Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวร่วมกับ VMware ประเทศไทย นำเอาโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีของ VMware เข้ามาใช้ในกระทรวง โดยเน้นไปที่ vSphere และ Horizon ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้าน VDI (Virtual Desktop Infrastructure) และ Virtualization ในองค์กร

No Description

ผศ. (พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าการนำเอาระบบของ VMware เข้ามาใช้งานเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของการทำระบบสาธารณสุของประเทศ ให้สอดคล้องกับกรอบ eHealth ของ WHO และ ITU ซึ่งเป็นองค์กรที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก (ทั้งสององค์กร มีสถานะเป็นสำนักเชี่ยวชาญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ) รวมถึงนโยบายหลักของประเทศในการปรับเปลี่ยนไปสู่โครงสร้างแบบดิจิทัลภายในปี 2020 ด้วย

No Description

สธ. ในฐานะองค์กรที่กำกับดูแลสถานประกอบการ (สำหรับโรงพยาบาลเอกชน) และผู้ดำเนินการ (สำหรับโรงพยาบาลรัฐ ที่นอกเหนือไปจากกรุงเทพมหานคร) จึงต้องวางระบบและทำแนวทางให้สอดคล้องกับแผนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ทั้งในระดับสากล และระดับประเทศ แนวทางหนึ่งที่ใช้คือการนำเอาโซลูชั่นของ VMware ซึ่งมีการใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกเข้ามาใช้งาน นอกจากจะเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับกรอบของ WHO และ ITU แล้ว ยังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย (จำนวนคนที่สังกัดสำนักงานปลัด สธ. ถือว่าเยอะมาก)

No Description

ผมมีโอกาสถามว่า เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ เรื่องของการแลกเปลี่ยนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล คืบหน้าไปถึงไหนบ้าง ซึ่งทาง นพ.พลวรรธน์ ยอมรับว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่ อย่างไรก็ตามในหลายโรงพยาบาล การแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถเริ่มทำได้แล้ว แต่ในส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการตกลง ซึ่งยังมีอุปสรรคพอสมควร แต่เชื่อว่าจะสามารถตกลงกันได้ในอีกไม่นานนี้ เพราะมีการคุยกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว

ด้าน Tisa Murdock ผู้อำนวยการฝ่าย End User Computing Industry Solutions ของ VMware ระบุว่าโซลูชั่นทางการแพทย์ที่ VMware นำมาให้บริการนั้น ไม่ใช่การนำเอาผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่มีอยู่แล้วของบริษัท มาให้ลูกค้าใช้ทันที แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางการแพทย์ที่รับรอง ผมมีโอกาสสอบถามว่าในการเปลี่ยนแปลงนี้ทำอย่างไรบ้าง Tisa ระบุว่า นอกจากต้องแก้ไขซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านี้แล้ว VMware ยังตั้ง CTO พิเศษ เพื่อดูแลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ และจ้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานร่วมกับบริษัทด้วย

Tisa ระบุว่าลูกค้าในปัจจุบันสำคัญๆ ของ VMware มีอยู่ทั่วโลก โดยสำหรับของไทยคือโรงพยาบาลสมิติเวช ที่มีการใช้งานระบบนี้อยู่ (สธ. ถือเป็นองค์กรสาธารณสุขภาคราชการแห่งแรกของไทย) ส่วนในระดับนานาชาติก็มีเช่น Mayo Clinic เป็นต้น

No Description

ที่มา - งานแถลงข่าวร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและ VMware

Get latest news from Blognone

Comments

By: gogogokrit on 28 August 2016 - 13:58 #935777

รพ.รัฐใช้ระบบ HIS (Health Information System) มากกว่า 5 Vendor การ Integrate ข้อมูลผู้ใช้บริการเข้าด้วยกันยังต้องผลักดันอีกมาก

จริงๆ มีแล้วนะแต่เรื่องคุณภาพข้อมูลยังไม่โอเคมากๆ (43 แฟ้มมาตรฐาน ของสปสช.) จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย ปัญหามาตั้งแต่ต้นทางคือ คนไม่พอทั้งผู้ปฎิบัติงานและคนคีย์ข้อมูล

เอาใจช่วยต่อไปครับ

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 28 August 2016 - 15:16 #935793 Reply to:935777

ในเครือของทหารอากาศ มี 3 ระบบ การ Integrate ข้อมูลข้าม Platform กัน ปวดหัวพอสมควรเลย

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 28 August 2016 - 19:43 #935830 Reply to:935777
Sephanov's picture

ศธ ใช้ระบบเดียวเก็บข้อมูลเด็ก แต่แปลก เวลามีการย้ายต้องให้ไปคัดระเบียนที่ต้นสังกัดมาเป็นแบบกระดาษทุกที ทั้งๆที่มีระบบอิเล็กทรอนิคอยู่แล้ว

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 28 August 2016 - 15:13 #935792

ทำอันนี้แล้วรบกวนช่วยเปลี่ยนค่าเริ่มต้น(Default) ของการค้นหาประวัติคนไข้จากเอกสารกระดาษเป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งประเทศด้วยครับ เพราะรพ.รัฐ(ขนาดใหญ่)แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ยังคงใช้กระดาษอยู่และชอบหาประวัติคนไข้ไม่เจอทำให้คนไข้รอหมอไปอย่างไร้ประโยชน์ทวงถามไร้การตอบรับแถมโดนลัดคิว ลัดคิวไม่พอเจ้าหน้าที่รพ.ปัดความรับผิดชอบอีก เอ่้มแล้วจะตั้งคอมอยู่ในห้องประวัติคนไข้ให้เปลืองงบประมาณทำไมครับ... คนไข้รอแค่ประวัติคนไข้ให้หมออย่างเดียวสองชม.ครึ่งนิคืออะไร?!?

By: eakisuit
iPhoneRed Hat
on 28 August 2016 - 15:32 #935795 Reply to:935792

-

By: gogogokrit on 28 August 2016 - 16:09 #935800 Reply to:935792

ปัญหาที่ไปเจอมาตอนไปคุย Requirement
"มีที่ไหนที่ไม่ต้องพิมพ์เข้าระบบไหมน้อง ตอนนี้งานพี่ก็โหลดมาก รพ. เงินก็ไม่ค่อยมีจ้างคนคีย์ข้อมูล ถ้าบอกสปสช. ให้ทำเรื่องเบิกเงินมาได้เร็วขึ้น ได้พี่จะดีใจมากเลย"

เราก็ยิ้มครับๆ ไป

By: srps
iPhoneWindows
on 28 August 2016 - 20:35 #935834 Reply to:935792
srps's picture

ที่ให้เปลี่ยนค่าจากการค้นหาแฟ้มเวชระเบียนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดทั้งประเทศ ตอนนี้ยอมรับเถอะครับว่า "มันยากมาก" เพราะ
- การอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์นั้น เน้นแฟ้มเวชระเบียนกระดาษเป็นสำคัญ (แน่นอนว่ารวมถึงในทางกฎหมายด้วย)
- เวลา ข้อมูลเวชระเบียนเก่าๆ ซัก 5 ปีขึ้นไปเนี่ย สำหรับผมขอตอบแบบส่วนตัวว่า ทำไมต้องกรอกข้อมูลคนไข้ย้อนหลังด้วย เหนื่อยครับ ยิ่งคนไข้ที่มาแบบรายวันและต้องกรอกข้อมูลย้อนหลังให้ครบตั้งแต่เริ่มเข้ามา(สมมุติว่าผู้ป่วยเริ่มเข้าตรวจครั้งแรกตอนที่ปี 2538 ยังใช้เครื่อมพิมพ์ดีดอยู่เลย) ผมก็ไม่เอาด้วยหรอก

ส่วนเรื่องหาแฟ้มนั้น ทุกที่มีปัญหาหมดแหละครับ
ยิ่งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ยิ่งปัญหาเยอะเลยครับ ต้องหาแฟ้มคนๆ หนึ่งจากแฟ้มนับแสนๆ ที่อยู่ในตู้เก็บแฟ้ม แล้วแฟ้มหาไม่เจอก็ต้องหาว่าแฟ้มไปไหน และปัญหาก็ไม่ได้มีแค่ 10-20 คน มีปัญหาเป็นร้อย ผมเอาก็เข้าใจครับว่ามันอย่างนู้นอย่างนี้ แต่ต้องเข้าใจเขาด้วยนะ ทำงานทุกวัน เสาร์อาทิตย์ นักขัตรฤกษ์ ก็ต้องมาเข้าเวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เงินเดือนก็น้อย
ถ้าเป็นผม ให้ใช้กันทั้ง 2 ระบบควบคู่ ทั้งกระดาษทั้งระบบคอมพิวเตอร์ กันนั่นแหละดีแล้ว เพราะถึงจะมีปัญหากับแบบหนึ่ง แต่ก็มีอีกแบบไว้เป็นหลักประกัน จะดีกว่า

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 28 August 2016 - 21:03 #935840 Reply to:935834

"การอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์นั้น เน้นแฟ้มเวชระเบียนกระดาษเป็นสำคัญ (แน่นอนว่ารวมถึงในทางกฎหมายด้วย)"
ตอบ ไม่ได้บอกให้ทิ้งกระดาษครับแต่กระดาษมีไว้ยืนความถูกต้องกับสำรองระบบได้ผมบอกแค่ว่าทุกอย่างไม่ใช่ลงที่กระดาษมันต้องเป็นตัวเลือกสำรองสิ

"เวลา ข้อมูลเวชระเบียนเก่าๆ ซัก 5 ปีขึ้นไปเนี่ย สำหรับผมขอตอบแบบส่วนตัวว่า ทำไมต้องกรอกข้อมูลคนไข้ย้อนหลังด้วย เหนื่อยครับ ยิ่งคนไข้ที่มาแบบรายวันและต้องกรอกข้อมูลย้อนหลังให้ครบตั้งแต่เริ่มเข้ามา(สมมุติว่าผู้ป่วยเริ่มเข้าตรวจครั้งแรกตอนที่ปี 2538 ยังใช้เครื่อมพิมพ์ดีดอยู่เลย) ผมก็ไม่เอาด้วยหรอก"
ตอบ เป็นหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นเจ้าของโรงพยาบาลที่ต้องผลักดันให้เกิดให้ได้ครับงั้นจะเสียเงินเป็นร้อยล้านเพื่อทำระบบที่ไม่มีคนใช้ทำไม ไม่ต้องนั่งกรอกก็ได้ตัวเก่าๆก็แสกนเก็บเข้าไปทั้งดุ้นแล้วมานั่งอ่านรูปเอาก็ยังไหว ประเทศเราเล็กนิดเดียวทำไมจะทำไม่ได้ครับประเทศใหญ่ๆเขาก็ทำมาแล้ว มันอยู่ที่รัฐบาลตั้งใจจะทำไหม แล้วเราเรียกร้องมันแค่ไหน ซึ่งผมคิดว่าใครก็อยากหาหมอเร็วๆครับมันเสียเวลาไปทั้งวันกับเรื่องแค่นี้มันมากเกินไป

"ส่วนเรื่องหาแฟ้มนั้น ทุกที่มีปัญหาหมดแหละครับ"
ตอบ ผมถึงบอกให้ใช้คอมเป็นค่าเริ่มต้นได้แล้วก็ในเมื่อมันช้าแล้วมันมีปัญหาทุกที่ โรงพยาบาลเอกชนเข้าก็ใช้คอมเป็นหลักคนป่วยก็เยอะ แต่กระดาษก็เป็นระบบสำรอง

"ทำงานทุกวัน เสาร์อาทิตย์ นักขัตรฤกษ์ ก็ต้องมาเข้าเวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เงินเดือนก็น้อย"
ตอบ ไม่ใช่หน้าที่ของเข้าครับมันต้องจ้างเข้ามาทำต่างหากซึ่งรัฐต้องทำเรื่องนี้ หน้าที่ของเขาคือเก็บรักษาและบริหารประวัติผู้ป่วยไม่ใช่มานั่งกรอกเอกสารเข้าระบบแน่ๆครับ เพราะถ้าทำอันนี้ไม่ได้โปรเจ็คตามข่าวก็ไม่มีประโยชน์ครับเพราะประวัติผู้ป่วยก็ยังอยู่บนกระดาษ...

By: srps
iPhoneWindows
on 28 August 2016 - 21:21 #935845 Reply to:935840
srps's picture
  • อย่าเอาโรงพยาบาลรัฐ ไปเปรียบเทียบกับ โรงพยาบาลเอกชลสิ
  • คนที่ทำงานหาแฟ้ม บริหารจัดการแฟ้มเวชระเบียน คือ เจ้าหน้าที่ในงานเวชระเบียน ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่บันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบ
By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 28 August 2016 - 22:32 #935872 Reply to:935845
  • โรงพยาบาลรัฐนิคือเปรียบกับใครไม่ได้คนไข้คือคนบุคคลอนาถาคุกเข่าไปขอร้องให้ใช้บริการ?!? ไม่ใช่นะครับในเมื่อถูกจ้างโดยเงินภาษีประชาชนมันก็ต้องตรวจสอบเปรียบเทียบได้ครับ อันไหนทำงานบกพร่องก็มาดูกันว่าเกิดที่อะไร ไม่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนและสวัสดิการครับต้องแยกให้ชัดเจนว่าสวัสดิการอะไรที่สมควรได้ก็ต้องคุยกันอีกเรื่องครับไม่ใช่พอเงินเดือนน้อยทำแค่นี้แหละพอแล้วคุ้มเงินเดือน...
  • ถ้าการหาแฟ้มมันช้านักก็เปลี่ยนให้เขามาทำงานหาคนไข้ในคอมครับ จริงๆถ้าระบบคอมแล้วไม่ต้องหาก็ได้ลิงค์ไปที่หมอเลยเอาคนตรงนี้ไปทำอย่างอื่นครับ ได้ประโยชน์กว่ามานั่งหาแแฟ้มล้วตกหล่นกรรมก็ตกที่คนไข้...
By: tstcnr1u
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 28 August 2016 - 21:05 #935841 Reply to:935834

ผมสงสัยว่าทำไมของเก่าไม่แสกนเก็บอะครับ มีไว้อ่าน อ่านกระดาษได้ก็อ่านบนจอได้ครับ สำคัญก็ปริ้นออกมาได้ ไม่ต้องทำ OCR ต้องหวังขนาดมากด search คำก็ได้มั้ง(ผมว่าตอนหมออ่านประวัติก็ไม่ได้ใช้แนวนั้น)

By: srps
iPhoneWindows
on 28 August 2016 - 21:25 #935847 Reply to:935841
srps's picture

แค่งานประจำวันของเวชระเบียนก็แทบแย่แล้วครับ

By: tstcnr1u
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 28 August 2016 - 22:06 #935862 Reply to:935847

ผมว่ามันไม่ใช่คำตอบเลยครับ

ถ้าบอกปริมาณงานแทบแย่ทำอะไรไม่ได้งั้นก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วครับชีวิตนี้ค้นมันต่อไปแหละข้ออ้างเรื่องอื่นไม่เกี่ยวเลย ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงไม่พยายามทำเพิ่ม คนทำไม่พอไม่เพิ่มคน ไม่จ้างบริษัทมาเก็บลง digital ให้

เวลาผมจะทำอะไรลงคอมมันเหนื่อยตอนเริ่มถ้างานน้อยๆเตรียมตั้งต้นในคอมจะไม่คุ้มแต่ถ้างานที่คิดว่าเยอะแน่ๆ ลองคิดดูวันนี้มีแสน วันหน้ามีล้าน ไม่ทำตอนนี้ไปค้นเอกสารตอนเพิ่มจากแสนเป็นล้าน งั้นก็โชคดีกับกองเอกสารครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 28 August 2016 - 22:20 #935870 Reply to:935847
hisoft's picture

ส่วนเรื่องหาแฟ้มนั้น ทุกที่มีปัญหาหมดแหละครับ
ยิ่งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ยิ่งปัญหาเยอะเลยครับ ต้องหาแฟ้มคนๆ หนึ่งจากแฟ้มนับแสนๆ ที่อยู่ในตู้เก็บแฟ้ม แล้วแฟ้มหาไม่เจอก็ต้องหาว่าแฟ้มไปไหน

ก็เพราะแบบนั้นถึงยังต้องมาค้นกองแฟ้มกองเอกสารเป็นแสนๆ อยู่ไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้าแบบนั้นก็ค้นกองแฟ้มหลักแสนไปนะครับ

By: blue111
AndroidUbuntuWindows
on 29 August 2016 - 10:25 #935948 Reply to:935847

ผมล่ะสงสัยจริง ๆ ว่าทำไมเวลาจะย้ายจากกระดาษเป็นดิจิตอล ราชการมักไม่มีงบจ้างคนกรอกข้อมูล หน่วยงานของแม่ผมเนี่ยก็เคยถูกสั่งให้ต้องกรอกเองโดยไม่ได้จ่ายเงินเพิ่ม งานประจำวันก็ต้องทำทำไปได้ 3-4 ปีมั้งสำเร็จเท่าไหร่ไม่ทราบแต่น่าจะใกล้แล้วอยู่ ๆ กรมไปทำสัญญากับเอกชนรายหนึ่งทำระบบใหม่และให้กรอกข้อมูลใหม่ด้วย(มั้งถามผ่านแม่ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้) แต่ดีหน่อยที่ที่เอกชนรายนี้จ้างคนกรอกข้อมูลประจำอยู่ทุกสำนักงาน ไม่เกิน 1 ปีใกล้เสร็จแล้ว

เลยสงสัยน่ะว่าทำไมไม่จ้าง ถ้าเป็นเพราะต้องการเก็บความลับเอกสารก็ไม่น่าจะเก็บลับได้ เพราะตอนที่ให้กรอกเองข้าราชการหลายคนก็ใช้วิธีควักเนื้อตัวเองจ้างลูกหลาน/นักเรียนนักศึกษามาช่วยทำช่วงปิดเทอม ไม่งั้นไม่เสร็จแล้วได้กลับบ้านมืดค่ำทุกวันเพื่อทำมัน

ว่าไปไอการกรอกข้อมูลนี่ไม่ธรรมดาจริง ๆ เจอคนเก่า ๆ เมื่อ 10-20 ปีที่แล้วเก็บเอกสารไม่เป็นไปตามระเบียบหากันให้วุ่นบางวันกรอกได้ไม่ถึง 10 ชุดเพราะวุ่นกับการตามหา

By: eakisuit
iPhoneRed Hat
on 28 August 2016 - 15:34 #935796

-

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 28 August 2016 - 15:36 #935797
put4558350's picture

จริงๆน่าจะกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนรูปแบบเดียว(พร้อมกดราคาให้เรียบร้อย ไม่ก็เขียนเองเลย) ดูเรื่องการไช้กับ tablet และการผูกข้อมูลเข้ากับบัตรประชาชนด้วยก็ดี

แล้วเอาเข้าหลักสูตรตอนเรียนให้หมอเป็นหมดทุกคน ส่วนของเก่าก็ค่อยๆ phase out ไป


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 28 August 2016 - 16:22 #935801

เป็นการเร่มต้นที่ดีนะครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: netbiz on 29 August 2016 - 05:49 #935896

43 แฟ้มมาตรฐานเป็นมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขออกแบบและสร้างระบบ HDC ขึ้นมานะครับ ไม่ใช่ของ สปสช.
สปสช. แค่เข้ามาขอใช้ข้อมูลไปใช้ในการเบิกจ่ายครับ
และบริบทอื่นๆ ตาม comment ด้านบน มันเป็นประเด็นที่คนในสาธารณสุขรับทราบปัญหากันดีอยู่แล้วพอสมควรครับ ศูนย์ ICT สธ. เขาก็กำลังหาแนวทางสร้างระบบ กำหนดแนวทาง และปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเดิม ทั้งเรื่องพัฒนาคนและลงทุนด้านทรัพยากรอื่นๆ การลงพื้นที่เพียงครั้งสองครั้งไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่แค่บางคนไม่ได้สะท้อนสภาพที่แท้จริงไปทั้งหมดนะครับ
หากมองภาพรวมๆ สาธารณสุขพัฒนาไปมากกว่าหลายๆ ส่วนราชการครับ หากจะมัวแต่มองปัญหาอย่างที่หลายๆท่านไปพบมาก็อาจจะย่ำอยู่กับที่ และพัฒนาไปข้างหน้าไม่ได้ครับ แต่การก้าวไปข้างหน้าโดยไม่กำหนดมาตรการอะไรก่อนก็จะกระทบกับผู้ปฏิบัติครับ ก็อาจจะต้องใช้เวลากำหนดกติกา ออกกฎหมายคุ้มครองผู้ปฎิบัติงานก่อน ไม่ให้ไปขัดต่อกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ เป็นต้นครับ

By: 100dej
AndroidWindows
on 29 August 2016 - 08:29 #935908

น่าจัดนักศึกษาฝึกงานไปลงแขก สัก 3-4 ปีคงโอนข้อมูลจากกระดาษสู่ Digital ได้

By: acitmaster
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 30 August 2016 - 09:23 #936124 Reply to:935908
acitmaster's picture

ฝึกงาน 3-4 ปี นี่กะไม่ให้เรียนจบเลยหร๋อ

By: 100dej
AndroidWindows
on 22 September 2016 - 13:37 #942085 Reply to:936124

3-4 รุ่นก็ได้ เพื่อความเข้าใจ