IT Kingdoms

งานแถลงข่าวสินค้าใหม่ของไมโครซอฟท์คืนเมื่อวานนี้ ถือเป็นงานแถลงข่าวที่น่าตื่นเต้นที่สุดของไมโครซอฟท์ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลทั้งความหลากหลายของตัวฮาร์ดแวร์ คุณสมบัติที่น่าดึงดูดใจของฮาร์ดแวร์แต่ละรายการ และการนำเสนอที่ออกแบบมากระตุ้นความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างดี

มาถึงวันนี้ เราคงพูดได้เต็มปากแล้วว่าไมโครซอฟท์กลายร่างเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์เรียบร้อยแล้ว และได้เวลาลบภาพลักษณ์เดิมๆ ว่าไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียวกันสักที

เหนือกว่าแอปเปิล?

ภาพที่ผมว่าสำคัญมากในงานแถลงข่าวเมื่อวานคือภาพนี้ครับ

surface-book

พระเอกของงานเมื่อวานย่อมหนีไม่พ้น Surface Book โน้ตบุ๊กตัวแรกในประวัติศาสตร์ไมโครซอฟท์

แต่เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร?

จุดที่ไมโครซอฟท์เอาโน้ตบุ๊กของตัวเอง มาเกทับ MacBook Pro ของแอปเปิล แล้วโชว์ว่าประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่า 2 เท่า

เราคุ้นชินกับสไตล์การเปรียบเทียบสินค้า 2 ตัวลักษณะนี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากเวทีฝั่งแอปเปิล (เทียบกับสินค้าสายวินโดวส์) ตอนนี้สถานการณ์ดันกลับกัน กลายเป็นไมโครซอฟท์เกทับแอปเปิลแทน ด้วยสไตล์แบบแอปเปิลอีกต่างหาก

ไมโครซอฟท์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ สามารถเอาชนะแอปเปิลที่เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

คำตอบคือจริงๆ ไมโครซอฟท์สั่งสมกำลังด้านฮาร์ดแวร์มาได้สักระยะแล้ว แค่พวกเราเองต่างหากที่ไม่ค่อยรู้สึกตัวกันว่าไมโครซอฟท์เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์คือยุทธศาสตร์ใหม่

ในอดีตอันไกลโพ้น ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์อาจมีความหมายแค่เมาส์และคีย์บอร์ด ต่อมาไมโครซอฟท์ก็ขยับมาทำฮาร์ดแวร์เป็นกล่องเซ็ตท็อปสำหรับทีวีชื่อ WebTV (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น MSN TV) โดยใช้วิธีซื้อกิจการทั้งบริษัท แต่ก็ล้มเหลว

จากนั้นไมโครซอฟท์เริ่มขยับมาทำ "อุปกรณ์" (device) ของตัวเองอย่างจริงจังด้วย Xbox รุ่นแรกในปี 2001 ซึ่งก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก พอมาถึงฮาร์ดแวร์รุ่นที่สองอย่าง Xbox 360 ก็เริ่มเห็นแสงสว่าง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเกม Xbox ของไมโครซอฟท์แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท และมีความเห็นจากนักลงทุนอยู่เสมอให้ "ขายออกไปซะดีกว่า"

ในทศวรรษ 2000s ไมโครซอฟท์ยังมีฮาร์ดแวร์ตัวอื่นบ้างประปราย เช่น เครื่องเล่นเพลงพกพา Zune ที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง, มือถือ Danger Hiptop/T-Mobile Sidekick ที่ซื้อกิจการมาจากบริษัท Danger (บริษัทเก่าของ Andy Rubin) และโต๊ะคอมพิวเตอร์ Surface ที่ปัจจุบันใช้ชื่อว่า PixelSense

อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษ 2010s ยุคสมัยที่อุปกรณ์ไอทีขนาดเล็กลง พกพาติดตัว และกลายเป็นอุปกรณ์เฉพาะบุคคล (personal device) การควบคุมประสบการณ์การใช้งานกลายเป็นเรื่องสำคัญ และแอปเปิลก็เรืองอำนาจขึ้นมาจากการควบคุมประสบการณ์ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ของตัวเอง

(อ่านบทความ ยุทธศาสตร์สามก๊กไอที - ทำไม Windows จึงไร้มูลค่า และไมโครซอฟท์อาจต้องออกจากตลาดคอนซูเมอร์ ประกอบ)

ไมโครซอฟท์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเดินตามรอยเดียวกัน จุดเปลี่ยนสำคัญของไมโครซอฟท์มี 2 ครั้งคือ

  • การทำแท็บเล็ต Surface ในปี 2012
  • การซื้อธุรกิจมือถือของโนเกียในปี 2013

จุดเปลี่ยนสองครั้งนี้ทำให้ไมโครซอฟท์เข้าสู่ธุรกิจฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์อย่างเต็มตัว ถึงแม้ว่าช่วงแรกๆ จะยังขลุกขลักอยู่บ้าง เช่น Surface ขายไม่ออกจนต้องตัดขาดทุนบัญชี หรือ Lumia/Windows Phone กินส่วนแบ่งตลาดต่ำมาก แต่พอมาถึงปี 2015 ก็ดูเหมือนว่าจิ๊กซอที่ไมโครซอฟท์ค่อยๆ บรรจงต่อขึ้นในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมาเริ่มจะเข้ารูปเข้ารอยแล้ว

มุมมองของไมโครซอฟท์ต่อการทำฮาร์ดแวร์ สะท้อนให้เห็นใน ยุทธศาสตร์ใหม่ของบริษัทที่เน้นธุรกิจ 3 ขา ส่วนของฮาร์ดแวร์อยู่ภายใต้หมวด Create more personal computing หรือแปลได้ง่ายๆ ว่าสร้างโลกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแห่งอนาคต ที่ไม่จำกัดเฉพาะพีซี

ครบทุกสายผลิตภัณฑ์

การซื้อธุรกิจมือถือของโนเกีย ทำให้ไมโครซอฟท์มีผลิตภัณฑ์สายมือถือเพิ่มเข้ามา ส่วนการตัดสินใจทำ Surface ตอนแรกอาจเป็นแค่การแสดงตัวอย่างให้พันธมิตรฮาร์ดแวร์เห็น แต่พอเวลาผ่านไป Surface ก็ค่อยๆ กลายเป็นธุรกิจจริงจังของไมโครซอฟท์เช่นกัน

นอกจากธุรกิจฮาร์ดแวร์แบบ "ในกรอบ" แล้ว ช่วงหลังไมโครซอฟท์ยังแตกไลน์ไปทำฮาร์ดแวร์แนวใหม่อย่าง Microsoft Band (wearable แบบสายรัดข้อมือ) และ HoloLens (wearable แบบแว่น AR) รอเอาไว้แล้วด้วย

เมื่อเรานำ Xbox ที่เป็นธุรกิจเฉพาะของตัวเองอยู่แล้วมารวมด้วย และบวกกับ Surface Book ผลิตภัณฑ์ใหม่ตัวล่าสุดของบริษัท เราจะเห็นว่าไมโครซอฟท์มีฮาร์ดแวร์ครบเครื่องทีเดียว เมื่อเทียบกับคู่แข่งในกลุ่ม "สามก๊กไอที" ทั้งแอปเปิลและกูเกิล

compare-table

ถ้าดูตารางเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นว่าไมโครซอฟท์มีสายฮาร์ดแวร์กลุ่ม first-party หรือบริษัททำเอง (สีเขียว) เทียบเคียงได้กับแอปเปิล ที่มีรากเหง้าจากการเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ส่วนกูเกิลถึงแม้จะมีครบทุกช่องก็จริง แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปการจับมือกับพาร์ทเนอร์ซะมากกว่า (สีเหลือง)

สินค้าฮาร์ดแวร์บางตัวของไมโครซอฟท์อาจยังเป็นรองคู่แข่ง (เช่น Lumia เทียบกับ iPhone) แต่ก็มีบางสมรภูมิที่ไมโครซอฟท์เหนือกว่าอย่างชัดเจน (เช่น Xbox One) หรือทำดักรออนาคตไว้ไกลมากแล้ว (HoloLens)

จุดอ่อนของไมโครซอฟท์ในตารางข้างต้น คงมีแต่พีซีแบบเดสก์ท็อปที่ไมโครซอฟท์ใช้วิธีจับมือกับพาร์ทเนอร์มาโดยตลอด ในยุคที่เดสก์ท็อปหดตัว โลกหมุนเข้าสู่อุปกรณ์พกพาหรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก โอกาสที่ไมโครซอฟท์จะมาทำ Surface Desktop คงเป็นไปได้ยาก

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือสายผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดของไมโครซอฟท์อยู่ภายใต้แนวคิด "ระบบปฏิบัติการเดียว" ไล่ตั้งแต่ Lumia ไปจนถึง Xbox ล้วนแล้วแต่ใช้แกน Windows 10 ตัวเดียวกัน ใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ Universal Windows App เหมือนกัน ในขณะที่คู่แข่งทั้งสองรายกลับใช้วิธีแยกระบบปฏิบัติการตามงานแต่ละประเภท (iOS + OS X และ Android + Chrome OS) ตรงนี้ต้องดูกันต่อไปในระยะยาวว่าแนวทางของใครคือแนวทางที่ถูกต้อง

Lumia กับการกลายร่างเป็นพีซี

ผมคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากตัวหนึ่งในงานเมื่อวานคือ Lumia 950/950 XL ที่มาพร้อมกับแนวคิด Continuum แปลงเป็นพีซีได้ด้วยการต่อ dock

ต้องยอมรับกันว่า Lumia ตามหลังคู่แข่งมากในช่วงหลัง พอมาถึงยุคของ Lumia 950 ไมโครซอฟท์จึงโต้กลับเต็มที่ โดยอัดฟีเจอร์ด้านฮาร์ดแวร์มาเยอะที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

  • Snapdragon 810 แรงที่สุดในรอบปีปัจจุบัน
  • หน้าจอความละเอียดสูง ใช้กระจกจอ Gorilla Glass 4 และฟีเจอร์ Glance Screen ที่เป็นเอกลักษณ์
  • กล้องคุณภาพสูงตามมาตรฐาน PureView (ส่วนจะดีกว่าคู่แข่งหรือไม่ ต้องรอดูของจริง)
  • ความจุเริ่มต้นที่ 32GB และเหนือกว่าคู่แข่งตรงใส่ microSD เพิ่มได้
  • แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ไม่กั๊ก พร้อมระบบชาร์จเร็ว ชาร์จไร้สาย
  • ระบบสแกนม่านตาพร้อมล็อกอินด้วย Windows Hello

จุดขายสำคัญที่ Lumia 950 เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นคือต่อ dock แล้วแปลงกายเป็นพีซีได้ ซึ่งใช้ประโยชน์จากแนวคิด Universal Windows App ของ Windows 10 อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนจะอยากได้ฟีเจอร์นี้เสมอไป และไมโครซอฟท์ก็ทราบดีโดยวาง Display Dock ไว้เป็นอุปกรณ์เสริมให้เลือกซื้อกันเอง

แต่ก็อย่างที่เขียนไปแล้วครับว่า ยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์คือ Windows 10 สำหรับทุกสิ่ง ดังนั้น Lumia เป็นแค่ชอยส์แรก ถ้าไม่ถูกจริตก็ยังมี Surface รอคุณอยู่

Surface Family

ส่วนการเปิดตัว Surface Book ทำให้ไมโครซอฟท์มีผลิตภัณฑ์กลุ่มใช้ทำงาน (productivity) ครบทุกระดับ ดังภาพ

Surface Book ถูกวางตัวมาจับกลุ่มผู้ใช้ระดับบน มีกำลังซื้อ ต้องการอุปกรณ์ใช้ทำงานที่สมรรถนะสูงแต่ก็ยังพกพาสะดวก ตอบโจทย์เรื่องการออกแบบที่พรีเมียม

ถ้าดูในแง่สเปกและความสามารถแล้ว Surface Book แทบจะไร้ที่ติ

  • เป็นโน้ตบุ๊กสมรรถนะสูง ใช้ซีพียู Skylake รุ่นล่าสุด, GPU แยกเฉพาะ, อัดแรม-ฮาร์ดดิสก์ได้เยอะ
  • ดีไซน์สวยงาม
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก แบตเตอรี่อยู่ได้นาน
  • แยกร่างเป็นแท็บเล็ตได้ มีปากกา Surface Pen มาให้ ทำได้ทุกอย่างเท่าที่ Surface Pro ทำได้

จุดเด่นของ Surface Book คือเป็นอุปกรณ์แบบใหม่ ทำงานได้ทั้งแท็บเล็ต-โน้ตบุ๊กในตัวเดียว ในขณะที่ฝั่งของแอปเปิลยังไม่มีอุปกรณ์ประเภทนี้ หลายคนจำเป็นต้องพก iPad/Macbook พร้อมกันซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก และโซลูชันของแอปเปิลก็ดูเหมือนจะผลักให้ผู้ใช้ไปทาง iPad Pro มากกว่าในระยะยาว (ทิศทางของแอปเปิลชัดเจนมานานแล้วว่า iOS สำคัญกว่า OS X)

จุดอ่อนของไมโครซอฟท์คือเรื่องแอพสมัยใหม่ที่ยังน้อยกว่าคู่แข่ง (แม้จะมีแอพแบบ win32 ยังใช้เป็นจุดขายได้) และแบรนด์ของไมโครซอฟท์ที่ยังไม่แข็งแกร่งเท่ากับแอปเปิล ซึ่งของพวกนี้ต้องสั่งสมตามระยะเวลา

อย่างไรก็ตาม ช่วงหลัง Surface Pro เริ่มทำผลงานได้เข้าตาลูกค้ามากขึ้น และในงานเปิดตัว Surface Book เราก็เห็นสัญญาณที่ดีในแง่ของแบรนด์ เมื่อผู้ชมในห้องลุกขึ้นปรบมือ (standing ovation) ตอนที่ Panos Panay ผู้บริการไมโครซอฟท์โชว์ทีเด็ดว่า Surface Book นั่นแยกร่างได้

ถึงแม้ผู้ชมในห้องจะไม่ได้ลุกขึ้นทั้งหมด แต่อาการแบบนี้เราจะเห็นเฉพาะกับงานแถลงข่าวของแอปเปิลเท่านั้น (ครั้งล่าสุดคือ Tim Cook ใส่ Apple Watch มาโชว์) การที่ไมโครซอฟท์เริ่มสร้างสภาวะแบบนี้ได้แล้ว ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าแบรนด์ของไมโครซอฟท์เริ่มกลับมาดู "เซ็กซี่" มากขึ้น

ในภาพรวมแล้ว Surface Book ถือเป็นการขยับหนีไปอีกขั้นของไมโครซอฟท์ ที่สามารถสร้างฮาร์ดแวร์ที่เหนือกว่าคู่แข่งได้ ตรงนี้ Panos Panay พูดไว้บนเวทีหลายครั้ง เช่น "คู่แข่งของเราพยายามทำปากกาบ้าง" "ดินสอของพวกเขาไม่มียางลบ แต่ของเรามี" และจุดสำคัญคือเขาบอกว่า Surface Pro 4 เป็นแค่การปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้น แต่ไมโครซอฟท์ไม่พอใจแค่นั้น และต้องการสร้าง "ผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่" (category invention) ขึ้นมาอีกรอบ

ผลกระทบจาก Surface Book

แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Surface Book และนโยบายด้านฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์ กลับไม่ใช่แอปเปิล (หรือกูเกิล) นะครับ

การทำฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ platform war เพื่อให้มีแนวรบทัดเทียมคู่แข่ง ในภาพรวมแล้วเราจะยังเห็น platform war ลักษณะนี้ดำเนินต่อไป และสภาพ "สามก๊กไอที" จะยังเป็นเช่นนี้ต่อไปโดยไม่มีผู้ชนะเด็ดขาด (แต่สภาพการณ์ของไมโครซอฟท์ดูดีขึ้นมากในช่วงหลัง ถือว่าแก้เกมได้ดีมาก)

ดังนั้น ถึงแม้ว่า Surface Book อาจดึงให้ลูกค้า MacBook Pro หันมาสนใจได้บ้าง แต่ในภาพใหญ่แล้ว แอปเปิลก็จะยังขายของได้มากมายเหมือนเดิม (แค่อาจจะโดนไมโครซอฟท์เกทับหรือหยิกแกมหยอกมากขึ้นอีกหน่อย)

คนที่โดนผลกระทบเข้าเต็มๆ กลับเป็นพาร์ทเนอร์ของไมโครซอฟท์ที่ทำธุรกิจโน้ตบุ๊กอย่าง Dell หรือ HP นี่ล่ะครับ

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา บริษัทเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่าไม่สามารถก้าวข้ามโน้ตบุ๊ก และสร้าง "คอมพิวเตอร์" ประเภทใหม่ขึ้นมาได้ จนสุดท้ายไมโครซอฟท์ต้องลงมือทำ Surface เองเพื่อแสดงให้เห็นว่าอนาคตของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร

Surface อาจเป็นแค่อุปกรณ์แนวทดลอง เป็นอุปกรณ์แนวใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ก่อน ผลกระทบต่อผู้ผลิตโน้ตบุ๊กเหล่านี้อาจยังไม่เยอะนัก

ตอนนี้ไมโครซอฟท์สร้างโน้ตบุ๊กของตัวเองสำเร็จแล้ว และเราคงต้องยอมรับกันว่า Surface Book ดูดีกว่าโน้ตบุ๊กสายวินโดวส์ทั้งหมดในท้องตลาด แถมไมโครซอฟท์ยังเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มเองทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

คำถามคือผู้ผลิตโน้ตบุ๊กเดิมที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านซอฟต์แวร์ (ไม่ได้เป็นเจ้าของ OS) และฮาร์ดแวร์ (ทำสู้ไมโครซอฟท์ไม่ได้) จะอยู่ได้อย่างไร

สถานการณ์แบบนี้ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มตัวเองอย่าง Sony, Motorola หรือ HTC โดนกันมาก่อนแล้ว เราเห็นผลลัพธ์ชัดเจนว่าส่วนแบ่งตลาดของบริษัทเหล่านี้ลดลงมากในช่วงหลัง กลายเป็นบริษัทหน้าใหม่ที่แข่งขันเรื่องราคาได้อย่างบริษัทจีนทั้งหลาย เริ่มผงาดขึ้นมาแทน (แต่ก็ต้องแลกด้วยกำไรบางเฉียบ)

ตอนนี้โลกของผู้ผลิตพีซีกำลังเจอความท้าทายแบบเดียวกัน และเป็นหน้าที่ของบริษัทอย่าง Dell, HP, Lenovo, Acer, ASUS ที่จะต้องดิ้นรนหาทางออกให้อยู่รอดได้ ในยามที่ไมโครซอฟท์กลายเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์เต็มตัว

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

อย่าคิดมากครับ ตลาดโน๊ตบุ๊ก แอปเปิ้ลกินกำไรมา50%ได้สักพักแล้ว ถ้าเป็นเหมือนมือถือต่อไป จะตายกันทุกเจ้า(ตลาดมือถือ แอปเปิ้ลกินกำไร90%ของตลาด)

ไมโครซอฟท์ลงมาเล่นเอง เพราะต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ส่วนนึงด้วยครับ
ไมโครซอฟท์ยังดีกว่าแอปเปิ้ลอีกจุดคือ แชร์เทคโนโลยีด้วยครับ ต่อไปคงได้เห็นของพวกนี้ในฮาร์ดแวร์OEMบางส่วนแน่ๆ

ยังหวังลึก ๆ ให้แอปเปิ้ลเข้ามาในสาย VR/AR ในเร็ววัน แต่คงอีกนาน เห็นสิทธิบัตรมานานมาก ซื้อบริษัทด้านนี้เยอะแยะ (ทำรวมมาในอันเดียวยิ่งดี) ราคาของค่ายอื่นจะได้ถูกลง สมมุติได้ประมาณว่า แอปเปิ้ลจะขายราคาที่ 19,000 เจ้าอื่นก็จะกลายเป็น 5,000 หรืออาจจะถูกกว่านั้น /เพี้ยะ ! ฝัน

ผมว่าอีกนานครับ สภาพแอปเปิ้ลตอนนี้เหมือนรอให้คนอื่นเริ่มตลาดไปก่อน แล้วเมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ตลาดเริ่มต้องการจริงๆ แอปเปิ้ลค่อยกระโจนลงไป
//แล้วก็ขายดีเหมือนเดิมไม่ว่าจะห่วยแค่ไหน

ยุคนี้เหมือนสู้กันด้วยการตลาดนะผมว่า เช่น ของเรามีที่อีกค่ายไม่มี เราแรงกว่าอีกค่าย ระดับผู้ใช้แบบผมมองว่าไม่มีค่ายไหนห่วยเต็ม ๆ ไม่มีค่ายไหนดีเต็ม ๆ แต่ไมโครซอฟต์ลงสนามก่อนเพื่อนเสมอ ตั้งแต่นาฬิกา สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต คอนโซล แว่นตา แล้วแต่ว่าจะสำเร็จตอนไหน

ผมมองว่ามันก็ถือว่าเป็นการปรับตัวที่ดีนะครับ ไม่งั้นเราคงต้องเห็นแต่คอมพิวเตอร์หน้าตาธรรมดาๆไปอีกพอสมควรครับ
//ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ

เห็นด้วยมาก ๆ ครับ
ต้องยอมรับว่า MacBook ของ Apple ดีไซด์สวยมาก

เมื่อก่อนยังมี vaio ที่ดีไซด์ การออกแบบ ชิ้นส่วน ที่มาตรฐานใกล้เคียงกัน
ถัดมา ผมก็ลุ้น Dell ตั้งแต่มี xps ขอบบางมา

มันติดเรื่องเดียว คือ ราคา ครับ

ผมว่า MS แค่ต้องการ วางมาตรฐาน การออกแบบ
Surface Book สวยจริง ๆ ครับ แต่ ราคาโหดมากกก

ผมว่าบริษัทอย่าง HP หรือ Dell ก็คงคาดไว้บ้างแหละครับว่า MS จะลงมาทำฮาร์ดแวร์มากขึ้น คงไม่ได้เหนือความคาดหมายไปทั้งหมดทีเดียว อีกอย่าง ผู้ผลิต PC ก็แข่งกับ Macbook มาพอสมควรแล้ว Surface Book เองก็จับตลาด MBP อยู่แล้ว คงไม่กระทบตลาดล่าง-กลาง เท่าไหร่

เส้นกั้นบางๆระหว่าง

  • แพงแต่ก็ขายได้เยอะ-มาก
  • แพงแต่ก็ขายได้เฉพาะกลุ่ม
  • แพงแต่ก็ขายแย่งกันที่เค้กก้อนเดิมแบ่งมาจากจ้าวแรก กำไรไม่เน้น(เน้นเกทับสเปกทุกรหัสเรือธง)

อ่า 3 ก๊กไอที มันเป็นเช่นนี้เองหรือ 555+

เท่าที่ใช้ Win 10 ทั้งแบบ Tablet Labtop และ PC ผมให้คะแนนแบบนี้ 40 85 80

MS ยังต้องทำการบ้านอีกมากในส่วนของ tablet

ส่วน Win 10 Mobile ยังไม่เคยใช้และไม่คิดจะใช้เลย - -

SupAwich Thu, 10/08/2015 - 00:57

ผมว่าดี Apple เองก็หวานเย็นกับผลิตภัณฑ์สาย OSX devices มานาน (ล่าสุดเป็น MacBook 12" ซึ่งเอาตรงๆคือยังไม่โดน)

Microsoft ออกมารอบนี้ Apple คงอยู่เฉยไม่ได้ หวังว่าคงจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอะไรที่เป็น category reinvent ออกมาซักที หรืออย่างน้อยอาจจะกระตุ้นการมาของ iOS X (?) ให้เร็วขึ้นก็ยังดี

ปล.เทียบกันที่ innovation ใน press release ปลายปีของสามค่ายใหญ่ รอบนี้ผมให้ Microsoft win จริงๆ

ไม่รู้ทำไม ครั้งนี้ผมชอบ Presentation ตัว Surface Book มากแบบมากที่สุด

ถ้าดูถึงแค่ 0.54 วิ แล้วปิดก็จะเข้าใจแค่ว่า "มันก็แค่ Laptop ราคาแพงๆ ไม่เห็นมีไรต่าง" แต่ถ้าดูต่อไปอีกมันจะเป็น Laptop ที่ดูน่าสนใจมากๆถึงมากที่สุด เท่าที่เคยเจอมา

เอาตังไต และปอดอย่างละข้างไปเลยเถอะ

ในตลาดของ Desktop นี้ผมมองว่า Dell กับ Asus นี้ยังไปรอดอยู่แต่รอดแบบชิวเฉียดนะ Lenovo นี้ไม่แน่ใจเพราะหลังจากที่มีข่าวด้านลบมานี้มีหลายคนขยาดเลย(ก็มี) สมมุตินะ ถ้า Microsoft ทำตัว Desktop จริงๆขึ้นมา....... ฝั่งตลาด Desktop จะบันเทิงเลยละ

ผมกลับมองไปอีกทางนึงแฮะ lenovoจะยังขายได้ในตลาดผู้ใช้ทั่วไปที่เขาไม่มานั่งศึกษาเรื่องนี้นัก แล้วตลาดนั้นdellจะแย่

ถูกของคุณครับ แต่ส่วนนั้นdellก็เอาตัวรอดได้ แต่ฝั่งconsumerทั่วไป userส่วนใหญ่สนแต่หน้าตากับราคา ตรงนี้dellก็ยากอยู่

ส่วนหนึ่งผมว่ามันคงมาจากอารมณ์สองแบบคือ ไม่คาดหวังอะไรแล้ว กับคนที่คาดหวังมากๆ และที่สำคัญแทบไม่มีอะไรหลุดมาให้เห็นก่อนหน้านี้เลย พอออกมาเหนือความคาดหมาย และเพราะพักหลังไม่ค่อยเจอไมโครซอฟท์ออกมาแนวนี้เลยเกิดแรงกระเพื่อมขึ้นค่อนข้างมาก

Mekokung Thu, 10/08/2015 - 14:46

In reply to by pongkantaphon

อ้าว นึกว่า Asus จะไปรอดนะเห็นออกสเปคแต่ละรุ่นโหด + แพง ทั้งนั้นเลย น่าจะจับตลาดกลุ่มคนเล่นเกมได้อยู่

ผมว่าสาเหตุหนึ่งที่ MS ต้องมาเป็นบริษัท hardware เพราะต้องการพื้นที่ในตลาด mobile และ handheld แต่คู่ค้าที่มีทั้งไม่รู้จะไปทางไหนดีและตีจาก จึงทำให้ MS ต้องลงมาทำเองครับ

ผมเล็งตั้งแต่แรกแล้วครับ บานพับแปลกๆ ขอบจอดูเป็นชั้นซ้อนๆ มีรูระบายอากาศเหมือน Surface ด้วย มันจะถอดได้มั้ยนะ มั้ยนะ ให้ดูโฆษณาอีกรอบ จ้องใหญ่เลย ถอดสิ ถอดสิ ถอดดดดด ลุ้นสุดๆ ครับเพราะดันเผลอถามคนอื่นไปแล้วว่า "Surface Book ถอดได้?" "ใช่มั้ย?"

แต่ผมว่าจะตายน้ำตื้นเพราะ keyboard docking หน้าตาแบบนี้แหละ เพราะมันพังง่ายสุดๆ
ยิ่งถ้าพยายามทำให้แน่นด้วยการใส่เขี้ยว lock แบบ Samsung Ativ อีกนะ เขี้ยวนั่นแหละที่หักก่อนเลย

โลกการดีไซน์นี่มันน่าทึ่งจริงๆครับ
แค่เปลี่ยนสีคีย์บอร์ดเป็นสีเดียวกับตัวเครื่องโลหะ

แค่นิดเดียว ก็สร้างทั้งความแตกต่าง และดูดี "กว่า" คีย์บอร์ดสีดำบนตัวเครื่องโลหะสีเงินได้มากเลย

ส่วนหนึ่งก็เพราะ ไอ้ดีไซน์ปุ่มดำเรียบบนเครื่องโลหะแบบ macbook นี่มันถูกใช้ซ้ำซากมาไม่รู้กี่ปีแล้ว แล้วพวก HP Dell Asus สารพัดสารเพ ก็ไม่มีใครคิดจะเปลี่ยนตรงนี้เลย แต่แห่ทำตามเหมือนๆกันไปหมด จนดีไซน์นี้มันดูน่าเบื่อ ดูโหลไปตามกาลเวลา

ส่วนเรื่องประสิทธิภาพ ผมว่าถ้าที่ราคาเท่ากัน ใครๆก็อัดเสปคให้เหนือกว่าสินค้า apple ได้ แต่ทำยังไงให้มันน่าซื้อกว่าด้วยนี่แหละ ยากส์จริง

MS ก็เหมือนแม่ทัพของทางฝั่ง Windows ต้องทำอะไรสักอย่างให้เราพันฒมิตรได้เห็นเป็นแนวทางว่าฝั่งของตัวเองทำอะไรได้ถึงขีดสุดที่เท่าไร

คุ้นๆ เหมือนกัน ว่าเคยเห็นมาก่อน XD

แต่พวกนี้มักจะสเปคไม่แรง
เพราะถูกจำกัดด้วย รูปทรง Tablet

ส่วน Surface Book ผมว่ามันโหด เพราะสเปคยังเต็มมาก
ถึงถอดออกมาก็ยังโหดอยู่ดี

เสียบเข้าไปก็โหดขึ้นด้วย GPU Nvdia

ASUS T100 ผมใช้มาปีนึงละคับ กับราคาประมาณ 12000 บาท ถือว่าดีมาก ใช้งานแค่ดูหนัง เล่นเน็ต ถอดออกมาอ่าน ebook ไรได้หมด แถมประหยัดไฟมากเพราะเป็น atom ตัวที่ล็อค หรือบานพับก็ทำมาดี ถอดใส่ได้ง่ายและแข็งแรง

แต่มันยังใช้ทำงานจริงๆ จังๆ แบบเขียน program หรือ photoshop ไม่ไหว ด้วยสเปคของมัน จะไปเล่นตัวถอดจอได้ตัวอื่นในตลาด ผมก็เห็นแต่ samsung ราคา 2 หมื่นกลางๆ เลยไม่กล้าเสี่ยง

Surface book นี่ทำมาให้ดู premium ดีคล้ายๆ MBA.. จนผมอยากได้เลย ถ้าสเปคมันแรงๆ จะได้ขาย desktop ทิ้งไปเลย

ผมก็งงๆ ว่าหลายคนตื่นเต้นกันตรงไหน ในบทความบอกเหมือนว่า Partner ทำไม่เป็น แต่ tablet ประกบร่างกับ keyboad นี่มันมีมานานหลายก่อน surfacebook จะออกมาตั้งนาน พอ surfacebook ออกมาดันขโมยซีนเฉยเลย ส่วนพวกที่ยืนปรบมือในงานแถลงข่าวนั่นผมเข้าใจว่าแถวหน้าๆ น่าจะเป็นกองอวยที่ microsoft ขนกันมามากกว่าครับ

มันมีมาเยอะแต่มันยังไม่มีตัวไหนโดนไงครับ ไม่มีตัวไหนจัดเต็มเท่านี้ ส่วนคีบอร์ดเจ้าอื่นก็ยัดมาแค่แบต ส่วนที่ผมตื่นเต้นตรงที่ hot swap GPU ได้ ลองนึกถึงอนาคตว่ามีตัวใหม่ออกมาถ้าสมมุติ MS ขายส่วนคีย์บอร์ดแยกสำหรับคนที่ใช้รุ่นเก่าโดยใช้ GPU ที่ดีกว่า หรือแบตความจุสูงขึ้นหรือเพิ่มความสามารถอื่นๆก็ซื้อมาเสียบกับตัวเก่าได้ทันทีโดยไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งเครื่อง

ที่ผมตื่นเต้นไม่ใช่ว่าคีย์บอร์ดมันแยกได้หรอกครับ แต่การ์ดจอมันถอดแยกออกมาได้เนี่ยแหละ ที่ตื่นเต้น

Tablet PC + docking keyboard มีอยู่แล้วหลายยี่ห้อครับ ไปหามาใช้ได้เลย แต่รุ่นราคาล่างๆ spec จะแรงไม่พอนะครับ เล่น flash ทั่วๆ ไปยังกระตุกเลย และคงไม่มีวันที่จะได้ spec แรงราคาถูกแน่นอน ขอเตือนไว้ก่อน

เพราะก๊กอื่นมีฮารดแวร์ MSเลยต้องมีบ้าง
แม้กูเกิ้ลจะเน้นบริการ แต่พอเปิดตัวแต่Androidรุ่นใหม่ ก็ต้องเปิดตัวNexusที่จะเอามารันอยู่ดีเหมือนเป็นต้นแบบของแอนดรอยทั้งหลาย
Serfaceเองก็เช่นกัน ส่วนตัวว่าดี เพราะเหมือนกำหนดทิศทางของPCว่าจะไปทางไหน

ส่วนผู้ผลิตโน้ตบุคเดิม ผมว่าอยู่ได้ เหมือนที่เขียนข้างบนนั่นแหละ ไม่ใช่ทุกคนจะอยากได้ฟีเจอร์นี้เสมอไป ไม่อยากได้จอทัช ไม่อยากได้ปากกา ไม่อยากถอดจอได้ อยากได้จอใหญ่ การ์ดจอแรงๆSLIได้ หรืออยากพิมพ์บนคียบอร์ดไม่ใช่typecover งบก็ไม่ถึงSerface Pro แบบนี้ผู้ผลิตโน้ตบุคเดิมยังตอบโจทย์ได้อยู่นะ

เห็นด้วยครับ ถึงผมจะประทับใจมากๆ กับ Hardware ที่เปิดตัวคราวนี้แต่คงรอซื้อแต่ Band2 อย่างเดียว (และกลับย้อนไปซื้อ Surface 3 ไม่ Pro ที่เพิ่งขึ้นราคา) เพราะอย่างอืนราคาสูงมาก แม้ว่า Feature จะดูสมกับราคานะครับ

OEM ก็คงใช้ผลการตอบรับของโปรดักส์ที่ MS ออกมาปรับปรุงโปรดักส์ของตัวเองและก็สามารถทำราคาได้ทำต่ำกว่า (เพราะ MS ก็รับเอาความเสี่ยงในการวิจัยไปมากแล้ว)

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือสายผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดของไมโครซอฟท์อยู่ภายใต้แนวคิด "ระบบปฏิบัติการเดียว" ไล่ตั้งแต่ Lumia ไปจนถึง Xbox ล้วนแล้วแต่ใช้แกน Windows 10 ตัวเดียวกัน ใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ Universal Windows App เหมือนกัน

ผมก็เลยสงสัยว่าแกน Windows 10 มั๊ย

Microsoft ยุคใหม่ กลยุทธใหม่ แนวทางที่ชัดเจน
ขอบคุณสำหรับบทความครับ

ป.ล. ความสำเร็จของ Event ครั้งนี้ส่วนหนึ่งผมขอยกเครดิตให้กับการสื่อสารของ Panos Panay
เป็นไม่กี่ครั้งที่รู้สึกว่าการนำเสนอนั้นไม่น่าเบื่อและไม่เดิมๆ

ใช่ครับ ผมยังคิดว่าถ้าไม่ใช่ Panos เนี่ย Surface Book ก็คงสร้างกระแสไม่ได้ขนาดนี้หรอก ดูแล้วคล้ายๆ Reality Distortion Field ของศาสดาเหมือนกันครับ แต่ผมชอบนะ ดูแล้วสนุกมาก มีอารมณ์ร่วมไปด้วย

ในส่วนของ surface book กับ mac​book pro
ผมมองว่าพวกทำงานกราฟิก/ตัดต่อ ที่จำเป็นต้องใช้พวกซอฟต์แวร์ของ adobe ยังไงก็คงเลือกแมคบุ๊คอยู่ดี

และ​ก็​ดูเหมือนว่าทาง adobe เอง ก็​พิศวาส osx และฮาร์ดแวร์ของแอปเปิ้ลมากกว่า (สังเกตตอน adobe นำเสนอ​ผลิตภัณฑ์)

ผมมั่นใจมากๆว่า ไมโครซอฟท์ ไม่คิดจะลงมาเล่นตลาดฮาร์ดแวร์อย่างเต็มตัว ด้วยตนเองแน่นอน
แต่การที่ต้องลงแรงวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เองนั้นเป็นเพราะว่า Partner อย่าง Dell HP Acer ฯลฯ
ไม่แกร่งพอที่จะทำการวิจัยและพัฒนาได้ด้วยตนเองเหมือนเมื่อก่อน
รวมถึงการหายไปจากตลาดของ IBM ด้วย ทำให้ผู้พัฒนา และสร้างนวัตกรรมทางฮาร์ดแวร์ลดลงไปอย่างมาก

แต่หนึ่งในนั้นที่ยังคงอยู่คือ แอปเปิล
ซึ่งแอปเปิลในมือของจ๊อบส์นั้น มีศักยภาพในการพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่ดีมาก ดีขนาดที่ IBM ยังเลือกใช้ Macbook
แทน Notebook เพราะคุณภาพของการผลิต และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ นอกจากนั้นยังมีนวัตกรรมที่โดดเด่นอยู่เสมอ
สวนทางกับทางฝั่งของ PC ที่ไม่มีผู้พัฒนาทางด้านนี้มาสักระยะหนึ่งแล้ว ขนาดที่จะหา Notebook ถูกใจยังลำบาก
แถมหลายๆเจ้ายังเลือกที่จะไปให้ความสนใจกับ Android Platform ซึ่งกูเกิ้ลได้สร้างต้นแบบใว้ให้แล้ว

ดังนั้นแล้ว ถ้าไมโครซอฟท์ยังต้องการที่จะรักษาฐาน Partner บนตลาดใว้ได้
ไมโครซอฟท์จำเป็นจะต้องทำต้นแบบที่แข่งขันกับ แอปเปิลให้ได้ และจะต้องให้ Partner สามารถนำมาใช้ได้ด้วย
ก่อนที่ตลาด PC Platform จะถูกแอปเปิลกินไปซะหมด ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้ว Macbook หลายๆเครื่องจะมี OS เป็น Windows ก็ตาม แต่นั่นมันคือสัญญาณการสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดของตนเองอย่างมีนัยสำคัญ

ไมโครซอฟท์จึงต้องพัฒนาฮาร์ดแวร์ ต้นแบบ ออกมาเป็นเรื่องธง เหมือน Nexus ของ Google
เพื่อแข่งขันกับ แอปเปิลให้ได้ ในตลาดระดับบน และเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Partner
เพื่อยึดครองตลาดในทุกระดับ และทุกๆพื้นที่ของโลกใบนี้ และทำให้ ไมโครซอฟท์ยังคงกระพันต่อไป

ไม่เชื่อ เดี๋ยวรอดูได้เลยครับ เราจะพบว่าหลายๆเจ้าจะเข็น Tablet เพื่อมาแข่งกับ Surface แต่อยู่คนละส่วนตลาดกัน
จะมี Notebook แบบ SurfaceBook ออกมา แต่ก็อยู่คนละตลาดกัน และยังจะมีโทรศัพท์ตามออกมาอีก
จะเหมือน ยุคหนึ่งที่ Partner ผลิตแค่ฮาร์ดแวร์ และใช้ผลิตภัณฑ์บน Platform ของไมโครซอฟท์

ถูกต้องนะครับ
ผมมั่นใจมากๆว่าจะเป็นแบบนั้น

ยิ่งมีผู้ผลิตมากราย ไมโครซอฟท์ยิ่งได้เปรียบ

ยังไงก็ต้องเป็นไลเซนแหละครับ

หลังๆอาจจะดูเหมือนว่า Windows เริ่มฟรีมากขึ้น จากกรณีได้อัพเกรดฟรี (7/8 ไป 10)
แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่บนฐานที่ว่า 7 หรือ 8 ที่ใช้อยู่นั้นเป็นของแท้ จึงจะอัพเกรดและ activate ได้สมบูรณ์
ซึ่งก็คือได้มีการจ่ายไลเซนให้ MS แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ซื้อเองหรือ bundle มากับ PC/Laptop ก็ตาม

จุดด้อยของ MS ที่ผ่าน ๆ มาคือเรื่องการออกแบบที่ไม่เหมาะกับการใช้งานจริงเอาซะเลย ที่ใช้งานได้ดีก็ต้องเลียนแบบชาวบ้านเอา อีกเรื่องคือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องพวกนี้ทาง Apple จะทำได้ดี

มาเห็น Surface Book ก็รู้สึกว่าเข้าท่าขึ้นมาบ้างละ ก็ดูกันต่อไป

ส่วนผู็ผลิต Hardware เจ้าอื่น ๆ ถ้าหนีมาทำ Linux ก็คงดี โปรแกรมบันเดิ้ลก็ให้เงินอุดหนุนกลุ่มคนทำ opensource หน่อย แต่คงเป็นไปได้ยาก

เพราะ Linux ผู้ใช้งานมันน้อยมากๆ
และการรองรับอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์มีความจำกัดมากเข้าไปอีก
มากพอๆกับเครื่องแมคล่ะครับ
สองข้อนี้รวมกัน เท่ากับว่าคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งาน OS นี้ได้ก็มีน้อยว่าวินโดวส์แล้วล่ะครับ
และถ้านักการใช้งานในกรณีที่เกิดปัญหา ซึ่งต้องพึ่งพาทักษะของผู้ใช้งานระดับดีแล้ว
เป็นไปได้ยากที่จะมีอนาคต ในตลาดผู้ใช้งานทั่วไปเลยครับ

pongmile Thu, 10/08/2015 - 07:03

Microsoft คงออกมาเป็นต้นแบบให้กับ Partner แหละครับ ดูจากราคาที่วาง Surface Book ที่สูงมาก คงอยากให้ Partner ทำแบบคล้ายๆกันแต่ราคาถูกกว่า คนที่อยากได้ Surface Book จะได้ไปลองเจ้าอื่นๆดูบ้าง
ตอนที่ Surface Book ถอดจอได้นี่ผมดีใจมากๆ ไม่รู้ทำไมแต่ก็ออฃึ้งไปเลย คืนไม่คิดว่าจะมีหมัดเด็ดจาก Ms ได้ขนาดนี้มาก่อน เทพจริงๆครับ

ขอบคุณสำหรับบทความครับ

อยากได้จริงตอนดูการนำเสนอ แต่พอดูราคาแล้วคงได้แต่ฝัน (ถึงขั้นเงิบ ถ้าเข้าไทยราคาแตะแสนแบบนี้คงขายยาก) ใช้งาน HP กับ Dell ตัวเก่ากับ Windows 10 ต่อไปอีกนาน

ไม่ค่อยตื่นเต้นมาก แต่อยากให้เป็นการกดดันให้ Apple

แถม Apple Pencil + Keyboard มาในชุด iPad Pro

หรือไม่ก็ยัดการ์ดจอแยกมาใน rMBP 15 นิ้ว ตัวล่าง

( ; ____ ; )

ทั้ง Surface ทั้ง Surface Book บริษัทแรกที่ผมเห็นว่าเขาทำจริงๆคือ asus แล้วที่ทำให้ ms มาทำแบบนี้ได้แล้วดูก้าวข้ามจริงๆคือในส่วนของ os เพราะ asus ทำออกมาตั้งแต่ windows 7 ซึ่งตอนนั้น hw มีแล้วแต่ในส่วนของ sw ยังไม่ไปไหน กว่า sw จะตามทันก็เกือบ 5ปี ผมมองว่าช้ามากกว่าจะมาถึงจุดนี้

khun_panya Thu, 10/08/2015 - 09:42

ผมว่า ms ไม่ได้ตั้งใจจะผันตัวเป็นบริษัท hw นะครับ ตอนหนึ่งสัตยาบอกว่าเขาไม่ได้ทำ hardware for hardware's sake และยังกล่าวอีกว่า device มาแล้วก็ไป แต่สิ่งที่คงอยู่คือตัวคุณและ service ประมาณนี้ผมจำคำไม่ค่อยได้ แต่ฟังแล้วคมมาก

ใครมีลิงค์ดูKeynote แบบเต็มๆมั้ยครับ อยากดูมาก แต่หาไม่เจอเลยฮะ รบกวนด้วยครับ

ผมยังคงเชื่อว่าจอทัชบนโน้ตบุคมันไม่ใช่คำตอบอยู่ดี ไม่ว่าจะถอดได้หรืออะไรก็ตาม

การผลักคนต้องการtouchscreenไป iPad pro เป็นเรื่องถูกต้องแล้ว

อย่าไรก็ตาม ทิมมี่อย่าเพิ่งหักหลังผมด้วยการออก iMacbook pro นะครับ

ถอดได้ก็ไม่ใช่ notebook แล้วครับตอนนั้น แล้วมันจะทำงานยังไงตอนถอดถ้าไม่ทัช? ผมงงกับความเชื่อของคุณ

+1 เรื่องจอทัชกับ notebook มันไปกันไม่ได้จริงๆ ไหนจะ keyboard ไหนจะทัชแพด พอพิมพ์ๆ อยู่ยังต้องเอื้อมมือไปทัชจออีก ผมว่าคนที่ใช้ notebook ส่วนมากไม่ค่อยทัชจอกันหรอกครับ

แปลว่าไม่เคยลองกันจริงๆ ใช่มั้ยครับ ผมใช้ notebook touchscreen อยู่ จนพอกลับไปใช้ notebook ทั่วไปแล้วสะดุด เพราะนึกว่าจอมันแตะได้ เขาไม่ได้สร้างมาให้คุณ touch ตลอดเวลา บางจังหวะคุณใช้ keyboard บางจังหวะคุณใช้ mouse, touchpad และบางจังหวะคุณก็ touch จอ มันเติมเต็มกัน แล้วแต่จังหวะแล้วแต่สะดวก

Surface ผมก็มีครับ แต่ไม่ค่อยได้ใช้เพราะมันไม่ค่อยสะดวก ปกติเวลาต่อ keyboard ก็จำเป็นต้องทัชบ้างเพราะ touhpad มันไม่ค่อยเวิร์ก เวลาที่จะทัชหลักๆ คือตอนที่ถอด keyboard ออก ใช้งานเป็น tablet ครับ

เครื่องหลักของผมใช้ Macbook Pro รู้เลยว่าถ้าทำ touchpad ออกมาดีๆ ได้เทียบเท่า Mac แล้วละก็ ระบบทัชในสภาพ notebook ก็ไม่จำเป็นต้องมีเลย แต่ก่อนอื่นต้องเพิ่มพื้นที่ touchpad ให้ใหญ่พอสำหรับระบบ gesture ก่อน

ผมคงเป็นคนส่วนน้อยแหละครับ ทั้งบริษัทมีผมใช้โน้ตบุ๊คที่มีจอทัชอยู่คนเดียว

เลยทำให้เป็นคนเดียวที่จิ้มหน้าจอเครื่องชาวบ้านเวลาใช้งาน
คนที่ไม่ได้ใช้โน้ตบุ๊คทัชสกรีนเค้าไม่จิ้มหน้าจอกันอันนี้ชัวร์อยู่ละครับ

แต่คนที่ใช้โน้ตบุ๊คทัชสกริน ผมว่าเค้าก็ใช้ผสมนะ การกดปุ่มมันไวกว่า

ชอบคำว่า "เซ็กซี่" ครับ ผมว่ามันก็เซ็กซี่มากขึ้นจริงๆ
อย่างผมถ้าเลือกจะเปลี่ยน(และมีเงิน)ก็มองมาใช้ surface pro เป็นอันดับแรกเลย(เมื่อก่อนถึงขนาดหาวิธีลง OSX ใน Surface) surface book ก็ชอบสวยเลยครับ แต่ราคาแรงพอสมควร ต้องรอดูว่าไมโครซอฟ์ทเปิดดีไซน์ใหม่
มานานมากแล้ว แต่ผู้ผลิต PC ยังไม่พัฒนางานดีไซน์ตามเสียที

ถือว่า Microsoft แก้เกมได้ดี หลังจากที่พยายามตามวงโคจรของ Apple และ Google มาตลอด

แต่ของแบบนี้มันต้องทำให้ตลาดยอมรับกันต่อเนื่องก่อนถึงจะสร้างวงโคจรเป็นของตัวเองอย่างที่เคยเป็นมาได้ จะรอดูต่อไปครับ

ตอนที่ Panos Panay ผู้บริการไมโครซอฟท์โชว์ทีเด็ดว่า Surface Book นั่นแยกร่างได้

ผู้บริการ => ผู้บริหาร

loptar Thu, 10/08/2015 - 11:17

ส่วนหนึ่ง ก็ต้องโทษความห่วยของระบบสัมผัสของ windows เองด้วยนะ ถึงจะมีมานานแล้ว ทั้ง win 7, win 8 แต่ก็ห่วยมากๆ จน hardware ทำออกมายังไง ก็ไม่สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีได้ จนมาถึง win 10 นี่แหละ รอดูว่าจะไหวมั้ย

Mac Pro ราคาเริ่มต้นที่ 2,999 USD -- http://www.apple.com/shop/buy-mac/mac-pro

Surface Book 1,499 USD ตัวแพงสุดยัง 2699 USD ครับ -- https://www.microsoft.com/surface/en-us/devices/surface-book

แถมใช้งานคนละแบบ อันหนึง Performance กับ เน้น Mobility

เป็นบทความที่ดีมากครับ

ส่วนตัวคิดว่า Microsoft เอง กำลังสร้างกองทัพที่มีขุนพลพร้อมชนกับอีก 2 ก๊ก แบบถึงพริกถึงขึงให้ได้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า "คุณมี...ผมก็มี" พร้อมๆ กับการ "ลด-ละ-เลิก" รอคอยให้เหล่าพาร์ทเนอร์ (Lenovo, HP, Dell, Acer หรือ Asus) ออกแบบและผลิตฮาร์ดแวร์ (ที่ไม่ถูกใจ Microsoft เท่าไหร่) มาวางขาย

ตรงนี้ผมมีความเห็นว่า Partner จะไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะยิ่ง Surface Book ได้รับคำชื่นชม หรือขายดีเท่าไหร่ ค่ายต่างๆ ก็จะได้มีแนวทางการออกแบบ Laptop ที่ชัดเจนมากขึ้นเท่าไหร่ อาจเรียกได้ว่า จากนี้ไป ไม่ต้องไปคอยเลียนแบบ Laptop จาก Apple แล้ว (โทนสี, คีย์บอร์ด, ความบาง-เบา, ฯลฯ) ทุกค่ายสามารถออกแบบและพัฒนาในแนวทางใหม่ที่ Microsoft วางไว้ได้อย่างเต็มที่ (Laptop แบบ 2-in-1)

ฝั่งผู้ใช้เอง ถ้าเห็นว่า Surface Book ได้รับความนิยม มีการพูดถึง ก็น่าจะยิ่งรู้สึกเออออตามไปด้วย เหมือนที่ผู้ใช้ "ส่วนใหญ่" เออออว่า ถ้าจะทำงานด้านกราฟิก ต้องซื้อ MacBook Pro มาใช้นั่นแหละ จากนี้ก็คงเป็นว่า ถ้าจะซื้อ Laptop ใหม่ซักเครื่อง ต้องเป็นเครื่องที่ถอดจอได้ ใช้เป็นแท็บเล็ตได้ และต้องมีปากกาสไตลัสเจ๋งๆ มาด้วย (ครบทุกความต้องการกันเลยทีเดียว) แต่จะเลือก Microsoft Surface Book หรือเลือกจากค่ายอื่น อันนั้นอีกเรื่องนึง

ทั้งนี้ ค่าย Laptop อื่นๆ ยังมีทางเลือกของตัวเองอีกเยอะนะครับ ทั้งการออกแบบให้มีสีสันใหม่ๆ รูปทรงใหม่ๆ รวมถึงการแข่งขันในด้านราคาเข้ามาสู้... ตลาด Laptop ปีหน้า คงกลับมาคึกคักกันอีกครั้ง

ส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Lumia ก็ดูมีจุดยืนของตนเองชัดเจนยิ่งขึ้น ผ่านฟีเจอร์อย่าง Continuum ที่เชื่อว่าอาจจะ "ไม่ได้ลดช่องว่าง" ในเรื่องความนิยมเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนคู่แข่ง แต่จะ "เพิ่ม" จุดเด่นที่คู่แข่งยังทำไม่ได้เข้ามาแทน

ผู้ใช้เองก็จะมีจุดเปรียบเทียบเมื่อจะซื้อสมาร์ทโฟนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น จากเดิม หากจะซื้อสมาร์ทโฟนหรูๆ ดูดีๆ ให้ซื้อ iPhone ถ้าเอาแบบคุ้มค่าเน้นปรับโน่นแต่งนี่ ให้เลือก Android แต่ตอนนี้ สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า หากอยากได้มือถือที่ทำงานหลายๆ อย่างเหมือนคอมพิวเตอร์ ใช้งานโปรแกรมที่คุ้นเคยได้ ให้มองหา Lumia แทน

ข้อนี้สำคัญมากตรงที่ คู่แข่งจะโชว์ว่ามีแอพฯ นั่นนี่ ทำงานทดแทนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คุณคุ้นเคยได้ แต่ Microsoft สามารถเกทับไปได้ว่า ไม่ใช่แค่ "ทดแทน" แต่ ใช้ "ของจริง" ได้เลยทันที

สำหรับต่อจากนี้ไป ก็คงต้องรอดูกันยาวๆ กับสงคราม 3 ก๊กไอที ว่าจะมีอะไรออกมาให้ WoW อีกมั๊ย... ถ้าใครทะลึ่งออกสินค้าที่ไม่ WoW ในมุมผู้บริโภค เตรียมตัวโดน​ "เปรียบเทียบ" กับคู่แข่งได้เลย

เชื่อว่าตอนนี้ฝั่ง Apple และ Google เอง ก็คงต้องทำการบ้านอย่างหนัก ทบทวนสินค้าของตัวเองทั้งหมด ว่าจะปรับแต่ง หรือวาง Position อย่างไร

ผมว่าด้วยความที่ยึดติดอยู่กับระบบปฎิบัติการของตัวเองคนเดียว Apple นี่ไม่น่าจะกระทบเท่าไหร่ ที่กระทบมากคือ Google ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการที่จะเอามาทำงานได้แบบจริงๆ จังๆ ให้ได้ตรงนี้ยังเป็นปัญหาที่ต้องแก้ให้ตกในฝั่งของ Google

เรื่องทำงานด้านเอกสารนี่ ผมว่ายังไง Microsoft ก็ยังทิ้งคู่แข่งอยู่เยอะครับ

แต่ก่อนมีแค่ซอฟท์แวร์ให้พาร์ทเนอร์ไปผลิตฮาร์ดแวร์ให้ ยังกินตลาดคนทำงานซะเกือบเรียบ แม้แต่สาวก Apple ที่ถือ MBA/MBA เอง ก็ยังต้องลง Bootcamp เพื่อจะใช้ Office เลยด้วยซ้ำ ครั้นจะหนีไปใช้ Google Apps ก็ยังเป็นแค่ "ทดแทน" หรือ "แก้ขัด" แต่ไม่ใช่ "ของจริง" อยู่ดี

แล้วตอนนี้ Microsoft มาทำฮาร์ดแวร์เองอีก ผมมองว่าจะยิ่งเป็นการเพิ่มช่องว่างในเรื่องทำงานกับคู่แข่งมากขึ้นไปอีก

Microsoft เอง กล้าตั้งราคาฮาร์ดแวร์ตัวเองสูง ก็เพราะมั่นใจว่ากลุ่มลูกค้าหลักอย่างะพวกองค์กรต่างๆ พร้อมจ่ายอยู่แล้ว ส่วนกลุ่ม Mass ถ้ากล้าซื้อ ก็โอเค ถึงไม่ซื้อ ผมว่า Microsoft ก็ไม่เจ็บตัว

เพราะยังไงก็ยังมีพาร์ทเนอร์ที่ผลิตฮาร์ดแวร์ออกไปขาย แล้วจ่ายค่าไลเซนต์ทั้ง Windows ก็ดี Office ก็ดี ให้ Microsoft อยู่วันยันค่ำ

หรือจะเรียก Microsoft ว่าเป็นเสือนอนกิน ที่ลุกขึ้นมาบิดขี้เกียจ และแผดเสียงคำรามไปยังคู่แข่งให้ตกใจกลัวก็ได้ครับ

+1

เมื่อก่อนก็ไม่กล้าพูดว่า Lumia มันใช้ทำอะไรได้บ้าง(แต่ก็ยังพอจะพูดได้ว่า ยังมี Lumia 1020 ที่มันถ่ายรูปได้ดีอยู่นะ) จนตอนนี้ก็กล้าพูดได้เหมือนคุณนั้นละ

"ไมโครซอฟท์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ สามารถเอาชนะแอปเปิลที่เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?"

ชนะยังไงเหรอครับ?

เอ้อ!! ชนะเพราะเขียนว่า 2X นี่นะ อยากเขียนอะไรก็เขียน แต่คนชม presentation ไม่ได้แปลความตาม ภาพที่เห็นทุกคน แถมสงสัยด้วยว่ามันเป็นไปได้อย่างไร
แล้วก็พบว่า เอา MacBook Pro Early 2015 13 นิ้ว ใช้ Intel Broadwell + GPU รุ่นเก่า กับ Surface Book ใช้ Intel Skylake + GPU ของ NVIDIA มันก็ Claim ได้สิ จะ 2X จะ 3X เพราะ เอาของเก่าเทียบกับของใหม่ ของใหม่ย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่า
Apple ยังไม่ได้ ประกาศว่าจะขาย MacBook Pro Late 2015 with Intel Skylake เมื่อไหร่
ดีใจที่ Microsoft มีแนวทางออกแบบ NoteBook Hybrid เจ๋งๆ บีบบังคับให้ Apple ทบทวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น ส่วน Google ก็ต้องคิดให้เยอะว่า จะขาย Chrome NoteBook ในลักษณะใด

จริง ๆ อีกหนึ่งจุดขายของ Lumia 950 กับ 950XL คือ เรือธงรองรับ 2 ซิม (ในบางประเทศที่ขาย) แต่ไมโครซอฟท์เลือกที่จะไม่พูดถึงมันเลย เพราะมันไม่ค่อยเด่นเท่าที่ควร

ที่น่าสนใจคือกลยุทธ์งัดข้อกับแอปเปิลที่ไมโครซอฟท์ไม่ได้มองว่าตัวเองทำฮาร์ดแวร์ แต่แค่กำลังทำต้นแบบของสินค้าในมุมมองใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน อันนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจมากครับ

ป.ล. ตอน Surface Book เปิดตัวมา XPS 15 ของผมเจอ dead-pixel ทันทีเลยครับ แถมพอซ่อมจอเสร็จรุ่นใหม่ก็ออกมาอีก น้ำตาจะไหล

ใครเกลียดบานพับ Surface Book แบบผมมั่ง

คือแบ่บ เอิ่ม บอกไม่ถูก

เกลียดนะ แต่ก็คงซื้ออ่ะ 555+ (ถ้าได้ GPU แรง ๆ จะเอามาแทน Dell 7447)

bflower Thu, 10/08/2015 - 15:36

โห! ใช้"คำถาม"ตะโกนเปิดเรื่องว่าไมโครซอฟท์เหนือกว่าแอปเปิล ค่อยๆ ตอบว่าเพราะมีสายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย พร้อมกับเล่ายุทธศาสตร์ใหม่ของไมโครซอฟท์ประกอบอีกรอบ ถือมีดซ่อนไว้ด้านหลังแล้วบอกคู่แข่งว่าไม่กระทบกับเธอนะเธอยังขายได้ดีแต่นี่เพื่อให้เหนือกว่าทัดเทียม วางมีดแล้วหันมาตบหน้าคู่ค้าหลายเจ้าแบบเบาๆ ทั้งน้ำตาพร้อมบทพระเอกว่าเพราะแกนั้นทำฮาร์ดแวร์กาก ฉันจะกอบกู้เองงงงง

ดูน่าจับตาดีครับ แต่ไม่ชอบตรงบานพับมากๆ ต้องขอจับเครื่องจริงก่อน
ที่แน่ๆ M$ ตั้งราคาไว้สูงจริงๆจนน่าจะเชื่อว่าเป็นตลาดทางเลือก ตัวบอดี้นี้ยังไม่แน่ใจว่าทำมาเป็น unibody หรือไม่ แล้ว ifix it จะให้เท่าไรกับคะแนนการซ่อมเครื่องอีก
ที่สำคัญ ส่วนของแทปเล็ตที่ดึงออกได้ มันไม่น่ามีพัดลมเลย แต่ก็ทึ่งกับการที่เอา GPU ไปไว้บนบอร์ด
ถ้า Apple เล่นด้วย ผมคิดว่าด้านหลังจอ Macbook มีอะไรให้เอาไปใส่ได้อีกเยอะครับ อาจจะออกมาสูสีกันก็เป็นได้

อีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือ พลังการประมวล ระหว่างที่เสียบฐาน กับถอด มันต่างกันมากเลยหรือเปล่า
รวมไปถึงแบต 12 ชั่วโมง นั่นคือการทำ docking ใช่รึไม่
ยังไม่คำถามที่ต้องการพิสูจน์เยอะครับ แต่โดยรวม M$ ทำได้ WOW ไม่น้อย เหมือนตอนเปิดตัว Surface รุ่นแรก
แต่ late market ไม่รู้จะแป๊กรึเปล่านะ ต้องมาดูกันระยะยาว

ตรงบานพับมันดูแปลกๆ แต่สำหรับผมรับได้นะเมื่อแลกกับสิ่งที่ได้รับกลับมา ที่รับไม่ได้มากกว่าคือตำแหน่งรูหูฟังครับ

หลายความเห็นสงสัยว่า จะตื่นเต้นอะไรกันนักหนา
ผมเลยขอเล่าความรู้สึกในฐานะ "แฟนคลับ"

ตั้งแต่งาน Build2015 เป็นต้นมา Keynote หลักๆ จะวนอยู่ประมาณนี้ Windows 10, Windows 10 for phone (with Continuum), HoloLens, SurfaceHub งานเล็กงานน้อยหลังจากนี้ ก็ทรงเดียวกัน (สไลด์เดียวสคริปท์เดียวใช้ทั้งปี) มันน่าเบื่อมากครับ Microsoft ไม่โชว์อะไรใหม่ๆ เลย (นอกจากพวกโปรแกรมตระกูล Azure ซึ่งมันไม่มีผลต่อ "แฟนคลับ" อย่างผม)

Windows 10 ตอนเดือนกรกฎาก็ไม่ตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะ Insider ได้สปอยล์กันหมดแล้ว

ข่าวลือข่าวหลุด เรื่อง Surface Pro 4, Surface จอใหญ่ มีเรื่อยๆ ทั้งปี แต่ไม่ค่อยเป็นกระแส ใกล้ๆ ตุลาก็มีข่าวหลุดว่าที่เรือธงตัวใหม่ในตระกูล Lumia คนอื่นยังไงไม่รู้ แต่ส่วนตัวหวังจะเห็นมากๆ เพราะมันคือธงตัวใหม่กับ Windows 10 for phone (Mobile?)

งานที่เพิ่งจบไปไม่หวังมาก คิดว่าจะได้เห็นสคริปท์เดิมๆ แต่เปล่าเลย เฮ้ย เปลี่ยนสคริปท์นี่หว่า

  • HoloLens ดูเอามันอะเนาะ งานนี้ไม่มีการบรรยายสรรพคุณแบบงานก่อนๆ เล่นเกมโชว์กันเลย
  • Lumia 950/950XL เฉยๆ นะ แต่แอบดีใจเป็นหย่อมๆ ที่ได้เห็น Continuum เป็นชิ้นเป็นอันเสียที Windows Hello บน Lumia ก็ถือว่าแปลกดี (อึกอย่างหนึ่งคือมันเกินงบไปนิดหน่อย (มากๆ) เลยรอรุ่นล่างที่ (ได้แต่หวังว่าจะ) รองรับ Continuum ดีกว่า)
  • Surface Pro 4 อันนี้ธรรมดา แอบไปสนใจ Cover with fingerprint reader กับ Docking ขนาดพกพามากกว่า (รอของ Surface รุ่นธรรมดาอยู่นะ Microsoft)
  • Surface Book เป็นอะไรที่เหนือคาด (ไม่เกี่ยวกับเรื่องถอดจอได้) เคยคิดเล่นๆ ว่าถ้ามีโน้ตบุ้ค (Laptop) ที่แปะยี่ห้อ "Surface" มันจะเป็นยังไงนะ ด้วยรูปลักษณ์ธรรมดาบ้านๆ นี่แหละ ตอนที่ Panos เอา Surface Book ออกมาโชว์ ผมคิดว่ามันเป็น "Joke" ไม่ใช่ "Surprise" นั่งดูเขาพูดไปก็ยังไม่เชื่อ ความรู้สึกตอนนั้นคือ "Whaaaaaaaaaaaaat" Microsoft เนี่ยนะ Laptop เนี่ยนะ "Whaaaaaaaaaaaaat" ซ้ำๆ อยู่ประมาณนี้
    จนครึ่งหลัง Panos ถือเฉพาะส่วนจอออกมา ก็ยังงงอยู่ว่าจะเอา Surface Pro 4 มาขายทำไมตั้ง 2 รอบ หรือมันเป็น Surface 4 พลาดอะไรไปหรือเปล่า ช็อคถึงขนาดพลาดดูคลิปถอดจอ T_T

ผมคิดว่าหลายคนเป็นแบบคุณครับ เพราะหลังๆ มาไม่มีอะไรให้เซอร์ไพรซ์แล้ว แม้แต่เรื่องธรรมดาอย่าง Microsoft ออกแอปใหม่โดยเปิดตัวบนระบบปฎิบัติการของตัวเองเป็นอันดับแรกยังทำให้หลายคนทึ่งได้เลย รวมทั้งตัวผมเองด้วย สำหรับเรื่องนี้ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของการคาดหวัง พอเราไม่คาดหวังแล้วสุดท้ายมันมาแบบเหนือความคาดหวัง ก็ทำให้เกิดความรู้สึก Wow หรือรู้สึกในเชิงบวกได้ไม่ยาก

ผมก็ดูไล่มาทุกงานของทั้ง 3 ค่าย ไม่เคยพลาด สรุปได้แบบนี้

HoloLens ผมเฉย ๆ มาก ตอนเปิด Minecraft งานก่อน ๆ ดูดีกว่าเยอะ
Lumia ก็งั้น ๆ แค่อึ้งเรื่องระบบระบายความร้อน กับ dock ที่เหมือนจะเป็น mhl มาย้อมแมว ยังต้องรอดูต่อ
Pro 4 คาดหวังไว้เยอะ อยากเห็น fanless อยากให้เป็น usb-c ด้วย สรุปอกหักพอสมควร โดยเฉพาะ usb-c ที่ไม่ใส่มา เพราะผมเกลียดพวก port ประหลาด ๆ มาก
surface pro dock อันนี้ถือว่ามาถูกทาง แต่ผมติดใจเรื่องช่องเสียบว่าทำไมไปทำไว้เสียบกับช่องจ่ายไฟ surface pro แทนที่จะทำเป็น usb 3.0 เพื่อที่ว่าจะได้ขายให้กับคนที่ต้องการ dock เฉย ๆ ที่ไม่ใช่ surface pro ใช้ได้(ดูอย่างยี่ห้อ plugable ได้)
Book อึ้งตอนเปิดตัว เพราะไม่เคยเห็นข่าวมาก่อน พอเห็นออกมาเหมือน macbook pro ก็ยังรู้สึกเฉย ๆ คิดแค่เอาไว้ชนกันเลยสินะ พอเห็นการ์ดจอการ์ดจอแยกเริ่มรู้สึกตะลึง ว่าโหทำไปได้ จนไปถึงตอนประกาศราคา เริ่มรู้สึกว่าคุ้มกว่าตัวที่เอามาเทียบน่าสนใจมาก แถมดูดีมากด้วยในหลาย ๆ อย่าง แล้วก็ไม่ได้คิดอะไร ยาวจนไปถึงตอนที่าจอหลุดจาก keyboard ความรู้สึกตอนนั้นสติหลุดโดยสิ้นเชิงแบบไม่สามารถหาอะไรมาอธิบายได้ แทบอยากปาเงินใส่จอรัว ๆ

จนจบงานสิ่งที่ผมรู้สึกจริงจังคือ ทำไมไม่ทำ surface pro 4 ดี ๆ ไปเลยตัวเดียว แล้วทำ dock การ์ดจอแยกแพง ๆ ไว้เลยตัวนึงไว้รวมร่างไปเป็น surface book เพราะความรู้สึกผมตัว book tablet นี่มันก็แค่ pro 4 แบบตัดช่องเสียบทุกอย่างแค่นั้น จึงไม่แปลกที่มันจะทำน้ำหนักได้เบากว่า pro 4

เรื่อง Dock ผมเข้าใจว่า แล็ปท็อปส่วนมากที่ต่อ dock ได้ โดยเฉพาะสาย commercial ก็ใช้พอร์ตเฉพาะที่จ่ายไฟอยู่แล้ว เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เชื่อมต่อกับ dock แค่จุดเดียว ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์ที่ต่ออยู่ได้ทุกอย่าง ไม่ต้องเสียบสาย 2 จุด

ส่วน dock ที่เป็น USB 3.0 ในส่วน graphic ส่วนมากผมเห็นใช้เทคโนโลยี DisplayLink ซึ่งต้องให้ Host ที่ต่ออยู่ เป็นตัวจัดการบีบอัดข้อมูลภาพ เพื่อให้สามารถส่งผ่านพอร์ต USB ได้ แตกต่างกับ Thunderbolt ที่มี DisplayPort วิ่งคู่กัน หรือพอร์ตเฉพาะที่ต่อเข้ากับส่วนการแสดงผลของฮาร์ดแวร์โดยตรงครับ

ตอนเห็นเครื่องกับบานพับ ผมก็รู้สึกว่า ทำมาทำไมเนี่ย บานพับไม่สวยเลย
แต่พอเห็นว่าถอดจอได้เท่านั้นล่ะครับ แม่เจ้า ตะลึงไปเลย และพอเห็นบานพับทำงานอย่างไรก็ อืม ก็พอได้อยู่นะ
ด้วยงบประมาณจำกัด คงต้องใช้ surface 3 ของเราต่อไป ไปได้ไกลสุดคงแค่รุ่น pro
ส่วน 950/950xl ก็เอาใจช่วยครับ ถ้า universal app เยอะๆผมว่าคงมีคนย้ายมาใช้เพิ่มขึ้น
แต่ในไทย คงต้องมีเกมส์ดังๆมาลงเยอะๆหน่อย เอาแบบว่าเขียนทีเดียวไปรันบน Xbox ได้ด้วยจะดีมากเลย

ไม่มีใครคิดถึงเจ้า ThinkPad Helix เลยเหรอครับ? ตอนนั้น 60,000 ได้ ทัชสริน i7 คีย์บอร์ดแท้... แต่มาก่อนกาลเวลาไปหน่อยสินะ!

มันไม่เหมือนกันอยู่ตรงที่ฐานที่เป็นคีย์บอร์ดของ ThinkPad Helix มันไม่มี GPU ครับ มันแค่เพิ่มพัดลมทำให้ CPU ทำความเร็วให้เต็มที่แค่นั้น

ตอนนี้มีอยู่คำถามเดียวในหัวเลย ใช้ visual studio บน 950 XL แบบต่อ continuum ได้ป่ะ? ถ้าได้ล่ะก็...ได้เสียกับลูเมียรอบสองแน่ๆ แต่ถ้าไม่ได้...เค้าจะไปใช้ iPhone Pro เหมือนที่สัตยาเคยบอกไว้นะ.

ที่ประทับใจสุดคือความสามารถในการเก็บความลับของ Surface Book นี่แหละครับ ทั้ง Lumia 950 กับ Surface Pro 4 เค้ายังเดาๆหรือมีข่าวหลุดกันบ้าง แต่ Surface Book นี่แบบ โผล่มาเฉยๆเลย

ขนาดบริษัทเจ้าแห่งความลับอย่าง Apple (?) ยังมีภาพหลุดเป็นรายวัน แต่ MS นี่ปิดได้เงียบมาก

Lamicrosz Fri, 10/09/2015 - 18:15

จริงๆ แล้วอีกตลาดที่ไมโครซอฟท์ยังไม่ลงมาเล่นในสายพกพาคือพวก สายเกมนี่แหละมั้ง คือคนทั่วไปอาจจะว้าว แต่อีกส่วนก็บอกว่าจ่ายเงินขนาดนี้ทำไมยังเล่นเกมโหดๆ ไม่ได้ ซึ่ง ASUS กับ MSI ยังกินตลาดนี้อยู่ :3

จะว่าไม่เล่นสายเกมนี้ก็ไม่ใช้นะ เพราะสายเกม Microsoft มี XBOX ที่เป็น console อยู่แล้ว และตลาด Hardcore Gamer คิดว่า มันมีต้นทุนสูงและเจ้าตลาดที่ทำอยู่ดีอยู่แล้ว ลงไปเล่นตลาดนั้นมันเปลืองตัวเปล่าๆ

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Tencent
public://topics-images/z4xi4oyc_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png
Satya Nadella
public://topics-images/nadella.png
Nintendo
public://topics-images/nintendo.png
Japan
public://topics-images/japan_flag.png
China
public://topics-images/china-flag-sq.png
Sam Altman
public://topics-images/sam-altman.png
SNK
public://topics-images/snk_logo.svg_.png
EPYC
public://topics-images/epyc.png
HPE
public://topics-images/hpe.png
Juniper
public://topics-images/juniper.png
CMA
public://topics-images/cma.png
App Store
public://topics-images/app-store.png
DoJ
public://topics-images/doj.png
Siri
public://topics-images/siri.png
Apple Intelligence
public://topics-images/apple-intelligence.png
Acer
public://topics-images/acer.png
GeForce
public://topics-images/geforce.png
Omen
public://topics-images/omen.png
HP
public://topics-images/hp.png
Alienware
public://topics-images/alienware.png
Dell
public://topics-images/dell.png
Bungie
public://topics-images/bungie.png
Marathon
public://topics-images/marathon.png
Lenovo
public://topics-images/lenovo-2015-svg.png
Intel Arc
public://topics-images/badge-arc-graphics.png
GitHub
public://topics-images/8zfrryja_400x400.png