Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศชิป Xeon Phi รุ่นต่อไปในชื่อ Knights Mill (KNM) หลังจากเริ่มขาย Knights Landing (KNL) ในปีนี้ โดย KNM จะเป็นซีพียูเต็มรูปแบบเหมือนกับ KNL

ตอนนี้อินเทลยังไม่บอกรายละเอียดใดๆ ของ KNM ออกมา บอกเพียงว่ามันจะออกแบบสำหรับงาน machine learning และ AI โดยเฉพาะ โดยการเชื่อมต่อจะเหมาะสำหรับการขยายระบบ (scale-out) และการปรับแต่งเพื่อการเทรนโมเดลสำหรับ deep-learning

ในงาน IDF อินเทลยังระบุว่า ผู้ใช้ Xeon Phi รายสำคัญในตอนนี้คือ Baidu ที่ใช้ฝึกระบบ DeepSpeech

คาดว่า KNM จะวางขายในปี 2017

Tags:
Node Thumbnail

Hewlett Packard Enterprise (HPE) ประกาศซื้อกิจการ SGI (หรือ Silicon Graphic เดิม) เพื่อนำธุรกิจคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC หรือ high performance computing) มาเสริมทัพ

บริษัท Silicon Graphic เดิมก่อตั้งเมื่อปี 1981 และสร้างชื่ออย่างมากจากคอมพิวเตอร์ workstation สำหรับงานประมวลผลขั้นสูง แต่ภายหลังบริษัทประสบปัญหาจนล้มละลายในปี 2009

จากนั้นบริษัท Rackable Systems ผู้ขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์และสตอเรจ มาซื้อกิจการต่อ แถมเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น SGI โดยหันมาเน้นทำซูเปอร์คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แทน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือแวดวงการวิจัย

Tags:
Node Thumbnail

Cray ผู้ผลิตซุปเปอร์คอมพิวเตอร์กำลังพิจารณาให้บริการ Super Computer as a Service เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้งานประสิทธิภาพของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์ได้

Barry Bolding หัวหน้าอาวุโสฝ่ายแผนการของ Cray ระบุว่าปัญหาขององค์กรที่ใช้งานระบบคลาวด์ คือลูกค้าไม่ค่อยรู้เรื่องระบบหรือโครงสร้างเบื้องหลัง ขณะที่การให้บริการซูเปอร์คอมพิวเตอร์นั้น ความรู้เรื่องระบบและโครงสร้างค่อนข้างสำคัญ เพื่อทำให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยบริษัทพุ่งเป้าไปที่ลูกค้าที่ต้องการซิมูเลชันและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

Tags:
Node Thumbnail

สินค้าของอินเทลในตระกูล Xeon Phi ก่อนหน้านี้จะเป็นการ์ดเสริมสำหรับคอมพิวเตอร์สำหรับย้ายงานที่ต้องประมวลผลขนานกันมากๆ ออกไปยังการ์ดภายนอก แต่ Xeon Phi รุ่น Knights Landing (KNL) จะเป็นซีพียูประสิทธิภาพสูงในตัวทำงานแยกเป็นคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องการซีพียูหลักอีกต่อไป หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2013 ตอนนี้ KNL ก็วางขายแล้วจากเดิมที่กำหนดวางตลาดไว้ปี 2014-2015

Tags:
Node Thumbnail

ฟูจิตสึผู้ผลิตซุปเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่จากญี่ปุ่นประกาศในงาน ISC 2016 ระบุว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องต่อไปจะใช้ชิปที่รันชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม ARM จากเดิมที่ฟูจิตสึเคยเน้นชิปสถาปัตยกรรม SPARC มาโดยตลอด

ซีพียูที่ใช้นี้จะออกแบบใหม่โดยรับชุดคำสั่ง ARMv8 การเชื่อมต่อระหว่างซีพียูจะใช้ระบบ Tofu ของฟูจิตสึเอง

ฟูจิตสึได้รับว่าจ้างจากศูนย์วิจัย RIKEN ให้สร้างซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ Post-K ที่น่าจะเปิดใช้งานในปี 2020 โดยมีพลังประมวลผลระดับ 1,000 PFLOPS (เครื่อง Sunway TaihuLight ของจีนตอนนี้มีพลังประมวลผล 125.4 PFLOPS)

แม้จะใช้สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8 แต่ในการนำเสนอในงาน ISC ทางฟูจิตสึก็เน้นว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นของบริษัทเอง

Tags:
Node Thumbnail

จีนประกาศแผนการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับเอ็กซะฟลอป (10^18 FLOPS) โดยจะใช้เชื่อว่า Tienhe-3 ภายในปี 2020 ซึ่งเร็วกว่าแผนของสหรัฐที่ตั้งใจจะสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับนี้ในปี 2023

อย่างไรก็ตาม Steve Conway ผู้เชี่ยวชาญจาก IDC ระบุถึงแม้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน การสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับเอ็กซะฟลอปอาจได้ แต่อุปสรรคยังคงเป็นเรื่องของพลังงานที่อาจต้องใช้ถึง 20-30 เมกะวัตต์ รวมไปถึงความสามารถของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในการใช้งานจริง ที่ต้องประมวลผลระดับเอ็กซะฟลอปอย่างต่อเนื่อง ที่น่าจะทำได้จริงในช่วงปี 2022-2024 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สหรัฐตั้งไว้มากกว่า

Tags:
Node Thumbnail

Amazon Web Services ซื้อกิจการบริษัท NICE ผู้เชี่ยวชาญซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing - HPC) จากอิตาลี ซอฟต์แวร์ของ NICE มีทั้งระบบจัดการงานสำหรับกริด EnginFrame และซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก 3D visualization ชื่อ Desktop Cloud Visualization (DCV)

หลังการซื้อกิจการแล้ว ผลิตภัณฑ์ของ NICE จะยังให้บริการต่อไปตามปกติ และ NICE ก็จะค่อยๆ เข้ามาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กับ AWS ต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

การจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลก Top500 รอบปลายปี 2015 (ข่าวของรอบกลางปี 2015) แชมป์เก่า Tianhe-2 จากจีน ยังรักษาแชมป์ต่อได้เป็นสมัยที่ 6 ด้วยสมรรถนะ 33.86 petaflop/s เท่าเดิม (ไม่ได้อัพเกรด)

อันดับถัดๆ มายังคงเดิม (ล้วนเป็นอดีตแชมป์เก่า) คืออันดับสอง Cray Titan, อันดับสาม IBM Sequoia, อันดับสี่ Fujitsu K Computer

หน้าใหม่ใน Top 10 มีสองรายคือ Cray Trinity เข้ามาอันดับเจ็ด และ Cray Hazel Hen ของเยอรมนี ติดอันดับแปด

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลประกาศแนวทางการสร้างคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงด้วย Scalable System Framework (SSF) สำหรับการสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล เช่น การวิจัยทางการแพทย์ หรือการจำลองแบบทางการเงิน ไปจนถึงการวิจัยสภาพอากาศ โดยหวังว่าการวางแนวทางการพัฒนาซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ให้เป็นทางเดียวกันจะทำให้อุตสาหกรรมทั่วไปหันมาติดตั้งคอมพิวเตอร์เหล่านี้มากขึ้น

SSF จะมีสถาปัตยกรรมต้นแบบสำหรับผู้ผลิตซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสำหรับทดสอบ ตลอดจนรายการวัสดุสำหรับการผลิต ตอนนี้ผู้ผลิตซุปเปอร์คอมพิวเตอร์รายสำคัญ เช่น Cray, เดลล์, ฟูจิตสึ, SGI, เลอโนโว, Supermicro ประกาศว่าปีหน้าจะมีสินค้าที่สร้างบนฐานของ SSF แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว ARM Performance Libraries สำหรับผู้ที่ต้องการการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ประสิทธิภาพสูงบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทีี่ใช้ซีพียู ARMv8-A ตัวอัลกอริทึมถูกปรับแต่งมาเพื่อการใช้งานวงจรประมวลผลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การปรับแต่งมีตั้งแต่การรันหลายเธรด, ใช้คำสั่งในกลุ่ม SIMD, และคอมไพล์ด้วยคอมไพล์เลอร์รุ่นล่าสุด ตัวไลบรารีเหล่านี้เพื่อการค้าได้แก่ BLAS, LAPACK, และ FFT ส่วนฝั่งโอเพนซอร์สทาง ARM ปรับแต่งโค้ดให้กับโครงการต่างๆ เช่น ATLAS, OpenMPI, NumPy, หรือ TAU ได้ทันที และในชุดไลบรารีก็จะมีไบนารีที่คอมไพล์โดยทาง ARM มาให้

Tags:
Node Thumbnail

update: ข่าวโพสครั้งแรกผิดพลาดโดยระบุว่าเพดานการส่งออกอยู่ที่ 8 เทราฟลอบ แต่ประกาศจริงคือ 8 เพตาฟลอบ

กระทรวงพาณิชย์ของจีนออกประกาศควบคุมการส่งออกคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ที่พลังประมวลผลเกิน 8 เพตาฟลอบ และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ภายนอกด้วยแบนวิดท์ 2 กิกะไบต์ต่อวินาที

บริษัทที่จะส่งออกเทคโนโลยีที่เข้าข่ายได้ จะต้องได้รับใบอนุญาตส่งออกเทคโนโลยีที่สามารถใช้ทางการทหารได้ (dual-use item) และการส่งออกจะถูกควบคุมโดยหน่วยงานรัฐ

เทคโนโลยีอีกประเภทที่ถูกควบคุมพร้อมกัน คือ ยานบินไร้คนขับ (UAV) ที่สามารถบินได้นานกว่าหนึ่งชั่วโมงหรือบินได้สูงกว่า 15 กิโลเมตร สเปคยานบินไร้คนขับที่ประกาศออกมาคงมีผู้ผลิตไม่กี่รายที่สามารถทำได้

Tags:
Node Thumbnail

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศผลักดันโครงการ National Strategic Computing Initiative เพื่อให้สหรัฐอเมริกาสามารถสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ exascale ที่มีสมรรถนะเกิน 1 exaflop/s ให้ได้

ปัจจุบันซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกคือ Tianhe 2 ของจีน มีสมรรถนะ 33.86 petaflop/s เท่ากับว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของสหรัฐจะต้องมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นอีกราว 30 เท่าตัว ส่วนโครงการประมวลผลขนาดใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐในปัจจุบันต้องการสมรรถนะประมาณ 10 peteflop/s

Tags:
Node Thumbnail

TOP500 คือการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลกที่จัดปีละ 2 ครั้ง ในการจัดอันดับครั้งล่าสุดประจำครึ่งแรกของปี 2015 (นับเป็นครั้งที่ 45) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จีน Tianhe-2 ยังครองแชมป์ต่ออีกสมัยด้วยสมรรถนะ 33.86 petaflop/s และถือเป็นการครองแชมป์ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2013

อันดับสองคือ Cray Titan ของ Oak Ridge National Laboratory ในสหรัฐ อดีตแชมป์เก่าที่ยังรักษาตำแหน่งเดิมไว้เหนียวแน่น ด้วยสมรรถนะ 17.59 petaflop/s พร้อมตำแหน่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอัตราการใช้พลังงานดีที่สุด

Tags:
Node Thumbnail

อ่านข่าวสมาร์ทโฟนกันมาเยอะ มาดูข่าว "เมนเฟรมใหม่" กันบ้างนะครับ

IBM เปิดตัวเมนเฟรมรุ่นใหม่ z13 โดยเป็นเมนเฟรมตัวท็อปที่มีศักยภาพประมวลผลธุรกรรม (transaction) ได้มากถึง 2.5 พันล้านธุรกรรมต่อวัน เป้าหมายของ IBM คือสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่มีธุรกรรมผ่านอุปกรณ์พกพาจำนวนมหาศาล

Tags:
Node Thumbnail

เครื่อง L-CSC ของ GSI Helmholtz Center ในเยอรมันได้ขึ้นอันดับหนึ่งของรายการคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพพลังงานดีที่สุด ด้วยประสิทธิภาพพลังงาน 5.27 กิกะฟลอบต่อวัตต์ ในการจัดอันดับเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

เซิร์ฟเวอร์นี้สร้างโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ ASUS ESC4000 ใช้ซีพียู Intel Xeon E5-2690v2 10 คอร์ ร่วมกับ AMD FirePro S9150

ตัว ASUS ESC4000 มีจุดเด่นที่สามารถใส่การ์ดกราฟิกได้จำนวนมากในเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U โดยมีสล็อต PCI-E จำนวนถึง 9 สล็อต สามารถเลือกติดตั้งแบบ PCI-E 2.0 x16 4 ใบ หรือPCI-E 2.0 x8 8 ใบ

Tags:
Node Thumbnail

งาน SC14 เดลล์เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ พร้อมประกาศขาย Lustre Enterprise Edition ของอินเทล

เซิร์ฟเวอร์ที่เปิดตัวในงานคือ PowerEdge C4130 เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U รองรับซีพียู Xeon E5-2600v3 ได้สองซ็อกเก็ต, แรมสูงสุด 256GB, และ SATA 1.8 นิ้วอีกสองช่อง ความพิเศษของมันคือรองรับการ์ดกราฟิกอย่าง Tesla หรือการ์ด Xeon Phi ความยาวเต็มและความกว้างสองสล็อตได้ถึง 4 ใบ โดยจ่ายไฟให้ใบละ 300 วัตต์

การรองรับการ์ดสี่ใบทำให้ C4130 สามารถอัดพลังประมวลผลไว้ในเครื่องเดียวได้สูงสุด 7.2 เทราฟลอบในเครื่องขนาด 1U โดยกินพลังงาน 4.17 กิกะฟลอบต่อวัตต์

Tags:
Node Thumbnail

งาน SC14 หลักจากฝั่งอินเทลปล่อยสินค้าไปแล้ว ทางฝั่ง Nvidia ก็เปิดตัวสินค้าบ้าง คือการ์ด Tesla K80 ที่อัพเกรดจากรุ่นเดิมคือ K40 สองเท่าแทบทุกอย่าง

ฮาร์ดแวร์ของการ์ด K80 ใส่ชิปกราฟิก Kepler GK210 มาสองตัว แรม GDDR5 รวม 24GB มีคอร์ CUDA ทั้งหมด 4992 คอร์ ให้พลังประมวลผลเลขทศนิยมแบบ double precision ที่ 2.91 เทราฟลอบเมื่อเร่งสัญญาณนาฬิกา (เทียบกับ K40 ที่มีพลังประมวลผล 1.66 เทราฟลอบ)

การ์ด Tesla K80 เริ่มส่งมอบแล้ววันนี้ แต่ต้องสั่งผ่านผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์และตัวแทนจำหน่าย

ที่มา - Nvidia

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเดินหน้าบุกตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องจากการ์ด Xeon Phi ในงาน SC14 อินเทลก็เปิดตัวการ์ดรุ่นต่อไปชื่อรหัสว่า Knight Hill ที่ยังไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นนอกจากมันจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 10 นาโนเมตร และรองรับการเชื่อมต่อภายนอก Omni-Path

Omni-Path เป็นการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่รองรับแบนวิดท์ได้สูงสุด 100 Gbps และทำ latency ต่ำกว่า Infiniband ลง 56% ตัวสวิตช์ของ Omni-Path จะมีพอร์ตถึง 48 พอร์ตต่อสวิตช์ทำให้เครื่องมีความหนาแน่นกว่าเดิม

ความได้เปรียบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Omni-Path คือการที่ Xeon Phi จะมีอินเทอร์เฟซโดยตรง ทำให้หน่วยประมวลผลสามารถสื่อสารข้ามเครื่องกันได้โดยตรง

Tags:
Node Thumbnail

IBM และ Nvidia ชนะโครงการสร้างคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงให้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ มูลค่าโครงการ 325 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 10,600 ล้านบาท คาดว่าความเร็วที่ได้จะอยู่ระหว่าง 100 ถึง 150 เพตาฟลอบ เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก Tianhe-2 ที่อยู่ที่ 55 เพตาฟลอบ

กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เป็นลูกค้ารายใหญ่ของคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงมาเสมอ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ระดับสองของโลกคือเครื่อง Titan โดย Cray และอันดับสามคือเครื่อง Sequola โดย IBM ก็เป็นของกระทรวงพลังงานทั้งคู่ รวมถึงเครื่องอื่นๆ ในรายการ Top500 อีกจำนวนมาก

Tags:
Node Thumbnail

ทีมงาน Facebook ออกมาให้รายละเอียดเชิงเทคนิคของการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ Facebook Messenger ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม

Facebook บอกว่าตอนแรกสุดนั้นสร้าง Messenger ขึ้นมาเป็นระบบส่งข้อความแบบเดียวกับอีเมล แต่สุดท้ายมันก็พัฒนาตัวเองกลายมาเป็นระบบส่งข้อความด่วนที่ใช้บนอุปกรณ์พกพา อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีกลับไม่ต่างไปจากแพลตฟอร์มดั้งเดิมมากนัก ทำให้เกิดปัญหาคอขวดและใช้ปริมาณข้อมูลมากเกินจำเป็น

ทีมงานวิศวกรของ Facebook จึงต้องปรับปรุงระบบเบื้องหลังของ Facebook Messenger ใหม่ โดยใช้เวลาประมาณหนึ่งปี การปรับปรุง Messenger แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

Seagate ประกาศตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ชื่อ Cloud Systems and Solutions โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตโซลูชันสตอเรจสำหรับงานเฉพาะทางหลายด้าน ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

Baidu ระบุว่ากำลังสร้าง "ซูเปอร์คลัสเตอร์" ระบบคลัสเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อมาคำนวณระบบ image recognition เพื่อรองรับตลาดไอทีที่เปลี่ยนไปจากข้อความสู่ยุคของข้อมูลภาพ/เสียง

คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ของ Baidu จะแรงกว่าคอมพิวเตอร์ "Google Brain" ที่กูเกิลสร้างขึ้นในปี 2012 ถึง 100 เท่า โดยหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการนี้คือ Andrew Ng อดีตนักวิทยาศาสตร์ของกูเกิลผู้เชี่ยวชาญเรื่อง deep learning ที่ย้ายกลับไปอยู่กับบริษัทจีน (อ่านเรื่องนี้ได้ที่ Thai Robotics) นอกจากนี้ถ้าเทียบกับคลัสเตอร์ AI ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก็ดีกว่ากัน 10 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

Facebook เปิดเผยข้อมูลเชิงวิศวกรรมของ Autoscale ตัวกระจายโหลด (load balancer) ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลอย่างคุ้มค่า

การทำงานของ Facebook มีเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมาก โดยเซิร์ฟเวอร์มีอัตราการใช้พลังงานแตกต่างกันตามปริมาณงาน (โหลด) ที่ทำอยู่ในตอนนั้น

Tags:
Node Thumbnail

คอมพิวเตอร์ Tianhe-2 นับเป็นความภูมิใจของชาวจีนที่สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกแซงหน้าสหรัฐฯ (แม้ภายในจะใช้ Xeon และ Xeon Phi จำนวนมาก) แถมยังสามารถครองแชมป์ต่อเนื่องได้ครบปีนับจากกลางปีที่แล้ว ตอนนี้ Tianhe-2 กลับพบปัญหาใหม่คือไม่มีซอฟต์แวร์มารันเพราะค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

ปัญหาค่าไฟของ Tianhe-2 นับเป็นปัญหาสำคัญ โดยตอนนี้มันใช้ไฟฟ้าวันละ 400,000-500,000 หยวน หรือ 2 - 3 ล้านบาทต่อวัน

จนตอนนี้มีหน่วยงานเข้ามาใช้งน Tianhe-2 ประมาณ 120 ราย และใช้พลังประมวลผลอยู่ที่ 34% เท่านั้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการสร้างมีมูลค่าถึง 2,500 ล้านหยวน หรือประมาณ 13,000 ล้านบาท

Pages