Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ แยกฝ่ายศูนย์ข้อมูล (Data Platform Group) ออกเป็น 2 ส่วน และตั้งหน่วยธุรกิจใหม่อีก 2 หน่วย

Data Platform Group (DPG) ที่เป็นธุรกิจฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จะแยกออกเป็นหน่วย Datacenter and AI ที่ครอบคลุม Xeon, FPGA, AI และหน่วย Network and Edge Group ครอบคลุมด้านชิปสื่อสารและ IoT

อินเทลยังตั้งหน่วยธุรกิจใหม่อีก 2 หน่วยคือ Software and Advanced Technology Group เน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ และ Accelerated Computing Systems and Graphics Group (AXG) เน้นคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ กราฟิก โดยหน่วยหลังสุดได้ Raja Koduri ที่เราคุ้นหน้าจากวงการจีพียูมาเป็นหัวหน้า

Tags:
Node Thumbnail

NVIDIA เปิดตัวซีพียู Grace เป็นซีพียู Arm Neoverse ที่ออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับชิปกราฟิกอย่างแนบแน่นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดย NVIDIA ระบุว่าสถาปัตยกรรมของ Grace จะทำให้รันงานด้านปัญญาประดิษฐ์เร็วกว่าเดิมถึงสิบเท่า

Grace เชื่อมต่อกับชิปกราฟิกผ่าน NVLink รุ่นที่ 4 มีแบนวิดท์ระหว่างสองชิป 900GB/s และใช้แรม LPDDR5x สถาปัตยกรรมใหม่ใช่หน่วยความจำเป็น address space ร่วมกันกับกราฟิก

Swiss National Computing Center (CSCS) กำลังสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ALPS โดยใช้ซีพียู Grace สร้างโดย HPE คาดว่าเปิดใช้งานปี 2023 และ Los Alamos National Laboratory ศูนย์วิจัยกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ผู้ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับต้นๆ ของโลกก็วางแผนสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่โดยใช้ Grace เช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

มหาวิทยาลัย CMKL ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศติดตั้ง NVIDIA DGX POD ชุดเซิร์ฟเวอร์ DGX A100 แบบยกตู้ ประกอบไปด้วยเซิร์ฟเวอร์ DGX A100 ทั้งหมด 6 ชุด พลังประมวลผลรวม 30 เพตาฟลอบ เน็ตเวิร์คภายในใช้ Mellanox Spectrum 100GbE และสวิตช์ Quantum 200Gbps Infiniband และสตอเรจอีก 2.5 เพตาไบต์

แถลงข่าวของทาง NVIDIA ไม่ได้ระบุว่า CMKL เป็นหน่วยงานลำดับที่เท่าใดที่ใช้เครื่อง DGX POD แต่เมื่อเดือนพฤษภาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกในไทยที่ติดตั้งเครื่อง DGX A100

Tags:
Node Thumbnail

NVIDIA ประกาศสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cambridge-1 สำหรับการวิจัยยา โดยมีบริษัทยาและหน่วยงานวิจัยต่างๆ ในสหราชอาณาจักรเตรียมเข้าใช้งานหลังเครื่องเปิดใช้งานในปีนี้ โดยเครื่อง Cambridge-1 น่าจะอยู่อันดับ 29 ของรายกา TOP500 และอยู่อันดับ 3 ของรายการ Green500

ในแง่ประสิทธิภาพ เครื่อง Cambridge-1 จะมีพลังประมวลผล 8 เพตาฟลอบเมื่อทดสอบด้วย Linpack และการสร้างเครื่องนี้จะใช้โมดูล DGX SuperPOD เพื่อช่วยให้สร้างได้รวดเร็ว โดยรวมแล้วภายในมีเครื่อง DGX A100 ทั้งหมด 80 เครื่อง เชื่อมต่อกับด้วย InfiniBand อาศัยเงินลงทุนจากบริษัท 40 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1,650 ล้านบาท

ทาง NVIDIA ไม่ได้บอกค่าใช้จ่ายการเข้าใช้งานโดยตรง แต่ระบุว่าบางโครงการวิจัยจะได้รับบริจาคเวลาใช้งานเครื่อง

Tags:
Node Thumbnail

IBM ในฐานะผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ ร่วมมือกับห้องวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา, NASA, สถาบันการศึกษา และบริษัทคลาวด์ 3 ยักษ์ใหญ่ (AWS, Microsoft, Google) ตั้งกลุ่ม COVID-19 High Performance Computing Consortium เปิดซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังสูงๆ ให้นักวิจัยเข้ามาขอใช้งานเกี่ยวกับ COVID-19 ได้ฟรี

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่นำมาเปิดให้ใช้งานมีทั้งหมด 16 ระบบ ซีพียูรวมกัน 750,000 ตัว, จีพียูรวมกัน 34,000 ตัว, สมรรถนะรวมกัน 330 petaflops ซึ่งรวมถึง Summit ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลก ที่เพิ่งใช้คำนวณหาสารที่ใช้ทำยารักษา COVID-19 ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ที่งาน SC19 NVIDIA เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ต้นแบบที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม Arm แทนที่ซีพียู x86 โดยตอนนี้ไม่ได้ระบุว่าเครื่องต้นแบบนี้ใช้ซีพียูจากผู้ผลิตใด แต่ระบุว่าเป็นการทำงานร่วมกับผู้ผลิตซีพียู Arm หลายรายรวมถึง Ampere, Fujitsu, และ Marvell

ก่อนหน้านี้ NVIDIA พัฒนาแพลตฟอร์มให้ทำงานร่วมกับซีพียู Arm มาได้ก่อนแล้ว แต่มักเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับการประมวลผลปลายทาง (edge computing) ครั้งนี้ NVIDIA ประกาศว่าเครื่องต้นแบบจะเป็นการเตรียมการนำ Arm เข้าสู่วงการซูเปอร์คอมพิวเตอร์

Tags:
Node Thumbnail

NVIDIA เปิดตัว Jetson Xavier NX ชิปซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล AI ที่ NVIDIA บอกว่าเล็กที่สุดในโลกด้วยขนาด 70x45 มิลลิเมตร สำหรับการประมวลผลในอุปกรณ์ปลายทาง (the edge) ในอุปกรณ์ประเภทฝังตัว (embeded device) หรือหุ่นยนต์ต่าง ๆ

Jetson Xavier NX มีกำลังประมวลผลสูงสุด 21 TOPS ที่กำลังไฟ 15W (ส่วนไฟ 10W จะสามารถประมวลผลได้ที่ 14 TOPS) ซีพียูเป็น ARM64 สถาปัตยกรรม Carmel 6 คอร์ จีพียู NVIDIA Volta มี CUDA Core 384 คอร์, Tensor Core อีก 48 คอร์ และ NVDLA ตัวเร่งการประมวลผล Deep Learning 2 ตัว แรม LPDDR4x 128-bit ขนาด 8GB

ราคาของ Jetson Xavier NX อยู่ที่ 399 เหรียญ จะเริ่มผลิตและวางขายเดือนมีนาคมปี 2020 ที่จะถึงนี้

Tags:
Node Thumbnail

IBM ประกาศเปิดตัว z15 เป็นสินค้าชิ้นใหม่ในไลน์คอมพิวเตอร์เมนเฟรม IBM Z โดยตัวเครื่องสามารถประมวลผลงาน web transaction ได้สูงสุดถึง 1 ล้านล้านครั้งต่อวัน รองรับการรันฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และรันลินุกซ์คอนเทนเนอร์ได้สูงสุดถึง 2.4 ล้านคอนเทนเนอร์

ตัวเครื่องเมนเฟรมจะอยู่ในตู้แร็คขนาด 19 นิ้ว มีเมนเฟรม 1-4 เครื่องรวมกันเป็น 1 ระบบ ซึ่งตัวเครื่องนี้เล็กกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง z14 ทำให้ผู้ใช้ประหยัดพื้นที่กว่ารุ่นเดิม 50% และประหยัดไฟกว่าเดิม 10% โดยสเปคของตัวเครื่องเมื่อเทียบกับ z14 แล้ว มีจำนวนคอร์ซีพียูมากกว่า 12% และเมมโมรี่มากกว่า 25% ซึ่ง IBM ระบุว่าเมนเฟรมนี้ใช้เวลาพัฒนาต่อเนื่องกว่า 4 ปี และมีสิทธิบัตรในกลุ่ม IBM Z กว่า 3,000 รายการ

Tags:
Node Thumbnail

K Computer ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกช่วงปี 2011 ถึงคราวต้องถูกปลดระวางแล้ว

K Computer ตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัย RIKEN Center for Computational Science ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง RIKEN กับบริษัท Fujitsu และเคยมีนักวิจัยมากกว่า 2,500 คนได้ใช้ประโยชน์จากซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้

ปัจจุบัน K Computer มีอันดับร่วงมาอยู่ที่ 20 และเทคโนโลยีหลายๆ อย่างก็เริ่มล้าสมัยแล้ว (ซีพียูเป็น SPARC64 ของ Fujitsu และไม่ใช้จีพียูช่วยเร่งการประมวลผลเลย) ทางศูนย์วิจัย RIKEN จึงตัดสินใจหยุดงานประมวลผลเมื่อวานนี้ (16 ส.ค.) และจะปิดเครื่องวันที่ 30 ส.ค. เพื่อเริ่มถอดรื้อเครื่อง

Tags:
Node Thumbnail

Cray Inc. บริษัทซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่เพิ่งโดน HPE ซื้อกิจการเมื่อเดือน พ.ค. แต่ยังไม่เสร็จกระบวนการ ประกาศคว้าชัย ชนะสัญญาของกระทรวงพลังงานสหรัฐ สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ตัวใหม่ "El Capitan" มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท)

Tags:
Node Thumbnail

TOP500 การจัดวัดผลคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงประกาศผลจัดอันดับพลังประมวลผลรอบเดือนมิถุนายน 2019 ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก โดย 10 อันดับแรกมีเพียงเครื่อง Frontera จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเครื่องเดียวที่เข้ามาในอันดับ 5 ด้วยพลัง 23.5 เพตาฟลอบ

ในบรรดา 500 เครื่องในรายการ มีเครื่องจากจีน 219 เครื่อง จากสหรัฐฯ 116 เครื่อง ญี่ปุ่น 29 เครื่อง ฝรั่งเศส 19 เครื่อง อย่างไรก็ดี หากนับพลังประมวลผลรวม สหรัฐฯ มีพลังประมวลผลสูงสุดเนื่องจากเครื่องในจีนมักเป็นเครื่องขนาดเล็กกว่า แต่ผู้ผลิตจากจีนก็ยังมีส่วนแบ่งกว่า 60% ได้แก่ Lenovo 173 เครื่อง, Inspur 71 เครื่อง และ Sugon 63 เครื่อง ขณะที่ผู้ผลิตจากสหรัฐฯ อย่าง HPE มี 40 เครื่อง และ Cray มีส่วนแบ่ง 39 เครื่อง

Tags:
Node Thumbnail

NVIDIA สาธิตการใช้เซิร์ฟเวอร์ DGX-2H (ตัวเซิฟเวอร์เหมือน DGX-2 ที่เปิดตัวปีที่แล้ว แต่เร่งความเร็วกราฟิกให้สูงขึ้น) โดยใช้ DGX-2H จำนวน 96 ชุดมาเชื่อมเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า DGX SuperPOD เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับที่ 22 ของโลก พลังประมวลผลรวม 9.4 เพตาฟลอบ

จุดเด่นสำคัญของ DGX SuperPOD คือมันใช้เวลาสร้างสั้นมาก เพียงสามสัปดาห์เท่านั้น โดยเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ DGX-2H ผ่านทางเทคโนโลยีของ Mellanox การใช้เซิร์ฟเวอร์ DGX มาต่อกันทำให้กระบวนการออกแบบและตรวจสอบสั้นลงมาก จากเดิมมักใช้เวลา 6-9 เดือนก่อนเครื่องจะทำงานได้จริง

Tags:
Node Thumbnail

Ian Buck รองประธาน Nvidia ฝ่าย accelerated computing ที่ดูแลธุรกิจซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบุกับสำนักข่าว Reuters ว่าลูกค้าที่เป็นนักวิจัยในยุโรปและญี่ปุ่นเรียกร้องให้บริษัทรองรับชิป Arm เป็นทางเลือกที่สามจากชิป POWER ของ IBM และ Xeon ของ Intel และคาดว่าจะเริ่มพร้อมใช้งานได้ในปีนี้

ที่ผ่านมา Nvdia ทำงานร่วมกับ Arm บ้างเช่นบอร์ด Jetson ที่ใช้ซีพียูเป็น Arm มาตลอด แต่ยังไม่มีการใช้งานกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังประมวลผลสูงๆ นัก การประกาศครั้งนี้ทาง Nvidia จะพอร์ตซอฟต์แวร์สำคัญๆ สำหรับการพัฒนาระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง ให้รันบน Arm ได้ทั้งหมด เช่น CUDA-X, คอมไฟล์เลอร์ PGI, และไลบรารีสำหรับงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงอื่น

Tags:
Node Thumbnail

Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE ประกาศเข้าซื้อกิจการ Cray Inc. บริษัทผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ ด้วยมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 41,000 ล้านบาท โดย HPE จะซื้อกิจการทั้งหมดด้วยเงินสด

Antonio Neri ซีอีโอ HPE อธิบายที่มาที่ไปของดีลนี้ว่า ยุคนี้มีความท้าทายในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากปลดล็อกสิ่งเหล่านี้ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ของโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรค, ภูมิอากาศ, จักรวาล และอื่น ๆ ซึ่ง Cray เป็นผู้นำด้านการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เมื่อรวมกับทรัพยากรของ HPE ก็เป็นโอกาสที่จะผลักดันระบบประมวลขั้นสูงในยุคถัดไปนั่นเอง

Tags:
Node Thumbnail

กระทรวงพลังงานสหรัฐประกาศเตรียมสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ชื่อว่า Frontier ที่จะมีความเร็วสูงที่สุดในโลก ซึ่งผลิตโดย Cray บริษัทผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ ร่วมมือกับ AMD กำหนดเปิดตัวในปี 2021 โดยนำมาใช้งานในห้องวิจัย Oak Ridge National Laboratory

สำหรับสมรรถนะของ Frontier จะอยู่ที่ระดับ 1.5 exaFLOP (เอกซาฟลอป) โดยนำมาใช้ในงานวิจัยด้าน AI เพื่อให้เห็นภาพความเร็วในการประมวลผล AMD ระบุว่า Frontier มีสมรรถนะเท่ากับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 160 อันดับแรกของโลกปัจจุบันรวมกัน

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีสมรรถนะระดับ 1 exaFLOP โดยมีชื่อว่า Aurora และมีกำหนดเสร็จในปี 2021

ปัจจุบัน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกคือ Summit มีสมรรถนะประมาณ 143.5 petaFLOP นั่นแปลว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Aurora จะมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 10 เท่าตัวภายใน 2 ปีข้างหน้านี้

Aurora จะสร้างโดยบริษัท Cray Inc. โดยใช้เทคโนโลยีของอินเทลทั้งชุด ได้แก่ ซีพียู Xeon Scalable ตัวใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรมตัวใหม่ Xe, Intel Optane DC Persistent Memory รุ่นถัดไป รวมกับบัสความเร็วสูง Slingshot ของ Cray และระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Shasta” รุ่นใหม่ของ Cray เช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

ต่อจากข่าวว่า อินเทลและ NVIDIA กำลังแย่งกันซื้อ Mellanox ผู้ผลิตสวิตช์ InfiniBand ล่าสุดข่าวเป็นทางการออกมาแล้วว่าเป็น NVIDIA ที่ชนะในศึกนี้ที่ราคา 6.9 พันล้านดอลลาร์ (ข่าวก่อนหน้านี้บอกว่าอินเทลเสนอซื้อที่ 6 พันล้านดอลลาร์)

NVIDIA อธิบายว่าซื้อ Mellanox เพื่อเสริมกำลังในตลาดคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (high performance computing หรือ HPC) ซึ่งมักใช้จีพียูของ NVIDIA และการ์ดเครือข่ายของ Mellanox (ตระกูล InfiniBand) อยู่แล้ว หากดูจากอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ก็มีเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีจาก 2 บริษัทนี้ร่วมกันถึง 250 เครื่อง (รวมถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกอันอับ 1 และ 2 ตอนนี้คือ SUMMIT และ Sierra) การซื้อกิจการครั้งนี้จึงสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง

Tags:
Node Thumbnail

รายการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ประกาศรายการเดือนพฤศจิกายน เครื่องของสหรัฐฯ สองเครื่อง คือเครื่อง Summit ที่เพิ่งชิงที่หนึ่งมาได้ และเครื่อง Sierra ได้อัพเกรดขึ้นมาจนได้อันดับหนึ่งและสอง ดันเครื่อง TaihuLight ของจีนลงไปอยู่อันดับสาม

เครื่อง Summit อัพเกรดจากรอบที่แล้วที่ประสิทธิภาพ 122.3 เพตาฟลอบมาเป็น 143.5 เพตาฟลอบ และเครื่อง Sierra อัพเกรดจาก 71.6 เพตาฟลอบมาเป็น 94.6 เพตาฟลอบ ทั้งสองเครื่องใช้ซีพียู IBM POWER9 และชิปกราฟิก NVIDIA V100

ที่มา - TOP500

Tags:
Node Thumbnail

Top500 ประจำเดือนมิถุนายน 2018 ออกมาแล้วโดยเครื่อง Summit ของรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นอันดับหนึ่งตามคาด โดยทดสอบ Rmax ได้ 122.300 เพตาฟลอบชนะเครื่อง Sunway TaihuLight ที่ได้ 93 เพตาฟลอบ แถมเครื่อง Summit ยังกินพลังงานเพียงครึ่งเดียว ที่ 8.8 เมกกะวัตต์เทียบกับเครื่อง TaihuLight ที่กินพลังงานถึง 15.37 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ดี เมื่อดูรายการรวม จะพบว่าจีนยังคงแข็งแกร่งอย่างมากในตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีเครื่องในรายชื่อ Top500 สูงถึง 206 เครื่องแล้ว เทียบกับสหรัฐฯ ที่มีเพียง 124 เครื่องเท่านั้น เครื่อง TaihuLight เองก็ไม่ได้อัพเกรดเลยมาตั้งแต่ปี 2016

Tags:
Node Thumbnail

ice_bucket ทีมนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เข้าแข่งขันงาน ASC Student Supercomputer Challenge ครั้งที่ 18 วันที่ 5 ถึง 9 พฤษภาคมที่ผ่านมาที่มหาวิทยาลัยนานชาง (Nanchang university) มณฑลเจียงซี ประเทศจีน และได้รับรางวัล จากทีมเข้าแข่งขันมากกว่า 300 ทีมในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก อาทิ เยอรมนี จีน รัสเซีย ฮังการี ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อพูดถึงแบรนด์ Lenovo เรามักนึกถึงคอมพิวเตอร์ทั้งเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก แต่จริงๆ แล้ว Lenovo ยังมีธุรกิจไอทีองค์กรที่เน้นขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ และถ้ายังไม่ลืมกัน ธุรกิจเซิร์ฟเวอร์เดิมของ IBM เกือบทั้งหมด (ยกเว้นกลุ่มซีพียู Power) ถูกขายมาให้ Lenovo ตั้งแต่ปี 2014

สำหรับในประเทศไทย Lenovo Thailand ยังไม่ได้ทำตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างจริงจังนัก แต่ด้วยทีมงานของ IBM เดิมก็ยังส่งผลให้มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับสามของไทย

ล่าสุด Blognone มีโอกาสคุยกับผู้บริหารฝั่ง data center ของ Lenovo ทั้งจากสำนักงานใหญ่และจากสำนักงานภูมิภาค คือ Sumir Bhatia (Vice President, Data Centre Group, Asia Pacific) และ Scott Tease (Executive Director, Hyperscale and HPC) ถึงแผนขั้นต่อไปของ Lenovo ในการบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กร

Tags:
Node Thumbnail

ARM ประกาศเข้าซื้อบริษัท Allinea ผู้ผลิตเครื่องมือสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง โดยจะรวมบริษัทเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทีม ARM HPC Tools

จนถึงตอนนี้ ARM ยังบุกตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ได้ไม่มากนัก ความสำเร็จครั้งใหญ่ล่าสุดคือ Fujitsu ประกาศใช้ซีพียู ARM ในซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องต่อไป

ชุดเครื่องมือของ Allinea ใช้สำหรับการดีบักและการทำ profiling ประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ ในระบบที่มีความซับซ้อนสูง เช่น MPI, OpenMP, Xeon Phi, ไปจนถึง CUDA

ที่มา - Allinea

Tags:
Node Thumbnail

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกตอนนี้คือ Sunway TaihuLight ของจีน ที่มีพลังประมวลผล 93 เพตาฟลอป แต่บริษัท Cray ก็ออกมาประกาศท้าทายตัวเลขนี้ โดยจะสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะ 500 เพตาฟลอปขึ้นมาให้ได้

เครื่องรุ่นใหม่ล่าสุดของ Cray ใช้ชื่อรุ่นว่า Cray XC50 (นับต่อจากรุ่นเดิม XC40) ตอนนี้ยังมีรายละเอียดออกมาไม่เยอะนัก บอกเพียงว่าจะใช้ซีพียู Xeon รุ่นถัดไป, ตัวช่วยประมวลผล Xeon Phi และเร่งการประมวลผลด้วย NVIDIA Tesla P100 สมรรถนะต่อ 1 กล่อง (cabinet) สามารถทำได้ 1 เพตะฟลอป และสมรรถนะสูงสุดของทั้งระบบคือ 500 เพตะฟลอป

Tags:
Node Thumbnail

การจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกครั้งล่าสุด หรือ TOP500 ประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้วว่า Sunway TaihuLight ของ National Supercomputing Center in Wuxi จากจีน ครองแชมป์ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 และด้วยจำนวนโปรเซสเซอร์สัญชาติจีนตระกูล Sunway (รหัส SW26010) ที่มีมากถึง 10,649,600 คอร์ พร้อมด้วยหน่วยความจำหลักขนาดมหึมาที่มีมากกว่า 1.31 ล้านกิกะไบต์ ทำให้ Sunway TaihuLight มีพลังประมวลผลถึง 93 เพตาฟลอป เอาชนะทิ้งห่างอันดับสองที่มีพลังประมวลผล 33.9 เพตาฟลอป นั่นคือ Tianhe-2 จากจีน แชมป์ปี 2013-2015 ไปอย่างขาดลอย

Tags:
Node Thumbnail

ARM พยายามบุกตลาดระดับสูงขึ้นกว่าโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมาเป็นเวลานานแต่จนตอนนี้ดูจะยังไม่ประสบความสำเร็จนัก ที่งาน Hot Chip ปีนี้ทาง ARM ก็เปิดตัวชุดคำสั่งใหม่ที่จะทำให้ ARM สามารถประมวลผลในคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้ดีขึ้น

ชุดคำสั่ง Scalable Vector Extension (SVE) เปิดให้ผู้ออกแบบซีพียูสามารถรับคำสั่งเพื่อประมวลผลข้อมูลแบบเวคเตอร์ได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ ARM จะมีชุดคำสั่ง NEON อยู่ก่อนแล้ว แต่ SVE จะเปิดให้รองรับเวคเตอร์ขนาดไม่คงที่ได้ (vector-length agnostic - VLA) เมื่อซีพียูมีเวคเตอร์ใหญ่ขึ้นก็จะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วย

นอกจากขนาดเวคเตอร์ที่ไม่คงที่แล้ว ตัวรีจิสเตอร์ในการประมวลผลเองก็สามารถปรับแต่งได้ระหว่าง 128 บิต ถึง 2048 บิต

Pages