สถาปัตยกรรม RISC-V ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในช่วงหลัง เมื่อบริษัทขนาดใหญ่เริ่มสนใจมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Western Digital เองก็ประกาศเตรียมใช้งานในสินค้าของตัวเอง จนกระทั่งพัฒนาพิมพ์เขียวออกมาแจกจ่าย ตอนนี้ผู้ผลิตชิปในจีนก็เริ่มหันมาผลิตชิป RISC-V แล้ว
Jiangsu Qinheng ผู้ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กที่ก่อนหน้านี้มักผลิตชิปในสถาปัตยกรรม Cortex-M0 เพิ่มชิป CH572 ที่เป็น RISC-V ในรายการสินค้า โดยชิปมีหน่วยความจำแบบ OTP (โปรแกรมได้ครั้งเดียว) 96KB แรม 10KB และตัวชิปมี Bluetooth LE ใตัว
เมื่อปลายปี 2017 บริษัท Western Digital (WD) ประกาศเตรียมใช้ชิป RISC-V ในสินค้าทั้งหมด รวมกว่า 2,000 ล้านชิปต่อปี ตอนนี้การประกาศก็เริ่มเห็นผลแล้ว เมื่อบริษัทเปิดซอร์ส SweRV พิมพ์เขียวสำหรับสร้างชิป RISC-V
SweRV เป็นซีพียู 32 บิต สำหรับงาน IoT, ใช้เป็นหน่วยประมวลผลส่วนงานปลอดภัยสูง, หรือการควบคุมอุตสาหกรรม สำหรับทาง WD เองจะใช้ SweRV เป็นชิปควบคุมสตอเรจแบบแฟลช และ SSD
SweRV มีสถาปัตยกรรมไม่ซับซ้อนนัก โดยเป็น 2-way superscalar โหลดคำสั่งพร้อมกันสองคำสั่ง และ pipeline ภายในมี 9 ชั้น สามารถนำไปผลิตจริงด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร และรันได้สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.8GHz
Western Digital (WD) ประกาศในงาน RISC-V Workshop ปีนี้ว่าบริษัทแสดงความตั้งใจว่าเปลี่ยนซีพียูที่ใช้งานในสินค้าของบริษัทไปยัง RISC-V ทั้งหมด
ตอนนี้ WD ใช้ซีพียูในสินค้าของบริษัทปีละพันล้านชุด และคาดว่าเมื่อย้ายไป RISC-V สมบูรณ์ จะใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ถึงปีละสองพันล้านชุด โดยกระบวนการปรับไปใช้ RISC-V จะค่อยเป็นค่อยไป และการประกาศนี้ไม่ได้ระบุกรอบเวลาไว้
เหตุผลของการย้ายไปใช้ RISC-V คือความสามารถในการปรับแต่งซีพียูได้มากกว่า โดย WD ต้องการปรับแต่งซีพียูเพื่อการประมวลผลเพื่อประมวลผลข้อมูลใกล้กับข้อมูลให้มากที่สุด โดย WD เพิ่งลงทุนใน Esperanto Technologies ผู้พัฒนาชิปประมวลผลบนสถาปัตยกรรม RISC-V
โลกโอเพนซอร์สในช่วงสิบปีก่อนมักพูดกันเฉพาะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างเดียว ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สจำนวนมากที่เปิดไฟล์ออกแบบบอร์ด แต่บอร์ด HiFive1 น่าจะเป็นบอร์ดแรกๆ ที่ใกล้เคียงการโอเพนซอร์สทั้งระบบมากที่สุด เพราะมันใช้ซีพียู SiFive E310 ซีพียู RISC-V โอเพนซอร์สไฟลออกแบบ
ตัวบอร์ด HiFive1 ใช้บอร์ดร่วมกับบอร์ด Arduino ได้ และตัวซอฟต์แวร์ก็รองรับ Arduino IDE แม้จะต้องเซ็ตอัพ SDK ของ SiFive ก่อนก็ตาม
ตัวชิป E310 ไม่มีพอร์ตอนาล็อกในตัว และไม่มีหน่วยความจำแฟลชในตัวชิป แต่บอร์ด HiFve ก็ใส่ชิปหน่วยความจำแฟลชขนาด 128 Mbit มาไว้บนตัวบอร์ดแล้ว
SiFive ผู้พัฒนาซีพียูออกซีพียูโอเพนซอร์สสองรุ่นบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง RISC-V ทั้งสองรุ่นได้แก่
Freedom U500 ซีพียู 64 บิตรองรับการทำงานแบบมัลติคอร์ เชื่อมต่อความเร็วสูง PCIe 3.0, USB 3.0, แลนกิกะบิต, DDR3/4 ผลิตด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร ตัว U500 จะสามารถพัฒนาบนบอร์ด FPGA อย่าง Xilinx Vertex-7 หรือ Microsemi SF2+ ได้ ราคาบอร์ดเริ่มที่ 125 ดอลลาร์ รองรับลินุกซ์
Freedom E300 ซีพียู 32 บิตขนาดเล็กสำหรับอุปกรณ์ IoT ผลิตด้วยเทคโลยี 180 นาโนเมตร มีหน่วยความจำแฟลชและแรมในตัว การพัฒนาใช้บอร์ด Digilent Arty ราคาบอร์ด 99 ดอลลาร์ รองรับ FreeRTOS