เมื่อวานนี้ที่สำนักงานใหญ่ของ dtac ได้มีการเปิดแถลงข่าวโดยคุณ Sigve Brekke ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเครือ Telenor และคุณ Lars-Ake Norling ซีอีโอของดีแทค โดยคุณ Sigve ระบุว่าทาง Telenor ไม่มีแผนที่จะถอนตัวออกจากตลาดไทยและตลาดอื่นๆ ในเอเชีย เพราะภูมิภาคเอเชียถือว่าเป็นภูมิภาคที่สำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม Telenor มาโดยตลอด และยืนยันว่าจะสนับสนุน dtac ในการลงทุนที่มีความจำเป็น
ด้านคุณ Lars-Ake ระบุว่าทาง dtac จะลงทุนอย่างน้อยเท่ากับปีที่ผ่านมา รวมถึงจะเปิด 4G บนคลื่นความถี่เดิมที่มี เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ 4G ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐออกแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ต่างๆ ให้ชัดเจน รวมไปถึงโอกาสในการนำคลื่นอื่นๆ นำมาจัดสรรให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วย เพื่อทำให้ระบบการประมูลมีความชัดเจน รวมถึงผู้ให้บริการสามารถวางแผนธุรกิจได้
ระหว่างการตอบคำถามของสื่อมวลชน คุณ Sigve ระบุว่าสิ่งสำคัญคือการให้หน่วยงานรัฐจัดสรรคลื่นความถี่อื่นๆ ออกมาให้กับบริษัทโทรคมนาคม ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับบริษัทหากมีคลื่นความถี่ที่หลากหลาย โดยยอมรับว่าคลื่นความถี่ที่มีสามารถรองรับการบริการในระยะสั้นได้ แต่ในระยะยาวแล้วก็คงไม่เพียงพอกับการใช้งานที่เติบโตมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นแล้วบริษัทยังไม่มีแผนที่จะเข้าสู่ตลาดอื่นในภูมิภาคปัจจุบัน
ที่มา - งานแถลงข่าวของ Telenor และ dtac
Comments
ก่อนหน้านี้มันก็ชัดเจน แต่ประมูลไม่ได้เองไม่ใช่เหรอ
ไม่คิดจะประมูลแต่อยากได้คลื่น
"รวมถึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐออกแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ต่างๆ ให้ชัดเจน"
คือยังไง อยากได้เป็นแผนเลยว่าอีกกี่ปีๆมีประมูล คลื่นความถี่เท่าไหร่ มีกี่ใบอนุญาติ ล่วงหน้าหลายๆปีงี้หรอ?
เพื่อตัวเองจะได้วางแผนได้เลย ไม่ต้องทุ่มเงิน หรือเสี่ยงจะไม่มีคลื่น?
แหมะ ตัวเองไม่สู้เองนี้ แผนผิดพลาด ความเสี่ยงมันก็มีอยู่แล้วกับการทำธุรกิจ เหอะๆ
อันนี้เป็นข้อความส่วนหนึ่งจากใน Press Release ของงานนี้ครับ
คลื่นทั้งหมดที่ดีแทคพูดมา... มันเป็นคลื่นความถี่มีความไม่แน่นอน "สูงมาก" ครับ
เพราะ...
700 - ปัจจุบัน .. ใช้งานกับ TV Analog เมื่อ Switch Off ในปี 61 แล้ว คลื่นก้อนนี้ย้อนกลับ กสทช. "เพื่อเอาไปใช้ในกิจการทีวีดิจิตอล" แต่... "มาเลเซียเอาไปทำ LTE แล้ว" เท่ากับบ้านเราเอาไปทำดิจิตอลไม่ได้ ไม่งั้น LTE ที่เค้าวางจะพัง ประกอบกับการที่ AIS มีการเรียกร้องให้ 700 กลับคืนสู่ฝั่ง Telecom ด้วย ดังนั้น กสท. กับ กทค. เลยมีประชุมร่วมกันบ่อยมากเพื่อหาข้อสรุปว่าจะเอายังไงกับความไม่แน่นอนจนถึงตอนนี้
850 - ปัจจุบัน ดีแทคใช้ 10 CAT 15 และ "ว่าง 10" (อยู่กับ กสทช. แล้ว) ซึ่งสิ่งที่ดีแทคอยากให้เกิดขึ้น คือให้ กสทช. วางแผนการใช้งานคลื่นนี้ให้ชัดเจน เพราะปัจจุบัน กสทช.ยังไม่มีแผนของคลื่นนี้แต่อย่างใด ซึ่งดีแทคมองว่าถ้าไม่มีแผนที่ชัดเจน จะกลายเป็นคลื่นเปล่าๆ ที่ไม่ได้ใช้งานและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ
2600 - ปัจจุบัน อยู่ภายใต้การดูแลของ อสมท. และไม่มีแผนใช้งานที่ชัดเจน ทำให้กำหนดวันเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่า อสมท. จะออกลีลาด้วยการบอกว่าจะคืนให้บางส่วน แต่ก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะคืนได้สำเร็จ
ทั้งหมดมีตัวแปรด้วยคำว่า "ความไม่แน่นอนของหน่วยงานรัฐ" นี่เลยเป็นที่มาของการเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐ "ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด" วางแผนและวางกรอบการใช้งานคลื่นความถี่ให้ชัดเจนนั่นเองครับ
อีกอย่างคือ ที่ย้ำประโยคนี้ในงานแถลงข่าวแทบทุกครั้ง มันหมายความได้อีกอย่างหนึ่งว่า ดีแทคแอบส่งซิก "เตือน" กสทช. เป็นระยะๆ ด้วยว่า "คุณเป็นหน่วยงานจัดสรรคลื่นความถี่แก่เอกชน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน คุณจะหวังเอาคลื่นดาบหน้าที่ใกล้จะหมดอายุไม่ได้ คุณต้อง "ยุ่ง" กับคลื่นความถี่ทั้งหมดที่มีในรัฐ ตามอำนาจที่ประกาศไว้ใน พรบ. และ รัฐธรรมนูญ แม้ว่าอีกฝ่ายจะเป็น "หน่วยงานรัฐที่ไม่มีใครกล้าแหยม" ก็ตาม"
อธิบายได้เห็นภาพชัดเจนมากครับ ขอบคุณครับ
+100
ต่อให้เราเอา 700 มาทำทีวีดิจิตอล มันก็จะกวนแค่ชายแดนไหม? เพราะเราคงไม่ได้เข้าไปตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศเขา
โดยปกติต่างประเทศ เช่น ลาว กัมพูชา รับสัญญาณทีวีบ้านเราก็รับจากดาวเทียมอยู่แล้ว ส่วนสัญญาณที่เข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านไม่น่าลึก
เห็นว่าจะเอา 850 ไปควบคุมการเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคต
ผมงง กสทช มากว่าทำไมดื้อด้านเอาคลื่นที่มีมูลค่ามหาศาลไปทำ ทีวีดิจิทัล อย่าง 700MHz แบบนี้ แล้วนี่จะเอา 850 ไปใช้กับรถไฟความเร็วสูงอีก โคตรไม่ make sense เลย 450 ว่างๆไปเอาทำสิครับ เรามีสิทธิ์ค้านอะไรไหม? บอกกับคุณสุภิญญาในทวิตเตอร์หลายรอบแล้วแต่เหมือนเธอก็ไม่ไม่พอใจเพราะอยากเอา 700 ไปทำทีวีดิจิทัลมาก
จำนวนคลื่นที่เอาไปทำทีวีดิจิทัลที่ไม่มีใครดูจนเจ๊งกันไปทีละราย ได้เงินน้อยกว่า 20MHz 900 อีก แล้วที่ผ่านมาก็เอา 700 ไปทำทีวีดิจิทัลแล้ว ถ้าเอา 700 มาประมูลนี่เงินเข้ารัฐมหาศาลเลย แล้วประชาชนจะได้ประโยชน์มากด้วย internet ทำได้หลายอย่างจะดูเมื่อไหร่ก็ได้ไม่ต้องนั่งรอหน้า TV
เพราะ 450 อยู่กับองค์กรที่หวงคลื่นสุดๆ อย่าง ... "TOT" ไงครับ (อีกส่วนอยู่กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) คุณสุภิญญาแกก็เห็นทรง TOT ตั้งแต่เล่นแง่ 2300 กับ 900 แล้ว การจะไปเรียก 450 คืนจาก TOT จึงเป็นเรื่องมหาหินมากครับ
อนึ่ง กสทช. เคยมีความคิดใช้ ม.44 ในการเรียกคลื่นที่ไม่ได้ใช้กลับมาทั้งหมด แต่เนื่องจากเสนอไปแล้วได้รับเสียงค้านจากหน่วยงานแม่ของหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ การใช้ ม.44 จึงถูกปัดตกไปครับ
700 เชื่อเลยว่าสุดท้ายก็ต้องเอามาประมูลทำ LTE เพราะเดี๋ยวจะเห็นปรากฏการณ์ Digital TV ตายอนาถหลายศพ ในอีกสองสามปีข้างหน้าแน่นอน สุดท้ายมันก็เหลืออยู่ไม่เกิน 7 ช่อง ที่พอมีเงินหล่อเลี้ยงตัวเองได้ แล้วถ้ารอบบ้านเราเอา 700 ไปทำ LTE หมด เราจะทะลึ่งเอามาทำ Broadcast ไม่ได้หรอกครับ มันต้องร่วมมือกันเป็นภาคี ไม่งั้นสัญญาณกวน LTE ชาวบ้านตายเลย สัญญาณ Broadcast มันแรงจะตาย
850 ไม่เหลือแล้วครับ เพราะบ้านเราใช้ทั้ง 850 / 900 มันมีช่วงคลื่นทับกันอยู่
ก็คือถ้าใช้สองคลื่น 900 จะได้ 20MHz (ตัด Guardband) และ 850 ได้ 25MHz (15 CAT, 10 dtac)
[[ 850 ใช้คลื่น UL 869-894 / DL 824-849 ]]
[[ 900 ใช้คลื่น UL 925-960 / DL 880-915 ]]
มันจะทับกันตรงช่วง 880-894 (หายไป 15MHz)
2600 ดูฟอร์มแล้วไม่น่าจะเรียกคืนยาก MCOT ถือเป็นส่วนใหญ่ มีนิดหน่อยที่ PRD ถือไว้ ต้องเอามาประกอบร่างก่อนถึงจะได้ 70MHz เต็มๆ แล้วค่อยมาตัดประมูล แบ่งเงินให้เจ้าของคลื่นเดิมชดเชยกันไป
เรื่อง 700 เป็นความไม่แน่นอนของภูมิภาคอาเซียนครับ เพราะตั้งแต่แรก อาเซียนตกลงกันว่าจะใช้ 700 สำหรับ Broadcast และใช้ DVB-T2 เป็นมาตรฐานหลักในการออกอากาศสำหรับภูมิภาคนี้ แต่เมื่อเกิดประเด็นมาเลเซีย แผนการใช้ 700 จึงชะงักในหลายๆ ประเทศ (รวมถึงไทยด้วย) นั่นแหละครับ
ถ้าอย่างนั้นมาเลก็ดื้อเองที่เอา 700 ไปใช้เป็น LTE ถ้าสัญญาณไปกวนก็โทษเราไม่ได้เพราะเคยตกลงกันแล้วแบบนี้เข้าใจถูกต้องไหม
โดยส่วนตัวอยากให้ค่าใบอนุญาต DVB-T2 ไม่แพงและให้เอกชนสามารถอยู้รอดได้(ช่องต้องมีคุณภาพ)
ยิ่งช่องเยอะประชาชนก็มีตัวเลือกเยอะ อย่างปัจจุบันบางช่องที่มีเนื้อหาดีๆ ก็เป็นแค่ SD ถ้าอนาคตสามารถอัพเกรดเป็น HD ได้เชื่อว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ทางตรงมากกว่า ใบอนุญาตราคาแพงที่เข้ารัฐเพียงอย่างเดียว
อยากให้ฝั่งทีวีพัฒนาบ้างอย่าไปผลักดันแต่ฝั่งสื่อสารเพียงเห็นว่าได้ราคาใบอนุญาตสูงกว่า เพราะรายจ่ายของฝั่งทีวีไม่ใช่แค่ใบอนุญาตแต่มีในส่วนของคอนเทนต์ด้วย
ผมว่ามาเลเซียมีวิสัยทัศน์ไกลกว่าครับ ส่วนตัวผมก็ว่า DVB-T2 หรือทีวีสดที่ต้องนั่งรอเวลาและดูโฆษณาคั่นมันตกยุคแล้วนะครับ อย่าให้ต้องแย่งกันขาดทุนประมูลรายใหญ่เหลือสองรายอีกเลย ส่งผลทำให้สภาวะตลาดเข้าสู่สภาวะกึ่งผูกขาดยังไงก็เท่ากับผลักภาระมาให้ผู้ซื้อ วันนี้แม่ค้าข้างถนนนั่งดูละครผ่านเน็ตเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว หาทางทำให้ LTE มันถูกเหมือนดูทีวีฟรีดีกว่า เพราะที่นั่นคืออนาคต
ขอบคุณครับ :)
อ่านแบบนี้แล้ว ผมก็เข้าใจ Dtac นะ
แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นว่า DTAC ไม่ทันเกม บ้านเรา
ที่ TRUE /AIS/JAS เค้าทุ่มประมูลเพราะอะไร ถ้าไม่ใช่ว่าสถานการณ์บ้านเรามันไม่เคยแน่นอน
อะไรก็เกิดขึ้นได้ 3G/4G เลื่อนประมูล /รัฐวิสากิจฟ้องล้มประมูล / มีคนขอใช้คลื่นกันแบบแก้สัญญาแทนกันโต้งๆ
ด้วยความที่บ้านเราตลาดของผู้ให้บริการมันมีความเทา (ไม่ขาวสะอาด) อยู่พอประมาณ
บริษัทที่คิดจะตามกฎตรงๆแบบ DTAC เข้ามาก็เจ็บกันไป ขนาด AIS ที่ว่าๆแน่ๆ ช่วงก่อน
พอเข้าสู่ Series ปฏิวัติ แล้วก็โดนสอยร่วงอยู่เป็นพักๆ แต่ TRUE นี่ก็นับได้ว่าเส้นหนาของจริง
ยุคไหนก็ไม่สะเทือน
ดิ้นๆ
WE ARE THE 99%
มันไม่ชัดตรงไหน...
คือต้องมองยาวๆล่ะนะครับ ที่ว่าชัดไม่ชัด ใครตอบได้บ้าง ทำไมเราต้องเลื่อนประมูล2100 ไปเกือบสองปี ทำไมเราต้องเลื่อนประมุล 1800 ไปปีกว่า?
ที่ล่าสุดประมูลได้ตามแผนจริง แต่ไม่มีใครรับรองได้ว่า จะไม่มีการเลื่อนหรือเปลี่ยนแผนประมูล เพื่อเอื้อให้กับบางบ.อีก แบบที่เคยมีมาแล้ว
และจริงๆยังมีคลื่นอื่นๆที่มาใช้ทางโทรคมฯได้อีกเยอะ ยังไม่นำออกมาประมูลสักทีด้วย
ประมาณว่าขอแบบรอบแรกได้ไหมนะ...
แปลว่าถ้ากำหนดชัดเจนจะทำให้ DTAC ประมูลคลื่นได้
ประมูลคราวหน้า คิดว่า ควร เอาความถี่อะไรมาประมูล ดี ครับ
850 หรือ 900 หรือ 1800
งานนี้คุณ Sigve มาเองเลย ถ้าคนที่ออกมายืนยันว่า Telenor จะลงทุนในไทยต่อไปคือคุณ Sigve เนี่ย อันนี้ผมเชื่อเลยนะ ของแบบนี้ต้องให้คนที่น่าเชื่อถือออกมาแถลงจริงๆ ต่อให้ CEO dtac คนปัจจุบันมาพูดแบบนี้ก็ไม่น่าเชื่อถือเท่า เพราะพูดแบบซื้อเวลาใครก็พูดได้
dtac ที่โตมาแบบนี้ได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จส่วนใหญ่ๆ เลยก็มาจากการปลุกปั้นของคุณ Sigve เองเนี่ยแหละ ฝีมือของเค้าที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรและปั้นแบรนด์จนกลายเป็นแบรนด์ค่ายมือถือที่คนรักที่สุดในเวลานั้นได้ (ปัจจุบันคงไม่ใช่แบบนั้นละครับ ปัจจุบันเรื่องนี้ AIS ทำได้ดีกว่ามาก ทั้งๆ ที่เมื่อก่อน AIS ยังถูกมองว่าหน้าเลือดอยู่เลย)
เอาจริงๆ คุณ Sigve เค้าก็เติบโตมากับ dtac นั่นแหละ จนตอนนี้กลายมาเป็นผู้บริหารระดับสูงของ telenor ไปแล้ว เค้าเป็นคนที่รู้จัก dtac ดีกว่าใคร เค้าคงไม่ปล่อยให้บริษัทที่เค้าปั้นจนโตมากับมือ และประสบความสำเร็จจนเขาก้าวไปเป็นผู้บริหารระดับสูงได้ จะต้องถอนการลงทุนออกไปง่ายๆ แน่
สรุปสั้นๆ ว่าถ้าคุณ Sigve ออกมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง งานนี้ผมเชื่อถือนะ ไม่ถอนก็ไม่ถอน
แต่ต่อไปก็คงต้องรอบคอบขึ้นมาก เพราะคู่แข่งก็คงพร้อมจะรุมเพื่อล้ม dtac ได้เสมอ
DTAC คงหวง 850 ที่สุด เพราะจะลงทุนเพิ่มคลื่นก็ยังไม่นิ่ง จะเอาไงต่อไปก็ไม่แน่นอน
ส่วน 1800 คงไม่ห่วงมาก เพราะยังไงก็ประมูลแน่ๆ
และสุดท้ายคงไปหวังลึกกับคลื่นอื่นมากกว่า
ที่เรียกร้องขอความชัดเจนที่ว่านี่คือ "ฉันจะไม่ติดดอยใช่ไหม?"
ผู้บริหารชุดปัจจุบันดูไม่น่าเชื่อถือขนาดที่ต้องไปดึง Sigve ให้บินมาตอบคำถาม?
สู้ครับ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีโปรโอ๋ลูกค้าเก่าก็ตาม #teamDTAC
ไปทำเรื่องย้ายค่าย โปรก็มาเลยครับ แต่ก็ยากกว่าการหลังไมค์ไปขอกับ cc ของ ais ใน pantip ครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ภาพพจน์เป็น บริษัท ต่างชาติ ขาวสะอาดแต่ เอาเข้าจิ๋วเล่นแต่นอกกติกา
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
รอชม