Tags:
Node Thumbnail

iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ผ่านวาระ 2 ไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่วาระ 3 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ iLaw ยังเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างให้เขียนจดหมายถึง สนช. ทุกช่องทาง ทั้ง Facebook Twitter และอีเมลของสมาชิก สนช.

iLaw สรุปข้อคิดเห็นสำคัญต่อร่างนี้ไว้ 2 หัวข้อใหญ่ คือ

  • ไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการกลั่นกรองเนื้อหา ในมาตรา 20 ของร่างดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ 5 คนมาทำหน้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อบล็อกเว็บไซต์ ไม่เพียงเว็บไซต์ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่ขยายขอบเขตไปยังเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ซึ่งยังกำกวมและไม่ชัดเจน

No Description

  • ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดนิยามกว้างขวาง จนโพสต์ข้อความหรือเนื้อหาอะไรไม่ได้ ในมาตรา 14 (1) และ (2) การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีการขยายฐานความผิดให้กว้างกว่าเดิม นำเข้าข้อมูลเท็จโดยทุจริตหรือหลอกลวง แก้ไขเพิ่มเติมโทษผู้นำเข้าสู่ระบบหรือเผยแพร่ส่งต่อ โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ความมั่นคง ความปลอดภัยสาธารณะ เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลลามก มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และใน (2) มีเพิ่มความผิดที่กระทบต่อการบริการสาธารณะ ความปลอดภัยสาธารณะ ยังมีความกำกวมสูงเช่นกัน ส่งผลให้ประชาชนไม่กล้าโพสต์หรือนำเข้าข้อมูลใดๆ เข้าสู่ระบบเลย

No Description

อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ กรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ของ สนช. เผยว่า วันที่ 15 ธันวาคมนี้เป็นการประชุมวาระ 3 เป็นวาระสุดท้าย พร้อมยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ทำให้คนดีต้องเดือดร้อน จะครอบคลุมเฉพาะคนที่ทำผิดกฎหมายเท่านั้น

iLaw เคยจัดงาน "เกาะขอบสนามสนช. วิเคราะห์ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ" Blognone ได้เข้าร่วมและเขียนสรุปประเด็นสำคัญที่นาเป็นห่วงไว้แล้ว สามารถตามไปย้อนอ่านกันได้

ที่มา - iLaw และ Post Today

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 13 December 2016 - 13:22 #958335
panurat2000's picture

ILaw => iLaw

ที่กระทบต่อการบริการสาธารณะ การปลอดภัยสาธารณะ

การปลอดภัย => ความปลอดภัย

พร้อมยืนยันว่า นยันว่ากฎหมายฉบับนี้

ยืนยันว่า นยันว่า ?

และเขียนสรุปประเด็นสำคัญที่นาเป็นห่วงไว้แล้ว

ที่นา => ที่น่า

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 13 December 2016 - 14:57 #958375
zerocool's picture

ประเทศนี้สิ้นหวังแล้ว


That is the way things are.

By: namon2345
AndroidUbuntuWindows
on 13 December 2016 - 22:45 #958488 Reply to:958375

ถ้าเลือกเกิดได้น่ะ ผมจะ...

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 13 December 2016 - 15:02 #958381
LuvStry's picture

ประเทศยูกันดาออกกฎหมายที่ไม่เคยใช้กับตัวเองจะออกอะไรก็ได้ แย่จริงๆ


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: WattZ
AndroidRed HatSymbianWindows
on 13 December 2016 - 15:34 #958394
WattZ's picture

ผมว่าปล่อยผ่านไปก็ดีนะครับ เพราะถ้าเกิดผลกระทบที่เป็นผลเสียกันจริงๆ ตอนนั้นก็ค่อยออก action บางอย่างเพื่อเรียกร้องกันก็ได้ เพื่อจะได้เป็นข่าวไปเลย ออกแนวให้เห็นผลเสียกับตัวก่อน จะได้รู้สึก เพราะทุกวันนี้ ยังมีคนสนับสนุน (คณะทำงานชุดนี้) กับคนที่ไม่สนใจอะไรเลย อีกเยอะมาก

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 13 December 2016 - 15:45 #958399 Reply to:958394
Perl's picture

ถ้าปล่อยผ่านมันก็คล้ายๆ กับ "รับๆ ไปเถอะเดี๋ยวค่อยแก้"
แล้วพอแก้จริงก็แบบที่เห็นเนี่ยหล่ะครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 December 2016 - 16:00 #958407 Reply to:958394
lew's picture

ที่ผ่านมาก็โดนคดีกันไปหลายคนนะครับ ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว


lewcpe.com, @wasonliw

By: ideocondo on 13 December 2016 - 16:38 #958423 Reply to:958394

ก็ฟอร์มเดิมๆคือปลุกระดมมวลชน พยายามสร้างข้อกังขา ความหวาดกลัวล่วงหน้า.
เล่นกับความกลัวของคนง่ายสุดแล้ว . ตัวอย่างคดีธรรมกายนี่ใช่เลย
ทั้งเส้นทางกระจายเงิน เส้นทางสื่อสาร ปิดตายหมด ตรวจสอบอะไรไม่ได้ กลายเป็นหลุมดำ.

พลเมืองเน็ตนี่คืออะไร ผมไม่เข้าใจเลย คนเข้าไปอยู่ในเน็ตได้ตั้งแต่เมื่อใหร่ ??? เท้ายืนบนแผ่นดินกันทั้งนั้น
หรือเป็นแค่วาทกรรมชักจูงกลุ่มเป้าหมายคือคนที่ใช้งานอินเตอร์เนต ?? แนวเดียวกับการตลาดเฉพาะกลุ่ม
รถสำหรับคุณผู้หญิง . โฟมสำหรับผู้ชาย . เครื่องดื่มสำหรับคนวัยมัน . ทั้งที่จริงๆใส้ในก็อย่างนั้น

ถ้าปล่อยไว้ผมจะมั่นใจได้ยังไง ว่ากลุ่มพลเมืองเน็ตอะไรนี่ หัวโจกไม่มีอะไรอยู่เบื้องหลัง
เพราะเป็นใครก็ไม่ทราบ ตรวจสอบอะไรก็ไม่ได้ มีพฤติกรรมอย่างไรบ้างก็ไม่ทราบ มาชักจูงคนมีเป้าหมายอะไร

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 13 December 2016 - 16:50 #958429 Reply to:958423
LuvStry's picture

คนเข้าไปอยู่ในเน็ต... ครับ

การใช้สิทธิ์ตั้งข้อสงสัยแล้วโพสต์ออกมาเนี่ยหละครับที่เขากำลังจะริดรอนมันไปจากคุณ เพราะถ้าวันไหนเขารู้สึกว่า ข้อสงสัยของคุณมันขัดต่อความสงบภายในประเทศ บลาๆ คุณก็จะมีความผิดทันทีครับ


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: ideocondo on 14 December 2016 - 01:33 #958502 Reply to:958429

ถ้าการกระทำใดๆของผมขัดต่อความสงบของประเทศ จริง ผมขอติดคุกดีกว่า :V จบง่ายไม่วุ่นวาย
บางคนกลายเป็นซอมบี้ไปแล้ว ถ้ารู้ตัวทีมก็จะรอด

มันเป็นกลยุทธ์พื้นฐาณของหน่วยรบพิเศษที่ทั่วโลกเรียนกัน
คือการแทรกซึม - เปลี่ยนคนพื้นเมืองให้เป็นพวก แล้วทำตามเจตจำนงที่วางไว้ USSOCOM ทำได้หมด
ยกตัวอย่างกระเหรี่ยงคริสต์ในเมียนมานั่นก็ใช่ มีชาติอื่นหนุนหลัง

อเมริกาเป็นชาติที่มีทหารคุมทั้งโลกอยู่ ในภูมิภาคนี้ก็มี USSPACOM .
ถึงต้องยกภูเก็ตให้เป็นเมืองฝรั่งไป ปัจจุบันพวกรบพิเศษของทุกประเทศก็มีความสามารถนี้
ดังนั้นเวลาที่เห็นมีใครกระทำการที่นำไปสู่ความขัดแย้ง .
คิดไว้ให้มั่น ว่ามีสิทธ์เป็นฝีมือของหน่วยต่างชาติสูง มันเป็นเรื่องปรกติ. ชาติอื่นก็พูดภาษาไทยได้ .

ตัวอย่างที่ดังๆ kopassus ของอินโด ดังเรื่องทำให้ศัตรูของศัตรูกลายเป็นมิตร .
บังเอิญ - วัยรุ่นที่จับได้จากภาคใต้ เคยมีคนนึงเคยฝึกทหารจากอินโด

ผมไม่คิดสนเรื่องริดรอน เพราะทุกวันนี้คนเราก็เบียดเบียนคนอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
แต่จะรู้ตัวหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ดูแค่ระบบประเทศดีขึ้นก็พอแล้ว

การตั้งข้อสงสัยพร้อมกับใส่ความก็ทำได้นะครับ .
ผมพูดว่า "นาย X เป็นขโมย " . กับผมพูดว่า "นาย X เป็นขโมยหรือไม่ "

ทั้งสองบทความนำไปสู่ผลเดียวกัน
คือทำให้ ชาวบ้าน สงสัยว่านาย X เป็นขโมย
แม้ข้อความที่สองอ้างได้อย่างบริสุทธ์ว่าเป็นการตั้งข้อสงสัยตามหลักสำนวนก็ตาม
นี่คือเสรีภาพของความชั่ว

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 14 December 2016 - 02:00 #958504 Reply to:958502
McKay's picture

เลิกโยงนู่นโยงนี่ให้วุ่นวาย แต่ข้อสรุปแสนบอบบางเถอะครับ

เผด็จการที่ยัดข้อหาให้ฝั่งตรงข้ามได้ง่ายๆนี่ไม่เรียกว่าชั่วเลย?

ชาวบ้านสงสัยนาย x ว่าเป็นขโมยก็ฟ้องศาลว่าผิดจริงหรือเปล่า ผิดไม่จริงนาย x ก็ฟ้องหมิ่นประมาท จบ กฎหมายหมิ่นประมาทก็มีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำให้ซ้ำซ้อน
คนมีอำนาจเผด็จการอยากกำจัดฝ่ายตรงข้าม ใช้ 3 อำนาจที่ตัวเองมี ออกกฎหมาย ออกคำสั่ง จับ เข้าศาลของตัวเอง เรียกว่าความดี?

ผมว่าคุณศึกษาการปกครองแบบทหารให้น้อยลง เลิกคลั่งไคล้การทหาร แล้วหันมาศึกษารัฐศาสตร์เพิ่มขึ้นดีกว่าไม๊ครับ? การปกครองแบบทหารแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เป็นสิ่งที่จำเป็นในการบริหารประเทศเลย?


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: ideocondo on 14 December 2016 - 02:22 #958505 Reply to:958504

นี่มันเป็นยุคที่ทุนนิยมแทรกซึมไปทุกภาคส่วน แล้ว
คุณแค่ไม่มีปัญญามองความสัมพันธ์ของระบบ แค่พยายามมองเป็นนิยายคนละเล่ม .
ตีกรอบความสมบูรณ์ของตัวเองไว้ในบริบทสมมุติ .

ขนาดองกรณ์สงฆ์ที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภาเหมือนกัน (คล้ายลักษณะของรัฐคู่ขนาน)
พอถูกทุนแรกซึมก็กลายเป็นแบบ ธรรมกาย ปรากฎเห็นชัดเจนอยู่ ณ ตอนนี้ .

ทหารก็เหมือน low level programming . เป็นรากฐาณของ API อื่น . วินโดวส์เจ๊ง ก็ยังเปิด dos ได้ .
ผมว่าคุณต่างหากที่เข้าใจผิด หน่วยความมั่นคง คือพื้นฐาณของอธิปไตยของทุกชาติ . สิ่งอื่นกำเนิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น .
ถ้าบังคับใช้ควบคุมความมั่นคงไม่ได้ ก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ นโยบายไม่มีวันสัมฤทธ์ผล .
สิงคโปร์ก็เป็นรัฐตำรวจ ถึงกับจ้าง กรุข่า(หน่วยรบที่ดีที่สุดในโลก ) แต่จ้างมาเป็น "ตำรวจ" เท่านั้น .
หรือคุณจะบอกว่าสิงคโปร์บริหารประเทศไม่เป็น ?

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 December 2016 - 13:35 #958506 Reply to:958505
McKay's picture

edit: ไว้พรุ่งนี้หลังสามทุ่มนะครับ
edit2: ว่าจะมาตอบเรื่องความมั่นคงที่มีทั้งความมั่นคงของอธิปไตยภายใน อธิปไตยภายนอก เศรษฐกิจ แต่เห็นคุณคอมเม้นต์กับคนอื่นด้านล่างแบบนั้นผมคงไม่ตอบอะไรแล้วหล่ะครับ


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 14 December 2016 - 05:18 #958511 Reply to:958505
zerocool's picture

ถึงขั้นชี้หน้าว่าคนอื่นไม่มีปัญญากันเลยทีเดียว ถ้าจะกล้าดูถูกคนอื่นซึ่งหน้าแบบนี้รบกวนช่วยเขียน resume บรรยายสรรพคุณความเก่งกาจของคุณประกอบด้วยก็ดีนะครับ เรียนจบที่ไหนมา เรียนจบสายไหนมา อายุเท่าไร ประสบการณ์ชีวิตมีมากน้อยแค่ไหน เผื่อคนอื่นได้มาอ่านจะได้ตกตะลึงในความล้ำลึกดุจมหาสมุทรของคุณขึ้นมาบ้าง

กลัวทุนนิยม ห่วงความมั่นคงจนละเลยเสรีภาพ แถมยกตัวอย่างเรื่องธรรมกายมาอีก มันเป็นการยกตัวอย่างที่ไม่ค่อยเข้าท่าอย่างแรง ทำไมประเทศอื่นที่มีกฎหมายรัดกุมชัดเจนสามารถจับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ แต่คุณกลับกลัวว่าประเทศเราจะทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเขียนกฎหมายคลุมเครือครอบคลุมไปทุกเรื่องเอาไว้ก่อน แล้วให้ตำรวจอัยการศาลไปตีความบังคับใช้กันตามใจกันเอาเอง ส่วนประชาชนก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะแสดงความคิดเห็นอะไรได้บ้าง

นี่หรือคือมาตรฐานที่ควรจะเป็นสำหรับประชาชน ?

กลัวตรวจสอบเส้นทางการเงินของธรรมกายไม่ได้ แต่ไม่สนใจที่คนบางคนถูกจับเพียงเพราะ share ข่าวและข้อความบางส่วนจากข่าวบน Facebook ของตัวเอง ?? แถมถูกจับแค่เพียงบางคนทั้ง ๆ ที่ share กันไปเป็นพันคน แบบนี้คือความถูกต้องของกฎหมายหรือเป็นแความถูกใจของใครบางคน

นี่ยังไม่อยากพูดเรื่ององค์กรสงฆ์ที่คุณว่ามาอีกนะ น่าจะลองสืบย้อนกลับไปดูบ้างว่าองค์กรสงฆ์ใครเป็นคนแต่งตั้งบรรดาศักดิ์มาตั้งแต่สมัยก่อนดูน่าจะดีกว่า ผมไม่เห็นว่าการแต่งตั้งแบบ top down ให้กับบางกลุ่ม จากนั้นให้ในกลุ่มไปเลือกหัวหน้ามาอีกที จะเหมือนระบบรัฐสภาตรงไหนเลยด้วยซ้ำ

อ่านแล้วเพลียมากเลย พูดตามตรง ปลงแบบหมดแรง

ปล. เดี๋ยวจะหาว่าผมเป็นพวกธรรมกายออกมาแก้ต่างให้อีก เลยต้องขอบอกไว้ก่อนว่าผมไม่นับถือธรรมกายเลยแม้แต่น้อย จริง ๆ ผมไม่ได้นับถือพระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่เลยด้วยซ้ำ อาจจะมีนับถือแค่บางรูปที่จริยวัตรดีงามจริง ๆ แต่หลัก ๆ ผมนับถือแค่พระพุทธกับพระธรรมเท่านั้น


That is the way things are.

By: ideocondo on 14 December 2016 - 06:01 #958513 Reply to:958511

" กฎหมายรัดกุม จับอาชญากรได้ " นั่นไงละครับ
ไทยจึงต้องมีกฎหมายที่รัดกุมไม่ให้อาชญากรมี ช่องทางละเว้น
ช่องทางที่รัดกุม . ก็แปลว่าต้องครอบคลุมกว้างที่สุด

เหมืองข้องปลา จะคัดปลาดีปลาร้าย ก็ต้องเริ่มจากเห็นปลาในบ่อเสียก่อน
ถ้าปิดตาก็คงจับปลาไม่ได้ ถ้ามัวแต่จับปลาขอบบ่อก็คงไม่เจอปลาร้าย

อาชญากร ก็เป็นประชาชน มีบัตรประชาชน เหมือนคุณ และผม

By: Lennon
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 14 December 2016 - 07:17 #958523 Reply to:958513

"ช่องทางที่รัดกุมก็แปลว่าต้องครอบคลุมกว้างที่สุด"

คนที่คิดแบบนี้มีสองพวกครับ

  1. พวกที่ไม่เคยทำงานเกี่ยวกับด้านนั้นมา เลยไม่รู้ต้องป้องกันอะไรหรือเขียนยังไง ก็หว่านแหไปเรื่อย
  2. พวกที่บ้าอำนาจ อยากได้อำนาจตัดสินไว้คนเดียวและชอบให้คนอื่นมาพินอบพิเทา

จากสำนวนที่คุณเขียนมา ผมเดาว่าคุณอาจจะเป็นทั้งสองแบบครับ คือยังไม่มีทั้งประสบการ์ณทำงานและบ้าพลังด้วยอีกตะหาก

ส่วนจากประสบการ์ณของผม แม้จะไม่ได้ทำงานด้านกฏหมายแต่ก็ทำเกี่ยวข้องกับการออกนโยบายที่มีผลบังคับใช้ต่อองค์กร ผมพบว่าการเขียนให้กว้างและคลุมเครือนำมาซึ่งปัญหามากมายไม่รู้จบ เพราะทุกคนต่างมีเหตุผลของตัวเองแม้แต่โจรปล้นเงินก็ยังมีเหตุผลของเขานะครับ

สุดท้ายและสำคัญที่สุด คือ การเขียนกว้างๆจะทำให้คนตัดสินความดูเป็นคนขาดความชอบธรรม เพราะไม่ว่าตัดสินอย่างไรก็ไม่มีทางถูกใจทุกคนได้ ก็มันไม่มีบันทัดฐานมาแต่แรกแล้วนี่นา แล้วการใช้เส้นสาย คอนเนคชั่นก็จะตามมาเป็นปัญหางูกินหางวนไปเข้าสู่วงจรอุบาทว์เดิมๆที่คุณกลัวแบบพระธรรมกายนั่นล่ะครับ

By: ideocondo on 14 December 2016 - 18:30 #958737 Reply to:958523

แค่พื้นฐาณคุณก็เข้าใจผิดแล้ว ยิ่งคิดยิ่งเข้ารกเข้าพงนะผมว่า

กฎหมายมันไม่ได้เหมือนโยบายบริษัท นโยบายไม่ใช่กฎ
ย้ำอีกที นโยบาย ไม่ใช่กฎ .

กฎหมาย . ไม่ใช่ . คำตัดสิน
กฎหมาย . ที่เขียน . เพื่อให้ตำรวจ . นำคดีเข้าสู่กระบวนการ . ยุติธรรม .
แปลว่า . รับฟ้อง . รับแจ้ง .

ด่วน . ตัดสิน . เทียน . เอาเอง . เพื่อ ?

By: Lennon
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 14 December 2016 - 19:05 #958742 Reply to:958737

คุณเคยอยู่ในคณะกรรมการออกนโยบาย หรือ กฏ หรืออะไรบ้างหรือเปล่าครับ? ถ้าไม่ ผมว่าผมไม่ขอเสียเวลามาคุยกับคุณแล้วดีกว่าครับ ท่าทางแปลกๆ ครับ บ่องตงๆ

By: Aoun
AndroidWindows
on 14 December 2016 - 19:02 #958741 Reply to:958505

"หน่วยความมั่นคง คือพื้นฐาณของอธิปไตยของทุกชาติ . สิ่งอื่นกำเนิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น"
ญี่ปุ่น สิงคโปร์ คงถึงกาลปวสานพรุ่งนี้แน่ๆ 555 อะลกอริทึ่ม แปลกๆ

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 15 December 2016 - 00:36 #958791 Reply to:958502
LuvStry's picture

งั้นสรุปว่าคุณไม่ได้สนเรื่องริดรอนสิทธิเพราะว่าคุณเห็นเป็นเรื่องธรรมดาที่ยอมรับได้ แต่มันก็แปลกเพราะไม่ว่าคุณกำลังคิด หรือเลือกแบบไหน คุณก็กำลังใช้เสรีภาพที่คุณบอกไม่สนใจมันอยู่ดีครับ

ประเด็นอื่นผมไม่แตกต่อนะครับ เพราะคุณแสดงออกได้ชัดเจนอยู่แล้วว่ามีชุดความคิดแบบไหน

แต่มันน่าเศร้าใจครับว่า เดินไม่เคยสุดสายโซ่ ก็ยัง ไม่รู้ว่าตัวเองถูกล่าม


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: ideocondo on 15 December 2016 - 03:04 #958808 Reply to:958791

ถ้าคุณจะใช้วาทกรรมเรื่องสิทธิเล่นเน็ต
ผมก็ขอให้ย้อนกลับไปดูเมื่อ 10 ปีก่อน ทุกคนมีสิทธิเล่นเน็ต เหมือนทุกวันนี้หรือไม่มี

คุณจะเห็นได้ว่าเสรีภาพ(เล่นเน็ต) ที่ขยายตัวอย่างไร้ขีดจำกัด มันขยายตัวไปเรื่อยๆ
จนเกินเส้นกลายเป็นอนาธิปไตยหรือ "หลุมดำ" ที่ควบคุมไม่ได้ . ทุกวันนี้มิจฉาชีพใน facebook เกลื่อนไปหมด .
ขายครีมเถื่อน ขายสินค้าไม่เสียภาษี นำเข้าของผิดกฎหมาย .
และเสรีภาพ (เล่นเน็ต) ที่ขยายตัวไม่จำกัดนี้ มันมาเมื่อ 8-10 กว่าปีเท่านั้นเอง

ในขณะที่เสรีภาพพื้นฐาณประการอื่น (ที่มีมามากกว่า 10-20 ปี)
และไม่มีการขยายตัว ยังใช้กฎหมายพื้นฐาณควบคุมได้

เพราะ "เทคโนโลยี ขยายตัว จนเกินขอบเขต" . " กฎหมายจึงพัฒนาตาม "
เพื่อให้เกิด "สมดุลของสิทธิและเสรีภาพ"

ในอนาคต ถ้าหาก "เสรีภาพในการทิ้งขยะ" ของประชาชนเพิ่มเป็น 120 ล้านคน
ก็จะมีกฎหมายออกมาริดรอนสิทธิ "ในการทิ้งขยะอย่างไรก็ได้"
จนคนต้องออกมาประท้วงอีกเช่นกัน และก็จะมีคนใช้วาทกรรม ”ล่ามโซ่" อีกเช่นเคย

เรียกร้องอยากเป็น "ประเทศพัฒนา" แต่กลับไม่พร้อมจะพัฒนา "วัตร"

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 15 December 2016 - 06:38 #958813 Reply to:958808
zerocool's picture

เอาเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นไปเทียบกับเรื่องการทิ้งขยะ ... สุดยอด analogy แห่งปี ไม่ลึกล้ำจริงเปรียบเทียบแบบนี้ไม่ได้แน่นอน

ใคร่ขอเรียนเชิญให้รีบแปะประกาศ resume ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานให้ทราบโดยทั่วกันโดยด่วน

ดูจากการที่ยกตัวอย่างเรื่องทิ้งขยะนี่น่าจะอายุไม่ถึง 35 ปี แต่ก่อนประเทศไทยทิ้งขยะกันตามใจฉันกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากนัก ถนนหนทางบาทวิถีนี่เต็มไปด้วยขยะ ขับมอเตอร์ไซค์วิ่งเห็นถุงก๊อบแก๊บปลิวกันเป็นเรื่องปกติ จนรัฐต้องออกมาตรการต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาแก้ไข ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็กินเวลาไปหลายปีเหมือนกัน

ไม่รู้ว่าไปเอาคำนี้มาจากไหน "เสรีภาพในการทิ้งขยะ" ทุกวันนี้ตัวบทกฎหมายมีบทลงโทษเขียนกำกับเอาไว้หลายมาตราหลายพระราชบัญญัติ ใช้กำกับหน้าที่ทั้งส่วนหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป กำหนดไว้เป็นจุดสัดส่วนทางน้ำทางบก แยกประเภทเป็นขยะอันตรายหรือขยะทั่วไป

แน่นอนว่ากฎหมายย่อมต้องสามารถถูกพัฒนาไปได้อีกในอนาคต อาจจะเพิ่มความละเอียดในการแยกประเภทมากยิ่งขึ้นเพื่อการ recycle ควบคุมของเสียจากบ้านเรือนประชาชนมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ต้องว่ากันไปตามความเหมาะสม และแน่นอนว่าย่อมต้องมีความชัดเจน

คงไม่ใช่เขียนกฎหมายบอกว่า ประชาชนต้องแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อมิให้ขัดต่อ "ศีลธรรมอันดี" ของประเทศ เขียนแบบนี้ใครมาอ่านก็ต้องงงว่าสุดท้ายแล้วต้องแยกขยะอย่างไร แทนที่จะเขียนแยกว่าเป็นขยะติดไฟได้ ติดไฟไม่ได้ ขยะเปียก ขยะแห้ง ไม้ แก้ว พลาสติก อะไรก็ว่าไป

สมดุลของสิทธิและเสรีภาพย่อมต้องมี แต่สิ่งที่จะสร้างสมดุลนั้นได้มีเพียงแค่สิ่งเดียวคือคนในสังคมเท่านั้น ไม่ใช่ให้คนบางคนมีสิทธิ์ขาดเหนือคนอื่น มาออกคำสั่งที่คลุมเครือ แล้วบอกว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามทั้ง ๆ ที่คนอีกจำนวนมากในสังคมไม่ยอมรับ

แบบนี้เขาเรียกการบังคับด้วยกำลัง ไม่ใช่ความเห็นชอบที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม

ปล. อย่าให้รู้นะครับว่าทุกวันนี้แอบใช้ VPN เข้า web xxx ทั้ง ๆ ที่รัฐห้ามไม่ให้คุณเข้า ถ้าทำก็ไม่ต้องมาพูดอะไรให้มากความอีก แล้วก็อย่าลืมเรื่อง resume ด้วยนะครับ กล้าดูถูกคนอื่นเสียขนาดนั้น หวังว่าเรื่องแค่นี้ก็น่าจะกล้าเปิดเผยนะ


That is the way things are.

By: nrml
ContributorIn Love
on 15 December 2016 - 09:57 #958843 Reply to:958808
nrml's picture

สิ่งที่คนกังวลกันอยู่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเสรีภาพที่มากเกินไปอย่างที่คุณว่ามาครับ แต่เป็นเรื่องของการเขียนกฎหมายมาแบบกว้างๆ จนดูสุ่มเสี่ยงและเอื้อต่อการนำไปใช้อำนาจโดยมิชอบ ซึ่งมันต้องมาถกกันแยกย่อยในแต่ละประเด็นแต่ละมาตรา ซึ่งผมว่าคนที่นี่ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับเรื่องที่ต้องพัฒนากฎหมายให้ทันยุคสมัยและสภาพสังคมอย่างที่คุณว่ามานะครับ

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 18 December 2016 - 22:05 #959635 Reply to:958808
LuvStry's picture

โอย...มันก็บันเทิงดีครับ ยิ่งช่วยให้ผมเห็นชุดความคิดมากขึ้นไปอีก เอาเป็นว่า สิทธิ กับเสรีภาพ มันคนละอย่างกัน รับความจริงเรื่องนี้ให้ได้ก่อนครับ

ผมว่าโลกอินเตอร์เน็ตมันอาจจะอยู่ยากไปสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินเสียงความคิดของคนอื่นครับ แถมยังรับความแตกต่างไม่ได้ เสียงมันจะคอยปลุกให้ต้องตื่นจากความฝันทุ่งลาเวนเดอร์ขึ้นมาพบว่ามันมีคนอื่นอีกมากที่คิดอะไรแปลกๆ แบบผม แบบคุณ และอีกหลายคนๆ

มันน่าเศร้าตรงที่ แทนที่จะพยายามปิดหูตัวเอง กลับพยายามปิดปากคนอื่นแทน


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 13 December 2016 - 16:56 #958431 Reply to:958423
mr_tawan's picture

ผมว่ามันเริ่มจากกฎหมายที่ไปแยกคนออกจากเน็ต (ด้วย พรบ.คอมพิวเตอร์) นะครับ :P

มันก็เลยลามกลายเป็นว่า คนบนเน็ตกับคนเดินดินเป็นคนละคนกัน


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: kenoneo
iPhone
on 14 December 2016 - 10:39 #958586 Reply to:958394
kenoneo's picture

Blognone ให้เสรีภาพในการคอมเมนต์ได้ ก็เหมือนเราๆ ในโลกอินเตอร์เน็ตตอนนี้อ่ะคับ แต่ถ้าปล่อยกฎหมายนี้ผ่านไป บางทีคุณอาจจะกลับมาเมนต์แบบนี้ไม่ได้นะฮะ เพราะมันไม่อิสระแล้ว

By: nrml
ContributorIn Love
on 14 December 2016 - 22:31 #958780 Reply to:958586
nrml's picture

เขาคงไม่เดือดร้อนหรอกมั้งครับ เพราะเห็นว่ายอมติดคุกแต่โดยดี

By: Aize
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 13 December 2016 - 15:39 #958397
Aize's picture

ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ทำให้ "คนดี" ต้องเดือดร้อน .... คำนิยามของ "คนดี" แต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน เป็นไปได้ ช่วยกำหนดกฎเกณฑ์ ที่เป็นรูปธรรม ออกมาหน่อยเถอะครับ ว่า ความหมายของคำว่า "คนดี" ของท่าน มีอะไรบ้าง อะไรที่ทำแล้ว จะไม่เป็นคนดี ....


The Dream hacker..

By: blackjaguar29 on 13 December 2016 - 16:27 #958421 Reply to:958397

คนดี=ทำตามกฎ,คล้อยตาม,เชื่อฟัง,ทาส

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 13 December 2016 - 19:10 #958449 Reply to:958397
Thaitop_BN's picture

คนดี = เป่านกหวีด

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 13 December 2016 - 15:46 #958400
Perl's picture

เขียนกฏหมายให้มันชัดเจน ไม่กวม มันมีปัญหามากนักหรือไง

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 13 December 2016 - 15:52 #958401 Reply to:958400

concept ตอนออกร่าง(.....)ช่วงแรกๆที่สนช.เข้ามาทำหน้าที่ก็เห็นพูดออกสื่อชัดว่าออกให้กว้างๆ ไม่ให้เฉพาะเจาะจงตั้งแต่แรก

ก็นะ.... ระดับสติปัญญาของ baby boomer ก็ตามวัยแหละครับ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 13 December 2016 - 16:57 #958433 Reply to:958400
mr_tawan's picture

ยากครับ

กฎหมายปัจจุบันเขียนมาให้นักกฎหมายอ่าน เขียนด้วยภาษากฎหมายไม่ได้ใช้ภาษาไทยเขียนด้วยซ้ำ คนไทยส่วนใหญ่อ่านไม่รู้เรื่อง


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 13 December 2016 - 18:05 #958443 Reply to:958433
put4558350's picture

ตามนั้นแหละครับ กตหมายเดี๋ยวนี้เอาไว้ตีความ ตีไปตีมาตามความต้องการของศาล


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 December 2016 - 21:50 #958475 Reply to:958433
lew's picture

อันนี้คนละเรื่องครับ ภาษากฎหมายอ่านยากเรื่องหนึ่ง เขียนให้กว้างไว้นี่อีกเรื่องหนึ่ง

อย่างเรื่องมาตรา 14 ที่บอกว่าจะใช้จับเว็บ phishing ผมยืนยันว่าเขียนให้เจาะจงกว่านี้ได้แน่ๆ (ข้อมูลเท็จที่จงใจให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่ากำลังทำธุรกรรมกับหน่วยงานอื่น อะไรแบบนั้น)


lewcpe.com, @wasonliw

By: mkcd_toy
AndroidRed HatUbuntu
on 13 December 2016 - 15:56 #958406
mkcd_toy's picture

คนดี มันก็แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาวัด

By: blackjaguar29 on 13 December 2016 - 16:13 #958415

ข่าววัดธรรมกายอย่างเยอะ
จะจับแล้วน้า~
อ๊ะ เลื่อนไปก่อนน้า~
ให้โอกาสอีกทีน้า~

กลบข่าวได้มิดเลย

By: sunVSmoon
Windows
on 13 December 2016 - 16:56 #958432 Reply to:958415

คงเป็นความบังเอิญ...
หลายครั้งที่บังเอิญมีข่าวจับกุม...แต่งงาน...เลิกกัน
ในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ...จนนักข่าวไม่มีเวลามาสนใจ

หรือ...นักข่าวก็ตั้งใจที่จะไม่สนใจ

By: rattananen
AndroidWindows
on 13 December 2016 - 16:30 #958422

จะมีการรวมตัว F5 ที่เว็บไหนก็บอกนะครับ ผมจะไปแจมด้วย

By: rattananen
AndroidWindows
on 13 December 2016 - 21:29 #958469 Reply to:958465

กด F5 มันผิดกฎหมายด้วยเหรอครับ
และผมชวนไป F5 ครับไม่ใช่ DDoS

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 13 December 2016 - 21:47 #958474 Reply to:958469

ถ้าไม่เข้าใจคำว่า DDoS ก็ไปปลูกสะระแหน่ก็ได้นะครับ ไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว

แล้วก็บอกพวกที่แสดงตัวในช่อง Vice ด้วยว่าที่แฮกไปมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงประเทศอะไรเล๊ย อำนาจมันอยู่ที่ปืนโน่นไม่ใช่คีย์บอร์ด

By: thanyadol
iPhone
on 14 December 2016 - 17:33 #958730 Reply to:958474

มันก็เปลี่ยนไม่ได้ทั้งนั้นแหละครับ ที่มาเรียกร้องกันอยุ่ในนี้ก็ไม่ได้หรอก เป็นได้แค่แฟลช

By: Kittichok
Contributor
on 14 December 2016 - 13:00 #958636 Reply to:958469
By: จักรนันท์ on 14 December 2016 - 22:18 #958771 Reply to:958469

ผมอ่านความเห็นคุณ rattananen แล้ว ผมเข้าใจว่าความเห็นเขาเป็นความเห็น "เอาฮา" นะครับ
ดูท่าท่านอื่นคงจะไม่เห็นในมุมฮาแบบที่ผมเห็น ผมเลยขอ Jam

ผมอ่านและเข้าใจแบบนี้...

"กด F5 มันผิดกฎหมายด้วยเหรอครับ" --> เป็นคำพูดแบบตีหน้าเซ่อ ไว้ใช้พูดกับผู้ถือกฏหมายมาเอาผิดเขา
"ผมชวนไป F5 ครับไม่ใช่ DDoS" --> เป็นคำพูดแบบตีหน้าซื่อๆ แกล้งเข้าใจว่า F5 และ DDoS เป็นคนละเรื่องกันอย่างสิ้นเชิง

รวมๆ แล้ว ผมรู้สึกว่า เขาพูดเอาฮาครับ

By: rattananen
AndroidWindows
on 14 December 2016 - 15:23 #958688 Reply to:958465

ที่จริงผมตั้งใจอาศัยความกำกวมของกฏหมาย ชวนไปทำผิดโดยไม่ผิดกฏหมายน่ะครับ
แต่พอกลับไปอ่าน reply ตัวเองอีกที ดูแล้วมันโดนอย่างน้อยข้อหาปลุกระดม
อันนี้ผมพลาดเอง

ส่วน "ช่อง Vice" คืออะไรนี้ผมไม่รู้นะครับ ถ้าอยากบอกอะไรกับใคร ไปบอกด้วยตัวเองจะง่ายกว่านะครับ

By: Zew on 13 December 2016 - 19:29 #958453

งานนี้ท่าจะไม่รอด เพราะดูแล้วเกมเมอร์ไม่กระทบเท่าไหร่เหมือน Single Gateway

By: Aoun
AndroidWindows
on 13 December 2016 - 19:44 #958454

ถ้า..กฎหมายจะมีปัญหาและต้องแก้ไขเมื่อ ไปอยู่ภายใต้การควบคุมของอีกฝ่าย แสดงว่ามันไม่ดีจริง
งั้นปล่อยมันผ่านมาเถอะ ...... ถึงตอนนั้นคงหัวร้อนกันบ้าง

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 13 December 2016 - 20:17 #958459
Sephanov's picture

ในเมื่อเขาไม่ได้ฟัง "เสียงส่วนใหญ่" เรียกร้องไปก็เท่านั้น

By: Tanapongs
Android
on 13 December 2016 - 23:44 #958495

กฏหมายเขียนไว้กว้างๆ ไปตัดสินที่ศาลจะพิจารณาอีกที
(คล้ายๆว่า ฟ้องง่าย แต่ตัดสินแล้วแต่ศาล)
ก็ไม่รู้ว่าจะดีมั๊ย อาจจะทำให้คนระวังในการโพสมากขึ้นก็ได้มั้ง

By: Neroroms
Windows
on 14 December 2016 - 08:33 #958535 Reply to:958495

คือมันยัดข้อหาง่ายไงครับ สองข้อหาที่ยัดแล้วแทบจะพูดคุยกันต่อไม่ได้เลยคือข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงและข้อหาเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี
ข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงคือสอบสวนลับ ออกมาก็ตัดสินคว่าผิดได้เลย แถมไม่ต้องเปิดเผยวิธีการสอบสวนด้วย
ข้อหาเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี อันนี้ยิ่งแล้วใหญ่ ให้เหตุผลแทบตายว่ามันไม่ทำให้ใครได้รับความเดือดร้อยังไงก็เจอคำว่า "มันขัดต่อศีลธรรมอันดีของประเทศ" ตามด้วยประโยคยอดฮิต "ไม่พอใจก็ไปอยู่ประเทศอื่น"

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 14 December 2016 - 08:52 #958543 Reply to:958495
lew's picture

ไม่ใช่ครับ การเขียนกฎหมายกว้างทำให้ความผิดมันกว้าง

ศาลมีหน้าที่พิจารณาว่าเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่ว่ากฎหมายบอกว่าผิดแล้วศาลมองว่าไม่ผิดแล้วไปปล่อยเอาตามใจชอบ อย่างกรณีนี้เก็บล็อก กฎหมายเปิดทางให้เจ้าหน้าที่สั่งเก็บล็อกได้ไม่จำกัด ผมเก็บไม่ไหว โดนฟ้อง ก็ผิดตามกฎหมาย

ส่วนเจ้าหน้าที่จับทั้งที่ไม่ผิดตามกฎหมายอันนั้นเป็นอีกเรื่องครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: rattananen
AndroidWindows
on 14 December 2016 - 09:12 #958551 Reply to:958495

มันมีโอกาสทำให้การตัดสินการกระทำแบบเดียวกัน ผลออกมาไม่เหมือนกันครับ
เพราะถ้าเขียนไว้กว้างๆ ทำให้แต่ละศาลตีความต่างกันได้ครับ

By: thanyadol
iPhone
on 14 December 2016 - 09:07 #958548

เอาจริง พวกท่านๆ อยากทำไรก็ทำไปเหอะ ไม่ต้องออกข่าวหรอก จะลงจากอำนาจเมื่อไรค่อยมาบอก

หาทางไปอยู่ประเทศที่เจริญแล้ว ดีกว่าครับ แก้อะไรไม่ได้ก็เอาตัวเองออกไปแทน แต่ก็ไม่ง่ายสำหรับทุกคนและประเทศโลกที่3 แบบเรา

By: mode on 14 December 2016 - 10:10 #958573

เรื่องนี้หลายคนยังสับสนคือบางที่ยังไปเหมารวมว่าเป็น single gateway ซึ่งมันคนละเรื่องกันเลย ก็ยังดีที่ blognone ไม่ลงว่าอย่างนั้น

ที่ผมอ่านมาสรุปปัญหาคือการเขียนกฎหมายคลุมเครือใช่ไหม? หรือเพราะว่าโดนจำกัดเสรีภาพมากขึ้นเลยโวยกัน

เรื่องความคลุมเครือเพราะข้อความเจ้าปัญหาว่า "ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี" เนี่ย ผมก็เห็นว่าในกฎหมายควบคุมสื่อทั่วไปมันก็มีกันนะครับ

อย่างการประกอบกิจการภาพยนตร์
มาตรา ๒๓ ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง และเกียรติภูมิของประเทศไทย

หนังสือพิมพ์
มาตรา 36 เมื่อได้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามตามความในมาตรา 34 เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจดำเนินการดังต่อไปนี้
...

ซึ่งประเทศไทยก็ใช้กฎหมายเหล่านี้กันมานานมากแล้ว ตกลงมันคืออะไร

By: Lennon
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 14 December 2016 - 10:27 #958580 Reply to:958573

TV นี่ผมไปโพสท์แสดงความเห็นอะไรบนจอไม่ได้นี่ครับหรือถึงได้ก็มีหน่วยงานกำกับดูแลทักท้วงก่อนว่าอะไรได้ไม่ได้

By: mode on 14 December 2016 - 12:53 #958627 Reply to:958580

จะโพสต์หรือแสดงความเห็นอะไรบนอินเตอร์เน็ตเราก็ต้องมีความยับยั้งชั่งใจและความรับผิดชอบระดับนึงนั่นแหละครับ ซึ่งอันนี้มันก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

แต่เรื่องข้อความกฎหมายที่ผมว่ามา ที่ผ่านมามันก็ไม่ได้ไปจำกัดเสรีภาพของสื่ออะไรขนาดนั้น สื่อก็ไม่ได้โวยวายเรื่องกฎหมายมันคลุมเครืออะไร สื่อที่ตรงข้ามกับรัฐบาลพวกทีวีหนังสือพิมพ์ผมก็ยังเห็นด่ารัฐบาลกันอยู่ รัฐก็ไม่ได้ฟ้องด้วยข้อหานี้กัน

By: thanyadol
iPhone
on 14 December 2016 - 12:26 #958619 Reply to:958573

ไม่มี SG แต่มีการขอความร่วมมือ(ที่ปฏิเสธไม่ได้)กับ ISP แทน ฮาาา

By: mode on 14 December 2016 - 12:55 #958628 Reply to:958619

ผมว่ามันก็เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนะครับ พวกบล็อกเว็บโป๊เปิดไปเจอดวงตาพญามารอะไรอย่างนี้

By: droidz
Windows PhoneAndroidWindows
on 14 December 2016 - 13:09 #958641 Reply to:958628

ปัญหาคือรอบนี้ไม่ต้องรอคำสั่งศาลแล้วครับ

By: จักรนันท์ on 14 December 2016 - 22:31 #958779 Reply to:958573

"ซึ่งประเทศไทยก็ใช้กฎหมายเหล่านี้กันมานานมากแล้ว ตกลงมันคืออะไร"

มันเทียบกันไม่ได้เลยนะครับ ทั้งกิจการภาพยนต์และหนังสือพิมพ์ มันคือสื่อทางเดียวทั้งสิ้น มันใช้ควบคุม/ป้อนข้อมูล/ล้างสมองมวลชนได้อยู่ในตัวด้วยการควบคุมผู้ผลิตสื่อด้วย 2 มาตรานั่นเท่านั้นก็สมบูรณ์แบบ

แต่สื่อยุคใหม่คือ Internet เป็น "สื่อ 2 ทาง" ซึ่งผู้เสพสื่อสามารถละเลงความคิดเห็นของตนเอง (เช่นที่ผมทำอยู่ตอนนี้) หรือพ่น Garbage กลับออกไปได้ทันที

"ตกลงมันคือ" การพยายามใช้วิธีเก่าๆ แบบที่เคยใช้กับสื่อเก่าๆ มาเขียนเป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้กับสื่อยุคใหม่

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 15 December 2016 - 00:38 #958800 Reply to:958779
LuvStry's picture

สรุปได้ดีมากเลยครับ


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ