Tags:
Node Thumbnail

ยานอวกาศ Orion ที่ NASA ส่งไปวนรอบดวงจันทร์ตามภารกิจ Artemis I ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน กลับสู่โลกเรียบร้อยแล้ว โดยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้วตกลงมาที่มหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับคาบสมุทร Baja California ในเม็กซิโก

ภารกิจ Artemis I เป็นการส่งยานอวกาศที่ไร้มนุษย์ไปบินวนรอบดวงจันทร์เพื่อทดสอบระบบต่างๆ ตั้งแต่จรวด Space Launch System (SLS) ที่มีปัญหาเชื้อเพลิงรั่วบ่อยครั้ง, นำยานบนวนรอบดวงจันทร์ 2 รอบแล้วบินกลับโลก จนกระทั่งนำยาน Orion กลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ใช้เวลาภารกิจทั้งหมด 25.5 วัน เดินทางไกลเป็นระยะทั้งหมด 1.4 ล้านไมล์ หรือ 2.1 ล้านกิโลเมตร

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

MIT ประกาศความสำเร็จในการทดลองโครงการ TeraByte InfraRed Delivery (TBIRD) เชื่อมต่อระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับดาวเทียมขนาดเล็กบนวงโคจรระดับต่ำที่แบนวิดท์ระดับ 100Gbps

TBIRD เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสาธิตเทคโนโลยี Pathfinder Technology Demonstrator (PTD) และ TBIRD ก็ติดตั้งไปกับดาวเทียม PTD-3 ในทางทฤษฎี TBIRD สามารถส่งข้อมูลได้แบนวิดท์สูงสุดถึง 200Gbps สูงกว่าการใช้คลื่นวิทยุนับสิบนับร้อยเท่า ทีมงานมีแผนจะทดสอบแบนวิดท์สูงสุดต่อไปหลังจากทดสอบที่ 100Gbps สำเร็จไปแล้วในครั้งนี้

Tags:
Node Thumbnail

ในที่สุดหลังจากเลื่อนมาหลายครั้ง วันนี้ NASA ก็ได้ปล่อยจรวด SLS ของโครงการ Artemis I ขึ้นสู่อวกาศแล้วเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเวลา 1:47 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 13.47 น. ในวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) จากฐานปล่อยจรวด 39B ที่ Kennedy Space Center ใน Florida

จรวด SLS (Space Launch System) นี้จะพายาน Orion ขึ้นสู่อวกาศ โดยยาน Orion นี้จะเดินทางมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ และเดินทางเลยดวงจันทร์ไปเป็นระยะราว 40,000 ไมล์ ก่อนเดินทางกลับสู่โลกโดยไม่มีนักบินอวกาศไปด้วย โดยจะใช้เวลาในการทำภารกิจทั้งหมด 25 วันครึ่ง ซึ่งนี่คือภารกิจทั้งหมดของ Artemis I

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากเลื่อนมาหลายครั้ง NASA ได้โพสต์บล็อกอัพเดตแผนการปล่อยจรวด Artemis I เป็นช่วงกลางดึกคืนวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้

ช่วงเวลาที่เอื้อให้ปล่อยจรวดได้มีระยะเวลา 69 นาที เริ่มตั้งแต่เวลา 0.07 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่น และในกรณีที่ต้องเลื่อนการปล่อยจรวดออกไปอีก NASA ได้เตรียมแผนสำรองโดยเลือกช่วงเวลาตั้งแต่ 1.04 น. ของวันที่ 16 พฤศจิกายน หรือไม่ก็เวลา 1.45 น. ของวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยแผนสำรองใน 2 วันดังกล่าวนั้นจะมีกรอบเวลาที่สามารถปล่อยจรวดได้ 2 ชั่วโมงในแต่ละรอบ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เกี่ยวกับโครงการ DART หลังตัวยานพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา และมีการเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศและยานอื่นๆ ตอนนี้ NASA ได้ยืนยันแล้วว่าการโคจรของดาวเคราะห์น้อย Dimorphos มีการเปลี่ยนแปลงหลังการชน ถือได้ว่าการทดสอบนี้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน

NASA ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายหลายภาพเพื่อตรวจการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยหลังการชนและได้เผยแพร่บทความอธิบายการสรุปผลวิเคราะห์ภาพเหล่านั้น โดยดาวเคราะห์ Dimorphos มีคาบการโคจรเร็วขึ้น 32 นาที

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากที่ไม่กี่วันก่อน NASA แถลงข่าวความสำเร็จของโครงการ DART ยืนยันการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย ซึ่งตามที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ว่านอกเหนือจากข้อมูลภาพที่ได้จากกล้อง DRACO บนยาน DART เองแล้ว ได้มีการใช้กล้อง James Webb และกล้อง Hubble ร่วมบันทึกข้อมูลด้วยนั้น ล่าสุด NASA ได้ปล่อยภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศทั้ง 2 ตัวออกมาแล้ว

ภาพที่ได้จากกล้อง James Webb นั้นเป็นภาพถ่ายแบบโดยใช้ NIRCam อันเป็นหนึ่งใน 4 เครื่องมือบันทึกภาพของกล้อง James Webb โดย NIRCam นี้เป็นการถ่ายภาพบันทึกคลื่นในช่วงใกล้ความถี่คลื่นอินฟราเรด ภาพที่บันทึกไว้นั้นแสดงให้เห็นถึง Ejecta ซึ่งหมายถึงเศษฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการชนและพุ่งกระจายออกรอบตำแหน่งการชน (สามารถดูภาพ timelapse ได้จากเว็บไซต์ของ NASA)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา NASA ได้ถ่ายทอดสดสัญญาณภาพจากการทดสอบโครงการ DART ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีปกป้องโลกด้วยการส่งยานอวกาศไปชนดาวเคราะห์น้อย โดยภาพจากยาน DART เองที่ถ่ายทอดสดมายังโลกแสดงให้เห็นการเคลื่อนที่เข้าพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยตรงตามเป้าหมาย

ยาน DART ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 10 เดือนก่อน หลังการเดินทางอันยาวนานเป็นระยะทางร่วม 11 ล้านกิโลเมตร ในการเดินทางช่วงสุดท้ายระบบนำทางได้พายานที่มีมวล 570 กิโลกรัม มุ่งหน้าหาดาวเคราะห์น้อย Dimorphos อันเป็นเป้าหมายการชน โดยมีกล้อง DRACO ที่ติดตั้งบนยานทำหน้าที่คอยบันทึกภาพช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการชน

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจยิงจรวด Artemis I รอบใหม่ 27 กันยายน มีเหตุให้ไม่ได้ยิงอีกแล้ว รอบนี้ [ยัง] ไม่มีอะไรพัง แต่ต้องเลื่อนเนื่องจากมีพายุ Ian จะขึ้นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกัน

NASA ระบุว่าตัดสินใจเลื่อนการยิงจรวดวันที่ 27 กันยายนแล้ว และกำลังประเมินสถานการณ์สภาพอากาศอีกครั้ง ว่าจะต้องนำจรวดกลับเข้าโรงเก็บ Vehicle Assembly Building ด้วยหรือไม่

ตามแผนของ NASA โอกาสยิงครั้งถัดไปคือวันที่ 2 ตุลาคม

ที่มา - NASA

Tags:
Node Thumbnail

อีกไม่ถึง 72 ชั่วโมงก็จะถึงกำหนดการชนของยาน DART ซึ่งเป็นการทดสอบเทคโนโลยีปกป้องโลกด้วยการเอายานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย โดยภารกิจนี้จะมีการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb (JWST) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble ร่วมเก็บข้อมูลจากการทดสอบด้วย

การทดสอบของโครงการ DART นี้เป็นการส่งยานอวกาศไปชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos เพื่อจำลองเหตุการณ์ในกรณีที่มีเทหวัตถุเคลื่อนที่พุ่งเข้าหาโลกว่าจะสามารถส่งยานอวกาศไปชนมันเพื่อเบี่ยงทิศทางการเคลื่อนที่ให้เบนออกไม่พุ่งหาโลกได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อมาศึกษาและวิเคราะห์พัฒนาโครงการในอนาคต

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศกำหนดวันยิงจรวด Artemis I อีกครั้ง เป็นวันที่ 27 กันยายน ในเวลา 11:37 a.m. EDT ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลา 22:37น. ในไทย มีกรอบเวลาการยิงจรวด (launch window) 70 นาที จรวดมีกำหนดกลับสู่โลกวันที่ 5 พฤศจิกายน

ในครั้งนี้ NASA ยังประกาศแผนสำรองพร้อมกันด้วย หากไม่สามารถยิงจรวดได้ตามกำหนดแรก โดยจะเลื่อนเป็นวันที่ 2 ตุลาคม เวลา 2:52 p.m EDT มีกรอบเวลา 109 นาที

Tags:
Node Thumbnail

Liu Jizhong เจ้าหน้าที่ศูนย์สำรวจดวงจันทร์และอวกาศจีนเปิดเผยว่า องค์การ National Space Adminictration (NASA ของจีน) ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินภารกิจ Chang’e (Chang’e lunar program) ต่อโดยส่งยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ไปดวงจันทร์เพิ่มอีก 3 ลำในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ ภายหลังจากที่จีนค้นพบแร่ดวงจันทร์ใหม่จากตัวอย่างที่เก็บมาจากภารกิจ Chang’e-5

แร่ที่เพิ่งค้นพบถูกตั้งชื่อว่า Changesite-(Y) สำนักข่าวซินหัวของจีนอธิบายว่ามีลักษณะเหมือนคริสตัลโปร่งแสงและไม่มีสีที่มีก๊าซฮีเลียม-3 อยู่ภายใน ซึ่งคาดการณ์ว่าก๊าซดังกล่าวอาจเป็นแหล่งพลังงานในอนาคต การค้นพบแร่นี้ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ 3 ที่ค้นพบแร่ใหม่จากดวงจันทร์

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศเลือกชิป RISC-V จาก Microchip สำหรับโครงการ High Performance Spaceflight Computing (HPSC) คอมพิวเตอร์สำหรับภารกิจในอวกาศรุ่นต่อไป โดยเตรียมใช้คอร์ซีพียูเป็น SiFive X280 เป็นคอร์หลัก ส่วนตัวซีพียูจะออกแบบโดย Microchip

โครงการ HPSC เคยให้ Boeing ออกแบบคอมพิวเตอร์แบบเดียวกันโดยใช้สถาปัตยกรรม Arm มาตั้งแต่ปี 2017 ในตอนนั้น Boeing เลือกใช้คอร์ Arm Cortex-A53 เป็นแกนหลัก

Tags:
Node Thumbnail

ภารกิจ Artemis I ยังเป็นมหากาพย์ไม่จบไม่สิ้น หลัง NASA เตรียมพยายามยิงจรวดเป็นรอบที่สองคืนนี้ราว 1.17 น.

ล่าสุด NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดแล้ว หลังพบปัญหาไฮโดรเจนเหลวรั่วขณะเติมในถังเชื้อเพลิงของจรวด Space Launch System (SLS) ซึ่งเป็นอาการคล้ายๆ กับปัญหาของรอบที่แล้ว แต่รายละเอียดยังต้องรอการสอบสวนของ NASA อีกครั้ง

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศวันยิงจรวด Artemis I รอบใหม่วันที่ 3 กันยายน เวลาท้องถิ่น 2:17 p.m. EDT ตรงกับเวลาประเทศไทย 01.17 น.​ ของวันที่ 4 กันยายน โดยมีกรอบเวลาที่ยิงจรวดได้ (launch window) 2 ชั่วโมง

ความพยายามยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ครั้งแรกในวันที่ 29 สิงหาคม ไม่ประสบความสำเร็จ หลังพบปัญหาเครื่องยนต์หมายเลข 3 อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องยนต์อื่นๆ (มีทั้งหมด 4 เครื่องยนต์) และปัญหาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนรั่วในบริเวณชิ้นส่วน Tail Service Mast Umbilicals ของฐานยิง ซึ่งทีมวิศวกรกำลังแก้ไขปัญหากันอยู่

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดตามภารกิจ Artemis I ตามแผนการที่วางไว้ เนื่องจากพบปัญหาเชื้อเพลิงรั่วในเครื่องยนต์ของจรวด SLS

NASA บอกว่าจะพยายามแก้ปัญหาและประกาศวันยิงจรวดใหม่อีกครั้งในภายหลัง จากประกาศเดิมคราวก่อน โอกาสยิง (launch opportunity) รอบหน้าที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการยิงจรวดคือวันที่ 2 กันยายน และ 5 กันยายน

Tags:
Node Thumbnail

ในที่สุด ภารกิจ Artemis I ยิงจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ของ NASA ที่ล่าช้ามาหลายรอบ ก็จะเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในวันนี้ 29 สิงหาคม 2022 มีกรอบเวลายิง 2 ช่วงโมง เริ่มตอน 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย (เวลาการถ่ายทอดสดจะเริ่ม 17.30 น. ผ่านทาง YouTube และเว็บไซต์ NASA)

ภารกิจ Artemis I มีความสำคัญเพราะเป็นก้าวแรกของ NASA ในการกลับสู่ดวงจันทร์ ถือเป็นการซ้อมครั้งแรกโดยยิงจรวดที่ยังไม่มีมนุษย์ (มีหุ่นนั่งไปแทนในที่นั่งมนุษย์) ก่อนส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในภารกิจ Artemis III ราวปี 2025

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หนึ่งในมุกที่เรามักจะนึกถึงเวลาเห็นภาพยนตร์เกี่ยวกับหายนะที่จะมีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงมาที่โลกคือการส่งอะไรสักอย่างพุ่งเข้าชนมันเพื่อให้มันเบี่ยงวิถีการเคลื่อนที่ไม่พุ่งตรงมาชนโลก ซึ่งที่ว่ามานี้คือไอเดียของโครงการ Double Asteroid Redirection Test (DART) เทคโนโลยีปกป้องโลกที่ NASA กำลังจะทดสอบจริงเดือนหน้า

ยาน DART มีน้ำหนัก 610 กิโลกรัม ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์เพื่อการนำทางสำหรับเคลื่อนที่พุ่งเข้าชนเป้าหมาย พร้อมกล้องถ่ายภาพเพื่อช่วยในการสังเกตการณ์และการนำทาง มันมีแผงโซลาร์เซลล์ที่เมื่อกางออกเต็มที่จะมีความยาว 8.5 เมตรทำหน้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงระบบต่างๆ

Tags:
Node Thumbnail

NASA อนุมัติแผนการของภารกิจ Artemis I ที่จะส่งจรวดไปวนรอบดวงจันทร์ โดยเดินหน้าตามแผนการยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคม ตามกำหนดเดิม

ก่อนหน้านี้ NASA มีปัญหาเรื่องความพร้อมของจรวด Space Launch System (SLS) จนต้องเลื่อนภารกิจ Artemis I มาแล้วหลายรอบ แต่ตอนนี้คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อม (Flight Readiness Review) อนุมัติเรียบร้อยแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศรายชื่อ 13 ตำแหน่ง ที่มีโอกาสเป็นจุดจอดยาน Artemis III ซึ่งเป็นโครงการที่จะส่งนักบินอวกาศกลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้ประกาศว่าจะมีนักบินอวกาศหญิงและนักบินอวกาศผิวสีไปเหยียบดวงจันทร์ด้วย

ทั้ง 13 ตำแหน่ง อยู่บริเวณขั้วดวงจันทร์ใต้ (South Pole) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยไปสำรวจมาก่อน และคาดว่าจะใช้ศึกษาโอกาสในการตั้งสถานีระยะยาว (ดูรายละเอียดทั้ง 13 ตำแหน่งท้ายข่าว)

โครงการ Artemis III กำหนดส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ในปี 2025 จะใช้เวลาสำรวจบนจันทร์ 6.5 วัน ส่วน Artemis I ซึ่งเป็นจรวดลำแรกในโครงการ Artemis ที่จะไปดวงจันทร์ มีกำหนดยิงจรวดวันที่ 29 สิงหาคมนี้ ตามด้วย Artemis II ที่นำมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์

Tags:
Node Thumbnail

NASA ประกาศกรอบเวลาใหม่สำหรับการยิงจรวด Space Launch System (SLS) พายานอวกาศ Orion ขึ้นไปวนรอบดวงจันทร์ หลังล่าช้ามาแล้วหลายรอบ (รอบล่าสุดจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่วระหว่างซ้อมวางบนฐานยิงที่ Kennedy Space Center จนต้องกลับไปซ่อมมาใหม่)

กรอบเวลายิงจรวด (launch opportunity) ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งของดวงจันทร์ มุมการรับแสงอาทิตย์ของแผงโซลาร์บนยาน สภาพอากาศ ฯลฯ โดย NASA ประกาศกรอบเวลายิงเบื้องต้น (potential launch opportunities) 3 ช่วงคือ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจาก NASA เผยภาพถ่ายชุดแรกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb ยังมีภาพอีกชุดที่กล้อง James Webb ถ่ายให้กับสถาบันวิจัยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute) โดยมาจากช่วงทดสอบอุปกรณ์ก่อนเริ่มปฏิบัติการจริงๆ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม

ภาพถ่ายชุดนี้เป็นภาพถ่ายดาวพฤหัสและดาวเคราะห์น้อยอีกจำนวนหนึ่ง ด้วยกล้องอินฟราเรด NIRCam ทำให้เราเห็นทั้งจุดแดงยักษ์ (Great Red Spot) และดวงจันทร์บางดวงของดาวพฤหัส เช่น Europa, Thebe, Metis อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นภาพที่คมชัดและสว่างกว่าภาพถ่ายในอดีตมาก

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

NASA เปิดเผยภาพถ่ายอวกาศจากกล้อง James Webb Space Telescope ชุดแรกอีก 3 ภาพ (ข่าวภาพแรกที่เปิดเผยเมื่อวานนี้)

Cosmic Cliffs หน้าผารังสีคอสมิก เป็นการถ่ายภาพพื้นที่ NGC 3324 ที่อยู่ในเนบิวลา Carina Nebula ซึ่งกล้องในอดีตไม่เคยถ่ายได้เพราะติดฝุ่นคอสมิก แต่กล้อง Webb สามารถถ่ายได้เป็นครั้งแรกด้วยพลังของกล้อง Near-Infrared Camera (NIRCam) และ Mid-Infrared Instrument (MIRI) ภาพนี้ดูเหมือนกับภูเขาในอวกาศ - รายละเอียด

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อคืนนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เป็นคนเปิดตัวภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศ์อวกาศ James Webb Space Telescope ซึ่งเป็นภาพถ่ายอวกาศในแนวลึก (Deep Field) ภาพแรกของกล้อง และเป็นภาพถ่ายอวกาศที่ไกลที่สุดและคมชัดที่สุดเท่าที่เคยถ่ายกันมา

ภาพนี้เป็นการถ่ายคลัสเตอร์กาแล็กซี่ SMACS 0723 ที่เห็นกาแล็กซี่นับพันที่อยู่ไกลมาก (4.6 พันล้านปีแสง) ด้วยกล้องอินฟราเรด Near-Infrared Camera (NIRCam) ใช้เวลาถ่ายภาพจากคลื่นอินฟราเรดที่ความยาวคลื่นต่างกันเป็นเวลานาน 12.5 ชั่วโมง (ถ้าเป็นกล้อง Hubble จะใช้เวลาถ่ายนานหลายสัปดาห์)

NASA ระบุว่าจะเปิดตัวภาพถ่ายทั้งชุด (ไบเดนเปิดมาแค่ภาพเดียว) ในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย

Tags:
Node Thumbnail

สำนักงานอวกาศออสเตรเลีย (Australian Space Agency) ประกาศความสำเร็จในการส่งจรวดเชิงพาณิชย์ร่วมกับ NASA เป็นครั้งแรกเมื่อคืนนี้ เวลา 20:44น. ตามเวลาในไทย จากท่าอวกาศยานใน Arnhem และเป็นการส่งจรวดเชิงพาณิชย์ครั้งแรกของ NASA ที่ทำนอกสหรัฐอเมริกา

โครงการส่งจรวดครั้งนี้มี 3 ลำ ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพื่อศึกษาผลกระทบของแสงจากดวงดาวต่อพฤติกรรมของโลก โดยจรวดลำแรกจะส่งตัวตรวจสอบรังสีเอกซ์ ว่าผลต่อวิวัฒนาการกาแลกซีอย่างไร ส่วนจรวดอีกสองลำจะเป็นการสำรวจระบบดาวฤกษ์ Alpha Centauri

ท่าอวกาศยานใน Arnhem บริหารงานโดย Equatorial Launch Australia (ELA) มีจุดเด่นกว่าท่าอวกาศยานอื่นที่ทำให้ NASA เลือกใช้สำหรับภารกิจนี้ เพราะมีสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งคงที่ และห่างจากเส้นศูนย์สูตรเพียง 12 องศา

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

NASA เปิดเผยว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ที่ปัจจุบันโคจรรอบจุด L2 และอยู่ระหว่างเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัด ถูกชนโดยอุกกาบาตขนาดเล็ก (micrometeoroid) ในช่วงวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา

จุดที่โดนชนคือกระจกหลักของกล้อง แต่หลังตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่ากล้องยังทำงานได้ตามปกติ ซึ่ง NASA จะตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป และ NASA ยอมรับว่าการชนรอบที่ผ่านมาก็ใหญ่กว่าที่เคยจำลองโมเดลกันไว้

Pages