โครงการ Raspberry Pi นั้นทุกวันนี้มีลินุกซ์รุ่นที่ซัพพอร์ตเป็นทางการคือ Raspbian ที่มีฐานมาจาก Debian เช่นเดียวกับโครงการที่ได้รับความนิยมสูงอย่าง Ubuntu แต่ทางฝั่ง Fedora ที่เป็นแกนเดียวกัน RHEL ที่ได้รับความนิยมสูงในระดับองค์กรนั้นก็ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้เช่นกัน และตอนนี้ก็มีโครงการ Pidora ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง Fedora, Raspberry Pi, และ Seneca (ยังมีส่วนโฮสต์ที่ให้บริการโดย Bluehost)
ความสำคัญของ Pidora 18 คือ มันเป็นการพอร์ต Fedora 18 ที่รับ ARMv7 อยู่แล้ว ให้กลับมารับ ARMv6 ของ Raspberry Pi และยังมีไลบรารีเพื่อรองรับ Raspberry Pi อย่างการรองรับ GPIO, I2C, และ SPI มาให้ในตัว
ช่วงหลังเราเห็นความเคลื่อนไหวของ MariaDB โครงการแยกของ MySQL หลังโดนออราเคิลซื้อกิจการมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวก่อนหน้านี้ Wikipedia เริ่มย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL มาใช้ MariaDB แทน)
ล่าสุดโครงการ Fedora ก็มีข้อเสนอว่าจะเปลี่ยนแพกเกจฐานข้อมูลหลัก จากเดิมที่ใช้ MySQL เป็น MariaDB แทน ข้อเสนอนี้ต้องรอการพิจารณาจากชุมชน Fedora และถ้าได้รับอนุมัติก็จะเริ่มใช้ใน Fedora 19 รุ่นหน้า ส่วนแพกเกจ MySQL จะยังมีให้ใช้ใน Fedora ต่อไปแต่ไม่ใช่ดีฟอลต์แล้ว
หลังจาก Fedora 18 เลื่อนแล้ว เลื่อนอีก มาหลายรอบ การรอคอยก็สิ้นสุดเมื่อโครงการ Fedora ประกาศออก Fedora 18 เป็นที่เรียบร้อย
Fedora 18 โค้ดเนม "Spherical Cow" ยังเลือกใช้ GNOME 3.6.2 เป็นเดสก์ท็อปหลักเช่นเดิม แต่ในรุ่นนี้เปิดให้ใช้ MATE (โครงการแยกของ GNOME 2 ที่ริเริ่มโดย Linux Mint) เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งด้วย
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่รองรับ Samba 4 และ Windows Active Directory มาตั้งแต่ต้น, เปิดใช้ Avahi สำหรับเครื่องพิมพ์ที่แชร์ภายในองค์กร, NetworkManager รองรับการทำ hotspot, รองรับ Secure Boot หรือ UEFI ที่เริ่มพบในฮาร์ดแวร์ Windows 8 เป็นต้น
Fedora ออกประกาศเลื่อนกำหนดเปิดตัว Fedora 18 อีกแล้ว จากกำหนดการล่าสุดที่จะต้องเปิดตัวในวันที่ 8 มกราคมเป็น 15 มกราคมนี้ ซึ่งนักพัฒนาจะใช้เวลาที่ยืดออกไปนี้ในการแก้บั๊กและเพิ่มความเสถียร
หาก Fedora 18 เปิดตัวในวันที่ 15 มกราคมนี้จริง ๆ แสดงว่ากำหนดเปิดตัว Fedora 18 ถูกเลื่อนออกจากเดิมถึง 70 วันเต็ม ๆ ถ้าหากไปดูจากข่าวเก่า จะทราบได้ว่าที่ Fedora 18 ต้องเลื่อนกำหนดเปิดตัวมาไกลขนาดนี้เกิดจากบั๊กจำนวนมากที่ยังปิดไม่ลงของ Anaconda และตัวอัพเกรดระบบติดตั้ง
Red Hat เป็นอีกบริษัทที่กำลังจริงจังกับเซิร์ฟเวอร์ ARM 64 บิตมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2)
ตอนนี้มีความคืบหน้าแล้วว่าวิศวกรของ Red Hat กำลังพัฒนา Fedora ให้ทำงานบนสถาปัตยกรรม ARMv8/AArch64 อยู่ โดยเบื้องต้นงานคืบหน้าไปแล้ว 2 ใน 6 ส่วน แต่ยังเป็นการทดสอบกับอีมูเลเตอร์ของ ARMv8 เท่านั้น เพราะฮาร์ดแวร์ตัวจริงจะส่งถึงมือทีม Fedora ช่วงต้นปี 2013
ในส่วนของเคอร์เนลลินุกซ์เอง ก็เคยประกาศไว้ว่าเคอร์เนลรุ่นหน้า 3.7 จะสนับสนุนสถาปัตยกรรม AArch64 เช่นกัน
Fedora ปล่อยให้โหวตชื่อเวอร์ชัน 19 ไปได้สักพัก (ข่าวเก่า) ตอนนี้ก็ได้ชื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ว่า "Schrödinger's Cat" เป็นชื่อที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดคือ 1,876 คะแนน จากชื่อกว่า 391 ชื่อที่ส่งเข้าประกวด ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่คะแนนโหวตติดอันดับต้น ๆ ได้แก่
Robyn Bergeron หัวหน้าโครงการ Fedora เปิดให้โหวตชื่อของ Fedora รุ่นที่ 19 แล้ว ซึ่ง Fedora 19 ก็คงเลื่อนกำหนดการเปิดตัวออกไปไกลกว่าเดิมอีก เพราะ Fedora 18 ก็เพิ่งเลื่อนกำหนดการเปิดตัวไป (ข่าวเก่า) ซึ่งทางโครงการ Fedora จะเปิดให้โหวตไปจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ โดยเปิดให้สมาชิก Fedora Project Contributor Agreement (FPCA) เข้าไปโหวตได้ที่นี่
ที่มา - The H
หลังจากเลื่อนแล้วเลื่อนอีกถึง 5 ครั้ง ตอนนี้แผนการออกรุ่นจริงของ Fedora 18 ก็ได้กำหนดการใหม่เป็นเดือนมกราคมปีหน้าเรียบร้อย
ความล่าช้าในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เกิดจาก bug จำนวนมากที่ยังปิดไม่ลงของ Anaconda และตัวอัพเกรดระบบติดตั้งครับ
กำหนดการเดิมของรุ่นคือออกตัวจริงเมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา แม้ว่าโรคเลื่อนจะเป็นปรกติของ Fedora ก็ตามที แต่ที่ผ่านมาก็ล่าช้ากันเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
ที่มา: The H
ไม่รู้ว่าเอาจริงแล้วจะมีคนใช้มากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้ Unity Desktop ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Ubuntu (และมีทั้งคนรัก-เกลียด) สามารถใช้งานบนดิสโทรอื่นๆ อย่าง Fedora ได้แล้ว
งานนี้เป็นผลงานของทีม GNOME Ayatana ที่สนับสนุนโดยนักพัฒนาของ openSUSE และมีเป้าหมายเพื่อพอร์ตโค้ดโครงการ Ayatana (ชื่อโครงการ UI ของ Ubuntu) มายัง GNOME โครงการนี้ไม่ได้ดำเนินการจริงจังนัก และไม่ได้นำไปใช้ใน openSUSE ยังมีสถานะเป็นงานอดิเรกของนักพัฒนาเท่านั้น
ตอนนี้กระบวนการพอร์ตยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าอยากลองบน Fedora 17 ก็อ่านรายละเอียดกันเองตามลิงก์ครับ
งานนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากโค้ดของ Unity ไม่ได้เป็นโอเพนซอร์ส
Fedora 17 มาพร้อมกับ เดกส์ท็อปของ Gnome 3.4 (สามารถเรนเดอร์ Gnome Shell โดยไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ประมวลผล 3 มิติ) และ KDE 4.8.3 ให้เลือกใช้, รองรับ file system แบบ ext4 ได้เกิน 16 TB และสามารถรองรับได้ถึงขนาด 100 TB ด้วย e2fsprogs และรองรับ JBoss AS 7 (เป็น Application server สำหรับ J2EE) ของ Red hat เป็นต้น
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สำหรับชื่อ Beefy Miracle , ทาง Fedora ได้ให้เหตุผลว่า เป็นชื่อที่เคยถูกเสนอมาในการออกรุ่นที่ 16 เหมือนกับชื่อ Verne ที่เคยถูกเสนอในเวอร์ชั่น 16 (สอดคล้องตามหลักการตั้งชื่อของ Fedora แต่คราวนี้มันดูกำปั้นทุบดินไปหน่อย)
หลังจากออกรุ่นเบต้าไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านนั้น วันนี้ Fedora 17 ออกตัวจริงแล้ว ซึ่งมันมีโค้ดเนมชื่อว่า "Beefy Miracle" สามารถไปโหลดกันได้ที่ Fedora Final-Release
สำหรับฟีเจอร์สามารถไปอ่านได้ที่ Fedora 17 "Beefy Miracle" ออกรุ่นเบต้าแล้ว
ที่มา Fedora และ Fedora 17 Schedule
Fedora 17 โค้ดเนม "Beefy Miracle" ออกรุ่นเบต้าแล้ว หลังจากช้ากว่ากำหนดมา 1 สัปดาห์ (โรคเลื่อนเป็นเรื่องปกติของ Fedora)
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ Fedora 17 ได้แก่
ผู้ที่สนใจทดสอบก็ดาวน์โหลดได้จาก Fedora Pre-release
Fedora 16 มีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น การใช้ GNOME 3.2 และ KDE 4.7, ใช้ Linux Kernel 3.1.0, เปลี่ยนมาใช้ GRUB 2 เป็นบูตโหลดเดอร์ที่สามารถรองรับได้หลายสถาปัตยกรรม, เพิ่มการรองรับ Cloud หลายแพลตฟอร์ม เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ โดยมีให้เลือกทั้งแบบ GNOME (มาตรฐาน), KDE, LXDE, และ Xfce
Fedora 16 ชื่อว่า Verne ที่มาจากการตั้งชื่อที่คล้องกันระหว่างเวอร์ชั่นที่ติดกัน คือ Jules Verne) เป็นนักอนาคตศาสตร์เหมือนกับ James Lovelock (ตอนที่ปรับรุ่นมาเป็นรุ่น 15, Lovelock เป็นชื่อเมืองในรัฐเนวาดา)
หลังจากการปรับกำหนดออกรุ่นใหม่มา 2 สัปดาห์ Fedora 15 ก็ออกเวอร์ชั่นสมบูรณ์ โดยมีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น ใช้ GNOME3, ใช้ systemd ในการเริ่มต้นทำให้บูตได้เร็วขึ้น, ระบบความปลอดภัย Dynamic Firewall เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ โดยมีให้เลือกทั้งแบบ GNOME (มาตรฐาน), KDE, LXDE, และ Xfce
หลังจาก Ubuntu Unity จะเลิกใช้ X Window เปลี่ยนมาใช้ Wayland ทางค่าย Fedora ก็มีการถกเถียงกันว่าควรเปลี่ยนไปใช้ Wayland เหมือนกันหรือไม่
ข้อสรุปก็คือ Fedora จะเปลี่ยนไปใช้ Wayland เช่นกัน เพียงแต่ยังไม่ใช่เร็วๆ นี้ โดย Fedora 15 จะเป็นรุ่นแรกที่มีแพกเกจของ Wayland ให้ลองใช้กันก่อน เมื่อสมบูรณ์แล้วจึงค่อยเปลี่ยนมาเป็น default
ความกังวลของ Fedora จะต่างไปจาก Ubuntu อยู่บ้าง เพราะ Fedora มีฐานผู้ใช้เป็นกลุ่มแอดมินเยอะ ทำให้ฟีเจอร์ด้าน network ของ X Window ยังมีความสำคัญ (Wayland ไม่มีความสามารถนี้) ซึ่งทางนักพัฒนาของ Fedora กำลังคุยกันอยู่ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
หลังจากล่าช้ากว่ากำหนดไป 1 สัปดาห์ Fedora 14 ก็ได้ออกเวอร์ชันสมบูรณ์ เวอร์ชันนี้มีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น KDE 4.5 ที่เร็วและใช้งานง่ายขึ้น มีระบบ Plasma Desktop ที่สวยสะอาดและสามารถสร้าง widget ได้ง่ายด้วย Javascript, มี MeeGo เป็นอินเทอร์เฟสให้เลือกใช้, OpenSCAP เฟรมเวิร์คสำหรับสร้างระบบรักษาความปลอดภัย, Varnish ระบบการจัดเก็บ log แบบใหม่, libjpeg-turbo ทำให้อ่านเขียนรูปภาพได้เร็วขึ้น, แนะนำภาษา D สำหรับการพัฒนา เป็นต้น
เป็นธรรมเนียมที่ลีนุกซ์หลายๆ ตัวปฏิบัติกันมา นั่นก็คือการออกรุ่น prerelease นั่นเอง
Dennis Gilmore ทีมงานของ Fedora ได้เปิดตัว Fedora 14 Alpha เป็นการเรียกน้ำย่อยของผู้ใช้ลีนุกซ์ โดยการเปลี่ยนแปลงจาก Fedora 13 มีดังนี้
Linux Kernel 2.6.35
ปรับปรุงการบีบอัดไฟล์ JPEG ให้เร็วกว่าเดิม
Eclipse 3.6 "Helios"
KDE 4.5.0
MeeGo ที่มาแทน Moblin ของ Fedora 13
Perl 6
Fedora 14 มีรหัสว่า "Laughlin" เพื่อเป็นเกิยรติแก่ Robert B. Laughlin นักวิทยาศาสตร์จาก MIT
ตามธรรมเนียมออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือนเช่นเดียวกับ Ubuntu ล่าสุด Fedora ออกรุ่น 13 รหัส "Goddard" แล้ว
การเปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อนไม่หวือหวานักเมื่อเทียบกับ Ubuntu แต่เห็นได้ชัดเจนว่า Fedora มุ่งไปในทาง workstation แทนที่จะเป็น end-user แบบ Ubuntu
ช่วงหลังๆ บริษัทผลิตชิปกราฟิกเริ่มยอมโอเพนซอร์สไดร์เวอร์กันมากขึ้นแต่การซัพพอร์ตก็มักจะอยู่ในระดับสองมิติเท่านั้น ข่าวดีคือใน Fedora 13 นั้นตัวไดร์เวอร์ Nouveau จะรองรับการทำงานสามมิติ และทาง Fedora นั้นก็ยอมรับเอาโค้ดนี้ไปใช้งานใน Fedora 13 แล้ว
จุดเด่นของไดรเวอร์โอเพนซอร์สคือมันรองรับฟังก์ชั่นการทำงานร่วมกับเคอร์เนลได้ดีกว่า เช่น kernel-mode-setting ที่ช่วยให้ X.Org สามารถทำงานนอกสิทธิ์ root ได้ โดยทาง Adam Williamson ทีมงานของ RedHat ระบุว่าได้ทดสอบไดร์เวอร์ตัวนี้กับ Spring RTS framework, Compiz, Neverball, Foobillard, และ Quake 3 แล้วพบว่าทำงานได้ดี
ในที่สุด Fedora รุ่นถัดไปคือรุ่นที่ 12 "Constantine" ก็ออกแล้วครับ โดย Constantine เป็นชื่อกษัตริย์โรมันที่ผ่อนปรนความขัดแย้งทางศาสนาทำให้ผู้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น Fedora 12 นี้ก็จะมี Tagline ว่า "Unite" ครับ (Fedora 11 "Leonidas" ก็เป็นชื่อกษัตริย์โรมันครับ Tagline ว่า "Reign")
สำหรับ Fedora 12 นี้มีฟีเจอร์มากมายสามารถอ่านได้จาก Release Note ครับ คร่าวๆ ดังนี้
ช่วงนี้ของเล่น IT หลายๆ อย่างเปิดตัวมากมายจนกระเป๋าอาจจะแฟบครับ ไม่ว่าจะเป็น Snow Leopard, iPhone 3GS หรือ Palm Pre สำหรับในวงการ Open Sources เองก็ได้มีการเปิดตัว Fedora 11 ไปเมื่อคืนครับ
Fedora 11 นี้ใช้ชื่อรหัสว่า Leonidas (Cambridge ชื่อรุ่น Fedora 10 เป็นชื่อเรือในราชนาวีอังกฤษ เช่นเดียวกับ Leonidas ครับ) โดยมีการเปลี่ยนแปลงมากมายสามารถอ่านได้จาก Release Note หลักๆ มีดังนี้ครับ
Chris Ballนักพัฒนาและทำหน้าที่โฆษก กล่าวว่า OLPC XO-1.5 laptopที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น software ที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนานคือFedora 11 โครงการแล็ปท็อบหนึ่งเครื่องเพื่อเด็กหนึ่ง
Fedora ได้ออกรุ่น 11 Alpha มาแล้วครับ สำหรับรุ่นนี้มีชื่อรหัสว่า Leonidas (เป็นชื่อเรือในราชนาวีสหรัฐ เช่นเดียวกับเรือ Cambridge ซึ่งเป็นชื่อรหัสรุ่น 10 ครับ) สำหรับของเล่นใหม่ในรุ่นนี้ครับ
มีอะไรใหม่
Fedora 9 โค้ดเนม Sulphur ออกตัวจริงแล้ว