อัพเดต LINE Thailand ประกาศแก้ไขข่าวนี้ โดยบอกว่า LINE VOOM ปิดบริการเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น แต่ในประเทศไทยยังให้บริการต่อไปตามปกติ
Jeremy Vaught เจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ @music ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2007 สมัยบุกเบิก ประกาศว่าเขาถูกบริษัท X Corp ยึดบัญชี @music ไปดื้อๆ ด้วยเหตุผลว่าชื่อนี้เป็นของบริษัท และเสนอชื่อใหม่ 3 ชื่อให้เขาเลือกแทน ได้แก่ @musicmusic @music123 @musiclover ซึ่ง Jeremy บอกว่าล้วนเป็นชื่อที่มีเจ้าของอยู่แล้วเช่นกัน สุดท้ายเขาจึงเลือกชื่อ @musicfan แทน
การยึดบัญชี @music คืนนั้นคล้ายกับกรณีของบัญชี @X ก่อนหน้านี้ ที่เจ้าของบัญชีเดิมบอกว่าไม่ได้รับเงินแต่อย่างใด และเป็นการเสนอชื่อบัญชีใหม่ให้แทน
ส่วนบัญชี @music ตอนนี้มีไอคอน X โผล่มาด้านหลังแล้ว และโพสต์รูปภาพศิลปินดัง Ed Sheeran ถือป้ายตัว X โดยยังไม่บอกว่าจะนำไปใช้ทำอะไร
Sensor Tower รายงานตัวเลขผู้ใช้งานแอป Threads ซึ่งตัวเลขผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs - Daily Active Users) อยู่ที่ 13 ล้านบัญชี เป็นตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องอีกสัปดาห์ คิดเป็นลดลง 70% จากจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม
นอกจากจำนวนผู้ใช้งานลดลง ตัวเลขระยะเวลาใช้งานในแอปเฉลี่ยก็ลดลงด้วย จากสูงสุด 21 นาที ล่าสุดอยู่ที่ 4 นาที ตัวเลขจาก SimilarWeb ที่เก็บเฉพาะผู้ใช้ Android ในอเมริกา ก็ออกมาทำนองเดียวกัน คือจากสูงสุด 21 นาที มาอยู่ที่เฉลี่ย 5 นาทีต่อวัน
เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น Sensor Tower บอกว่า Twitter ตอนนี้มีผู้ใช้งาน DAUs ประมาณ 200 ล้านบัญชี ระยะเวลาใช้งานเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน
Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อแท็บ Facebook Watch มาเป็น Facebook Video เพื่อให้สะท้อนทุกรูปแบบของวิดีโอที่ชมได้ ทั้งไลฟ์, วิดีโอสั้น Reels และวิดีโอยาวแบบปกติ
หน้าตาของ Facebook Video ยังเหมือนเดิมเกือบทุกอย่าง แต่เพิ่มเซคชัน Reels แบบในหน้า Feed หลักเข้ามาให้ และเลื่อนแนวขวางเพื่อดูคลิปสั้น Reels อื่นๆ ได้
Facebook Video ยังเพิ่มเซคชั่น Explore เมื่อกดปุ่มค้นหา ซึ่งจะแสดงรายการวิดีโอแนะนำตาม hashtag แบบเดียวกับหน้า Explore ของ Instagram และหากผู้ใช้เชื่อมบัญชี Facebook+Instagram ของตัวเองเข้าด้วยกัน ยังสามารถชมคลิปจาก Instagram Reels พร้อมคอมเมนต์ได้จากแอพ Facebook โดยตรงด้วย
ข่าวนี้คงไม่เกินคาดเดาของทุกคน แต่ตัวเลขที่ว่าคือเท่าใดกันแน่
CNBC รวบรวมข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาดแอป Sensor Tower และเว็บเก็บทราฟิก SimilarWeb ว่าด้วยจำนวนการใช้งาน Threads แอปโซเชียลตัวใหม่ของ Meta ที่มีรูปแบบคล้ายกับ Twitter ซึ่งเปิดตัวอย่างร้อนแรง มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านบัญชี ในเวลาเพียง 5 วัน และทราฟิกของ Twitter ก็ลดลงในช่วงดังกล่าว
ข้อมูลของ Sensor Tower พบว่าจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs - Daily Active Users) ช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ลดลง 20% เมื่อเทียบกับตัวเลขเมื่อวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม ระยะเวลาที่คนใช้งานในแอปต่อวัน (Time Spent) ก็ลดลงจาก 20 นาที เหลือ 10 นาที
Threads แอปโซเชียลใหม่จาก Meta ผ่านหลักสำคัญโดยมีจำนวนผู้สมัครใช้งานมากกว่า 100 ล้านบัญชีแล้ว ในเวลาประมาณ 4 วัน หลังจากเปิดตัว
สถิติการเติบโตของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มนี้แซงแชมป์ก่อนหน้าอย่าง ChatGPT ไปด้วยอัตราเร่งสูง โดยตอน ChatGPT นั้น ใช้เวลา 2 เดือน จึงมีผู้ใช้งานครบ 100 ล้านบัญชี
จำนวนผู้ใช้งานขนาดนี้อาจมีความหมายสูงสำหรับ Twitter ที่มีผู้ใช้งานประมาณ 229 ล้านบัญชี แต่ซีอีโอ Mark Zuckerberg เคยตอบไว้ว่าแนวทางหาเงินจากแพลตฟอร์มจะมาเมื่อผู้ใช้งานถึง 1 พันล้านคน จึงเป็นเรื่องที่รอดูกันต่อไป
หลังการเปิดตัวแอพ Threads ก็มีความสับสนอยู่บ้างด้านคำศัพท์ที่ควรใช้เรียกนามหรือกริยาต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวแอพ เพราะผู้ใช้อาจนำศัพท์ที่เคยใช้ใน Twitter มาเรียก โดยศัพท์ที่ Meta ระบุมีดังนี้
Linda Yaccarino ซีอีโอของ Twitter (ที่หลายคนอาจลืมไปแล้วว่ามีตัวตนอยู่) ออกมาโพสต์ข้อความถึงภัยคุกคามจาก Threads แอพใหม่ของบริษัท Meta ว่าบริษัทเราถูกเลียนแบบอยู่เสมอ แต่ไม่มีใครสามารถทำซ้ำความเป็นชุมชนของ Twitter ได้
We're often imitated -- but the Twitter community can never be duplicated.
Yaccarino บอกว่าที่ Twitter เสียงของทุกคนมีความหมาย (On Twitter, everyone's voice matters.) ไม่ว่าจะเป็นการตามสถานการณ์แบบเรียลไทม์ แสดงความคิดเห็น หรืออ่านความคิดของคนอื่นๆ พวกคุณช่วยกันสร้างชุมชนนี้ขึ้นมา ซึ่งมันไม่สามารถถูกแทนที่ได้เลย ที่นี้คือลานคนเมืองของคุณให้มาพูดคุยกัน
Threads ยังคงมีประเด็นใหม่เพิ่มเติมอีก รวบรวมมาไว้ที่เดียวในข่าวนี้ครับ (ข่าวเก่า)
เรื่องแรกเป็นสิ่งที่หลายคนคาดเดาไว้ว่าเมื่อ Threads เปิดใช้งานไประยะหนึ่ง จะต้องอัดโฆษณามาเต็มแน่ ๆ ประเด็นนี้ซีอีโอ Mark Zuckerberg ได้ตอบผ่าน Threads ว่า แนวทางของ Threads เหมือนกับทุกผลิตภัณฑ์ของ Meta นั่นคือทำให้ดีก่อน จนเมื่อมีผู้ใช้งานถึง 1 พันล้านคน จึงค่อยคิดเรื่องการต่อยอดหาเงินจากจุดนั้น
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ประกาศผ่านบัญชี Threads ว่า Threads มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วมากกว่า 5 ล้านบัญชี ในเวลา 4 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้ใช้งานทั่วไป
ก่อนหน้านี้ Zuckerberg ประกาศว่า Threads มีผู้สมัครใช้งาน 2 ล้านบัญชี ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก
Bluesky บริการโซเชียลแบบกระจายศูนย์ของ Jack Dorsey อดีตซีอีโอของ Twitter ประกาศรับเงินทุนรอบ seed round จำนวน 8 ล้านดอลลาร์ ที่นำโดยบริษัทลงทุน Neo และมีนักลงทุน angel investor อื่นๆ อีกหลายราย
Bluesky บอกว่าจะนำเงินก้อนนี้ไปพัฒนาโปรโตคอล AT Protocol และตัวแอพ Bluesky รวมถึงส่วนงานต่างๆ ในบริษัท (สถานะของแอพตอนนี้ยังเป็น waitlist)
นอกจากนี้ Bluesky ยังประกาศความร่วมมือกับบริษัทจดโดเมน Namecheap เปิดให้ผู้ใช้งาน Bluesky สามารถซื้อโดเมนเนมที่ต้องการทำ custom domain ได้สะดวก (เช่น อยากได้บัญชีเป็น @username.mydomain.com แทนที่จะเป็น @username.bsky.social หรือมีโดเมนเนมขององค์กรใช้งานอยู่แล้ว) ถือเป็นบริการแบบเสียเงินตัวแรกของ Bluesky ด้วย
Adam Mosseri ผู้บริหารสูงสุดของ Instagram โพสต์ข้อความในแอพ Threads เล่าที่มาที่ไปของการสร้างแอพตัวนี้ ว่าต้องการสร้างแพลตฟอร์มเปิดและเป็นมิตรสำหรับการสนทนาพูดคุยกัน (open and friendly platform for conversations) โดยมีฟีเจอร์ด้านการกรองคำไม่เหมาะสม และการควบคุม mention/reply เฉพาะกลุ่มบุคคลได้
เขาให้สัมภาษณ์กับ The Verge ว่า Twitter ในยุคของ Elon Musk เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาไม่ได้ กลายเป็นช่องว่างให้ Meta สามารถเข้ามาแข่งขันได้ เขายอมรับว่าการสร้างแอพใหม่ย่อมมีความเสี่ยงเสมอ แต่ Meta ก็พยายามทำทุกอย่างให้ง่าย ด้วยการใช้บัญชีและผู้ติดตามจาก Instagram ได้ทันที
Mark Zuckerberg เปิดตัวแอปโซเชียลใหม่ Threads ตามที่ประกาศนับถอยหลังก่อนหน้านี้ โดยสามารถดาวน์โหลดได้แล้วทั้งใน iOS และ Android เปิดให้บริการพร้อมกันมากกว่า 100 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปยังไม่เปิดใช้งาน เนื่องจากประเด็นการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน
Zuckerberg บอกว่าวิสัยทัศน์ของ Threads คือการสร้างโลกแบบที่ Instagram ทำไว้ดีอยู่แล้ว โดยคราวนี้เป็นเวอร์ชันตัวหนังสือ เพื่อสร้างสรรค์และแบ่งปันไอเดียใหม่ ๆ โดยสามารถติดตามครีเอเตอร์เดิมที่เคยตามอยู่แล้วใน Instagram ได้ รวมทั้งมีระบบจัดการความปลอดภัยการใช้งานแบบเดียวกับ Instagram
Instagram ปรับเวลาเปิดให้บริการแอป Threads โซเชียลตัวใหม่ในรูปแบบสนทนาข้อความคล้ายกับ Twitter จากเดิมกำหนดให้บริการ 21:00น. วันนี้ (6 กรกฎาคม 2023) โดยเลื่อนเวลามาเร็วขึ้นเป็น 6:00น. ตามระยะเวลานับถอยหลังในหน้าเว็บไซต์
จนถึงตอนนี้ผู้ใช้งาน App Store ของ iPhone และ iPad สามารถดาวน์โหลดพรีออเดอร์แอปได้แล้ว แต่เวอร์ชัน Android ยังไม่ปรากฏลิงก์ ซึ่งตอนนี้ Threads ก็ขึ้นอันดับ 1 ดาวน์โหลดแอปกลุ่มโซเชียลแล้ว อย่างไรก็ตามแอปอาจยังไม่เปิดให้บริการในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU เนื่องจากประเด็นกำกับดูแลข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งาน
Bluesky แพลตฟอร์มโซเชียลกระจายศูนย์ของ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter ประกาศปิดระบบสมัครผู้ใช้งานใหม่ชั่วคราว เนื่องจากพบปัญหาประสิทธิภาพการใช้งานโดยรวม ทั้งนี้ Bluesky ยังเป็นแพลตฟอร์มที่สมัครใช้ได้เฉพาะผู้ได้รับคำเชิญเท่านั้น ก่อนหน้านี้ Bluesky ก็บอกว่ามีคนเข้าคิวรอลงทะเบียนรับคำเชิญถึง 1.9 ล้านคน
Bluesky รายงานในหน้าสถานะบริการ โดยพบปัญหาประสิทธิภาพการใช้งานลดลง ทราฟิกที่เพิ่มสูงขึ้น และจำนวนผู้ใช้งานที่เข้ามามาก ตั้งแต่เวลา 00:47น. ตามเวลาในไทย สอดคล้องกับเวลาที่ Twitter มีปัญหาใช้งาน และประกาศลิมิตจำนวนทวีตที่อ่านได้ต่อวัน
แพลตฟอร์มโซเชียล Mastodon ก็มีจำนวนผู้สมัครใช้งานเพิ่มขึ้นสูงจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน บัญชี @mastodonusercount รายงานตัวเลขล่าสุดมีผู้สมัครใหม่มากกว่า 4 หมื่นบัญชี ในช่วง 1 วันที่ผ่านมา
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ Nostr โปรโตคอลโซเชียลแบบกระจายศูนย์ ที่ Jack Dorsey อดีตซีอีโอทวิตเตอร์ช่วยผลักดัน (แม้มี Bluesky ของตัวเองที่เป็นอีกโปรโตคอล) ไคลเอนต์ Nostr มีได้หลายตัว ที่ดังหน่อยเช่น Damus (iOS), Amethyst (Android) และ Snort (Web)
แต่ไม่ว่าออกแบบดีแค่ไหน การกระจายศูนย์ที่ระดับโปรโตคอลก็ต้องเจอปัญหาเรื่องการแจกจ่ายไคลเอนต์ให้ผู้ใช้อยู่ดี เพราะล่าสุดแอพ Damus เจอปัญหาแอปเปิลไม่ยอมให้ขึ้นเผยแพร่บน App Store เพราะติดขัดเรื่องฟีเจอร์ให้ทิปนักพัฒนาแอพ ที่แอปเปิลบังคับว่าต้องผ่านระบบ in-app purchase และโดนหักส่วนแบ่ง 30%
ชุมชนผู้ใช้งาน Mastodon เครือข่ายโซเชียลแบบกระจายศูนย์ที่สื่อสารด้วยโปรโตคอล ActivityPub เริ่มเข้าชื่อกันเพื่อปิดกั้น Project92 โครงการโซเชียลแบบข้อความของ Instagram/Meta ที่มีข่าวหลุดออกมาก่อนหน้านี้
ชุมชนเหล่านี้เข้าชื่อกันผ่านหน้าเว็บ Anti-Meta Fedi Pact เป็นสัญญาพันธมิตรของกลุ่มผู้ใช้งาน fediverse (คำเรียกโซเชียลแบบกระจายศูนย์) เพื่อต่อต้านไม่ให้ยักษ์ใหญ่อย่าง Meta บุกเข้ามา ในหน้าเว็บให้เหตุผลว่า
project92 is a real and serious threat to the health and longevity of fedi and must be fought back against at every possible opportunity
WhatsApp ประกาศคุณสมบัติใหม่ WhatsApp Channel เพื่อสร้างช่อง สำหรับแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แบบ 1-Way ซึ่งส่วนการแจ้งข่าวสารนี้จะแยกจากแชทกับครอบครัว เพื่อน และชุมชนของผู้ใช้งาน
ผู้ดูแลบัญชีช่อง สามารถส่งทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ สติกเกอร์ และโพลล์ ไปยังผู้ติดตามได้ จึงเหมาะกับทั้งสโมสรกีฬา การแจ้งข่าวสารสำคัญจากหน่วยงานในท้องถิ่น และกรณีอื่น ๆ
WhatsApp บอกว่าเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวตามแนวทางของแพลตฟอร์ม โปรไฟล์ผู้ติดตามทั้งหมด ผู้ดูแลช่องจะไม่เห็นข้อมูลนี้ และข้อมูลการติดตามช่องก็จะไม่แสดงให้เพื่อนในรายชื่อติดต่อเห็นเช่นกัน ข่าวสารที่เผยแพร่ใน Channel จะถูกจัดเก็บเป็นเวลา 30 วันเท่านั้น รวมถึงสามารถตั้งค่าบล็อกการแคปหน้าจอหรือกดส่งต่อได้ด้วย
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Instagram กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มโซเชียลตัวใหม่ ที่เน้นการสนทนาผ่านตัวหนังสือคล้ายกับ Twitter ล่าสุดมีข้อมูลจาก Lia Haberman ที่ปรึกษาการตลาด ระบุว่าเป็นสไลด์ที่ Meta ใช้นำเสนอกับฝ่ายการตลาด ซึ่งอธิบายรายละเอียดของแพลตฟอร์มใหม่นี้
ในสไลด์ไม่ได้ระบุชื่อแอปใหม่ แต่บอกว่าเป็น Instagram เวอร์ชันตัวหนังสือสำหรับการสนทนา มีโค้ดเนมพัฒนาภายในว่า P92 ครีเอเตอร์สามารถทวีตโพสต์ข้อความ พร้อมรูปภาพ วิดีโอ ลิงก์ และสนทนากับผู้ติดตามได้
Haberman ให้รายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
Bluesky บริการโซเชียลตัวใหม่ของ Jack Dorsey ผู้ร่วมก่อตั้ง Twitter เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ทางบริษัทบอกว่ามีผู้ใช้ราว 60,000 คน โดยยังจำกัดเฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญเท่านั้น และมีผู้ลงทะเบียนว่าต้องการใช้งานมากถึง 1.9 ล้านคน
Bluesky ยืนยันว่าจะค่อยๆ เพิ่มจำนวนผู้ใช้ทีละน้อยๆ และพยายามสร้างวัฒนธรรมในกลุ่มผู้ใช้ของตัวเองขึ้นมา ตัวอย่างคือผู้ใช้ Bluesky เรียกข้อความที่โพสต์ว่า skeet ซึ่งมาจากการผสมคำว่า sky กับ tweet
Mastodon แพลตฟอร์มโซเชียลทางเลือกแบบ decentralized ประกาศว่าตัวเลือกค่าเริ่มต้นในการสมัครบัญชีใช้งานใหม่จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ mastodon.social แต่ผู้ใช้งานก็สามารถเลือกเซิร์ฟเวอร์ได้เอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งานสับสนน้อยลงเมื่อเริ่มต้นสมัคร
แนวคิดของ Mastodon คือการสมัครใช้งานโดยเลือกเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ใช้งานจะต้องเลือกเอง จึงเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ใช้งานใหม่ที่จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของแพลตฟอร์ม ซึ่ง Eugen Rochko ซีอีโอ Mastodon บอกว่า บริการโซเชียลอื่นไม่ต้องทำแบบนี้ จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะงงในตอนแรก เขาจึงเพิ่มค่าเริ่มต้นเป็นเซิร์ฟเวอร์ของ Mastodon ซึ่งน่าจะช่วยลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง แล้วเมื่อผู้ใช้งานเข้าใจระบบก็สามารถย้ายบัญชีไปเซิร์ฟเวอร์อื่นได้
ช่วงต้นปีที่ผ่านมาโลกได้รู้จักกับ Bondee แอปพลิเคชั่น Social Network ตัวใหม่ที่ยอดดาวน์โหลดทะลุล้านและขึ้นเป็นที่ 1 ในไทยอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ก็เป็นแอปฯ มาไวไปไว กระแสอยู่ไม่นานตำนานก็ไม่มี ยอดดาวน์โหลดในเดือนมีนาคมกลับตกตกไปมากอย่างเช่น ประเทศไทยเราในเดือนกุมภาพันธ์ยอดดาวน์โหลดแอปฯ อยู่ที่อันดับ 8 แต่พอมาเดือนมีนาคม กลับตกไปอยู่อันดับที่ 23 ก็เหมือนจะไม่ได้มีเรื่องพิเศษใด ๆ แต่จู่ ๆ กลับมีกลิ่นตุ ๆ ซะงั้น เมื่อมีข่าวลือมาว่า แอปฯ Bondee ได้แอบปล่อยข้อมูลบัตรเครดิตที่ผู้ใช้งานได้ผูกไว้ในแอปฯ ซึ่งทางผู้พัฒนาแอปฯ อย่าง Metadream Tech ก็ได้ตอบปฏิเสธ
BeReal แอปโซเชียลแนวคิดใหม่ ที่ต้องการให้ผู้ใช้งานแชร์ภาพของตนเองแบบไม่ตกแต่งจัดวาง โดยแอปจะส่งแจ้งเตือนในเวลาที่แตกต่างกันแต่ละวัน ผู้ใช้งานมีเวลา 2 นาที ในการถ่ายรูปแชร์กับกลุ่มเพื่อน โดยภาพจะมีทั้งจากกล้องหน้าและกล้องหลังในเวลาเดียวกัน ประกาศหลักไมล์สำคัญของแอป มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs - Daily Active Users) มากกว่า 20 ล้านคนทั่วโลกแล้ว
Artifact แอปอ่านข่าวที่คัดเนื้อหาด้วย AI ของสองผู้ก่อตั้ง Instagram ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ เพื่อให้แอปเป็นโซเชียลมากขึ้น โดยเพิ่มระบบคอมเมนต์ โต้ตอบ สนทนา ท้ายข่าวหรือหัวข้อนั้น ๆ
Artifact บอกว่าเพื่อให้การสนทนาเป็นไปในเชิงบวกและมีบรรยากาศที่ดีในการสนทนา ระบบจึงมีการให้คะแนนสำหรับแต่ละความคิดเห็นด้วย โดยใช้ปัจจัยหลายอย่างมาคำนวณ ซึ่งรวมทั้งระบบ Upvote / Downvote แต่ละคอมเมนต์ คะแนนนี้จะมีผลผูกพันต่อบัญชีนั้น ๆ สำหรับคอมเมนต์อื่นในอนาคต และช่วยกรองความเห็นจากบัญชีที่ไม่เหมาะสมได้ด้วย
ฟีเจอร์ใหม่นี้มีในอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดของ Artifact
Twitter กำลังจะเปลี่ยนเครื่องหมาย Verified แบบเดิม (คนดังใช้ฟรี) มาเป็น Twitter Blue จ่ายเดือนละ 8 ดอลลาร์ในวันนี้ 1 เมษายน (ตามเวลาสหรัฐ) ทำให้เจ้าของเครื่องหมาย Verified แบบเดิมต้องตัดสินใจว่าจะยอมจ่ายเงินหรือไม่
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนดัง นักกีฬา นักร้อง นักแสดง รวมถึงแบรนด์สื่อใหญ่ๆ จำนวนหนึ่งประกาศแล้วว่า "ยังไงก็ไม่จ่าย" เพราะมองว่าไม่ใช่สิ่งที่สมควรต้องจ่าย
ตัวอย่างคนดังเหล่านี้ได้แก่ นักบาสเก็ตบอล LeBron James, ควอเตอร์แบ็คอเมริกันฟุตบอล Patrick Mahomes, นักแสดง William Shatner