กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้อง Google ฐานละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหลังจากมีรายงานว่าเตรียมยื่นฟ้องไปในเดือนสิงหาคม โดยบอกว่า Google ทำสัญญาจ่ายเงินหลายพันล้านเหรียญต่อปีให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เพื่อให้ใช้กูเกิลเป็นบริการค้นหาเริ่มต้น ซึ่งกระทวงยุติธรรมมองว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด
ทนายความของกระทรวงฯ ระบุว่า Google ทำสัญญาจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อย่าง Apple, Samsung และ Motorola รวมถึงเบราวเซอร์เกือบทุกตัว และบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ AT&T, Verizon และ T-Mobile เพื่อให้ Google เป็น search engine ตั้งต้นในสมาร์ทโฟนและเบราว์เซอร์ของบริษัทดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมจึงมองว่าการได้เป็นบริการค้นหาเริ่มต้น ถือเป็นการกีดกันคู่แข่ง
Google โต้แย้งกลับว่ามุมมองของกระทรวงฯ ที่มอง Google เทียบกับคู่แข่ง Search Engine รายเล็ก ถือเป็นการมองในมุมแคบเกินไป เพราะยังมีบริษัทรายใหญ่อื่น ๆ อีกที่เป็นคู่แข่งของ Google เช่น TikTok, Meta และ Amazon
นอกจากนี้ Google ระบุว่าทำสัญญากับ Apple และ Mozilla มาตั้งนานแล้ว และสาเหตุที่บริษัททำสัญญาแบ่งรายได้กับ Mozilla ก็เป็นเพราะต้องการสนับสนุน Mozilla ที่ให้บริการผู้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
การพิจารณาคดีนี้จะเกิดขึ้นในปีหน้า
ที่มา: Bloomberg
Comments
ิเอ จ่ายหนักกว่ามันก็คือวิธีชนะสำหรับการแข่งขันในระบอบทุนนิยมไม่ใช่เหรอ?
ถ้าห้ามจ่ายหนักกว่าแล้วจะเรียกว่า "แข่งขัน" ได้ยังไง
น่าจะเข้าข่าย ทุ่มตลาด
ในหลักทุนนิยม ถูกครับทำยังไงก็ได้ให้ชนะ มันดีต่อบริษัทแน่นอน
แต่ทุนนิยมที่ดีจะต้องถูกกำกับเพื่อให้เกิดสภาพการแข่งขันด้วยรัฐครับ เพราะมิเช่นนั้นแล้วจะถูกกินรวบ และผลเสียจะเกิดกับประชาชนที่ไม่มีทางเลือก
กรณีนี้ไม่รู้ว่าทางออกของปัญหาคือยังไงครับ ห้ามกูเกิลแค่เจ้าเดียวหรือยังไง ผมไม่แน่ใจ จะเข้าข่าย discriminate หรือไม่ครับ
สำหรับถ้าผลสรุปว่าผูกขาดจริงก็ต้องหาวิธีการที่ลดการผูกขาดครับ ซึ่งบางวิธีการถึงแม้ว่าจะดูลำเอียงมากในทางธุรกิจก็จะต้องทำเหมือนกัน สมมติว่าแบ่งส่วนของบริษัทไปขายให้บริษัทคู่แข่งเลยก็เป็นได้
ถ้าไม่ให้คนจ่ายหนักที่สุดเป็นค่าเริ่มต้น แล้วจะกำหนดว่าใครเป็นค่าเริ่มต้นยังไงอะ? จับฉลากเอา? หรือห้ามกำหนดค่าเริ่มต้นเลย ต้องให้ผู้ใช้เป็นคนเลือกเท่านั้น? (แล้วก็ไปแข่งกันจ่ายอีกทีว่าใครจะอยู่ในลิสลำดับก่อนหลัง อะไรแบบนี้?)
ถ้ามีคนยอมจ่ายหนักกว่าแต่ไม่ได้เป็นก็ว่าไปอย่างนึง (ถ้าเป็นแบบนั้นก็หมายความว่า Google อาจมีเงื่อนไขแฝงที่พยายามกีดกัน) แต่ถ้าค่ายอื่นไม่ได้เป็นเพราะจ่ายหนักไม่เท่า Google มันก็เป็นการแข่งขันปกตินะ
เข้าใจว่าที่ GG โดนเพราะมีอำนาจเหนือตลาดครับ (Market share >50%)
การที่ GG ทำแบบนี้ ถือว่ากีดกันรายย่อย และทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน
ถ้าเป็นเจ้าเล็กๆทำ ไม่น่ามีปัญหา
การที่ Google จำเป็นต้องจ่ายหนักก็เพราะว่ามันยังมีการแข่งขันอยู่ครับ
และถ้า Google ชนะการแข่งขันนี้ด้วยจำนวนเงินแค่อย่างเดียว ผมมองว่านั่นคือการแข่งขันที่แฟร์แล้ว เพราะไม่ว่าบริษัทไหนก็สามารถสู้ได้ถ้ายอมจ่ายหนักกว่าโดยไม่จำเป็นต้องมีอำนาจเหนือตลาดหรือส่วนแบ่งสูงอะไร
ถ้า Google สู้ด้วยอำนาจเหนือตลาดอื่นๆนอกจากจำนวนเงิน เช่น ห้ามเข้าใช้ GMS หรือห้ามลงแอปใน Play Store อะไรแบบนี้ ทำให้แม้บริษัทอื่นจะจ่ายมากแค่ไหนก็ไม่ได้สิทธินี้มา อันนี้แหละคือการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันของจริง แต่ถ้า Google ไม่ได้ใช้อะไรพวกนั้น ผมว่ามันก็แฟร์แล้วนะครับ
ก็ต้องรอดูครับว่าที่ Google ได้มาซี่งสิทธิค่าเริ่มต้นเนี่ย มันมีเงื่อนไขแฝงอะไรนอกจากเงินไหม ถ้ามีหลักฐานอะไรทำนองว่าเจ้านี้เคยจ่ายเยอะกว่าแต่ก็ไม่ได้สิทธินี้ก็อาจจะเอาผิดได้
แน่นอนว่าการที่ได้เป็นค่าเริ่มต้นทำให้เจ้าอื่นแข่งขันยากจริง (ไม่ว่าเจ้าไหนได้เป็นก็ตาม) ถ้าอยากกระตุ้นการแข่งขันก็อาจจะต้องห้ามไม่ให้กำหนดค่าเริ่มต้นใดๆเลยหรืออะไรทำนองนี้ ก็สามารถตัดสินให้ยกเลิกดีลขอเป็นค่าเริ่มต้นของ Google ได้ แต่ถึงอย่างนั้นผมก็มองว่า Google ไม่ได้ละเมิดหรือทำผิดอะไรครับที่ทุ่มเงินเพื่อเอาสิทธินี้มา (ทำนองเดียวกับพวกยกเลิกดีลซื้อกิจการ ถึงจะโดนยกเลิกเพราะเรื่องการผูกขาดแต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาทำผิดหรือต้องเสียค่าปรับอะไร)
เงินคือ "Resource" นะครับ บริษัทเล็กๆ ไม่มี Resource พอจะไปสู้เจ้าใหญ่ๆได้เลย ถ้าใช้ตรรกะแบบนี้
แปลว่าบริษัทเล็กๆ ไม่สามารถแข่งขันได้ครับ
นี่คือหลักการของการต่อต้านการผูกขาดครับ และผมก็มองว่าหน่วยงานรัฐ ทำถูกต้องแล้ว
ทุกการแข่งขัน มันก็แข่งขันกันด้วย Resource ทั้งนั้นครับ ไม่ว่าจะเงิน พนักงาน เวลา วัตถุดิบ หรือใดๆก็ตาม การใช้ Resource พื้นฐาน (หมายถึง Resource ที่ทุกเจ้าสามารถหามาใช้ได้อย่างเสมอภาค) แข่งกันผมว่ามันก็เป็นการแข่งขันที่แฟร์แล้วนะครับ
ในแง่ของการป้องกันการผูดขาดนั้น การใช้ Resource ที่มาจากการเป็นเจ้าตลาดหรือจากธุรกิจประเภทอื่นๆในเครือหรืออะไรที่เจ้าอื่นๆไม่สามารถหามาได้อย่างเสมอภาคกันมันผิดแน่นอนครับ แต่เงินผมว่ามันไม่ใช่ครับ ผมมองว่ามันเป็นแค่ Resource พื้นฐานที่เจ้าไหนๆก็สามารถหามาได้ เพราะงั้นผมมองว่าการใช้เงินเพื่อแข่งขันไม่น่าจะเข้าข่ายการใช้อำนาจเหนือตลาดครับ
แน่นอน ผมเห็นด้วยว่าการที่ได้เป็นค่าเริ่มต้นมันทำให้แข่งขันยาก แต่นั่นมันคนละเรื่องกับเรื่องที่ Google ทำผิดเพราะใช้เงินซื้อสิทธิที่ว่าครับ ผมมองว่าอย่างมากก็ล้มสัญญาและห้ามให้มีการกำหนดค่าเริ่มต้นตลอดไปก็แค่นั้น ไม่ได้มองว่า Google ทำผิดเพราะใช้อำนาจเหนือตลาดและจำเป็นต้องโดนลงโทษแต่อย่างใดครับ
นั่นคือมุมมองของคุณครับ ไม่ได้บอกว่าคุณผิดนะ
แต่รัฐไม่ได้มองแบบนั้น หน้าที่เค้าคือป้องกันการผูกขาด
ผมก็มองในมุมของรัฐครับ แต่เรื่องนี้มันมีอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องการป้องกันการผูกขาด และเรื่องการเอาผิด Google
เรื่องการป้องกันการผูกขาด ผมเห็นด้วยกับรัฐครับว่าเรื่องการกำหนดค่าเริ่มต้นมันทำให้เจ้าอื่นแข่งยาก และควรต้องจัดการอะไรซักอย่างเพื่อให้เกิดการแข่งขันมากกว่านี้ครับ
แต่เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วยคือเรื่องที่ฟ้องว่า Google ทำผิดหรือละเมิดครับ ถ้าสิ่งที่ Google ทำมีแค่ใช้เงินเพื่อซื้อสิทธิค่าเริ่มต้นเฉยๆโดยไม่มีเงื่อนไขแฝงครับ (แต่ถ้ายังมีเงื่อนไขแฝงอย่างห้ามของติดตั้งคู่แข่งอะไรแบบนี้อย่างข่าวเมื่อ 2 ปีก่อนก็เป็นอีกเรื่องนึง)
"เรื่องการป้องกันการผูกขาด ผมเห็นด้วยกับรัฐครับว่าเรื่องการกำหนดค่าเริ่มต้นมันทำให้เจ้าอื่นแข่งยาก และควรต้องจัดการอะไรซักอย่างเพื่อให้เกิดการแข่งขันมากกว่านี้ครับ"
สิ่งที่คุณพูดมานั่นแหละครับ ทำให้แข่งยาก คือการผูกขาด การป้องกันต้องทำตอนที่ยังไม่ผูกขาดนะครับ สิ่งที่ GG ทำคือทำให้คนอื่นไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งคือจุดเริ่มต้น การผูกขาด
ผมบอกแล้วไงครับว่ามันมีอยู่ 2 เรื่อง
เรื่องที่คุณว่ามันคือป้องกันการผูกขาดซึ่งผมก็บอกแล้วว่าผมเห็นด้วยว่าควรจะทำอะไรซักอย่าง เช่น จะเบรก Google ด้วยการยกเลิกดีลและห้ามให้มีการกำหนดค่าเริ่มต้น อะไรแบบนี้เป็นต้น
แต่อีกเรื่องที่ผมพูดถึงคือเรื่องที่ Google ทำผิดหรือไม่ครับ ทุกการกระทำใดๆที่ทุกบริษัททำมันส่งผลให้ได้เปรียบคู่แข่งอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้ามันมากเกินไปก็ควรจะเบรกเพื่อป้องกันการผูกขาด แต่นั่นไม่ได้แปลว่าบริษัทนั้นทำผิดเสมอไป ซึ่งผมมองว่าถ้าการกระทำใดๆเป็นไปอย่างแฟร์และไม่ได้ใช้อำนาจเหนือตลาด มันไม่ได้ผิด เพราะงั้นอย่างมากก็แค่โดนเบรกไว้เท่านั้นเอง
ประโยคแรกที่ผมเขียนเลยนะ
เข้าใจว่าที่ GG โดนเพราะมีอำนาจเหนือตลาดครับ (Market share >50%)
ถ้ายังไม่เข้าใจ ต้องหาอ่านเองแล้วละครับ ผมพยายามบอกไปหมดแล้ว
ประโยคแรกของคุณมันไม่ได้ตอบคำถามผมนี่ครับ
การ "มี" อำนาจเหนือตลาดไม่ได้เป็นเรื่องผิดครับ (แต่เป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง) มีบริษัทอีกมากมายที่มีอำนาจเหนือตลาด ที่ผิดคือการ "ใช้" อำนาจเหนือตลาดต่างหาก และผมมองว่าการใช้เงินซื้อมันไม่ได้เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดครับ
ย้ำอีกครั้งนะครับ ผมกำลังคุยเรื่องที่ว่า Google "ผิดหรือไม่" นะครับ
แปลว่าคุณกับผมเข้าใจเรื่อง "การผูกขาด" คนละอย่างแล้วละครับ
แต่แปลกดีนะครับ ถ้าเป็นอย่างที่คุณเข้าใจ แปลว่าหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำอยู่แล้ว
แปลกๆนะ
หมายความว่ายังไงเหรอครับ?
ผมก็เข้าใจตรงเหมือนกันกับคุณนะครับเรื่องที่ว่าถ้าปล่อยไปแบบนี้มันจะแข่งยากและ Google จะผูกขาดตลาดไปเลย สมควรที่จะต้องทำอะไรซักอย่าง ที่ผมกับคุณเห็นไม่ตรงกันมันก็แค่เรื่องที่ว่ามันผิดหรือไม่แค่นั้นเอง
นอกจากนี้.. หน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบนะครับ ถ้าเขาเข้าใจอย่างสมบูรณ์แบบจริง มันก็ไม่จำเป็นต้องมีพิจารณาคดีแล้วครับ สั่งปรับได้เลยไม่ต้องรอ ที่มันยังจำเป็นต้องมีพิจารณาคดีอยู่ก็เพราะมันอาจจะมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนกันอยู่ครับ
แล้วก็ผมย้ำบอกตั้งแต่คอมเมนต์แรกครับว่า "ถ้า Google ใช้แค่เงินโดยไม่มีเงื่อนไขแฝง" ในความเป็นจริง มันอาจจะมีเงื่อนไขแฝงและทางหน่วงงานเขาตั้งใจจะฟ้องเรื่องนี้ก็ได้ (แบบข่าวเมื่อ 2 ปีก่อน ลองกด Link ย้อนในบทความนี้ดูครับ) เพียงแต่ในบทความนี้และบทความต้นฉบับเขาพูดถึงแค่เรื่องการใช้เงิน และผมก็แสดงความเห็นออกไปตามนั้นครับ
การมีอำนาจเหนือตลาดทำให้มีพลัง/อำนาจ/อิทธิพลสูงขึ้นและเป็นผลเสียต่อระบบได้ในหลายครั้งครับ ถ้ามากเกินไปน่ะนะ
แต่มันไม่ใช่ขาวกับดำ มันมีเฉดตรงกลางที่ต้องคอยดูว่าตอนไหนตรงไหนที่จะเหมาะสม ถึงต้องมีการพิจารณาว่าอันนี้รอดหรือไม่รอดกันไปเรื่อยๆ ด้วยแหละครับ
เรื่องนั้นผมเข้าใจครับ เรื่องแบบนี้มันต้องพิจารณาและปรับใช้ไปเรื่อยๆ หลายๆครั้งก็ต้องทำได้แค่ว่าเป็นเคสๆไป และเคสนี้ผมมองว่าก็น่าจะต้องทำอะไรซักอย่างให้มันแข่งขันง่ายขึ้น
แต่มันเป็น "คนละเรื่อง" กับการเอาผิดครับ อย่างที่บอกมาว่าหลายครั้งมันต้องพิจารณากันเป็นเคสๆ ไม่ได้มีกฎชัดเจนครบถ้วนว่าอะไรทำได้ไม่ได้ เพราะงั้นหลายๆครั้งที่บางบริษัทไม่ได้ทำอะไรผิดหรือขัดอะไรเลย แต่มัน(อาจจะ)ส่งผลเสียกับการตลาดโดยรวม ก็อาจจะโดนเบรกไว้ แต่ก็ไม่ได้โดนเอาผิดหรือปรับเงินแต่อย่างใด (อย่างพวกเคสการควบกิจการอะไรแบบนี้ ถึงจะล้มดีล แต่ก็ไม่ได้มีการปรับเงิน)
และเคสนี้ผมก็มองว่าถ้าแค่ใช้เงินซื้อก็ไม่น่าจะผิดอะไรครับ (แน่นอน นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำอะไรกับ Google เลย เอาผิดก็เรื่องนึง ปรับเปลี่ยนสัญญาก็อีกเรื่องนึง)
นึกถึง ie ของไมโครเลย ที่มันติดมากับเครื่อง แล้วก็ห้ามคนอื่นด้วย สุดท้ายก็โดนไป หรือ ebook ของเอเปิล ต้องดูว่ามันกีดกันตลาดไหม นี้แหละ
เคส IE ของ Microsoft ไม่ใช่แค่ห้ามติดตั้ง browser ตัวอื่นๆ ผ่าน OEM (แต่ลูกค้าก็ยังติดตั้งภายหลังได้)
แต่ Microsoft bundle IE มาใน OS ระดับ core ของระบบ และการเข้าเว็บจากจุดต่างๆ ในตัว OS จะเด้งเข้า IE ทั้งหมด มีการใช้ประโยชน์ IE ในส่วนของ Active Desktop เพื่อช่วยในการนำเสนอ content จาก MSN ฯลฯ ที่เป็น portal ของ Microsoft เลยเจอฟ้องผูกขาด เพราะ browser เจ้าอื่นไม่สามารถทำได้แบบที่ Microsoft ทำ
อันนั้นคือใช้อำนาจเหนือตลาดครับ ในกรณีนี้ก็คือการใช้ของในเครือตัวเองทำให้ได้เปรียบ อย่าง Microsoft ก็ใช้เรื่อง Windows ส่วน Apple ก็ใช้เรื่อง App Store (เคส Apple กับ E-book เหมือนจะมีประเด็นฮั้วกันด้วยมั้งครับ?)
เคสนี้ก็ต้องดูครับว่าถ้า Google มีการใช้เงื่อนไขพ่วงอย่างเช่น ถ้าไม่เป็นค่าเริ่มต้นก็ห้ามใช้ GAPP หรือห้ามลงแอปใน Play Store หรือมีเงื่อนไขกีดกันอย่างห้ามลง Search Engine เจ้าอื่นๆอะไรแบบนี้ก็มีโดนแน่ๆ แต่ถ้า Google แค่จ่ายเงินมากที่สุด ส่วนตัวผมว่าไม่ผิดครับ (แต่ไม่ได้แปลว่าจะไม่ทำอะไร Google นะ เพราะการเป็นค่าเริ่มต้นมันทำให้เจ้าอื่นแข่งยากจริง ก็อาจจะมีปรับอะไรซักอย่างแหละ)
ไม่รู้ Microsoft จะดีใจหรือเสียใจที่ Google ไม่ได้อ้างว่า Bing เป็นคู่แข่ง
จริง ๆ สัญญา Google กับ Mozilla ค่อนข้างน่าเป็นห่วงเลยนะครับ ถ้าไม่มีงบนี้หรือต่อสัญญาในอนาคต เงินงบจะหายไปเยอะมากกระทบ Mozilla หนักพอควร
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ตลาดเบราว์เซอร์ safari chrome Firefox รวมกันกี่พันล้านเครื่องเป็นdefaultกูเกิลหมดมันก็ต้องเข้าข่ายผูกขาดได้แหละ
มันเคยมีข่าวประมาณ apple ขอขึ้นราคาค่า default ใน safari ซึ่งถ้า google ไม่จ่ายก็จะกลายเป็นเจ้าอื่นมาจ่ายแล้วได้ default ไป
ก็ตรงตามที่เขาฟ้อง ว่าจ่ายหนักสุดเพื่อรักษาอันดับหนึ่งในตลาด
ต้องให้ไม่เป็น Default Google คนก็จะหาวิธีเข้า Google เอง เพราะมันค้นหาตรงใจกว่าชาวบ้าน
เห็นความเห็นหลายๆ ท่านเรื่อง การแข่งขันในระบบทุนนิยม เลยคิดขึ้นมาเล่นๆ ว่า ถ้าต่อไปรายย่อยเล่นบท"เหยื่อ" ใช้สายป่านย้อนกลับ เช่น ร่วมมือกันไม่แข่ง ปล่อยให้เจ้าใหญ่ทุ่มตลาดไป แล้วฆ่าทิ้งด้วยการเจ้าใหญ่ทั้งเสีย resource เพื่อแข่งขัน และเสีย resource ทั้งค่าปรับ แล้วรายย่อยยอมอดทนจนเจ้าใหญ่ suffer หนักๆ ค่อยกลับมาแข่งกันต่อ มันจะพอเป็นไปได้มั้ยครับ คิดเล่นๆ เฉยๆ
คิดว่าคนที่จะตายคือรายย่อยมากกว่า ถ้าปล่อยให้ใครได้ครองตลาดส่วนใหญ่จะโค่นไม่ลงแล้วเพราะถ้าได้กินรวบเมื่อไหร่รายได้มันเยอะกว่าค่าปรับมาก ไหนจะต้องพิสูจน์ในชั้นศาลอีกระหว่างที่รอก็กินยาวๆไป
เข้าใจละครับ
ถ้าค่าปรับทำอะไรไม่ได้แบบนี้ เรียก "ภาษีความเป็นเจ้าตลาด" จะตรงความหมายกว่า "ค่าปรับ" นะครับเนี่ย เพราะสุดท้ายก็เหมือนคุ้มค่าที่จะโดนปรับ 🥲
เจ้าใหญ่ๆนั้น ทุนหนานะ กว่าจะพัง รายย่อยน่าจะไปก่อนนานแล้ว แถมมาเสียเวลารอ แทนที่จะค่อยๆพัฒนาไป
เราคิดว่า การปรับรายใหญ่ มันเหมือน rebalance สมดุลของเกมมากกว่า
แอดมิน มีเจตนาแค่ nerf รายใหญ่ที่ dominated server อยู่
ไม่งั้นเกมมันเสียสมดุล (ผู้เล่นคนเดียวเล่นกวาดผู้เล่นเกินครึ่ง server)
แต่ไม่ได้จะฆ่าทิ้ง
(ในเซิฟ ยังมีผู้เล่นอันดับรองอยู่ ถ้าฆ่ารายใหญ่รายนึงไป แล้วระบบเหมือนเดิม เดี๋ยวก็มีคนอื่นมาแทนที่อยู่ดี
ถ้าทำมั่ว ๆ ดีไม่ดี เจอหนักกว่าเดิมอีก (ลองเทียบเคส russian oligarchs)
แถมมันยังมี event global tournament ที่ต้องไปแข่งชิงแชมป์ระดับโลก สู้กับผู้เล่นจากเซิฟต่างชาติอยู่
ถ้าคนดูแลเซิฟฆ่าผู้เล่นรายใหญ่ไปแบบมั่ว ๆ กลายเป็นว่า เซิฟนี้จะไม่เหลือผู้เล่นเวลสูง ๆ เลย
ในอนาคตผู้เล่นคนอื่นหรือผู้เล่นหน้าใหม่ ก็อาจจะยี้ เลี่ยงหรือหนีออกจากเซิฟนี้กัน
เพราะเป็นที่รู้กันว่า กลุ่มแอดมินมีนโยบายปรับจูนสมดุลเกม แบบโนสนโนแคร์ผลกระทบ
ก็ก่อนหน้านี้ เราที่เป็นผู้เล่นทำตามกติกาที่แอดมินวางไว้มาโดยตลอด เราเสี่ยงเติมเงินเข้าเกม นั่งเสียเวลาอัพเวล
แต่วันดีคืนดี แอดมินเล่นเปลี่ยนกติกา แล้วลงโทษเราหนัก ๆ เฉย
นี่มันปรับสมดุลเกม หรือ จงใจแกล้งเนี่ย)
นอกจากนี้ เรื่องการไปปรับรายใหญ่
ฝั่งรายใหญ่เอง ก็ติดของเทพทั้งตัว
เพชรก็เยอะ
ต่อให้โดน nerf ไป แต่ stat เยอะ
สายป่านยาว
ทนได้อีกนาน
แถมยังกดเติมกาชาปองได้เรื่อย ๆ
สมมติไปเล่น global tournament แข่งชิงแชมป์ระดับโลกด้วย ก็ยังเข้าไปเล่นได้เรื่อย ๆ
อาจติดอันดับ top 100 กับเขาได้อีก เพราะขนาดโดน nerf ยัง stat เยอะ แถมยังคอยอัพเวลขึ้นตลอด
ส่วนผู้เล่นอื่น ๆ stat น้อย
ระหว่างทาง ถ้าเล่นไม่อัพเวลเลย (ไม่แข่งขันเลย ตกลงกันว่า จะไม่เพิ่มรายได้ ไม่ลดรายจ่าย ไม่ปรับปรุงของที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม)
ในขณะที่รายใหญ่ที่โดน nerf ยังอัพเวลอยู่
รายย่อยจะสายป่านหมดก่อน หรือ อัพเวลตามไม่ทัน
แข่ง local tournament ก็อยู่อันดับเดิม ๆ
พอไปแข่ง global tournament ระดับโลก ข้ามเซิฟ ก็มีแต่จะอันดับบ๊วยลง ๆ กว่าเดิม
ส่วนที่บอกว่า รายย่อยจำนวนมากวางแผนจะร่วมมือกันไม่แข่งขัน (กลุ่มผู้เล่นรายเล็กจำนวนมาก ที่ค่า stat น้อย ๆ, ไม่ติดอันดับ local tournament, global tournament ไม่ dominated อะไรในเซิฟเลย จะร่วมมือกันทำ cartel???)
มันก็มีข้อที่น่ากังขาอีก ตรงที่ว่า กลุ่มรายย่อยจำนวนมากที่ว่านี้ จะฮั้วเกียร์ว่างจนทำให้ระดับราคามันกระดิกได้ไหม และ มันจะสามัคคีกันได้นานแค่ไหน (มากคน ก็มากความ)
เพราะหลาย ๆ ครั้ง มันก็เกิด Prisoner's dilemma
สมมติว่า รายย่อยจำนวนมากที่ว่า ฮั้วกันเกียร์ว่าง ไม่แข่งขัน แล้วมันเกิดผล
ทำให้ระดับราคาสินค้าหรือบริการ sector ที่เกี่ยวข้อง มันดีดขึ้นได้ราวปาฏิหาริย์
ผลประโยชน์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ มันก็จะสร้างแรงจูงใจ ล่อใจให้สมาชิกบางคนในกลุ่มฮั้วเกียร์ว่าง แอบลักไก่โกง ละเมิดข้อตกลงเกียร์ว่างที่ทำไว้กับสมาชิกอื่น
พอโดนสมาชิกคนอื่นจับได้ ก็เสี่ยงเกิดปัญหาพันธมิตรฮั้วเกียร์ว่าง แตกสามัคคีกันเองอีก
ต่อให้เอาเสิร์จเอนจิ้นเจ้าอื่นมาเป็น Default แต่คนก็จะหาวิธีไปหาใน Google อยู่ดี เพราะ Google ผลการค้นหามันแม่นยำกว่าชาวบ้าน แบบนี้จะให้ทำไง