ธุรกิจสตาร์ทอัพท่องเที่ยวในจีนช่วงนี้มีความคุกรุ่น หลัง Ctrip ของจีน ซื้อ Skyscannerไป Airbnb ก็ดูจะอยู่เฉยไม่ได้ ล่าสุดมีข่าวลือออกมาว่า Airbnb อยู่ระหว่างการเจรจาเตรียมซื้อ Xiaozhu สตาร์ทอัพบริการบ้านเช่าเพื่อการท่องเที่ยวรายใหญ่ของจีน
ทั้งสองบริษัทปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลใดๆ เรื่องการเจรจา ในขณะที่ Airbnb ทำธุรกิจโรงแรมที่ขยายครอบคลุมทั่วโลก แต่ในจีนก็มีรายใหญ่ของจีนอยู่อย่าง Xiaozhu และ Tujia.com ซึ่งถ้าการเจรจาสำเร็จ Airbnb ก็จะก้าวสู่การเป็นผู้เล่นที่มีฐานธุรกิจมั่นคงในจีน แหล่งข่าวยังบอกอีกว่า Airbnb จะจ้างพนักงานประจำในจีนอีกกว่า 300 ตำแหน่ง
Airbnb เปิดตัวบริการใหม่ในชื่อ Trips โดยเน้นไปที่บริการเติมเต็มให้การท่องเที่ยวสมบูรณ์แบบและง่ายมากขึ้นกว่าเดิม (ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้) ซึ่งใช้แนวทางที่โฮสต์ของแต่ละเมืองเป็นผู้ให้บริการเหมือนกับการให้เช่าที่พัก
Trips แบ่งบริการออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้
Trips ถูกเพิ่มเป็นหัวข้อใหม่แล้วในแอพและเว็บของ Airbnb โดยเปิดให้บริการเริ่มต้นใน 12 เมือง รวมทั้ง ลอสแองเจอลิส, ซาน ฟรานซิสโก, ลอนดอน, ไนโรบี, ฮาวานา, โตเกียว และโซล โดยจะเพิ่มเมืองอื่นๆ ในอนาคต ส่วนของประเทศไทยนั้น Airbnb บอกว่าโฮสต์สามารถเริ่มยื่นขอเพิ่ม Experiences ในกรุงเทพฯ ได้แล้ว
ก่อนหน้านี้ Airbnb มีข่าวว่าผู้ให้เช่าหรือโฮสต์ในนิวยอร์คทำผิดกฎด้วยการปล่อยเช่าบ้านทีละหลายหลังลงใน Airbnb โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้อาศัยอยู่ สร้างความไม่พอใจให้ชาวเมืองอย่างมากเพราะทำให้ค่าเช่าแพง ล่าสุด ก่อนที่จะโดนกฎหมายท้องถิ่นเล่นงาน ทาง Airbnb ออกมาประกาศแบนโฮสต์ที่กระทำดังกล่าวแล้วใน นิวยอร์ค และซานฟรานซิสโก เริ่ม 1 พฤศจิกายนเป็นต้นไป
นอกจากนี้ Airbnb ยังออกกฎเพิ่มเพื่อช่วยบังคับใช้กฎหมายด้วยการห้ามเจ้าของบ้านในเมืองนิวยอร์ค และซานฟรานซิสโก ปล่อยให้เช่าห้องในบ้านหลายๆ หลังพร้อมกัน เพื่อหาผลประโยชน์อีกต่อไป จนถึงตอนนี้ยังไม่รู้ว่า Airbnb จัดตั้งกฎที่คล้ายๆกันในพื้นที่อื่น ๆ หรือไม่
Airbnb ได้ออกเอกสารรายงานยืนยันการเพิ่มทุนรอบล่าสุด โดยรับเงินลงทุนอีก 555.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแกนนำหลักในการลงทุนรอบนี้คือ Google Capital และ Technology Crossover Ventures
Nathan Blecharczyk ซีทีโอของ Airbnb ออกมาเปิดเผยว่าเงินลงทุนรอบล่าสุดนี้ ทำให้มูลค่ากิจการของ Airbnb เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ล้านดอลลาร์แล้ว (ปีที่แล้ว 25,500 ล้านดอลลาร์) ทั้งยืนยันว่า Airbnb ยังดำเนินงานเติบโตได้ดีและมีโอกาสอีกมาก
สิ่งที่น่าสนใจในการเพิ่มทุนครั้งนี้ ก็คือ Airbnb เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถขายหุ้นบริษัทที่ตนเองถืออยู่ออกมาได้ด้วย ซึ่งมูลค่าหุ้นที่ขายกันออกมานั้นอยู่ราว 200 ล้านดอลลาร์ การให้พนักงานสามารถขายหุ้นออกมาได้ก็ช่วยลดแรงกดดันที่ Airbnb จะต้องเข้าตลาดหุ้น เพราะพนักงานสามารถรับเงินสดได้ในอีกทางหนึ่ง
ที่มา: Bloomberg และ Boston Herald
บนเพจ Facebook ที่ชื่อ "PostSecret" ซึ่งเป็นเพจที่ชักชวนให้แฟนเพจส่งเรื่องราวความลับของตนเองมาแบ่งปันกัน ได้โพสต์ภาพข้อความจากแฟนเพจรายหนึ่งซึ่งอ้างตัวว่าเป็นผู้ปล่อยห้องเช่าผ่าน Airbnb เขาบอกว่าเขาซ่อนกล้องบันทึกคลิปวิดีโอคนเข้าพักร่วมรักกันในห้องของเขา และแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอเหล่านั้นกันในหมู่ผู้ปล่อยห้องเช่า Airbnb อยู่เสมอ
ถึงตอนนี้แม้จะยังไม่มีใครรู้ว่าเรื่องที่มีการกล่าวอ้างนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ และยังไม่มีใครสืบหาตัวผู้ปล่อยข้อมูลเรื่องนี้ได้สำเร็จ แต่การกล่าวอ้างเช่นนี้ส่งผลกระเพื่อมอย่างรุนแรงทันทีต่อความน่าเชื่อถือในบริการห้องพักของ Airbnb
Airbnb ได้ออกรายงานความโปร่งใสหรือ transparency report เพื่อรายงานการขอข้อมูลผู้ใช้เป็นครั้งแรกของบริษัท โดยในครั้งนี้เป็นรายงานของ 6 เดือนแรกของปี 2016
Christopher Nulty โฆษกของ Airbnb ได้บอกกับ TechCrunch ในเรื่องรายงานนี้ว่า ทางบริษัทกำลังสร้างความโปร่งใสให้กับชุมชนและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเราให้กับสาธารณะ นี่เป็นก้าวแรกที่สำคัญ ในอนาคต Airbnb จะเพิ่มชนิดข้อมูลที่แบ่งปันให้มากขึ้น
ตอนนี้ Airbnb กำลังทดสอบแอพใหม่ที่ชื่อว่า Airbnb Trips บน Android โดยแอพนี้จะค่อนข้างแตกต่างจากแอพหลักของ Airbnb คือจะเป็นแอพที่เน้นวางแผนทริปทั้งหมด ไม่ใช่แค่หาที่พักเท่านั้น เพื่อให้ Airbnb เป็นบริการที่ครบวงจร
สำหรับแอพ Airbnb Trips นี้ จากรายงานบอกว่าจะเป็นคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยว คือจะมีทั้งสถานที่ที่น่าไปในย่านนั้น และสามารถสร้างกำหนดการเดินทางต่าง ๆ ให้กับการท่องเที่ยวได้
สำหรับแอพ Airbnb Trips นี้ยังคงทดสอบอยู่ในวงปิดเท่านั้น และทางแหล่งข่าวของ Bloomberg เผยว่าฟีเจอร์ที่กำลังทดสอบรวมถึงชื่อนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ต่อเนื่องจากข่าวSan Francisco ผ่านกฎหมายบีบให้ Airbnb ปล่อยเช่าห้องเฉพาะที่ลงทะเบียนกับทางการ ล่าสุดทาง Airbnb ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง Northern California แล้วว่ากฎหมายดังกล่าวละเมิดรัฐบัญญัติ (Federal Law) ของสหรัฐ
Airbnb ระบุว่ากฎหมายดังกล่าวละเมิดกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารที่เหมาะสม (Communication Decency Act), กฎหมายว่าด้วยการสื่อสารที่ถูกเก็บไว้ (Stored Communications Act) และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก (the First Amendment)
Airbnb เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการที่พักแนว Sharing Economy ที่ได้รับผลกระทบทางกฎหมายจากหลายๆ ประเทศอย่างกรณีล่าสุด วุฒิสมาชิกของมลรัฐนิวยอร์กผ่านกฎหมาย ห้ามปล่อยเช่าห้องพักเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 30 วันบน Airbnb
กฎหมายฉบับนี้ถูกผลักดันเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาต เปิดให้บริการห้องพักในลักษณะเดียวกับโรงแรมผ่านทาง Airbnb โดยผู้ที่ละเมิดครั้งแรกจะถูกปรับไม่เกิน $1,000, ไม่เกิน $5,000 ในครั้งที่สอง และปรับอีกไม่เกิน $7,500 หากละเมิดกฎครั้งที่ 3
กระบวนการต่อไปของการออกกฎหมายฉบับนี้คือ รอให้ผู้ว่าการรัฐเห็นชอบและลงนามออกบังคับใช้เป็นกฎหมายเท่านั้น
ที่มา - CNET
สถาเมือง San Francisco ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ที่กำหนดไม่ให้บริษัทที่ปล่อยห้องเช่าแบบระยะสั้นอย่าง Airbnb แสดงรายการของห้องเช่าที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับทางการเมือง ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการบีบให้ผู้ที่อยากจะปล่อยห้องเช่า ต้องไปลงทะเบียนกับทางการ
ปัญหาหนึ่งในเมือง San Francisco คือมีห้องว่างเป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย เจ้าของห้องจึงเลี่ยงการโดนยึดทรัพย์หรือถูกนำไปจำนอง จากการไม่มีผู้อยู่อาศัย ด้วยการปล่อยห้องเช่าบน Airbnb ซึ่งทางของ Airbnb ได้โต้ตอบว่าเมือง San Francisco แก้ปัญหาไม่ถูกจุดในการแก้ปัญหาห้องว่าง พร้อมทั้งโจมตีว่ากระบวนการลงทะเบียนนั้นค่อนข้างวุ่นวายและเสียเวลา
Airbnb เปิดหน้าเว็บไซต์ airbnb.com/neighbors ให้ผู้คนที่อาศัยอยู่รอบข้างบ้านหรือห้องที่เปิดให้เข้าพักได้ร้องเรียนความไม่ปกติที่เกิดขึ้นจากการเข้าพัก เช่นเรื่องเสียงดังหรือเหตุอื่นๆ
Airbnb ใช้คำว่า เพื่อนบ้าน (Neighbors) สามารถเข้ามาร้องเรียนได้แบบไม่ต้องระบุชื่อ และจะได้อีเมลยืนยันพร้อมหมายเลขกรณีกลับไปเพื่อการติดต่อภายหลัง ในข่าวฉบับนี้ยังระบุตัวเลขว่าตอนนี้มีผู้ใช้กว่า 80 ล้านคนเข้าพักกับห้องพักใน 190 ประเทศทั่วโลกครับ
ที่มา - Airbnb
สหภาพยุโรปหรือ EU เตรียมจะออกคำแนะนำในวันพรุ่งนี้ ให้กลุ่มประเทศสมาชิกดำเนินการกับบริษัทด้าน Sharing Economy อย่าง Uber และ Airbnb อย่างเป็นมิตรมากยิ่งขึ้น โดยให้การแบนเป็นทางเลือกสุดท้าย ในกรณีที่ไม่มีบทลงโทษที่เบากว่านี้แล้ว
หากกลุ่มประเทศสมาชิกต้องการจะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทหรือธุรกิจท้องถิ่น ทาง EU ก็แนะนำว่าควรจะหามาตรการควบคุมเป็นลำดับขั้นไปก่อน เช่นกรณี Airbnb ทางการควรจะกำหนดให้ผู้เช่า Airbnb เช่าได้ไม่เกิน 2-3 วันเท่านั้น
ทางการกรุงเบอร์ลินของเยอรมนีออกกฎหมายห้ามไม่ให้เจ้าของอพาร์ทเม้นท์ปล่อยเช่าห้องพักทั้งหลังแบบระยะสั้นผ่าน Airbnb และเจ้าอื่นๆ ที่มีการให้บริการใกล้เคียงกัน โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันปัญหาราคาเช่าอพาร์ทเม้นในเมืองหลวง รวมถึงเปิดโอกาสในการหาที่พักแบบระยะยาวสำหรับชาวเยอรมันมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าย่อมมีเสียงต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ โดยกล่าวหาว่ารัฐกำลังพยายามช่วยเหลืออุตสาหกรรมโรงแรม เนื่องจากกรุงเบอร์ลินเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยุโรป ทำให้ Airbnb ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงที่ผ่านมา และมีเจ้าของอพาร์ทเม้นท์นำห้องพักทั้งหมดมาปล่อยให้เช่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามกฎหมายยังคงอนุญาตการปล่อยเช่าห้องพักเป็นห้องๆ เช่นเดิม
ทั้งนี้กฎหมายฉบับนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2014 และเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกปรับสูงถึงกว่า 1 แสนยูโร (ราว 4 ล้านบาท)
บริการห้องพักแนว sharing economy อย่าง Airbnb เปิดบริการ "ห้องพักเร่งด่วน" เป็นกรณีพิเศษในเมืองคุมะโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังประสบภัยพิบัติในแผ่นดินไหวในขณะนี้ โดยให้บริการ "ฟรี" ตั้งแต่วันที่ 14 - 20 เมษายน 2016 มีที่พักในหน้านี้แล้วประมาณ 96 แห่งครับ
โดยในหน้านี้มีปุ่มให้คลิกทั้งสำหรับคนต้องการที่พัก และคนมีที่พักให้พักฟรี นับเป็นอีกหนึ่งการปรับตัวของระบบฯ เพื่อช่วยเหลือผู้คนอย่างน่าชื่นชมครับ
ที่มา - Airbnb
บริการเช่าที่พักแนว sharing economy อย่าง Airbnb การปรับกฎระเบียบการให้บริการของฝั่งผู้ให้เช่า ว่าถ้ามีห้องพักหรือบ้านที่เจ้าของเองดูแลเรื่องการจองไม่ไหว สามารถเพิ่ม "Additional Host" แต่งตั้งคนอื่นที่รู้จักและไว้วางใจให้ดูแลห้องพักของตนได้ ทั้งการจัดการคิวจอง ตอบคำถาม ช่วยเช็คอิน และดูแลผู้เช่าที่มาใช้บริการ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะทยอยเปิดให้เจ้าของบ้านทั่วโลกได้ลองใช้แล้วครับ
ที่มา - Airbnb
เขตการปกครอง Ota ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรุงโตเกียว อนุญาตให้บริษัทนำเที่ยวจัดหาบ้านพักที่เปิดให้เช่าในรูปแบบของ Airbnb แล้ว เนื่องจากการขยายตัวของนักท่องเที่ยว โดยมีข้อจำกัดว่าต้องพักไม่ต่ำกว่า 6 คืน และเก็บข้อมูลผู้เข้าพักไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี และต้องให้เพื่อนบ้านรับทราบด้วยเผื่อกรณีฉุกเฉินต่างๆ
เขต Ota นี้เป็นพื้นที่ตั้งของสนามบินฮาเนดะ ที่เพิ่งตั้งโปรแกรมที่ชื่อว่า minpaku (แหล่งข่าวใช้ภาษาอังกฤษว่า 'private stay') หรือการพักระยะยาวเพื่อลดจำนวนการจองห้องพักที่ล้นเกินให้บริการในโตเกียว และแผนระยะยาวคือต้อนรับกระแสนักท่องเที่ยวจากมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ปี 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพด้วย และโปรแกรม minpaku ที่ลดหย่อนข้อกฎหมายเรื่องโรงแรมนี้จะนำไปใช้กับนครโอซาก้าภายในปีนี้ด้วย
เรียกได้ว่าเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสก็ย่อมได้ เมื่อมีเหตุพายุหิมะถล่มหนักในย่านบรู๊คลิน จนมีชายหัวใสขุดกองหิมะ ตกแต่ง สร้างสตอรี่จนกลายเป็นบ้าน igloo และปล่อยให้เช่าบน Airbnb ในราคาคืนละ 200 เหรียญสหรัฐฯ
ความวัวไม่ทันหาย หิมะยังไม่ทันละลาย Airbnb ก็จัดการแบนบ้านหลังนี้แบบทันควันเนื่องจากบ้านหิมะหลังนี้ไม่ผ่านมาตรฐานของ Airbnb ที่ชี้แจงกลับแบบติดตลกว่า บ้านต้องมีน้ำ, ไฟ และหลังคาที่ไม่ละลาย ด้วย
ที่มา - Distractify
จากกรณีของการติดตั้งกล้องแอบถ่ายในบ้านเช่าซึ่งใช้บริการของ Airbnb โปรแกรมเมอร์ชาวนิวซีแลนด์ Julian Oliver ได้เสนอไอเดียง่ายๆ ในการตรวจจับกล้องไร้สายที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันโดยใช้เพียงแค่คอมพิวเตอร์ทั่วไปในการหาร่วมกับสคริปต์ที่เขาพัฒนาขึ้นซึ่งมีชื่อว่า dropkick.sh
มีข่าวไม่ค่อยดีของวงการ Sharing Economy อีกเรื่อง เมื่อมีกรณีของสุภาพสตรีชาวเยอรมันรายหนึ่งพบว่ามีกล้องแอบถ่ายตนอยู่ในบ้านที่เช่าผ่าน Airbnb ในย่านเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ขณะที่ตนกำลังนอนหลับแบบเปลือย (เป็นปกติ) ซึ่งกว่าจะพบกล้องก็พักที่นั่นเป็นคืนที่สามแล้ว ตัวกล้องซ่อนอยู่ใต้กองเทียนไข เพื่อนของหญิงรายนี้เป็นคนสังเกตพบ
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อคนผิวสี ในการเช่าห้องพักผ่านแพลตฟอร์ม Airbnb พบว่าชาวแอฟริกันอเมริกันหรือกลุ่มคนผิวสี มักจะถูกเลือกปฏิบัติ (discriminated) ในการเช่าห้องพัก
งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจจากเจ้าของห้องพักกว่า 6,000 คนใน 5 เมืองใหญ่ของสหรัฐฯ คือเมืองบัลติมอร์, ดัลลาส, ลอส แองเจลิส, เซนต์หลุยส์ และกรุงวอชิงตัน ดีซี โดยกลุ่มคนผิวสีมีโอกาสลดลงราว 16% ที่ได้ห้องพักผ่าน Airbnb เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่มีชื่อเหมือนคนผิวขาว ขณะที่เจ้าของห้องที่เป็นคนผิวสี ก็มีแนวโน้มจะเลือกปฏิบัติกับคนผิวสีด้วยกันเอง พอๆ กับเจ้าของห้องที่เป็นคนผิวขาว
กลับมาอีกครั้งกับซีรีส์สัมภาษณ์ "คนไทยในซิลิคอนวัลเลย์" คราวนี้เปลี่ยนบรรยากาศมาคุยกับคนไอทีที่เติบโตมาด้านสายงานวิเคราะห์ข้อมูล (analytics) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในโลกไอทีฝั่งตะวันตก
แขกรับเชิญคราวนี้คือคุณภูวรัฐ หน่อชูเวช หรือคุณปาล์ม นักวิเคราะห์ที่ทำงานอยู่ใน Airbnb สตาร์ตอัพแชร์ห้องพักที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คุณภูวรัฐยังเคยมีประสบการณ์ด้าน social media กับ SAP และยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง eBay ด้วยครับ
Glassdoor เว็บไซต์รีวิวสถานที่ทำงานจากสายตาพนักงาน จัดอันดับบริษัทที่น่าทำงานที่สุด 50 อันดับประจำปี 2016 ปรากฏว่าแชมป์เก่าปี 2015 อย่างกูเกิล อันดับร่วงลงไปอยู่ที่ 8 และ Airbnb ผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์รายใหม่ได้สำเร็จ
จุดที่น่าสนใจคือ Airbnb ไม่เคยติดชาร์ทมาก่อนเลย เข้าชาร์ทมาครั้งเดียวก็คว้าแชมป์ได้ทันที การคิดคะแนนของ Glassdoor มาจากการรีวิวของพนักงานแบบไม่แสดงตัวตนครับ
บทความนี้ลงใน Fortune มาหลายเดือนแล้ว แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับบรรดาสตาร์ตอัพทั้งหลาย เลยนำมาฝากกันครับ
บทความนี้พูดถึง Brian Chesky ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Airbnb ในประเด็นว่าเขาพัฒนา "ตัวเอง" อย่างไร จากการเป็นหนุ่มถังแตกแทบไม่มีค่าเช่าห้อง จนกลายมาเป็นซีอีโอของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ความท้าทายของเขาคือจะพัฒนาตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงของบริษัทได้อย่างไร ในเมื่อเขาเองก็ไม่เคยเป็นซีอีโอมาก่อนเลย (ปัจจุบันเขาอายุ 33 ปี)
วันนี้มีความเคลื่อนไหวจาก Airbnb มาฝากกัน เอาแบบกระชับก็แยกได้เป็นหลายฟีเจอร์ใหม่น่าสนใจ ดังนี้ครับ:
Smart Pricing ราคาห้องพักจะขึ้น-ลงได้เองตามภาวะตลาดตอนนั้น เช่น เข้าช่วงเทศกาล, มีอีเว้นท์ใหญ่ในละแวกนั้น หรือมีห้องพักเปิดใหม่แล้วต้องการแข่งขัน ระบบ Smart Pricing นี้จะช่วยกำหนดราคาที่ควรจะเป็นให้ เพียงแค่คุณกำหนดราคาสูงสุด-ต่ำสุดไว้ บริการนี้จะเริ่มใช้ทั่วโลกในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ ตอนนี้เป็นขั้นทดลองใช้ (นอกเรื่อง: ผู้เขียนเริ่มเห็นคนเปิดโฮสเทลในกรุงเทพฯ รอรับคนมาวิ่งมาราธอนงานใหญ่แต่ขี้เกียจตื่นไปจากบ้าน กลับห้องก็มีอาหารเช้าดีๆ รอบริการ)
มีเรื่องของ Zak Stone ถูกโพสต์บนพับลิเคชั่นชื่อ Matter ในเว็บไซต์ Medium เล่าเรื่องถึงการสูญเสียบิดาจากอุบัติเหตุจากชิงช้าในการเข้าพักบ้านหลังหนึ่งที่จองผ่าน Airbnb จนกลายเป็นเรื่องราวที่ยังฟ้องร้องกันอยู่