Tags:
Node Thumbnail

ปีนี้ ARM เปิดตัวซีพียูสำหรับรถยนต์ออกมาหลายรุ่น ตอนนี้ผู้ผลิตที่นำพิมพ์เขียวมาผลิตอย่างซัมซุงก็ประกาศผลิตซีพียูตระกูลรถยนต์ ในชื่อ Exynos Auto V9

Exynos Auto V9 ใช้แกน Cortex-A76 8 คอร์ กราฟิก ARM Mali G76 อีก 3 ชุด พร้อมวงจร DSP อีก 4 ชุด และหน่วยประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ กระบวนการผลิตจะใช้เทคโนโลยี 8 นาโนเมตร

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิปนี้รองรับจอภาพ 6 จอ, กล้อง 12 ชุด กราฟิกสามชุดทำให้สามารถแสดงข้อมูลการขับขี่กลาง, จอสำหรับความบันเทิงผู้โดยสารอีกสองจอได้พร้อมกัน

ทาง Audi เลือกใช้ชิปตัวนี้พัฒนาระบบความบันเทิงในรถแล้ว และคาดว่าจะเปิดตัวรถจริงปี 2021

Tags:
Node Thumbnail

ใกล้ถึงวันงาน CES 2019 เดือนนี้แล้วสื่อต่างๆ ก็จะฝุ่นตลบด้วยข่าวสารของฮาร์ดแวร์ชิ้นใหม่ที่รอการเปิดตัว ล่าสุด e-katalog ร้านค้าออนไลน์จากรัสเซียก็เผยสเปคและราคาของ Ryzen เจนเนอเรชันที่ 3 ออกมาหลายรุ่นมาก ซึ่งผลิตภายใต้สถาปัตยกรรม Zen 2 ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 7 นาโนเมตรเป็นครั้งแรกบนเครื่องเดสก์ท็อประดับเมนสตรีม

ที่น่าสนใจคือชิปเรือธงอย่าง Ryzen 9 3800X จะมากับ 16 คอร์ 32 เธรด กับค่า TDP 125 วัตต์ คือเพิ่มจำนวนคอร์เป็นสองเท่าของ Ryzen 7 2700X แต่ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิม 20 วัตต์ ที่คล็อก 3.9GHz (บูสต์ที่ 4.7GHz) และยังเป็นซ็อกเก็ต AM4 เหมือนเดิม เมนบอร์ดรุ่นปัจจุบันและรุ่นเก่าคาดการว่ารองรับได้ด้วยการอัปเดตไบออส

รุ่นรองลงไปจาก Ryzen 9 3800X ในตารางระบุว่าเป็น Ryzen 7 3700X (12 คอร์ 24 เธรด) ที่น่าสนใจคือสปีดตั้งไว้ที่ 4.2GHz และบูสต์ได้ที่ 5GHz ที่ค่า TDP 105 วัตต์ ไล่เรียงลงไปถึง Ryzen 3 3300 ที่ก็ได้มาถึง 6 คอร์ 12 เธรด ที่ค่า TDP 50 วัตต์

ที่มา - e-katalog ผ่านทาง Videocardz

Tags:
Node Thumbnail

Arm เปิดตัวซีพียู Cortex-A65AE ซีพียูสำหรับระบบอัตโนมัติในรถยนต์รุ่นที่สอง หลังจากเปิดตัว Cortex-A76AE ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ความน่าสนใจเป็นพิเศษคือ Cortex-A65AE เป็นซีพียูรุ่นแรกที่มีฟีเจอร์ simultaneous multithreading (SMT) หรือที่รู้จักกันในซีพียู x86 ในชื่อ hyperthreading ทำให้สามารถรันสองเธรดได้ในคอร์เดียว

Tags:
Node Thumbnail

MIPS สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง (Insrtruction Set Architecture - ISA) เคยเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมหลัก แต่ก็ลดความสำคัญลงไปมากหลังจาก ARM เริ่มครองตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างเบ็ดเสร็จ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา Wave Computing สตาร์ตอัพด้านปัญญาประดิษฐ์เข้าซื้อ MIPS Technologies และตอนนี้ทาง Wave ก็ออกมาประกาศเตรียมโอเพนซอร์สทั้งสถาปัตยกรรม R6 รุ่นล่าสุด ภายใต้โครงการ MIPS Open

หากเป็นไปตามแผน MIPS จะกลายเป็นคู่แข่งกับสถาปัตยกรรม RISC-V ที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงหลัง โดยปีที่แล้ว WD ผู้ผลิตสตอเรจรายใหญ่ก็ประกาศใช้ชิป RISC-V

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลติดหล่ม 14 นาโนเมตร นับตั้งแต่การออก Skylake ในปี 2015 ก็ยังไม่สามารถก้าวข้ามมายัง 10 นาโนเมตรได้ตามแผน ทำให้ยุทธศาสตร์ Tik-Tok ต้องล่มสลาย และนับจากนั้นเป็นต้นมา เราก็ยังอยู่กับสารพัดทะเลสาบ (lake) ที่ใช้สถาปัตยกรรมเดิมของ Skylake ที่ปรับแต่งเล็กน้อย บนกระบวนการผลิต 14 นาโนเมตรดังเดิม

(หมายเหตุ: อินเทลมี Cannon Lake 10 นาโนเมตร แต่เพียงแค่รุ่นเดียวและผลิตจำนวนจำกัดมาก)

แต่ปี 2019 สถานการณ์น่าจะเปลี่ยนไป เพราะอินเทลดูพร้อมแล้วสำหรับ 10 นาโนเมตร แถมยังเปิดตัวสถาปัตยกรรมใหม่ Sunny Cove ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 4 ปีนับจาก Skylake เป็นต้นมา เรียกได้ว่า Sunny Cove เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการผลิตและสถาปัตยกรรมไปพร้อมกันในรุ่นเดียว

Tags:
Node Thumbnail

Qualcomm เปิดตัวชิป Snapdragon 8cx ซีพียูสำหรับพีซีโดยเฉพาะ เป็นชิปผลิตด้วยเทคโนโลยี 7 นาโนเมตร และรองรับ Windows 10 Enterprise

ส่วนประกอบสำคัญของ 8cx คือส่วนกราฟิก Adreno 680 ที่ Qualcomm ระบุว่าเป็นส่วนกราฟิกที่ประสิทธิภาพสูงสุดที่เคยมีมา ประสิทธิภาพสูงกว่า Snapdragon 850 ถึง 3.5 เท่า รองรับ DirectX 12 สามารถต่อจอ 4K ได้สองจอพร้อมกัน

ซีพียู Kryo 495 ขยายขนาดแคชรวมเป็น 10MB เชื่อมต่อแรม LPDDR4 8 ช่อง รองรับสตอเรจ NVMe และ UFS 3.0

โมเด็มของ 8cx เป็น Snapdragon X24 ตัวเดียวกับ Snapdragon 855 รองรับ LTE 7CA เท่ากัน รองรับการชาร์จไฟ QuickCharge 4+

Tags:
Node Thumbnail

Qualcomm แถลงถึงสินค้าใหม่ที่จะเปิดตัวในงาน Snapdragon Summit 2018 ที่กำลังจัดในช่วง 4-7 ธันวาคมนี้ โดยมีสินค้า 3 ตัวสำคัญ

Tags:
Node Thumbnail

ข่าวที่น่าสนใจจากงาน AWS re:Invent 2018 คือ EC2 เปิดตัวเครื่องประเภท A1 ที่ใช้ซีพียู ARM แถมเป็นซีพียู ARM ที่ Amazon ออกแบบเองทั้งหมดด้วย

AWS ให้ข้อมูลของซีพียูตัวนี้ว่าชื่อ Graviton พัฒนาบนสถาปัตยกรรม ARM และออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนเป็นหลัก (เมื่อเทียบกับ x86) รูปแบบงานที่ AWS แนะนำให้รันบน A1 คืองานที่สามารถแตกเป็นเวิร์คโหลดขนาดเล็กๆ แล้วสเกลตามจำนวนเครื่องได้ เช่น container, microservice, webserver, caching เป็นต้น

Tags:
Node Thumbnail

นอกจาก สถาปัตยกรรม Zen 2 แล้ว AMD ยังโชว์ซีพียูของจริงที่ใช้สถาปัตยกรรมตัวใหม่นี้ พร้อมใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรรุ่นใหม่ล่าสุด นั่นคือซีพียู EPYC รุ่นหน้ารหัส "Rome"

ข้อมูลของ EPYC "Rome" เท่าที่เปิดเผยคือ ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 และมีจำนวนคอร์สูงสุด 64 คอร์, รองรับ PCIe 4.0, เพิ่มแบนด์วิดท์หน่วยความจำอีกเท่าตัว, ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากรุ่นก่อน และประสิทธิภาพด้านการประมวลผลทศนิยมเพิ่มขึ้น 4 เท่า

EPYC "Rome" ยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดียวกับ EPYC รุ่นปัจจุบัน (โค้ดเนม "Naples") และจะรักษาความเข้ากันได้กับ EPYC ตัวถัดไป (โค้ดเนม "Milan")

EYPC "Rome" จะวางขายในปีหน้า 2019 แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาชัดเจน

Tags:
Node Thumbnail

AMD เผยรายละเอียดของสถาปัตยกรรมซีพียู Zen 2 ซึ่งเป็นการอัพเกรดครั้งใหญ่จากสถาปัตยกรรม Zen (14 นาโนเมตร) และ Zen+ (12 นาโนเมตร) ในปัจจุบัน

จุดต่างสำคัญของ Zen 2 คือแนวทางการออกแบบแยกส่วน (modular design) ที่เรียกว่า chiplet หรือการใช้ชิปหลายตัวมาเชื่อมต่อกันด้วยบัสความเร็วสูง AMD Infinity Fabric แต่ทั้งหมดอยู่ในแพ็กเกจซีพียูเดียวกัน

นอกจากนั้นแล้ว AMD ยังปรับปรุงเรื่อง execution pipeline, branch predictor, instruction pre-fetching ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น, เพิ่มความแม่นยำของทศนิยมไปเป็น 256 บิต รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ และแก้ปัญหาช่องโหว่ Spectre ไปบางส่วนด้วย

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวซีพียูตระกูล Xeon ใหม่สองตัว ได้แก่ Xeon E-2100 สำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นล่าง และซีพียูรหัส "Cascade Lake" ที่จะวางขายช่วงครึ่งแรกของปี 2019

กรณีของ Xeon E-2100 ไม่มีอะไรพิเศษนัก เพราะเป็นการอัพเกรดตามรอบปกติ และอินเทลเคยเปิดตัวมาก่อนแล้วครั้งหนึ่ง (รอบนี้คือเริ่มวางขายจริง) ซีพียูแบ่งออกเป็น 10 รุ่นย่อย มีตั้งแต่ 4/4 คอร์ไปจนถึง 6/12 คอร์, คล็อคตั้งแต่ 3.3GHz ไปจนถึง 3.8GHz รายละเอียดดูได้จาก สไลด์ของอินเทล

Tags:
Node Thumbnail

สื่อฮาร์ดแวร์ต่างประเทศเริ่มทยอยออกรีวิวซีพียู Intel Core 9th Gen ที่เพิ่งเปิดตัว โดยมีทั้งพี่ใหญ่ Core i9-9900K (8 คอร์ 16 เธร็ด), น้องกลาง Core i7-9700K (8 คอร์ 8 เธร็ด), น้องเล็ก Core i5-9600K (6 คอร์ 6 เธร็ด)

Core 9th Gen ใช้สถาปัตยกรรม Coffee Lake Refresh ซึ่งถ้าจะไล่สายย้อนกลับไปแล้ว มันคือ Skylake Refresh Refresh Refresh เพราะมีจุดตั้งต้นจากสถาปัตยกรรม Skylake ที่ออกครั้งแรกในปี 2015 และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่อีกเลย

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อเดือนมิถุนายน อินเทลโชว์ซีพียูสายเดสก์ท็อปตัวแรงที่สุด 28 คอร์ เรียกเสียงฮือฮาไม่น้อย (แม้การรันโชว์ที่ 5GHz เป็นแค่การโอเวอร์คล็อคก็ตาม) เมื่อคืนนี้มันเปิดตัวแล้วในชื่อ Intel Xeon W-3175X จับตลาดกลุ่มเวิร์คสเตชัน

Xeon W-3175X เป็นซีพียู 28 คอร์ 56 เธร็ดที่อิงอยู่บนสถาปัตยกรรม Skylake/Cascade Lake มีคล็อคพื้นฐานที่ 3.1GHz และสามารถบูสต์ไปได้ถึง 4.3GHz สเปกอย่างอื่นคือแคชขนาดใหญ่ถึง 38.5MB, รองรับแรม DDR4 6-channel 2666MHz สูงสุดที่ 512GB, เลน PCIe สูงถึง 68 เลน และแน่นอนว่าความแรงขนาดนี้ต้องแลกมาด้วย TDP สูงถึง 265 วัตต์

Tags:
Node Thumbnail

นอกจากซีพียู Core 9th Gen รุ่นสำหรับตลาดคอนซูเมอร์คือ Core i9/i7/i5 อินเทลยังเปิดตัว Core X-series รุ่นที่สองมาพร้อมกัน

Core X-series เปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 (พร้อม Core i9 ตัวแรกสุดในประวัติศาสตร์) มันถูกวางตัวให้อยู่เหนือกว่าซีพียู Core i3/i5/i7/i9 รุ่นปกติ โดยมีจุดเด่นที่จำนวนคอร์เยอะๆ และสมรรถนะด้าน I/O จับกลุ่มตลาด content creator ที่เน้นงานด้านประมวลผลวิดีโอ/กราฟิก

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากรอกันมานาน อินเทลก็เปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่เก้า (9th Generation) โดยชุดแรกเป็นซีพียูสำหรับเดสก์ท็อป 3 ตัว 3 ระดับคือ Core i9, i7, i5 ดังนี้

  • Intel Core i9-9900K 8 คอร์ 16 เธร็ด, คล็อคพื้นฐาน 3.6GHz คล็อคสูงสุด 5.0GHz
  • Intel Core i7-9700K 8 คอร์ 8 เธร็ด, คล็อคพื้นฐาน 3.6GHz คล็อคสูงสุด 4.9GHz
  • Intel Core i5-9600K 6 คอร์ 6 เธร็ด, คล็อคพื้นฐาน 3.7GHz คล็อคสูงสุด 4.6GHz

ซีพียูทั้ง 3 รุ่นมีค่า TDP 95 วัตต์เท่ากัน มันใช้สถาปัตยกรรม Coffee Lake Refresh และยังใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 14 นาโนเมตรเช่นเดิม เท่ากับว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวสถาปัตยกรรมหลัก (เป็นแค่ 'refresh') และกระบวนการผลิต

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ช่วงหลังอินเทลประสบปัญหาสินค้าซีพียูไม่เพียงพอต่อความต้องการ จน Bob Swan ซีเอฟโอและรักษาการซีอีโอ ต้องออกมาแถลงผ่านเว็บไซต์ถึงปัญหานี้

Swan ยอมรับว่าสินค้าของอินเทลขาดแคลนจริงๆ และเหตุผลสำคัญเป็นเพราะ ตลาดพีซีกลับมาเติบโตอีกครั้งในรอบ 6 ปี ทั้งจากปัจจัยพีซีเกมมิ่งบูม และพีซีสำหรับธุรกิจกลับมาขายดี

สิ่งที่อินเทลทำในตอนนี้คือให้ความสำคัญกับการผลิตซีพียูตลาดบน ทั้ง Xeon และ Core ก่อน ส่งผลให้สินค้าตลาดล่าง (เช่น Pentium/Celeron) หาได้ยาก โดยอินเทลแก้ปัญหาโดยเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานที่ใช้เทคโนโลยี 14 นาโนเมตรในปัจจุบัน และเร่งพัฒนาเทคโนโลยี 10 นาโนเมตรให้พร้อมในปี 2019 ตามที่สัญญาไว้

Tags:
Node Thumbnail

แอปเปิลเปิดตัวไอโฟนรุ่นใหม่สามรุ่นวันนี้ พร้อมกับซีพียูรุ่นใหม่ คือ Apple A12 Bionic ซีพียูโทรศัพท์มือถือตัวแรกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 7 นาโนเมตร

ภายในชิปมี 6 คอร์แบ่งเป็น คอร์ประสิทธิภาพสูง 2 คอร์ และคอร์ประหยัดพลังงานอีก 4 คอร์ โดยทุกคอร์สามารถทำงานได้พร้อมกัน และคอร์กราฟิก 4 คอร์ประสิทธิภาพสูงกว่า A11 สูงสุด 50%

แต่จุดที่แอปเปิลชูเป็นจุดเด่นที่สุดคือ Neural Engine คอร์สำหรับประมวลผลโมเดล machine learning ที่ขยายจำนวนคอร์ เป็น 8 คอร์ เพิ่มพลังประมวลผลเป็น 5 ล้านล้านรายการต่อวินาที เทียบกับ 6 แสนล้านรายการต่อวินาทีใน A11 โดยรวมทำให้ Core ML ทำงานเร็วขึ้นสูงสุด 9 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

นอกจาก AMD เปิดตัว Athlon รุ่นใหม่ในร่าง APU วันนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Ryzen Pro ซีพียูสำหรับภาคธุรกิจรุ่นที่สอง ใช้แกนตัวเดียวกับ Ryzen รุ่นที่สองที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2018

Ryzen Pro ชุดที่เปิดตัวมีด้วยกัน 3 รุ่นย่อยคือ

Tags:
Node Thumbnail

AMD คืนชีพแบรนด์ Athlon กลับมาอีกครั้ง (ก่อนหน้านี้คือ Athlon X4 ซีพียูจับตลาดล่างที่ตัวสุดท้ายออกปี 2017) คราวนี้ Athlon กลับมาในร่างของ APU (ซีพียู+จีพียู)

จุดเด่นของ Athlon ร่างใหม่คือมันใช้แกนซีพียูตัวใหม่สถาปัตยกรรม Zen และจีพียู Radeon Vega ส่วนกลุ่มเป้าหมายยังเป็นพีซีราคาถูก (ต่ำกว่า Ryzen 3 โดยถือเป็นคู่แข่งของ Pentium/Celeron ในปัจจุบัน)

Athlon รุ่นใหม่มีด้วยกัน 3 รุ่นย่อยคือ 200GE, 220GE, 240GE โดยตอนนี้ยังมีเพียง Athlon 200GE เผยข้อมูลสเปกมาเพียงตัวเดียว มันใช้ซีพียู 2 คอร์ 4 เธร็ด สัญญาณนาฬิกา 3.2GHz, จีพียู Radeon Vega 3, อัตรา TDP 35 วัตต์ ราคาขายตัวละ 55 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,800 บาท)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Mark Papermaster ซีทีโอของ AMD ให้สัมภาษณ์กับ CRN ถึงสถานการณ์การแข่งขันในวงการหน่วยประมวลผล ที่ AMD สามารถพลิกฟื้นตัวเองกลับมาต่อกรได้ในทุกสมรภูมิ ไม่ว่าจะเป็น Ryzen, Radeon หรือ EPYC

ประเด็นสำคัญคือ แผนการของ AMD ที่พร้อมแล้วสำหรับ 7 นาโนเมตร ในขณะที่คู่แข่งอินเทลยังติดอยู่กับ 14 นาโนเมตร และมีแผนชิป 10 นาโนเมตรได้ในปลายปี 2019 หรือต้นปี 2020

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวซีพียู Core กินไฟต่ำรหัส U (15 วัตต์) และ Y (5 วัตต์) ตัวใหม่ โค้ดเนม Whiskey Lake (U) และ Amber Lake (Y) สำหรับโน้ตบุ๊กสายบางเบาและอุปกรณ์ 2-in-1 ที่จะออกขายช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ทั้ง Whisky Lake และ Amber Lake จะยังนับเป็น Core 8th Gen เช่นเดิม ยังไม่ข้ามเป็น 9th Gen และมีการเปลี่ยนแปลงจาก Core U/Y ตัวก่อนหน้านี้ที่เป็น Kaby Lake Refresh เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จุดหลักคือผนวกเอาชิปเซ็ตเข้ามาในตัว SoC รวมถึงคอนโทรลเลอร์ USB 3.1 และชิปไร้สาย 802.11ac ด้วย (แต่ยังไม่มีชิป Thunderbolt 3 มาให้ในตัว ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กต้องใส่เพิ่มเอง)

Tags:
Node Thumbnail

บั๊กซีพียู Spectre & Meltdown ที่ประกาศในตอนต้นปี 2018 ส่งผลสะเทือนไปทั่วโลก และทางแก้ในปัจจุบันยังมีแค่การแพตช์ช่องโหว่ระดับเฟิร์มแวร์-OS ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของซีพียูด้วย

อินเทลสัญญาว่าจะแก้ไขช่องโหว่ที่ระดับฮาร์ดแวร์ในซีพียูรุ่นถัดๆ ไป และตอนนี้ก็เริ่มเผยข้อมูลของ Cascade Lake ซีพียูตัวใหม่ที่เริ่มแก้ปัญหาไปบางส่วนแล้ว

Cascade Lake เป็นโค้ดเนมของซีพียู Xeon Scalable รุ่นถัดไป (รุ่นปัจจุบันออกปี 2017 อยู่บนสถาปัตยกรรม Skylake) แต่ยังใช้การผลิตระดับ 14 นาโนเมตรเช่นเดิม และมีกำหนดวางขายภายในปีนี้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว Cortex-A76 มาตั้งแต่กลางปีโดยระบุแต่ต้นว่าจะมีประสิทธิภาพระดับแล็ปท็อป ตอนนี้ก็มีการคาดการณ์ (forward-looking) ว่าสินค้าที่ออกมาจริงจะมีประสิทธิระดับเดียวกับซีพียู Intel Core i5-7300U ขณะทำงานในโหมด Turbo เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วย SPECint 2006 แต่กินพลังงานเพียง 5 วัตต์ ขณะที่ Core i5 กินพลังงาน 15 วัตต์

แม้ตัวเลขจะน่าประทับใจแต่ควรตระหนักว่า SPECint เป็นแนวทางการวัดที่ค่อนข้างเก่า ตัวอย่างการวัดประสิทธิภาพ เช่น การทำงานของ Perl 5.8.7, การบีบอัดไฟล์ด้วย bzip2, หรือการคอมไพล์โปรแกรมด้วย gcc 3.2 ขณะที่ SPEC เองมีมาตรฐานการวัดความเร็วซีพียูใหม่ๆ เช่น SPEC CPU 2017

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากปล่อยข่าวออกมาตบหน้าอินเทลในงาน Computex เมื่อเดือน มิ.ย. ค่าย AMD ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวซีพียูรุ่นท็อป Threadripper รุ่นที่สองอย่างเป็นทางการ

Threadripper รุ่นที่สองใช้แกน Zen+ ตัวเดียวกับ Ryzen รุ่นที่สอง มีทั้งหมด 4 รุ่นย่อยคือ

Tags:
Node Thumbnail

เป็นที่ทราบกันดีว่า AMD มีธุรกิจรับผลิตหน่วยประมวลผลแบบ custom สำหรับคอนโซล โดยทั้ง Xbox One และ PS4 ต่างใช้ซีพียูที่ดัดแปลงจากสถาปัตยกรรม Jaguar ที่ออกในปี 2013

ล่าสุด AMD นำซีพียูสถาปัตยกรรม Zen ไปดัดแปลงให้กับเครื่องเกมคอนโซลสัญชาติจีนชื่อ Zhongshan Subor ที่จะวางขายช่วงปลายปี 2018

หน่วยประมวลผลรุ่นดัดแปลงนี้ใช้ซีพียูแกน Zen จำนวน 4 คอร์ 8 เธร็ด รันที่คล็อค 3.0GHz ส่วนจีพียูเป็น Vega ที่มีจำนวนหน่วยประมวลผล 24 หน่วย คล็อค 1.3GHz แรม 8GB GDDR5 รวมเข้ามาเป็น SoC ตัวเดียว

บริษัท Zhongshan จะออกสินค้าที่ใช้ชิปตัวนี้ทั้งในรูปพีซีและคอนโซล

Pages