Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มหาวิทยาลัยบราวน์รายงานถึง Manfred Steiner ชายวัย 89 ปีที่สอบจบปริญญาเอกฟิสิกส์สำเร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาในหัวข้อ "Corrections to the Geometrical Interpretation of Bosonization" โดย Steiner ระบุว่าเขาอยากเป็นนักฟิสิกส์มาตั้งแต่เด็ก แต่ครอบครัวอยากให้เป็นหมอ

Steiner ได้ปริญญาเอกแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวียนนาตั้งแต่ปี 1955 และหลังจากนั้นก็ได้ปริญญาเอกใบที่สองสาขาชีวเคมีจาก MIT ในปี 1967 และหลังจากนั้น Steiner ก็ทำงานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบราวน์จนเกษียณปี 2000

Tags:
Node Thumbnail

รางวัล Ig Nobel มอบรางวัลให้กับนักวิจัยทั่วโลกจากแง่มุมความขำขันของงานวิจัย มีนี้มีงานวิจัยที่ได้รับรางวัล 10 สาขาวิชา ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือก SpaceX เป็นบริษัทผู้พัฒนายานอวกาศส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ภายใต้โครงการ Artemis ที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกรอบ (เลือกตั้งชื่อ Artemis ให้สอดคล้องกับโครงการ Apollo ในอดีต)

โครงการ Artemis จะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใหม่หมดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การไปดาวอังคาร ตั้งแต่ฐานยิงจรวด จรวด ยานอวกาศ ไปจนถึงชุดอวกาศ ตามแผนของ NASA จะแบ่งออกเป็น 3 เฟสคือ Artemis I ทดสอบยิงจรวดที่ไม่มีมนุษย์ ภายในปี 2021, Artemis II ยิงจรวดที่มีมนุษย์ภายในปี 2023 และ Artemis III ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงๆ ในปี 2024 โดยกำหนดว่าจะมีผู้หญิงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรกด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ก๊าซคารบอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2) ที่ได้มาจากการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงฟอซซิลนั้นนอกจากจะไม่ดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังไม่ดีต่อร่างกายและสมองคนอีกด้วย โดยคริสโตเฟอร์ คาร์นอสคัส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์และคณะได้วิเคราะห์ปริมาณของ CO2 ภายในอาคารแล้วพบว่า ระดับก๊าซนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นและจะส่งผลต่อมนุษย์ได้โดยตรง เขาได้คาดการณ์ว่า หากภาวะโลกร้อนยังไม่ได้รับการแก้ไข ก๊าซCO2จะเพิ่มปริมาณจาก 410 ppm (parts per million, ส่วนในหนึ่งล้าน) เป็น 930 ppm ในปีค.ศ. 2100 ในพื้นที่ภายนอกอาคาร ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ในอาคาร เช่น ห้องเรียน มีปริมาณของ CO2 สูงถึง 1400 ppm และจะส่งผลทำให้การตัดสินใจของคนแย่ลงไปถึง 25-50%

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ SETI@home ที่เป็นต้นแบบของ distributed computing กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกันแชร์พลังจากคอมพิวเตอร์ของตัวเองช่วยประมวลผลข้อมูล โครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 นับเวลาถึงปัจจุบันนานกว่า 20 ปี ล่าสุดประกาศยุติการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ช่วยประมวลผลในวันที่ 31 มีนาคม 2020

หน้าเว็บของโครงการระบุว่า ตอนนี้มีข้อมูลเยอะพอกับความต้องการแล้ว และการจัดการกับข้อมูลที่กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกัน กลายเป็นภาระของทีมงาน ที่ควรจะไปโฟกัสที่การวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Richmond นำโดยศาสตราจารย์ Kelly Lambert ฝึกหนูให้ขับรถขนาดเล็ก ด้วยการจับแท่งทองแดงเพื่อควบคุมรถ โดยมีแท่งทองแดงสามชิ้นให้รถวิ่งตรง, เลี้ยวซ้าย, และเลี้ยวขวา

หนูที่สามารถขับรถไปยังเป้าหมายได้สำเร็จจะได้รับซีเรียลเป็นรางวัล โดยครั้งแรกๆ เพียงบังคับรถให้เดินหน้าก็ได้รางวัลหลังจากนั้นก็เพิ่มเป้าหมายให้ต้องขับรถไปไกลขึ้นเรื่อยๆ นักวิจัยพบว่าหนูสามารถขับรถในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้รถไปยังเป้าหมายได้

Kelly ระบุว่าความสามารถในการขับรถ แสดงให้เห็นความสามารถในการตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ หรือ neuroplasticity โดยในอนาคตนักวิจัยอาจจะเพิ่มความซับซ้อนถึงระดับที่ให้หนูขับรถเพื่อแก้ปัญหาเขาวงกตได้

Tags:
Node Thumbnail

สมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) ประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2019 เป็นรางวัลร่วมของนักวิทยาศาสตร์ 3 รายจากการพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-on)

แบตเตอรีลีเธียมไอออนเริ่มจากข้อเสนอของ M. Stanley Whittingham นักวิทยาศาสตร์อังกฤษขณะทำงานในบริษัท Exxon เมื่อช่วงปี 1970 แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นไทเทเนียมและลิเธียมที่มีราคาแพงมาก จากนั้นกลุ่มของ John Goodenough สามารถสร้างแบตเตอรีจริงที่มีความต่างศักย์ 4V ในปี 1979 และ Akira Yoshino พัฒนาการใช้วัสดุคาร์บอนมาสร้างเซลล์แบตเตอรี ทำให้ตัวแบตเตอรีมีความปลอดภัยขึ้นอย่างมากในปี 1985

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจากมหาวิทยา Purdue เผยแพร่รายงานวิจัยถึงความต้านทานยาฆ่าแมลงของแมลงสาบลงในวารสาร Scientific Report ระบุถึงความสามารถปรับตัวที่ดีเยี่ยมของแมลงสาบ

ทีมวิจัยทดสอบทดสอบการใช้ยาฆ่าแมลงในอาคารหลายอาคารนาน 6 เดือนโดยแบ่งวิธีการออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่

  1. ฉีดยาฆ่าแมลงทีละชนิด ชนิดละ 1 เดือน นาน 3 เดือน ทำซ้ำสองรอบ
  2. ใช้ยาสองชนิดผสมกันแล้วฉีดเหมือนเดิมนาน 6 เดือน
  3. ทดสอบความต้านทานยาฆ่าแมลงของแมลงสาบในอาคารก่อน แล้วเลือกยาฆ่าแมลงที่แมลงในอาคารนั้นๆ ต้านทานได้น้อยที่สุดชนิดเดียวนาน 6 เดือน

ผลทดสอบได้ผลที่น่าประหลาดใจ คือ มีเพียงอาคารในกลุ่มที่ 3 เท่านั้นที่ปริมาณแมลงสาบลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นปริมาณประชากรแมลงสาบกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐ Virginia ได้ตัวนางงามประจำรัฐคนใหม่ ผู้ที่คว้ามงกุฎ Miss Virginia 2019 ไปครองได้สำเร็จนี้คือนักศึกษาปริญญาโทจาก Virginia Commonwealth University และหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เธอสร้างความติดตรึงประทับใจแก่กรรมการจนช่วยส่งให้เธอชนะการประกวด ก็คือการแสดงบนเวทีที่เธอเลือกเอาการทดลองทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอ

เมื่อ 4 ปีก่อน Camille Schrier สาวน้อยวัย 18 ปีในขณะนั้นตระหนักดีว่าตัวเธอนั้นขาดซึ่งทักษะการแสดงบนเวทีทั้งการร้องการเต้น ที่เรียกได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เธอประสบความสำเร็จกับวงการนางงามได้ ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจพับความฝันเรื่องการขึ้นสู่เวทีนางงามหลังจากที่ได้รับการตอบตกลงให้เข้าศึกษาที่ Virginia Tech

Tags:
Node Thumbnail

Chan Zuckerberg Initiative (CZI) บริษัทลงทุนเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของคู่สามีภรรยา Mark Zuckerberg และ Priscilla Chan ประกาศให้ทุนโครงการ Human Cell Atlas และโครงการย่อยอีก 38 โครงการ เพื่อสร้างแผนที่เซลล์ของร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด

แต่ละโครงการมีเป้าหมายสร้างแผนที่เซลล์ส่วนต่างๆ เช่น ตับ, ตา, หัวใจ โดยใช้เซลล์จากคนที่มีสุขภาพแข็งแรงดี เพื่อให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราเมื่อเป็นโรคขึ้นมา

โครงการทั้งหมดที่ได้รับทุนจะมีวิศวกรซอฟต์แวร์หรือนักชีววิทยาสาย computational biology อย่างน้อยหนึ่งคน ข้อมูลที่ได้จะเปิดให้นักวิจัยเข้าถึงได้ฟรี โดยทาง CZI จะร่วมมือกับสถาบันวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งสร้างแพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติในชื่อกลุ่ม Event Horizon Telescope (EHT) เปิดเผยภาพหลุมดำที่ถ่ายได้เป็นภาพแรกของโลกซึ่งเป็นภาพของกาแล็กซี่ M87 ที่ห่างออกไปจากโลก 55 ล้านปีแสง ภาพที่ได้นี้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุจาก 8 ที่ในการถ่าย

จากภาพถ่ายที่ปรากฎศูนย์กลางวงกลมสีดำเป็นขอบของ event horizon ซึ่งเป็นบริเวณที่วัตถุหรือแม้แต่แสงไม่สามารถหนีออกจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำได้และขอบสว่างโดยรอบที่เรียกว่า ring of fire เกิดจากแก๊สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งตรงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้

Tags:
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมกันโหวตอนุมัติการเปลี่ยนนิยามมาตรฐานของ "กิโลกรัม" ไปแล้วเมื่อกลางวันวันนี้ ณ ที่ประชุมทั่วไปด้านน้ำหนักและการชั่งตวงวัดที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนการนิยามจาก "น้ำหนัก 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับมวลสารแบบประถมระหว่างประเทศของกิโลกรัม" เป็นการอ้างอิงจากค่าคงที่ธรรมชาติ โดยใช้ค่าคงที่ของพลังค์ (Planck Constant) แทน โดยการวัดเทียบค่าอย่างซับซ้อนเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้ได้ค่าคงที่ของพลังค์ที่แม่นยำที่สุดออกมา นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงนิยามของหน่วย เคลวิน โมล และแอมแปร์ เพื่อให้มาอ้างอิงกับค่าคงที่ใหม่ของกิโลกรัมนี้ตามด้วย โดยจะมีผลในวันที่ 20 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

Tags:
Node Thumbnail

รางวัล Ig Nobel ปีนี้ประกาศผลไปเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ปีนี้มีงานวิจัยที่ได้รับรางวัลรวม 10 รางวัล แต่มีงานวิจัยใหม่ๆ (ตีพิมพ์ปี 2016 ขึ้นมา) เพียง 4 รางวัล

งานวิจัยที่ได้รางวัลได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานถึงงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ที่ตีพิมพ์ออกมาในปีนี้ ระบุถึงรูปแบบของตัวเลขจำนวนเฉพาะ ว่าสามารถมองเป็นเหมือนการหักเหของแสงเมื่อผ่านผลึกคริสตัล และบางเว็บคาดเดาถึงผลกระทบว่าอาจจะทำให้กระบวนการเข้ารหัส ซึ่งใช้จำนวนเฉพาะอย่างหนัก ว่าอาจจะอ่อนแอลงได้ เช่น Science Alert ระบุ (อย่างผิดๆ) ว่ากระบวนการเข้ารหัส RSA อาศัยความสุ่มของตัวเลขจำนวนเฉพาะ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ย้อนกลับไปในปี 2016 มีข่าวน่าตื่นเต้นในวงการอวกาศเรื่องเครื่องยนต์ EmDrive ผ่าน Peer Review ใช้งานได้จริงแม้ไม่รู้ว่าทำไม ซึ่งช่วยสร้างความหวังให้การเดินทางในอวกาศโดยไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเชื้อเพลิง มาวันนี้ทีมนักวิทยาศาตร์จากเยอรมันอาจสามารถไขปริศนาดังกล่าวได้แล้ว

ทีมวิจัยนำโดย ศ.ดร. Martin Tajmar แห่ง Technische Universität Dresden ได้ทดลองสร้างเครื่องยนต์ EmDrive แบบเดียวกับของ NASA ในสภาพแวดล้อมสุญญากาศที่ควบคุมแรงสั่นสะเทือน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบกับแรงผลักของเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยไม่สามารถห่อหุ้มเครื่องยนต์เพื่อป้องกันผลจากสนามแม่เหล็กโลกได้

Tags:
Node Thumbnail

The Royal Society เผยแพร่บทสัมภาษณ์เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 ในฐานะผู้ร่วมเขียนในชื่อที่สามของรายงานวิจัย "A DFT investigation of the blue bottle experiment: Ehalf-cell analysis of autoxidation catalysed by redox indicators" (doi: 10.1098/rsos.170708) และยังเป็นนักร้องไปพร้อมกัน

บทส้มภาษณ์พูดถึงตัวงานวิจัยที่สำรวจกลไกในการทดลอง blue bottle และเสนอสูตรเคมีของกระบวนการในการทดลอง โดยรายงานวิจัยนี้เป็นชิ้นที่สองของเธอในการเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล และยังต้องทำต่อเนื่องอีกชิ้นเพื่อจบการศึกษา

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียภายใต้การดูแลจากสภาวิจัยแห่งชาติของออสเตรเลีย (ARC: Australia Research Council) เผยแพร่งานวิจัยชิ้นใหม่ที่เป็นการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แบบใหม่ลงวารสาร Scientific Reports

กล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวนี้เป็นแบบที่ติดกับโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ต้องใช้แสงจากภายนอกในการช่วยส่อง แต่ใช้ไฟจากแสงแฟลชของโทรศัพท์มือถือ กล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวสามารถสร้างได้จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งทีมคณะนักวิจัยจากออสเตรเลียได้เปิดไฟล์ให้ผู้สนใจสามารถเอาไปพิมพ์ได้

งานวิจัยดังกล่าวระบุว่า ด้วยขั้นตอนที่น้อยกว่าในการประกอบ และความละเอียดที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์นี้ จะทำให้มีประโยชน์อีกมาก ตั้งแต่การใช้งานในห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงการใช้งานในภาคสนาม

Tags:
Node Thumbnail

จากเหตุการณ์ SpaceX ยิงจรวด Falcon Heavy พร้อมส่งรถยนต์ Tesla Roadster ไปยังดาวอังคาร ที่สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในสัปดาห์ก่อน

แต่สิ่งที่เดินทางไปยังดาวอังคารด้วย ไม่ได้มีแค่รถ Tesla และชุดอวกาศ Starman ในที่นั่งคนขับเพียงเท่านั้น เพราะ Elon Musk ส่งนิยายวิทยาศาสตร์ชุด "สถาบันสถาปนา" ไตรภาคแรก (Foundation Trilogy) ขึ้นไปกับ Tesla ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

คืนวันพรุ่งนี้ (31 มกราคม 2018) จะมีปรากฏการณ์ "Super Blue Blood Moon" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ 3 อย่างที่เกิดพร้อมกัน ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

อิทธิพลแอพแชทสร้างพฤติกรรมบางอย่างให้ผู้ใช้ คือการตอบข้อความแชทที่คนอื่นส่งมาหาอย่างรวดเร็ว (และจะตอบเร็วเป็นพิเศษเมื่อคนรัก และครอบครัวแชทมา) ฉะนั้น ข้อความที่ขึ้นว่าอ่านแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับ สร้างผลกระทบต่อจิตใจอย่างคาดไม่ถึง

Tony D. Sampson ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย East London ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมสื่อดิจิทัลและการสื่อสาร โดยเน้นไปที่การสร้างนิสัยแบบดิจิทัล ระบุว่าการตอบแชทอย่างเร็วเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมโซเชียลมีเดีย ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนอยู่บนแพลตฟอร์มให้นานที่สุด และผลทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อข้อความขึ้นว่าอ่านแล้ว (read) แต่ไม่ตอบกลับทันที คือ ความกังวล ความรู้สึกผิด และตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองพิมพ์ออกไปว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

Tags:
Node Thumbnail

ข่าวใหญ่ในแวดวงวิทยาศาสตร์สัปดาห์นี้ คือการยืนยันว่าพีระมิดคูฟูแห่งเมืองกิซา ประเทศอียิปต์ มี "ช่องว่าง" ขนาดใหญ่อยู่ภายในที่ยังอธิบายไม่ได้ว่าสร้างไว้เพื่ออะไร โดยใช้เทคนิคการตรวจจับอนุภาคมูออน (muon) ที่วิ่งผ่านพีระมิดทั้งอัน แล้วตรวจสอบจากการสะท้อนของอนุภาคว่ามีช่องโพรงหรือไม่ (รายละเอียดดูในเว็บไซต์ ScanPyramids และ Nature)

การค้นพบครั้งนี้ส่งผลให้มีแฟนๆ ของเกม Assassin’s Creed Origins ภาคล่าสุดที่ใช้ฉากหลังเป็นอียิปต์เช่นกัน ไปแซวว่าเกมต้องออกแพตช์ใหม่ เพื่ออัพเดตพีระมิดให้มีช่องว่างตามแล้วล่ะ

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อกลางปีที่แล้ว Google ได้ออกแอพ Science Journal บน Android ที่ช่วยเก็บสถิติจากเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์สำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็ก ๆ

ล่าสุด Google ปรับปรุงแอพ Science Journal ใหม่ โดยเพิ่มฟีเจอร์ให้ใส่โน้ตและรูปภาพเพิ่มเติมจากข้อมูลที่เก็บจากเซนเซอร์เอาไว้ และเพิ่มฟีเจอร์ให้เล่นกับเซนเซอร์ได้อีก 3 แบบ รวมถึงสามารถเก็บ snapshot ของข้อมูลเซนเซอร์ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ได้ด้วย

นอกจากนี้ แอพ Science Journal ก็มีพาร์ทเนอร์อย่าง California Academy of Sciences, New York Hall of Science และ Science Buddies สร้างกิจกรรมให้ทำในแอพเพิ่มเติมอีก 20 แบบ อย่างเช่นการติดสปริงเข้ากับมือถือ หรือวัดการเคลื่อนไหวของล้อจักรยาน

Tags:
Node Thumbnail

Berliner Morgenpost เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมัน เปิดเว็บไซต์แบบ Interactive เทียบขนาดของภูเขาน้ำแข็ง "ลาร์เซน ซี" ที่กำลังแตกตัวจากทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งภูเขาน้ำแข็งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้

ด้วยความหนา 200 เมตรและกินพื้นที่ 6,000 ตร.กม. ผู้เขียนลองลากกราฟิกมาวางไปเหนือกรุงเทพฯ พบว่ามันมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่นี้เสียอีก! (กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 1,569 ตร.กม.)

การแตกตัวนี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ หลังเฝ้าดูรอยร้าวบนชั้นน้ำแข็งนี้มากว่า 10 ปี ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ ภูเขาน้ำแข็งจะแตกตัวออก และลอยตามกระแสลมขึ้นไปทางเหนือจนเป็นอันตรายต่อการเดินเรือขนส่ง

Tags:
Node Thumbnail

ยานอวกาศ Juno ของ NASA โคจรใกล้ "จุดแดงยักษ์" (Great Red Spot) ของดาวพฤหัส และส่งภาพถ่ายความละเอียดสูงกลับมาถึงโลก ช่วยให้มนุษย์ได้เห็นภาพจุดแดงยักษ์แบบชัดๆ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน

ยาน Juno ถูกยิงขึ้นอวกาศตั้งแต่ปี 2011 และทำภารกิจโคจรรอบดาวพฤหัสมาเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ล่าสุด Juno เข้าไปใกล้ผิวดาวพฤหัสโดยลอยอยู่เหนือขอบเมฆ 3,500 กิโลเมตร เพื่อถ่ายภาพจุดแดงยักษ์นี้มา

จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสมีขนาดยาวประมาณ 16,000 กิโลเมตร (เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกยาว 12,742 กิโลเมตร) และถูกมนุษย์ค้นพบครั้งแรกในปี 1830

Tags:
Node Thumbnail

แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันแพทย์จำนวนหนึ่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบัน MIT เผยว่า การกินขี้มูกดีต่อสุขภาพ เป็นแหล่งรวมแบคทีเรียดี ไม่เป็นของสกปรกที่ร่างกายต้องกำจัดออกอีกต่อไป

คณะแพทย์ระบุว่าการกินขี้มูกช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เกาะตามฟัน และยังสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ แผลในกระเพาะอาหาร และแม้แต่เชื้อ HIV คณะวิจัยยังทดลองสร้างยาสีฟันและหมากฝรั่งที่มีสารสกัดจากน้ำมูกเพื่อพิสูจน์การทดลอง

Pages