เว็บไซต์ The Information อ้างแหล่งข่าวจากพนักงานและอดีตพนักงานของ Meta Reality Labs หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาแว่น VR/AR และ metaverse ระบุว่าแผนก Reality Labs เริ่มถูกตัดงบประมาณลง 20% ตั้งแต่ปี 2024 ไปจนถึงปี 2026 ด้วยเหตุผลว่ารายได้ของ Reality Labs ไม่เป็นไปตามเป้า และรายจ่ายยังสูงอยู่เรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม การตัดงบไม่ได้แปลว่า Mark Zuckerberg จะล้มเลิกความฝันการสร้าง metaverse เพราะแหล่งข้อมูลของ The Information ยังกล่าวถึงแผนการออกแว่น VR/AR ในอนาคตดังนี้
มีรายงานว่า Meta ได้เจรจาเพื่อขอถือหุ้น 5% ในบริษัท EssilorLuxottica ซึ่งเป็นผู้ผลิตแว่นตาหลายแบรนด์ดังรวมทั้ง Ray-Ban ที่ Meta เป็นพาร์ตเนอร์ในการผลิตแว่นอัจฉริยะ Ray-Ban Meta Smart Glasses อยู่แล้ว
มูลค่าหุ้น 5% ของ EssilorLuxottica อยู่ที่ราว 4,330 ล้านยูโร หรือประมาณ 1.7 แสนล้านบาท โดยคำนวณจากมูลค่าตลาดตามราคาหุ้นของบริษัท
คาดว่า Meta ต้องการถือหุ้นใน EssilorLuxottica เพื่อร่วมกำหนดทิศทาง และควบคุมแผนการผลิตแว่นอัจฉริยะให้ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นสินค้าที่ Meta หวังนำมาต่อยอดกับบริการโลกเสมือน
EssilorLuxottica เป็นบริษัทอิตาลี-ฝรั่งเศศ ซึ่งเกิดการควบรวมกิจการกันระหว่าง Essilor และ Luxottica
ต่อจาก EU ก็มาที่บราซิล โดย Meta ประกาศว่าจะปิดการใช้งานฟีเจอร์ Generative AI ทั้งหมดในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากคำสั่งของหน่วยงานรัฐบาลก่อนหน้านี้ ที่ห้าม Meta นำข้อมูลผู้ใช้งานไปเทรน AI
Meta แถลงว่าในตอนนี้บริษัทจะปิดการทำงานของ Generative AI ไปก่อน แต่บริษัทยังคงเดินหน้าหารือกับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลแห่งชาติของบราซิลหรือ ANPD เพื่อชี้แจงประเด็นต่าง ๆ ที่หน่วยงานกังวล
บราซิลถือเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญมากของ Meta เช่น เป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้งาน WhatsApp มากเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย ก่อนหน้านี้ Meta ก็ออกระบบโฆษณาเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ AI ให้กับลูกค้าในบราซิลก่อน
Meta เปิดเผยว่าบริษัทมีแผนออกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ Llama ที่รองรับข้อมูลผสมผสาน (Multimodal) ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ประเด็นสำคัญนั้น Meta บอกว่าโมเดล Llama ตัวใหม่นี้จะไม่เผยแพร่ให้กับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU
โดยเหตุผลที่ Meta ตัดสินใจเช่นนั้นเป็นเพราะ Meta มองว่าทิศทางของหน่วยงานกำกับดูแลของ EU มีลักษณะที่คาดเดาได้ยาก จึงเลือกไม่เผยแพร่โมเดลไปเลยดีกว่า
Meta ประกาศยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมดของบัญชี Facebook และ Instagram ของ Donald Trump ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการประกาศปลดแบนบัญชีเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว
ในตอนนั้น Meta บอกว่า แม้บัญชี Facebook และ Instagram ของ Trump จะกลับมาใช้งานได้ แต่อยู่ในการควบคุม เช่น ไม่สามารถซื้อโฆษณาได้ หรือหากมีการละเมิดกฎการใช้งาน โพสต์จะถูกลบและถูกแบนการใช้งานทันที ซึ่งเป็นระดับการควบคุมที่สูงกว่าผู้ใช้งานทั่วไป ประกาศนี้จึงบอกว่าการควบคุมทั้งหมดถูกยกเลิกแล้ว บัญชีของ Trump จะมีสถานะแบบผู้ใช้งานทุกคน
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Donald Trump ได้โพสต์บน Truth Social ขู่ถึงเหล่าคนที่ทรัมป์เชื่อว่าสมรู้ร่วมคิดการโกงเลือกต้ังประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่แล้ว โดยมีชื่อ Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Meta อยู่ในโพสต์นั้นด้วย
ในโพสต์ดังกล่าว Trump ระบุว่า เขาจะไล่จัดการพวกที่สมรู้ร่วมคิดในการโกงเลือกตั้งถ้าเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี โดยคนพวกนั้นจะต้องโดนส่งคุกเป็นระยะเวลานาน และยังมีการพูดถึง Zuckerburg เป็นการปิดท้ายเชิงว่าให้ระวังตัวไว้ให้ดีอีกด้วย
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลแห่งชาติ (ANPD) ของบราซิล มีคำสั่งห้ามไม่ให้ Meta นำข้อมูลของผู้ใช้งานที่โพสต์เป็นสาธารณะบนแพลตฟอร์ม ไปใช้เทรน AI หลัง Meta ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวล่าสุด โดย Meta มีเวลาในการปรับปรุงนโยบาย 5 วัน หลังจากนั้นจะโดนปรับวันละ 5 หมื่นเรอัลบราซิล หรือราวๆ 3.3 แสนบาท
ด้านหน่วยงานปกป้องความเป็นส่วนตัวข้อมูลของบราซิล ออกมาเห็นชอบกับการตัดสินใจครั้งนี้ พร้อมเผยว่า นโยบายของ Meta ในบราซิล จะนำเอาโพสต์และข้อมูลของเด็กและวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีไปใช้งานด้วย แตกต่างจากในยุโรปที่ Meta จะไม่ยุ่งกับข้อมูลของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ถึงกระนั้น Meta ก็เผชิญปัญหาคล้ายๆ กันในสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ที่โดนหน่วยงานปกป้องข้อมูล สั่งเบรคการนำข้อมูลลูกค้ามาเทรน AI
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ประกาศว่า Threads แพลตฟอร์มโซเชียลเน้นตัวหนังสือ ตอนนี้มีผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) มากกว่า 175 ล้านบัญชีแล้ว ซึ่ง Threads จะมีอายุครบ 1 ปี ในอีกกี่ไม่กี่วันข้างหน้า
ก่อนหน้านี้ Elon Musk เจ้าของ X หรือ Twitter เดิม ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ Threads หวังมาแข่งขัน เปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งานว่ามี MAUs แตะ 600 ล้านบัญชี และถ้าเป็นผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs) ก็คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่ง หากเป็นตามนี้หนทางของ Threads ก็คงใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
Meta เตรียมลดขอบเขตการแบนเนื้อหาเกี่ยวกับคำว่า ‘ชะฮีด (Shaheed)’ คำใช้เรียกการพลีชีพในสงครามศาสนาตามหลักศาสนาอิสลาม หลังจาก Oversight Board (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบการใช้อำนาจนโยบายของ Meta) แนะนำให้ Meta ปรับขอบเขตการแบนเนื้อหาเกี่ยวกับคำว่าชะฮีด เพราะการแบนเนื้อหาทั้งหมดมันเกินเหตุไปหน่อย
ก่อนหน้านี้ Meta ได้รับคำวิจารณ์การจัดการคอนเทนต์เกี่ยวกับความขัดแย้งในตะวันออกกลางช่วงปี 2021 ก่อนจะบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ หลัง Meta จำกัดการมองเห็นโพสต์เกี่ยวกับความขัดแย้งของอิสราเอลและกลุ่มฮามาสช่วงปีที่แล้ว
Meta เผยแพร่งานวิจัย AI ที่สามารถสร้างวัตถุสามมิติด้วยคำสั่งตัวหนังสือ ที่มีความละเอียดสูงในองค์ประกอบภายนอกทุกมิติ ด้วยความเร็วที่มากขึ้น 3-10 เท่า จากงานวิจัยก่อนหน้านี้
โมเดลนี้ Meta เรียกชื่อว่า Meta 3D Gen (3DGen) สามารถสร้างวัตถุสามมิติจาก text prompt ได้ผลลัพธ์ในเวลาน้อยกว่า 1 นาที ผลลัพธ์ที่รองรับ PBR จึงสามารถนำไปใช้งานต่อได้กับโปรแกรม 3D ต่าง ๆ
การทำงานของ 3DGen มีสองขั้นตอนหลัก คือ Meta 3D AssetGen เป็นการนำข้อความมาสร้างเป็นวัตถุสามมิติ (text-to-3D) และ Meta 3D TextureGen เป็นการสร้างพื้นผิวของวัตถุ (text-to-texture) เมื่อนำสองส่วนมารวมกันจึงทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นวัตถุสามมิติที่มีรายละเอียดสูง
Meta เริ่มใช้ป้ายกำกับ "Made with AI" ในคอนเทนต์ที่พบว่าสร้างจาก AI ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการอิสระ Oversight Board มาตั้งแต่เดือนเมษายน อย่างไรก็ตามป้ายกำกับ "Made with AI" ดูจะสร้างปัญหาไม่น้อย เพราะช่างภาพหลายคนพบว่า แม้พวกเขาอัปโหลดรูปภาพปกติ ก็ถูกติดว่า Made with AI อาจเพราะมีการใช้เครื่องมือแต่งภาพนั้น แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
คณะกรรมาธิการยุโรปหรือ EC (European Commission) ออกแถลงการณ์แจ้ง Meta ในขั้นต้นว่ารูปแบบการให้บริการในภูมิภาคยุโรปแบบ "จ่ายเงินหรือยอมรับเงื่อนไข" สำหรับการแสดงผลโฆษณา ไม่เป็นไปตามกฎหมายดิจิทัล DMA โดยมองว่าทางเลือกที่มีอยู่ ไม่มีตัวเลือกที่สามารถปรับลดการแสดงผลเฉพาะบุคคล แต่ยังได้รับบริการเทียบเท่า
มีรายงานจาก Financial Times อ้างข้อมูลจากคนที่เกี่ยวข้องว่าสหภาพยุโรปหรือ EU เตรียมแจ้งความผิดกับ Meta ในประเด็นการให้บริการระบบสมาชิกจ่ายเงิน เพื่อแลกกับการไม่แสดงโฆษณา สำหรับผู้ใช้งานในยุโรป ว่าขัดกับกฎหมายดิจิทัล DMA ตามที่ EU ได้ประกาศเริ่มสอบสวนเมื่อเดือนมีนาคม
Meta เริ่มให้บริการสมัครสมาชิกใช้งาน Facebook และ Instagram แบบไม่มีโฆษณา เฉพาะผู้ใช้งานในยุโรปเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้ผู้ใช้งานมีสองทางเลือกคือใช้งานฟรีแบบมีโฆษณาติดตาม แต่หากไม่ต้องการให้มีโฆษณาเจาะจงก็ต้องจ่ายเงินค่าสมาชิก
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ให้สัมภาษณ์กับ Kane Sutter จากช่อง Kallaway ในหลายประเด็นทั้งเรื่อง AI และแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Meta
ในช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์ซึ่งถามมุมมอง Zuckerberg เกี่ยวกับ AI เขาบอกว่า AI ไม่น่าเป็นสิ่งที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างครบในเครื่องมือชุดเดียว โดยพูดถึงบริษัทหนึ่งที่พยายามสร้าง AI ผลิตภัณฑ์เดียวแล้วทำได้ทุกอย่าง เรียกว่าเป็น AI ที่แท้จริง เหมือนกับการสร้างเทพเจ้าขึ้นมา ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ Meta กำลังทำ และไม่คิดว่าวิธีนั้นจะได้ผลที่ดีด้วย
Meta ปล่อยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบเปิดให้ใช้เพื่อการวิจัยเท่านั้น ได้แก่
Meta ประกาศขยายฟีเจอร์ส่งข้อความสื่อสารทางเดียวหาผู้ติดตาม Broadcast Channel ทั้ง Facebook และ Messenger รองรับทุกเพจและทุกครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 หมื่นคน จากเดิมให้เฉพาะบางเพจและเป็นระบบ waitlist
Broadcast Channel ใน Facebook และ Messenger เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นฟีเจอร์แบบเดียวกับใน Instagram
Meta ยังเพิ่มหลายฟีเจอร์ให้กับ Broadcast เช่น สามารถส่งข้อความข้ามแพลตฟอร์มจาก Instagram ไป Facebook ได้, แชร์คอนเทนต์พิเศษให้ผู้ติดตาม Broadcast เห็นก่อนโพสต์ลงเพจได้ และผู้ติดตามสามารถแชร์คอนเทนต์ใน Broadcast ออกไปยัง Story ในรูปแบบสติกเกอร์ได้
หลัง Meta เริ่มติดป้าย Made with AI กำกับคอนเทนต์ที่ถูกสร้างด้วย AI ในแพลตฟอร์มของตัวเองเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตอนนี้กลายเป็นว่า Made with AI จะไม่สามารถแยกรูปถ่ายจริง ๆ ที่มีการใช้เครื่องมือแต่งภาพ กับ รูปที่ถูกสร้างด้วย AI ออกได้
TechCrunch ระบุว่ามีรูปภาพจริงบางส่วนบน IG ถูกติดป้ายกำกับ Made with AI คาดว่าเป็นเพราะมีการใช้เครื่องมือ AI แต่งภาพทำให้ระบบตรวจจับเจอแล้วเหมารวมว่าสร้างจาก AI ทันที เช่น กรณีของช่างภาพที่ใช้เครื่องมือ AI จาก Adobe เพื่อลบสิ่งของในรูป แต่รูปดังกล่าวดันถูกติดป้ายว่าสร้างจาก AI ซะอย่างนั้น
เมื่อวันก่อนมีรายงานข่าวว่าแอปเปิลได้เจรจากับบริษัทผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์หลายแห่ง เพื่อนำมาเสริมกับบริการ Apple Intelligence ไม่ให้จำกัดแค่เฉพาะ ChatGPT ของ OpenAI ซึ่งหนึ่งในนั้นมี Meta ที่ถูกระบุชื่อรวมอยู่ด้วย
ล่าสุดเป็นรายงานจาก Mark Gurman แห่ง Bloomberg โดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าแอปเปิลเคยมีการพูดคุยเบื้องต้น ในการนำ Meta AI มาใช้กับ Apple Intelligence จริง แต่โครงการนี้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่หลายเดือนที่แล้ว สาเหตุหนึ่งเพราะแอปเปิลไม่เห็นด้วยกับวิธีการจัดการความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานของ Meta
Meta เริ่มเปิดบริการแช็ทบ็อท Meta AI บน WhatsApp, Facebook, Messenger, Instagram สำหรับตลาดประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการ หลังจากเปิดทดสอบมาสักระยะหนึ่ง (ไทยยังไม่มีเช่นเคย)
Meta AI เป็นการนำโมเดล Llama 3 มาให้บริการโต้ตอบผ่านแอพแช็ทในเครือ ผู้ใช้สามารถคุยกับ Meta AI ทั้งการสนทนาเดี่ยว และเพิ่มเป็นเพื่อนเข้ามาในกลุ่มสนทนา เพื่อให้ช่วยพูดคุย หาข้อมูล และวางแผนต่างๆ ให้ได้ รวมถึงสั่งให้เรียกโมเดลสร้างรูปภาพจากข้อความผ่านหน้าแช็ท ได้ด้วย
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Meta บริษัทแม่ของ Facebook กำลังเจรจากับแอปเปิล เพื่อนำโมเดล Generative AI มาเชื่อมต่อการทำงานกับ Apple Intelligence ระบบ AI ที่แอปเปิลเพิ่งเปิดตัวใน iOS 18
Meta เผยแพร่งานวิจัยระบบสำหรับฝังข้อมูลในเสียง โดยเป็นสัญญาณที่มนุษย์ไม่ได้สามารถได้ยิน แต่ใช้ระบบตรวจสอบการมีอยู่ได้ ลักษณะเหมือนกับการทำงานของลายน้ำในรูปภาพ เพื่อใช้ตรวจจับข้อมูล ซึ่ง Meta มีแผนนำระบบนี้ใส่เข้าไปในไฟล์เสียงที่สร้างด้วย AI นั่นเอง
เครื่องมือนี้มีชื่อว่า AudioSeal มีจุดเด่นมากกว่าระบบการฝังข้อมูลในเสียงเป็นลายน้ำแบบเดิม ที่ใช้วิธีการใส่ข้อมูลบางช่วงเท่านั้น จึงทำให้สามารถตัดต่อนำข้อมูลนี้ออกไปได้ แต่ AudioSeal จะแทรกอยู่ในทุกจุดของไฟล์เสียง แม้จะเป็นไฟล์ยาวระดับชั่วโมงก็ตาม
Threads แพลตฟอร์มโซเชียลเน้นตัวหนังสือของ Meta เปิดตัว API สำหรับนักพัฒนาทุกคน ตามที่ประกาศแผนไปก่อนหน้านี้แล้ว
ในการใช้งาน API ของ Threads นั้น ทำได้ทั้งการโพสต์เนื้อหา, เรียกดูเนื้อหา ไปจนถึงการตอบข้อความหรือโควทข้อความ สามารถจัดการได้ทั้งการซ่อน-เลิกซ่อนข้อความที่ตอบได้ด้วย และสามารถเข้าถึง Insights ที่เป็นข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของ โพสต์บัญชีนั้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนวิว, ไลค์, การตอบ, รีโพสต์, โควท ไปจนถึงสถิติรายละเอียดจำแนกกลุ่มผู้ติดตาม เป็นต้น
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Documentation ของ Threads API ที่นี่
Meta ประกาศว่าจะไม่มีฟีเจอร์ผู้ช่วย AI สำหรับผู้ใช้งานในภูมิภาคยุโรป หลังจากหน่วยงานกำกับดูแลของ EU คัดค้านการให้บริการนี้ เนื่องจากประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
ก่อนหน้านี้ Meta ได้ประกาศแจ้งผู้ใช้งานในยุโรป ว่าจะนำข้อมูลโพสต์ทั้งหมดที่เป็นสาธารณะ มาใช้เทรน AI มีผลตั้ง Facebook และ Instagram โดยสามารถปิดไม่ให้ระบบดึงข้อมูลออกไปหรือ opt-out ได้ จึงทำให้หน่วยงานกำกับดูแลทำการสอบสวน ซึ่งกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแห่งไอร์แลนด์ (Ireland’s Data Protection Commission - DPC) ได้สั่ง Meta ชะลอการนำข้อมูลผู้ใช้งานไปเทรน AI จนกว่าจะดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม
Meta เปิดตัวแปลงข้อมูลเสียง Meta Low Bitrate หรือ MLow โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงที่มีอัตราบิต (Bitrate) ต่ำ ในการสนทนาเสียงแบบเรียลไทม์ระหว่างอุปกรณ์ โดยเฉพาะกรณีอยู่ในสภาพแวดล้อมการเชื่อมต่อที่ช้า
สิ่งที่ท้าทายของบริการสื่อสารแบบเรียลไทม์ คือการรักษาคุณภาพข้อมูลของต้นทางมากที่สุด การโทรเสียงทั่วไป Bitrate อยู่ที่ 768 kbps แต่ตัวแปลงยุคใหม่สามารถบีบอัดข้อมูลจนเหลือที่ระดับ 25-30 kbps ได้ แต่ก็ต้องแลกกับคุณภาพที่ลดลง จึงเป็นสามสิ่งที่ต้องแลกกันก็คือ Bitrate, คุณภาพ และความซับซ้อนของตัวแปลง
จากงาน Business Messaging Summit Thailand 2024 Meta ได้มีการรายงานพฤติกรรมผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ Meta รวมถึงเปิดเผยฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่จะถูกเพิ่มเข้ามา
โดยตอนนี้ Meta มีเป้าหมายที่จะเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อแพลตฟอร์มที่หลากหลายเข้ากับ Messenger เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จึงเกิดเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ ดังนี้