Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยการนอนได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารการนอน (Journal Sleep) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัว กับระยะเวลานอนในแต่ละคืน โดยทำการวิจัยในกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 21 ถึง 64 ปี จำนวน 276 คน โดยทำการชั่งน้ำหนักไว้ก่อนเริ่มทำการศึกษา แล้วทำการติดตามน้ำหนักตัวเมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี

ผู้วิจัยพบว่า กลุ่มที่ใช้เวลานอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มที่นอน 8 ชั่วโมงต่อวัน และกลุ่มที่ใช้เวลานอนเกิน 9 ชั่วโมงต่อวันก็มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้นเฉลี่ย 1.58 กิโลกรัม

Tags:
Node Thumbnail

ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2008 Guatam Dantas และคณะนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้ค้นพบเชื้อแบคทีเรียในพื้นดินที่สามารถย่อยสลายยาปฏิชีวนะ (หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า ยาฆ่าเชื้อ) ได้ แถมยังกินยาปฏิชีวนะเป็นอาหารหลักอีกตะหาก

ซึ่งเจ้าเชื้อดังกล่าวนี้มีความดื้อยาปฏิชีวนะสูงมาก และสามารถกินได้ทั้งยาปฏิชีวนะที่ได้จากธรรมชาติ (เช่นเพนนิซิลิน) และยาปฏิชีวนะสังเคราะห์ รวมถึงยารุ่นใหม่ๆด้วย
จากยา 18 ขนานที่ผู้วิจัยทดลองใช้ พบว่ามีถึง 13-17 ชนิดที่เจ้าแบคทีเรียนี้สามารถใช้เป็นอาหารได้

Tags:
Node Thumbnail

เป็นที่รู้กันในกลุ่มนักวิจัยด้านสมองมาหลายปีแล้ว ว่าการนอนหลับทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้นั้นมีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน และการอดหลับอดนอนทั้งในคืนก่อนการเรียนและหลังการเรียนมีผลให้การเรียนรู้ในวันนั้นๆแย่ลง

แต่งานวิจัยใหม่โดย Olaf Lahl และคณะจากมหาวิทยาลัย Dusseldorf ประเทศเยอรมนี (ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sleep Research ฉบับเดือนมีนาคม 2008) พบว่า นอกจากการนอนหลับตามปกติแล้ว การงีบหลับในตอนกลางวันหลังจากการเีรียน ก็ช่วยให้จำสิ่งที่เรียนไปได้ดีขึ้นเช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

แม้ทุกวันนี้ระบบเข้ารหัสดิสก์แบบเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประเด็นของการถูกขโมยข้อมูลจำนวนมากในช่วงหลังๆ ที่ทำให้ข้อมูลสำคัญของคนจำนวนมากถูกเผยแพร่ออกไป แต่กระนั้นก็ตามระบบการเข้ารหัสนั้นส่วนมากอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นจะหายไปหากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ทำงานไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง

Tags:
Node Thumbnail

ขณะที่กระแสการลดการใช้พลังงานกำลังแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ เองรถยนต์ที่ครองแชมป์ในด้านนี้อยู่คงเป็น Toyota Prius ที่มีประสิทธิภาพสูงมากเป็นดันดับต้นๆ และมีวางขายในสหรัฐฯ แต่ตอนนี้หมายเลขสองอย่างฮอนด้าก็เริ่มโชว์เทคโนโลยีขั้นต่อไปที่เหนือกว่ารถไฮบริดแบบเดิมๆ กันแล้ว โดยมีการตีพิมพ์ในงานวิจัยหัวข้อ "Advanced Transient Simulation on Hybrid Vehicle Using Rankine CYcle System"

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวานนี้ทางคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาตร์มหาวิทยาลัย Harvard ได้ลงมติให้งานวิจัยทั้งหมดของทางคณะต้องเปิดให้คนทั่วไปจากภายนอกเข้าถึงได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ และอนุญาตให้มีการทำสำเนาเพื่อแจกจ่ายโดยใครก็ได้ในโลกนี้ตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีการทำกำไรจากตัวบทความ

ก่อนหน้านี้มีกองทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวนมาก ได้เริ่มใส่ข้อบังคับแบบเดียวกันนี้ให้กับผู้ขอรับทุนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่การที่ทางคณะฯ มีข้อบังคับนี้จะทำให้นักวิจัยในสังกัดทั้งหมดต้องทำตามข้อบังคับนี้ไม่ว่าจะใช้ทุนจากแหล่งใดก็ตาม

Tags:
Node Thumbnail

ถึงแม้งานการศึกษาล่าสุดจะชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์มือถือไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็ง (ข่าวเดิม) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถใช้มันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลอะไรอีกต่อไป

เพราะล่าสุด ได้มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การใช้โทรศัพท์มือถือ กับจำนวนอสุจิ พบว่าผู้ชายที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานๆ มีจำนวนอสุจิที่ิลดลง และสัดส่วนของอสุจิที่ไม่สมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ชายที่ใช้โทรศัพท์มือถือนานกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน

Tags:
Node Thumbnail

งานวิจัยร่วมระหว่างหน่วยงานวิจัยของญี่ปุ่นห้าสถาบันที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร British Journal of Cancer ในหัวข้อ Mobile phone use, exposure to radiofrequency electromagnetic field, and brain tumour: a case-control study ได้มีการแสดงผลว่า ความเชื่อที่ว่าคลื่นวิทยุจากโทรศัพท์มือถือมีความเกี่ยวเนื่องกับมะเร็งนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดแต่อย่างใด

Tags:
Node Thumbnail

ผลการวิจัยของ FDA ที่ตีพิมพ์ลงวารสาร National Research Council of the National Academies of Science ได้ระบุว่ายังคงต้องมีการศึกษาความปลอดภัยของสัญญาณไร้สายต่อเด็ก สตรีมีครรภ์ต่อไป ในผลระยะยาวและระยะสั้น รวมถึงความแรงและความถี่ของสัญญาณวิทยุแต่ละแบบที่ตัวเครื่องปล่อยออกมา เพื่อการพัฒนาอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพต่อไป

ซึ่งนั้นหมายความว่ายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดสำหรับสัญญาณไร้สายต่อไป เพราะฉะนั้นตอนนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์เหล่านั้นต่อได้

ที่มา - Engadget.com

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อสองปีก่อนมีงานวิจัยถึงพฤติกรรมของสมองที่มีการกระตุ้นการทำงานในบริเวณที่เจาะจง เมื่อมนุษย์ได้เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหนึ่งๆ เช่นหากมองเห็นคอมพิวเตอร์แล้วมีสมองส่วนหนึ่งถูกกระตุ้น แม้จะเห็นตัวอักษรเป็นคำว่า "คอมพิวเตอร์" สมองส่วนเดียวกันก็จะถูกกระตุ้นเช่นกัน

ทีมงานเดียวกันนี้ นำโดย Dr Quian Quiroga จากมหาวิทยาลัย Leicester ได้พัฒนางานจากเดิม ด้วยการจับการทำงานของเซลล์สมองกว่าร้อยตำแหน่งพร้อมกัน แล้วสร้างฐานข้อมูลการทำงานของสมองเมื่อเห็นภาพจำนวนหนึ่ง ผลที่ได้คือซอฟต์แวร์ที่คาดเดาได้ว่าภาพที่ผู้ทดสอบกำลังมองเห็นนั้นคือภาพอะไร โดยมีความแม่นยำสูงกว่าความน่าจะเป็นในการเดาสุ่มอยู่อย่างมีนัยสำคัญ

Tags:
Node Thumbnail

เวลาที่มีเรื่องต้องหาหมอเพื่อผ่าตัดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ คือหมอต้องเย็บแผลของเราหลังการผ่าตัดต่อไป แม้หลังๆ อาจจะมีไหมแบบไม่ต้องตัดออกหลังแผลสมานตัวแล้ว ความรำคาญก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอาจจะทำให้เราเห็นไหมเย็บแผลน้อยลงเรื่อยๆ ในไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อ ดร. Klaus Rischka นักวิจัยจากห้องวิจัยของสถาบัน Fraunhofer ได้แสดงความก้าวหน้าในการสร้าง กาว สมานแผล

ความพยายามสร้างกาวในลักษณะเดียวกันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ความยากอยู่ที่การทนทานต่อความชื้นของแผล และความทนทานในการยึดติด ซึ่งได้รับการแก้ไขไปแล้วในงานวิจัยชี้นนี้

Tags:
Node Thumbnail

ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกวันนี้คือราคาต่อวัตต์แพงมากจนกระทั่งหลายๆ ครั้งมีคนตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าจริงหรือ โดยนับแต่มีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อประมาณสามสิบปีมาแล้วนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากสารกึ่งตัวนำบนแผ่นเวเฟอร์ ที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก จนกระทั่งจุดคุ้มทุนด้านพลังงาน (ที่ใช้ในการผลิต) นั้นอยู่ที่สามปีจึงเริ่มคืนทุน ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้นเป็นเซลล์แบบบางที่ฉาบอยู่บนแผ่นแก้ว โดยมีระยะเวลาการคืนพลังงานอยู่ที่ 1.7 ปีโดยประมาณ และค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงอีกทั้งการผลิตจำนวนมากยังทำได้ยาก

Tags:
Node Thumbnail

การตื่นตัวของปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้เริ่มมีรายงานการวิจัยถึงการปล่อยสารเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์กันอยู่เรื่อยๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อรายงานฉบับล่าสุดของ MIT ออกมาระบุว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสารเรือนกระจกที่มากที่สุดในโลกนั้น กลับมีแนวโน้มที่จะปล่อยสารเรือนกระจกเหล่านี้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเร่ง โดยรายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาจากข้อมูลในช่วงปี 1950 มาจนถึงปี 2000 และใช้การประมาณการในปี 2000 ไปจนถึงปี 2050

Tags:

ขณะนี้มีการคิดค้นทำวิจัยเกี่ยวกับระบบติดต่อกับคอมพิวเตอร์แบบใหม่ นั่นคือใช้ลม (หายใจ) เป่าที่จอ โดย Shwetak Patel และ Gregory Abowd จาก Georgia Institute of Technology ได้ตีพิมพ์บทความลงวารสารซึ่งอธิบายเกี่ยวกับการใช้ไมโครโฟนในคอมพิวเตอร์ในการเพื่อระบุว่าเรากำลังเป่า อยู่ที่ส่วนไหนของจอ คลิกดูบทความ

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในโรคร้ายที่ส่งผลต่อมนุษย์ในทุกวันนี้คงหนีไม่พ้นโรคมะเร็งที่ยังไม่มีทางรักษาที่ได้ผลเต็มที่ แต่งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียได้แสดงให้เห็นความสำเร็จในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในหนูเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็งอย่างได้ผล

วัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนสังเคราะห์ เพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็งที่มีโมเลกุลน้ำตาลในรูปแบบที่ต่างไปจากเซลล์ทั่วไป ซึ่งโดยปรกติแล้วภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะไม่ทำลายเซลล์มะเร็งเนื่องจากเป็นเซลล์ที่เกิดจากร่างกายของเราเอง

ทีมงานวิจัยหวังว่าจะดำเนินการทดลองในมนุษย์ได้ในระยะเวลาประมาณหนึ่งปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามการนำวัคซีนมาใช้งานโดยทั่วไปยังต้องการการทดสอบอีกจำนวนมาก และใช้เวลาอีกนาน อีกทั้งวัคซีนหลายๆ ตัวที่ได้ผลสำเร็จในหนูก็ไม่มีผลต่อคนแต่อย่างใด

Tags:
Node Thumbnail

ฮิตาชินำเสนอชิป RFID รุ่นใหม่หลังจากครองความเป็นหนึ่งในด้านความเล็กของชิป RFID มาแล้วตั้งแต่ปี 2003 โดยชิปรุ่นใหม่นี้มีขนาดเพียง 0.15x0.15 มิลลิเมตร หรือหนึ่งในสี่ของรุ่นก่อนหน้านี้ (0.3x0.3 มิลลิเมตร) โดยมีความหนาเพียง 7.5 ไมโครเมตรเท่านั้น

ตัวชิปมีความจุ 128 ไบต์ โดยข้อมูลภายในต้องเขียนมาจากโรงงานเท่านั้น ด้วยขนาดที่เล็กมากของชิป RFID เช่นนี้ทำให้สามารถนำไปใช้งานในรูปแบบหใหม่ๆ ได้ เช่นการฝังชิปนี้ลงในธนบัตรเพื่อตรวจสอบว่าเป็นธนบัตรจริง

Tags:
Node Thumbnail

คนที่ทำงานตามบริษัทคงรู้กันดีว่าเวลาจะขอใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสักตัวในบริษัทมันช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน เนื่องจากความกลัวปัญหาเช่นเรื่องของการติด GPL แล้วต้องเปิดซอร์สของโปรแกรมในบริษัทไปด้วย แต่งานวิจัยล่าสุดของการ์ตเนอร์ ออกมาชี้ให้เห็นว่าแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่เราจะหลีกเลี่ยงการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพราะในปี 2011 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของซอฟต์แวร์เพื่อการค้าทั่วโลกจะมีบางส่วนที่ไปโค้ดจากโครงการโอเพนซอร์ส

ดังนั้นแทนที่จะมัวแต่กลัวว่าจะมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลุดเข้ามา ผู้บริหารควรศึกษาและทำความเข้าใจกับประเภทของลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์แต่ละตัวว่ามีข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรบ้างน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า

Tags:
Node Thumbnail

วัณโรค (Tuberculosis -TB) เป็นโรคคร่าชีวิตมนุษย์ไปปีละกว่าสองล้านคนทั่วโลก และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละกว่า 5 ล้านคนนับว่าเป็นโรคที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก งานนี้มูลนิธิบิลล์และมาลินดา (Wikipedia) เกตต์จึงได้มีโครงการลงทุนในการพัมนาหนทางการต่อสู้กับโรคร้ายนี้เป็นเงิน 280 ล้านดอลลาร์ โดยจะแบ่งส่วนออกไปเป็นเงินวิจัยด้านต่างๆ จำนวนมาก แต่เงินก้อนใหญ่ที่สุดจะไปอยู่ที่ Aeras Global TB Vaccine Foundation of Rockville, Md เป็นเงินถึง 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนเงินก้อนอื่นๆ จะแบ่งตามความจำเป็นเช่นการจำแนกสายพันธุ์

Tags:
Node Thumbnail

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอิงค์เจ็ตที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาถูกลงทุกวัน ทำให้เริ่มมีคนคิดจะทำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้งานอย่างอื่นๆ กันบ้างแล้ว ล่าสุดคือการนำเข็มขนาดจิ๋วที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตไปใช้งานในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย

ข้อดีของระบบเทคโนโลยีอิงค์เจ็ตคือมันเป็นระบบการฉีดของเหลวในปริมาณน้อยมากๆ ได้อย่างแม่นยำ เมื่อนำไปใช้ในการจ่ายยา ทำให้เราสามารถควบคุมการจ่ายยาในปริมาณน้อยมากๆ แต่ต่อเนื่องไปตลอดเวลาให้กับผู้ป่วยได้ โดยเทคโนโลยีที่กำลังจะถูกนำไปใช้นี้เป็นของบริษัท HP ที่ได้วิจัยขึ้นในศูนย์วิจัยที่สิงคโปร์

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยของ NASA ออกแบบชิปที่ทำงานได้ในอุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส จากการทดสอบมันสามารถทำงานที่อุณหภูมิ 500 องศาได้นานติดต่อกัน 1,700 ชั่วโมงอย่างไม่มีปัญหา

เทคโนโลยีที่ใช้ทำชิปเป็น Silicon Carbide (SiC) นอกจากจะมีประโยชน์ในการสร้างยานสำรวจดาวเคราะห์ที่อุณหภูมิเลวร้าย (เช่น ดาวศุกร์) แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป เช่น เครื่องจักร การบิน ฯลฯ ได้อีกด้วย ไม่แน่ถ้าเทคโนโลยีตรงนี้แพร่หลาย ต่อไปเราอาจไม่ต้องมีฮีทซิงค์กันก็ได้นะ

ที่มา - Ars Technica

Tags:

กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ เราอาจจะเห็นระบบตรวจจับใบหน้ากันเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องดิจิตอลบอกได้ด้วยว่าหน้าที่อยู่ในกล้องนั้นยิ้มแย้มดีแค่ไหน เรื่องนี้กำลังจะไม่ไกลเกินความจริงเมื่อบริษัท Omron ได้เสนอซอฟต์แวร์ที่สามารถประมวลผลภาพและบอกได้ว่าหน้าใดในภาพบ้างกำลังยิ้ม และที่เท่กว่านั้นคือยังบอกได้ด้วยว่ายิ้มมากน้อยเพียงไร

โปรแกรมที่ว่านี้จะให้คะแนนระดับความยิ้มแย้มตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยสามารถบอกได้แม้แต่หน้าที่ไม่ได้มองกล้องโดยตรงก็ตาม ที่น่าสนใจคือความเร็วที่ทำได้ค่อนข้างดี โดยทาง Omron อ้างว่าโปรแกรมสามารถให้คำตอบได้ใน 0.044 วินาทีเมื่อใช้เครื่องเดสก์ทอปประมวลผลภาพ

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยได้มีแนวความคิดที่จะออกแบบเกมที่มีความสามารถที่จะรู้การเคลื่อนไหวของมนุษย์ในการบังคับตัวละครในเกมก่อนที่การเคลื่อนไหวนั้นจะเกิดขึ้น โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังมนุษย์ โดยคอมพิวเตอร์จะมีเซ็นเซอร์ในการรับรู้ว่ามนุษย์จะกดปุ่มเมื่อใด

นักวิจัยชาวฮังการี ได้พัฒนาความคิดในการสร้างเกมที่มนุษย์ไม่สามารถชนะได้เพื่อศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองของสิ่งมีชีวิต ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี่สามารถนำไปใช้ได้กับการทหาร เพื่อให้ทหารที่บังคับเครื่องบินมีปฏิกิิริยาตอบสนองที่ฉับไวขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

หลายปีหลังมานี้บ้านเรามีการพูดถึงน้ำมันชีวภาพ (Biofuel) กันมาก นอกจากบ้านเราแล้วทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปก็ตื่นตัวในเรื่องนี้กันมากเช่นกัน แต่จากรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Leeds ระบุว่าหากเราใช้เทคโนโลยีในวันนี้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้จะกลับกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปยิ่งกว่าเดิม

งานวิจัยชี้ว่ากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันนั้นตลอดกระบวนการตั้งแต่การปลูกพืช การแปลงภาพให้กลายเป็นเชื่อเพลิง ไปจนถึงการใช้งานขั้นสุดท้ายนั้นจะให้ผลลัพธ์เป็นคาร์บอนจำนวนมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในปัจจุบันระหว่างสองถึงเก้าเท่าตัว

Tags:

แม้คนส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่าการโทรศัพท์ขณะขับรถจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น แต่รายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Berkeley ชิ้นล่าสุดก็แสดงให้เห็นว่าในช่วงปี 2002 ถึง 2005 ที่ผ่านมา พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือขณะขับรถไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณอุบัติเหตุบนท้องถนนแต่อย่างใด

รายงานดังกล่าวศึกษาแนวโน้มของปริมาณอุบัติเหตุในช่วงปี 1987 ถึงปี 2005 ในทุกรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วหาความเกี่ยวข้องกับปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 1990 จนถึงปี 2005

Tags:
Node Thumbnail

ข้อถกเถียงในเรื่องของความน่าเชื่อถือของ Wikipedia ถูกยกขึ้นมาพูดกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังมานี้ โดยเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลไปใช้ในงานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีข่าวการปลอมข้อมูลไปใส่ไว้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ

นักวิจัยที่UCSC จึงเสนอทางออกใหม่ที่จะให้ชุมชนใน Wikipedia สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่ถูกแก้ไขได้เร็วขึ้น โดยการเพิ่มแถบสีแสดงความน่าเชื่อถือของแต่ละข้อความเอาไว้

Pages