ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แวดวงคนดังในโลกตะวันตกหันมา "เทน้ำแข็งรดตัว" เพื่อสนับสนุนแคมเปญระดมทุนเพื่อต่อสู้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) เราเห็นคนดังวงการไอทีอย่าง Mark Zuckerberg, Satya Nadell, Bill Gates, Tim Cook, Larry Page และ Sergey Brin, Jeff Bezos ออกมาสนับสนุนแคมเปญนี้กันถ้วนหน้า (ส่วนเหตุผลว่าทำไมแคมเปญนี้ดัง อ่านได้ที่
Blognone กำลังจะครบสิบปีเร็วๆ นี้ พอดีกับช่วงที่หมายเลขข่าวของเรากำลังเข้าใกล้หมายเลข 60000 พอดี ช่วงนี้เลยจัดกิจกรรมกันอีกสักรอบครับ โดยรอบนี้จะเป็นกิจกรรม "เขียนข่าวที่หกหมื่น"
กติกาคือคนที่เขียนข่าวที่หมายเลข node ใกล้เคียง 60000 ที่สุดจะได้รับรางวัล ตอนนี้มีหนึ่งรางวัลคือ Nokia X2 (!!!) หนึ่งเครื่อง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้แก่
สถิติ Blognone ประจำครึ่งแรกของปี 2014 (รอบนี้มาช้าไปหน่อยเพราะผมลืมเองครับ) ภาพรวมคือปริมาณผู้เข้าชมเว็บ "ลดลง" (น่าจะเป็นครั้งแรกตั้งแต่เปิดเว็บมา) เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2013
Blognone เปิดรับข่าวจากสมาชิกทั่วไปมาตลอด และเมื่อสมาชิกท่านใดเขียนข่าวถึงจำนวนหนึ่ง และมีคุณภาพต่อเนื่อง มีการติดตามกลับมาแก้ไขข่าวเมื่อได้รับคอมเมนต์ ทีมงาน Blognone จะเสนอให้เป็น Writer และตอนนี้ทีมงานก็ขอเสนอคุณ Job_the_Gamer เข้าเป็น Blognone's Writer
คุณ Job_the_Gamer เขียนข่าวบน Blognone มาตั้งแต่กลางปี 2012 มีผลงานต่อเนื่องในหมวดข่าวไมโครซอฟท์ โทรศัพท์มือถือ และเกม (ดูเพิ่มเติม Job_the_Gamer's blog)
เหตุการณ์ Facebook ใช้งานไม่ได้ในช่วงบ่ายของวันนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของ "สถานการณ์จริง" ว่าถ้าช่องทางการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตเกิดปัญหาขึ้นแล้วส่งผลกระทบในวงกว้างแค่ไหน และในช่วงที่บ้านเมืองยังไม่กลับสู่ภาวะปกติเช่นนี้ ผลกระทบยิ่งรุนแรงขึ้นทั้งในแง่การสื่อสารที่ส่งหากันไม่ถึง และความหวาดระแวงหรือสงสัยต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนนัก
ในฐานะเว็บไซต์ข่าวไอที Blognone ขอแนะนำเทคนิคสำหรับ "การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตในสถานการณ์พิเศษ" ต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยจำนวน 3 ข้อใหญ่ ดังนี้
ในงาน Blognone Quest for Modern Security นอกจากวิทยากรจาก RSA และ Trend Micro แล้วยังมีวิทยากรอีก 3 ท่าน จาก CAT Cyfence ผู้ให้บริการจัดการด้านความปลอดภัย, ThaiCERT หน่วยงานประสานงานและแจ้งเดือนความปลอดภัย, และ Tarad ในฐานผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าโจมตี
คุณรัตน์ติกา พรมหนู จาก CAT Cyfence มานำเสนอประสบการณ์การที่ทาง CAT Cyfence เข้าไปช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับลูกค้า โดยตรวจสอบล็อกเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ หลังจากรวบรวมมาพบว่าปัยหาความปลอดภัยที่ลูกค้าประสบอยู่มี 5 ประเภทหลัก ได้แก่
เมื่อปลายปีที่แล้ว Blognone ได้ขอความร่วมมือสมาชิกเว็บร่วมทำแบบทดสอบความจำรหัสผ่าน ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกเว็บเป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ได้เข้าสัมมนาในงาน ACIIDS 2014 ที่ผ่านมาครับ
งานของเราเกิดขึ้นมาจากข้อจำกัดด้านความจำรหัสผ่านของมนุษย์ การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยมากๆ อาจส่งผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถจำรหัสผ่านที่ตั้งได้ เราเชื่อว่าการใช้รูปภาพและเรื่องราวสามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านความจำของมนุษย์ได้
เรานำเสนอแนวทางของเราภายใต้ชื่อ "รหัสผ่านท่องเที่ยว" ซึ่งมันเปลี่ยนแนวคิดว่ารหัสผ่านต้องเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่และอักขระพิเศษหลายๆ ตัวอักษร ไปใช้เรื่องราวกิจกรรมการท่องเที่ยว ณ เมืองต่างๆ แทน กิจกรรมเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยรูปภาพบนแผนที่ ดังตัวอย่างในภาพ 1
ในยุคที่ "แอพ" ครองเมือง มีแอพสำหรับงานทุกประเภท จำนวนแอพในท้องตลาดมีให้เลือกเป็นหลักแสน การสร้างแอพให้เข้าเป้าหรือโดนใจผู้ใช้ จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงสถิติของผู้ใช้งานแอพมาประกอบการวางยุทธศาสตร์ตั้งแต่แรก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถดูได้จากบริษัทวิเคราะห์สถิติแอพที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น App Annie, Flurry, Digby, Distimo
อย่างไรก็ตาม บ้านเรากลับยังไม่ค่อยมีข้อมูลเชิงสถิติลักษณะนี้มากนัก Blognone จึงมองว่าควรมีการสำรวจพฤติกรรมการใช้แอพบนอุปกรณ์พกพาของคนไทย เพื่อใช้เป็นสถิติสำหรับนักพัฒนาแอพในบ้านเรากันสักหน่อยครับ
งานสัมมา Blognone Quest เป็นงานเสวนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ Blognone ตั้งใจจะจัดให้ได้ปีละ 2-3 ครั้งโดยเปลี่ยนหัวข้อไปตามเรื่องราวที่น่าสนใจ ปลายปีที่แล้วเราจัดงาน Blognone Quest for High Scalabilty Computing เป็นครั้งแรกที่จัดงานกันแบบทดลองเลยไม่ได้ประกาศต่อสาธารณะ รอบนี้เรากลับมาจัดอีกรอบเป็นงาน Blognone Quest for Modern Security
งานนี้เราจะมาพูดคุยกับคนจากหน่วยงานรอบด้าน ในโลกความปลอดภัยของเมืองไทยว่าคนที่ทำงานในวงการนี้ต้องพบอะไรกันมาบ้าง เราเชิญวิทยากรได้จากทั้งผู้ผลิตซอฟต์แวร์ความปลอดภัย, ผู้ให้บริการ, และบริการที่ต้องการความปลอดภัยสูง
หัวข้อที่จะพูดคุยกันในงานนี้
จากการที่ไมโครซอฟท์รวมบัญชีนักพัฒนาแอพ Windows Store กับ Windows Phone Store เข้าด้วยกัน ผมเลยถือโอกาสพอร์ตแอพ Blognone Community for Windows Phone เพื่อศึกษาการพัฒนาแอพบน Windows Store เนื่องจากเพิ่งเริ่มต้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มนี้และมีเวลาจำกัด หากพบข้อผิดพลาดหรือมีคำแนะนำก็ส่งมาบอกกันได้ครับ
Download: Blognone Community for Windows Store
ก่อนอื่นต้องขออภัยว่ามันล่มไปนานนะครับ เหตุผลก็คือใช้ CMS แยกกัน (เป็น MediaWiki ที่ดูแลยากมาก) ตอนนี้เราเพิ่งปรับระบบฐานข้อมูลกันใหม่ เลยย้ายเนื้อหาส่วนสำคัญจาก Blognone Library เดิม เข้ามาอยู่ในระบบ Drupal มาตรฐาน
URL ใหม่ของหน้า Glossary คือ www.blognone.com/glossary จำง่ายตรงไปตรงมา
ข้อมูลในหน้า Glossary ยังเก่าไปหน่อยเพราะไม่ถูกแก้ไขปรับปรุงมานาน ผมก็ถือโอกาสนี้ขอความเห็นว่ายังขาดคำอะไรบ้าง ควรเพิ่มคำอะไร ฯลฯ ระบุไว้ในคอมเมนต์ของข่าวนี้ได้เลยครับ (หน้า Glossary จะไม่มีคอมเมนต์)
เสร็จไปแล้ววันนี้กับงาน Blognone's Contributors Party 2013 ส่งท้ายปีเก่าครับ
ในงานมีคนถ่ายรูปกันเยอะพอสมควร เลยอยากให้มีกระทู้รวมรูปถ่ายของงานที่เป็นหลักเป็นแหล่งสักหน่อย ใครที่ไปงานวันนี้ก็โพสต์รูปกันได้ตามสบายเลยนะครับ
Blognone เคยสำรวจข้อมูลผู้อ่านไปเมื่อช่วงต้นปี 2012 (ผลการสำรวจข้อมูลครั้งก่อน) นับถึงตอนนี้ก็เกือบ 2 ปี น่าจะได้เวลาสำรวจข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันแล้วนะครับ
สำหรับการสำรวจรอบนี้คงคล้ายๆ ของเดิม (คำถามบางข้อผมก็ก็อปแปะมันดื้อๆ จากของเก่าเลย) เพียงแต่แผนงานระยะยาวของ Blognone ในปีหน้าและปีต่อๆ ไป เราคงขยับขยายไปทางงานสัมมนาเพิ่มมากขึ้น (ลักษณะหรือรูปแบบคงคล้ายๆ งาน Blognone Quest ที่เพิ่งจัดไปในปีนี้)
เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Blognone มีงานเสวนาที่ไม่ได้ประกาศภายนอก โดยเชิญผู้ร่วมงานเป็นกลุ่มตัวแทนของผู้ดูแลเว็บขนาดใหญ่จำนวนหนึ่ง เช่น Sanook.com, Kapook, MThai, ไทยรัฐ, Thaitrend, Tarad.com, และ Pantip.com ทั้งหมดได้ร่วมพูดคุยกันถึงประสบการณ์ปัญหาต่างๆ ที่เคยเจอมาว่าในการทำเว็บที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เคยเจอปัญหากันอย่างไร และมีประสบการณ์การแก้ไขกันอย่างไรมาแล้วบ้าง
โดยคุณ phuphu บล็อกเกอร์และนักเขียนการ์ตูนชื่อดังครับ ผมเห็นโพสต์ใน Facebook และเห็นว่าเจ๋งดีเลยนำมาโพสต์เป็นข่าวบนนี้ด้วย น่าจะเป็นภาพสะท้อนที่ดีว่าคนอื่นมอง Blognone อย่างไรบ้าง
ประเด็นเรื่องการสะกดคำนี่เราคุยกันไปเยอะแล้วคงไม่ต้องกล่าวถึงซ้ำ ส่วนบรรทัดที่ 4 ก็ถือเป็นภาพสะท้อนว่าคนนอกสายไอทีโดยตรงอาจไม่เข้าใจเรื่องเทคนิคเชิงลึกอยู่บ้าง แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ Blognone ต้องการจะเป็นมาตั้งแต่ต้นคือเป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับคนไอทีที่มีความรู้เชิงลึก ถกกันด้วยข้อมูลเชิงเทคนิค (ไม่ใช่เว็บไอทีสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าอยากอ่านก็ไม่ปิดกั้นอะไร เพียงแต่สมมติฐานขั้นต้นของเราคือผู้อ่านจะต้องมีความรู้เชิงเทคนิค "ในระดับหนึ่ง"
ตั้งใจมานานแล้วครับว่าถ้าหัดเขียนแอป จะลองเขียนแอป Blognone เป็นแอปแรก หลังจากหัดเขียนได้สักพักนึง ก็คลอดออกมาเป็นแอปตัวนี้เลยอยากแนะนำให้ลองได้ใช้กันครับ
ในเวอร์ชั่นแรกนี้สามารถอ่านข่าวและกระทู้ได้ 7 หมวดหมู่ตามภาพท้ายเบรค แสดงความคิดเห็นเป็นลำดับชั้นได้เหมือนหน้าเว็บ ดาวน์โหลดฟรีได้ที่ App Store ครับ
ยังไงถ้าลองใช้แล้วเจอข้อผิดพลาดหรือมีคำแนะนำเพิ่มเติม จะยินดีมากๆ เลยครับ
หลังจากเคยเขียน Blognone Community for iOS ไปแล้ว ระยะหลังผมเปลี่ยนมาใช้ Windows Phone เป็นหลัก เลยลองพอร์ตแอพที่เคยเขียนไว้มาใช้ มีข้อแนะนำก็ส่งกันมาได้ครับ
ความสามารถของแอพ
Download: Blognone Community for Windows Phone 8
สวัสดีครับ วันนี้ขออนุญาตแนะนำ App ใหม่ ที่สามารถใช้อ่านและแสดงความเห็นได้ สำหรับเพื่อนๆ สมาชิก Blognone ที่ใช้แอนดรอยด์นะครับ
แน่นอนว่าเพื่อนๆ สมาชิกเห็น Logo อาจจะรู้สึกคุ้นตาเหมือนกับ Blognone Reader for Android ชี้แจงก็คือเป็น App ของผมทั้งคู่ครับ แต่เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำไฟล์ keystore ที่ต้องใช้ในการส่ง Update ขึ้น Google Play หาย ทำให้ไม่สามารถ Update ได้ครับ จึงต้องทำเป็น App ใหม่ ดังนั้นขออนุญาต Quote ความสามารถจากของเก่านะครับ
กลับมาพบกันอีกครั้งกับสถิติของ Blognone ประจำครึ่งแรกของปี 2013 ครับ ข้อมูลทั้งหมดมาจาก Google Analytics โดยสถิติรวมมีดังนี้
ใครเป็นเซียนดูกราฟก็ตามภาพครับ สีส้มของปี 2012 สีฟ้าของปี 2013
Blognone Reader สำหรับ Windows Phone 8 เกิดขึ้นเนื่องจากผมชอบ UI ของ Windows Phone และกำลังมีความสนใจที่จะหัดเขียนแอพพลิเคชั่นสำหรับแพลตฟอร์มนี้อยู่แล้วด้วย ผสมกับการที่แอพพลิเคชั่น Blognone ที่มีอยู่ใน Windows Phone Store ไม่มีตัวไหนหน้าตาถูกใจเลย จึงลงมือหัดเขียนโดยใช้ Blognone นี่แหละครับเป็นแอพแรก
ณ ขณะนี้สามารถ
สวัสดีครับ วันนี้ขออนุญาตมาแนะนำแอพสำหรับอ่านข่าวจาก Blognone บน BlackBerry 10 ที่มีชื่อว่า "Blognone Reader for BlackBerry 10" ครับ (ชื่อยาวมาก ทั้งนี้ตัวแอพนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทั้ง Blognone Reader ที่อยู่บน iOS และ/หรือ Android ตลอดจนถึงบน BlackBerry เอง)
ตัวแอพเกิดจากความต้องการในการจะอ่านข่าวสารจาก Blognone ประกอบกับได้ Dev Alpha B มาลองเล่นพอดี เลยเกิดแรงฮึด อยากเขียนโปรแกรมบน BlackBerry 10 ขึ้นมาครับ
คุณสมบัติ:
ตัวแอพเขียนขึ้นบน Cascades แล้วเรียกข้อมูลจาก RSS Feed ขึ้นมาแสดงผลบนหน้าจอตามภาพครับ
หลังจากดองทิ้งไว้ได้สักพักใหญ่ๆ ก็กลับมาเขียนจนเสร็จ อาจจะสวนกระแสนิดหน่อยกับข่าว application ที่ช่วงนี้ที่มีแต่ของ Windows Phone 8 แต่ก็ตั้งใจทำเต็มที่ โดย application ตัวนี้ผมเขียนเองครับ อาจจะไม่แตกต่างจากตัวอื่นมากนัก แต่ผมตั้งใจอยากให้หน้าตาคล้ายกับตัวเว็บเลยเก็บรายละเอียดเยอะหน่อย แล้วก็อยากจะลองหัดใช้ API ของ Android 3.0 ขึ้นไปด้วย ซึ่งหน้าตาก็จะเป็น holographic ธีม กับได้ลองเขียน widget ไปด้วยอีกตัว ใช้งานแล้วเป็นยังไงบ้างก็ติชมได้นะครับ ส่วนมีปัญหาตรงไหนก็แจ้งมาได้ครับผม
คุณสมบัติของ application
สวัสดีครับขอแนะนำแอพพลิเคชัน Blognone Reader สำหรับโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ครับ (ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับ Blognone Reader บน iOS ครับ)
ผมเคยนำมาแนะนำไปแล้วนะครับ แต่ครั้งนี้ขอเข้ามาแชร์อะไรเล็กน้อย ให้กับสมาชิกนะครับ ก่อนที่จะแชร์ ขออนุญาติแนะนำความสามารถของ Blognone Reader กันก่อนนะครับ
คำอธิบายไม่มีครับ ไปดูฟีเจอร์กันเลยดีกว่า
สวัสดีครับสมาชิก Blognone ทุกๆ ท่าน
ผมขออนุญาตแนะนำ Application ไว้อ่านข่าวจาก Website blognone.com บน iOS นะครับ โดย app นี้เป็น Unofficial Blognone App ซึ่งจัดทำเองโดยบริษัท Khroton จำกัด ครับ
Feature ที่มีตอนนี้คือสามารถอ่านข่าวจาก Website blognone.com โดยข่าว update รวดเร็วทันใจ และผมสัญญาว่าจะ update features ต่างๆ เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ โดยจุดมุ่งหมายคือทำได้ทุกอย่างเลยครับ แต่ในอนาคต (ภายใน 1 เดือนนี้) Feature ที่จะมีเพิ่มเติมแน่นอนคือ