั่นเด่นๆ ดังนี้
หน้าการใช้งานหลักของ Business ONE คือ MainDashboard มี Quick Menu ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งนำเมนูที่ใช้งานบ่อยขึ้นมาอยู่ด้านบนสุดได้ และมีแดชบอร์ดมองเห็นยอดเงินสดคงเหลือ แสดงการเคลื่อนไหวบัญชีในรูปแบบกราฟ สามารถกดดูแต่ละจุดได้ว่าในกราฟประกอบด้วยยอดโอนเข้า-ออกเท่าไร, ฟีเจอร์ปฏิทินการเงิน, สรุปข้อมูลยอดฝากและโอนออกในแต่ละวัน, แจ้งเตือนรายการรอนุมัติ
ช่วงโรคระบาด KBTG ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีเครือธนาคารกสิกรไทย ปล่อยของออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น ขุนทอง แชทบ็อททวงเงินผ่าน LINE, Eatable แพลตฟอร์มช่วยร้านอาหารในยุคโควิด, Contactless Technology โซลูชั่นทำธุรกรรมโดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสอุปกรณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างขึ้นภายในเวลาเพียงแต่ไม่เกินสามเดือน
“เพราะโควิด เร่งการ transformation จากสองปี เหลือเพียงสองเดือน” เรืองโรจน์ พูนผล หรือ กระทิง ประธาน KBTG เคยกล่าวไว้เมื่อครั้งเปิดตัวบริการใหม่ๆ ในช่วงโรคระบาด
ล่าสุด Blognone ได้เข้าร่วมงานประชุมใหญ่ KBTG คือ ONE KBTG: The New Chapter of ONE ซึ่งเป็นการประชุมสำคัญ มีการเผยยุทธศาสตร์ของบริษัทในอนาคต และเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง คือไม่สามารถอยู่รอดคนเดียวได้ แต่ต้องพาคนไทยและธุรกิจรายย่อยรอดไปด้วยกัน รวมถึงเป้าหมายระยะยาวคือการเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
วันที่ 25 มีนาคม ตั้งแต่ช่วงเช้า พบว่ามีผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าใช้งานแอปบัวหลวงของธนาคารกรุงเทพได้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ใช้โพสต์ทวิตเตอร์ว่า ทำรายการถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม แต่เงินไม่ออก ทั้งๆ ที่ระบบตัดเงินจากบัญชีไปแล้ว
ก่อนหน้านี้ทางธนาคารกรุงเทพ เผยโฉมใหม่ของแอปพลิเคชั่นด้วย
มาถึงวันนี้ผู้ใช้ LINE คงคุ้นเคยกับบริการจ่ายเงิน LINE Pay กันเรียบร้อยแล้ว แต่แผนการของ LINE ในตลาดบริการทางการเงินนั้นไปไกลกว่านั้นมาก เพราะมีบริการการเงินครบวงจร ทั้งการลงทุน ซื้อประกัน เงินกู้ รวมถึงการเปิดบริการธนาคารใต้แบรนด์ LINE Bank ด้วย
ความน่าสนใจของแผนการ LINE Bank คือบริษัท LINE Corp. เตรียมจับมือกับพาร์ทเนอร์ธนาคารใน 4 ประเทศที่ LINE มีฐานลูกค้าจำนวนมาก คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และไทย
ลูกค้าธนาคารออนไลน์ในมาเลเซียกว่าสิบรายพบปัญหาถูกถอนเงินจนหมดบัญชีหลังคนร้ายโทรหลอกเอารหัส OTP ที่ส่งมาทางโทรศัพท์มือถือไป โดยคนร้ายอ้างกับเหยื่อว่ากรอกหมายเลขโทรศัพท์ผิดไป เมื่อสมัครเปิดใช้งาน และขอให้เหยื่อบอกรหัส OTP ให้
เหยื่อบางรายหลงเชื่อและยอมบอกรหัสให้ไป โดยบางรายยอมบอกรหัสไปถึง 6 ครั้ง เสียเงินไปนับแสนบาท โดยในมาเลเซีย รหัส OTP นี้จะเรียกกันว่า TAC (transaction authorisation code)
ปัญหาสำคัญคือตอนนี้ไม่มีข้อมูลว่าคนร้ายสามารถล็อกอินบัญชีของเหยื่อได้อย่างไร เนื่องจากทำธุรกรรมออนไลน์ต้องมีชื่อผู้ใช้, รหัสผ่าน, และรหัส OTP การที่คนร้ายสามารถรู้รหัสผ่านได้ ทำให้เป็นไปได้ว่าเกิดเหตุข้อมูลรั่วไหลจากแแหล่งอื่นมาก่อน โดยอาจจะเป็นจากธนาคารเองหรือแหล่งอื่น
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของแอพ SCB Easy ที่น่าสนใจคือ "กดเงินไม่ใช้เงิน" หรือการถอนเงินสดจากตู้ ATM โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีเงินในบัญชี
ฟีเจอร์นี้คือการถอนเงินสดจากบัตรเครดิต โดยใช้วงเงินเครดิตของเราแทนเงินสดในบัญชี (แปลว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต) ซึ่งปัจจุบันทำได้อยู่แล้ว แต่กระบวนการยุ่งยาก เพราะคนส่วนมากมักจำรหัส PIN บัตรเครดิตของตัวเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถกดเงินสดได้แม้มีวงเงินจากบัตรเครดิตก็ตาม
SCB Easy จึงต่อยอดฟีเจอร์ "กดเงินไม่ใช้บัตร" จากเดิมที่รองรับเฉพาะบัตร ATM ให้ขยายมายังบัตรเครดิตด้วยนั่นเอง (Cardless ATM credit card) ฟีเจอร์นี้จะทยอยปล่อยให้ใช้งานภายใน 6 เดือนข้างหน้า (ยังไม่ระบุเวลาแน่ชัด)
SCB EASY ของธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดตัวฟังก์ชั่น EASY E-KYC เปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่นได้ครั้งแรกในไทย โดยใช้การสแกนใบหน้า, สแกนบัตรประชาชน และพาสปอร์ต ใช้ได้เฉพาะมือถือแอนดรอยด์ 5.1 ขึ้นไป และต้องรองรับระบบ NFC
K PLUS ออกฟีเจอร์ใหม่ Pay with K PLUS จ่ายเงินซื้อของผ่านแชท Facebook ได้ไม่ต้องสลับหน้าจอ ไม่ต้องขอเลขบัญชี ทำให้การซื้อทุกขั้นตอนจบในหน้าจอเดียว
หนึ่งใน pain point ของลูกค้าเวลาซื้อของออนไลน์คือ ต้องขอเบอร์บัญชีแล้วสลับหน้าจอไปที่แอปโมบายแบงกิ้งเวลาจะจ่ายเงิน และร้านค้าเองก็ต้องคอยส่งเลขบัญชีของตัวเองเพื่อบอกลูกค้าทุกครั้ง ล่าสุด K PLUS ทำให้การซื้อของง่ายและไร้รอยต่อมากขึ้นโดยออกฟีเจอร์ Pay with K PLUS เมื่อลูกค้าตกลงจะซื้อของใน Facebook Messenger ที่แชทคุยกับแม่ค้า จะเห็นปุ่ม Pay with K PLUS ปรากฏขึ้นมาพร้อมๆ กับทางเลือกการจ่ายในรูปแบบอื่น ช่วยให้สามารถจ่ายได้ในขั้นตอนนั้นเลย โดยไม่ต้องสลับหน้าจอไปมา และไม่ต้องคอยถามเบอร์บัญชีร้านค้า
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงไทยประกาศระงับการใช้งานโปรแกรม KTB netbank บนเครื่องที่ Jailbreak/Root มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
หากถูกระงับการใช้งานโปรแกรม KTB netbank บนเครื่องที่ Jailbreak/Root ก็ยังสามารถใช้งานผ่านหน้าเวปได้ตามปกติ
ที่มา: ธนาคารกรุงไทย
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) และธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การเปิดใช้บริการรับชำระเงินด้วยระบบ QR Code เพื่อสร้าง “สังคมไปรษณีย์ไทยยุคใหม่ ไม่ใช้เงินสด” (Thailand Post Cashless Society) มุ่งสู่การเป็นไปรษณีย์ไทย 4.0 ที่ช่วยลดการใช้เงินสดอย่างแท้จริง
โดยธนาคารกสิกรไทยจะได้ดำเนินการติดตั้ง เครื่อง EDC ที่สามารถสร้าง Dynamic QR Code ซึ่งเป็น QR Code ที่ถูกสร้างตามมูลค่าเงินที่ต้องชำระจริง เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่มีแอพพลิเคชั่นโมบาย แบงกิ้งทุกธนาคาร สามารถสแกนเพื่อชำระเงินได้ง่ายขึ้น ซึ่งสำหรับค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ใช้บัญชีธนาคารกสิกรไทย จะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นไปตามหลักการธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ที่ผ่านมานั้นในลาวเรื่องของ e-Banking ไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้นมากนักถ้าเทียบกับที่ไทย โดยมีแอพจากธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) เปิดตัวเมื่อปี 2013 ชื่อว่า BCEL One เป็นตัวแรกและยังเป็นคงเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน
แต่เมื่อไม่นานมานี้เอง แอพตัวนี้ได้มีการเพิ่มความสามารถใหม่ ใช้ชื่อบริการว่า BCEL OnePay ที่สามารถกดจ่ายเงินผ่าน QR Code ได้เลย ปัจจุบันมีการรองรับการจ่ายแบบนี้ในวงที่จำกัดอยู่บริเวณเล็กๆ ใจกลางเมืองเท่านั้น เพื่อเป็นการทดลองและทดสอบก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกที
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าเป็นโอกาสที่ดีมากต่อวงการไอทีและสตาร์ตอัพในลาว ที่ทุกคนจะได้ใช้ความสะดวกสบายนี้ในการต่อยอดไอเดียธุรกิจในลาวได้อีกมากมายครับ
หลังจากคนไทยได้ใช้งาน PromptPay กันมาพักใหญ่ มาตอนนี้ธนาคารในประเทศออสเตรเลียเริ่มแจ้งลูกค้าให้ "เตรียมตัวใช้งาน" PayID แล้ว ซึ่งหลักการของ PayID ก็เหมือน PromptPay ของบ้านเรานั่นเองครับ
PayID เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ New Payments Platform (NPP) ซึ่งโครงการนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2013 และมีกำหนดเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการช่วงต้นปี 2018 ครับ
วันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา มีงานสัมมนาหัวข้อ "ประเทศไทยกับการก้าวเข้าสู่ Cashless Society" บรรยายโดย คุณสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท อดีตผู้บริหาร mPay ซึ่งได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นทีมงานพัฒนาพร้อมเพย์ (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง payment และ fintech)
คุณสุปรีชา ระบุสาเหตุที่จัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ธนาคารเปิดตัวบริการฟินเทคใหม่ๆ มากเหลือเกิน เช่น Lifestyle Banking ของ SCB, QR Code Payment ของ Kbank แม้แต่แบงก์ชาติยังรับชำระเงิน QR Code มาตรฐาน แต่คำถามที่ว่า "ประเทศไทยพร้อมหรือยังกับสังคมไร้เงินสด" ยังคงอยู่ และความพร้อมทางเทคโนโลยีในไทยมีมากน้อยเพียงใด
ท่ามกลางการพัฒนาของเทคโนโลยี การทำธุรกรรมก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาโดยตลอด จากเดิมที่ต้องเดินทางไปทำธุรกรรมถึงสาขา ปัจจุบันฟังก์ชันทุกอย่างแทบจะอยู่ที่ปลายนิ้วมือบนสมาร์ทโฟน ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้ความใกล้ชิดระหว่างธนาคารและลูกค้าเริ่มน้อยลง ไม่นับรวมคู่แข่งต่างๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร แต่พัฒนาแพลตฟอร์มการเงินขึ้นมา
ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจปรับปรุงภาพลักษณ์และการให้บริการของตัวเองใหม่ โดยคุณธนา เธียรอัจฉริยะ รักษาการ CMO ของธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่า จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการแก้ปัญหาที่ว่า Banking is Boring การมาธนาคารเป็นเรื่องน่าเบื่อให้ได้ จนกลายมาเป็นแนวคิด Lifestyle Banking บนแอพ SCB Easy เวอร์ชันใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่างเป็นทางการในวันนี้
Kakao Bank ธนาคารไร้สาขาในเกาหลีใต้ที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวและเพิ่งเปิดบริการเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาปล่อยเงินกู้ภาคครัวเรือนในช่วง 11 วันแรกของเดือนสิงหาคมไปแล้วถึง 540 พันล้านวอน คิดเป็น 24.9% ของยอดรวมที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ทั้งหมดในช่วงเดียวกัน
เงินกู้จาก Kakao Bank เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยยอดรวมนับแต่เปิดบริการมาตอนนี้ปล่อยเงินกู้ไปแล้ว 900 พันล้านวอน ดอกเบี้ยเงินกู้ของ Kakao Bank นั้นเริ่มต้นเพียง 2.86% เท่านั้น
ธนาคารไร้สาขาในเกาหลีใต้ตอนนี้มีสองธนาคารคือ K-Bank และ Kakao Bank ที่แข่งขันในแง่ดอกเบี้ยอย่างหนัก K-Bank ต้องประกาศเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากเป็น 2.1% หลังจาก Kakao Bank จ่ายดอกเบี้ย 2%
ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง วันที่เกาหลีใต้มีธนาคารออนไลน์แห่งแรก ไม่มีสาขาที่ไหนทั้งนั้น ทุกธุรกรรมทำบนออนไลน์ทั้งหมด ธนาคาร K bank ยังบอกอีกว่า ธนาคารจะเสนอดอกเบี้ยเงินฝากสูงและดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้กู้ เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารเงินสดและการขยายสาขาไปแล้ว
K bank ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ดอกเบี้ยตอบแทนสำหรับคนฝากเงิน 2% ต่อปี สูงสุดในบรรดาอุตสาหกรรมธนาคาร ด้านดอกเบี้ยคนกู้แบ่งตามเคนดิตผู้กู้ มีดอกเบี้ยตั้งแต่ 4.19-9% และเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำที่สุดในบรรดาธนาคารของเกาหลีใต้เช่นกัน
ทุกวันนี้ ผู้อ่านหลายท่านน่าจะใช้บริการธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต (internet banking) ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ไม่มากก็น้อย บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำ 5 ข้อหลักๆ ที่เป็นเทคนิคในการใช้งานบริการธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยและไร้ปัญหาครับ
จากปัญหาเรื่องการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีประเด็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา วันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 รายได้แก่ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย มาประชุมหารือกันและได้ข้อสรุป 5 เรื่อง ดังนี้
ในช่วงที่ผ่านมาจากข่าวพ่อค้าถูกขโมยเงินทำให้เป็นที่กังวลเรื่องความปลอดภัยของการทำธุรกรรมออนไลน์ทั้งในส่วนของธนาคารผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการเอง ในบทความนี้จะมาแนะนำการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของธนาคาร Barclays ในประเทศอังกฤษที่มีระบบการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีที่ต่างออกไป
ธนาคารมีวิธีในการยืนยันตัวบุคคลที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าของบัญชีในการเข้าใช้งาน เรียกว่า PINsentry เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นขออธิบายรายละเอียดในส่วนนี้ก่อนจะเริ่มการเข้าทำธุรกรรมจากบริการของธนาคาร
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน
ข่าวมิจฉาชีพขโมยเงินเกือบล้านบาทออกจากบัญชีธนาคารของร้านขายอุปกรณ์ประดับยนต์ โดยการหลอกขอสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของร้าน แล้วไปติดต่อขอออกซิมการ์ดมือถือเลขหมายของเจ้าของร้าน เพื่อใช้มือถือไปสวมรอยขอรหัสเข้าระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งหรือธนาคารออนไลน์ของเจ้าของร้านอีกต่อหนึ่ง แล้วโอนเงินเกือบล้านบาทออกไปในเวลาอันรวดเร็ว เป็นข่าวที่สะเทือนขวัญและสร้างความกังวลแก่ผู้ใช้ระบบธนาคารออนไลน์ หรือผู้ที่กำลังจะขอใช้บริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
PayPal ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับ Visa โดย PayPal จะสนับสนุนการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบของ Visa โดยตรง รวมถึงโอนเงินจากบัตรเดบิต Visa ไปยังบัญชี Paypal แทนการโอนเงินจากบัญชีธนาคาร ซึ่งต้องผ่านสำนักหักบัญชีกลาง (Automated Clearing House) อีกที
การโอนเงินจากบัญชีธนาคารผ่าน Clearing House ทำให้ PayPal เสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการโอนจากผู้ให้บริการเจ้าอื่นอย่าง Visa ซึ่งเป็นสิ่งที่ PayPal ต้องการจะผลักดัน แต่ข้อตกลงครั้งนี้มีขึ้น เนื่องจาก Visa ต้องการดึงให้ผู้ใช้ PayPal มาทำธุรกรรมผ่านระบบของตัวเองให้ได้มากที่สุด ซึ่ง Visa จะต้องจ่ายเงินให้ PayPal หากมีลูกค้ามาทำธุรกรรมบนระบบของ Visa ถึงจำนวนที่ตกลงไว้ด้วย