จากข่าวใหญ่ที่ iOS 18 รองรับการส่งข้อความผ่าน RCS ทำให้ผู้ใช้ iOS และ Android สามารถส่งข้อความหากันได้ฟรีแบบเนทีฟไม่ต้องใช้แอพแชทแยก โดยฝั่ง Android ได้รองรับ RCS อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ราวปี 2020
ล่าสุดเมื่อวานแอปเปิลได้ปล่อยอัพเดต iOS 18 ให้ผู้ใช้ทุกคนแล้ว แต่ผู้ใช้ในประเทศไทยที่อัพเดตแล้วกลับไม่พบตัวเลือกให้เปิดใช้งาน RCS โดยมีการตั้งกระทู้ถามในเว็บไซต์พันทิปซึ่งตัวแทนจาก AIS ได้เข้ามาให้ข้อมูลว่าแอปเปิลกำหนดว่าผู้ให้บริการเครือข่ายต้องมีเซิร์ฟเวอร์ RCS ของตนเอง และ AIS ยังไม่มีแผนให้บริการเซิร์ฟเวอร์ RCS ในอนาคตอันใกล้
ของใหม่ใน iOS 18 คือรองรับการส่งข้อความ RCS (Rich Communication Services) ตามที่แอปเปิลเคยประกาศไว้ ส่งผลให้ iOS และ Android สามารถส่งข้อความแบบ RCS ข้ามระหว่างกันได้ (สักที)
แอปเปิลได้โชว์ภาพหน้าจอของการใช้งาน RCS บนหน้าเว็บของ iOS 18 Preview โดยระบุว่า RCS จะช่วยให้ส่งข้อความที่มีสื่อ (ภาพ เสียง วิดีโอ) และตัวบอกสถานะการส่ง-อ่าน (delivery and read receipts) กับคนที่ไม่ได้ใช้ iMessage ได้ด้วย
แอปเปิลประกาศเพิ่มโปรโตคอล PQ3 เข้าในแอป iMesseage โดนหัวใจของโปรโตคอลคือการเพิ่มการเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม ขณะเดียวกันก็ลดความเสียหายในกรณีที่ผู้ใช้ทำกุญแจหลุด (forward secrecy) เข้ามาอีกชั้น
โปรแกรมแชตที่รองรับการเข้ารหัสแบบทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมก่อนหน้านี้คือ Signal ที่ใส่โปรโตคอล PQXDH (Post-Quantum Extended Diffie-Hellman) เข้ามา แต่ข้อจำกัดของ PQXDH คือใช้กุญแจเดิมตลอดการเชื่อมต่อ หากคนร้ายโจมตีและได้กุญแจเชื่อมต่อไปก็จะถอดรหัสข้อความทั้งหมดได้ แต่ PQ3 นั้นมีกระบวนการเปลี่ยนกุญแจไปเรื่อยๆ ระหว่างการเชื่อมต่อทำให้แม้กุญแจจะหลุดไปบางส่วนก็ทำให้คนร้ายอ่านข้อมูลได้แค่บางส่วนเท่านั้น
แอปเปิลประกาศยกระดับการเข้ารหัสความปลอดภัยของ iMessage ด้วยโปรโตคอล PQ3 ที่รองรับการถูกโจมตีถึงระดับการประมวลผลด้วยควอนตัม ซึ่งแอปเปิลเรียกว่าเป็นการเข้ารหัสในระดับ 3 และเป็นครั้งแรกของแอปรับส่งข้อความ
ก่อนหน้านี้ iMessage มีระดับการเข้ารหัสระดับที่ 1 ซึ่งยังไม่ปลอดภัยสำหรับการโจมตีแบบควอนตัม ซึ่งแอปแชทในระดับ 1 ตัวอื่นได้แก่ LINE, Viber, WhatsApp ขณะที่ Signal เพิ่งอัพเกรดมาที่ระดับ 2 ในช่วงที่ผ่านมา
การออกแบบความปลอดภัยที่ระดับ 3 นั้น จะใช้การสร้างกุญแจ PQC (post-quantum cryptography) เริ่มต้นขึ้นมา และมีการสร้างกุญแจใหม่มาเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา ทำให้การโจมตีทำได้ยากมากขึ้น
เมื่อปลายปีที่แล้ว แอปเปิลประกาศว่า iMessage จะรองรับ RCS ภายในปี 2024 ซึ่งเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์เพราะไม่มีท่าทีนี้ออกมาก่อน ทำให้หลายคนเดาว่ามีอะไรที่ทำให้แอปเปิลจู่ ๆ ประกาศแบบนี้ ซึ่งเรื่องที่หลายคนเดากันคือกฎหมายดิจิทัล DMA ของสหภาพยุโรป ที่ให้แพลตฟอร์มต้องเปิดให้แอปภายนอกเชื่อมต่อได้
อย่างไรก็ตามประกาศล่าสุดของ EU ที่บอกว่า iMessage ไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้ภายนอกเชื่อมต่อ เพราะมีผู้ใช้งานไม่ถึงจำนวน 45 ล้านคน ก็เป็นคำถามว่าในเมื่อแอปเปิลน่าจะรู้อยู่แล้วว่า EU จะไม่บังคับ ทำไมยังเลือกรองรับ RCS ซึ่งผิดสไตล์แอปเปิล
คณะกรรมการดูแลกฎหมายการตลาดดิจิทัลของสหภาพยุโรป (Digital Markets Act - DMA) ประกาศให้ 4 บริการออนไลน์ ได้แก่ iMessage ของแอปเปิล และ Bing, Edge, Microsoft Advertising ของไมโครซอฟท์ ที่เคยระบุว่าเข้าข่าย gatekeeper ซึ่งทำให้ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นมาเชื่อมต่อใช้งานได้ ไม่เข้าสถานะดังกล่าวเนื่องจากยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ก่อนหน้านี้ทั้งแอปเปิลและไมโครซอฟท์ ได้ยื่นคำร้องต่อ EU ให้พิจารณาสถานะของ 4 บริการนี้ใหม่ โดยระบุว่ามีผู้ใช้งานน้อยกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดคือ 45 ล้านคน ซึ่งหลังจากคำตัดสินดังกล่าวออกมา ทั้งแอปเปิลและไมโครซอฟท์ก็ออกแถลงการณ์ว่ายินดีต่อคำตัดสินนี้
อัพเดตสถานการณ์ล่าสุดของ Beeper Mini แอปแชทที่ทำให้สามารถส่งข้อความจาก Android ไปยัง iMessage ใน iPhone และแสดงผลเป็นกล่องแชทสีฟ้าได้ ซึ่งถูกบล็อกหลายทางจากแอปเปิล แต่ผู้พัฒนาก็ยังคงเล่นเกมแมวไล่จับหนูหาทางออกไปได้เรื่อย ๆ ล่าสุดแอป Beeper Mini ได้ถูกนำออกจาก Play Store แล้ว โดยผู้พัฒนาประกาศนำฟีเจอร์ iMessage ไปใส่ในส่วน Labs ของแอปหลัก Beeper Cloud แทน
ความพยายามล่าสุดของแอปแชท Beeper Mini ที่ทำให้สามารถส่งข้อความจาก Android ไปหา iMessage ใน iPhone ให้ได้กล่องข้อความสีฟ้า ด้วยวิธีการวิศวกรรมย้อนกลับ ยังคงมีเรื่องราวภาคต่อ ซึ่งคราวนี้ซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม
ก่อนอื่นทบทวนความพยายามของ Beeper ก่อน โดยหลังใช้วิธีวิศวกรรมย้อนกลับส่งข้อความตรงหา iMessage ได้ แอปเปิลก็ทำการบล็อก วิธีการนี้ Beeper ก็แก้ปัญหาด้วยการใช้ Apple ID ล็อกอิน แต่แอปเปิลก็บล็อกได้อีกโดยดู registration data ระดับอุปกรณ์จากเซิร์ฟเวอร์ Mac ของ Beeper ทำให้ Beeper ประกาศวิธีใหม่คือผู้ใช้งานต้องลงทะเบียนอุปกรณ์ผ่าน Mac ก่อน เพื่อให้ได้ registration data ที่แตกต่างกัน
เรื่องราวของ Beeper Mini แอปแชทที่สามารถส่งข้อความจาก Android ไปหา iMessage แสดงผลเป็นกล่องข้อความสีฟ้าเหมือนส่งจาก iPhone ด้วยวิธีวิศวกรรมย้อนกลับ ยังคงไม่จบ หลังจากแอปเปิลบล็อกแอปสำเร็จ ต่อมา Beeper ก็บอกว่าแก้ไขปัญหาได้อีกครั้งโดยผู้ใช้ต้องมี Apple ID ก่อน แล้วก็ถูกแอปเปิลบล็อกได้อีก
ดูเหมือนเกมระหว่าง Beeper Mini แอปแชทที่ทำวิศวกรรมย้อนกลับให้สามารถส่งข้อความผ่าน iMessage บน Android ได้ กับแอปเปิล ที่บล็อกการเข้าถึงของแอปนี้ทันที ด้วยเหตุผลความปลอดภัย จะไม่จบง่าย ๆ โดยล่าสุด Beeper Mini ประกาศแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถกลับมาใช้งาน iMessage ได้ตามเดิมแล้ว
อย่างไรก็ตามการใช้ iMessage ครั้งนี้เปลี่ยนไป โดยผู้ใช้ Beeper Mini ต้องล็อกอิน Apple ID เพื่อใช้เป็นช่องทางการรับ-ส่งข้อความ จากจุดขายเดิมที่ใช้แค่เบอร์โทรศัพท์
แอปเปิลออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ จากประเด็นแอป Beeper Mini ที่ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อความ iMessage บน Android ได้ โดยปลายทางเห็นเป็นข้อความที่ส่งจาก iMessage กล่องข้อความสีฟ้าด้วยวิธีวิศวกรรมย้อนกลับ จากนั้นในไม่กี่วันฟังก์ชัน iMessage ก็ไม่สามารถใช้งานได้ทันที โดยคาดว่าแอปเปิลทำการบล็อกการใช้งานนี้
แอปเปิลบล็อคไม่ให้แอป Beeper Mini เชื่อมต่อเข้าบริการ iMessage แล้วหลังจากแอปนี้เปิดตัวมาเพียงสองวันเท่านั้น
Beeper Mini อาศัยการทำวิศวกรรมย้อนกลับเพื่อจำลองแอปในแอนดรอยด์ให้ทำตัวเหมือนแอป Message ในไอโฟนและสามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ iMessage ได้โดยตรง ตัวโค้ดที่จำลองการทำงานนั้นเปิดโค้ดให้ตรวจสอบได้ ดังนั้นวิศวกรของแอปเปิลก็น่าจะหาจุดต่างจากแอปของตัวเองและบล็อค Beeper Mini ได้ไม่ยากนัก
เมื่อปี 2021 Eric Migicovsky ผู้ก่อตั้ง Pebble ได้เปิดตัวโครงการใหม่ Beeper ที่เป็นแอปแชทรองรับการคุยพร้อมกันหลายแพลตฟอร์มในที่เดียว รวมทั้ง iMessage ด้วย ล่าสุดเขาประกาศแอปตัวใหม่ที่ปิดช่องว่างของการเชื่อมต่อกับ iMessage ไปอีกขั้นนั่นคือ Beeper Mini
Beeper Mini เป็นแอป Android สำหรับใช้แชทข้อความ มีจุดขายคือ ตรวจสอบหากพบข้อความที่ส่งด้วย iMessage จะแสดงผลด้วยกล่องข้อความสีฟ้า และเวลาตอบกลับข้อความก็จะวิ่งผ่านโปรโตคอล iMessage ของแอปเปิลด้วย ทำให้ปลายทางได้รับข้อความเป็นกล่องสีฟ้าเช่นกัน ผู้รับข้อความจึงไม่ทราบว่าเราใช้ Android ส่งข้อความ แก้ไขปัญหาเรื่องกล่องข้อความสีเขียว-สีฟ้า
ยังอยู่ในประเด็นแอปเปิลประกาศรองรับ RCS ใน iPhone ในปี 2024 ซึ่งมีคำถามตามมาว่า แล้วข้อความที่ส่งด้วย RCS เวลาแสดงผลใน iPhone กล่องข้อความจะเป็นสีอะไร?
แอปเปิลตอบคำถามนี้ว่า RCS จะแสดงผลเหมือนกับ SMS นั่นคือเป็นกล่องข้อความสีเขียวเหมือนเดิม ขณะที่ข้อความที่ส่งระหว่าง iMessage ด้วยกันยังคงเป็นสีฟ้า เพื่อเป็นการยืนยันและให้ความมั่นใจว่านี่เป็นข้อความที่ส่งหากันด้วย iMessage ระหว่าง iPhone ที่แอปเปิลมองว่ามีความปลอดภัยมากกว่า
เรื่องที่เคยคิดว่าเกิดขึ้นยาก บทจะมาก็มากันไม่ทันตั้งตัว เมื่อแอปเปิลออกแถลงการณ์ว่า บริษัทเตรียมรองรับมาตรฐาน RCS (Rich Communication Services) สำหรับบริการรับส่งข้อความ ซึ่งจะเริ่มเปิดใช้ผ่านการอัพเดตซอฟต์แวร์ภายในปีหน้า ทำให้การส่งข้อความในหลายฟอร์แมตผ่านแอปส่งข้อความพื้นฐานของ iPhone และ Android ทำได้แล้ว
แถลงการณ์ของแอปเปิลซึ่ง 9to5Mac ได้รับ บอกว่าในปีหน้าแอปเปิลจะรองรับ RCS Universal Profile ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับส่งข้อความของ GSM แอปเปิลเชื่อว่า RCS จะให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีมากขึ้นเมื่อเทียบกับ SMS และ MMS รวมทั้งจะทำงานร่วมกับ iMessage ที่เป็นแพลตฟอร์มรับส่งข้อความที่ดีและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ใช้งานแอปเปิล
Nothing เปิดตัวแอป Nothing Chats เป็นแอปแชทที่ใช้งานได้เฉพาะ Nothing Phone 2 และนำ iMessage มาใช้งานรวมถึงฟีเจอร์บางอย่างของ iMessage เปิดให้ใช้งานได้ 17 พฤศจิกายนนี้สำหรับผู้ใช้งานในอเมริกาเหนือ และยุโรป โดยสามารถโหลดได้ผ่านทาง Google Play Store
Financial Times รายงานข่าวว่า กูเกิลกับโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ในยุโรปบางราย เช่น Vodafone, Deutsche Telekom, Telefónica, Orange ยื่นจดหมายให้คณะกรรมการยุโรป (European Commission) พิจารณาว่าบริการ iMessage ของแอปเปิลเข้าข่ายเป็นบริการดิจิทัลที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก (gatekeeper) ตามกฎหมาย Digital Markets Act ฉบับใหม่ เพื่อบีบให้แอปเปิลต้องเปิด iMessage ให้เชื่อมต่อกับบริการคู่แข่งรายอื่นได้ด้วย
มีรายงานจาก Financial Times เกี่ยวกับกฎหมายดูแลการแข่งขันในตลาดดิจิทัล ของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เรียกย่อว่ากฎหมาย DMA ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว รายละเอียดหนึ่งคือการประกาศรายชื่อบริการ ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม DMA เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก และสามารถกีดกันคู่แข่งได้ (gatekeeper)
เงื่อนไขของบริการที่เข้าเกณฑ์ DMA คือบริการนั้นต้องมีผู้ใช้งานในประเทศกลุ่ม EU มากกว่า 45 ล้านคนต่อเดือน หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ จะมีค่าปรับปีละ 7.5 พันล้านยูโร ซึ่งข้อกำหนดหนึ่งคือการออกแบบระบบ ให้รองรับการใช้งานหรือเชื่อมต่อบริการของผู้พัฒนารายอื่นได้
สหราชอาณาจักรมีแผนปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจในการสอบสวน โดยการเปลี่ยนแปลงหนึ่งคือ หากมีอัพเดตในบริการรับส่งข้อความออนไลน์ ต้องผ่านการตรวจสอบและอนุมัติจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน ตลอดจนต้องมีช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบข้อความที่เข้ารหัส end-to-end หากมีการร้องขอ
อย่างไรก็ตามในระหว่างการเปิดรับความคิดเห็นจากฝั่งผู้ให้บริการ แอปเปิลเป็นหนึ่งในบริษัทที่คัดค้านร่างกฎหมายนี้ โดยบอกว่าหากต้องทำฟีเจอร์นี้ตามที่สหราชอาณาจักรร้องขอ จะทำให้เกิดช่องโหว่ที่กระทบกับผู้ใช้งานประเทศอื่นทั่วโลก การอัพเดตซอฟต์แวร์เป็นเรื่องเปิดเผย ไม่สามารถทำเป็นความลับได้ จึงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และหากกฎหมายนี้มีผลจริง แอปเปิลอาจเลือกปิดบริการ iMessage และ FaceTime ในประเทศไปเลย
หมดปัญหาข้อความรหัสยืนยันล้นแอป เมื่อล่าสุด iOS 17 ได้เพิ่มฟีเจอร์ "ล้างข้อมูลโดยอัตโนมัติ" (Clean up automatically )ที่จะลบรหัส OTPใน Messages และ Mail ให้อัตโนมัติหลังจากที่ใช้รหัสเหล่านั้นผ่าน AutoFill เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถเปิดใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวจากตัวเลือกรหัสผ่าน (Password options) ในการตั้งค่า
แอปเปิลประกาศขยายความสามารถในการดูแลความปลอดภัยของบริการบนอุปกรณของแอปเปิลพร้อมกัน 3 รายการครอบคลุมบริการหลักๆ ได้แก่
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta โพสต์ภาพใน Instagram ชูคุณสมบัติเด่นของ WhatsApp โดยเปรียบเทียบกับบริการส่งข้อความ iMessage ของแอปเปิล
ในโพสต์ เป็นภาพบิลบอร์ดโฆษณา WhatsApp ที่ชูเรื่องความเป็นส่วนตัว ซึ่ง Mark เขียนคำอธิบายว่า WhatsApp มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า iMessage อยู่มาก ทั้งการเข้ารหัส end-to-end ที่ทำงานได้ทั้งบน iPhone และ Android รวมถึงห้องคุยแบบกลุ่ม ผู้ใช้งานยังกำหนดให้ข้อความหายไปได้ในปุ่มเดียว ปีที่แล้วเรายังเพิ่มการแบ็กอัพแบบ end-to-end อีกด้วย ที่ว่ามาทั้งหมดนั้น iMessage ยังไม่มี
ที่มา: MacRumors
ปัจจุบัน Google กำลังผลักดัน RCS ให้เป็นโปรโตคอลระบบส่งข้อความแบบใหม่ แต่ปัญหาคือ iPhone ไม่รองรับ RCS จนทำให้ Google สร้างแคมเปญ #GetTheMessage เพื่อเรียกร้องให้ Apple ซัพพอร์ต RCS บน iPhone เสียที
ล่าสุด ในงาน Code 2022 ของ Vox Media ที่มี Kara Swisher เป็นพิธีการ และมีแขกรับเชิญคือ Jony Ive, Laurene Powell Jobs และ Tim Cook ทางซีอีโอ Tim Cook ได้ตอบคำถามเรื่องนี้ ซึ่งลักษณะการตอบคำถามของ Cook เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า Apple ยังไม่สนใจนำ RCS มาลง iPhone
กูเกิลสร้างแคมเปญ #GetTheMessage โดยชี้ไปยังแอปเปิลว่าไม่ยอมรองรับโปรโตคอล RCS ทำให้แชตระหว่าง Android และ iOS ต้องใช้โปรโตคอลรุ่นเก่าอย่าง SMS/MMS ซึ่งมีปัญหาหลายอย่าง ตั้งแต่ความปลอดภัย, ฟีเจอร์แชตต่างๆ, และการส่งแชตผ่าน Wi-Fi ในพื้นที่อับสัญญาณ
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวใน Wall Street Journal ระบุว่า การที่ iOS รองรับเฉพาะ iMessage กดดันให้วัยรุ่นในสหรัฐฯ ต้องซื้อไอโฟนเพราะไม่เช่นนั้นแชตก็จะไม่เหมือนกันคนอื่นๆ
แคมเปญ #GetTheMessage มีลิงก์ให้แชร์ข้อความต่างๆ ผ่านทวิตเตอร์เพื่อเรียกร้องไปยังแอปเปิลโดยตรง แม้ท้ายแคมเปญจะพูดถึงแชตอื่นๆ เช่น Signal หรือ WhatsApp ว่าสามารถใช้งานได้เหมือนกันเช่นกัน
สหภาพยุโรปออกแถลงการณ์ รายงานความคืบหน้ารายละเอียดของกฎหมายดิจิทัล Digital Markets Act (เรียกย่อว่า DMA) ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือ แอพแชตส่งข้อความรายใหญ่ จะต้องรองรับการรับ-ส่งข้อความ กับแพลตฟอร์มขนาดเล็กรายอื่นด้วย
กฎหมายนี้มีเป้าหมายกำกับดูแลแพลตฟอร์มแชตขนาดใหญ่ นิยามว่ามีผู้ใช้งาน MAUs อย่างน้อย 45 ล้านคน เฉพาะในยุโรป หรือหากเป็นแอปแชตระดับองค์กรต้องมีลูกค้ามากกว่า 10,000 รายเฉพาะยุโรปเช่นกัน
แนวทางของ DMA เพื่อให้แพลตฟอร์มรายใหญ่เปิดให้แอปแชตรายเล็ก เข้าถึงผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มได้ โดยในแถลงการณ์ได้ยกตัวอย่างเช่น iMessage, Facebook Messenger หรือ WhatsApp ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากในยุโรป จะต้องเปิดให้แอปอื่นส่งข้อความไปหาหรือรับข้อความได้