หลังจากใช้ชื่อบ้านๆ มาพักใหญ่ วันนี้ Alphabet ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทวิจัยและพัฒนาเกี่ยววิทยาศาสตร์อย่าง Life Science ให้เป็นชื่อที่เรียกง่ายขึ้นอย่าง "Verily" แทน พร้อมกับเปิดตัวเว็บใหม่ Verily.com มาด้วย
Andy Conrad ผู้ซึ่งเผยชื่อใหม่ในระหว่างสัมภาษณ์ระบุว่า Verily นั้นหมายถึงสิ่งที่ "จริงแท้แน่นอน" ซึ่งการดำเนินงานภายใต้ Verily จะครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีร่วมกับด้านสุขภาพ เพื่อตรวจหา ป้องกัน และจัดการโรคร้าย
ช่วงนี้มีข่าวคนดังเปิดบัญชีโซเชียลกันเยอะ รายล่าสุดคือ Stephen Hawking นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ ที่เปิดเพจ Facebook ตั้งแต่ต้นเดือนนี้ และเมื่อคืนนี้เขาก็โพสต์ข้อความเป็นครั้งแรก
ข้อความแรกของ Hawking บอกว่าเขาสงสัยเรื่องการกำเนิดของจักรวาลมาโดยตลอด แม้การมีอยู่ของเวลาและอวกาศยังเป็นปริศนา แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความอยากรู้ของเขาได้ ตอนนี้เขามีโอกาสอันดีในการร่วมเดินทางตามหาความจริงกับทุกๆ คนผ่าน Facebook ขอให้ทุกคนจงหมั่นสงสัยต่อไป ดังเช่นที่เขาจะทำต่อไป (Be curious, I know I will forever be.)
อีกหนึ่งโครงการดีๆ ของกูเกิลครับ การประกวดแข่งขันผลงานทางวิทยาศาสตร์ของกูเกิลปีนี้มาแล้วครับ เป็นการประกวดแข่งขันที่เปิดโอกาสให้นักเรียน ที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี จากทั่วโลก ได้สร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ของตนเอง ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโลกได้ โดยอาจารย์และผู้ปกครองสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้สมัครได้ เพื่อเป็นกระตุ้นให้เกิดความรักและสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก
การสมัครและส่งผลงานอาจจะทำเดี่ยวหรือเป็นทีมก็ได้ การส่งผลงานจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองด้วย
ต้องส่งผลงานภายใน 30 เมษายนนี้ครับ งานนี้มีรางวัลมากมายเลยครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ตามลิงค์ไปดูแล้วกันนะครับ
กูเกิลเปิดตัวโครงการ Solve for X ซึ่งเป็นการระดมนักวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการ นักประดิษฐ์ นักคิด ฯลฯ มาเสนอวิธีการแก้ปัญหายากๆ ของโลก ("X") ด้วยเทคโนโลยีแขนงต่างๆ
อธิบายง่ายๆ มันคือ TED Talk เวอร์ชันของกูเกิล โดยกูเกิลจัดงาน Solve for X เมื่อสัปดาห์ก่อน เชิญคนดังจากทั่วโลกมาร่วมเสวนาปัญหาต่างๆ และอัดวิดีโอการพูดของแต่ละคนไว้เผยแพร่บนเว็บ
บนเว็บไซต์ของ Solve for X อธิบายว่ามันเป็นส่วนผสมของ 1) การแก้ปัญหาใหญ่ๆ ยากๆ ด้วย 2) วิธีการที่นอกกรอบ และ 3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่เหลืออ่านต่อกันเองจากเว็บไซต์หรือ Google+
หลุมอุกกาบาตนี้ถูกค้นพบอยู่บริเวณทะเลทรายซาฮาร่า และการค้นพบครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการพบหลุมอุกกาบาตที่สภาพดีที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา โดยหลุมอุกกาบาตนี้ชื่อว่า Kamil ผู้ค้นพบคือนักวิจัยชาวอิตาลี และเขาได้ใช้โปรแกรมที่เรารู้จักกันดีอย่าง Google Earth ในการสำรวจ
หลุมอุกกาบาตนี้มีขนาดกว้างที่สุดอยู่ที่ 147 ฟุต(45 เมตร) และ ลึกที่สุดที่ 52 ฟุต(16 เมตร) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหลุมอุกกาบาตนี้เกิดจากอุกกาบาต ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.2 ฟุต(1.3 เมตร) พุ่งเข้าชนพื้นโลกด้วยความเร็ว 8,000MPH (12,875 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงแต่อ่านคำพูดจากปาก ยังสามารถบอกความแตกต่างของแต่ละภาษาได้อีกด้วย
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย Anglia พัฒนาเทคโนโลยีนี้โดยคำนวนจาก การขยับปากของผู้ทดสอบจำนวน 23 คน ซึ่งสามารถพูดได้สองภาษาถึงสามภาษา
โดยเจ้าเครื่องที่ว่านี้สามารถระบุภาษาพูดในแต่ละภาษาได้อย่างแม่นยำมาก อีกทั้งยังสามารถระบุถึงคำของภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อาระบิก, จีนกลาง, จีนกวางตุ้ง, อิตาลี, โปแลนด์และรัสเซีย
The International Earth Rotation and Reference Systems Service ได้ออกมาประกาศว่าในปีนี้จะต้องมีการเพิ่มหนึ่งวินาทีเข้าไปในวันสุดท้ายของปีก่อนจะนับขึ้นปีใหม่ นั่นหมายความว่าปีนี้จะนานกว่าปีอื่นขึ้นอีก 1 วินาที
เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งบอก Happy New Year ใคร ณ เวลา 23:59:59 แต่ให้บอกเวลา 23:59:60 แทน หลังจากนั้น วินาทีถัดไปจะกลายเป็น 00:00:00
สาเหตุของการที่ต้องเพิ่มเข้าไปอีก 1 วินาทีนั้น เกิดจากความเร็วในการหมุนรอบตัวของโลก รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้บน Wikipedia ครับ
การเพิ่ม Leap Second หรือเพิ่มวินาทีเข้าไปในปีไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และทำกันมาหลายรอบแล้ว โดยครั้งล่าสุดคือเมื่อปลายปี 2005
DZero เป็นโครงการทดลองด้านฟิสิกส์พลังงานสูง (High-energy physics) ต้องพึ่งพาการประมวลผลสมรรถนะสูงเพื่อคำนวณงานประเภท Simulation ที่มีจำนวนมากถึง 60,000 -100,000 งานต่อสัปดาห์ และงานทั้งหมดนี้จะถูกส่งไปประมวลผลยังเครือข่ายกริด * ที่มีคอมพิวเตอร์กระจายตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆถึง 23 แห่ง โดยในอดีตนั้น DZero ประสบปัญหาจากการที่เครือข่ายกริดดังกล่าวไม่มี storage สำหรับจัดเก็บข้อมูลขาเข้า (input data) ของงานที่จะนำไปประมวลผล ที่แล้วมา DZero จะแก้ปัญหาโดยส่งข้อมูลขาเข้าจากหน่วยงานของผู้ใช้ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ในเครือข่ายกริด ซึ่งจะมีการขนส่งข้อมูลขาเข้าเช่นนี้ทุกครั้งที่งานต้องการข้อมูล แต่มีปัญหาที่ตามมา คือ ความล้มเหลวในการประมวลผลของงานมีโอกาสเกิดข
สาวชาวจีนต้องติดคุกเป็นเวลาหนึ่งปีหลังจากที่ศาลตัดสินว่าผิดจริงในการพยายามที่จะลักลอบส่งเทคโนโลยีที่เป็นความลับสูงเกรดทางทหารกลับไปสู่จีน
บทความนี้เป็นตอนแรกของซีรีย์ “เครื่องเร่งอนุภาค LHC กุญแจไขความลับของจักรวาล” ความยาว 2 ตอน เป้าหมายหลัก ก็คือ ทำความเข้าใจให้กับคนทั่วไป ว่าเครื่องเร่งอนุภาค LHC ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนหวาดวิตกกัน
สำหรับตอนแรก จะปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคและรายละเอียดของ LHC ก่อน ส่วนตอนที่ 2 จะเป็นสรุป, ข้อคิดเห็น และผลที่ได้รับจากการเดินเครื่อง LHC ในวันที่ 10 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยข้อมูลในบทความนี้ ผมจะยึดแนวทางจาก LHC the guide เป็นหลัก ใครสนใจก็สามารถไปหาฉบับเต็มมาอ่านกันได้
จากข่าว Large Hadron Collider จะกลายเป็นเครื่องมือล้างโลก? ความเป็นห่วงในความปลอดภัยของ LHC (เดินเครื่อง 10 กันยายนนี้) มีมากจนทำให้ทางศูนย์วิจัย CERN เจ้าภาพต้องออกมาสยบความเคลื่อนไหว
นอกจากหน้าเว็บอธิบายเรื่องความปลอดภัยตามปกติแล้ว CERN ยังสปอนเซอร์ให้ศิลปินแร็ปกลุ่มหนึ่งชื่อ Alpinekat เข้าไปถ่ายทำมิวสิกวิดีโอเพลงแร็ปที่อธิบายการทำงานของเครื่อง LHC ด้วย โดย CERN คงหวังว่าจะเข้าถึงวัยรุ่นที่ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ ได้มากขึ้น (แต่ผมดูแล้วคิดว่ามันยังยากอยู่ดีนะ)
วิดีโอดูได้ด้านใน
หลังๆ บ้านเราเริ่มมีกระแสดาราเรียนดีกันมากขึ้น แต่คงมีน้อยคนที่จะรู้ว่า Brian May มือกีต้าร์วงควีนอันโด่งดังนั้นทำวิทยานิพนธ์ด้านดาราศาสตร์มาตลอดสามสิบปีที่ผ่านมา โดยงานวิจัยของเขาได้รับการตีพิมพ์ในบทความที่ชื่อ A Survey of Radial Velocities in the Zodiacal Dust Cloud
รายงานฉบับนี้เป็นการรายงานการศึกษาแสง Zodiac ที่พบได้ในแถบเหนือเส้นศูนย์สูตร โดยเป็นการศึกษาผลจากการบันทึกค่ากว่า 250 ครั้งในช่วงปี 1971 ถึง 1972 และจากการตีพิมพ์รายงานฉบับนี้ทำให้ Brian May ได้สำเร็จตามหลักสูตรของ Imperial College แห่งกรุงลอนดอนแล้วในที่สุด
แถวนี้อาจจะมีคนทำวิทยานิพนธ์อยู่หลายคน เอาเป็นว่าสามสิบปีก็ยังไม่สายครับ
ใครจำภาพยนตร์เรื่อง Gattaca ได้ไหม ที่คนนิยมเลือกคู่เดทจากยีนที่ดีสุด ในวันนี้มันมีการเริ่มต้นในราคาที่ถูกแล้ว โดยบริษัทที่ชื่อว่า GenePartner (บริษัทแรกที่ทำชื่อ scientificmatch แต่ราคาแพงมากถึงเกือบ 2000 ดอลลาห์สหรัฐ)
นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาได้เปิดห้องสมุด ห้องใหม่ที่เป็นของยีนมนุษย์ในวิกิพีเดีย โดยจะมีมนุษย์มากกว่า 25,000 ยีนในจีโนมทั้งหมด และมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ 9,000 บทความ ที่จะเข้าไปอยู่ในหน้า Gene Wiki ซึ่งเป็นโครงการของ Genomics Institute ใน Novartis Research Foundation ที่ซานดิเอโก แคลิฟอเนีย
โดยเป้าหมายของโครงการนี้อยู่ที่การให้จุดเริ่มต้นของแต่ละยีนที่ตรงกัน ซึ่งหลังจากนั้นข้อมูลจะถูกเติมเพื่อให้ทันสมัยโดยชุมชน ตามแบบฉบับของวิกิพีเดีย
ต่อไปนี้หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดจะทำงานปลอดภัยขึ้น เพราะสามารถตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยจากระยะ 100 เมตรได้ โดยใช้อุปกรณ์เลเซอร์ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจาก Oak Ridge National Laboratory
ระบบดังกล่าวใช้หลักการ quantum cascade ซึ่งจะสร้างแสงเลเซอร์ออกมาในช่วงความถี่ย่าน infrared เมื่อเลเซอร์กระทบกับวัตถุที่มีสารเคมีจากวัตถุระเบิดปนเปื้อนอยู่ ก็จะเกิดการกระจายของแสง แสงบางส่วนจะสะท้อนกลับ และถูกตรวจจับโดยผลึกควอตซ์ แล้วเปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งสามารถแยกแยะได้ว่าระเบิดที่ใช้เป็นระเบิดชนิดใด
ถ้าได้มาให้ทหารทางใต้ใช้ก็ดีสิเนอะ
ที่มา Discovery
นักสำรวจพบว่าฤดูร้อนของ Antarctica ที่ผ่านมา มีลูกเพนกวินแข็งตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในตอนกลางวันซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังไม่มีขนที่สามารถกันน้ำได้เปียกโชก เมื่อกลางคืนมาเยือน อุณหภูมิจะต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังคงเปียกอยู่แข็งตาย
และแน่นอนว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งก็เกิดจากภาวะโลกร้อน (อีกแล้ว)
เพราะฉะนั้นก็ช่วยกันลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกันด้วยนะครับ
ที่มา National Geographic
100 ปีหลังเหตุการณ์การระเบิดที่ทุ่ง Tunguska ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโลกยังไม่มีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับหายนะดังกล่าว
การระเบิดที่ทุ่ง Tunguska กินอาณาบริเวณ 2,000 ตารางกิโลเมตร มีความรุนแรงเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima 200 ลูก ซึ่งอาจมีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน หากการระเบิดนี้เกิดในเมืองใหญ่
ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายเหตุการณ์นี้คือ เกิดจากอุกกาบาตชนโลก หรือระเบิดขณะอยู่ในอากาศเหนือพื้นที่ดังกล่าว
ผลการศึกษาใหม่พบว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ใต้ชั้นเปลือกโลก (liquid metal) ลึกลงไป 3,000 กิโลเมตร กำลังทำให้สนามแม่เหล็กในบางภูมิภาคของโลกอ่อนลง
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าความผันผวนของสนามแม่เหล็กโลกกำลังเกิดขึ้นในหลายภูมิภาค โดยในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์พบความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กในแถบออสเตรเลีย และปี 2004 ในแถบแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ข้อมูลจากดาวเทียมยังแสดงให้เห็นว่าบริเวณทางตะวันออกของประเทศบราซิล มีระดับสนามแม่เหล็กต่ำกว่าส่วนอื่นของโลกในละติจูดเดียวกัน
ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของการกลับทิศของสนามแม่เหล็กโลกในไม่ช้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังต้องจับตามองต่อไป
การวิจัยที่ผ่านๆ มาพบว่าพืชและสัตว์หลายสปีชีส์ค่อยๆ ย้ายถิ่นฐานเข้าใกล้ขั้วโลกมากขึ้น
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่าพืชต่างๆ กำลังย้ายถิ่นฐานขึ้นสู่ที่สูงอย่างช้าๆ เพื่อจะได้เติบโตในอุณหภูมที่เหมาะสม โดยมีอัตราเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ฟุตต่อปี
และเนื่องจากพืชแต่ละสปีชีส์มีอัตราการเขยิบขึ้นที่สูงไม่เท่ากัน นักวิจัยจึงเกรงว่านี่อาจทำให้ระบบนิเวศน์เกิดการเปลี่ยนแปลง
ที่ว่าพืชเขยิบขึ้นไปก็หมายถึงว่าพืชที่เคยอยู่ข้างล่างจะค่อยๆ ตาย ส่วนที่อยู่สูงขึ้นไปก็ค่อยๆ ขยายพันธุ์ขึ้นที่สูงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มันเดินขึ้นไปหรอกนะ
แล้วเราล่ะ จะอพยพตามมันไปมั้ย...
ที่มา National Geographic
เว็บไซต์ Discovery Channel ได้จัดอันดับโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 9 โครงการที่ใหญ่ที่สุด (มีแซวเล่นๆ ด้วยว่า "นับตั้งแต่สร้างปีรามิดขึ้นมา") ไม่เรียงลำดับ ทั้ง 9 โครงการได้แก่
นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยแคนาดาไม่พอใจกับการอ่านข่าววิทยาศาสตร์ผ่าน Google News และ Yahoo News จึงได้สร้างตัวรวมข่าวที่เหมาะสมสำหรับนักวิทยาศาสตร์ขึ้นมา
นักวิจัยด้าน HIV ที่มหาวิทยาลัยลาวาล ใน ควิเบก ได้ปล่อยเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า e! Science News เมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีผู้ใช้มากกว่า 300,000 คนและคนเข้าชมวันละ 5,000 คน
นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันเป็นครั้งแรก ว่าสารพันธุกรรมตั้งต้นของสิ่งมีชีวิต ซึ่งพบอยู่ในชิ้นส่วนของอุกกาบาต มาจากนอกโลก การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าโมเลกุลของดีเอ็นเอและอาเอ็นเอ เริ่มต้นมาจากดาวดวงอื่น การค้นพบครั้งนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Earth and Planetary Science Letters
นักวิจัยทั้งจากยุโรปและสหรัฐ ต่างมีหลักฐานในการสนับสนุนงานวิจัยชิ้นนี้ โดยเฉพาะโมเลกุลของ ยูเรซิล (Uracil) และแซนทิน (Xanthine) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นโมเลกุลตั้งต้น ในการสร้างดีเอ็นเอและอาเอ็นเอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ นิวคลีโอเบส (Nucleobases) โดยที่ทั้ืงสองโมเลกุล ถูกค้นพบในขิ้นส่วนของอุกกาบาตที่ชื่อ Murchison ซึ่งตกที่ออสเตรเลียเมื่อปี 1969
ปัญหาโลกร้อนที่เราพยายามลดการปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศนั้น เป็นที่รู้กันมานานว่ามหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ ครองแชมป์ประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุดมาเป็นเวลานาน แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดของจีนก็ทำให้ปี 2007 ที่ผ่านมา จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ไปได้ในที่สุด
ปี 2007 ที่ผ่านมาจีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศร้อยละ 24 ของปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งโลก ขณะที่สหรัฐฯ มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 21 สหภาพยุโรปนั้นตามมาเป็นอันดับสามที่ร้อยละ 12 ส่วนอันดับสามและสี่นั้นคือ อินเดียและรัสเซียที่ร้อยละ 8 และร้อยละ 6 ตามลำดับ
เชื่อว่าทุกคนคงจำข่าวสมาคมนักดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU - International Astronomical Union) ลงมติปลดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ และถูกลดชั้นเป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) กันได้แม่น (เพราะต้องเปลี่ยนความรู้ที่เคยเรียนมากันหมด)
เหตุผลที่ดาวพลูโตถูกปลดเป็นเรื่องของระยะทาง ซึ่ง IAU บอกว่า "ดาวเคราะห์" นั้นต้องอยู่ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์มากจนเกินไป ทาง IAU จึงต้องคิดศัพท์ใหม่มาเรียก ซึ่งชื่อแรกที่เสนอ pluton (พลูตัน) ไม่ผ่านเพราะไปชนกับคำศัพท์ด้านธรณีวิทยา ระหว่างนี้จึงใช้คำว่า transneptunian dwarf planet ไปพลางๆ ก่อน
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การศึกษาการหมุนของหญ้าหนวดฤาษี สามารถชนะใจกรรมการ คว้ารางวัลระดับโลก ในการแข่งขันงาน Intel ISEF 2008 ที่เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
โครงงงานดังกล่าว เป็นการศึกษากลไกการหมุนของหญ้าหนวดฤาษี โดยการนำไปแช่น้ำแล้วสังเกตุด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ส่วนกลางของเมล็ดจากเดิมที่มีลักษณะเป็นเกลียวจะเปลี่ยนเป็นรูปเส้นตรงเมื่อโดนน้ำ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหมุน อุณหภูมิที่ต่างกันก็ทำให้ทิศทางการหมุนที่ต่างกัน โดยถ้าอุณหภูมิต่ำเมล็ดจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเมล็ดก็จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว อาจสามารถนำไปประยุกต์เป็นเครื่องมือใช้วัดความชื้นของผลิตผลทางการเกษตรได้