นี่เป็นเทคนิคทางวิศวกรรมอีกอย่างหนึ่งที่วิศวกรของ Facebook เปิดเผยผ่านโครงการ Open Compute เปิดเผยรายละเอียดศูนย์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง
ทิศทางที่มาแรงในโลกเซิร์ฟเวอร์ช่วงหลัง คือการเก็บ-ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า big data ซึ่งซอฟต์แวร์ยอดนิยมตัวหนึ่งก็คือ Apache Hadoop ที่เขียนขึ้นมาตามแนวทาง MapReduce ของกูเกิล ปัจจุบันมีบริษัทใหญ่ๆ จำนวนมากใช้งาน Hadoop ในสภาพแวดล้อมจริง (ตัวอย่างเช่น Facebook)
จากที่ทราบกันไปแล้วว่า Facebook สร้างศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์ของตัวเองขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว และสร้างเสร็จแล้วในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา (มิ.ย. 2554) Facebook ก็ได้ฤกษ์ถ่ายโอนข้อมูลขนาดมหึมาของตนเองบนเฟรมเวิร์ค Hadoop จากระบบเดิมสู่ระบบใหม่ และเปิดใช้งานระบบจากศูนย์ข้อมูลใหม่อย่างเป็นทางการ
ชะตากรรมของซีพียูสถาปัตยกรรม Cell เริ่มเดินรอยตาม Itanium ไปเรื่อยๆ เมื่อ IBM ประกาศหยุดขายเซิร์ฟเวอร์ตระกูล PowerXCell (ซึ่งเป็น blade server รุ่นหนึ่งของ IBM) ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ปัจจุบัน IBM มี blade server ใต้แบรนด์ BladeCenter อยู่ 3 สถาปัตยกรรม คือ Xeon, POWER และ PowerXCell (รายละเอียด)
ชิปตระกูล MIC (Many Integrated Core) ของอินเทลคือผลจากการพัฒนา GPU ของตัวเองในชื่อ Larabee ที่แม้ตอนแรกอินเทลจะตั้งใจให้เป็นสถาปัตยกรรมชิปกราฟิก แต่สุดท้ายมันกลับถูกพัฒนามาเป็นชิปสำหรับเร่งความเร็วประมวลผลแทน และตอนนี้อินเทลก็เปิดเผยแผนการวางตลาด "การ์ด" MIC ตัวแรกคือ Knights Corner แล้วโดยมันจะวางตลาดภายในปี 2012 นี้
โดย Knights Corner ตัวแรกจะวางตลาดในรูปแบบการ์ด PCI-Express เช่นเดียวกับ Knights Ferry ที่อินเทลส่งให้ห้องวิจัยจำนวนหนึ่งไปทดลองก่อนหน้านี้ ต่างจากข่าวก่อนหน้านี้ที่อินเทลเคยระบุว่า MIC ในรูปแบบการ์ดจะเป็นเพียงชุดทดสอบเท่านั้นและจะวางตลาด Knights Corner ในรูปแบบชิป
หลังจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Earth Simulator ของญี่ปุ่นครองแชมป์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกได้ในช่วงปี 2002-2004 ญี่ปุ่นก็ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกอีกเลย จนกระทั่งเดือนนี้ การจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ก็ได้แชมป์ใหม่จากญี่ปุ่นอีกครั้ง
คอมพิวเตอร์ตัวใหม่นี้ชื่อว่า K Computer เป็นผลงานของบริษัทฟูจิตสึ ร่วมกับศูนย์วิจัย Advanced Institute for Computational Science แห่งสถาบันวิจัยด้านเคมีและฟิสิกส์ RIKEN ที่เมืองโกเบ
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศบุกตลาดการประมวลผลข้อมูลที่มีรูปแบบไม่คงตัว (unstructured data) และมีจำนวนมหาศาล ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า "Big Data" ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ข้อความทวีต, ข้อมูลการคลิก, รูปภาพ, วิดีโอ, พิกัด GPS, ข้อมูลจากเซ็นเซอร์, ข้อมูลการเคลื่อนไหวของหุ้น ฯลฯ
IBM ได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ตระกูล InfoSphere สำหรับงานประมวลผลลักษณะนี้ 2 ตัว ได้แก่
Dr. Jack Dongarra นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้มีชื่อเสียงทางด้านการประมวลผลสมรรถนะสูง ได้เริ่มโครงการวิจัยเพื่อวัดสมรรถนะการประมวลผลของ iPad ด้วยโปรแกรม LINPACK แต่ข้อมูลล่าสุดของโครงการเผยว่า นักวิจัยยังวัดสรรถนะของโปรเซสเซอร์ได้เพียงแค่คอร์เดียวของ iPad 2 ที่มีอยู่จริง 2 คอร์ อย่างไรก็ตาม Dr. Dongarra กล่าวว่า หากโครงการนี้เสร็จสิ้น ค่าสมรรถนะโดยประมาณของ iPad 2 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ 2 คอร์ น่าจะอยู่ระหว่าง 1.5 ถึง 1.65 กิกะฟลอป ซึ่งเร็วกว่า iPad รุ่นแรกประมาณ 10 เท่า
บริษัท Cycle Computing ได้เปิดตัวซูเปอร์คอมพิวเตอร์ภายใต้ชื่อ Tanuki ซึ่งมีจำนวนโปรเซสเซอร์รวมทั้งหมด 10,014 คอร์ มีหน่วยความจำชั่วคราวรวมทั้งหมด 8.6 เทราไบต์ และฮาร์ดดิสก์รวม 2 เพตาไบต์ ทั้งนี้ สมรรถนะโดยประมาณของ Tanuki นั้นใกล้เคียงกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับที่ 114 ของโลก ด้วยสมรรถนะการประมวลผลสูงสุดที่ 127.33 เทราฟลอป
กูเกิลเปิดโครงการ Google Exacycle for Visiting Faculty Grant Program เพื่อเปิดให้นักวิจัยที่ต้องการทำงานวิจัยที่ต้องการการประมวลผลสูง สามารถเข้าไปใช้งานศูนย์ข้อมูลของกูเกิลได้ โดยจำนวนชั่วโมงของซีพียูคอร์ในโครงการนี้จะถูกบริจาคไม่น้อยกว่า 1 พันล้านชั่วโมง
ผู้สมัครต้องส่งข้อเสนอโครงการความยาวสองหน้ากระดาษพร้อมประวัติเข้าไปยังกูเกิลตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นกูเกิลจะเลือก 10 โครงการแล้วให้ผู้ชนะเข้าไปทำงานวิจัยที่สำนักงานของกูเกิลแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยผู้เสนอโครงการจะต้องเป็นผู้ทำงานวิจัยเต็มเวลา และทางกูเกิลไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายระหว่างการทำวิจัยให้
ปีที่แล้วจีนเพิ่งสร้างเครื่อง Tianhe-1A ที่ความเร็วสูงสุดอันดับหนึ่งของโลกด้วยความเร็ว 2.507 เพตาฟลอป แต่แม้จะบอกว่าเป็นเครื่องจีนอย่างไรภายในของเครื่องยังคงเป็นซีพียูอินเทล และชิปกราฟิกจาก NVIDIA ทำให้ปีนี้ทางจีนประกาศว่าจะสร้างเครื่องใหม่ที่ใช้ชิปของจีนอย่างเต็มตัว
เครื่อง Dawning 6000 นี้จะใช้ชิป Loongson น้อยกว่าหมื่นตัว และมีพลังประมวลผลมากกว่า 1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที (ไม่ระบุว่าเป็นคำสั่งทางคณิตศาสตร์หรือไม่) ขณะที่ Tianhe-1A นั้นใช้ชิปอินเทลมากกว่า 14,000 ตัวและชิปกราฟิกกว่า 7,000 ตัว
หลังจากสร้างความฮือฮาด้วยการชนะมนุษย์ในรายการเกมโชว์ Jeopardy! ไปแล้ว ทีมงานของ IBM ก็เริ่มออกมาให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดในโครงการ Watson มากขึ้น โดยจากบทสัมภาษณ์ของทีมงานเว็บ Reddit นั้น ทีมงานได้ระบุว่าโค้ดส่วนใหญ่ของ IBM Watson เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวา
หลังจากการแข่งขันรอบทดสอบ (ข่าวเก่า) ระหว่างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM กับแชมป์รายการเกมโชว์ Jeopardy! จบลงที่ Watson ชนะไป ล่าสุดศึกการแข่งขันจริงตลอด 3 วันซึ่งเพิ่งออกอากาศทางโทรทัศน์จบลงไป Watson เป็นฝ่ายชนะมนุษย์ในที่สุด
โดยหลังสิ้นสุดเกมการแข่งขันวันที่สาม Watson ได้เงินรางวัลไป 77,147 ดอลลาร์ ส่วนผู้เข้าแข่งขันมนุษย์ซึ่งเป็นแชมป์หลายสมัยของรายการคือ Ken Jennings กับ Brad Rutter คว้าเงินรางวัลไป 24,000 และ 21,600 ดอลลาร์ตามลำดับ
ความนิยมของ OpenCL นั้นได้สูงขึ้นเรื่อยๆ แถม APU ของเอเอ็มดีนั้นก็รองรับ OpenCL และ DirectX 11 มาในตัว งานนี้ทางอินเทลจึงแสดงตัวว่าจะรองรับ OpenCL อีกรายด้วยการออก SDK รุ่นทดสอบ
แม้ซีพียูรุ่นหลังๆ ของอินเทลจะมี GPU ใส่เข้ามาในตัวแบบเดียวกับ APU ของเอเอ็มดี แต่ OpenCL รุ่นนี้ก็ยังไม่รองรับการประมวลผลด้วย GPU ภายในแต่อย่างใด แต่ใช้ชุดคำสั่งแบบ SSE ภายในตัวซีพียูเองและคอร์จำนวนมากในซีพียูรุ่นหลังๆ เป็นตัวประมวลผลขนาน
ชุด SDK ยังอยู่ในรุ่นทดสอบแบบพรีวิวเท่านั้น สามารถนำมาใช้ได้ฟรี แต่ยังห้ามในไปใช้เพื่อการค้า
Dileep Bhandarkar วิศวกรระดับสูงในฝ่าย Global Foundation Services ซึ่งทำหน้าที่ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดของไมโครซอฟท์ ไปบรรยายที่งาน The Linley Group Data Center Conference โดยพูดถึงสถาปัตยกรรมซีพียูสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่กำลังเปลี่ยนไปจากเดิม
Bhandarkar พูดถึงการนำซีพียูประหยัดพลังงานอย่าง Atom หรือ Bobcat มาทำเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีข้อดีกว่าซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมๆ อย่างพวก Xeon หรือ Opteron ในแง่ประสิทธิภาพต่อวัตต์ต่อราคา เขายังบอกว่าไมโครซอฟท์ได้ "ร้องขอ" ไปยังอินเทลและเอเอ็มดีให้ผลิตซีพียูประหยัดพลังงานที่มีจำนวนคอร์เยอะๆ เพื่อให้ไมโครซอฟท์นำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์ด้วย
Amazon เปิดตัวบริการใหม่ในตระกูล Amazon Web Service (AWS) ชื่อ Elastic Beanstalk
Elastic Beanstalk มีหน้าที่ดูแลเรื่องโหลดให้กับแอพพลิเคชันของเราบน AWS เมื่อมีโหลดเพิ่มขึ้นหรือต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น Elastic Beanstalk จะขยายจำนวนเครื่อง (instance) บน AWS ให้เราโดยอัตโนมัติ เช่น สั่งเพิ่มหน่วยประมวลผลใน EC2 ให้เองถ้าโหลดเยอะ หรือเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลใน S3 ถ้าหากว่าเนื้อที่ไม่พอใช้
ในเบื้องต้น Elastic Beanstalk รองรับเฉพาะแอพพลิเคชันที่สร้างด้วย Java/Tomcat แต่ในอนาคตจะขยายไปยัง Ruby กับ PHP เพิ่มด้วย
คนแถวนี้คงคุ้นกับข่าวการแข่งขันหมากรุกระหว่างคอมพิวเตอร์ Deep Blue ของ IBM กับแชมป์โลก Garry Kasparov ในปี 1997 ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของ Deep Blue
ข้ามเวลามาอีกสิบกว่าปี IBM กำลังจะแข่งในลักษณะเดียวกัน โดยส่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson (ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งบริษัท Thomas J. Watson) แข่งเกมโชว์ตอบคำถามความรู้รอบตัว Jeopardy! กับแชมป์ตลอดกาลของรายการนี้ 2 คน
อันนี้เป็นเหมือน "ภาคต่อ" ของข่าว เบื้องหลังระบบ Facebook Messages โฉมใหม่ เลือกใช้ Hbase ที่คุณ Ich เขียนเมื่อเดือนที่แล้ว ผมแนะนำว่าคนที่สนใจเรื่อง NoSQL ควรอ่านบทความต้นฉบับครับ
ข่าวก่อนเป็นมุมมองของคนในทีม Facebook เองว่าทำไมถึงเลือก HBase เหนือ MySQL และ Cassandra ส่วนข่าวนี้เป็นมุมมองจากเว็บไซต์ The Register พูดถึงสถาปัตยกรรม MapReduce, BigTable ของกูเกิล และซอฟต์แวร์สาย Apache คือ Hadoop และ HBase ในเชิงลึกกว่าเดิม
นอกจากนี้บทความยังพูดถึงการปรับปรุง HBase โดยทีมงาน Facebook เอง และการทำงานร่วมกับ Haystack ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการรูปภาพและไฟล์ขนาดใหญ่ของ Facebook ด้วย
ตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เชิงการค้าในตอนนี้ ผู้ครองตลาดใหญ่ยังอยู่กับไอบีเอ็มด้วยเครื่องตระกูล Blue Gene และ iDataPlex แต่เมื่อออราเคิลได้เทคโนโลยีครบชุดจากซันมาอยู่ในมือ ก็ได้เวลาลงสนามแข่งกันด้วย SPARC Supercluster
SPARC Supercluster จะประกอบไปด้วย เครื่องตระกูล T3 และ M5000 ส่วนการเก็บข้อมูลนั้นจะใช้เทคโนโลยี FlashFire กับระบบไฟล์แบบ ZFS ด้วยเซิร์ฟเวอร์ Sun ZFS Storage 7420
จากที่ทราบกันดีว่า Facebook ได้ประกาศเปิดตัว Facebook Messages โฉมใหม่ กันไปแล้ว
รายละเอียดการพัฒนาและการทำงานเบื้องหลังของระบบนี้ก็มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน Facebook ได้อธิบายสถาปัตยกรรมนี้ไว้บนบล็อกทางด้านวิศวกรรมของบริษัท
เนื้อหาโดยสรุปคือ
เป็นไปตามความคาดหมาย (ข่าวเก่า) หลังจากผลการจัดอันดับระบบคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกครั้งที่ 36 ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า Tianhe-1A จากจีนคว้าอันดับ 1 เอาชนะ Jaguar แชมป์เก่าไปแบบขาดลอย (ข่าวเก่า) เบื้องหลังชัยชนะครั้งนี้ของ Tianhe-1A คือ สมรรถนะในการประมวลผลถึง 2.57 เพตาฟลอป และหากคำนวณสมรรถนะตามทฤษฎีแล้ว Tianhe-1A มีสมรรถนะทะลุ 4.7 เพตาฟลอปเข้าไปแล้ว โดยรายละเอียดเพิ่มเติมของ Tianhe-1A สามารถอ่านได้จากข่าวเก่า
Sumit Gupta ผู้บริหารของ NVIDIA เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่ามหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีการทหารของจีน (National University of Defense Technology) ได้สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Tianhe-1A ซึ่งมีพลังประมวลผลสูงถึง 2.507 เพตะฟลอป (อันดับหนึ่งในปัจจุบันคือเครื่อง Jaguar ทำได้ 1.76 เพตะฟลอป)
เครื่อง Tianhe-1A ใช้หน่วยประมวลผลจากอินเทล (ไม่ระบุรุ่น) 14,336 ตัว และ NVIDIA Tesla M2050 อีก 7,168 ตัว เครื่องนี้จะตั้งอยู่ที่ศูนย์ National Supercomputing Center ในเมืองเทียนจิน
เมื่อสามวันก่อน อเมซอนประกาศโปรโมชั่นใหม่ "AWS Free Usage Tier" ให้ลูกค้าใหม่ทุกรายจะได้สิทธิ์ใช้บริการในกลุ่ม Amazon Web Services (AWS) เพื่อการประมวลผลบนกลุ่มเมฆบน EC2 ฟรี 1 ปี (เริ่มต้น 1 พ.ย.นี้) ประกอบด้วย Amazon S3, Amazon Elastic Block Store, Amazon Elastic Load Balancing และ AWS data transfer
ไฮไลต์โปรโมชั่นดังกล่าวมีดังนี้
เราอาจจะเคยได้ยินข่าวเครื่อง Deep Blue ของไอบีเอ็มเอาชนะแชมป์โลกหมากรุกไปได้เมื่อหลายปีก่อน มาวันนี้ฝั่งญี่ปุ่นนั้นมีหมากรุกของตัวเองในชื่อว่า Shogi ซึ่งมีความเป็นไปได้ของเกมสูงกว่าหมากรุกฝรั่งมาก แต่การแข่งขันที่ผ่านมา มือหนึ่งหญิงของญี่ปุ่นก็ต้องแพ้แก่คอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า Akara 2010
Akara 2010 ได้เอาชนะมือหนึ่งฝ่ายหญิง Ichiyo Shimizu ในการแข่งที่ได้รับการอนุญาตจากสมาคมหมากรุกญี่ปุ่น โดยเกมดำเนินไปกว่าหกชั่วโมงและมีตาเดินทั้งหมด 86 ตา
Shimizu เล่าความรู้สึกว่าเธอไม่รู้สึกว่าการเล่นของเครื่อง Akara 2010 มีความผิดปรกติไปจากมนุษย์ และหวังว่ามนุษย์และคอมพิวเตอร์จะแข็งแกร่งขึ้นผ่านการเล่นเกมอย่างเป็นมิตรเช่นนี้
นักวิจัยจาก MIT ร่วมกับ Texas Advanced Computing Center พัฒนาโปรแกรมประมวลผลแบบเดียวกับที่ใช้บนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ใช้ได้บน Nexus One
David Knezevic นักวิจัยจาก MIT เล่าว่า โปรแกรมประมวลผลนี้เป็นการ "ลดรูป" (reduced model) จากการประมวลผลเต็มขั้นบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มันเพียงพอสำหรับการคำนวณโดยทั่วไป และออกแบบมาสำหรับนักวิจัยที่ต้องการคำนวณงานนอกสถานที่ ยามที่ไม่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้
ความแม่นยำของการประมวลผลบน Nexus One อาจลดลงไปบ้าง ซึ่งทีมพัฒนาเลือกใช้วิธีบอกอัตราความแม่นยำที่ลดลง เพื่อให้ผู้ใช้บนมือถือรับรู้ข้อจำกัด อย่างน้อยก็ได้คำตอบคร่าวๆ ก่อนจะนำไปคำนวณแบบละเอียดต่อไป