Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยชาวอเมริกาสามารถกระตุ้นหัวใจจากหนูที่ตายแล้วให้เต้นใหม่อีกครั้งได้ ซึ่งค้นพบนี้จะเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาระบบปลูกถ่ายอวัยวะได้

งานวิจัยนี้ลงในวารสาร Nature Medicine เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยใช้ความสามารถปลูกถ่าย stem cells ลงไปยังโครงร่างเซลล์หัวใจหลักได้ โดยใช้กระบวนการที่มีชื่อว่า decelluarization ซึ่งเป็นการล้างเซลล์ที่ตายแล้วออก เหลือแต่ส่วนที่เป็นโครงร่าง collagen เชื่อมต่อกัน หลังจากนั้นทีมนักวิจัยได้ฉีดสาร gelatin-like scaffold จากหนูที่พึ่งเกิดใหม่ แล้วเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ แล้วรอให้เจริญเติบโต หลังจากนั้น 4 วันจะเกิดเซลล์หัวใจใหม่ก่อตัวเป็นรูปหัวใจ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ถ้ากังวลว่ามีระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดจะสูง แล้วจะเป็นโรคหัวใจ จนไม่กล้ารับประทานอะไรที่มีไขมันแล้วละก็ อ่านข้อมูลวิจัยล่าสุดแล้วอาจเปลี่ยนใจ

นักวิจัยจาก Texas A&M University ซึ่งมี ผศ.ดร. Steven Riechman จากภาควิชา Health และ kinesiology กับ Simon Sheather จากภาควิชาสถิติ ตลอดจนทีมนักวิจัยจาก Johns Hopkins Weight Management Center และ the Northern Ontario School of Medicine ได้ค้นพบว่า การที่มี คอเลสเตอรอลน้อยจะไปลดการเกิดกล้ามเนื้อเวลาออกกำลัง

Tags:
Node Thumbnail

ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้เห็นเรือเหาะหรือ Zeppelin หลุดออกนอกจอภาพเกมส์แฟนตาซีหรือภาพยนตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากบริษัทจำนวนหนึ่งเริ่มมีไอเดียที่จะนำพวกมันมาใช้

Popular Mechanics ได้มีดีไซน์เรือเหาะ 4 ชนิดให้ดู โดยหนึ่งในนั้น Aeroscraft ML866 ก็มีหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐช่วยสนับสนุนในเรื่องเงินอยู่ด้วย โดยดีไซน์นี้ได้รวมเอาสิ่งที่ดีที่สุดของเฮลิคอปเตอร์กับ Zeppelin ไว้เข้าด้วยกัน

ท่ามกลางราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไอเดียที่จะขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ด้วยเรือเหาะก็ไม่เลวเหมือนกันนะ โอวมายไฟนอลแฟนตาซี 6 จะเป็นจริงแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักวิจัยจาก Baylor College of Medicine ได้ทำการทดลองวัคซีนรักษาอาการติดโคเคนในระดับคลินิกแล้ว โดยวัคซีนจะไปช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรู้จักกับสารโคเคน

วัคซีนที่ว่านี้มีกลไกการทำงานคือ นักกวิจัยได้ทำการติดสารโคเคนที่ทำให้หมดฤทธิ์กับโปรตีนของโรคอหิวาห์ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเราไม่สามารถจับกับสารเล็กเช่นสารเคมีได้ เมื่อฉีดสารโคเคนที่เชื่อมต่อกับโปรตีนเข้าไปแล้ว ภูมิคุ้มกันจะจับกับโปรตีนของโรคอหิวาต์และสารโคเคนด้วย ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อสารโคเคนไปโดยปริยาย โดยโคเคนที่ถูกภูมิคุ้มกันจับนั้นจะไม่สามารถเข้าไปสู่สมองได้

ที่มา - /.

Tags:
Node Thumbnail

จากวารสารวิชาการ the National Academy of Sciences. ที่มีการรายงานว่าคนที่ถูกปลุกให้ตื่นจากหลับลึกจะมีผลกระทบต่อการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการต้านทานอินซูลิน เป็นผลทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักเพิ่มแและเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานแบบที่ 2

ทีมนักวิจัยได้ทดสอบกับอาสาสมัครชายหญิง 9 คน เพื่อติดตามระบบการเผาผลาญน้ำตาลภายในร่างกาย โดย 2 คืนแรกอาสาสมัครจะนอนแบบปกติเพื่อดูว่าสภาวะหลับปกติร่างกายจะมีสภาพแบบไหน และในอีก 3 คืนต่อมาอาสาสมัครจะถูกปลุกให้ตื่นจากเสียงดังเมื่อเข้าสู่ภาวะการหลับลึก และเมื่อฉีดกลูโคสเข้าสู่ร่างกายในตอนเช้า และติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ก็พบว่า 8 ใน 9 คนจากอาสาสมัครมีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง

Tags:
Node Thumbnail

คนเรามักมีความเชื่อที่ถูกสอนกันมาเกี่ยวกับสุขภาพซึ่งบางครั้งเป็นความเชื่อที่ผิดๆ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่า 7 สุดยอดความเชื่อที่ผิดทางการแพทย์มีอะไรบ้าง

จากวารสารวิชาการ British Medical Journal และ American Journal of Psychology ซึ่งมีผู้วิจัยคือ ผศ.ดร Aaron Carroll หมอทันตกรรมเด็กจากสถาบัน Regenstrief ที่ Indianapolis และ Rachel Vreeman นักวิจัยใน children's health services research ที่ Indiana University School of Medicine ได้จัดอันดับความเชื่อที่ผิดทางการแพทย์ออกมาดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

เซลล์เนื้องอกที่อยู่ในระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งรู้จักในชื่อของ CTCs และในปัจจุบันเรายังไม่มีการตรวจหาเซลล์ชนิดนี้เพื่อบ่งชี้การเกิดขึ้นของเนื้องอกแบบพิเศษที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือนำมาใช้เพื่อระบุการรักษาเนื้องอก

ดังนั้นทางทีมพัฒนาจากโรงพยายาลทั่วไปของ Massachusetts ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ microchip-based ซึ่งสามารถจำแนก นับจำนวน และวิเคราะห์ CTCs จากตัวอย่างเลือด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตรวจหา หรือติดตาม และสามารถใช้ในการระบุวิธีการรักษา CTCs นั้นได้

แต่ทางนักวิจัยยังคาดหวังอีกว่าชิปนี้จะช่วยให้เราเข้าใจชีววิทยาของมะเร็งและกลไกการแพร่กระจายตัวของมะเร็ง ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างพัฒนาก่อนลงมาใช้ระดับคลินิก

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Princeton ได้พัฒนาวิธีที่จะวางทรานซิสเตอร์ บนสารคาร์บอนชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า graphene ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตจะมาแทนที่ซิลิคอน

คุณสมบัติของ graphene ทำให้แผงวงจรมีความเร็ว 10 เท่าของแผงวงจรปัจจุบัน ทีมนักวิจัย ที่ประกอบด้วย Professor Stephen Chou และ นักศึกษาบัณฑิต Xiaogan Liang ได้เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยการนำ graphene ขนาด 100 μm มารวมกันหลายชิ้นเพื่อสร้างเป็นแผ่นวงจร

ทางทีมงานกล่าวว่าเทคโนโลยีนี่มีประโยช์นต่อการสื่อสารแบบไร้สายได้ โดยใช้พลังงานต่ำ และ ให้สัญญาณส่งที่แรงโดยที่ตัวเองมีขนาดเล็ก ในอนาคตทีมงานจะผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แผงวงจรนี้ทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานจริง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สนามบินแห่งชาติอังกฤษหรือ Heathrow จะเป็นสถานที่แรกที่นำระบบ Personal Rapid Transport (PRT) มาใช้ ระบบที่ว่านี้จะใช้เครือข่ายรถไฟฟ้าขนาดเล็กไร้คนขับที่เรียกว่า Pod สิบแปดคัน ขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารจอดรถกับอาคารผู้โดยสารบนถนนยกระดับเฉพาะ ซึ่งมีระยะห่าง 3.8 กิโลเมตรในเวลา 4 นาที

ตัวรถมีขนาด 4 ที่นั่ง ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งไม่เร็วเท่าไหร่แต่ผู้พัฒนาเคลมว่าใช้เวลารอรถไม่เกิน 18 วินาที และประหยัดพลังงานกว่าการใช้รถบัสโดยสารถึงร้อยละห้าสิบ

ส่วนตัวผมว่าถ้าวิ่งได้เร็วแบบ Minority Report จะน่าสนใจมากเลย

Tags:
Node Thumbnail

ทีมงานจากมหาวิทยาลัย Gyeongsang นำโดย Kong Il-keun ได้ประกาศความสำเร็จในการทำโคลนนิ่งแมวที่ได้รับการตัดต่อรหัสพันธุกรรมให้สามารถเรืองแสงเมื่อพบกับแสงอัลตราไวโอเล็ตได้ โดยทีมงานหวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการรักษามนุษย์ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมได้ในที่สุด หรือใช้ในการโคลนสัตว์ในตระกูลแมวที่กำลังใกล้สูญพันธุ์

ก่อนหน้านี้ในประเทศเกาหลีใต้ นาย Hwang Woo-Suk ได้เคยประกาศความสำเร็จในการโคลน Stem Cell ของมนุษย์ได้ แต่มีการพบว่าเป็นเรื่องหลอกลวงในที่สุด และกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี

Tags:
Node Thumbnail

แผนการใช้พลังงานสะอาดอย่างน้อยร้อยละ 20 ภายในปี 2020 ของสหภาพยุโรปเริ่มเห็นภาพอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโครงการต่างๆ มีการเปิดตัวตามๆ กันมา ล่าสุดทางสหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษที่เราเรียกกัน) ก็ได้ออกมาแถลงการถึงแผนการใช้พลังงานลม จากการติดตั้งกังพันปั่นไฟฟ้ารอบเกาะ ด้วยจำนวนที่อาจจะมากถึง 7000 ชุดด้วยกัน

เนื่องจากสหราชอาณาจักรนั้นเป็นเกาะมีน้ำล้อมอยู่แล้ว การสร้างกังหันในทะเลซึ่งมีลมแรงและไม่มีสิ่งกีดขวางจึงทำได้โดยง่าย และมีพื้นที่ค่อนข้างมาก

ในประเด็นด้านความมั่นคงทางพลังงาน ที่กรณีที่ไม่มีลมในช่วงเวลาหนึ่งถึงสองวันซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ในการแถลงการถึงแผนการนี้ก็ได้เตรียมการขยายกำลังการผลิตจากด้านอื่นๆ รวมถึงนิวเคลียร์ไว้ควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

เวลาที่มีเรื่องต้องหาหมอเพื่อผ่าตัดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ คือหมอต้องเย็บแผลของเราหลังการผ่าตัดต่อไป แม้หลังๆ อาจจะมีไหมแบบไม่ต้องตัดออกหลังแผลสมานตัวแล้ว ความรำคาญก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอาจจะทำให้เราเห็นไหมเย็บแผลน้อยลงเรื่อยๆ ในไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อ ดร. Klaus Rischka นักวิจัยจากห้องวิจัยของสถาบัน Fraunhofer ได้แสดงความก้าวหน้าในการสร้าง กาว สมานแผล

ความพยายามสร้างกาวในลักษณะเดียวกันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ความยากอยู่ที่การทนทานต่อความชื้นของแผล และความทนทานในการยึดติด ซึ่งได้รับการแก้ไขไปแล้วในงานวิจัยชี้นนี้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

รายงานการศึกษา เรื่อง "ปรากฏการเรือนกระจกและมลภาวะทางอากาศของไบโอดีเซลในประเทศออสเตเลีย" โดยสถาบัน CSIRO ประเทศออสเตรเลีย ได้ข้อสรุปที่ว่า การใช้ไบโอดีเซลมีส่วนช่วยลดมลภาวะในอากาศในส่วนของอุตสาหกรรมขนส่ง

จากรายงานฉบับนี้ พบว่าการใช้ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (คือไม่ผสมน้ำมันใดๆเลย) มีส่วนช่วยลดมลภาวะกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ และหากใช้ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม สามารถช่วยลดมลภาวะ 80 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากมลภาวะที่ลดลง การใช้ไบโอดีเซล ยังมีส่วนช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศ ซึ่งช่วยให้สุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นดีขึ้น

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต (Toronto University) ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนม (Genome) ของยีสต์ กว่า 70,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาเครื่องมือชนิดใหม่ ในการทำความเข้าใจ และทำนาย สภาพของเซลล์

หัวหน้าทีมวิจัย ซึ่งนำโดย Corey Nislow ได้ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนม แบบ 3 มิติ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ ไปพัฒนาโปรแกรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำได้ว่า เซลล์จะมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว จะทำงานได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เมื่อาข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับ ก็เช่น การทำนายการเกิดของโรคได้อย่างแม่นยำ

ที่มา - Physorg

Tags:
Node Thumbnail

หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ Maglev ที่เป็นเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อาศัยแม่เหล็กถาวรในการยกตัวรถให้ลอยอยู่ในอากาศและส่งกำลังขับเคลื่อน แต่ตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในทางกลับกันคือการใช้เทคโนโลยี Maglev นี้มาผลิตไฟฟ้าได้เปิดตัวในงาน Wind Power Asia 2008

บริษัท Maglev Wind Turbine จากรัฐอาริโซนาร์ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตกังหันลมในเทคโนโลยีดังกล่าว ได้อ้างถึงข้อดีหลายประการในการใช้งานเทคโนโลยี Maglev เช่นการลดการใช้งานตลับลูกปืนในข้อหมุนต่างๆ ทำให้ลดการสูญเสียพลังงานไปได้มาก และการสร้างกังหันขนาดใหญ่ทำให้ประหยัดต้นทุนต่อวัตต์ไปได้

Tags:
Node Thumbnail

ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกวันนี้คือราคาต่อวัตต์แพงมากจนกระทั่งหลายๆ ครั้งมีคนตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าจริงหรือ โดยนับแต่มีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้วนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำบนแผ่นเวเฟอร์ ที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก จนกระทั่งจุดคุ้มทุนด้านพลังงาน (ที่ใช้ในการผลิต) นั้นอยู่ที่สามปีจึงเริ่มคืนทุน ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นเซลล์แบบบางที่ฉาบอยู่บนแผ่นแก้ว โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1.7 ปีโดยประมาณ และค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงอีกทั้งการผลิตจำนวนมากยังทำได้ยาก

Tags:
Node Thumbnail

รายงานการศึกษาล่าสุด เรื่องผลของ Wi-Fi ต่อสุขภาพ เปิดเผยว่า สัญญาณ Wi-Fi มีผลต่อทารกในครรภ์มารดา ซึ่งรายงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ ที่มีชื่อว่า the Australasian Journal of Clinical Environmental Medicine

โดยรายงานนี้ได้ระบุว่า สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยจากอุปกรณ์ที่มีสัญญาณ Wi-Fi เป็นสาเหตุให้เกิดการจับตัวกันของธาตุโลหะในเซลล์สมอง ซึ่งการสะสมนี้จะทำให้เกิดอาการออทิสติกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ออกมาย้ำรายงานของตนว่า สัญญาณ Wi-Fi ไม่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

Tags:
Node Thumbnail

การตื่นตัวของปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้เริ่มมีรายงานการวิจัยถึงการปล่อยสารเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์กันอยู่เรื่อยๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อรายงานฉบับล่าสุดของ MIT ออกมาระบุว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสารเรือนกระจกที่มากที่สุดในโลกนั้น กลับมีแนวโน้มที่จะปล่อยสารเรือนกระจกเหล่านี้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเร่ง โดยรายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาจากข้อมูลในช่วงปี 1950 มาจนถึงปี 2000 และใช้การประมาณการในปี 2000 ไปจนถึงปี 2050

Tags:
Node Thumbnail

เครื่องอ่านใจ (ที่จริงคือความคิดในสมอง) เป็นเรื่องที่จินตนาการกันมามากที่สุดเรื่องหนึ่งในนิยายวิทยาศาสตร์ และดูเหมือนว่าในวันนี้ความฝันนี้จะใกล้ความจริงเข้าไปอีกขั้น เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตันประกาศความสำเร็จเบื้องต้นในการแปลคลื่นสมองออกมาเป็นสัญญาณเสียง

ทีมทดลองใช้การฝังอิเล็กโตรดลึก 6 มิลลิเมตรลงไปใต้สมองเพื่อเชื่อมต่อกับนิวรอน 41 ตัว หลังจากนั้นจึงบันทึกค่าที่วัดได้เมื่ออาสาสมัครจินตนาการว่ากำลังพูดเสียงพื้นฐานหนึ่งในสามเสียง

หลังจากการฝึกฝนและวัดข้อมูลเป็นเวลาหลายปี ทีมงานก็สามารถคาดเดาเสียงที่ผู้ป่วยต้องการพูดได้แม่นยำถึงร้อยละ 80 ซึ่งแน่นอนว่ายังค่อนข้างห่างไกลจากการออกเสียงคำพูดซึ่งต้องมีเสียงพื้นฐานมากกว่านี้ และการแปลความหมายที่ซับซ้อนกว่านี้

Tags:
Node Thumbnail

รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ของมาเลเซีย นาย Jamaludin Jarjis ออกให้สัมภาษณ์ว่าทางการมาเลเซ็ยได้รับการติดต่อเสนอขายจรวด Soyuz TMA-11 (ดูวีดีโอการปล่อยจรวดจาก YouTube) ลำที่พานักบินอวกาศชาวมาเลเซียขึ้นไปยังอวกาศเมื่อเดือนตุลาคมที่แล้วกลับไปแสดงยังมาเลเซีย พร้อมกันนี้ก็ได้แสดงออกว่าทางการมาเลเซียเองก็มีความสนใจในข้อเสนอนี้ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันนี้ตัวจรวด TMA-11 ยังประจำการอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติในฐานะยานฉุกเฉิน โดยลูกเรือชาวมาเลเซียนั้นได้เดินทางกลับมากับยาน TMA-10 ก่อนหน้านี้แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าวเก่า DARPA Challenge เริ่มขึ้นอีกครั้ง ตอนนี้การแข่งขันเสร็จสิ้นไปแล้ว และผู้ที่สามารถสร้างรถหุ่นยนต์จนวิ่งเข้าเส้นชัยได้ตามเวลาที่กำหนด 6 ชั่วโมงมี 3 มหาวิทยาลัย

ทีมแรกที่ผ่านเกณฑ์คือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งใช้รถ VW Passat ชื่อ "Junior" ทีมที่สองคือมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (ใช้รถ Chevy Tahoe) และทีมสุดท้ายสถาบันเทคโนโลยีเวอร์จิเนีย ใช้รถ Ford Escape แบบไฮบริด ต้องหมายเหตุไว้นิดว่าแต่ละทีมเริ่มไม่พร้อมกันและได้รับเป้าหมายแตกต่างกันไป จึงต้องรอการตัดสินจากกรรมการว่าทีมไหนจะได้รับเงิน 2 ล้านเหรียญสำหรับรางวัลชนะเลิศ

Tags:
Node Thumbnail

หลังการส่งดาวเทียมไปดวงจันทร์ ทางการจีนก็ได้เปิดตัวฐานยิงจรวดแห่งใหม่ทางเหนือของเมืองเทียนจิน พร้อมกันนี้กับจรวดขนส่ง Long March 5 ที่เพิ่มระวางบรรทุกสูงสุดขึ้นไปอีกขึ้น

จรวดชุดใหม่นี้มีความสามารถในการบรรทุกดาวเทียมหนัก 25 ตัน ขึ้นไปโคจรในวงโคจรใกล้โลก และ 14 ตันสำหรับวงโคจรค้างฟ้า เทียบกับระวางบรรทุกก่อนหน้านี้ที่จำกัดอยู่ที่ 9 ตัน และ 5 ตันตามลำดับ

กำหนดการเริ่มใช้งานของฐานยิงจรวดแห่งใหม่อยู่ที่ปี 2012 ส่วนจรวด Long March 5 นั้นน่าจะใช้งานได้ในปี 2013

Tags:
Node Thumbnail

การแข่งขัน DARPA Challenge คงเป็นการแข่งขันที่น่าตื่นตาที่สุดอันหนึ่งในโลกหุ่นยนต์ หลังจากครั้งที่แล้ว มีการแข่งขันสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเดินทางข้ามทะเลทรายได้เอง การแข่งขันในปีนี้จะน่าสนุกกว่าเดิน ด้วยกติกาใหม่ที่เป็นการสร้างเมืองจำลองเพื่อให้รถทุกคันที่เข้าร่วมได้เดินทางตามเส้นทางที่กำหนด

ความท้าทายของการแข่งขันนี้อยู่ที่กติกาว่ารถทุกคันต้องทำตามกฏหมายจราจรของรัฐแคลิฟอร์เนียร์ และต้องทำตามป้ายบังคับต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเมื่อถึงทางแยกแล้วต้องขอหรือให้ทางกันอย่างเป็นระเบียบ และที่สำคัญที่สุด คือ อย่าชน!!!

Tags:
Node Thumbnail

ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ "คางุยะ" ของญี่ปุ่นได้ส่งภาพถ่ายโลกความละเอียดสูงระดับ 1920x1080 กลับมาสู่โลกแล้ว โดยภาพถ่ายโลกส่วนมากที่เราเห็นกันมักเป็นภาพถ่ายที่ระดับความสูงหลักร้อยกิโลเมตรเหนือผิวโลกเท่านั้น แต่ภาพถ่ายจากดาวเทียมคางุยะนี้ให้ภาพในมุมไกลจากระยะ 110,000 กิโลเมตร

ข้อมูลที่ดาวเทียมนี้ส่งมา จริงๆ แล้วเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายทุกๆ แปดนาที

อยากรู้ว่าความเร็วในการส่งข้อมูลนี่มันเท่าใหร่กันเนี่ย

ที่มา - The Future of Things, JAXA

Tags:
Node Thumbnail

การแข่งขันสู่อวกาศรอบใหม่กำลังดุเดือดเต็มที่เมื่อทางการจีนผ่านทางสำนักข่าวซินหัวได้รายงานถึงความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้ หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศความสำเร็จในการรับภาพถ่ายจากดาวเทียมของตนไปเมื่อ 13 วันก่อนหน้านี้

ดาวเทียม Chang'e 1 ถูกยิงขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในมณฑลเสฉวน ด้วยจรวด Long March 3A โดยตัวดาวเทียมหนัก 2,350 กิโลกรัม มีภารกิจในการสร้างภาพสามมิติของพื้นผิวดวงจันทร์ทั้งหมด พร้อมการตรวจจับข้อมูลอื่นๆ อีกหลายประการ โดยคาดว่าภาพแรกที่จะเริ่มส่งกลับสู่โลกจะมาในเดือนพฤศจิกายนนี้

Pages