Tags:
Node Thumbnail

MHRA (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency - อย.สหราชอาณาจักร) รับรองวัคซีน BNT162b2 ที่ Pfizer ร่วมพัฒนากับ BioNTech ทำให้วัคซีนสามารถเริ่มฉีดได้ในสัปดาห์หน้า

ทางสหราชอาณาจักรสั่ง BNT162b2 เอาไว้ล่วงหน้า 40 ล้านโดส แต่ในอีกไม่กี่วันนี้ทาง Pfizer จะส่งมอบล็อตแรก 800,000 โดสก่อน โดยตอนนี้มีโรงพยายามเตรียมพร้อมฉีดวัคซีนแล้ว 50 แห่ง และทางรัฐบาลกำลังตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนชั่วคราวตามจุดต่างๆ เช่นหอประชุม รวมถึงคลีนิคและร้านขายยาหามีตู้แช่เย็นที่พร้อมก็สามารถเป็นจุดฉีดวัคซีนได้เช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

Pfizer และ BioNTech รายงานว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ทดสอบวัคซีน BNT162b2 มีผู้ติด COVID-19 รวม 170 คนครบจำนวนตามที่ตั้งไว้ทำให้สรุปประสิทธิภาพวัคซีนได้ 95% คาดว่าจะสรุปผลเพื่อยื่นขออนุญาตจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ได้ในไม่กี่วันข้างหน้า

อาสาสมัครทดสอบ BNT162b2 มีทั้งหมด 43,661 คน เข้ารับวัคซีนโดสที่สองครบ 41,135 คน หลังจากนั้นจะเริ่มเก็บข้อมูลผู้ติด COVID-19 หลังจากได้รับโดสที่สองนานหนึ่งสัปดาห์ ทั้งหมดมีผู้ติด COVID-19 อยู่ในกลุ่มได้ยาหลอก 162 คน กลุ่มได้วัคซีนจริง 8 คน ขณะที่คนติดโรคและมีอาการรุนแรงมีทั้งหมด 10 คน เป็นคนได้วัคซีนจริง 1 คน ทางบริษัทจะติดตามกลุ่มอาสาสมัครไปอีกสองปีเพื่อติดตามความปลอดภัยของวัคซีน

ซีอีโอของ BioNTech ระบุว่าวัคซีนเพียงโดสแรกก็ป้องกันได้มากแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

Pfizer และ BioNTech รายงานผลการทดสอบเบื้องต้นของวัคซีน BNT162b2 สำหรับป้องกัน COVID-19 ที่ทดสอบเฟสสามอาศัยกลุ่มตัวอย่างเป็นวงกว้าง 43,538 คนจาก 6 ประเทศ ได้ผลสามารถสร้างภูมิป้องกัน COVID-19 สูงกว่า 90% หลังฉีดเข็มที่ 2 ครบ 7 วัน

ผลทดสอบนี้ยังเป็นผลเบื้องต้นเท่านั้นโดยตอนนี้กลุ่มอาสาสมัครที่ทดสอบวัคซีนติดเชื้อแล้ว 94 คน และบริษัทจะติดตามกลุ่มอาสมัครต่อไปจนกว่าจะมีผู้ติดเชื้อครบ 164 คนเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของวัคซีน คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อครบภายในสิ้นเดือนนี้ทำให้ทางบริษัทสามารถยื่นขออนุญาตจาก FDA ได้

Tags:
Node Thumbnail

Pfizer บริษัทด้านเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศความร่วมมือกับ IBM ในการสร้างระบบสำหรับวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์ รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ด้วยเทคโนโลยี Internet of Things อย่างเป็นทางการในวันนี้

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวนี้ ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันพัฒนาระบบที่มีทั้งตัวตรวจวัด (sensor), อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำส่งผลให้กับผู้ป่วย นักวิจัย และแพทย์ทำการรักษาได้ทันทีและตลอดเวลา โดยจะแบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงทดลองทางคลินิก (clinical trial) และช่วงที่ใช้จริงในตลาด (commercial) ซึ่งในช่วงหลังทาง Pfizer กำลังหาทางที่จะผลักดันเทคโนโลยีเข้าตลาดตามกลไกการควบคุม (regulatory path) โดยมีเป้าหมายที่จะเริ่มทดลองในปี 2018 และน่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน

Pages