Tags:
Node Thumbnail

สำนักงข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน 6 คน ระบุว่าแอปเปิลยกเลิกแผนที่จะให้บริการสำรองข้อมูลบน iCloud โดยเข้ารหัสแบบ end-to-end ที่จะทำให้แอปเปิลเองไม่สามารถอ่านข้อมูลใดๆ ได้ หลังจากที่ FBI แสดงความไม่เห็นด้วยเนื่องจาก FBI จะขอข้อมูลไม่ได้เช่นกัน

โครงการนี้แบ่งเป็นสองโครงการคือ Plesio และ KeyDrop มีผู้เชี่ยวชาญทำงานรวมกันประมาณสิบคน แหล่งข่าวระบุว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดหยุดพัฒนาโครงการนี้ไปแล้ว

ก่อนหน้านี้ FBI เคยร้องขอให้แอปเปิลปลดล็อกโทรศัพท์มาแล้วหลายครั้ง เพื่ออ่านข้อมูลในไอโฟนโดยตรง โดยที่ผ่านมาแอปเปิลต่อสู้กับ FBI อย่างหนัก ตัวทิม คุกเองแถลงโดยตรงว่าการสร้างรอมเพื่อให้ FBI เข้าถึงข้อมูลได้เช่นนี้เป็นอันตราย และจะกระทบต่อผู้ใช้ในวงกว้าง

แม้แอปเปิลจะต่อสู้ไม่ยอมทำรอมพิเศษเพื่อปลดล็อกไอโฟน แต่ข้อมูลบน iCloud ที่แอปเปิลอ่านได้โดยตรงนั้นก็ส่งให้หน่วยงานรัฐในคดีต่างๆ เมื่อได้รับการร้องขอ การที่แอปเปิลไม่ยอมเปิดตัวฟีเจอร์เข้ารหัสเพิ่มเติมเช่นนี้กลายเป็นว่าแอปเปิลปล่อยให้มีช่องทางเข้าถึงข้อมูลได้

แหล่งข่าวระบุว่าแผนของแอปเปิลวางแผนจะเข้ารหัสข้อมูลบน iCloud แบบ end-to-end จนกระทั่งแอปเปิลเองไม่สามารถอ่านข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองออกมาได้ และทาง FBI แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างหนักจนแอปเปิลยกเลิกแผนการไป แหล่งข่าวหนึ่งระบุว่าแอปเปิลเองก็เห็นด้วยที่จะเปิดช่องทางให้หน่วยงานรัฐเข้าถึงข้อมูลได้

ที่มา - Reuters

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: มายองเนสจัง
iPhone
on 22 January 2020 - 01:31 #1144903
มายองเนสจัง's picture

บางทีก็พูดยากนะ
ฝั่งนึงก็เรื่องคดี อีกฝั่งก็privacy

By: Delphic on 22 January 2020 - 08:37 #1144912 Reply to:1144903
Delphic's picture

นั้นสิ เป็นผมอาจจะทำเป็นปิดตาข้างหนึ่งก็ได้ ข้อมูลลับนั้นอาจจะช่วยหยุดเหตุร้ายก่อนมันจะเกิดขึ้น

By: sudoku144
AndroidUbuntuWindows
on 22 January 2020 - 10:54 #1144931
sudoku144's picture

privacy or security

By: rattananen
AndroidWindows
on 22 January 2020 - 11:06 #1144935

ดักฟังจนเคยตัว

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 22 January 2020 - 15:38 #1144976 Reply to:1144935
Bigkung's picture

เหรียญสองด้าน ตัวอย่างถ้ายังดักไม่ได้ต่อไป แล้วมีการวางแผนฆ่าทำลายล้างยกจังหวัด ไม่ก็ระเบิดแบบหายทั้งจังหวัดเลยซึ่งมีบ้านคุณ ลูก เมีย พ่อ แม่ ของคุณอยู่ในจังหวัดนั้น คุณอยากให้เขาดักข้อมูลได้ก่อน เพื่อไประงับก่อนมีการปฎิบัติการ หรือรอให้เกิดเหตุก่อนค่อยตามเก็บซากผู้เสียชีวิตครับ ปัฐหาตอนนี้ที่ apple ยอมอาจเพราะการก่อการน้ายมันรุนแรงขึ้น

ส่วนอีกด้านการดักฟังไอ้คนดักก็อาจเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อตัวเองได้เช่นกัน ตัวเทคโนโลยีไม่ผิดหรอก แต่ดันมีโจรใช้การเข้ารหัสในการก่อการไง การเข้าระหัสแบบนี้เลยจะโดนระงับ ต้องโทษคนพวกนั้นครับ เพราคเทคโนโลยีนี้ใครๆก็เข้าถึงได้ เป็นสิทธิพื้นฐาน ถ้ามีเงิน

By: i3i4i5
ContributoriPhoneWindows
on 22 January 2020 - 18:06 #1144988 Reply to:1144976
i3i4i5's picture

ขึ้นกับความเสี่ยงด้วยครับ อย่างการก่อการร้ายนอกพื้นที่เสี่ยงโอกาศเกิดน้อย ยิ่งโอกาศที่คนร้ายจะใช้เทคโนโลยีที่เปิดโอกาศให้ดักฟังก่อนก่อเหตุได้ยิ่งน้อยลงไปอีก ที่น่าตลกคืออย่างเหตุกราดยิงหลายครั้งคนร้ายโพสเตือนเป็นสาธาราณะลงเว็บอย่าง 8chan หรือ Facebook ด้วยซ้ำ

ส่วนแอปเปิ้ล แหล่งข่าวต้นฉบับเขียนว่าพนักงานเก่าแอปเปิ้ลบอกแอปเปิ้ลไม่อยากถูกฟ้องจากหน่วยงานรัฐเพราะช่วยปกป้องคนร้ายหรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกฏหมายจำกัดการเข้ารหัส ก็ดูเหมือนว่าแอปเปิ้ลคงอยากทำหลังมุมมองของประชาชนต่อการเข้ารหัสเปลี่ยนไปก่อน

การเก็บข้อมูลดังฟังสเกลใหญ่มีโอกาศผิดได้อีก อย่างข่าวเร็วๆนี้มีคนฟ้องตำรวจที่จับเขาผิดจากข้อมูลโลเคชั่นที่ได้มาจากกูเกิ้ล

By: pe3z
Writer
on 23 January 2020 - 12:35 #1145073 Reply to:1144976

ขอเสนอความเห็นในมุมต่างครับ

  • ผมไม่คิดว่าการยินยอมเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลจะช่วยระงับเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพขนาดนั้น และในขณะเดียวกัน มีวิธีอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่ามากในการจะใช้เพื่อระงับเหตุแทนที่จะพุ่งเป้าไปที่การระบุแนวโน้มของการเกิดเหตุจากประชากรกลุ่มใหญ่ที่สร้างข้อมูลได้มหาศาล
  • ถึงแม้ไม่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานโดยตรง การใช้งานเทคโนโลยีที่ footprint ไว้เป็นจำนวนมากอยู่แล้วซึ่งเราก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันจะถูกใช้เพื่อสังเคราะห์ fact อย่างไรได้บ้าง (ซึ่งเอาเข้าจริงก็อาจถือว่าเป็น privacy violation แล้วด้วย) ดังนั้นคำถามในประเด็นนี้ที่เราอาจต้องถามต่อคือประสิทธิภาพที่เราใช้ความเป็นตัวส่วนตัวแลกไปมันคุ้มค่าแค่ไหน
  • ต่อจากประเด็นด้านบนซึ่งพูดเฉพาะด้านความคุ้มค่า เราในฐานะของเจ้าของข้อมูลก็จำเป็นจะต้องมีสิทธิ์ต่อข้อมูลของเราเช่นเดียวกัน ซึ่งนั่นหมายถึงความสามารถในการยินยอมหรือไม่ยินยอม หรือทราบได้ว่าข้อมูลของเราจะถูกใช้โดยใครและใช้อย่างไร การมี transparency อาจมีส่วนช่วยในประเด็นของการใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเองได้อยู่ คือการเปิดช่องทางให้สามารถถูกตรวจสอบได้ครับ
By: nrml
ContributorIn Love
on 23 January 2020 - 12:54 #1145075 Reply to:1144976
nrml's picture

มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยครับ ตามความเห็นของผมเรื่องการก่อการร้ายในสเกลใหญ่ๆ มันน่าจะมีช่องทางในการเข้ารหัสที่คนทั่วไปสังเกตได้ยาก ดีไม่ดีข้อความหรือรหัสพวกนั้นก็สื่อสารกันโต้งๆ ตาม social media นี่แหละ ด้วยคำทั่วๆ ไป เพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกต ส่วนการจะดูข้อมูลในเครื่องอะไรพวกนี้ผมว่ามันสะดวกสำหรับคดีทั่วๆ ไปมากกว่า

ซึ่งถ้าตามความเห็นของผมก็ยังอยากให้มีการเข้ารหัสอยู่เช่นเดิม