ถือเป็นจุดจบของมหากาพย์การหลบหนีของ John McAfee ผู้ก่อตั้งบริษัทแอนติไวรัสชื่อดังและผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมเมื่อกลางเดือนที่แล้ว โดยเขาถูกจับในประเทศกัวเตมาลาเนื่องจากแอบเข้าประเทศอย่างผิดกฏหมาย ตอนนี้ทางการของประเทศกัวเตมาลากำลังหาทางส่งตัว McAfee ออกจากประเทศอยู่ครับ
ข่าวนี้ต่อจากข่าวตำรวจออกประกาศจับผู้ก่อตั้ง McAfee ข้อหาฆาตกรรม ทีมงานของ Wired ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ John McAfee ที่ตอนนี้กำลังหลบหนีการจับกุมของตำรวจเบลีซอยู่ (จริงๆ แล้วคือ John McAfee เป็นฝ่ายติดต่อมา) โดยนอกจากที่เขาบอกว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็มีประเด็นที่น่าสนใจ (และน่าสนุก) อยู่บ้างครับ
John McAfee ผู้ก่อตั้งบริษัทแอนติไวรัสชื่อดัง McAfee ได้ถูกตำรวจประเทศเบลีซออกประกาศจับในข้อหาฆาตกรรมโดยมีผู้เคราะห์ร้ายคือ Gregory Faull ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในบ้านเมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้นั้น Faull เคยไปแจ้งความกับตำรวจเรื่องที่ McAfee เคยใช้อาวุธปืนและแสดงท่าทางก้าวร้าวมาก่อนและดูเหมือนว่าจะเคยทะเลาะกันเกี่ยวกับเรื่องสุนัข ขณะนี้ตำรวจกำลังตามสืบจากเบาะแสต่างๆ และยังไม่ทราบเหตุจูงใจในการฆาตกรรมครั้งนี้
เมื่อวันที่ 31 ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีของนายสุรภักดิ์ โปรแกรมเมอร์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสหน้าแฟนเพจบนเฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่น
เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับนายสุรภักดิ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 จากการชี้เบาะแสของนายมานะชัย ที่แจ้งชื่อและที่อยู่ของนายสุรภักดิ์ว่าเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่น ให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แต่ภายหลังเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตามตัวนายมานะชัยนี้มาเบิกความได้
หลังจากนั้นจึงมีผู้ร้องทุกข์อีกรายหนึ่งได้ตามหาเจ้าของอีเมล dorkao@hotmail.com
และคาดว่าเจ้าของเฟซบุ๊กนั้นเป็นผู้ใช้อีเมลนี้ โดยไม่ทราบว่าเจ้าของอีเมลนี้จริงๆ แล้วเป็นใคร
ศาลฎีกาของฟิลิปปินส์ได้มีคำสั่งระงับการเริ่มใช้งานกฎหมายป้องกันการอาชญากรรมออนไลน์ หรือ Anti-Cybercrime Law แล้ว เนื่องจากรายละเอียดของกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยคำสั่งของศาลในวันอังคารนี้เป็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้รัฐบาลนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ได้
ก่อนหน้านี้กลุ่มสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชนได้อกมาต่อต้านกฎหมายนี้ เพราะมันทำให้การดูหมิ่นบนโลกออนไลน์ผิดกฎหมายและมีโทษมากกว่าคดีหมิ่นประมาทปรกติสองเท่า และนอกจากนี้กฎหมายยังทำให้เกิดการปิดกั้นหรือบล็อคเว็บได้อีกด้วย โดยองค์กรและกลุ่มสื่อเหล่านี้กลัวว่านักการเมืองจะใช้กฎหมายนี้เพื่อปิดปากประชาชน ทำให้ระบบตรวจสอบไม่โปร่งใส
ระหว่างที่ผู้คนในหลายประเทศทั่วโลกกำลังต่อแถวรอหน้า Apple Store เพื่อเป็นเจ้าของไอโฟน 5 เป็นคนแรกๆ ในโลก ที่ญี่ปุ่นได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น เมื่อพบว่ามีมือดีย่องมาขโมยไอโฟน 5 ไปเป็นจำนวนเกือบ 200 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่าสามล้านบาท
ตำรวจเมืองโอซะกะรายงานว่าพบไอโฟนจำนวน 191 เครื่องถูกขโมยไปจากร้านต่างๆ ในตัวเมืองในช่วงกลางดึกวันนี้
Cybercrime Prevention Act of 2012 เป็นกฎหมายแบบเดียวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทยที่เพิ่งผ่านสภาไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีเนื้อหาหลายอย่างน่าสนใจ มันกำหนดโทษให้กับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หลายแบบ เช่น การดักฟัง, การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การรบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์, ตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการหลอกลวง เช่น การทำ phishing
ในช่วงนี้ค่อนข้างจะมีการผุดขึ้นมาของกลุ่มแฮ็กเกอร์ใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผมจึงจะขอแจ้งให้ทราบก่อนว่าผมจะเขียนเฉพาะข่าวที่ผู้อ่านส่วนมากได้รับผลกระทบนะครับ นอกนั้นจะขอยกเว้นครับ
สำหรับข่าวนี้เป็นผลงานของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า NullCrew เหยื่อของการโจมตีนี้ได้แก่เว็บไซต์หลักของ Sony Mobile ซึ่งได้ถูกเจาะเข้าไปและขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าบางส่วนออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผู้โจมตีนั้นยังได้อ้างว่านี่เป็นเพียงหนึ่งจากแปดเซิร์ฟเวอร์ของ Sony ที่ถูกแฮ็ก และได้แอบใบ้ด้วยว่าอาจจะอยู่ในช่วงหมายเลขไอพีใกล้ๆ กันก็เป็นได้
Gottfrid Svartholm Warg หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บบิตทอร์เรนต์ The Pirate Bay ถูกจับกุมตามหมายจับสวีเดนแล้วในกัมพูชา หลังจากแพ้คดีไปตั้งแต่ปี 2009 แต่ยื่นอุทธรณ์ จนเหลือ 10 เดือนในปี 2010 แต่ตัว Warg นั้นไม่ไปรับฟังคำตัดสินอุทธรณ์ ขณะที่คนอื่นๆ รับโทษตามที่พิพากษาไปแล้ว
ปฏิบัติการแฮ็กแหลกของกลุ่ม LulzSec ช่วงกลางปี 2011 เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่เมื่อหัวหน้ากลุ่ม LulzSec ถูก FBI จับกุม ก็ยอมปล่อยข้อมูลของพวกพ้องและส่งผลให้สมาชิกในกลุ่มโดนจับกันอีกหลายคน จากนั้นเรื่องก็ดูเงียบ
นับตั้งแต่รายงานรายละเอียดเกี่ยวกับคดีของนายอำพล (อากง SMS) มาตั้งแต่ต้น ประเด็นหนึ่งที่หลายคนใน Blognone ตั้งคำถามกันคือสุดท้ายแล้วไฟล์ล็อกที่ใช้เป็นหลักฐานนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร ผมเองเคยเห็นไฟล์ล็อกนี้หลังจากเขียนบทความครั้งแรกๆ และสามารถติดต่อทีมทนายของนายอำพลได้ แต่เนื่องจากคดีในตอนนั้นยังไม่สิ้นสุด โดยยังคงอยู่ระหว่างการเตรียมการยื่นอุทธรณ์ผมเองจึงยังไม่ได้ขอให้ทีมทนายเปิดเผยสู่สาธารณะ (เช่นเดียวกับเอกสารความเห็นจาก SR Labs ที่ผมเองก็เคยเห็นก่อนหน้านี้)
มาถึงตอนนี้หลังจากทีมทนายเปิดเผยเอกสารจาก SR Labs ผมจึงอีเมลไปขอเอกสารไฟล์ล็อกที่ใช้เป็นหลักฐานในคดีนี้มาลงในเว็บ เพื่อให้ผู้ที่ติดตามได้เห็นว่าหลักฐานที่ใช้ฟ้องร้องในคดีนี้ จริงๆ มีหน้าตาเป็นอย่างไร
วันนี้คุณพูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายของคุณอำพล (อากง SMS) ได้โพสเอกสารความเห็นในคดีของคุณอำพล มันเป็นเอกสารที่เตรียมไว้สำหรับการยื่นอุทธรณ์ พร้อมกับเตรียมให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Security Research Labs (SR Labs) มาขึ้นศาลเป็นพยานแต่สุดท้ายคุณอำพลตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์เพื่อขออภัยโทษแทน
เอกสารฉบับนี้ออกโดยดร. Karsten Nohl หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของบริษัท สำหรับ SR Labs นี้เป็นบริษัทที่นำเสนองานวิจัยเรื่องการปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อส่ง SMS ในยุโรป ที่งาน 29C3 เมื่อปลายปีที่แล้ว
บ้านของสตีฟ จ็อบส์ในเมืองพาโลอัลโต ถูกขโมยวัย 35 ปีชื่อ Kariem McFarlin บุกขึ้นไปขโมยของ ตามหลักฐานของทางการระบุว่าได้คอมพิวเตอร์และทรัพย์สินอื่นๆ ไป 17 รายการ รวมมูลค่าความเสียหาย 60,000 ดอลลาร์ ตอนนี้จับตัวขโมยได้เรียบร้อย
เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมแต่เพิ่งมาเป็นข่าวเพราะนักข่าวไปค้นพบเรื่องนี้จากเอกสารของสำนักงานอัยการ และตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นบ้านของสตีฟ จ็อบส์ ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าญาติๆ อาจไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นข่าว
ตอนนี้บ้านของสตีฟ จ็อบส์ไม่มีคนอาศัยอยู่เพราะอยู่ระหว่างการปรับปรุง ส่วนอัยการของคดีนี้ให้สัมภาษณ์กับ CNET ว่าขโมยรายนี้ไม่น่าจะรู้ว่านั่นเป็นบ้านของสตีฟ จ็อบส์ แต่คงผ่านมาแล้วเห็นบ้านไม่มีใครอยู่เลยบุกขึ้นไปขโมยของนั่นเอง
รัฐโรดไอแลนด์นั้นเคยตรากฎหมายคล้ายกับพรบ.คอมพิวเตอร์บ้านเรา คือ การห้ามส่งข้อความเท็จ (false information) จะกลายเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายมาตรา 11-52-7 โดยกฎหมายนี้ความตั้งใจเดิมคือการห้ามไม่ให้ปลอมตัวเพื่อไปทำธุรกรรมทางการเงิน หรือหลอกลวงผู้อื่น (เหมือนบ้านเราอีกแล้ว) แต่ในการใช้งานจริง ผลคือการหลอกคนอื่นว่าสวยหรือหล่อกว่าความจริงก็อาจจะกลายเป็นความผิดอาญาไปได้
กลุ่ม Rhode Island American Civil Liberties Union ที่เรียกร้องเสรีภาพทางการพูดระบุว่ากฎหมายมาตรานี้ทำให้คนในรัฐแทบทุกคนกลายเป็นอาชญากร และแม้การโกหกจะเป็นเรื่องที่ผิด มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรเอาผิดทางอาญา
การซ่อนตัวด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน Tor นั้นเป็นเรื่องที่มีกันมานานหลายปีแล้ว จากการเข้ารหัสข้อมูลเป็นชั้นๆ และส่งข้อมูลไปมาทั่วโลก ทำให้การส่งข้อมูลผ่าน Tor ยากที่จะตามหาต้นทางของข้อมูลได้ เอกสารล่าสุดที่เปิดเผยเพราะกฎหมายเปิดเผยข้อมูลของสหรัฐฯ ยืนยันว่าเอฟบีไอเคยต้องหยุดสอบสวนคดีไปเพราะผู้ใช้โพสภาพอนาจารเด็กผ่านเครือข่าย Tor
ในรายงานของเอฟบีไอระบุว่า "ทุกคนที่ใช้เครือข่าย Tor ล้วนเป็นบุคคลนิรนาม จึงไม่มีทางที่จะหาต้นทางของเว็บไซต์ ดังนั้นจึงไม่มีเบาะแสอื่นที่จะหาตัวคนร้ายได้" ทางฝั่ง Tor นั้นออกมาระบุว่าจริงๆ แล้วยังมีทางตามหาคนกระทำความผิดอยู่ โดยเปรียบ Tor เหมือนเลขที่บ้านที่ไม่สามารถบุกรุกได้ แต่การเข้าบ้านจริงๆ ต้องการการบุกบ้านไม่ใช่การบุกป้ายบ้านเลขที่
คำตัดสินจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทที่ศาลอาญาพิพากษาคุณจีรนุช เปรมชัยพร ทำให้หน่วยงานทั่วโลกออกมาแสดงความเห็นนี้อย่างต่อเนื่อง ผ่านไปสองวันหน่วยงานหลักๆ น่าจะแสดงความเห็นกันครบถ้วนแล้ว ก็คงรวบรวมไว้ในข่าวเดียวกัน
คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission - AHRC) ออกแถลงการต่อคดีประชาไทเมื่อวานนี้ แสดงความผิดหวังอย่างรุนแรง (gravely dismayed) กับการการขยายตัวของอันตรายต่อเสรีภาพการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน
Human Rights Watch (HRW) แสดงความเห็นในคดีประชาไทเมื่อวานนี้ว่าการลงโทษผู้ดูแลเว็บด้วยกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นการแสดงถึงการใช้กฏหมายอย่างผิดประเภทมากขึ้นเรื่อยๆ ของรัฐบาลไทย และตัดสินโทษจำคุกเป็นการเพิ่มบรรยากาศความกลัวและผลักดันให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองมากขึ้นในสื่อของไทย
Brad Adams ผู้อำนวยการฝ่ายเอเซียของ HRW ระบุว่าคำพิพากษานี้จะทำให้ผู้ดูแลเว็บและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเซ็นเซอร์การพูดคุยในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความกลัวที่จะต้องโทษเสียเอง และการลงโทษทางอาญากับตัวกลางในอินเทอร์เน็ตเป็นการแสดงว่าขีดจำกัดความอดทนต่อเสรีภาพทางการพูดของไทยนั้นตกลงต่ำสุดอีกครั้ง
ศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและเทคโนโลยี (Center for Democracy and Technology - CDT) ออกแถลงการคัดค้าน (object) คำพิพากษาคดีประชาไท ว่าการลงโทษเว็บมาสเตอร์ที่ดูแลเว็บที่สร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้ (user-generated content) ไม่เพียงแต่ไม่ยุติธรรม แต่ยังเป็นอันตรายต่อการแสดงออกของผู้ใช้โดยรวม การตัดสินเช่นนี้จะทำให้เว็บมาสเตอร์ต้องลบข้อความใดๆ ที่มีความเสี่ยงว่าจะผิดกฏหมายแม้จะมีโอกาสน้อยเพียงใดก็ตาม หรือเว็บมาสเตอร์จำนวนหนึ่งอาจจะเลือกที่จะไม่รับเนื้อหาจากผู้ใช้อีกเลย
ต่อจากกูเกิลที่ออกแถลงการประเด็นคำพิพากษาคดีประชาไทไปในช่วงเย็น สมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporter without Borders / Reporters sans Frontieres - RSF) ก็ออกแถลงการตามมาถึงความเห็นต่อคดีนี้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของไทยนั้นมีบทลงโทษที่ไม่สมสัดส่วนความผิด และคำพิพากษาในคดีนี้เป็นผลร้าย (threat) กับทุกคนที่ให้บริการโฮสต์เนื้อหาที่ให้บริการในประเทศไทย
นอกจากนี้ RSF ยังระบุว่ากฏหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปิดกั้นที่สามารถตีความไปในทางที่ไม่สมเหตุสมผลได้ โดย RSF เสนอว่าการร้องขอให้ลบเนื้อหาออกจากเว็บนั้นควรเป็นอำนาจของศาลเท่านั้นไม่ใช่อำนาจของตำรวจ
ข่าวคดีประชาไทในวันนี้สำนักข่าวจำนวนมากรายงานกันทั่วโลก แต่เรื่องน่าสนใจคือบริษัทที่มีสำนักงานในไทยอย่างกูเกิลก็ออกมาแสดงความกังวลกับการใช้กฏหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างตรงไปตรงมา
กูเกิลยกตัวอย่างบริษัทโทรศัพท์ ว่าต้องไม่ได้รับโทษจากบทสนทนาของผู้โทร เว็บไซต์เองก็ไม่ควรต้องรับผิดจากข้อความบนเว็บไซต์เช่นเดียวกัน แต่การพิพากษาในวันนี้คือการลงโทษเว็บไซต์จากข้อความที่มีผู้อื่นมาโพสต์ พร้อมกับแสดงความกังวลด้านการลงทุน
คำพิพากษาในคดีภาระของผู้ดำเนินการเว็บไซต์ในวันนี้คงมีประเด็นให้ถกเถียงกันอีก ตอนนี้ทาง ThaiNetizen ได้ส่งตัวแทนไปร่วมฟังพิจารณาคดีด้วย และได้ถ่ายภาพเอกสารคำพิจารณามาด้วย
ภาพไม่ชัดสักหน่อย แต่อ่านออกคงเป็นข้อมูลสำหรับการพูดคุยกันต่อไปได้
UPDATE: ผมเพิ่งตรวจพบว่าหน้าสามหายไป กำลังติดต่อขอเอามาวางเพิ่มใหม่ครับ
UPDATE2: เพิ่มครบแล้วครับ
UPDATE3: แก้ไขหัวข้อ เพราะเป็น "ย่อคำพิพากษา"
คดีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ประชาไทมาถึงช่วงเวลาอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันนี้ ศาลพิพากษาให้จำคุกนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ 8 เดือนแต่ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทจากหนึ่งข้อความที่แสดงบนเว็บไซต์เป็นเวลา 20 วันก่อนจะลบออก จากจำนวนความเห็นทั้งหมด 10 ข้อความที่สั่งฟ้อง
ข้อความทั้งสิบข้อความนั้น อีก 9 ข้อความที่เหลือถูกแสดงบนเว็บไซต์ประชาไทเป็นเวลาสิบวันหรือต่ำกว่า ศาลมองว่ากรอบเวลาสิบวันนั้นอยู่ในเวลาอันสมควรและแสดงความไม่ยินยอมตามมาตรา 15 ของพรบ. คอมพิวเตอร์
Thomas Langenbach รองประธาน SAP ถูกจับในร้าน Target หลังเขาเปลี่ยนป้ายบาร์โค้ดเลโก้รุ่น Millennium Falcon ที่มีราคาถึง 279 ดอลลาร์เป็นป้ายที่เขาพิมพ์ขึ้นเองจนเหลือราคาที่เครื่องคิดเงินเพียง 49 ดอลลาร์ รวมของที่เขาเปลี่ยนป้ายราคา 7 รายการมูลค่ากว่า 1,000 ดอลลาร์
หลังการสืบสวนพบว่า Langenbach นำเลโก้ที่ซื้อมาได้ไปขายใน eBay ปีที่แล้วกว่า 2,100 รายการเป็นเงินกว่า 30,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ในบ้านของเขายังมีเลโก้อีกนับร้อยกล่อง
การกระทำที่ต่อเนื่องทำให้ร้าน Target สงสัย Langenbach มาก่อนหน้านี้นานแล้ว และเมื่อเขาเข้าไปในร้านวันนี้ทางหน่วยรักษาความปลอดภัยจึงเฝ้ามองเขาตลอดเวลาจนกระทั่งจ่ายเงินจึงเข้าคุมตัวและเรียกตำรวจ
หลังจากกว่าห้าเดือนหลังคดีคุณอำพล (หรือที่เรียกกันว่า อากง SMS) ถูกพิพากษาในศาลชั้นต้นว่ามีความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์และมาตรา 112 ตามประมวลกฏหมายอาญา คดีได้ดำเนินไปถึงชั้นอุทธรณ์ และคุณอำพลได้ตัดสินใจถอนอุทธรณ์เพื่อขออภัยโทษ แต่หลายเดือนที่ผ่านมาถูกรุมเร้าด้วยโรคมะเร็งตับจนเสียชีวิตเมื่อวานตอนเช้าที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์
คดีคุณอำพลเป็นคดีที่อาศัยกระบวนการสอบสวนทางคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยไฟล์ log และหมายเลขประจำตัวอุปกรณ์ในการชี้ตัวหาผู้กระทำผิด (ความเห็นของผมต่อคดีนี้) และเป็นกรณีศึกษาสำคัญในการสอบสวนคดีทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะประเด็นหลักฐานที่ยังมีคำถามในทางคอมพิวเตอร์อีกมาก