Tags:
Node Thumbnail

คณะกรรมาธิการยุโรปออกกฎใหม่ Digital Markets Act และ Digital Services Act เพื่อกำกับดูแลบริษัท tech เน้นเรื่องการใช้ข้อมูล, การผูกขาดกีดกันการค้า, การสร้างสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัยและไม่กดทับการแสดงออก มีผลต่อบริษัทเช่น Facebook, Google, Amazon, Apple ทางสหภาพยุโรประบุว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎจะโดนโทษปรับสูง 10% ของรายได้ทั่วโลก

Digital Markets Act

Digital Markets Act มีการวางกรอบสิ่งที่บริษัทควรทำและไม่ควรทำกว้างๆ และหากบริษัทไม่ทำตามจะมีโทษปรับสูง 10% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก โดยคณะกรรมาธิการยุโรปมองบริษัท tech เป็นผู้รักษาประตู (gatekeeper) ในตลาดดิจิทัล จึงต้องมีการออกกฎให้แน่ใจว่า ผู้รักษาประตูทำสิ่งที่ถูกต้องและยุติธรรมกับทุกคน

ภายใต้กฎใหม่มีตัวอย่างสิ่งที่บริษัท tech ต้องทำคือ ให้บุคคลภายนอกเข้าไปดำเนินการภายในบริษัทในบางสถานการณ์ได้, อนุญาตให้ผู้ใช้งานทางธุรกิจเข้าถึงข้อมูลที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มของบริษัท, ผู้ลงโฆษณาต้องมีเครื่องมือตรวจสอบและควบคุมโฆษณาของตัวเอง, อนุญาตให้ผู้ใช้ทางธุรกิจโปรโมตข้อเสนอและทำสัญญากับลูกค้านอกแพลตฟอร์ม

ด้านสิ่งที่บริษัทห้ามทำคือ ปฏิบัติต่อผลิตภัณฑ์ของแพลตฟอร์มตัวเองดีกว่าผลิตภัณฑ์ของผู้ค้าภายนอก, กีดกันผู้บริโภคไม่ให้เข้าถึงธุรกิจนอกแพลตฟอร์มของตนเอง, ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ยกเลิกการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือแอปที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้า

No Description

Digital Services Act

เน้นการสร้างอีโคซิสเต็มบนอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยกับผู้ใช้ และไม่กดทับการแสดงออก รวมถึงการจัดการเนื้อหาผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น แอปโซเชียลมีเดียและแอปแชร์วิดีโอทุกขนาดจะต้องจัดลำดับความสำคัญของข้อร้องเรียนที่มาจากคนที่เชื่อถือได้ หรือ trusted flaggers

ร้านค้าออนไลน์ทั้งหมดต้องสามารถติดตามผู้ค้าที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของตนได้ ในกรณีที่มีค้าปลอมหรือสินค้าผิดกฎหมายอื่นๆ, ตรวจสอบตัวตนของผู้ขายก่อนที่จะได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์มรายใหญ่ต้องมีบุคคลภายนอกเข้ามาตรวจสอบว่าได้ทำตามกฎหรือไม่, ต้องเผยแพร่รายงานการจัดการความเสี่ยงรวมถึงการโพสต์เนื้อหาที่ผิดกฎหมายการบิดเบือนข้อมูลที่อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง และการกำหนดเป้าหมายที่ไม่ชอบธรรมแก่ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น

โฆษก Facebook พูดถึงกฎหมายใหม่นี้ว่า มาถูกทางแล้วเพื่อช่วยรักษาสิ่งที่ดีเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และหวังว่าตัว Digital Markets Act จะกำหนดขอบเขตสำหรับ Apple ด้วย เพราะ Apple ควบคุมระบบนิเวศน์ทั้งหมดตั้งแต่อุปกรณ์ไปจนถึงตลาดค้าแอปพลิเคชั่น และใช้พลังนี้ในการทำร้ายนักพัฒนาและผู้บริโภค ไม่เว้นแม้แต่แพลตฟอร์มใหญ่อย่าง Facebook

ด้าน Google แสดงความกังวล ว่ากฎหมายใหม่ดูเหมือนจะกำหนดเป้าหมายเฉพาะบริษัทเพียงไม่กี่แห่งและทำให้ยากต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับธุรกิจขนาดเล็กในยุโรป

ส่วน Apple ยังไม่ออกมาแสดงความเห็นใดๆ

ที่มา - BBC, European Commission 1, 2

Get latest news from Blognone

Comments

By: Be1con
ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
on 17 December 2020 - 10:41 #1190179
Be1con's picture

กฎหมายนี้ แอปเปิลเละครับ...


Coder | Designer | Thinker | Blogger

By: NoppawanConan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 December 2020 - 11:04 #1190188 Reply to:1190179
NoppawanConan's picture

Facebook กับ Google เองก็น่าจะเละด้วยครับ


แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที

By: sinopog664 on 17 December 2020 - 10:59 #1190185

นี่คือข้อดีของการรวมกันเป็นปึกแผ่น อาเซียนเรายังไม่แข็งแกร่งพอที่จะเรียกร้องแบบนี้ได้

By: iqsk131 on 17 December 2020 - 11:10 #1190192

ในยุโรปนี่การป้องการผูกขาดค่อนข้างเข้มงวดนะ คือพยายามป้องกันสุดๆเพื่อไม่ให้บริษัทใหญ่ๆมีอำนาจมากเกินไป

แต่ก็นะ Tech Giant นี่ก็อเมริกาทั้งนั้น ในมุมมองการเมืองถ้าปล่อยให้บริษัทพวกนี้มีอำนาจมากเกินไปมันก็ไม่ต่างอะไรจากการเสียอำนาจส่วนหนึ่งให้ต่างชาตินั่นแหละ เพราะงั้นยุโรปก็คงต้องกระตือรือร้นเรื่องพวกนี้หน่อย

By: api on 17 December 2020 - 11:22 #1190197

มองอีกมุมก็คือ ทางยุโรปแอบกีดกัน บริษัทไอทีอเมริกา

By: StatusQuo
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 17 December 2020 - 11:38 #1190201

บางทีก็สงสัยว่าทำไมผิดกฎยุโรปถึงสามารถปรับได้ 10% ของรายได้"ทั่วโลก"

By: GyG on 17 December 2020 - 14:12 #1190241 Reply to:1190201
GyG's picture

มันกฏหมายของเขาครับ คือจะบังคับใช้สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใน EU ต้องทำตามกฏหมายของเขา
ซึ่งกฏข้อนี้คือ บ. ที่ทำผิดต้องโดนปรับคิดจากจากรายได้ทั่วโลก
ดังนั้นถ้าบ. ไม่อยากโดนปรับ ก็มีแค่ 2 ทางเลือก คือ
1. ไปเปิด บ.ในนอกเขต EU (แต่ก็จะทำตลาดใน EU ยากเพราะมีกฏข้ออื่นบังคับอยู่)
2. เลิกทำตลาดใน EU ไปเลย
มันเป็นกฏหมายแบบจำยอมครับ ไม่ได้หมายความว่า EU จะสามารถไปตามยึดเอาสินทรัพย์ที่อยู่นอก EU ได้
แต่ EU สามารถยึดทรัพย์ที่อยู่ใน EU ตามมูลค่าของข้างนอกที่กฏหมายกำหนดได้

อย่าง USA ก็มีกฏที่บังคับพลเมืองอเมริกันที่อยู่นอกประเทศได้ด้วย เช่น เวลาเราไปเปิดบัญชีธนาคาร
ธนาคารไทยก็จะมีคำถามให้เรากรอกเสมอคือเป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่ เพราะถ้าเป็น ทางธ.ต้องส่งข้อมูลการเงินให้ทางการสหรัฐหากถูกร้องขอด้วยเป็นต้น (กรณีนี้ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐจะสั่งธนาคารในไทยได้ แต่เป็นภาวะจำยอมที่หากธนาคารไทยอยากทำธุรกรรมกับธ.ในสหรัฐก็ต้องปฏิบัติตามนี้ [ถ้าไม่อยากส่งข้อมูลก็ห้ามมาทำธุรกิจกับฉันนะ])

By: iqsk131 on 17 December 2020 - 14:54 #1190252 Reply to:1190201

ผมคิดว่าคุณอาจจะเข้าใจผิด ปรับได้ 10% ของรายได้ทั่วโลก ไม่ได้แปลว่าปรับได้ทั่วโลกครับ

EU เองก็จับปรับได้แค่บริษัทที่ทำผิดใน EU หรือเกี่ยวกับ EU เองแค่นั้นแหละครับ ไม่ได้มีอำนาจไปไล่ปรับได้ทุกบริษัททั่วโลก แค่ปรับเป็นจำนวนเงิน 10% ของรายได้ทั่วโลกแค่นั้นเอง

ถ้าถามว่าทำไมถึงต้องเป็นรายได้ทั่วโลกก็เพราะผลประโยชน์จากการทำผิดมันอาจส่งผลไปถึงรายได้ทั่วโลกครับ เขาก็เลยปรับโดยคิดจากรายได้ทั่วโลก

By: mhbank on 17 December 2020 - 22:39 #1190327 Reply to:1190252

ทำไมไม่เขียนปรับเป็น 50% หรือ 100% ของรายได้ทั่วโลกเลย

By: StatusQuo
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 17 December 2020 - 23:13 #1190330 Reply to:1190252

ก็ไม่คิดว่าปรับได้ทั่วโลก แต่สงสัยว่าทำไมไม่นับเฉพาะรายได้ที่เกิดในเขต EU ถ้ากลัวน้อยเกินไปจะปรับ 30% 50% ของรายได้ที่เกิดใน EU ก็ว่าไป คือประเด็นอยู่ที่ว่ารายได้ทั่วโลกอยู่นอกเหนืออาณาเขตความควมคุมของ EU

By: iqsk131 on 17 December 2020 - 23:31 #1190332 Reply to:1190330

ทำไมถึงต้องเป็นทั่วโลกแทนที่จะเป็น EU? อย่างที่ผมบอกไปครับ ว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการทำผิดเนี่ย มันอาจจะส่งผลถึงรายได้ทั้งโลกไม่ใช่แค่ใน EU อย่างเดียว เพราะงั้นหากปรับแค่รายได้จาก EU อาจจะไม่ใช่ตัวเลขที่เหมาะสมก็ได้

เช่น สมมติบริษัท G ทำโฆษณาขายของให้คนทั้งโลก โดยกีดกันโฆษณาของบริษัทหนึ่งใน EU ที่ตั้งใจจะทำตลาดทั้งโลกเหมือนกัน สมมติว่าการกีดกันครั้งนี้ส่งผลให้รายได้ของ G สูงขึ้นทั่วโลกยกเว้น EU เพราะงั้นถ้าหักแค่รายได้จาก EU ก็จะได้น้อยนิดเดียว ทั้งๆที่ผลประโยชน์ที่ได้จากการกีดกันมันได้มากกว่าแค่รายได้ใน EU

ส่วนรายได้ทั้งโลกเกินความควบคุมไหม? ต้องเข้าใจ 10% ของรายได้ทั้งโลกมันคือจำนวนเงิน ไม่ได้หมายถึงว่าให้หัก 10% จากรายได้ของทุกสาขามาจ่าย จะเอารายได้จาก EU อย่างเดียวมาจ่ายก็ได้ไม่มีใครว่า มันเป็นแค่ตัวเลขกำหนดจำนวนเงินเฉยๆ เพราะงั้นมันไม่อยู่นอกเหนือการควบคุมหรอกครับ เพียงแค่ว่าการกำหนดตัวเลขที่ว่ามันจะสมเหตุสมผลไหมมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง (แต่ส่วนตัวผมมองว่ารายได้จากทั่วโลกมันสมเหตุสมผลกว่ารายได้จาก EU ครับ)

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 19 December 2020 - 16:36 #1190530 Reply to:1190330

บริษัทข้ามชาติ มีธุรกิจทั่วโลก การให้คิดเฉพาะรายได้แค่ EU ทำได้ยาก เพราะมันคำนวนยาก โยงใยกันซับซ้อน แถมมีโอกาสทำ transfer pricing โยกกำไร หรือ ไป recognize profit ใน tax haven นอกยุโรปได้อีก บริษัทอาจไม่ยอมเปิดเผยรายได้ในยุโปรที่แท้จริง

การกำหนดให้คิดจากรายได้ทั้งหมดทั่วโลก (ดูงบ consol.) จะทำให้ กม มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากกว่า ไม่ต้องตีความมาก

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 18 December 2020 - 02:00 #1190338
big50000's picture

น่าแปลก

positive reaction ดันมาจาก Facebook ส่วน negative reaction มาจากบริษัทเมก้าเทค