Tags:
Node Thumbnail

รัฐบาลออสเตรเลียอ้างว่าเพื่อความมั่นคง ปลอดภัย ควรปล่อยให้รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เพราะอาจเป็นข้อมูลของกลุ่มสุดโต่ง หรือกลุ่มที่เตรียมจะก่ออาชญากรรม แม้ผู้เชี่ยวชาญจะเตือนว่า การทำให้การเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง หรือ end-to-end encryption อ่อนแอลง จะทำให้ตำรวจสามารถดักฟังได้และอาจทำให้แฮกเกอร์โจมตีข้อมูลได้ง่ายด้วย

No Description

กฎหมายใหม่นี้เอาโมเดลมาจากกฎหมายของอังกฤษ Investigatory Powers Act โดยนายกรัฐมนตรี Malcolm Turnbull เห็นว่าหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายจะเข้าถึงการสื่อสารนั้นๆ ได้

ออสเตรเลียพยายามเป็นตัวตั้งตัวตีในการผลักดันแนวคิดนี้ผ่านการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้บริษัทเทคโนโลยีทั้งหลาย ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไร้ซึ่งหลักเกณฑ์ใด ๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะป้องกันและต่อต้านภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ด้านตำรวจระบุว่า ไม่กี่ปีมานี้ สัดส่วนทราฟฟิกการสื่อสารกันด้วยการเข้ารหัสเพิ่มขึ้นจาก 3% เป็น 55%

ประเด็นเรื่องเข้ารหัส (Encryption) เรื่องถอดรหัส (Decrypt) เรื่องความเป็นส่วนตัวของบุคคลหรือเรื่องความมั่นคงของรัฐไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่เถียงกันมานานแล้ว

ตัวอย่างจากคดี San Bernardino ที่เกิดเหตุกราดยิงจนเสียชีวิตไป 14 คน และโทรศัพท์ถูกล็อครหัสผ่านนั้น FBI ยื่นคำร้องต่อศาลให้ Apple ทำรอมรุ่นพิเศษเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ยึดมาได้

Amber Rudd (นักการเมืองฝ่ายขวาจัด ได้ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยของอังกฤษนับตั้งแต่ Theresa May ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี) เคยออกมาเรียกร้องให้สามารถเข้ารหัส WhatsApp ได้ หลังเกิดเหตุโจมตีที่ Westminster เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า บริษัทไอทีทั้งหลายที่มีการให้บริการข้อความ ต้องทำให้การเข้ารหัสสามารถทำได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงเช่นนี้ รัฐบาลไม่สามารถอ่านข้อความได้ เพราะมีการเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง ควรทำให้การเข้ารหัสนั้นอ่อนแอกว่านี้ อดีตผู้อำนวยการ FBI อย่าง James Comey ก็เคยเรียกร้องในประเด็นเดียวกันนี้ เพื่อให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากการติดต่อสื่อสารได้เช่นกัน

นายกรัฐมนตรี Malcolm Turnbull แห่งออสเตรเลีย และ Amber Rudd รัฐมนตรีมหาดไทยของอังกฤษที่เรียกร้องให้มีการถอดรหัสข้อความบุคคลเหมือนกัน

ความสำคัญของการทำให้การเข้ารหัสแข็งแกร่งก็เพื่อความปลอดภัย ยิ่งเข้ารหัสอย่างแน่นหนามากยิ่งทำให้แฮกข้อมูลยาก ก่ออาชญากรรมยาก โจรกรรมยาก ส่งผลดีทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศ

ประเด็นนี้เป็นดีเบตที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งฝ่ายที่อ้างความมั่นคงของรัฐเพื่อปกป้องประชาชน และฝ่ายที่ต้องการพิทักษ์รักษาสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล รัฐบาลต้องชั่งน้ำหนักว่าความท้าทายจากปัญหานี้จะป้องกันหรือรับมือภัยคุกคามจากการก่อการร้ายอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน

ที่มา - AP, The Guardian 1, 2,
The Huffington Post, Schneier

Get latest news from Blognone

Comments

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 15 July 2017 - 18:43 #997989

เดี๋ยวก่อนส่งไปให้แฟนจะ tag cc ให้เลยละกันนะแหม่:P

By: Dustfinger on 15 July 2017 - 18:54 #997991

ไม่จริ้งงงง ไม่มีที่ไหนในโลกเค้าทำกันหรอกนอกจากไทย
//ลล555

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 July 2017 - 19:37 #997997 Reply to:997991
McKay's picture

ผมเข้าใจว่ารัฐบาบพยายามควบคุมพยายามมีอำนาจเนี่ย รัฐบาล'เป็นกันทั่วโลก'นะครับ

ส่วนกลุ่มคนที่เห็นด้วยและต่อต้านมันก็มีด้วยกัน'ทั้งสองฝ่าย'ทุกประเทศครับ ประเทศหนึ่งคนเห็นด้วยอาจมากกว่า อีกประเทศคนไม่เห็นด้วยอาจมากกว่าก็ได้ ซึ่งสุดท้ายแล้วตามกลไกการเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็จะไปสู่ผลของการเลือกตั้งครั้งใหม่ครับ

ไอ้ที่ต่างกับไทยก็คือกลุ่มคนบางกลุ่มพยายามโยนข้อกล่าวหาบอกว่าคนอีกกลุ่มเป็นคนเลวคนชั่วทำลายประเทศได้อย่างไม่มีเหตุผลนั่นแหละครับ ใครไม่เห็นด้วยก็ให้ปิดปากไปซะแบบนั้น


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 15 July 2017 - 20:45 #998006 Reply to:997991
lew's picture

ถ้าการขอข้อมูลโดยไม่ผ่านศาลเลย แบบในพรบ. มั่นคงไซเบอร์ ผมไม่เคยเห็นในประเทศเจริญแล้วจริงๆ ครับ

อย่างเคส NSA ที่ว่าหนักๆ แล้ว ก็ยังมีศาล FISA ที่โดนวิจารณ์ว่าเป็นตรายาง IPB ของอังกฤษเขาก็ชูเรื่องนี้ (ให้อำนาจมาก แต่ฝั่งคนเสนอเขาก็ชี้ว่านี่ไงมีกระบวนการตรวจสอบเยอะ)


lewcpe.com, @wasonliw

By: whitebigbird
Contributor
on 15 July 2017 - 21:08 #998007 Reply to:997991
whitebigbird's picture

คนที่เค้าต้านกัน เค้าต้านความไม่มีระบบครับ ในด้านความมั่นคงจะให้ไม่มี eavesdropping เลยคงจะยาก (eacesdropping = ดักเพื่อเอาข้อมูล ตั้งแต่ดักฟังโทรศัพท์บ้าน ไปยันทำ mitm)

มันต้องมี แต่ไม่ใช่มีแบบ ม.44 ครับ มันต้องมีกระบวนการที่สืบหาได้ มันต้องมีที่มาที่ไปเป็นลายลักษณ์อักษร มีระบบ มีระเบียบ

By: Pearseak on 15 July 2017 - 21:14 #998008

ผมว่ามันค่อนข้างไร้ประโยชน์อ่ะครับพวกสุดโต่งตัวอันตรายจริงๆก็คงใช้การเข้ารหัสนอกแอปช่วยอยู่ดีที่จะัโดนดักฟังก็มีแต่คนทั่วไปนี่แหล่ะมั้ง

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 15 July 2017 - 21:48 #998010 Reply to:998008
lew's picture

อันนี้เป็นคำถามเหมือนกันครับ ว่าสุดท้ายแล้วถ้าไปใช้แบบ PGP กันหมดแล้วจะทำไงต่อ

แบนการเข้ารหัสให้กลายเป็นอาวุธสงครามแบบ 20 ปีก่อน?


lewcpe.com, @wasonliw