Geoffrey Hinton และ John Hopfield เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2024 จากผลงานวิจัยด้าน machine learning
John Hopfield ปัจจุบันอายุ 91 ปีแล้ว เขาจบปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์จาก Cornell University และเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน neural network และคิดค้น Hopfield network เครือข่ายนิวรอนแบบชั้นเดียว ที่นิวรอนแต่ละตัวเชื่อมกับนิวรอนตัวอื่น
Geoffrey Hinton หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ AI สาย neural networks และเป็นผู้คิดเทคนิค backpropagation ประกาศลาออกจากกูเกิล หลังทำงานครึ่งตัวในทีม Google Brain มาตั้งแต่ปี 2013 (อีกครึ่งตัวทำงานอยู่ที่ University of Toronto)
Hinton ที่ตอนนี้อายุ 75 ปีแล้ว ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ว่าเขาตัดสินใจลาออกจากกูเกิล เพราะต้องการเป็นอิสระในการวิจารณ์ผลกระทบทางลบของ AI ที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเขาวิจารณ์กระบวนการพัฒนา AI ว่าควรชะลอลงจนกว่าวงการนักวิจัยจะเข้าใจมันดีพอ
มุมมองของ Hinton คือ AI ส่งผลกระทบต่อสังคมมนุษย์หลายอย่าง ทั้งการเข้ามาแทนที่คน ทำให้คนตกงาน ไปจนถึงการที่ AI เรียนรู้พฤติกรรมไม่ดีจากข้อมูลจำนวนมาก แล้วคนกลับเชื่อ AI เพราะมองว่า AI ฉลาดกว่าเก่งกว่า
หลังจากเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ImageNet LSVRC ได้ไม่นานทีมวิจัย Heterogeneous Computing ถูกจับได้ว่าละเมิดกติกาของการแข่งขัน ทาง Baidu จึงทำการไต่สวนและพบว่าทีมวิจัยละเมิดกติกาจริง จากกรณีดังกล่าว ล่าสุด Baidu ออกมายอมรับและไล่หัวหน้าทีมวิจัยออกแล้ว
คำว่า "fellow" มีความหมายหนึ่งคือการเป็นสมาชิกที่ผลงานได้รับการยอมรับจากหน่วยงานด้านวิชาการ-สมาคมวิชาชีพ (เช่น research fellow)
บริษัทไอทีบางแห่งที่เน้นเรื่องการวิจัยเชิงวิชาการ ก็นำระบบ fellow มาใช้งานกับพนักงานของตัวเองด้วย ตัวอย่างที่พูดกันบ่อยๆ คือ IBM (ที่พนักงานในสังกัดได้รางวัลโนเบลไปแล้ว 5 คน) มีตำแหน่งชื่อ IBM Fellow ที่ซีอีโอจะเป็นคนแต่งตั้งพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดเพียงไม่กี่คนต่อปีเป็น IBM Fellow อันทรงเกียรติ
ที่ผ่านมา หลายบริษัทได้ขยับตัวไปเล่นในตลาดเทคโนโลยีทางด้านเสียงมากขึ้น อย่างการนำไปประยุกต์เป็น voice input/output ในสมาร์ทโฟน หรือการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ด้วยความที่ผมสนใจในเรื่องพวกนี้อยู่พอสมควร แล้วก็มีโอกาสได้เห็นการสาธิตโปรแกรม VAJA ของ สวทช. ในงาน Microsoft Innovation Days จึงได้นัดสัมภาษณ์ ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศแห่ง NECTEC บุคคลหนึ่งที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของโปรแกรมนี้เกี่ยวกับแนวคิดและความเป็นมาในการวิจัยและพัฒนาโปรแกรม
Motorola เพิ่งว่าจ้าง ดร. Ivan Poupyrev อดีตนักออกแบบของ Disney Research ผู้ร่วมวิจัยเทคโนโลยี Touché
Poupyrev จะเข้ามาทำงานในฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีล้ำยุค ซึ่งผลงานล่าสุดของฝ่ายนี้คือสมาร์ทโฟนแบบปรับแต่งได้อย่าง Moto X นั่นเอง โดยคาดว่า Poupyrev จะเข้ามาช่วยเพิ่มความหลากหลายในงานออกแบบการทางเลือกในการปรับแต่งสมาร์ทโฟนให้มีการตอบสนองต่อผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
Peter Kleissner ได้พบช่องโหว่ที่เป็นปัญหาในด้านของความปลอดภัยใน Windows Developer Preview โดยเขาได้สร้าง bootkit ที่สามารถข้ามผ่านการตรวจสอบของ User Account Control (ไม่มีการถามผู้ใช้งานเลยว่าต้องการจะรันโปรแกรมนี้หรือไม่) ไปได้ด้วยโค้ดขนาดเพียง 14KB เท่านั้น การโจมตีแบบนี้ทำให้สามารถใช้งาน Command Prompt ได้ภายใต้ SYSTEM account ได้ ลองชมวีดีโอสาธิตได้ที่นี่ครับ
ผลวิจัยจากสถาบัน Ponemon Institute รายงานว่า การที่พนักงานของบริษัททำแล็ปท็อปหายหรือถูกขโมยไปหนึ่งเครื่อง จะทำให้บริษัทสูญเสียรายได้โดยเฉลี่ยถึง 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,750,000 บาท) โดยคำนวณจากราคาเครื่องที่ต้องมาใช้ทดแทน ค่าเสียเวลาและโอกาสในการทำธุรกิจ และที่สำคัญคือข้อมูลสำคัญของบริษัทที่อาจจะถูกมือดีนำไปใช้
Ponemon Institute ได้ทำการศึกษาจากกรณีแล็ปท็อปสูญหายของ 28 บริษัทเอกชนในสหรัฐ พบว่าค่าเฉลี่ยที่บริษัทต้องเสียโอกาสต่อเึครื่องแล็ปท็อปหนึ่งเครื่อง อยู่ที่ 49,246 เหรียญสหรัฐ โดยค่าเสียโอกาสต่ำที่สุดอยู่ที่ 1,200 เหรียญสหรัฐ และสูงที่สุดมากถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
Dr Vinesh Oommen นักวิทยาศาสตร์จาก Queensland University of Technology's Institute of Health and Biomedical Innovation ได้ทำการวิจัยผลสำรวจเกี่ยวกับการจัดพื้นที่ทำงานของออฟฟิศสมัยใหม่กับผลของการทำงานและสุขภาพทั่วโลก ได้ผลออกมาเป็นผิดความคาดหมายมาก
ข้อสรุปจากผลสำรวจพบว่า 90% ของพื้นที่ทำงานแบบเปิด (คือมีห้องน้อยๆ ไม่มี pratition กั้นระหว่างพนักงาน) พนักงานจะมีความเครียดสูง, ความดันสูง, ผลการทำงานต่ำ และมีการลาออกสูงมาก
หลายๆ คนในที่นี้คงเคยดู The Last Lecture กันไปบ้างแล้วคงไม่ต้องอธิบาย ข่าวนี้จบแค่นี้
ส่วนคนที่ยังไม่เคยดูก็อธิบายคร่าวๆ ว่าซีรีย์ The Last Lecture ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon จะเชิญอาจารย์ดังๆ มาบรรยายโดยให้โจทย์ว่าถือเป็นการบรรยายครั้งสุดท้ายในชีวิตของตัวเอง แต่ปรากฎว่าในบรรดาคนพูดนั้นมีอาจารย์สาขาคอมพิวเตอร์คนหนึ่งชื่อ Randy Pausch ป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อนและมีชีวิตอยู่ได้อีกแค่ 6 เดือนเท่านั้น ทำให้การบรรยาย Last Lecture ของเขาเป็นการบรรยายครั้งสุดท้ายจริงๆ
หลังจากที่ จิม เกรย์ หายตัวไปเมื่อต้นเดือน และหลายฝ่ายได้ช่วยกันตามหา ถึงตอนนี้ทางครอบครัว และเพื่อนๆของ จิม เกรย์ ได้ออกมาประกาศว่า พวกเขาตัดสินใจแล้ว ที่จะให้หน่วยงาน ที่ช่วยตามหา ยุติการค้นหาไว้ก่อน เพราะคิดว่าการค้นหาได้ทำครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ที่เรือของ จิม เกรย์ สามารถลอยไปได้แล้ว และจากข้อมูลที่มีอยู่ พวกเขาไม่คิดว่าเรือของ จิม เกรย์ จะออกไปนอกพื้นที่การค้นหาได้ การค้นหาต่อไป จึงไม่น่าจะเกิดประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตาม ทางครอบครัวของ จิม เกรย์ จะยังคงค้นหาต่อไปด้วยตัวเอง เพราะเชื่อว่า จิม เกรย์ น่าจะยังมีชีวิตอยู่ พวกเขาบอกว่า จิม เกรย์ ยังหายตัวไปไม่ถึง 3 สัปดาห์เลย จึงเร็วไปที่จะบอกว่าเขาตายแล้ว
จิม เกรย์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์รางวัลทัวริงและหัวหน้าศูนย์วิจัยไมโครซอฟต์เบย์แอเรีย หายสาบสูญระหว่างล่องเรือโดยลำพังเพื่อลอยอังคารมารดา เขาออกเรือจากซานฟรานซิสโกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แม้จะมีการค้นหาจนถึงวันนี้ก็ยังไม่พบร่องรอยของเขาและเรือ ความช่วยเหลือหลั่งไหลมาจากทางซิลิกอนวาเลย์เพื่อสนับสนุนให้มีการค้นหานี้ต่อ
จิม เกรย์ ได้รับรางวัลทัวริงในปี 1998 จากงานวิจัยด้าน database และ transaction processing เขามีส่วนในการออกแบบ database ของระบบ ATM และการซื้อขายของออนไลน์ ขณะนี้เกรย์และทีมกำลังพัฒนาระบบ database สำหรับงานด้านดาราศาสตร์