Tags:
Node Thumbnail

เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความปลอดภัยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส คือการทำให้การคอมไพล์สามารถทำซ้ำได้ (reproducible builds) เพื่อให้คนภายนอกแน่ใจได้ว่าซอร์สโค้ดที่เปิดเผยออกมาตรงกับซอฟต์แวร์ที่กำลังใช้งานอยู่ แต่กระบวนการทำจริงนั้นมีเงื่อนไขหลายอย่างที่ทำให้โค้ดไม่สามารถคอมไพล์ออกมาให้ตรงกันทุกครั้ง แต่วันนี้ทาง NetBSD ก็ออกมาระบุว่าตอนนี้การคอมไพล์บนสถาปัตยกรรม amd64 และ sparc64 สามารถทำซ้ำได้แล้ว

ทาง NetBSD แจงรายการปัญหาที่พบจากการพยายามทำให้การคอมไพล์ทำซ้ำได้ ได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

Raspberry Pi 2 อัพเดตตัวเองมาใช้ซีพียู Cortex-A7 หรือสถาปัตยกรรม ARMv7 ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่รองรับ ARMv7 (หรือ armhf) พากันพอร์ตลงมา เพราะเพียงแค่ปรับแก้ bootloader ก็มักจะรันได้ ตอนนี้ระบบปฎิบัติการล่าสุดที่ประกาศพอร์ตมารองรับคือ NetBSD

การปรับแก้ในวันนี้ทำให้ระบบคอมไพล์อิมเมจรายวันของ NetBSD ปล่อยอิมเมจสำหรับ RPi2 ออกมาทุกวัน (ตัวอย่าง) สำหรับผู้สนใจสามารถเขียนอิมเมจลงการ์ด microSD

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

โครงการ NetBSD ได้เพิ่มเอาการรองรับภาษา Lua เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ kernel โดยการมาของ Lua นั้นจะทำให้การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ของ kernel ทำได้ง่ายขึ้น เพราะสามารถเขียนโค้ดในภาษา Lua แทนที่จะเป็นภาษา C อย่างที่เคยทำมาในอดีต การเขียนโค้ดด้วยภาษา Lua มีประโยชน์ตรงที่สามารถเขียนได้ง่าย และระหว่างการพัฒนานั้นไม่จำเป็นต้องคอมไพล์โค้ดใหม่ เพราะว่า Lua เป็นภาษาสคริปท์ เพียงแค่เขียนโปรแกรมแล้วก็รันได้เลย

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ NetBSD ประกาศออกรุ่น 6.0 ซึ่งถือเป็นรุ่นหลักรุ่นที่ 14 ของโครงการแล้ว

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก NetBSD ถือเป็นระบบปฏิบัติการตระกูล BSD อีกตัวหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ดังเท่า FreeBSD แต่ก็มีคนนำไปใช้งานเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น NASA หรือ AirPort Extreme ของแอปเปิลก็เข้าข่าย

NetBSD 6.0 ปรับปรุงเรื่องการทำงานกับ Xen, ปรับปรุงการทำงานของซีพียู SMP สถาปัตยกรรม MIPS และ PowerPC, รองรับซีพียู Cortex-A8 และรองรับ Raspberry Pi ขั้นต้น (รองรับสมบูรณ์ในรุ่นหน้า)

ที่มา - NetBSD via Phoronix

Tags:
Node Thumbnail

คนที่เคยอ่านประวัติของ Linux คงทราบดีว่า ต้นกำเนิดของมันมาจาก Linus ลองเขียนโค้ดเลียนแบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Unix เพื่อการศึกษาวิชาระบบปฏิบัติการ (ในขณะนั้น) แต่ภายหลังโครงการขยายใหญ่โตจนเกินระดับของ Minix ไปมาก

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ Minix จะโดน Linux กลบรัศมีไปเยอะ แต่ตัวระบบปฏิบัติการก็ยังคงอยู่และพัฒนาเรื่อยมาในฐานะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และภายหลังเมื่อ Minix เริ่มขยายตัวออกมาจากวงการการศึกษา มันก็ได้รับความนิยมในวงการอุปกรณ์ฝังตัว (เพราะออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก ไม่ค่อยมีอะไรซับซ้อน เดี๋ยวนักศึกษางง)