Tags:
Node Thumbnail

เป็นไปตามความคาดหมาย (ข่าวเก่า) หลังจากผลการจัดอันดับระบบคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกครั้งที่ 36 ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า Tianhe-1A จากจีนคว้าอันดับ 1 เอาชนะ Jaguar แชมป์เก่าไปแบบขาดลอย (ข่าวเก่า) เบื้องหลังชัยชนะครั้งนี้ของ Tianhe-1A คือ สมรรถนะในการประมวลผลถึง 2.57 เพตาฟลอป และหากคำนวณสมรรถนะตามทฤษฎีแล้ว Tianhe-1A มีสมรรถนะทะลุ 4.7 เพตาฟลอปเข้าไปแล้ว โดยรายละเอียดเพิ่มเติมของ Tianhe-1A สามารถอ่านได้จากข่าวเก่า

ผมขอสรุปผล 7 อันดับแรก ซึ่งล้วนแล้วเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังเพตาฟลอป 7 ระบบแรกใน TOP500 ตามรายชื่อดังนี้ Tianhe-1A จากจีน, Jaguar จากสหรัฐอเมริกา, Nabulae จากจีน, TSUBAME 2.0 จากญี่ปุ่น, Hopper จากสหรัฐอเมริกา, Tera-100 จากฝรั่งเศส, และ Roadrunner จากสหรัฐอเมริกา

ที่มา - TOP500

Get latest news from Blognone

Comments

By: hanel
AndroidSymbianWindows
on 15 November 2010 - 09:59 #232051
hanel's picture

บรรทัดที่ 2
แชมป์เก่าไปแบบขาดรอย ?? "ขาดลอย" หรือเปล่าครับ

จีนครองแชมป์ปีนี้ เด๋วนี้จีนพยายามทำให้ตัวเองเทียบชั้นกับตะวักตกเนอะ

By: intendr on 15 November 2010 - 10:10 #232056 Reply to:232051

มันเป็นเรื่องการพัฒนา ทุกประเทศมันก็ต้องไปทางนั้นหมด ขึ้นอยู่กับว่าใครไปก่อนไปหลัง ไม่ได้เป็นเรื่อง เทียบชั้น ทำตาม หรือเลียนแบบ

By: hanel
AndroidSymbianWindows
on 15 November 2010 - 11:47 #232088 Reply to:232056
hanel's picture

อ่า เข้าใจแล้วครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 15 November 2010 - 10:19 #232058 Reply to:232051
javaboom's picture

ขอบคุณครับ แก้แล้วครับ (เหมือนระบบปรับปรุงที่แก้ไขใหม่ไม่ทันที)

ช่วงหลังไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนข่าว ภาษาเลยเริ่มวิบัติขึ้น


My Blog

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 15 November 2010 - 10:03 #232053

จีนทำได้


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 15 November 2010 - 10:42 #232067 Reply to:232053
joomla's picture

ก็หวังว่าจะดีที่สุดในเรื่องของประสิทธิภาพด้วย กลัวจะเอาแต่คำว่าเร็วที่สุดอย่างเดียว

ที่น่ากลัวที่สุดของจีนตอนนี้น่าจะเป็นรายได้ของประชากรระหว่างคนรวยกับคนจนเริ่มจะมีช่องว่างห่างกันขึ้นทุกที เหมือนผ้าที่ถักทอกันหลวมๆ แล้ววันหนึ่งจะหลุดออกจากกันอย่างง่ายดายเหมือนรัสเซีย แต่ตอนนี้เสียวสันหลังแทนเมกา นับวันจะถดถอยลงทุกวัน ถ้าจีนล้ำหน้าอวกาศเทียบเท่าเมกาเมื่อไรละก็เสร็จ

By: zinazisc
Windows PhoneAndroid
on 15 November 2010 - 17:47 #232167 Reply to:232067
zinazisc's picture

ผมกลัว อเมริกา จะเอาขนาดกองทัพที่เรียกได้ว่า ทั่วโลกรวมกันยังไม่ได้ครึ่ง มาข่มเหง หนะสิครับ

By: Iterator
Android
on 15 November 2010 - 10:36 #232064

ทำได้ดี แต่ยังไม่น่าประทับใจเท่าที่ควร
รอดู รุ่นหน้าต่อ ๆ ไป ที่จะใช้ cpu ที่ออกแบบและผลิตเอง
ประเทศที่มีคน 1300 ล้านควรทำได้ดีกว่านี้

http://www.computerworld.com/s/article/9194799/U.S.says_China_building_entirely_indigenous_supercomputer

รุ่นนี้เท่าที่ตามมา ส่วนที่เป็นของตัวเองมีมากพอสมควร
แต่ตัวประมวลพลหลักยังไม่ใช่

ผมว่าโลกนี้ต้องการการพัฒนาจากหลาย ๆ ขั้วแข่งขันกัน
ฝั่งยุโรปน่าจะทำบ้าง ส่วนอินเดีย ควรไปสร้าง infra ให้ดี
ให้ประชาชนอย่าลงเงินกับ ความมั่งคงให้มากเกินไป

แต่เบอร์หนึ่งจริง ๆ ของโลกอาจจะเป็นเครื่องของฝ่ายความมั่นคง
ในอเมริกา ที่ unclassified เสียมากกว่า... อันนี้เดา

By: saparee
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 15 November 2010 - 10:45 #232068 Reply to:232064
saparee's picture

"แต่เบอร์หนึ่งจริง ๆ ของโลกอาจจะเป็นเครื่องของฝ่ายความมั่นคง
ในอเมริกา ที่ unclassified เสียมากกว่า... อันนี้เดา" << อันนี้เห็นด้วยครับ ^^

By: intendr on 15 November 2010 - 14:01 #232118 Reply to:232064

ดูแค่ประชากรไม่ได้ ต้องนับเรื่ององค์ความรู้ในแต่ละด้านที่เขาสั่งสมมาด้วย ประเทศที่เริ่มมา 10 ปี กับ 50 ปี มันย่อมต่างกัน

ทำได้ขนาดนี้ถือว่าเร็วมากๆแล้ว (ไม่ว่าจะด้วยวิธีอะไรก็ตาม)

By: javaboom
WriteriPhone
on 15 November 2010 - 14:35 #232123 Reply to:232118
javaboom's picture

ผมเห็นด้วยครับ ประชากรของเขาเยอะก็จริง แต่ต้องดูไปที่ความต้องการของระบบด้วยว่าจะเอาไปทำอะไรบ้าง ถ้าประชากรทั้ง 1,300 ล้านสามารถใช้ Tianhe-1A เพื่อก่อประโยชน์ให้กับประเทศได้เฉลี่ยคนละ 1 งาน คงเรียกได้ว่า Tianhe-1A สอบตก (พอๆกับซูเปอร์คอมของใน TOP500 ตัวอื่นๆ)

ผมเชื่อว่าจีนจะทำ 10-100 เพตาฟลอปก็ไม่ยาก (อเมริกาก็เช่นกัน) แต่ถ้าจะหวังเพียงตำแหน่งใน TOP500 มากเกินไปโดยไม่ได้เอาระบบมาใช้เต็มที่ มันก็สูญเงินโดยเปล่าประโยชน์ และระบบที่ใหญ่ยิ่งกว่า 2 เพตานั้น ไม่ได้จัดการทรัพยากรง่ายซะทีเดียว ทั้งทรัพยากรคน/ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ อย่าลืมว่า ... จีนเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ใน TOP500 ของสิบอันดับแรก เมื่อเทียบกับอเมริกา ญี่ปุ่น กับประเทศในยุโรป (เช่น เยอรมัน) พวกนั้นเขาสั่งสมประสบการณ์ด้านนี้มายาวนานแล้ว และเป็นเรื่องที่น่าเจ็บใจ หากระบบทำได้ 100 แต่ใช้จริงได้แค่ 20-50% ซึ่งเป็น utilization ที่พบได้ทั่วไปในระบบไอที


My Blog

By: Iterator
Android
on 15 November 2010 - 15:26 #232140 Reply to:232123

ผมไม่ได้ว่าเขาไม่เก่งนะแต่ผมคิดว่า ต้องทำได้ดีกว่านี้อีก
เพราะจีนต้อง benchmarking กับ ชนชาติตัวเองตลอดประวัติศาสตร์

ตัวชีวัด utilize ก็ยังไม่เท่า benefit ปลายทางอยู่ดี

มันวกกลับมาเรื่อง economy นั่นแหละครับ
สำหรับบางงาน มีคนช่วยจ่ายและรอรับผลประโยชน์อยู่ 1300 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ

ลงทุนเพื่อคนกี่คน ผลประโยชน์ตอบแทนให้คนกี่คน

บริษัทหรือหน่วยงานไม่ว่า state run ต่าง ๆ เช่น บริษัทสำรวจน้ำมันที่ต้องสำรวจจัดหา
รองรับประชากร สามสี่ร้อยล้านคน เขามีกำลังจ่าย มี drive มี need

พยากรณ์อากาศแม่นขึ้นอีกระดับ สามารถปกป้องทรัพยากรได้เท่าได้ ชีวิตคนได้เท่าไหร่
มีมูลค่าทางเศรษฐกิจแฝงเท่าไหร่
(เชนแค่ทุกคนเตรียมร่มออกไปถูกวันถูกเวลา ไม่ต้องรอติดฝนเวลารวม ๆ กันเท่าไหร่)
ถ้าประเทศมีประชากร น้อย ดูไม่คุ้มเสียเลย แต่ถ้าคิด man/hour ของคนที่ควรได้รับการพักผ่อน
แบบในจีน เสกลอาจจะเหลือเชื่อ
ยิ่งประเทศเมืองหนาวเรื่องพยากรณ์อากาศสำคัญมาก

ปีนึงผลิตวิศวกรระดับที่มีฝีมือกี่คน ไม่น้อยครับ ถ้าระบบเศรษฐกิจไม่ได้จัดเรียงตัวอย่างดี
กำลังคนพวกนี้ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็มาก

บางทีโปรเจคที่ฟังดูแปลกประหลาดในจีน มันมีเหตุผลมาจากความมากของประชากรนี่แหละครับ
เช่นเกือบพันปีก่อน ขุดคลอง ยาวเป็นพันกิโล เพื่อการขนส่ง เมกะโปรเจคโบราณของจีน

ความคุ้มค่าดูที่ benefit ปลายทางดีกว่าและบ่อยครั้งมาจากตัวคูณของคนนี่แหละครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 15 November 2010 - 16:15 #232150 Reply to:232140
javaboom's picture

เห็นด้วยตามคำอธิบายครับ อาจเป็นเพราะว่าผมวิเคราะห์ในมุมของซูเปอร์คอมตัวนี้ที่เป็นงานแบบ general research ซะมากกว่าครับ ตามที่เขาเปิดเผยใน TOP500.org นั้น Tianhe-1A ไม่ได้ใช้สำหรับงานเฉพาะเจาะจง

ผมมองว่าในแง่นักลงทุน(หากไม่ได้มองว่าเป็นรัฐ คือ นักลงทุนทั่วๆไป) ที่ไม่ได้มองไปที่ประชากรเป็นตัวตั้ง เขาคงมองข้ามผลตอบแทนต่อหัวประชากร (แต่ผมก็ไม่ทราบว่าจีนเขามองยังไงนะ) หากแต่มอง return on investment ต่อการลงทุนที่อาจจะมองเป็นตัวผลงานต่อเม็ดเงินลงทุนเป็นหลัก เช่น ได้อาวุธตัวใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพกว่าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า หรือว่าได้ตัวยาที่รักษาโรคหวัดนกได้เร็วกว่า เป็นต้น แต่ตัวเลขพวกนี้ ผมเห็นด้วยว่าไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง สามารถ convert ไปเป็นประโยชน์ต่อประชากรได้

เห็นด้วยกับคุณทุกประการเลยครับว่า ถ้ารัฐบาลไม่ว่าจะรัฐไหนก็ตาม หากเขาใส่ใจกับจำนวนประชากรและความผาสุขของประชากรเป็นที่ตั้ง เขาต้องใช้ซูเปอร์คอมในอีกทิศทางหนึ่ง เห็นตัวอย่างหลักก็จากญี่ปุ่นที่ออกแบบระบบเฉพาะด้านที่ทรงประสิทธิภาพ อย่างพวกพยากรณ์อากาศที่แม่นยำ และพวก earth simulation ครับ


My Blog

By: Iterator
Android
on 15 November 2010 - 17:07 #232160 Reply to:232150

ตามข่าวที่ได้ยินมา ( แน่นอนว่าอาจจะไม่ลึกเท่า ในวงการวิจัยที่คุณ javaboom ทำอยู่นะครับ)
แน่นอนว่าในเรื่อง research ต้องดูเชิงลึก เพราะของพวกนี้มี propaganda เพียบ

แต่ถ้าเอาตามที่เขาเคลม
จาก วิกิ

The supercomputer is installed at the National Supercomputing Center, Tianjin, and is used to carry out computations for petroleum exploration and aircraft simulation.[8] It is an "open access" computer meaning it provides services for other countries.[16]

เห็นด้วยเรื่อง ญี่ปุ่นที่พยากรณ์อากาศแม่นมาก ๆ ผมว่าส่งผลต่อเศรษฐกิจรวม ๆ ไปไม่รู้แล้วเท่าไหร่

"ผมมองว่าในแง่นักลงทุน(หากไม่ได้มองว่าเป็นรัฐ คือ นักลงทุนทั่วๆไป) ที่ไม่ได้มองไปที่ประชากรเป็นตัวตั้ง เขาคงมองข้ามผลตอบแทนต่อหัวประชากร (แต่ผมก็ไม่ทราบว่าจีนเขามองยังไงนะ)"

ก็เพราะคอมเครื่องนี้ของหน่วยงานภาครัฐ ( National Super Computer Center ) และโอกาศจะเป็นไปได้มาก ที่ หน่วยงานของรัฐ และ บ กึ่งของรัฐ ของจีนจะมาใช้ ซึ่งเป้าหมายของรัฐไม่ใช่กำไร หรือภาษี อยู่แล้ว
ตัวตั้งของรัฐ อยู่ที่ ประชาชน และยิ่งเป็นจีน ไม่ว่าอะไรก็มี ประชาชนพ่วงเข้ามาตลอด (人民)

อีกเรื่องที่สำคัญไปเสียไม่ได้ องค์ความรู้แห่งชาติ และผลต่อความมั่นคงในอนาคต
วิศวกรเก่ง ๆ ถ้าคุณไม่เลี้ยง ก็ต้องไปทำงานให้ต่างชาติ
กรณีจีน คงไม่ไปที่ไหนนอกจากอเมริกา เสียของเปล่า ๆ แถมอาจจะโดนเอามาทิ่มตัวเองทีหลัง

แล้วมันมีผลต่อ commercial ด้วยอาจใกล้ตัวกว่าที่คิด cpu ที่ทำเอง ก็เริ่มเป็นรูปเป็ฯร่างแล้ว
อาจจะ commercialize ได้ในอนาคต (นั่นอาจจะเป็นคำตอบให้แรงงาน ตำแหน่ง การจ้างงาน ของ
ประชาชนของตัวเองในอนาคตอีกด้วย วนกลับไปกลับมา)
ต่อไปคงจะคล้าย ๆ ที่ตอนนี้จีนกำลังหาทางส่งออกระบบรถไฟความเร็วสูง

รัฐของเขาเป็น socialism ก็คงต้องคิดแบบนี้

By: javaboom
WriteriPhone
on 15 November 2010 - 17:16 #232162 Reply to:232160
javaboom's picture

เป็นการวิเคราะห์ที่น่าประทับใจ ผมไม่ชำนาญในการวิเคราะห์ภาครัฐครับ ขอบคุณที่แชร์กันครับ :)


My Blog

By: netfirms
iPhoneAndroidWindows
on 15 November 2010 - 11:03 #232073
netfirms's picture

เครื่องจะใหญ่ขนาดไหนเนี่ย

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 November 2010 - 11:51 #232089 Reply to:232073
PaPaSEK's picture

ผมว่าควรเรียกเป็น ... อะไรดี มันเอามาต่อพ่วงกันหลายๆ เครื่อง

เรียกว่าระบบก็น่าจะดีนะครับ

By: bean3g
Windows PhoneUbuntu
on 15 November 2010 - 12:50 #232099

Tian(เตียน) he(ฮี) แค่ชื่อก็ชนะแล้ว

By: naphob
ContributoriPhone
on 15 November 2010 - 13:00 #232100 Reply to:232099

ถ้าอ่านตามเสียงพินอินภาษาจีน น่าจะออกว่า เทียนเหอ ครับ

By: juliusds
AndroidUbuntuWindows
on 15 November 2010 - 15:21 #232139
juliusds's picture

ส่งสัยต่อไป จีนคง copy กันเองแล้วมั้ง

By: zinazisc
Windows PhoneAndroid
on 15 November 2010 - 17:49 #232169 Reply to:232139
zinazisc's picture

ตอนนี้ก็เริ่ม copy กันเองแล้วครับ ในตลาดมือถือ meizu โดนก๊อปไปแล้ว

By: agent5 on 15 November 2010 - 16:44 #232155

เห็นรายงาน OS ที่ใช้ใน Top 500 แล้ว
Linux ครองโลกซูเปอร์คอมพิวเตอร์แทน UNIX ได้เร็วมาก

By: czynet
iPhoneRed HatUbuntu
on 16 November 2010 - 03:13 #232264

ผมว่ามีคนจีนเก่งๆด้านนี้ อยู่ต่างชาติในน้อยทีเดียว
นี่อาจจะถึงเวลาดึงทรัพยากรชาติตัวเองกลับแล้ว :D

เมื่อไหร่หนอจะถึงเวลาของชาติไทย

By: planktons
AndroidWindows
on 16 November 2010 - 16:06 #232474
planktons's picture

ขอความรู้หน่อยนะครับ คือผมอยากรู้ว่าประเทศไทยมีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้บ้างหรือป่าวอ่ะครับ
แล้วก็จีนเขาผลิตไมโครโปรเซสเซอร์เองได้หรือป่าวครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 16 November 2010 - 17:47 #232510 Reply to:232474
javaboom's picture

ประเทศไทยมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เช่น ระบบชื่อ Tera Cluster ของ ThaiGrid แต่อาจจะเป็นซูเปอร์คอมระบบเล็กของยุคปัจจุบัน

ผมต้องบอกก่อนว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) หมายถึง ประมวลผลได้เหนือกว่าธรรมดา (supercomputing) เพราะหากเราพิจารณาคำนี้เมื่อ 40 กว่าปีก่อน มันจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ประมวลผลได้เร็วมากๆ มีโปรเซสเซอร์หลายหน่วย และส่วนใหญ่ใช้ vector processor แต่ปัจจุบันนี้ ความหมายมันเปลี่ยนไปมาก กลายมาเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์หรือกลุ่มของคอมพิวเตอร์("คลัสเตอร์")ทั่วๆไป และใช้โปรเซสเซอร์ที่หาได้ทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งเป็น superscalar หรืออาจเป็นพวกการ์ดประมวลผลกราฟิก เช่น AMD, Intel, NVIDIA, ATI เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อาจจะเป็นคลัสเตอร์หรืออาจจะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่มีการ์ดจออยู่หลายใบ และเป็นสัจธรรมที่ว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในวันนี้ อาจจะเป็นแค่คอมพิวเตอร์ธรรมดาๆในวันข้างหน้า ถ้าจะกล่าวว่าปัจจุบันคอมพิวเตอร์ต้องเร็วขนาดไหน ก็บอกยากอยู่ เพราะ GPU (หรือพวกการ์ดจอมาทำให้ตอบยากขึ้น) ถ้าหากได้คอมพิวเตอร์ที่เร็วกว่า 1 เทราฟลอป (หรือประมวลผลคำสั่งเลขทศนิยมแบบ double precision ได้มากกว่า 1 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที) ผมคิดว่า ควรจะเรียกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ได้อยู่นะ (อาจจะเป็น supercomputer รุ่นน้อง) แต่ผ่านไปอีก 1 - 2 ปี อาจจะต้องเปลี่ยนกันใหม่ เป็นระดับ 3 - 10 เทราฟลอปขึ้นไป เพราะตอนนี้อันดับสุดท้ายใน TOP500 ก็เลย 30 เทราฟลอปไปแล้ว ตามคิดของผม คือ ซูเปอร์คอมที่ตามหลัง TOP500 ไม่ควรจะห่างเกิน degree of magnitude เมื่อเทียบกับอันดับสุดท้าย (ประมาณ 1/10)

จีนผลิตไมโครเซสเซอร์ประจำชาติของตนเองครับ ชื่อ Godson (หรือ Loongson)

ป.ล. โทษทีที่ตอบยาวกว่าที่ถามครับ


My Blog

By: planktons
AndroidWindows
on 16 November 2010 - 22:11 #232595 Reply to:232510
planktons's picture

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ แต่ผมเคยอ่านเจอมาว่า เซลล์โปรเซสเซอร์ประมวลผลได้ดีกว่าโปรเซสเซอร์ทั่วไปนะครับ
ไม่รู้ว่ามีการสร้างซุปเปอร์คอมจากเซลล์โปรเซสเซอร์บ้างหรือปล่าวนะครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 17 November 2010 - 00:32 #232644 Reply to:232595
javaboom's picture

ด้วยความยินดีครับ

ถูกต้องครับที่ Cell processor เร็วกว่า superscaler เพราะ cell มันเป็น multicore ที่มีลักษณะเด่นด้าน vector processing พอสมควร โดยชิปของ Cell หนึ่งหน่วยที่ใช้กับ PlayStation3 (8 + 1 คอร์) เร็วประมาณ​ 150 GFlops สำหรับ single precision แต่ทำคะแนนได้แค่ประมาณ​ 11 GFlops สำหรับ double precision (DP) อย่างไรก็ดี cell เคยสร้างสถิติแชมป์โลกใน TOP500 เมื่อปี 2008 โดยซูเปอร์คอมชื่อ IBM Roadrunner ใช้ชิปตระกูล Cell ชื่อ PowerXCell และครองแชมป์ต่อกัน 3 สมัย

แต่ถ้า Cell ไปเทียบรุ่นกับ GPU ก็แพ้ขาดลอยครับ สมัยนี้ GPU มาแรงสำหรับงานด้าน general purpose (หรือ GPGPU) ไม่ใช่แค่งานกราฟิกอย่างเดียวแล้ว จุดเด่นของ GPU คือ มันเป็น manycore (หรือหลายร้อยคอร์) อย่าง NVIDIA Tesla รุ่น M2050 ตัวเดียว (แต่มี 448 คอร์) ก็เร็วกว่า 1,200 GFlops สำหรับ SP และเร็วกว่า 500 GFlops สำหรับ DP แล้วครับ ดูตัวอย่างได้จากข่าวนี้ก็ได้ แชมป์โลกปีนี้หรือ Tianhe-1A ได้ GPU หนุนหลังไว้เยอะ ส่วน Roadrunner ร่วงไปที่ 7 เรียบร้อยแล้ว


My Blog