งานแถลงข่าวสินค้าใหม่ของไมโครซอฟท์คืนเมื่อวานนี้ ถือเป็นงานแถลงข่าวที่น่าตื่นเต้นที่สุดของไมโครซอฟท์ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลทั้งความหลากหลายของตัวฮาร์ดแวร์ คุณสมบัติที่น่าดึงดูดใจของฮาร์ดแวร์แต่ละรายการ และการนำเสนอที่ออกแบบมากระตุ้นความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างดี
มาถึงวันนี้ เราคงพูดได้เต็มปากแล้วว่าไมโครซอฟท์กลายร่างเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์เรียบร้อยแล้ว และได้เวลาลบภาพลักษณ์เดิมๆ ว่าไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียวกันสักที
ภาพที่ผมว่าสำคัญมากในงานแถลงข่าวเมื่อวานคือภาพนี้ครับ
ช่วงนี้มีวิวาทะ iPhone vs Android กลับมาอีกครั้ง (ดูบทความต้นทางที่ Droidsans) เรื่องแบบนี้เถียงกันไปยังไงก็ไม่มีทางจบ
คำถามที่น่าสนใจกว่าคือทำไมสาวกและแฟนบอยทั้งสองค่ายถึงเถียงกันอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ผมพยายามอธิบายคือความต่างระหว่าง 2 ค่ายนี้ มันเป็นความแตกต่างที่ลงไปลึกถึงระดับปรัชญาหรือรากฐาน (fundamentalism) ของบริษัทที่คงไม่มีใครถูกผิด (และประสบความสำเร็จกันทั้งคู่) ส่วนรายละเอียดของความแตกต่างจะอธิบายในบทความนี้
ในงานแถลงข่าว Apple Watch เมื่อคืนนี้ มีภาพที่ทิม คุก นำมาเสนอเกือบตลอดงานอยู่ภาพหนึ่ง ผมค่อนข้างติดใจภาพนี้มาก วันนี้มีเวลาเลยลองหาในหน้า Live ของแอปเปิล กลับไม่มีภาพนี้อยู่ สุดท้ายเลยต้องเปิดวิดีโอย้อนดูอีกครั้งเพื่อแคปหน้าจอเก็บไว้
ภาพนี้ภาพเดียวเป็นเหมือน "แผนการ" บอกเราว่าแอปเปิลกำลังจะทำอะไรบ้างในอนาคต
บทความนี้เป็นตอนสุดท้ายของ "ไตรภาคไมโครซอฟท์-โนเกีย" โดยสองตอนแรกคือ ย้อนตำนาน Nokia เดินหมากพลาดตาเดียว พ่ายแพ้ทั้งกระดาน ย้อนรอยความผิดพลาดของโนเกียในโลกสมาร์ทโฟน และ One Windows ย้อนตำนานไมโครซอฟท์ กับการหลอมรวมระบบปฏิบัติการเป็นหนึ่งเดียว ความพยายามของไมโครซอฟท์ในการปฏิรูป Windows ให้เข้ากับยุคสมัย
บทความตอนนี้จะอธิบายว่าทำไม Windows ถึงสูญเสียอิทธิพลลงไปอย่างมาก โดยจะมองเชิงเปรียบเทียบกับยุทธศาสตร์ของคู่แข่งใน สามก๊กไอที คือแอปเปิลและกูเกิลด้วย
ต้องขอโทษอีกครั้งที่เขียนช้าไปหน่อย ด้วยเหตุผลเดิมๆ ว่างานยุ่งและสถานการณ์มันพลิกเร็วมาก เขียนตามไม่ทัน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญมากเกิดขึ้นสองอย่างคือ การซื้อ Motorola และการลงจากตำแหน่งซีอีโอของสตีฟ จ็อบส์
ไหนๆ ช่วงนี้พอมีเวลาก็ขอสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 2-3 เดือนนี้ ด้วยกรอบการวิเคราะห์แบบ "สามก๊กไอที" ว่าทั้งสามก๊กมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องขอโทษผู้อ่านทุกท่านที่ผมประกาศ โครงการสามก๊กไอที ไปแล้วทำไม่ได้อย่างที่พูด (จะว่า "ดีแต่พูด" ก็ได้ครับ จริงๆ อาจต้องใช้ "ดีแต่โพสต์" น่าจะตรงกว่า)
ส่วนเหตุผลที่ทำไม่ได้ก็มีหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่สำคัญคือสถานการณ์มันเปลี่ยนเร็วมากจนเขียนตามไม่ทัน แต่ไหนเลยช่วงนี้เพิ่งผ่านเหตุการณ์สำคัญของทั้ง 3 ก๊กคือ Google I/O, WWDC และประกาศต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ก็ยังไม่น่าจะมีอะไรใหม่มาก เป็นโอกาสอันดี รีบเขียนเลยดีกว่า
ดองเอาไว้นานมาก เนื่องด้วยรายละเอียดมันมากกว่าที่คิด และภาระงานอย่างอื่น รอบนี้เลยถือโอกาสที่เกิดประเด็นร้อน โนเกีย-ไมโครซอฟท์ ซึ่งแสดงให้เห็น "ขั้วที่สาม" ที่เริ่มชัดเจนขึ้น จึงเขียนตอนเฉพาะกิจ "สามก๊กมือถือ" จับใจความเฉพาะก๊กของไมโครซอฟท์กับพันธมิตรรายล่าสุดอย่างโนเกีย ออกมาคั่นเวลาก่อนนะครับ
โครงการนี้เป็นโครงการที่ผมเตรียมตัวมาสักระยะแล้ว แต่เพิ่งได้ฤกษ์ลงมือทำ
ในฐานะที่ทำงานด้านสื่อไอที ผมมักได้รับคำถามอยู่เสมอๆ ว่ามองโลกไอทีในอนาคตอย่างไร กูเกิลจะครองโลกหรือไม่ ไมโครซอฟท์จะแพ้หรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งผมก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก ได้แต่ตอบมั่วๆ แกนๆ เอาตัวรอดไปตามสถานการณ์
พอโดนถามมากๆ เข้า เราก็เริ่มคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังนะครับ ช่วงหลังผมเริ่มตกผลึกและได้คำตอบว่า “โลกไอที” ในทศวรรษหน้า (หลังปี 2010 เป็นต้นไป) จะเกิดสภาพยันกันของบริษัทผู้นำตลาด 3 ราย อันได้แก่ ไมโครซอฟท์ แอปเปิล และกูเกิล