Tags:
Node Thumbnail

ข่าวที่น่าสนใจจากงาน AWS re:Invent 2018 คือ EC2 เปิดตัวเครื่องประเภท A1 ที่ใช้ซีพียู ARM แถมเป็นซีพียู ARM ที่ Amazon ออกแบบเองทั้งหมดด้วย

AWS ให้ข้อมูลของซีพียูตัวนี้ว่าชื่อ Graviton พัฒนาบนสถาปัตยกรรม ARM และออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนเป็นหลัก (เมื่อเทียบกับ x86) รูปแบบงานที่ AWS แนะนำให้รันบน A1 คืองานที่สามารถแตกเป็นเวิร์คโหลดขนาดเล็กๆ แล้วสเกลตามจำนวนเครื่องได้ เช่น container, microservice, webserver, caching เป็นต้น

Tags:
Node Thumbnail

ในงาน AWS re:Invent วันนี้ AWS ได้เปิดตัว EC2 instance type ใหม่ดังนี้

  • ประเภท C5n เป็น C5 ที่อัพเกรด network ให้แรงสูงสุด 100Gbps
  • ประเภท P3dn.24xlarge ให้ network 100Gbps, SSD บนเครื่อง และการ์ด NVIDIA TESLA v100 จำนวน 8 ใบ
  • และประเภท A1 ใช้ CPU AWS Gravitron ซึ่งเป็น CPU ARM ที่ AWS ออกแบบขึ้นมาเอง ผมลองคำนวณเทียบกับ c5 ที่ CPU/Memory เท่ากันแล้วราคาจะถูกกว่า 40%

ช่วงแรก instance ใหม่นี้ใช้ได้เฉพาะ region N. Virginia, Ohio, Oregon และ Ireland เท่านั้น ยกเว้น P3dn.24xlarge ที่ยังต้องรอประกาศต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์พยายามผลักดัน Windows บนสถาปัตยกรรม ARM มาหลายครั้ง นับตั้งแต่ Windows RT มาจนถึง Windows on ARM ในปัจจุบัน แต่ปัญหาที่เจอมาโดยตลอดคือขาดแอพดังๆ หลายตัวที่รองรับสถาปัตยกรรม ARM ทำให้ไม่ดึงดูดให้คนมาใช้งาน

หนึ่งในแอพสำคัญที่ยังไม่รองรับ Windows on ARM คือ Chrome แต่ล่าสุด มีทีท่าว่ากูเกิลร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้แล้ว เพราะมีการส่งโค้ดจากวิศวกรของไมโครซอฟท์เข้ามายังโครงการ Chromium ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Windows ARM64 โดยตรง

นอกจากนี้ Qualcomm ในฐานะพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์ ARM ของไมโครซอฟท์ ก็เปิดเผยว่าส่งทีมเข้าไปช่วยพอร์ต Chrome ลง Windows 10 on ARM ด้วยเช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัวระบบปฎิบัติการใหม่ Mbed Linux OS ขยายไลน์จาก Mbed OS เดิม ไว้ใช้กับชิปที่พลังประมวลผลสูงขึ้นมา เช่น Cortex-A (เทียบกับ Mbed OS ที่ใช้กับ Cortex-M) แนวทางนี้ทำให้มันเป็นคู่แข่งกับ Azure Sphere โดยตรง

แม้จะเป็นลินุกซ์แต่ก็ถูกดัดแปลงอย่างหนัก โดยเน้นความต้องการของอุปกรณ์ IoT คือ ระบบปฎิบัติการต้องซัพพอร์ตระยะยาว ไม่จำกัดแค่ 3-5 ปีเหมือนเดสก์ทอปหรือเซิร์ฟเวอร์, การโจมตีทำได้ยากเพราะตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด, มีกระบวนการอัพเดตจากระยะไกลและตรวจสอบสถานะของเครื่องได้

Tags:
Node Thumbnail

ค่ายซีพียูที่เป็นคู่แข่งกันมานานอย่าง ARM และ Intel ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาระบบบจัดการอุปกรณ์ IoT ให้ทำงานร่วมกันได้ เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่จะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต ที่จะอาศัยกุญแจในตัวฮาร์ดแวร์เพื่อยืนยันแทนการคอนฟิกอุปกรณ์ด้วยมือไปเรื่อยๆ

โดยความตกลงนี้ อินเทลจะใช้เทคโนโลยี Intel Secure Device Onboard (SDO) ของตัวเองสำหรับการยืนยันความเป็นเข้าของอุปกรณ์ เช่น ลูกค้าที่ซื้อหลอดไฟต่ออินเทอร์เน็ตมาจำนวนมากๆ สามารถอัพโหลดกุญแจของตัวเองเข้าไปในอุปกรณ์เพื่อแสดงความเป็นเข้าของ โดยกระบวนการเช่นนี้ใช้งานในระบบ IoT เป็นเรื่องปกติ แต่ Intel SDO สร้างกระบวนการเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของอุปกรณ์ที่ปลอดภัย และชัดเจนกว่า และสามารถทำงานได้กับแพลตฟอร์มหลากหลาย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว Cortex-A76 มาตั้งแต่กลางปีโดยระบุแต่ต้นว่าจะมีประสิทธิภาพระดับแล็ปท็อป ตอนนี้ก็มีการคาดการณ์ (forward-looking) ว่าสินค้าที่ออกมาจริงจะมีประสิทธิระดับเดียวกับซีพียู Intel Core i5-7300U ขณะทำงานในโหมด Turbo เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วย SPECint 2006 แต่กินพลังงานเพียง 5 วัตต์ ขณะที่ Core i5 กินพลังงาน 15 วัตต์

แม้ตัวเลขจะน่าประทับใจแต่ควรตระหนักว่า SPECint เป็นแนวทางการวัดที่ค่อนข้างเก่า ตัวอย่างการวัดประสิทธิภาพ เช่น การทำงานของ Perl 5.8.7, การบีบอัดไฟล์ด้วย bzip2, หรือการคอมไพล์โปรแกรมด้วย gcc 3.2 ขณะที่ SPEC เองมีมาตรฐานการวัดความเร็วซีพียูใหม่ๆ เช่น SPEC CPU 2017

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ARM บริษัทออกแบบซีพียูที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือแทบทุกรุ่นประกาศขายหุ้นใน ARM Technology (China) ออกไป 51% เป็นเงิน 775.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่บริษัทแม่ถือหุ้น 100% โดยผู้ซื้อเป็นสถาบันการเงินจีนและพันธมิตรหลายรายร่วมกันลงเงิน

ซีพียูระดับสูงของจีนเป็นสถาปัตยกรรม ARM ถึง 95% แต่สหรัฐฯ เพิ่งแบน ZTE ทำให้รัฐบาลจีนหันมาสนใจการพัฒนาซีพียูด้วยตัวเองมากขึ้น

รายได้ของ ARM มาจากจีน 20% ของรายได้ทั้งหมด หลังจากขายบริษัทสาขาจีนออกไปแล้ว ตัวบริษัทแม่จะยังคงได้รับค่าไลเซนส์ "ในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ" ต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว CPU ระดับเรือธง Cortex-A76 แทนที่ Cortex-A75 ที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว โดย Cortex-A76 ยังคงใช้ DynamIQ เช่นเดียวกับ Cortex-A75 เพื่อการคอนฟิกคลัสเตอร์ที่หลากหลาย

ARM ได้นำเสนอถึงตลาดใหม่ของ ARM เอง (Windows 10 on ARM) โดยคาดการณ์ว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพแล็ปท็อปที่ใช้ ARM ให้ดีกว่ารุ่นปัจจุบันได้ถึงสองเท่า ซึ่งรุ่นก่อนนั้นประสบปัญหาประสิทธิภาพ x86 ที่แย่กว่า Celeron N3450 ซึ่งเป็น CPU Intel ระดับล่างบนแล็ปท็อปเสียอีก

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว Cortex-M35P พิมพ์เขียวซีพียูรุ่นใหม่สำหรับการใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีจากสินค้าตระกูล SecurCore ที่มักใช้ในงานสมาร์ตการ์ด

Cortex-M35P มีฟีเจอร์สำคัญคือ uniform-timing ทำให้ซีพียูรันคำสั่งด้วยระยะเวลาคงที่เสมอ ทำให้แฮกเกอร์สังเกตการทำงานจากภายนอกอุปกรณ์ได้ยาก การโจมตี side-channel เช่นนี้มักใช้กันมากในอุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นสมาร์ตการ์ด ที่แฮกเกอร์สามารถสังเกตการใช้พลังงานอย่างละเอียด เพื่อหาค่ากุญแจลับที่เก็บอยู่ในตัวชิปได้

Tags:
Node Thumbnail

The Verge รายงานว่า ARM ผู้ผลิตหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนได้พัฒนา iSIM ซิมที่ฝังตัวมาในชิปประมวลผล โดย ARM บอกว่าขนาดของ iSIM มีไม่ถึงตารางมิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งทั้งช่วยประหยัดพื้นที่และประหยัดต้นทุนลงไปได้

กลุ่มเป้าหมายของ iSIM คืออุปกรณ์ IoT ขนาดเล็กที่ต้องเชื่อมต่อผ่านระบบเซลลูลาร์ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามตัว iSIM ของ ARM เป็นเพียงดีไซน์อ้างอิงเท่านั้นและ ARM ได้ส่งตัวอย่างไปให้กลุ่มผู้ผลิตชิปเซ็ตแล้ว ซึ่งก็คาดว่าน่าจะได้เห็นชิปเซ็ตที่มาพร้อม iSIM ภายในสิ้นปี โดย ARM มองในแง่ดีกว่ากลุ่มโอเปอเรเตอร์จะยอมรับเทคโนโลยีใหม่นี้ด้วยเช่นกัน

ที่มา - The Verge

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตัว Always Connected PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 on ARM โดยชูจุดขายเรื่องการต่อเน็ตตลอดเวลา และแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นมาก แต่เนื่องจากสินค้าจริงยังไม่วางขาย ทำให้คำถามเรื่องข้อจำกัดของการรันโปรแกรม x86 บน ARM ยังไม่ได้รับคำตอบอีกหลายประเด็น

ล่าสุดไมโครซอฟท์อธิบาย "ข้อจำกัด" ของการรันโปรแกรม x86 ใน Windows 10 on ARM ดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

ARM ตามกระแสหน่วยประมวลผลยุคใหม่ ที่เริ่มต้องมีหน่วยประมวลผลสำหรับ AI แยกเฉพาะ เปิดตัว Project Trillium สำหรับสถาปัตยกรรมซีพียูยุคหน้า เพิ่มหน่วยประมวลผล AI เข้ามานอกเหนือจากซีพียูและจีพียู

Project Trillium ประกอบด้วย

Tags:
Node Thumbnail

Project Zero รายงานช่องโหว่ซีพียูที่พบตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และกลายเป็นต้นกำเนิดของแพตช์ KPTI ที่ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องลดลง ตอนนี้ทางโครงการก็ปล่อยรายละเอียดออกมาแล้ว โดยมีการโจมตีสองแบบ สาม CVE และสี่รูปแบบการโจมตี

Tags:
Node Thumbnail

Red Hat Enterprise Linux ประกาศรองรับสถาปัตยกรรม ARM อย่างเป็นทางการ ทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ARM มีอนาคตสดใสขึ้น เพราะดิสโทรชื่อดังอย่าง RHEL พร้อมแล้วกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ (เริ่มที่ RHEL 7.4 for ARM)

Red Hat เตรียมพร้อมเรื่อง ARM มาหลายปี และก่อนหน้านี้ Red Hat Enterprise Linux Server for ARM ก็เปิดให้ทดสอบแบบพรีวิวมานานตั้งแต่ปี 2014 โดยมีพาร์ทเนอร์เป็นผู้ผลิตชิปอย่าง Cavium และ Qualcomm

เซิร์ฟเวอร์ ARM รุ่นแรกที่รองรับ RHEL คือ HPE Apollo 70 ซึ่งเปิดตัวในวันนี้เช่นกัน

ยุทธศาสตร์ของ Red Hat คือการขยาย RHEL ให้รองรับสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย นอกจาก x86 ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังจะรองรับสถาปัตยกรรม Power และ z ของ IBM รวมถึง ARM ตามข่าวนี้ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อปีที่แล้ว เราเห็นข่าวช็อควงการอย่าง Intel รับจ้างผลิตชิป ARM แถมชูจุดเด่นที่กระบวนการผลิตระดับ 10 นาโนเมตร

ล่าสุดในงานสัมมนา ARM Tech Con 2017 ตัวแทนของอินเทลประกาศว่า ชิปดังกล่าวจะส่งมอบได้ในช่วงปลายปีนี้แล้ว

การผลิตชิป ARM เป็นงานรับจ้างของอินเทล โดยที่ได้บริษัทอย่าง LG หรือ Spreadtrum มาเป็นลูกค้า แต่อินเทลไม่ได้ขายชิป ARM เองโดยตรง นับตั้งแต่ขายหน่วยธุรกิจ XScale ให้ Marvell ในปี 2006

Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมีประเด็นปลีกย่อยตั้งแต่การอัพเดตซอฟต์แวร์ ไปจนถึงส่วนประกอบจากผู้ผลิตหลายรายที่มีความซับซ้อนสูง

บริษัท ARM ในฐานะผู้ผลิตหน่วยประมวลผลรายสำคัญของโลก IoT จึงเสนอกรอบการทำงานด้านความปลอดภัย (common industry framework) เพื่อให้ผู้ผลิตรายต่างๆ ในแวดวง IoT ร่วมมือกันได้ง่ายขึ้น

ARM เรียกกรอบการทำงานนี้ว่า Platform Security Architecture (PSA) โดยครอบคลุมการทำงานหลายส่วน ตั้งแต่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริษัทด้านความปลอดภัย ระบบเครือข่าย ไปจนถึงผู้ให้บริการคลาวด์ และมีบริษัทที่เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เช่น NXP, Renesas, Symantec, Google, Microsoft, AWS, Baidu, Alibaba

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าวที่ไมโครซอฟท์ประกาศว่ากำลังพัฒนา Windows 10 ให้รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม ARM ซึ่งเป็นซีพียูที่นิยมใช้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตหลายๆ รุ่น ทำให้มีอาจมีบางคน (เช่นแฟนๆ Windows Phone ที่ยังเหลือรอดอยู่) ตั้งข้อสงสัยว่ามือถือรุ่นล่าสุดของไมโครซอฟท์เองอย่าง Lumia 950 และ Lumia 950 XL จะมีสิทธิได้รับการอัพเดตเป็น Windows 10 on ARM ซึ่งเป็นวินโดวส์ตัวเต็มได้หรือไม่

ล่าสุดได้มีการยืนยันจากทางไมโครซอฟท์แล้วว่าจะไม่มีการพัฒนา Windows 10 on ARM ให้รองรับมือถือรุ่นปัจจุบันแต่อย่างใด เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยในรายการ Windows Insider Broadcast โดยผู้บริหารของไมโครซอฟท์ Joe Belfiore ได้ให้ข้อมูลดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

แผนการใหญ่ Windows on ARM ของไมโครซอฟท์กับ Qualcomm ต้องเจออุปสรรคซะแล้ว เมื่ออินเทลออกมาประกาศว่าพร้อมดำเนินคดีกับผู้ละเมิดสิทธิบัตร x86 ด้วยการสร้างอีมูเลเตอร์

อินเทลไม่ได้ระบุชื่อของบริษัทใดออกมาโดยตรง แต่บอกว่าพร้อมปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตน โดยยกตัวอย่างคู่แข่งในอดีตไม่ว่าจะเป็น AMD, Cyrix, VIA ที่สุดท้ายต้องยอมซื้อไลเซนส์ x86 จากอินเทล และยกกรณีของบริษัท Transmeta ที่พยายามสร้างอีมูเลเตอร์ x86 รันบนซีพียูของตัวเอง และโดนอินเทลบีบด้วยสิทธิบัตรเกี่ยวกับชุดคำสั่งนั่นเอง

อินเทลขู่ว่าถ้ามี "ความพยายามครั้งใหม่" ในการสร้างอีมูเลเตอร์ x86 โดยละเมิดสิทธิบัตรของตน ก็พร้อมจะใช้มาตรการทางกฎหมายต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

อีกประเด็นที่น่าสนใจในการเปิดตัว Cortex-A75 และ Cortex-A55 ของ ARM ในวันนี้ คือเราไม่จำเป็นต้องใช้การวางคอร์ big.LITTLE แบบ 4+4 เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว

เทคโนโลยีอีกตัวที่ ARM เปิดตัวมาพร้อมกันเรียกว่า DynamIQ ที่ช่วยให้ผู้ผลิตซีพียูที่ซื้อไลเซนส์ไป (เช่น Qualcomm หรือ Samsung) สามารถจัดเรียงคลัสเตอร์ของคอร์ได้อิสระมากขึ้น เช่น จะเรียงแบบ 1b+2L หรือ 1b+7L ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 4b+4L แบบสมมาตรอย่างในอดีต หรือในบางงานเราสามารถใช้คอร์ LITTLE เพียงอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน (ข้อจำกัดของ DynamIQ คือใส่คอร์ได้สูงสุด 8 คอร์ และใส่ big ได้สูงสุด 4 คอร์)

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัวซีพียูใหม่ทั้งระดับเรือธงและระดับกลางคือ Cortex-A75 และ Cortex-A55 ซึ่งเป็นซีพียูชุดแรกที่ผลิตบน DynamIQ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมไมโครของ big.LITTLE รองรับการคอนฟิกคลัสเตอร์ที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงรองรับการประมวลผล AI และ Machine Learning

สำหรับ Cortex-A75 ถูกปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจาก A73 อยู่ 20% ประสิทธิภาพการทำงานแบบมัลติคอร์ดีขึ้น 50% มีค่า memory throughput สูงขึ้น 16% รองรับการเพิ่มการใช้พลังงานสูงสุด 2W พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบนอุปกรณ์หน้าจอใหญ่ 30% เพื่อรองรับอุปกรณ์ Windows ที่จะมาปลายปีนี้

Tags:
Node Thumbnail

ที่งาน Build 2017 ไมโครซอฟท์สาธิตเดโมของ Windows 10 on ARM ที่เคยประกาศข่าวไว้เมื่อปลายปี

หน้าตาของ Windows 10 on ARM คงไม่มีอะไรต่างไปจาก Windows 10 บนซีพียู x86 ตามปกติ แต่ข้อมูลที่สำคัญคือมันสามารถรันโปรแกรมแบบ x86 ได้ด้วย (ใช้วิธีรันบนอีมูเลเตอร์อีกทีหนึ่ง) ในคลิปเป็นการสาธิตแอพ 7Zip ที่คอมไพล์มาแบบ x86 โดยไม่ต้องแก้ไขโค้ดใดๆ

ตัวอีมูเลเตอร์ที่ใช้แปลงโค้ด x86 เป็น ARM เป็นตัวเดียวกับที่แปลงโค้ด x86 แบบ 32 บิทมารันบนซีพียู x86 แบบ 64 บิท (สำหรับแอพที่เขียนด้วย UWP และเผยแพร่ผ่าน Store จะถูกคอมไพล์เป็น ARM โดยตรงอยู่แล้ว ไม่ต้องผ่านอีมูเลเตอร์ตัวนี้)

Tags:
Node Thumbnail

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวงการรถยนต์กำลังอยู่ในช่วงก้าวแรกของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคที่เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการขับขี่ ทำให้เทคโนโลยีเรื่องกล้องมีบทบาทบนรถยนต์มากขึ้นตามไปด้วย

ขณะที่ ARM ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชิปเซ็ตสำหรับสมาร์ทโฟนก็หันมาตีตลาดชิปเซ็ตกล้อง (Image Signal Processor) แล้วด้วย Mali-C71 เพียงแต่เป็นชิปเซ็ตกล้องบนรถยนต์ ซึ่ง Mali-C71 ถูกออกแบบมาสำหรับระบบช่วยเหลือคนขับอัจฉริยะ (Advanced Driver Assistance Systems - ADAS) โดยเฉพาะ ขณะที่เป้าหมายในระยะยาวคือการควบคุมกล้องบนรถยนต์ไร้คนขับในอนาคต

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อปลายปีก่อน ไมโครซอฟท์และ Qualcomm ประกาศว่าสามารถรัน Windows 10 ตัวเต็มบนสถาปัตยกรรม ARM ได้แล้ว โดยสามารถรองรับแอพ x86 และ x64 ได้ ไม่มีข้อจำกัดเหมือน Windows RT แล้ว แต่ก็ยังไม่มีข่าวของอุปกรณ์แต่อย่างใด

วันนี้ Steve Mollenkopf ซีอีโอของ Qualcomm ได้กล่าวถึงในการรายงานผลประกอบการของบริษัทว่าอุปกรณ์ Windows 10 ที่รันบนชิปเซ็ต Snapdragon 835 มีกำหนดการออกสู่ตลาดในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

ทั้งนี้ ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะเป็นอุปกรณ์ประเภทใด (Steve Mollenkopf ใช้คำว่า Mobile PC)

Tags:
Node Thumbnail

ปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลภาพในโทรศัพท์มือถือมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ฟิลเตอร์เครื่องแต่งกายตามแอปไลฟต์ต่างๆ ตอนนี้ ARM ก็ออกมาปล่อยไลบรารีสำหรับการรีดประสิทธิภาพซีพียูและจีพียูให้ทำงานเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น

ARM Compute Library รองรับฟังก์ชั่นพื้นฐานคล้ายกับ OpenCV เช่น การประมวลสีภาพ หรือฟิลเตอร์ HOG (histogram of oriented gradients) ไปจนถึงฟังก์ชั่นคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น SVM (support vector machines) หรือ convolutional neural networks

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Qualcomm (ภายใต้บริษัทลูก Qualcomm Datacenter Technologies) และ Cavium ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์สาย ARM เปิดตัวต้นแบบ Windows Server เวอร์ชันที่ทำงานบนซีพียูสถาปัตยกรรม ARM แล้ว

เซิร์ฟเวอร์ของ Qualcomm ใช้ซีพียู Qualcomm Centriq 2400 ซึ่งเป็นซีพียู ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ผลิตที่ระดับ 10 นาโนเมตร มีจำนวน 48 คอร์ ส่วนเซิร์ฟเวอร์ของ Cavium ใช้ซีพียู ThunderX2 ARMv8-A ของตัวเอง

เซิร์ฟเวอร์ทั้งสองรุ่นรัน Windows Server เวอร์ชันพิเศษที่ใช้ภายในศูนย์ข้อมูลไมโครซอฟท์ โดยทีมงานของไมโครซอฟท์แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ ARM ไม่มีซอฟต์แวร์รองรับ ด้วยการพอร์ตตัวระบบปฏิบัติการ, รันไทม์, มิดเดิลแวร์มาสู่สถาปัตยกรรม ARM

Pages