Tags:
Node Thumbnail

ข่าวเก่าหน่อย แต่มีความน่าสนใจครับ

ในทางวิชาการสังคมศาสตร์ การแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมอาจจะยังเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน แต่ล่าสุดอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่ยากอีกต่อไปเมื่อ Facebook ได้รับอนุมัติจดทะเบียนสิทธิบัตรฉบับใหม่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อคุ้มครองอัลกอริทึมตัวใหม่ของบริษัท ที่ใช้สำหรับแบ่งแยกชนชั้นและฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic group classification)

อัลกอริทึมดังกล่าวจำแนกชนชั้นของผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ชนชั้นแรงงาน (working class หรือที่นิยมแปลกันคือ กรรมาชีพ), ชนชั้นกลาง (middle class) และชนชั้นสูง (upper class) จากนั้นจะใช้ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน Facebook และอุปกรณ์ที่ใช้เข้าถึง รวมถึงความถี่ในการใช้ ประวัติในการท่องเที่ยว มาสร้างโมเดลแล้วจำแนกผู้ใช้เหล่านี้ให้อยู่ในระดับต่างๆ (ที่น่าสนใจคือการระบุว่า ชนชั้นแรงงานมีอุปกรณ์เข้าถึง Facebook 0-1 ชิ้น, ชนชั้นกลาง 2-5 ชิ้น, ชนชั้นสูงตั้งแต่ 6 ขึ้นไป)

เป้าหมายของอัลกอริทึมนี้ คือการทำให้บุคคลที่สาม (third parties) ที่ต้องการโฆษณาบน Facebook สามารถยิงโฆษณาได้ตรงเป้าหมายกับกลุ่ม ฐานะ และช่วงชั้นทางสังคมของผู้ใช้ โดยยังไม่มีการระบุว่าเริ่มใช้อัลกอริทึมตามสิทธิบัตรนี้หรือยัง

ชนชั้นกรรมาชีพจงรวมตัวกัน

ที่มา - USPTO (1, 2) ผ่าน Engadget, The Matter

No Description
ภาพจากสิทธิบัตร Facebook

Get latest news from Blognone

Comments

By: gololo
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 18 February 2018 - 09:26 #1034245

นึกถึงการนำไปไช้ในทางที่ดีได้มากมาย
เวลามีคนเข้ามาแอดจะได้รู้ว่าเป็นคนชนชั้นใหน
จะไปแอดไครจะได้รู้ว่าชนชั้นอะไร เลือกได้อย่างถูกต้อง
เวลาขายของจะได้รู้ว่าควรปฏิบัติยังไงกันคนแต่ละชนชั้น
เวลาซื้อโฆสนาจะได้ทำไว้แต่ละชนชั้น
ถึงว่าทำไมชอบบังคับ Login ข้อมูลของเราทุกครั้งพัฒนาเรื่องดีๆอยู่นี่เอง

By: gotobanana
iPhoneAndroidBlackberrySymbian
on 18 February 2018 - 09:40 #1034247
gotobanana's picture

เป็นการเยียดชนิดหนึ่งที่ไม่พูดออกมาตรงๆ

By: Mike26
iPhoneAndroidBlackberryRed Hat
on 18 February 2018 - 13:13 #1034266 Reply to:1034247
Mike26's picture

เยียด / เหยียด ยังไงครับ ?

ที่ไหนๆ เอกชน หรือรัฐ ก็มีการแบ่งกลุ่มประชากร ตามเงื่อนไข ที่ตั้งเองหมดแหละ
ยกตัวอย่าง เอกชน บริษัทผลิตรถยนต์ ก็จำแนกลูกค้า ตามเพศ อาชีพ อายุ เชื้อชาติรายได้ ภูมิลำเนา บลาๆๆๆ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 19 February 2018 - 09:09 #1034381 Reply to:1034247

มันคือ segmentation ครับ ไม่ใช่เหยียด


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: Mypandacm on 19 February 2018 - 11:04 #1034415 Reply to:1034247
Mypandacm's picture

แบ่ง segmentation เพื่อให้ลดต้นทุนในการโฆษณา ถือว่าเป็นประโยชน์ จะได้ไม่โฆษณามั่วซ่ว แบบโฆษณารถเบนซ์ให้กับแม้ค้าในตลาด เปลืองงบเปล่าๆ

By: mrBrightside
iPhoneWindows
on 19 February 2018 - 16:41 #1034498 Reply to:1034247

การแบ่งกลุ่มลูกค้า สำคัญมากนะครับในเชิงธุรกิจ

By: langisser
In Love
on 20 February 2018 - 09:51 #1034591 Reply to:1034247

ผมก็ไม่ได้มองว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นการเหยียดนะ

By: Gored on 18 February 2018 - 10:03 #1034248
Gored's picture

บริษัทไหนไม่มีแบ่งชนชั้นลูกค้าบ้าง ใครจ่ายหนักก็รับสิทธิดูแลดีเป็นธรรมดา

By: wasant
Windows
on 18 February 2018 - 21:31 #1034326 Reply to:1034248

+1

By: Aoun
AndroidWindows
on 18 February 2018 - 10:36 #1034253

วรรณะออนไลน์ ดีนะไม่มีFBกะเค้า ไม่ถูกคัดกรองด้วย

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 18 February 2018 - 10:50 #1034257
Holy's picture

ดูแล้วสงสัยว่า 350 Household Data นี่จำแนกยังไง

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 18 February 2018 - 13:25 #1034268 Reply to:1034257
Jonathan_Job's picture

ก็ตำแหน่งงาน กับ บริษัทใน profile แล้วก็ crosscheck กับ Glassdoor ได้ออกมาเป็นเงินเดือนมั้งครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 18 February 2018 - 15:53 #1034282

คนเท่ากัน
... แต่เงินในกระเป๋าไม่เท่ากัน ... สินะ

By: loptar on 19 February 2018 - 10:13 #1034398
loptar's picture

กลุ่มนักรีวิวสาย IT นี่ ชนชั้นสูงกันทุกคนเลยนะเนี่ย ส่วนเศรษฐีที่ใช้มือถือเครื่องเดียว ก็เป็นชนชั้นแรงงานไป แปลกดีครับ 55555

By: Mypandacm on 19 February 2018 - 11:05 #1034417 Reply to:1034398
Mypandacm's picture

มันก็แค่ส่วนหนึ่งครับ มันจะดูความถี่การโพส เวลาการใช้งาน โอกาสการท่องเที่ยว บลาๆ ลองอ่านเนื้อหาอีกสักรอบ น่าจะเข้าใจมากขึ้นครับ