Tags:
Node Thumbnail

Veritas บริษัทให้บริการจัดการข้อมูล และโซลูชั่นด้านการจัดเก็บข้อมูล เผยรายงาน Databerg Report สำรวจข้อมูลจากคนทำงาน IT ในองค์กรกว่า 2,500 คน จาก 22 ประเทศ พบว่า ข้อมูลที่องค์กรจัดเก็บทุกวันนี้ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทเพียงนิดเดียว ส่วนข้อมูลที่เหลือเป็นข้อมูลเก่า, ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจของบริษัทได้เลย

คำว่า Databerg Report ล้อมาจากคำว่า Iceberg โดยเปรียบเทียบข้อมูลเหมือนเป็นภูเขาน้ำแข็งในทะเล ส่วนบนสุดที่โผล่พ้นน้ำคือข้อมูลสำคัญขององค์กร สามารถเข้าถึงและนำไปใช้ดำเนินการได้ตลอดเวลา จากรายงาน คำนวณว่าข้อมูลที่เป็นประโยชน์มีสัดส่วนเพียง 14% ของข้อมูลทั้งหมดเท่านั้น

ส่วนตรงกลางของภูเขาน้ำแข็ง คือข้อมูลซ้ำซ้อน ข้อมูลหมดอายุ ข้อมูลที่ไม่สำคัญอะไร มีสัดส่วน 32% โดย Veritas เรียกข้อมูลส่วนนี้ว่า ROT Data ย่อมาจาก Redundant, Obsolete, Trivial Data

ส่วนลึกที่สุดของภูเขาน้ำแข็งคือข้อมูลที่ผู้บริหารไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอยู่ในองค์กร และเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถสร้างคุณค่าให้องค์กรได้เลย ข้อมูลส่วนนี้มีสัดส่วนมากที่สุดคือ 54% เรียกว่า Dark Data

No Description

ปัญหาของข้อมูลที่มากเกินไปคือค่าดำเนินการและต้นทุนการจัดเก็บจะยิ่งมากขึ้น ในรายงาน Databerg คาดการณ์ว่าภายในปี 2020 ปัญหา ROT Data และ Dark Data จะสร้างค่าใช้จ่ายในองค์กรทั่วโลกกว่า 30 ล้านล้านบาท

สำหรับพฤติกรรมที่ทำให้เกิด ROT Data และ Dark Data มากขึ้น มีดังนี้

  • จัดเก็บข้อมูลโดยอิงตามจำนวนข้อมูล (data volume) ไม่ใช่ตามคุณค่าของข้อมูล (data value)
  • องค์กรมีความเชื่อว่าถ้าจัดซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมาให้มากเข้าไว้ องค์กรจะไม่ต้องจ่ายค่าจัดเก็บอีกในอนาคต
  • มีข้อมูลส่วนตัวของบุคลากรในองค์กร แอบมาฝากไว้ในระบบ

No Description

ความเชื่อผิดๆ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อมูลมหาศาล ยุคนี้เป็นยุคที่ทุกคนสร้างข้อมูลได้ จึงสร้างข้อมูลขึ้นมาเต็มไปหมด และเมื่อเกิดความเชื่อว่าปุอกรณ์จัดเก็บราคาถูกลง จะเก็บข้อมูลเท่าไรก็ย่อมได้ แต่กลับไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าบุคลากรดูแลข้อมูล ค่าพื้นที่ ค่าพลังงาน

สำหรับแนวทางแก้ไข Veritas เสนอไว้ดังนี้

  • ไม่ควรวางนโยบายรองรับการจัดเก็บอย่างไร้ขีดจำกัด เพราะจะมีค่าใช้จ่ายงอกเงยขึ้นมาจนควบคุมได้ยาก
  • ให้นโยบายกับพนักงาในนเรื่องการฝากข้อมูลที่จะเป็นภาระแก่พื้นที่จัดเก็บ โดยไม่ควรนำข้อมูลส่วนตัวมาเก็บไว้ในพื้นที่ขององค์กร รวมถึงไฟล์ที่อาจผิดกฎหมาย เช่น เพลง หนัง ด้วย
  • จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล และเคลียร์ข้อมูลเก่าออก เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดซื้ออุปกรณ์จัดเก็บใหม่
Get latest news from Blognone

Comments

By: kernelbase on 10 August 2016 - 15:39 #931764

เชื่อว่าบางที่ มีไม่ถึง10%ด้วยซ้ำ
แต่ คุณคิดว่าจะให้ใครลบ
จะมี it หน้าไหนกล้าไปลบเอง
ให้userลบเองก็บอกขี้เกียจ
บอกไปที่managerแผนก ก็...ช่างมัน ค่าใช้จ่ายit รับไปอยู่แล้ว

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 10 August 2016 - 15:56 #931769 Reply to:931764

เคยลบครับและวันหนึ่ง User ถามหาครับ งานงอก!!!!!! ดีแบ็คอัพไว้....

By: zerost
AndroidWindows
on 10 August 2016 - 17:45 #931772 Reply to:931764
zerost's picture

User บางทีก็ไม่ทราบว่าต้องใช้ครับ แต่วันดีคืนดีมันก็มีข้อมูลที่คิดว่าน่าจะลบทิ้งได้แล้วแต่ดันต้องเอามาใช้ก็มีเหมือนกันครับ เวลาเราจะลบอะไรทีมันเลยทำใจลบไม่ลงซักที สุดท้ายก็กองสุมๆกันนั่นละครับ อีกเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือข้อมูลซ้ำซ้อน บางทีเราสร้างคอนเทนท์ขึ้นมาซักอย่างแล้วเก็บไม่เป็นที่เป็นทางจะพบข้อมูลระหว่างสร้างหรือข้อมูลที่ทำสำเนาเผื่อๆไว้เยอะครับ เวลาจะหาก็จะเจอหลายที่แล้วสุดท้ายก็วกกลับไปข้อเดิมว่าไม่กล้าลบอีก

By: tstcnr1u
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 10 August 2016 - 16:59 #931792 Reply to:931764

น่าจะแยกยากนะครับบางทีใช้น้อยมากๆอยู่ๆก็ต้องใช้ขึ้นมา เป็นไปได้ง่ายสุดก็คงต้องกวาดใส่ถังเก็บถูกๆอย่างพวกเทปหรือ HDD ที่ไม่ได้เน้นความเร็วไปเลย แล้วเอาไปเก็บไว้ในตู้ ก็ประหยัดได้หน่อย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 10 August 2016 - 17:07 #931796
lew's picture

ประเด็นการขโมยหมายเลข เป็นอีกประเด็นที่ผมกังวลเรื่องพร้อมเพย์ กลับข้างกันคือแทนที่จะขโมยเงินออก หากไม่มีมาตรการตรวจสอบดีพอ จะกลายเป็นการขโมยทางเข้าเงินแทน เช่น ร้านค้าที่มีลูกค้าโอนมาเรื่อยๆ


lewcpe.com, @wasonliw

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 10 August 2016 - 17:15 #931800 Reply to:931796
btoy's picture

K.lew ตอบผิด Topic รึเปล่าเนี่ย อิอิ


..: เรื่อยไป

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 10 August 2016 - 17:56 #931813 Reply to:931800
lew's picture

เอ้อ ผมก็ว่าคอมเมนต์ผมหายไปไหน :/


lewcpe.com, @wasonliw

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 10 August 2016 - 17:16 #931801
btoy's picture

มันก็แบบนั้นจริงๆแหละ ข้อมูลหลายๆอย่างมันไม่ได้ใช้ แต่จะลบก็ลบไม่ลง 555


..: เรื่อยไป

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 11 August 2016 - 08:32 #931939

บางทีก็รู้นะ แต่ไม่มีคนไปเคลียร์ จะให้คนอื่นเคลียร์ให้ก็ไม่ได้เดี๋ยวไปถูกอันที่ต้องเก็บจริง ใครมีคำแนะนำดีๆ บ้างไหมครับสำหรับจัดการพวกไฟล์เก่าๆ ไม่ใช้งาน หรือการจัดการไฟล์ให้เป็นระบบหน่อย


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 11 August 2016 - 09:35 #931958
GodPapa's picture

รูปถ่ายกับเพลงนี่ละอย่างเยอะ
บอกก็แล้วว่าเก็บเฉพาะงานสำคัญ ไฟล์ส่วนตัวเก็บไว้ในเครื่อง

By: Noppon
iPhoneWindows
on 11 August 2016 - 09:59 #931969

ร้อยวันพันปีไม่เคยได้ใช้ และคิดว่าคงไม่ใช้แล้วล่ะ
แต่พอลบไปเท่านั้นแหละ อีกไม่นานก็จะมีเหตุให้ต้องใช้ไฟล์นั้นขึ้นมาทันที