Tags:
Node Thumbnail

Rimac Automobili บริษัทรถยนต์หน้าใหม่จากประเทศโครเอเชีย เปิดตัวรถยนต์ไฮเปอร์คาร์ไฟฟ้าล้วนถึงสองรุ่นพร้อมกัน คือ Concept One และ Concept S ที่งาน Geneva Motor Show ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Concept One

No Description

บริษัทใช้เวลาพัฒนารถยนต์รุ่นนี้นาน 5 ปี เคยเปิดขายเวอร์ชันเก่าไปหลายคัน ขณะนี้เป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่จะออกวางขายจริงแล้ว โดยผลิตเพียง 8 คันเท่านั้น มีมอเตอร์ไฟฟ้าถึง 4 ตัว และชุดเกียร์อีก 4 ชุด หมายความว่าแต่ละล้อมีมอเตอร์และเกียร์ของตัวเอง

No Description

No Description

มอเตอร์ของสองล้อหน้าให้กำลังรวมกัน 671 แรงม้า ส่วนมอเตอร์สองตัวหลังให้กำลังถึง 804 แรงม้า ซึ่งจริงๆ แล้วรวมกันเป็น 1,475 แต่ตามสเปกบอกว่าได้กำลังราว 1,088 แรงม้า เนื่องจากหลายปัจจัย และได้แรงบิดสูงถึง 1,180 ปอนด์ฟุต (ราว 1,600 นิวตันเมตร)

Concept One ทำความเร็ว 0-100, 0-200 และ 0-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ที่ 2.6, 6.2 และ 14.2 วินาที ตามลำดับ โดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 355 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (Tesla Model S P90D เปิดโหมด Ludicrous ทำเวลา 0-100 ได้ 2.8 วินาที)

No Description

ตัวถังของรถรุ่นนี้ทำด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ และแชสซีทำด้วยอลูมิเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ น้ำหนักรวม 1,850 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าหนักทีเดียวสำหรับรถสปอร์ต แต่ก็ยังเบากว่า Bugatti Chiron ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมๆ กัน

No Description

รถคันนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ Lithium-Ion มีเซลล์พลังงานภายใน 8,450 เซลล์ ระบายความร้อนด้วยของเหลว แบตเตอรี่มีลักษณะเป็นรูปตัว T ยาวมาตั้งแต่เพลากลาง (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่มีเพลา) ไปจนถึงด้านหลังของเบาะนั่ง ความต่างศักย์อยู่ที่ 650 โวลต์ และความจุ 82 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง Rimac บอกว่าวิ่งได้ไกล 330 กิโลเมตร โดยคู่แข่งอย่าง Tesla Model S มีแบตเตอรี่ให้เลือกสองความจุคือ 70 และ 90 กิโลวัตต์ชั่วโมง วิ่งได้ไกล 386 และ 463 กิโลเมตร ตามลำดับ

ด้วยกำลังของรถที่มากมายมหาศาล ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ก็ต้องดีมากตามไปด้วย โดยแบตเตอรี่สามารถให้กำลังได้ถึง 1 เมกะวัตต์ และชาร์จกลับระหว่างเบรกได้ถึง 400 กิโลวัตต์

No Description

Concept S

No Description

รุ่นนี้เป็นรุ่นฮาร์ดคอร์ของ Concept One โดยเพิ่งเปิดตัวและยังไม่วางขายจริง มันมีกำลัง 1,365 แรงม้า และแรงบิดสูง 1,328 ปอนด์ฟุต (ราว 1,800 นิวตันเมตร) น้ำหนักเบาลง 54 กิโลกรัมเป็นผลจากการนำวัสดุซับเสียงออกไป และใช้คาร์บอนไฟเบอร์มากขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้ได้รถยนต์ที่ทำความเร็ว 0-100, 0-200 และ 0-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ที่ 2.5, 5.6 และ 13.1 วินาที ตามลำดับ โดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 365 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ที่มา - Jalopnik, Rimac

Get latest news from Blognone

Comments

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 6 March 2016 - 14:36 #890707
Perl's picture

8 คัน แล้วจะมีอะไหล่สต๊อคเวลาเสียหรือเปล่า =_=

By: 7elven
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 6 March 2016 - 14:44 #890709

งงว่ามอเตอร์มีทอร์กสูงอยู่แล้ว ทำไมต้องมีเกียร์อีก

By: BlackMiracle
WriterAndroidUbuntuWindows
on 6 March 2016 - 14:55 #890711 Reply to:890709

ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันครับ เสริมให้ว่าล้อหน้าเกียร์ 1 สปีด ล้อหลังเกียร์ 2 สปีดคลัทช์คู่


Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 6 March 2016 - 15:03 #890712 Reply to:890709

ผมว่าไม่แปลกนะ น้ำหนักเยอะขนาดนั้นไม่มีเกียร์เลยนี่สิแปลก

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 6 March 2016 - 15:09 #890714 Reply to:890709
devilblaze's picture

เมื่อวิ่งยาวๆ ใช้เกียร์สูงๆ มอเตอร์หมุนไม่กี่รอบ แต่ล้อหมุนหลายรอบ อาจช่วยประหยัดด้านพลังงาน

เหมือนจักรยาน ยัดเกียร์สูง ฟืดนิดหน่อย แต่ถ้าความเร็วคงที่แล้วก็สบาย

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 6 March 2016 - 15:10 #890715 Reply to:890709
ZeaBiscuit's picture

Torque สูงแต่รอบมีจำกัดครับ ยังไงก็ต้องมีเกียร์

By: Lennon
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 6 March 2016 - 19:40 #890745 Reply to:890715

ก็เพราะมีเกียร์นั่นล่ะครับ ถึงทำให้รอบจำกัด

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 6 March 2016 - 20:48 #890758 Reply to:890745
ZeaBiscuit's picture

เดี๋ยวนะครับ มีเกียร์ทำให้รอบมีจำกัด ?

เข้าใจว่าหน้าที่ของเกียร์ทำอะไรครับ ?

รอบมันจำกัดเพราะสเปกของมอเตอร์(หรือเครื่องยนต์)นะครับ ไม่ได้มาจากเกียร์

เกียร์ทำหน้าที่เสมือนเพิ่มรอบให้มอเตอร์ เพราะจากที่มอเตอร์หมุนหนึ่งรอบ ล้อหมุนหนึ่งรอบ กลายเป็นมอเตอร์หมุนไม่ถึงรอบ ล้อหมุนหนึ่งรอบ (Max speed ก็เพิ่ม)

หรือกรณีมอเตอร์หมุนสามรอบ ล้อหมุนหนึ่งรอบ เพื่อเพิ่มกำลังเวลาขนของหรือขึ้นเขา

By: Lennon
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 7 March 2016 - 10:14 #890878 Reply to:890758

"รอบมันจำกัดเพราะสเปกของมอเตอร์(หรือเครื่องยนต์)นะครับ ไม่ได้มาจากเกียร์"

ใช่ครับ แต่ในเมื่อโจทย์เขาถามว่าในเมื่อเครื่องมีแรงบิดมหาศาลแล้วทำไมจึงยังต้องมีเกียร์? เพราะค็อนเซ็ปเดิมของเกียร์คือการเข้ามาช่วยเครื่องเพื่อถ่ายกำลังจากเครื่องลงสู่เพลา เปรียบเทียบให้เห็นภาพ เหมือนให้คนทั่วไป ไปปั่นจักรยานฟิกซ์เกียร์ แต่ตั้งเกียร์ไว้ที่เกียร์สูงเพียงอย่างเดียว มันก็ออกตัวไม่ไหว ไอ่ครั้นจะตั้งเฟืองไว้เพื่อการออกตัวอย่างเดียวมันก็ใช้ความเร็วสูงไม่ได้อีก จึงต้องมีการเซ็ทเฟืองหลากหลายอัตราทดประกอบเข้าด้วยกันกลายเป็นเกียร์ แต่กรณีนี้แรงบิดมันมากกว่ารถทั่วๆไปถึงขนาดต้องเรียกว่า "จอมพลัง" แรงบิดขนาดนี้ปกติต้องมีแต่ระดับรถบรรทุกนะครับ ดังนั้นการจะให้จอมพลังไปปั่นฟิกส์เกียร์ที่เซ็ท 5 อย่างเดียวก็ย่อมไม่น่าจะมีปัญหาถ้าจะต้องออกตัวด้วยเฟืองหนักๆ แล้วไล่ยาวไปยันความเร็วปลายในทางทฤษฎีผมว่าเป็นผลดีด้วยซ้ำ เนื่องจากเมื่อไม่มีชุดเกียร์ก็ลดนำ้หนักรถลงได้ ไหนจะไม่ต้องห่วงเรื่องการสึกหรอของชุดเกียร์ในระยะยาวอีก แต่ในเมื่อรถคันนี้ใส่เกียร์เข้ามาผมจึงมองว่าเกียร์(ต่ำ)นั่นแหล่ะที่ไปจำกัดการหมุนของล้อ

อย่างไรก็ตามในแง่ของการเพิ่มรอบ ไม่เพิ่มรอบ

ผมไม่รู้ว่าในตำราเขาเขียนไว้อย่างไร แต่ผมว่า เกียร์ทำหน้าที่ "ชดเชยรอบ" มากกว่า " เพิ่มรอบ" เพียงอย่างเดียวนะครับ เพราะในบางเกียร์ จำนวนการหมุนของล้อมากกว่าจำนวนการหมุนของเครื่องก็มีเช่น เกียร์ Over Drive เกียร์จึงทำหน้าที่ปรับรอบการหมุนของล้อให้สัมพันธ์กับการใช้งานในแต่ละสถานการ์ณจริง

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 7 March 2016 - 10:45 #890894 Reply to:890878
ZeaBiscuit's picture

ผมพูดว่าเสมือนเพื่อให้ฟังเข้าใจง่ายๆไงครับ และก็อย่างที่คุณบอกว่าถ้ามันกำลังเยอะแล้วทำไมต้องใช้เกียร์ งั้นผมถามว่า แล้วการมีเกียร์มันไม่ดียังไง ?

มีกำลังเยอะคือคุณต้องใช้กำลังของมันเยอะตลอดเวลางั้นเหรอครับ ?
Ferrari ก็มีกำลังเยอะ ทำไมมีตั้ง 8 เกียร์ ?
F1 ก็กำลังเยอะ ทำไมถึงมีตั้ง 12-16 เกียร์ ?
รถสิบล้อก็กำลังเยอะ ทำไมมีตั้ง 12 เกียร์ (H6/L6) ?

คำตอบคือมันไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้ Engine(หรือ Motor) Load มันสูงตลอดเวลา เพราะมันกระทบหลายๆอย่างเช่นอัตราสิ้นเปลือง(ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า) ในเมือเราสามารถลด Load ให้มันได้ด้วยการใช้เกียร์ มีเหตุผลอะไรที่เราถึงควรจะไม่ใช้มันละครับ ?

เหมือนที่คุณบอกเรื่อง Fixed Gear ไงครับ คนแรงเยอะไปปั่นรถเกียร์หนักๆ ตอนออกตัว ยังไงมันก็ต้องใช้แรงเยอะครับ คนแรงเยอะขี่ได้ก็จริง แต่ถ้าใช้เกียร์มันจะง่ายกว่าไหมละครับ ? ออกตัวก็ง่ายกว่า Top Speed ก็สูงกว่า แล้วมันไม่ดียังไงละครับ ?

รถสมัยนี้ก็กำลังมากกว่าเมื่อสิบการปีที่แล้วเยอะ แต่ทำไมจำนวนเกียร์ของรถ ไม่เห็นมันจะลดลงเลย เมื่อก่อนเกียร์ AT มี 3 เกียร์ เดี๋ยวนี้ 6-8 เกียร์กันแล้ว ผมเลยสงสัยแนวคิดของคุณน่ะครับ ว่าทำไมถึงสนใจการไม่ใช้เกียร์ อันนี้ขอถามแนวคิดไว้หน่อย สงสัยจริงๆครับ ?

By: Lennon
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 7 March 2016 - 15:40 #890989 Reply to:890894

ขอตอบเป็นข้อๆนะครับ

  • การมีเกียร์ไม่ดีอย่างไร?

ในแง่ของแนวคิดผมตอบไปแล้วในด้านบนว่าการมีชุดเกียร์ มีความจุกจิกในการบำรุงรักษามากกว่าไม่มีครับ ระหว่างแท่งเพลายาวๆ 1 อัน กับ ชุดอุปกรณ์ฟันเฟืองขบซ้อนที่ต้องมีการเลื่อนไปเลื่อนมาระหว่างกันตลอดเวลา ก็นึกดูว่าอันไหนมันน่าจะ Low maintenance มากกว่ากันครับผม

นอกจากนี้ระบบส่งกำลังเนี่ย ยังมีผลต่อการสูญเสียกำลังด้วยครับ ในม้า 100 ตัว กว่าจะไปถึงล้อ อาจจะเหลือ แค่ 95 ตัว อีก 5 ตัวก็หายไปในเกียร์นี่ล่ะครับ

แล้วก็มีเรื่องของน้ำหนักของตัวเกียร์เองก็สร้างภาระให้เครื่องเพิ่มได้เหมือนกัน

  • มีกำลังเยอะแล้วต้องใช้กำลังของมันตลอดเวลางั้นเหรอครับ?

ย้ำอีกทีว่าเรากำลังคุยกันบนพื้นฐานของรถที่ว่า "Torque เยอะเหลือกินเหลือใช้" นะครับ ไม่ใช่รถที่ต้องไปเคี่ยวเข็นเอาพลังมันออกมา และรถไฟฟ้าเนี่ย Torque น่าจะขึ้น Peak ตั้งแต่รอบต่ำและเป็นแบบ Flat Toque ด้วย ฉะนั้น กำลังที่ว่ามันมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้วไม่ว่าคุณจะ"ใช้" รึ จะ"ไม่ใช้"มันก็มาเต็มอยู่แล้วครับ ก็ต้องถามกลับว่าในเมื่อมันมาแล้ว จะใช้มันรึจะปล่อยทิ้งไปเฉยๆครับ ?

  • F1 Ferrari รถบรรทุก ทำไมยังต้องมีเกียร์ ?

ที่ว่าทั้งหมดนี่เป็นรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งนั้นเลยครับ เฟอร์รารี่รุ่นที่เคลมว่าเร็วที่สุดในโรงงานเขาใช้เครื่อง 6พันกว่า ซีซี ขูดเลือดขูดเนื้อออกมาได้ม้า 700 กว่าตัว และ แรงบิดน้อยกว่าแรงม้าด้วยซ้ำ ถ้าจะเอาให้ได้พละกำลังอย่างรถไฟฟ้าอย่างในข่าวนี่เขาไม่ต้องสร้างเครื่องเป็นหมื่น CC กันเลยเหรอครับ? แล้วถึงทำออกมาได้ก็คงมีแต่โอเปคเท่านั้นล่ะครับที่จะบ้าซื้อใช้ ถ้าแรงบิดต่อน้ำหนักตัวยังหารออกมาได้ไม่มากพอการมีอยู่ของเกียร์ก็ยังถือว่าจำเป็นครับ

ส่วนรถบรรทุก แม้ว่ารถบรรทุกจะมีแรงบิดเยอะ แต่กำลังทั้งหมดต้องนำไปใช้ขนของที่มีน้ำหนักมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้ามี Load พอหารเป็นแรงบิดต่อน้ำหนักออกมาแล้วมันกลายเป็นไม่เยอะครับ และรถบรรทุกก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะทำมาเพื่อวิ่งแข่ง เรื่องนี้ให้อธิบายคงยาว เอาเป็นว่ามันเอามาเทียบในกรณีนี้ไม่ได้ละกันครับ

  • เหมือนที่คุณบอกเรื่อง Fixed Gear ไงครับ คนแรงเยอะไปปั่นรถเกียร์หนักๆ ตอนออกตัว ยังไงมันก็ต้องใช้แรงเยอะครับ คนแรงเยอะขี่ได้ก็จริง แต่ถ้าใช้เกียร์มันจะง่ายกว่าไหมละครับ ? ออกตัวก็ง่ายกว่า Top Speed ก็สูงกว่า แล้วมันไม่ดียังไงละครับ ?

คำถามนี้คุณกำลังนึกถึงคนแรงน้อยครับ ไม่ใช่คนแรงเยอะ จริงๆขอให้นึกถึงพวกปั่น Velodome ละกันครับ

  • รถสมัยนี้ก็กำลังมากกว่าเมื่อสิบการปีที่แล้วเยอะ แต่ทำไมจำนวนเกียร์ของรถ ไม่เห็นมันจะลดลงเลย เมื่อก่อนเกียร์ AT มี 3 เกียร์ เดี๋ยวนี้ 6-8 เกียร์กันแล้ว ผมเลยสงสัยแนวคิดของคุณน่ะครับ ว่าทำไมถึงสนใจการไม่ใช้เกียร์ อันนี้ขอถามแนวคิดไว้หน่อย สงสัยจริงๆครับ ?

ครึ่งแรกขอให้ไปอ่านข้อ 3 ละกันครับ

ส่วนแนวคิดว่าทำไมสนใจการไม่ใช้เกียร์? ผมไม่ได้สนใจการไม่ใช้เกียร์ครับ แค่คิดว่าในเมื่อวันนึงเทคโนโลยีพัฒนาไปมากพอ มันก็น่าจะปฏิวัติอะไรได้เหมือนกัน ผมคิดว่าท่านบนที่ตั้งคำถามนี่ ก็น่าจะอิงจากสมมติฐานเดียวกันนี่ล่ะครับ ที่ผ่านมาเราไม่มีเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากพอจะทำอะไรแบบที่ว่ามานี่ครับ เหมือนกับรถไฟฟ้านั่นล่ะ ทำไมเพิ่งมาฮือฮา ก็เมื่อก่อนมันไม่มีแบตเตอรรี่ที่เก็บไฟได้มากๆแบบนี้นี่ครับ

Remark : ผมอ่านคอมเม้นท์ด้านล่างเห็นว่ามีเกียร์ 2 เกียร์ที่ล้อหลัง และ 1 เกียร์ที่ล้อหน้า ถ้าว่าตามนี้ค็อนเซ็ปมันก็จะคล้ายๆที่ผมพยายามจะนำเสนอนะ ก็คือเกียร์เดียว ซอยครึ่ง อาจเป็นไปได้ว่ารถคันนี้น้ำหนักตัว 1800 กว่าโล ก็อาจจะไม่เบาพอที่เครื่องจะใช้เกียร์เดียวลากตั้งแต่ 0 - Top Speed ล่ะมั้ง

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 7 March 2016 - 18:12 #891016 Reply to:890989
ZeaBiscuit's picture

เรื่อง MA ของเกียร์ ผมเห็นด้วยที่ว่ามันลดการ MA ลง แต่ปัจจุบันเราก็มาไกลมากเรื่องนี้แล้วครับ เกียร์ AT ดีๆใช้กันได้เป็นแสนๆโล ผมว่าเกินพอสำหรับเรื่องการ MA
เอาจริงๆเกียร์ที่มันเสียๆกันนี่ 99% มาจากระบบไฟฟ้าทั้งนั้น ทั้ง Solenoid เอย ECU เอย ตัว Mechanic ของมันแทบจะไม่มีปัญหา

เรื่องกำลัง ลองนึกภาพนะครับ มอเตอร์หมุนที่ 100rpm แบบไม่มีโหลด กับเราทำอะไรซักอย่างไปฝืนมันไว้ ใช้ "กระแส" ไฟฟ้าเท่ากันหรือไม่ ?
เทียบกับรถก็เหมือนออกตัวบนทางราบ กับออกตัวบนขึ้นเขาชันๆ มันใช้กระแสไม่เท่ากันแน่นอนครับ การที่คุณใช้ Load Motor เยอะขึ้น แปลว่าระยะทางวิ่งก็น้อยลงเช่นกัน ผมถึงได้เสนอว่า การมีเกียร์มันดีกว่า รถไฟฟ้าไม่ต้องมีเกียร์เยอะหรอกครับ ถ้ารอบ Motor ระดับ 10000rpm+ ผมว่าใช้ 2 เกียร์ก็เกินพอ แต่ก็ยังคิดว่าสมควรจะมีเกียร์อยู่

ที่ท่านบอกเรื่องจักรยานใน Velodrome ลองหาคลิปดูนะครับว่าตอนออกตัว "โยก" กันขนาดไหน ? ถามว่าทำไมรถที่ขี่ใน Velodrome ถึงไม่มีเกียร์ ตอบว่าเพราะเค้าออกตัวกันแค่ครั้งเดียวครับ แล้วก็ลากยาวๆจนจบ การใส่เกียร์เข้ามา มันเลยไม่จำเป็น แต่รถไฟฟ้านี่ เราวิ่งกันบนถนน มีเบรก มีหยุด มีขึ้นเขา มีลงเขา ผมคิดว่ายังไงระบบเกียร์ก็ยังจำเป็นครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 7 March 2016 - 22:00 #891080 Reply to:891016
hisoft's picture

เรื่องมอเตอร์พวกแรงบิดพวกกระแสอะไรนี่ผมไม่ไหวนะครับ (จริงๆ คือควรจะรู้นะครับ เรียนละเอียดมาก วัดมาเกือบทุกอย่าง ได้จับของจริงยันพันเองสมัยปวช. แต่ก็นั่นแล orz)

แต่มีเกียร์นี่ผมนึกได้ในอีกกรณีนึงคือเวลาเบรคแบบปั่นไฟกลับครับ น่าจะช่วยได้มากอยู่

By: BlackMiracle
WriterAndroidUbuntuWindows
on 8 March 2016 - 15:00 #891366 Reply to:891016

ถึงแม้เรื่อง Maintenance จะดีขึ้นมาก แต่มันก็ยังทำให้รถยนต์ซับซ้อนอยู่ดีครับ สู้ตัดออกไปเลย ทำให้รถ plain ที่สุด ดูแลรักษาง่าย (เมื่อไหร่ที่มีของเหลวเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อนั้นมีการรั่วครับ) แถมเบาอีกต่างหาก น่าจะดีกว่านะครับ

ลองหารูปรถ Tesla Model S แบบโชว์แชสซีอย่างเดียวดูครับ นึกว่ารถทามิย่า มีแค่พื้น แบต มอเตอร์ ล้อ และระบบ suspension


Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ

By: Remma
AndroidWindows
on 6 March 2016 - 21:52 #890780 Reply to:890709
Remma's picture

ลองตามไปอ่านดูแล้ว ชุดหน้ามีแค่ 1 speed เหมือนเป็นแค่เฟืองทดรอบ+ส่งกำลังเฉยๆ ชุดหลังถึงจะมี 2 speed เป็นเกียร์ double-clutch จริง

ที่ต้องมีเกียร์มั่งน่าจะเพราะมีแรงบิดระดับเดียวมันขับไม่สนุกมั้งครับ ที่ความเร็วต่ำอาจจะมีแรงบิดน้อยไป เหมือนอย่างที่เคยขับรถไฟฟ้าในเกม GT ที่ไม่มีเกียร์แล้วอัตราเร่งคงที่นี่มันขับไม่สนุกเอาซะเลย

By: suratkw
iPhoneUbuntu
on 6 March 2016 - 22:06 #890786 Reply to:890709

Torque สูงก้อจริงครับ แต่ peak power อาจจะไม่อยู่ที่ speed/torque ที่ต้องการ
ที่ต้องมีเกียร์ เดาว่ามอเตอร์มัน undersized ครับ เพราะใช้หลายตัว power range มันน้อย เลยต้องใช้เกียร์ช่วยให้สามารถทำงานได้ทั้งครบทั้งย่าน

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 6 March 2016 - 23:15 #890802 Reply to:890786
ZeaBiscuit's picture

เชื่อว่า Peak Power ของ Motor อยู่ที่ Max rpm ครับ เพราะ Torque มัน Flat ตั้งแต่เริ่มหมุนเลย

ไม่เหมือน Internal combustion engine ที่ max torque กับ max power อยู่คนละช่วงกันครับ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 7 March 2016 - 08:33 #890837 Reply to:890709

น่าจะเป็นเรื่อง top speed เปล่าครับ อย่าง Tesla ไม่มีเกียร์ อัตราเร่งสูงมาก แต่ top speed ไม่สูง


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: GyM
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 6 March 2016 - 14:46 #890710

ไฟฟ้ามาแรงจริงๆ โผล่มาไม่กี่รุ่นก็ฉีกรถน้ำมันทิ้งหมด อีกห้าปีจะมีสักสองร้อยม้าราคาจับต้องได้ขายทั่วไปไหมนะ

By: nununu
Windows Phone
on 6 March 2016 - 15:48 #890721

ในรูปเป็น 620 volt ในข่าวเขียน 650 volt ครับ?

By: BlackMiracle
WriterAndroidUbuntuWindows
on 6 March 2016 - 16:19 #890724 Reply to:890721

อืม เพิ่งเห็นเหมือนกัน แต่ตามสเปกบอกว่า 650 โวลต์นะครับ เอาเป็นว่าผมไปใช้รูปจาก Rimac แบบที่ไม่มีรายละเอียดละกัน


Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 6 March 2016 - 16:34 #890727 Reply to:890721
panurat2000's picture

และแชสซีทำด้วยอลูมิเนียม

อลูมิเนียม => อะลูมิเนียม

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 6 March 2016 - 17:09 #890733
Sephanov's picture

พูดมาเลยได้ไหมว่าราคาเท่าไร

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 6 March 2016 - 17:16 #890736 Reply to:890733
devilblaze's picture

ต้นข่าวไม่มีราคามาด้วย แต่ด้วยจำนวนที่ทำออกมาขายน้อยเกรงว่ามีเงินอย่างเดียวจะซื้อไม่ได้

By: zda98
Windows Phone
on 6 March 2016 - 17:14 #890735

ประเด็นเมื่อไรจะขายสักทีเอาแบบถูกๆไม่เกิน 1 ล้าน 330 KM ใน 1 วัน เหลือเผืออยู่แล้วผมไปกลับวันๆ ไม่ถึง 100 KM ต่อให้รถติด ก็ไม่น่าจะหมดกลางทาง ถ้า charge สัก 15 นาที วิ่งได้สัก 250 - 300 KM โอเค เลย

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 6 March 2016 - 22:15 #890789 Reply to:890735
Holy's picture

Tesla Supercharger ใช้หัวชาร์จ 120 KW ยังใช้เวลาชาร์จจาก 0-100% ตั้ง 75 นาทีเลยนะครับ

ถ้าจะติดที่ชาร์จที่บ้านให้ 15 นาทีชาร์จได้สัก 70-80% นี่ต้องขอมิเตอร์กี่แอมป์เนี่ย....

By: vitnu
iPhone
on 6 March 2016 - 18:59 #890738

แรงขนาดนี้ แต่วิ่งได้ระยะทางไม่เยอะ จะวิ่งในเมืองก็ไม่รู้จะไปแรงได้ที่ไหน จะวิ่งระหว่างเมืองก็วิ่งได้ระยะทางไม่พอ

ลดความแรงลงมาครึ่งนึง แล้วทำให้วิ่งได้เท่ารถยนต์ปกติ ประมาณ 600-700km จะดีกว่า

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 6 March 2016 - 19:43 #890747 Reply to:890738

พูดถึงความแรง ลดไปก็ไม่ช่วยอะไรครับ เพราะมันอยู่ที่พลังแบตอยู่แล้ว ต่างจากเครื่องยนต์ที่ความจุเยอะก็กินน้ำมันมาก ตอนนี้ปัญหาหลักๆคือน้ำหนักรถและความจุ/น้ำหนักแบต ถ้าแบตกราฟีนออกมาเป็นรูปธรรมได้ ก็ไม่ไกลเกินฝันครับ

หรือจะเอารถพลังแสงอาทิตย์วิ่งแค่ 20km/h ดีล่ะครับ?

By: jj1977
Android
on 6 March 2016 - 21:23 #890771

ประเทศโครเอเชียเขามีเทคโนโลยีระดับนี้แล้วเหรอครับ

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 6 March 2016 - 21:39 #890775 Reply to:890771
Polwath's picture

เห็นเงียบๆ แบบนี้ เจริญพอกับประเทศใหญ่ๆ ในยูโรปเลยนะครับ


Get ready to work from now on.

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 7 March 2016 - 09:35 #890859 Reply to:890771
wisidsak's picture

เทคโนโลยี มอเตอร์ แบตเตอรี่ ผมว่ามันก้าวมาไกลนานแล้วครับ ผมว่ามันง่ายกว่าเครื่องสันดาบเยอะเลยนะ

By: akira on 7 March 2016 - 10:28 #890886 Reply to:890771

จริงๆ แล้ว รถยนต์ไฟฟ้ามีมาพร้อมกับเครื่องสันดาปนั่นแหล่ะครับ เพียงแต่มันไม่ได้รับความนิยม จึงไม่ได้มีการผลิตปริมาณมาก ถ้าว่าเรื่องเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าล้วนซับซ้อนน้อยกว่าเครื่องสันดาปเยอะ

By: onewza on 23 September 2019 - 19:49 #1129779

เรื่องเกียร์ผมว่าอย่าคิดมากเลยครับ วิศวะกรเขาเก่งกว่าเราเยอะ กว่ารถจะออกมาเป็นคันได้ คิดแล้วคิดอีด ทดลองแล้วทดลองอีก อย่างแรก ลดโหลดมอเตอร์ ทำความเร็วได้เยอะขึ้น เด็กยังคิดออกเลย...เรื่องนี้