Tags:
Node Thumbnail

ช่วงเดือนที่ผ่านมาในไทยมีการจับกุมจากเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตก็ออกแถลงการณ์ระบุว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการอย่างเป็นปัญหาต่อสิทธิและเสรีภาพ และตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยแถลงความเห็น 4 ประเด็น

  1. การกดไลก์ไม่ใช่การเผยแพร่หรือสนับสนุน การกดไลก์แม้เฟซบุ๊กจะนำไปแสดงให้คนอื่นเห็นอัตโนมัติแต่ก็ไม่ใช่ความจงใจของผู้กด และไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะแสดงให้ใครเห็น
  2. การแชร์เป็นส่วนหนึ่งของการหาข้อเท็จจริง ข้อความแม้จะผิดไป แต่กระบวนการแสดงความเห็นในพื้นที่สาธารณะช่วยให้สังคมหาความจริง และช่วยกันตรวจสอบ
  3. พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ใช่เรื่องของการหมิ่นประมาท พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะมาตรา 14 ถูกใช้กับคดีหมิ่นประมาทจำนวนมาก ทั้งที่เจตนารมณ์ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ได้มุ่งเอาผิดกับความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ที่ได้บัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
  4. ในภาวะไม่มีฝ่ายค้าน ยิ่งต้องการระบบตรวจสอบ การตรวจสอบจากประชาชนเป็นกลไกที่พอจะทำงานแทนฝ่ายค้านในภาวะปกติได้ ไม่ควรใช้ข้อหาหมิ่นประมาททุกรูปแบบหยุดการตรวจสอบ

แถลงการณ์ฉบับเต็มอ่านได้ในที่มา

ที่มา - Thainetizen

alt="upic.me"

Get latest news from Blognone

Comments

By: mode on 19 December 2015 - 17:33 #869784

เรื่องกดไลค์มันมีแง่มองที่ผลที่เกิดน่ะครับคือการกระจายไปให้คนอื่นเห็นด้วยซึ่งคนกดไลค์ก็รับรู้นะครับว่าคนอื่นก็เห็น ไม่งั้นอาจจะมีกรณีเอามีดแทงคน แล้วคนแทงก็บอกว่าเจตนาแค่จะแทงเสื้อให้เสื้อขาดเท่านั้น ไม่ได้เจตนาให้คนบาดเจ็บไปด้วย

By: tgst
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 19 December 2015 - 19:18 #869803 Reply to:869784
tgst's picture

เพิ่งทราบนี่ล่ะครับว่ากดไลค์ = เอามีดไปไล่แทงคน

By: buzdesign on 19 December 2015 - 20:04 #869817 Reply to:869784

กด knife เท่ากับ like

By: Netiwit
Windows PhoneAndroidWindows
on 20 December 2015 - 03:55 #869859 Reply to:869784
Netiwit's picture

คนกดไลค์ก็รับรู้นะครับว่าคนอื่นก็เห็น

คนอื่นก็เห็น -> คนอื่นก็อาจเห็น

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 20 December 2015 - 05:35 #869860 Reply to:869784

เป็นการเปรียบเทียบที่ปราศจากความเข้าใจทางกฎหมายอย่างแท้จริง
ผมถามจริงๆคุณเข้าใจคำว่าเจตนาของกฎหมายว่าอย่างไร
การเอามีดแทงคนไม่สามารถอ้างว่าเจตนาแทงเสื้อผ้า
เฉกเช่นเดียวกับการโยนก้อนหินก้อนใหญ่ๆลงไปในเรือ
ซึ่งแตกต่างกับการกดไลค์เป็นอย่างมาก
สิ่งที่คุณบอกมันเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลได้เช่นไร ถ้าตอบคำถามพวกนี้ไม่ได้ก็ไม่ต้องพูดถึงเรื่องเจตนาครับ
ผมว่าคุณไม่เข้าใจเรื่องของเจตนาครับ ยกตัวอย่างเช่น ยิงคนตาย เพราะนึกว่าเป็นโจร แต่โดนแม่ตนเองตาย ต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายธรรมดา 288 หรือ ฐานฆ่าบุพการีตาม 289 (1)

ตรรกะที่คุณตั้งมานั้นผิดหลักเจตนาตามกฎหมายอาญาครับ ไม่ใช่ว่าดูแค่ผลที่เกิด ผลที่เกิดจะต้องคาดหมายได้ด้วยว่าจะเกิด แต่เรื่องกดไลค์นี่ผมว่ามันคาดหมายไม่ได้ ไม่เหมือนกับที่อ้างเรื่องแทงเสื้อ อันนั้นออกแนวผู้ต้องหาแถมากกว่าครับ

By: mode on 20 December 2015 - 06:52 #869862 Reply to:869860

จะยิงโจรแต่พลาดไปโดนแม่นั่นคือไม่ได้มีโอกาสโดนแม่ 100% นี่ครับ แต่กดไลค์แล้วมันแพร่ไปให้คนอื่นเห็นแน่ ๆ ไม่ใช่เรื่องที่คาดหมายไม่ได้เลยนะครับ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 20 December 2015 - 12:21 #869896 Reply to:869862

เอาใหม่สงสัยจะไม่ชัด ที่คุณตอบมาไม่ตรงกับคำถาม ผมไม่ได้ถามเรื่องการกระทำโดยพลาด
ผมถามถามเรื่องเจตนาเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลครับ
จำเลยเห็นเงาตะคุ่มๆนึกว่าเป็นโจร จึงได้ยิงปืนไป 1 นัด ปรากฎว่ามาพบภายหลังว่าผู้ตายเป็นแม่ของตนเอง
จำเลยกระทำผิดตาม 288 หรือ 289 (1)
ผมไม่ได้ถามเรื่องยิงปืนโดนหรือไม่โดน แต่ผมถามเรื่องเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลว่ายิงแม่ตนเองหรือไม่
ถ้าประสงค์ต่อผลจริงก็ต้องเป็น 289 (1) ถ้าไม่ใช่กลับไป 288 ไม่ได้ถามเรื่องผู้ตายถูกยิงแต่ถามเรื่องเจตนาของผู้ยิง
กฎยจริงๆไม่ได้มีแค่ 1 หรือ 0 มันมีมากกว่านั้น

การกดไลค์ไม่อาจประสงค์ต่อผลตามคุณบอกมาได้ สิ่งที่คุณอ้างมาจากทฤษฎีผลไปหาเหตุแต่ในบางเคสใช้ไม่ได้ครับ
มีหลายครั้งที่พิสูจน์จากผลไปหาเหตุแล้วขัดแย้งกันเองก็มี
ถ้าเขาสืบพยานมาว่าลักษณะการกดไลค์คืออะไร มีวัตถุประสงคืออะไร แค่นี้ก็จบตามที่คุณอ้างมาแล้วครับ
มันไม่เหมือนการแชร์นะครับ

By: mode on 20 December 2015 - 21:35 #870011 Reply to:869896

สมมติผมกดไลค์โพสต์ข้อความผิด พรบ. คอม แล้วมีเพื่อนเห็นใน wall ของเขา 700 คนจากเพื่อนทั้งหมดของผม 1,000 คน อย่างนี้ผมไม่ผิดเหรอครับ

By: Netiwit
Windows PhoneAndroidWindows
on 20 December 2015 - 14:38 #869923 Reply to:869862
Netiwit's picture

แต่กดไลค์แล้วมันแพร่ไปให้คนอื่นเห็นแน่ ๆ

ผิดครับ
กดไลค์มันแค่มี "โอกาส" แพร่ไปให้คนอื่นครับ
ไม่ได้แพร่ไปให้คนอื่นเห็นแบบ "แน่ๆ"
บางไลค์ไม่มีคนเห็นก็มี ต่อให้มีคนออนอยู่ ณ ตอนนั้นก็ตาม

เพื่อนนั่งอยู่ข้างๆกันกดไลค์ หลายครั้งมันยังไม่ขึ้นในฟีดเราเลยครับ ไม่รู้จะขึ้นมั้ย หรือถึงจะขึ้นก็ไม่รู้จะขึ้นเมื่อไรครับ
ดังนั้นมันแค่มี "โอกาส" ที่จะเผยแพร่ครับ ไม่ใช่เผยแพร่ให้คนอื่นเห็นแน่ๆ

By: mode on 20 December 2015 - 21:37 #870013 Reply to:869923

ถ้าผมมีเพื่อน 1,000 คน ผมกดไลค์ไปมันต้องมีเพื่อนผมจำนวนนึงที่เห็นใน wall ของเขาแน่ ๆ แหละครับ

By: surakiat
ContributorAndroidWindows
on 20 December 2015 - 10:05 #869877 Reply to:869784

ถ้าพิจารณาโดยลักษณะของการกระทำ ใน Facebook จะแยกปุ่ม share กับ like อยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนถ้าคุณกด share นี่ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลที่เกิดขึ้นคือการทำให้คนอื่นรับรู้ข้อความอยู่แล้ว แต่ถ้าแค่กด like นี่แสดงว่าคุณให้ความชื่นชอบยินดีกับข้อความนั้นๆ หรือบางครั้งแค่เป็นการบอกคนๆนั้นว่าอ่านแล้วนะ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีความผิดเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติ แต่ถ้าจะให้มีเจตนาจริงๆก็ต้องพิสูจน์เจตนานะครับ ซึ่งผมว่าโดยจารีตของการใช้ Facebook ที่แยกปุ่ม like กับ share นี่คนที่ใช้ก็น่าจะทราบถึงฟังก์ชันที่ต่างกันอยู่แล้ว และไม่ใช่ว่าทุกคนจะรู้นะครับว่ากด like แล้วจะเด้งขึ้น feed คนอื่น

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 19 December 2015 - 17:39 #869786
panurat2000's picture

สามารณะช่วยให้สังคมหาความจริง และช่วยกันตรวจสอบ

สามารณะ ?

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 19 December 2015 - 18:33 #869797
devilblaze's picture

รัฐไม่ได้ทำผิด จะกลัวการตรวจสอบทำไม >_< ย้อนใส่มั่ง

By: jj1977
Android
on 19 December 2015 - 18:50 #869801

เรื่องการตรวจสอบเห็นด้วยอย่างยิ่ง
แต่กดไลค์และกดแชร์ผู้กดทราบอยู่แล้วว่ากดไปแล้วคนอืนจะเห็น ถ้าเป็นข้อความอันเป็นเท็จหรือหมิ่นประมาทคนอื่นก็เห็นเพิ่มขึ้นก็ย่อมเป็นคนร่วมกระทำความผิดอยู่แล้ว ถ้าไม่งั้นผมก็สร้าง account ปลอมมาโพสท์เพื่อใส่ร้ายคนอื่น แล้วก็ค่อยหาคนมากดไลค์กดแชร์เอาให้คนเห็นเยอะๆ อย่างนี้ก็ไม่ผิดซิครับ

By: nowingnoid
iPhoneAndroidUbuntu
on 19 December 2015 - 18:56 #869802
nowingnoid's picture

อ่าว กดไลค์ ไม่ได้แปลว่า เห็นด้วยเหรอ? ก่อนกดไลค์ มันต้องมีเจตนาแล้วนะ + การกระทำแล้วนะ

เรื่องอื่นไม่รู้...

By: tgst
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 19 December 2015 - 19:21 #869805 Reply to:869802
tgst's picture

ผมนี่ล่ะคนนึงที่เวลายุ่งๆ มักจะกดไลค์แล้วไปไล่อ่านใน Activity Log ทีหลัง ไม่ได้สนใจว่าจะเห็นด้วยกับเนื้อหาหรืออะไร

ใช้แทน Save for later

By: buzdesign on 19 December 2015 - 20:07 #869820 Reply to:869802

like เพราะชอบที่เอามาโพส ไม่ได้ชอบเนื้อหาก็มี

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 20 December 2015 - 00:37 #869849 Reply to:869802

บางคนกด like เพราะชอบคนที่โพสก็มี หรือเห็นด้วยบางส่วน บางคำ ฯลฯ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: nowingnoid
iPhoneAndroidUbuntu
on 20 December 2015 - 01:54 #869856 Reply to:869849
nowingnoid's picture

อืมม...

By: surakiat
ContributorAndroidWindows
on 20 December 2015 - 09:52 #869872 Reply to:869802

ก็เห็นด้วยมันไม่มีความผิดไงครับ ถ้าจะผิดกฎหมายอาญาได้กฎหมายต้องบัญญัติความผิดไว้นะครับ

By: darkfaty
AndroidWindows
on 20 December 2015 - 19:41 #869979 Reply to:869802
darkfaty's picture

กด like ใช้ติดตามก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป

By: Chopper
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 19 December 2015 - 19:20 #869806

คนที่เห็นด้วยนี่อยากให้คิดย้อนดูจริงๆ นะว่าถ้าคุณไปกด Like อะไรซักอย่างแล้วโดนจับติดคุก 30 ปีนี่มันสมเหตุสมผลมั้ย

By: Jessy
Red HatUbuntuWindows
on 19 December 2015 - 19:55 #869815

ถ้าแชร์ โดยไม่มี Comment เพื่อหาข้อเท็จจริง ผมถือว่าเป็นการสนับสนุนข้อความนั้นๆ นะ

By: jeepthai
Windows
on 19 December 2015 - 20:40 #869821
jeepthai's picture

กด Like ก็จริงครับ
แต่ก็ใช้ว่าจะเห็นด้วย 100% แค่มีบางข้อความ มีบางความจริงในนั้นมันโดนใจ ก็เลยกดชอบ ไม่ได้เจตนาจะเห็นด้วย จะเอาด้วย จะลุยด้วย ไม่ใช่เลยแม้แต่นิดเดียว
และโดยส่วนตัว (ไม่เชี่ยวชาญเฟซบุ๊ค) ก็เลยไม่ทราบว่า การกด Like เนี้ย มันคือการเผยแผ่ด้วย ประมาณ คนใช้ไม่รู้ แต่เว็บมันทำให้ คนใช้ไม่ได้ตั้งใจ

By: nrml
ContributorIn Love
on 19 December 2015 - 20:50 #869823
nrml's picture

มันยังมีความคลุมเครืออีกมาก บางคนไป like เพจก็เพื่อไว้ติดตามเนื้อหาในเพจนั้น ซึ่งมันไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องเห็นด้วยกับข้อความทุกตัวอักษรหรือภาพทุกภาพที่เพจนั้นๆ แชร์สู่สาธารณะ

By: chuchatthai
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 19 December 2015 - 20:57 #869825
chuchatthai's picture

ไม่ยากหรอกว่าเราจะเอามาตรฐานอย่างไรในทุกๆเรื่อง

ลองสมมติสิว่า
*ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ทักษิณทำแบบนี้คุณยังคิดเหมือนสนับสนุนให้จับคนกดไลค์ไหม?

คงจะรู้แล้วสินะว่าอะไรควรไม่ควร

By: panitw
Windows Phone
on 19 December 2015 - 21:16 #869828 Reply to:869825
panitw's picture

+1

By: GeBaN on 19 December 2015 - 21:59 #869831 Reply to:869825

+1

By: acitmaster
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 21 December 2015 - 10:52 #870119 Reply to:869825
acitmaster's picture

+1

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 19 December 2015 - 23:20 #869842
MaxxIE's picture

รัฐบาลชอบขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนในการพัฒนาประเทศ

แต่พอประชาชนวิจารณ์พฤติกรรมของรัฐบาล
แทนที่จะได้รับคำขอบคุณแล้วน้อมรับคำวิจารณ์ไปวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา
กลับกลายเป็นว่า เอาคนที่วิจารณ์ไปเก็บดีกว่า เพราะฉัน(รัฐบาล)ขี้เกียจแก้ไขปัญหา

ถ้าไม่อยากได้ความร่วมมือ ก็กรุณาอย่าขอความร่วมมือตั้งแต่แรกสิครับ

เวลามีปัญหา พอมีคนเผยแพร่ปัญหา แทนที่จะแก้ปัญหา ดันมากำจัดคนเผยแพร่
ทีเวลามีข่าว พอคนเผยแพร่ข่าว ดันไม่เห็นดำเนินการตรวจสอบ และกำจัดคนเผยแพร่ข่าวสักที
จนสำนักข่าวเดี๋ยวนี้กลายเป็นสมาคมมโนแห่งชาติไปแล้ว

By: zerost
AndroidWindows
on 20 December 2015 - 01:21 #869854
zerost's picture

มันจะเป็นไปได้เหรอครับ ดูยังไงก็เป็นไปไม่ได้ ต่อให้ออกมาเดินขบวนต่อต้านเต็ม กทม.ก็เถอะ (แต่ก่อนจะรวมตัวกันได้คงไปนอนในคุกหมดแล้ว)

By: moborarl on 20 December 2015 - 09:59 #869874

ในประเทศไทย ณ เวลานี้ ตามกฎหมายไทย ถ้าเราเผยตัวเองว่าไม่ชอบ หรือเกลียดบุคลบางคน แต่ไม่ได้ไปพูดถึงการกระทำของคนๆนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม

ผิดกฎหมายมาตรานั้นหรือไม่

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 20 December 2015 - 12:19 #869898

อีกอย่างหนึ่งที่สับสนกันคือเรื่องการสนับสนุน
มาตรา 86 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษ สองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น"

แล้วจะพิสูจน์ยังไงว่าการกดไลค์เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด
คำว่าสนับสนุนในกฎหมายอาญา กับ ในพจนานุกรมนี่คนละเรื่องครับ
แต่หลายคนตีความตามพจนานุกรม ซึ่งพจนุกรมนั้น สนับสนุนหมายความว่า ส่งเสริม, ช่วยเหลือ, อุปการะ
แต่ในทางกฎหมายใช้คำว่า ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก
ดังนั้นการกดไลค์ย่อมไม่อาจลงโทษผู้กระทำผิดได้เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ให้เป็นความผิด
ส่วนการยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิดก็ต้องเป็นการยุยงส่งเสริมก่อนที่จะมีการกระทำนั้นๆ
การยุงยงส่งเสริมหลังมีการกระทำผิดไปแล้วมันไม่อาจเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผลได้
เช่น นาย ข. ยุยงให้นาย ค. ฆ่า นาย ก. แต่นาย ก. ฆ่า นาย ก. ไป 2 วันก่อนหน้าที่จะถูกนาย ข. การ ยุยง ก็เป็นการยุยงอันไร้ผลทางกฎหมาย