Google

ประธานของกูเกิล Eric Schmidt วันนี้ได้เดินทางไปงานเปิดตัว Nexus 7 ในประเทศเกาหลีใต้ และได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับแอปเปิลว่า แอปเปิลเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีมากกับกูเกิล และทั้งสองบริษัทก็ยังคุยกันเกี่ยวกับทุกเรื่องทุก ๆ เวลา ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อหันมาพูดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรของแอปเปิล Schmidt ได้บอกว่า "สิ่งที่ดีที่สุดที่เราบอกได้ตอนนี้ก็คือมันมี prior art มากมาย แต่เราไม่อยากพูดมากไปกว่านี้"

นอกจากนี้ Schmidt ยังได้กล่าวว่า "สงครามสิทธิบัตรเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะว่ามันทำให้คนมีตัวเลือกน้อยลง และยังส่งเสริมให้การเกิดนวัตกรรมน้อยลงอีกด้วย สิ่งที่กูเกิลพยายามทำตลอดมาก็คือการพยายามเลือกอยู่ข้างที่ถูก เพราะฉะนั้นแล้วกูเกิลจึงจะยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามสงครามสิทธิบัตร" … "ที่แย่ไปกว่านี้คือในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เชื่อว่ามีสิทธิบัตรในวงการมือถืออยู่มากถึง 200,000 ใบ โดยแต่ละใบก็มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกัน แย่ไปกว่านั้นคือผู้ผลิตรายหนึ่งสามารถหยุดการขายสินค้าของอีกรายได้"

ที่มา - 9to5Mac

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

แปลว่า กูเกิ้ล เห็นว่า การลอกเลียนแบบชาวบ้านเข้าเป็นเรื่องที่ถูกต้องสินะ

แอปเปิ้ลเขาไม่ว่าไม่ใช่เหรอ ถ้าจ่ายเงินให้เขาในส่วนที่ต้องการก็อปปี้เขาหนะ แต่นี่จะก็อปไปใช้ฟรี ๆ ไม่อายหรือไงนะ

ฝากแปลเป็นภาษาฝรั่งส่งให้นายชมิดทีครับ

สงครามสิทธิบัตร ไม่ควรจบลงที่ การห้ามขาย

มันเกี่ยวกับการ สนับสนุนการลอกเลียนแบบตรงไหนครับ

ถ้าผมบอกว่าการโขมย ไม่สมควรโดนโทษประหารชีวิต แปลว่า ผมสนับสนุนการโขมย ?

สงครามสิทธิบัตร เป็นสำนวนใช่มั้ยหละครับ เจ้าของสิทธิบัตรเขาฟ้องศาลว่าละเมิด ขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิของเขาจนกว่าผู้ละเมิดจะชดใช้ความเสียหายหรือมีการตกลงขอใช้สิทธิบัตรให้ถูกต้อง ศาลก็คุ้มครองด้วยการห้ามขายสินค้า จนกว่าจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือมีการตกลงกัน ถ้าไม่มีการบังคับใช้ด้วยการห้ามขาย ผู้ลอกเลียนแบบ ก็ลอกต่อไปได้เรื่อย ๆ ยื้อไปได้เรื่อย ๆ ทำกำไรไปได้เรื่อย ๆ ... สนับสนุนไหมหละ?

จบลงด้วยการจ่ายค่าเสียหาย ตามจำนวนที่ขายได้ก็ได้นี่ ยิ่งขายได้มากก็ยิ่งได้มาก บวกดอกเบี้ยร้อยละ 7 ด้วยก็ยิ่งดีไม่ใช่เหรอ

ให้ผู้บริโภคเขาตัดสินใจเอง แอปเปิ้ลก็ได้สองทาง สบายอีก

5555+ จอมดราม่าเจ้าเก่า ดูสิ แตกประเด็นดราม่าได้เยอะเลยนะครับ -*- ครั้งที่แล้วก็ ครั้งนึง ถ้าคอมเม้นไม่โดนจำกัด คงจะยาวกว่านี้แน่ๆ 555

nant Thu, 09/27/2012 - 21:29

In reply to by iStyle

aliyum เป็นนวัตกรรมของจีนนะครับ ถึงแม้จะมีแอฟประกอบที่ละเมิดลิขสิทธิ์บ้าง

ถ้าคุณพูดแบบนี้แสดงว่าคุณหนะหลงประเด็นไปแล้ว ท่าทีของ google ที่ออกมาเต้นกับ OS อารยันกับการที่ google เต้นเรื่องสิทธิบัตรในตัว OS ตัวนั้นมันผิดกับคำพูดในข่าวนี้ไปใหนๆ

ไงหละครับ ตอนนี้อารยันคือตัว fork ของ android นวัตกรรมอะไรมันก็ต่อยอดทั้งนั้น ที่ผมกล่าวว่าเป็นนวัตกรรมเพราะมันไม่ได้ทำใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าคุณติดตามข่าว คุณจะพบว่า อารยันมันมีการพัฒนาต่อยอดทั้งนั้น ในตอนนี้อารยันมันยังเพิ่งเริ่มตั้งใข่ มันเลยดูล้ายกับแอนดรอยเป็นธรรมดา

ลองดูลีนุกซ์ดิสโทรตัวอื่นซิครับ แรกๆ ตอนแตกยอดมันก็คล้ายกับตัวเบสมันทั้งนั้น เหมือนกับ ubuntu กับเดเบียน ถ้าคุณถามว่าเมื่อสมัยมี unbuntu ใหม่ๆ มันแตกต่างกับเดเบียนยังไง? ความแตกต่างมันก็น้อย แต่ทุกวันนี้คุณเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของมัน

อารยันก็เหมือนกัน ถ้า google ยึดถือตามแนวทางคำพูดของ Eric จริง มันควรออกมาเป็นแนวทางตกลงการใช้สิทธิบัตรไปแล้ว แต่นี้คุณกลับเล่นไปแบนเค้า ไปเหยียบไม่ให้พันธมิตรตัวเองผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้อารยันเสียอีก

ถึงแม้จะใช้คำว่า Acer เป็นพันธมิตรกับเรานะ แต่การห้ามไปสนับสนุน OS อื่นนี่มันสมควรหรือ ถ้า google ไม่คิดขัดขวางนวัตรกรรมที่อาจจะมาเป็นคู่แข่งได้จริง ทำไมไม่มีท่าทีตกลงเรื่องสิทธิบัตร แต่ท่าทีของ google กับเรื่องนี้ต้องใช้คำว่า ท่าทีกีดกัน

แบบนี้ ใช้คำว่า ดีแต่พูด ได้ใหมครับ?

เอ่อ อารมณ์เหมือนคุณถูกกูเกิลฟ้องเรียกค่าเสียหายพันล้านเหรียญเลยนะครับ -_-

งั้นผมช่วยทำลำดับเหตุการณ์ให้อ่านเล่นๆ ครับ

  • เอเซอร์จะทำ Aliyun ขายในจีน แต่กูเกิลห้ามเพราะเอเซอร์อยู่ในกลุ่ม OHA ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าสมาชิกกลุ่มต้อง__ไม่ทำแอนดรอยด์ที่ไม่เข้ากับแอนดรอยด์อื่นขาย__
  • กูเกิลตรวจสอบ Aliyun แล้วพบว่า Aliyun พยายามทำตัวให้เข้ากันได้กับแอนดรอยด์ (ไม่ได้บอกว่าละเมิดสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ด้วยซ้ำ) แล้วบอก Aliyun ว่า มามะ มาจอยกันเหอะ! เราเตรียมเอกสารและคู่มือพร้อมสารบัญให้แล้ว ส่วนกรณีแอพละเมิดลิขสิทธิ์เป็น Android Police ที่เข้าไปดูและรายงานข่าว

อารยันก็เหมือนกัน ถ้า google ยึดถือตามแนวทางคำพูดของ Eric จริง มันควรออกมาเป็นแนวทางตกลงการใช้สิทธิบัตรไปแล้ว แต่นี้คุณกลับเล่นไปแบนเค้า ไปเหยียบไม่ให้พันธมิตรตัวเองผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้อารยันเสียอีก

ตามด้านบนครับ กูเกิลสั่งห้ามไม่ให้เอเซอร์ทำด้วยเหตุผลข้างบน แต่ก็ไม่ได้แบน Aliyun แถมชวนมาร่วมวงด้วย (สงสัยขาขาด ♥♦♣_)

ถึงแม้จะใช้คำว่า Acer เป็นพันธมิตรกับเรานะ แต่การห้ามไปสนับสนุน OS อื่นนี่มันสมควรหรือ ถ้า google ไม่คิดขัดขวางนวัตรกรรมที่อาจจะมาเป็นคู่แข่งได้จริง ทำไมไม่มีท่าทีตกลงเรื่องสิทธิบัตร แต่ท่าทีของ google กับเรื่องนี้ต้องใช้คำว่า ท่าทีกีดกัน

ดูวกไปวนมา แต่ กูเกิลไม่ได้ห้ามเอเซอร์สนับสนุน OS อื่นครับ ทุกวันนี้เอเซอร์ยังทำแทบเล็ตที่มีทั้งแอนดรอยด์และวินโดวส์ 7 ควบคู่กันไป (ในเน็ตบุ๊คเคยมีแบบสองผสานดูอัลบูตด้วยนะเออ) แต่มีข้อตกลงว่า ถ้าทำแอนดรอยด์ ก็ต้องไม่ทำแอนดรอยด์ที่เข้ากับแอนดรอยด์อื่นไม่ได้ขาย แค่นั้นครับ

และอีกเรื่องสำคัญที่ต้องบอกคือ เขาไม่ได้ฟ้องร้องกันเรื่องนวัตกรรมครับ ไปกันใหญ่แล้ว ออกอ่าวตังเกี๋ยกันแล้ว ทุกวันนี้เขาฟ้องๆๆๆๆๆ กันเรื่อง__ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า__กันครับ

+1 ครับ

อันนี้เข้าใจง่าย ชัดเจนดี

ผมสงสัยนิด แปลว่าถ้า Aliyun เข้ากันได้กับ แอนดรอยด์อื่นแล้ว (ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม)
Acer ก็กลับไปใช้ Aliyun ได้โดยไร้ข้อกังขาใดๆ จากกูเกิล ใช่ไหมครับ

มาเคลียกันก่อนครับ
"และอีกเรื่องสำคัญที่ต้องบอกคือ เขาไม่ได้ฟ้องร้องกันเรื่องนวัตกรรมครับ ไปกันใหญ่แล้ว ออกอ่าวตังเกี๋ยกันแล้ว ทุกวันนี้เขาฟ้องๆๆๆๆๆ กันเรื่องลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้ากันครับ"

ผมทราบ และก็เพราะสิทธิบัตรไม่ใช่เหรอ ที่ทำให้ผลไม้โโดนข้อหาขัดขวางนวัตกรรม?

"ดูวกไปวนมา แต่ กูเกิลไม่ได้ห้ามเอเซอร์สนับสนุน OS อื่นครับ ทุกวันนี้เอเซอร์ยังทำแทบเล็ตที่มีทั้งแอนดรอยด์และวินโดวส์ 7 ควบคู่กันไป (ในเน็ตบุ๊คเคยมีแบบสองผสานดูอัลบูตด้วยนะเออ) แต่มีข้อตกลงว่า ถ้าทำแอนดรอยด์ ก็ต้องไม่ทำแอนดรอยด์ที่เข้ากับแอนดรอยด์อื่นไม่ได้ขาย แค่นั้นครับ"

โอเอสในที่นี้ผมหมายถึง โอเอส Aliyun หรือแอนดรอยตัวอื่น โอเครับ ผมอาจจะใช้คำกว้างไป ตรงนี้ผมขอแก้ เพียงแต่

ประเด็นที่ผมต้องการจะชี้ให้คุณเห็นคือ ไอ้ข้อตกลงที่ห้ามไปทำแอนดรอยตัวอื่นนั่นหละ เป็นข้อผูกมัดขัดกับการค้าแบบเสรี ผมถามหน่อยสิครับ ทำไมกลุ่ม OHA ต้องมีข้อผูกมัดให้มาร่วมวงไพบูลย์แอนดรอย์ เพราะถ้ามาเข้าร่วมวงกับแอนดรอย์ มันก็จะเป็นแอนดรอยไงครับ google ก็จะมีอิทธิพลในการกำหนดทิศทาง ซึ่งผมมองว่าเป็นการครอบงำแนวทางทางการพัฒนาให้เป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งผมมองว่ามันขัดกับซอฟต์แวร์แบบเสรี คุณอาจจะพูดว่า เอ้า ก็เค้าเชิญชวนมาร่วมวงแล้วไม่มาเอง คุณอาจจะพูดว่าเชิญชวน แต่ผมใช้คำว่าบังคับขู่เข็น เพราะถ้าไม่เข้า ก็อย่าหวังจะได้มีผู้ผลิตที่เป็นพรรคพวกเราทำ Aliyun ออกมาขายเลย

ทำไมข้อตกลงถึงออกมาเป็นแบบนี้? รู้ๆกันอยู่คงไม่ต้องพูดนะครับ

อีกอย่าง Aliyun ทำผิดเหรอครับ ที่พยามให้ App Android ไปรันบนเฟลตฟอร์มเค้าได้ ผิดหลักการข้อใหนครับ?

สุดท้ายไอ้ข้อตกลงผูกมัดหนะ เพื่อกันไม่ให้ระบบที่ fork จากแอนดรอย์อย่างเด็ดขาดกลับมาแข่งกับตัวเองหรือหรือเปล่า ผมว่าคงรู้นะครับ

ผมว่าเกี่ยวโดยตรงเลยครับ

Acer สนับสนุน Aliyun > สนับสนุน App เถื่อนที่ทำไปจาก Play Store > ทำลาย ecosystem ของกลุ่ม > ตู้ม ระเบิดเป็นโกโก้ครั้น

Kindle ?

ทำไมกลุ่ม OHA ต้องมีข้อผูกมัดให้มาร่วมวงไพบูลย์แอนดรอย์ - เวลาคุณรวมกลุ่มกันแล้วคุณได้ประโยชน์จากสิ่งใดสิ่งหนึ่งในกลุ่ม แต่สิ่งที่คุณกำลังจะทำจะสร้างผลเสียให้กลุ่ม คิดว่ากลุ่มจะยอมหรือครับ? คุณอาจจะยอมนะ แต่ผมไม่ยอม ตราบใดที่ยังอยู่ในกลุ่มผมอยู่ ถ้าจะทำก็ออกไปซะ

ถ้าสมาชิกในกลุ่มตกลงกันว่ากลุ่มนี้มันไม่ดีแล้ว และร่วมใจกันออกไปตั้งกลุ่มใหม่ ผมว่ามันก็เป็นอีกเรื่องนะ

ผมไม่ใช้เดฟแอนดรอย เพียงแต่ สิ่งที่ได้จากกลุ่มนี้ มันคือเครื่องมือและเอกสารในการพัฒนาบนแอนดรอย

สรุปคือ มันก็แค่กลุ่มเพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาเท่านั้นเอง

ใหนหละครับข้อห้าม? ไม่มี ไม่มีทั้งนั้น แล้วคุณเอาอำนาจอะไรไปห้ามเขานอกจากความเป็นเจ้าตลาด ถ้ามีข้อตกลงกันก่อนก็ว่าไป แต่ตามข้อตกลงไม่มีข้อห้ามข้อนี้

คุณเอาสิทธิ์อะไรไปห้ามครับ?

ecosystem ที่พัฒนาร่วมกันมาครับ

สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ service google(Maps, Calendar, Gmail, etc) ไงครับ?

ผมคิดว่าการรวมกลุ่มต่างๆ มันมี'ข้อตกลง'กันอยู่แล้วนะ ไม่ใช่จะตั้งก็ตั้ง การรวมกลุ่มทางธุรกิจนะครับไม่ใช่กิจกรรมจับฉ่าย

หรือแม้แต่กิจกรรมจับฉ่าย ถ้าสมาชิกคนไหนมันทำข้อเสียให้กลุ่มแล้วหัวหน้ากลุ่มจะเตะออกจากกลุ่ม ผมว่าสมาชิกคนอื่นก็เห็นด้วยนะ

ผมหมายถึงมันไม่มีกำหนดอยู่ในกลุ่มไงครับ ผมหาไม่พบนะครับ ข้อตกลงข้อนี้

ส่วนภาระที่ตั้งระบบ ecosystem ร่วมกันมา ผมว่า google ต้องเป็นคนที่พยายามรับภาระรักษาไว้ ถ้ามันดีจริง คนก็มาเข้าร่วมกันเอง ผมองว่า ผู้ผลิตมือถือ ไม่ควรจะต้องมีภาระที่ต้องมารับผิดชอบความแข็งแกร่งระบบ Android เหมือนที่ Google กำลังพยายามผูกมัดอยู่ในตอนนี้

อย่าลืมนะครับ source เป็น GPL ส่วนเรื่อง service จะไม่ให้ใช้ก็ไม่มีใครว่านี่ครับ

http://www.openhandsetalliance.com/tos.html directly to http://www.google.com/intl/en/policies/terms/

อ่านให้ครบครับ แล้วถึงบอกว่าข้อตกลงมันมีหรือไม่มี แล้ว Acer ผิดข้อตกลงหรือไม่ผิด Google มีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์

Another knowledge, Opensource != Free Service

ถ้ามองไปที่ Amazon ซึ่งก็คล้ายๆ กับ Aliyun คือมีบางส่วนที่ fork เช่น browser, market

แต่ผมก็ไม่เห็นว่า OHA จะว่าอะไร ที่ผมจะชี้ให้เห็นคือ Aliyun น่าจะทำผิดข้อตกลงอะไรสักอย่างจึงถูกกูเกิลบอยคอตมากกว่าครับ

แล้ว Dev ที่ไหนจะมาทำ App ให้ Androids ถ้ามันโดน Hack ไปใช้ฟรีหมด
ถ้า Cydia มีแต่ App เถื่อนที่ Hack แม้จะเป็นของฟรีแต่ Apple จะยอมไหม

เพราะถ้าไม่เข้า ก็อย่าหวังจะได้มีผู้ผลิตที่เป็นพรรคพวกเราทำ Aliyun ออกมาขายเลย

ตามนั้นครับ เป็นซึ่งกลุ่มหรือสมาพันธ์อะไรใดๆ ในโลกล้วนแต่มีข้อตกลงของตัวเองทั้งนั้น และในกรณีของ OHA ผมมองไปทางใดก็ไม่เห็นว่ามันจะกีดกันหรือผูกขาดทางไหน เพราะถ้า OHA ไม่ได้ดั่งใจคุณก็ fork เองทำขายเอง หรือติดต่อเวนเดอร์ที่ไม่ได้ร่วม OHA ได้อีกเยอะแยะ

อีกอย่าง Aliyun ทำผิดเหรอครับ ที่พยามให้ App Android ไปรันบนเฟลตฟอร์มเค้าได้ ผิดหลักการข้อใหนครับ?

เอ่อ Aliyun ที่ผิดชัดๆ คือ__ละเมิดลิขสิทธิ์__ แอพหลายๆ ตัวที่มีอยู่บน Play Store (รวมไปถึงมี Play Store แบบผิดเงื่อนไขด้วยมั้ง) ส่วนความพยายามเอาแอพแอนดรอยด์มารันผมไม่เห็นกูเกิลเขาว่าอะไรนะครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ BlueStack ที่เป็นข่าวใกล้เคียงกับข่าวนี้ (AMD จับมือ BlueStacks ดันแอพ Android บนพีซี) ตัวนั้นก็ทำให้รันแอพแอนดรอยด์บน Windows ได้ด้วย

ข่าวนี้ผมจับประเด็นได้แค่ Schmidt แสดงความเห็นส่วนตัวว่าไม่เห็นด้วยกับการบล็อกสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตร (ไม่ได้พูดถึงในมุมที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ พวกทำคล้ายๆ หรืออะไรที่เรียกว่าลุ๊คแอนด์ฟิลอะไรเทือกนี้) คงอยากให้ปรับหรือเอามาซูเอี๋ยกันมากกว่า และบอกกว่าสงครามสิทธิบัตรไม่เกิดผลดีกับวงการไอที และกูเกิลเลือกที่จะอยู่ตรงข้ามกับสิทธิบัตร แค่นี้เอง ข่าวนี้

สรุปของสรุปในส่วนความเห็นของผม

  1. Aliyun อะไรที่คิดว่าดีก็ทำไป กูเกิลไม่ได้ห้าม (แต่ส่วนที่ละเมิดลิขสิทธิ์มันผิดอยู่แล้วโดยที่กูเกิลไม่ต้องบอก และถ้ายังฝ่าฝืนทำอยู่ อาจถูกเจ้าของแอพนั้นรวมไปถึงกูเกิลฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์แอพเป็นตัวๆ ไป) แต่ถ้าเกิดสนใจจะมาจอยกัน ก็เขามาร่วมวงกันได้เลย รอนายมานานแล้ว
  2. กูเกิลไม่ได้ว่าอะไรเรื่อง fork หากทำตามสัญญาอนุญาต (มีคนเอาไป fork เยอะแยะ ดังๆ หน่อยคงเป็น Kindle หรือ Nook ซึงจะว่าไปก็เป็นคู่แข่งทางด้าน Hardware กลายๆ ด้วย)
  3. ทั้งหมดนี่แหละคือกูเกิลสไตล์ เจ้าพ่อขายบริการบนโลกอินเทอร์เน็ตที่อยากจะเอาบริการของตัวเองไปไว้ในทุกอุปกรณ์เท่าที่ทำได้ (อีกหน่อยถ้าซัมซุงทำตู้เย็นที่มีปุ่ม I'm Feeling Lucky™ ของกูเกิลด้วยกูเกิลก็คงจะดีใจมากด้วย)
  4. ตามนั้นครับ

บริษัทน้องใหม่ก็อย่างนี้แหละครับ มีสิทธิบัตรในมือน้อยก็ต้องพูดให้ตัวเองได้ประโยชน์ไว้ก่อน จริง ๆ กูเกิลนี่ตัวหากินกับ content ของคนอื่นเลยนะครับ

ไม่ควรคอมเมนต์ด่าคนอื่นครับ ควรใช้เหตุผลที่ตนคิดว่าถูกต้อง แล้วนำเสนอออกมาในทางสร้างสรรค์มากกว่าแค่ไปจำกัดจำแนกบุคคลอื่น เพราะมันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เรียกว่าเปลืองพื้นที่การแสดงความคิดเห็นเท่านั้น

ทุกอย่างในโลกไม่มีทางเป็นไปดังใจเราคนเดียวน่ะครับ เราต้องอยู่ร่วมกับผู้ที่มีความเห็นต่าง เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะทุกคนมีต้นทุนและผลประโยชน์ต่างกันทำให้มีมุมมองต่างกัน เราไม่จำเป็นต้องยอมรับความเห็นของคนอื่น แต่ควรเรียนรู้และเข้าใจถึงเหตุผลของความคิดนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง ซึ่งเมื่อเราได้ประโยชน์จากผู้อื่นเราก็ไม่ควรเสียมรรยาทต่อเขา แนวคิดนี้ผมคิดว่าเป็นหนทางที่แห่งความเจริญครับ ผมสนับสนุนการถกเถียงกันมากกว่าการด่ากันเอามันส์ครับ

สรุปว่าหลายๆความเห็นกำลังจะบอกว่า บริษัทไหนที่ใช้อำนาจทางการเงิน acquire บริษัทย่อยๆได้มามากกว่า ก็ควรที่จะเป็นเจ้าของโลกได้ หรือเปล่า?

Where's the so-called 'innovation' from Apple?

Edit: พึ่งมาดูว่าความเห็นพวกนั้นมีคนๆเดียวกันเป็นคนโพสแฮะ xD

นวัตกรรมก็มีวัน obsolete,

ส่วนการ acquire ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้เพราะมีเงิน ไม่ขายบริษัทซะอย่าง จะซื้อได้ยังไง

Apple's innovation? -> see Android

lamoon Thu, 09/27/2012 - 21:53

มีเงินเยอะๆ ซื้อสิทธิบัตรไว้เยอะๆ ก็ครองนวัตกรรมได้แล้วสินะ
อ๋ออออออออออออออออ

ประมาณนั้น .... มีสามทางเลือก ทำข้อตกลงขอใช้สิทธิบัตร หรือ ขอซื้อสิทธิบัตร หรือ ซื้อบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรซะเลย ... ถ้าคุณมีเงินเยอะพอที่จะทำอย่างงั้น ... ที่ผ่านมาทุก ๆ บริษัทที่รวยพอ ก็ทำงั้นนี่นะ

ผมว่าระบบมันก็ทำหน้าที่ของมันได้ดีนะ วงการอื่นไม่เห็นจะมีอะไร ที่เป็นปันหากันอยู่นี่ มันเป็นเรื่องของคนหัวหมอสองคนมาเจอกันมากกว่า

มองให้ดี ๆ สิครับ สิทธิบัตรทำให้เกิดการพัฒนาแน่นอน ถ้าไม่มีการคุ้มครองกัน ใครหละจะอยากลงทุนคิด ค้นคว้า วิจัย เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เงินมากมาย
สิทธิบัตรที่มีคุณค่า คือสิทธิบัตรที่ก่อประโยชน์แก่คนส่วนรวม ถ้านักประดิษฐ์เห็นคุณค่าของงานของคนอื่น ก็จะนำงานนั้นมาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ส่วนที่เขาทำเพิ่มเติมขึ้นมา ก็เป็นสิทธิของเขา และในส่วนที่เขาใช้ของคนอื่น ก็เป็นสิทธิของผู้ต้นคิด
แต่ถ้านักประดิษฐ์เห็นแนวทางอื่นที่ดีกว่า เข้าก็ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เขาพัฒนาแนวคิดของเข้าขึ้นมาเองได้ อาจจะโดยอาศัยข้อด้อยของสิ่งที่คนอื่นคิดไว้เป็นรากฐาน
โลกพัฒนาไปวิธีนี้ครับ
ส่วนเรื่องของกูเกิ้ลกะแอปเปิ้ลนั้น กูเกิ้ลควรดูไมโครซอฟท์เป็นตัวอย่าง เพราะเขาสามารถประดิษฐ์ WP โดยมีแนวทางของตนเองได้ และมีการขอใช้สิทธิบัตรอย่างถูกต้องระหว่างกัน เพียงแต่กูเกิ้ลไม่เลือกแบบนั้น ไม่มีเวลาที่จะคิดอะไร ๆ ของตนเองขึ้นมา เพราะถ้ารอจนถึงเวลานั้น แอปเปิ้ลอาจจะเป็นเจ้าตลาดไปแล้ว
แต่สิ่งที่กูเกิ้ลอาจจะลืมไป คือ ความนิยมทุกอย่าง มีวันสิ้นสุด และในหลาย ๆ กรณี สิ้นสุดเร็วเสียด้วย อีกหน่อย User Experience แบบ iPhone ก็จะเสื่อมความนิยมลงไป สิ่งใหม่ ๆ กว่าก็จะได้รับความนิยมแทน

ขึ้นกับวิธีการให้จดสิทธิบัตรครับ สิทธิบัตรไม่ใช่กฏสมบูรณ์แบบในการคุ้มครองตลาด

ก็เหมือนที่ ศาลเยอรมันตัดสินว่าซัมซุงไม่ผิดเรื่อง Multitouch เพราะใช้เทคโนโลยีคนละแบบกัน แต่ในบางประเทศที่ให้จดสิทธิบัตรกว้างๆแค่แตะหลายๆจุดก็จดได้ก็จะกลายเป็นว่าไม่ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีอะไรมาก็สูญเปล่า ต่อให้ดีกว่าก็เถอะ

ว่าแต่เห็นคุณย้ำมาหลายครั้งแล้วว่ากูเกิลละเมิด ตกลงกูเกิลละเมิดแอปเปิลอันไหนบ้าง แล้วทำไมแอปเปิลไม่ฟ้องซะทีละครับ

Aoun Fri, 10/05/2012 - 01:35

In reply to by sp

*** ถ้านักประดิษฐ์เห็นคุณค่าของงานของคนอื่น ก็จะนำงานนั้นมาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ส่วนที่เขาทำเพิ่มเติมขึ้นมา ก็เป็นสิทธิของเขา และในส่วนที่เขาใช้ของคนอื่น ก็เป็นสิทธิของผู้ต้นคิด ***

เขาพูดถึงเรื่อง Prior Art ด้วย ไม่ใช่การเห็นสิ่งที่มีแล้ว เอาไปจดเป็นของตัวเอง ดูอย่างเรื่อง Multi-touch ที่พยายามยึดมาเป็นของตัวเอง ทั้งที่มีการใช้กันมาก่อน ไม่เห็นให้เครดิตคนคิดค้น แถมยังจะเอามาเป็นเครื่องมือ ทำลายกัน

อยากเห็นโลกที่ไม่มีสิทธิบัตร ไปดูจีนได้เลยครับ

คุณไม่ต้องมองไปถึงเสกล บริษัท vs บริษัทหรอกครับ

มองให้ใกล้ตัวที่สุด คุณคิดค้นอะไรซักอย่างไปเสนอบริษัท บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินคุณครับ เรียกคุณไปดูงานแล้วก็ ลอกงานคุณไปขายดื้อๆ

บริษัททำถูกฎหมายทุกข้อครับ เพราะคุณไม่มีสิทธิบัตรไปเรียกร้องใดใด

จบรึยังครับ ? SIMPLE

แล้วตอนนี้จีนพัฒนาช้าลงหรือเร็วขึ้นละครับ? ถ้าใช้ตรรกะคุณนี่เท่ากับไปเสริมเขาเลยนะว่าไม่มีสิทธิบัตรดีกว่าจริงๆ เพราะตอนนี้หัวเหว่ย/ZTE ที่ใช้วิธีแบบที่คุณว่า เล่นซะอิริคสัน/โนเกีย-ซีเมนส์กระอักเลือดไปแล้ว

จริงๆผมเห็นด้วยกับกฏหมายสิทธิบัตรในระดับที่เหมาะสมนะ แบบจีนในระยะยาวก็แย่แน่ แบบสหรัฐตอนนี้ก็กลายเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าไปแล้ว

คุณอย่านำ [การพัฒนาทางสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญา] มาปนกับ [การพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจ] มันไม่เกี่ยวข้องกันกับสิ่งที่เราคุยกันอยู่ เราคุยกันเรื่องพัฒนาการทางสิทธิบัตร ความมั่งคั่งทางทรัพยสินทางปัญญา ซึ่งเป็น[การพัฒนาเชิงเทคโนโลยี] อย่าเปลี่ยนเลน ผมไม่เขวครับ

การพัฒนาของจีนมาจากจำนวนแรงงาน จำนวนประชากร ไม่ได้เกี่ยวกับการไร้ สิทธิบัตร จีนจำเป็นต้องรักษาดุลยภาพทางการเงินภายในประเทศ และการปกครองแบบคอมมิวนิสถ์ก็สนับสนุนกลวิธีนี้ หัวเหว่ยไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เดียวที่เกิดขึ้น เพื่อให้จีนรักษาตลาดในประเทศได้ รถหลักสิบล้าน ยังมีลอกเลยครับ http://www.youtube.com/watch?v=6rY3yNf-W3c

จำนวนประชากรสูง การผลิตสูง ในทางกลับกัน ตัวเลขทางเศรษฐกิจตกลงแค่ไม่กี่ % เท่ากับคนตกงาน เป็นล้านคน

การไร้สิทธิบัตรคือทางเลือกที่จีนจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอดและปากท้องของประชากรในประเทศ ไม่ใช่ทางเลือกที่ทำให้จีนเกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เหนือกว่าสหรัฐหรือประเทศที่มีสิทธิบัตร

ถามตัวคุณเองดีกว่าครับ คุณใช้หัวเหว่ยอยู่หรือไม่ และในห้างสรรพสินค้าคุณเห็นคนใช้หัวเหว่ยกี่คนครับ ?

ผมบอกอีกครั้ง ไม่ต้องไปมองเสกลให้ใหญ่โตและตีขลุมจนเป็นแค่นิยายแฟนตาซี มองให้ SIMPLE ในสเกลที่คุณสัมผัสเองได้

  • คุณไปขายงานให้บริษัท บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินคุณ เพราะ คุณไม่มีสิทธิบัตร บริษัททำถูกกฎหมายทุกข้อ ถามตัวเองว่าคุณต้องการแบบนั้นหรือไม่

  • ขอย้ำอีกครั้ง - เราคุยกันเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยี ไม่ใช่การพัฒนาในเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และผมไม่เขว

ที่บริษัทผมใช้ระบบของหัวเหว่ยครับ ถ้ารวมคนที่ใช้ระบบหัวเหว่ยในประเทศนี้ตอนนี้เกินหลักสิบล้านคนแน่ๆ เพียงแต่คุณไม่รู้ว่ากำลังใช้งานผ่านหัวเหว่ยเท่านั้นแหละ สินค้า"เทคโนโลยี"จริงๆมันไม่ใช่แค่ระดับ Consumer หรอกนะครับ

จากบริษัทรองบ่อน เป็นแค่ของก๊อปคุณภาพสู้ไม่ได้ ปัจจุบันหัวเหว่ยมีเทคโนโลยีระดับใกล้เคียงกันที่ราคาถูกกว่าบริษัทระดับโลกอย่างอีริคสันแล้ว

ย้อนไปหน่อย ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สมัยเริ่มพัฒนาประเทศก็ไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิบัตรหรอก ก๊อปได้เป็นก๊อป เมื่อประเทศมี"เทคโนโลยีพื้นฐาน"ที่เพียงพอแล้วค่อยต่อยอดเรื่องการส่งเสริมสิทธิบัตร

แล้วถามว่าประเทศเหล่านี้ ตอนนี้มาตรฐานเทคโนโลยีเป็นยังไงครับ? เอาแค่จีนเถอะ จีนตอนนี้มีเทคโนโลยีกี่อย่างที่ไม่อยู่อันดับต้นๆของโลก ทวีปต้นตำรับสิทธิบัตรอย่างยุโรปตอนนี้เหลืออีกกี่ประเทศที่มีเทคโนโลยีพอจะสู้จีนได้ แล้วถ้าจีนเอาระบบสิทธิบัตรมาใช้ ตอนนี้จะพัฒนาได้ระดับนี้รึเปล่า?

ไม่ได้จะทำให้คุณเขวครับ ที่พูดมาแต่แรกก็คือ"การพัฒนาเชิงเทคโนโลยี"ทั้งนั้น ไม่ได้พูดเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจซักนิด และผมไม่ได้ผูก"การระบบพัฒนาสิทธิบัตร"ว่าเป็นหนทางเดียวในการพัฒนาเทคโนโลยี ที่สำคัญคือผมมีให้ความเห็นเรื่องระบบสิทธิบัตรด้วยนะ

ในขณะที่ข่าวนี้กำลังถูกถกเถียงหน้าดำคร่ำเครียด

คนจำนวนมากเคียดแค้น วิจารณ์ ประนาม ระบายอารมณ์ลงใน comment

Eric Schmidt กำลัง..........................

ลิงค์วิดีโอ

จะมีใครก่อดราม่าโยงไปถึงเพลงนี้อีกด้วยหรือเปล่าหว่า เพราะเพลงนี้ก็มีประเด็นเกี่ยวกับลอกไม่ลอกเหมือนกัน

คนร้องเพลงที่คนส่วนใหญ่คิดว่าลอก
เขายังออกมาชมเลยว่าเพลงนี้เจ๋งกว่าของเขาอีก

ก็แล้วแต่มุมมองนะผมว่า

plawanja Fri, 09/28/2012 - 05:55

ก็สรุปว่า google เห็นว่าไม่ควรห้ามขายสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรกัน และสิทธิบัตรก็จดซ้ำซ้อนกันด้วย ถ้างี้ยกเลิกสิทธิบัตรไปให้หมดทั้ง 2แสนใบ แล้วเริ่มจดกันใหม่ดีไหม หรือโลกนี้ไม่ต้องมีสิทธิบัตรเลย

ถ้าสิทธิบัตรคุ้มครองผลิตภัณฑ์ที่จดไม่ได้แล้วจะมีสิทธิบัตรไปทำไม? สิทธิบัตรควรมีขอบเขตความคุ้มครองแค่ไหน ควรมีบทลงโทษแค่ไหน ผมว่าประเทศเขาคงคิดๆ กันไว้มั่งแล้วล่ะ

ถ้าสิทธิบัตรคุ้มครองผลิตภัณฑ์ที่จดไม่ได้แล้วจะมีสิทธิบัตรไปทำไม?

ไม่มีใครในข่าวหรือความเห็นไหนๆ บอกว่าจดไม่ได้ หรือจดแล้วไม่คุ้มครองครับ ใช้จินตนาการอีกแล้ว

สิทธิบัตรควรมีขอบเขตความคุ้มครองแค่ไหน ควรมีบทลงโทษแค่ไหน ผมว่าประเทศเขาคงคิดๆ กันไว้มั่งแล้วล่ะ

เห็นมีหลายหน่วยงาน (ในสหรัฐ) พยายามหาทางลงเรื่องนี้เหมือนกัน แต่คงยากอยู่ ผลประโยชน์มันเยอะ

ส่วนที่สมิธบอกว่าสิทธิบัตรมือถือมีอยู่ถึง 200,000 รายการ ผมลองค้นดูเล่นๆ แล้วมีผู้รายงานว่า เป็นซังซุงต่างหากที่ถือครองสิทธิบัตรมากกว่าใคร มีประมาณ 12,000 รายการ ส่วนแอปเปิลมีแค่เศษเล็บของซัมซุงคือมีประมาณ 1,000 กว่ารายการ มิน่าแอปเปิลถึงรีบทุบกระปุกออมสินยักษ์มากวาดซื้อบริษัทฯ ต่างๆ (และซัมซุงก็กำลังบุกตลาดสดซอฟต์แวร์กับเขาด้วย) และที่สมิธไปคุยกับผู้บริหารของซัมซุงอาจไปกระซิบว่านายเพลาๆ มือหน่อย สิทธิบัตรนายมันเยอะ ฟ้องเขามากจะดูอีวิล :D

เป็นข้อมูลปี 2011 และหมวดมือถือเท่านั้นนะ เดี๋ยวเอาไปเพ้อกันอีก - phonearena.com

อ่านแต่ละความเห็นแล้วสนุกดีครับ แต่ละคนเก่งมาก ทำให้ผมรู้ว่าเข้ามาเว็บนี้อย่าออกความเห็นจะดีกว่า สบายใจรออ่านสนุกกว่าเยอะ อิๆ

เคยคิดกันบ้างไหมว่า
ถ้ามีใครสักคน คิดค้นสิ่งหนึ่งขึ้นมา ทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาขาย แล้วก็พบว่ามีคนจดสิทธิบัตรไว้แล้ว ต้องจ่ายเงินให้ ของแพงขึ้น ขายไม่ออก เจ๊ง ทั้งที่ไม่รู้มาก่อนว่ามีคนคิดคล้ายๆ กันแล้ว
อย่างนี้มันดีจริงๆ หรือ

เคยครับ แต่ว่ามันเป็นปัญหาที่ไม่ใช่จะแก้ได้แค่ในพริบตาเดียว กระบวนการที่มันเป็นอยู่มันมีที่มาที่ไป บางครั้งมันก็ขัดกับวัตถุประสงค์เดิมของกฎหมายนี้และดูไม่สมเหตุสมผลเพราะมีคนอาศัยช่องว่างของมันมาหาประโยชน์ให้ตัวเอง จะแก้แต่ละทีก็ต้องฟังเสียงของแต่ละฝั่ง เพราะมีทั้งฝ่ายที่ได้ประโยชน์กับเสียประโยชน์

แล้วทำยังไงดีละครับ ที่จะดีต่อทั้งคนคิดก่อนและคนที่คิดทีหลังแต่ไม่รู้ และจะแยกระหว่างคนที่ไม่รู้และตั้งใจลอกได้อย่างไรครับ

ในความเห็นผม

จริงๆมันน่าจะบังคับใช้ลักษณะแบบสิทธิบัตรยานะครับ

ที่เจ้าของสิทธิบัตรจะได้มีสิทธิ์ระยะนึงหลังจากสิทธิบัตรนั้นหมดอายุก็เอามาวางเป็นกองกลาง

ใครอยากจะใช้ก็ใช้ได้ ใครไม่อยากพัฒนาก็รอใช้สิทธิบัตรที่หมดอายุ ซึ่งอาจจะตกยุคไปแล้ว

เพราะสิทธิบัตรบางอย่างที่จด ผมว่ามันไม่ควรให้จดด้วยซ้ำ

ตามความเข้าใจคือสิทธิบัตรของมือถือมีประมาณสองแสนกว่า ซึ่งมันก็มีเนื้อหาสิทธิบัตรอะไรที่มัน overlap กับอันอื่นอยู่ ถ้ามัวแต่เอามาฟ้องร้องกัน มันก็ทำให้ไม่ไปไหนมัวแต่ฟ้องกันไปฟ้องกันมา

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__0.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png