Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 27 มกราคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จัดแถลงข่าววิเคราะห์ร่างชุดกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ขึ้นที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณากฎหมายอย่างรอบคอบ และให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงเสนอให้มีมาตรการเยียวยาความเสียหาย

ทางด้านตัวแทนองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนที่มาแถลงข่าว ประกอบด้วย จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองประธานคณะกรรมการองค์การอิสระฯ, ชลลดา บุญเกษม กรรมการองค์การอิสระฯ, รุจน์ โกมลบุตร กรรมการองค์การอิสระฯ และ บุญยืน ศิริธรรม กรรมการองค์การอิสระฯ กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลว่า ขาดมิติในการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่มากเกินไปในการเข้าถึงข้อมูล และควรจะใส่ไว้ในกฎหมายอาญาเกี่ยวกับเรื่องความผิดคอมพิวเตอร์มากกว่าที่จะนำมาใส่ไว้กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล, มีการอธิบายความผิดไว้แบบกว้างและไม่ชัดเจน, ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่มั่นใจในการมาลงทุน เพราะมีความกังวลในความปลอดภัยของข้อมูล, เป็นการดึงอำนาจไว้ที่รัฐมากกว่า นอกจากนี้ถ้าเกิดกรณีมีนักธุรกิจเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบข้อมูลของรัฐ ก็อาจเกิดการล้วงข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามได้

โดยทั้งนี้ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้จัดทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยระบุว่ากฎหมายดิจิทัลทั้งสิบฉบับเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ไม่แก้ปัญหาผู้บริโภคที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน และขาดมิติการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว โดยข้อเสนอดังกล่าวได้ระบุเหตุผล ดังนี้

  1. การนำข้อมูลของผู้บริโภคไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้น ในกระบวนการออกกฎหมายดังกล่าว ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

  2. ต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคในฐานะผู้ที่ใช้บริการดิจิทัลต่างๆ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการดิจิทัล ซึ่งในกฎหมายหลายฉบับไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

  3. ร่างกฎหมายทั้งหมดขาดกลไกคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ชัดเจน อีกทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จึงขอเสนอให้มีการเพิ่มตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการในร่างกฎหมายทุกฉบับ

  4. ในกฎหมายหลายฉบับมีการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เช่น ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ใน มาตรา 35 ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร โดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในฐานะผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ถูกดักฟัง ถูกดึงข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่มีการคุ้มครองหลักประกันความปลอดภัยใดๆ สุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ

  5. ในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีเพียงการกำกับดูแล “ผู้ควบคุมข้อมูล” มิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้หรือเปิดเผย โดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นการช่วยคุ้มครองผู้บริโภคส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงบรรดาผู้ที่ส่งข้อความโฆษณารบกวน หรือ “SPAM” มาทาง SMS อีเมล หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ซึ่งสร้างความรำคาญและเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ดังนั้น คณะกรรมการจึงเสนอว่าควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระของกฎหมายให้ครอบคลุม คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

    5.1 การส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสารใดๆ ที่ผู้บริโภคมิได้ร้องขอ ไม่ว่าจะเป็นการส่ง โทรสาร, e-mail, SMS, MMS ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคอย่างชัดแจ้ง
    5.2 กำหนดให้ผู้ส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์จะต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อให้ชัดเจน และการแจ้งชื่อหรือที่อยู่ปลอมถือเป็นความผิด
    5.3 กำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องแจ้งให้ผู้รับทราบอย่างชัดเจนว่า ข้อความที่ได้รับนั้นเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์
    5.4 กำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องระบุวิธีการยกเลิก การบอกรับข้อความ ข้อมูล ข่าวสารเมื่อไม่ต้องการ ซึ่งต้องเป็นวิธีการที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้โดยสะดวก รวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่าย
    5.5 จำกัดจำนวนสูงสุดในการส่งข้อความ เช่น ไม่เกิน 2,500 ฉบับภายใน 24 ชั่วโมง
    5.6 กำหนดโทษทางอาญาที่รุนแรง เช่น หากมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เช่นเดียวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องรับโทษตามมาตรา 44 วรรคสอง)

  6. ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่มีการแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เห็นว่า กสทช.ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับกิจการควรคงความเป็นอิสระ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ กสทช.ไม่ควรเป็นการเอากลับเข้ามาอยู่ในกำกับของรัฐ แต่ควรแก้ไขด้วยการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค กลไกการตรวจสอบ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการ กสทช.ทุกชุด รวมไปทั้งการแก้ไขการถอดถอนให้ทำได้ง่ายมากขึ้นหากพบว่าการทำงานไม่มีประสิทธิภาพและมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส

แถลงการณ์ฉบับเต็มสามารถอ่านได้จากที่มา

ที่มา - ประชาไท

Get latest news from Blognone

Comments

By: sukjai
iPhoneAndroidRed HatUbuntu
on 29 January 2015 - 07:48 #786499

ล้วงข้อมูลฝ่ายตรงข้าม อันนี้เห็นด้วยอย่างแรงครับ

By: schanon
Android
on 29 January 2015 - 08:22 #786511
schanon's picture

ผมสงสัยว่า ... ในยุคนี้เสียงของประชาชนยังมีความหมายอีกหรือ? ขอให้กำลังใจนะครับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 29 January 2015 - 08:29 #786516

กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล

ผมว่ากฎหมายเพื่อคสช.มากกว่า ไม่ได้ทำเพื่อเศรษฐกิจอะไรนั่นหรอก

By: BLiNDiNG
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 29 January 2015 - 08:48 #786531
BLiNDiNG's picture

กสม. เงียบกริบ

By: tgst
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 29 January 2015 - 08:51 #786532 Reply to:786531
By: leeyiankun
Windows PhoneAndroidWindows
on 29 January 2015 - 09:19 #786544 Reply to:786532

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน(ที่ไม่ทัดเทียม)แห่งชาติ(ใคร)

By: momotorobeer
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 29 January 2015 - 09:23 #786546 Reply to:786531

เค้าก็กำลังฟ้องเรื่องการชุมนุมที่รัฐบาลชุดก่อนจัดการกับผู้ชุมนุมไงครับ

    • จะโดนหาว่าเป็นแดงอีกไหมเนี่ย 5555555555555555
By: jeepthai
Windows
on 29 January 2015 - 12:03 #786620 Reply to:786531
jeepthai's picture

น่าเห็นใจ กสม. เขานะครับ งานยุ่งทีเดียว

By: tuttap
Android
on 29 January 2015 - 09:36 #786551
tuttap's picture

อย่าว่างั้น งี้เลย อะ คิดกันไปต่างๆ นานา มีสักกี่รัฐบาลที่ ราคาน้ำมัน วันนี้ เท่ากับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

By: schanon
Android
on 29 January 2015 - 09:38 #786552 Reply to:786551
schanon's picture

ราคาน้ำมันลด เพราะอะไร ท่านลองอ่านข่าวดูก่อนดีไหม

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 29 January 2015 - 09:47 #786563 Reply to:786551

มันเกี่ยวอะไรกับ กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ครับ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: Syndrome
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 29 January 2015 - 09:51 #786568 Reply to:786551

ไม่น่าเชื่อว่ายุคข่าวสารที่อยู่ที่ปลายนิ้วขนาดนี้ ยังมีคนที่คิดว่าราคาน้ำมันเป็นเรื่องของการเมือง

By: nrml
ContributorIn Love
on 29 January 2015 - 11:17 #786606 Reply to:786568
nrml's picture

มีคนรู้จักหลายคนครับที่คิดว่าเป็นแบบนั้น

By: Bank14
ContributorAndroidRed HatWindows
on 29 January 2015 - 10:35 #786588 Reply to:786551

เฮ้ย คุณคิดว่าเป็นผลงานของรัฐบาลจริงดิ เป็นโจ๊กที่ฮามากๆสำหรับเช้าวันนี้ของผม

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 29 January 2015 - 10:49 #786595 Reply to:786551

สมัครใหม่กี่รอบแล้วครับ

By: kiva
iPhone
on 29 January 2015 - 11:01 #786599 Reply to:786551

ผมว่าอย่าเอามาเกี่ยวกันดีกว่า น้ำมันราคาลงทั่วโลกครับ เป็นเรื่องระดับโลก ลองอ่านข่าวพวกบทวิเคราะห์จะรู้ว่าเกิดอะไร

By: laktanong
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 29 January 2015 - 11:10 #786603 Reply to:786551

ราคาน้ำมันโลกลงครับ รัฐบาลปรับราคาน้ำมันลงมีส่วนน้อยมาก

By: darkfaty
AndroidWindows
on 29 January 2015 - 11:12 #786604 Reply to:786551
darkfaty's picture

แนะนำให้แต่งหนังสือ Universe in a coconut shell แข่งกับ Stephen Hawking นะครับ ตรรกะแบบเดียวกันนี้ใช้กับ ราคายาง ราคาข้าว ด้วยมั้ยครับ

By: aomnaruk
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 29 January 2015 - 11:17 #786607 Reply to:786551

รวมถึงราคายางพาราด้วยหรือเปล่าครับถ้าใช้ตรรกะแบบนี้ Oops!!


"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.

By: zerost
AndroidWindows
on 29 January 2015 - 11:25 #786609 Reply to:786551
zerost's picture

พระเจ้าช่วย ผมเพิ่งรู้นะครับว่า คสช. หรือ รบ. ชุดนี้เป็นผู้กดดันอเมริกา ยูโรโซน กับเหล่าประเทศผู่ส่งออกน้ำมัน ให้ทำการถล่ม ศก. รัสเซีย จนรูเบิลอ่อน ราคาน้ำมันร่วงได้ ช่างเป็น รบ. มหาอำนาจของประชาชนโดยแท้ ทั่วโลกคงต้องหวั่นเกรงกับบลานุ๊บ๊าบ นี้เป็นแน่แท้

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 29 January 2015 - 11:47 #786612 Reply to:786609
PaPaSEK's picture

ไม่มีใครขวางท่านประยุทธ์ได้ครับ

By: thanyadol
iPhone
on 29 January 2015 - 11:50 #786613 Reply to:786551

แต่ว่าพวกรัฐบาล ก็พยายามประโคมข่าว ทำเหมือนเป็นผลงานตัวเองนะ ไม่แปลกที่จะมีคนเข้าใจผิด

By: platalay
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 29 January 2015 - 15:06 #786684 Reply to:786551

ไปหมดละสมงสมอง

By: Jaddngow
AndroidUbuntuWindows
on 29 January 2015 - 09:42 #786558
Jaddngow's picture

ทำอะไรโง่ๆเยอะๆก็ดีแล้ว คนจะได้รู้ว่าคณะนี้เป็นยังไง

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 29 January 2015 - 09:49 #786566
Polwath's picture

เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการล้วงข้อมูลฝ่ายตรงข้าม


Get ready to work from now on.

By: nutchapon
iPhone
on 29 January 2015 - 10:35 #786587

เห็นด้วยเป็นบางข้อ แต่บางข้อก็ไม่เห็นด้วยอย่างแรง แต่จะพูดว่าไม่ดี ก็เหมือนจะทำให้อีกฝ่ายดูเป็นคนดีขึ้นมา 55+

เพราะรัฐบาลชุดก่อน ก็หายนะพอๆกัน

By: folkeza
iPhoneWindows PhoneBlackberrySymbian
on 29 January 2015 - 10:46 #786591 Reply to:786587
folkeza's picture

พอๆกันนี่คืออย่างไงครับ อธิบายหน่อย

By: zerost
AndroidWindows
on 29 January 2015 - 11:15 #786605 Reply to:786587
zerost's picture

ถ้าเรื่องการล้วงข้อมูล กับ กม.ด้าน ict ผมไม่เห็น รบ. ก่อนจะมีนโยบายอะไรที่น่าเกลียดขนาดนี้นะครับ หรือคุณมีข้อมูลที่ผมไม่ทราบก็ช่วยให้ความรู้ทีครับ

By: nutchapon
iPhone
on 29 January 2015 - 14:24 #786675 Reply to:786605

ตอบทั้ง folkeza และ zerost เลยแล้วกันนะ

ผมหมายถึงการบริหารโดยรวมน่ะครับ

แต่เรื่องใกล้เคียง ก็จะมีการล๊อบบี้สื่อนี่เป็นทุกรัฐบาลครับ หรืออะไรที่เป็นหูเป็นตาของประชาชน มันจะต้องเข้าไปบดๆบังๆ

อันนี้เป็นทุกยุคสมัย

By: zerost
AndroidWindows
on 29 January 2015 - 18:07 #786771 Reply to:786675
zerost's picture

เรื่องการบริหารนี่ก็อีกเรื่องนะครับจริงว่าแย่
แต่เรื่องการปิดกั้นสื่อนี่ผมว่าอยู่ในระดับธรรมดาถึงน้อยกว่า รบ. หลายๆยุคด้วยซ้ำครับ ไม่งั้นออกมาชุมนุมกันไม่มหาศาลแบบนั้นหรอกครับ

ยิ่งมาเทียบกับ กม.เศรษฐกิจดิจิตัลฉบับนี้ยิ่งแล้วใหญ่

By: Bank14
ContributorAndroidRed HatWindows
on 29 January 2015 - 10:43 #786590

ขอพูดแบบดาร์กๆเลยนะ ผมคิดว่าไม่ว่าจะรัฐบาลประเทศไหนๆ ก็มีความพยายามจะล้วงข้อมูลของประชาชนทั้งนั้นแหละ (ดูจาก NSA) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการที่จะได้ข้อมูลมา มันไม่ใช่การบังคับแบบโง่ๆว่า เรามีอำนาจในการดูข้อมูลของคุณนะ คุณห้ามขัดขืน แบบนี้มันบ้าไปแล้ว คงมีแต่ประเทศไทย ณ เวลานี้ กับผู้นำที่ไม่มีสมองเท่านั้นหละที่จะทำ

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 29 January 2015 - 11:52 #786614 Reply to:786590
PaPaSEK's picture

ของอเมริกาจะมีละครที่ซับซ้อนกว่าของไทยครับ ของไทยนี่เหมือนดูหนังพล็อตเดิมๆ เปิดมาฉากแรกก็เดาฉากจบออก ไม่ซับซ้อน

ส่วน NSA ก็จะมีหน่วยที่ตรวจสอบอีกที แต่จนแล้วจนรอด NSA ก็ยังทำแบบเดิมๆ แต่ใช้วิธีการใหม่ๆ

สิ่งสำคัญของอเมริกาคือ คุณตรวจสอบเค้าได้ คุณเปิดโปงเค้าได้ คุณฟ้องเค้าได้ คุณเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีเค้าได้ โดยที่คุณไม่ถูกพาเข้าค่ายทหารอ่ะครับ

By: tgtong44
Windows PhoneAndroidWindows
on 29 January 2015 - 12:56 #786647 Reply to:786614
tgtong44's picture

ขอแย้งตรงที่คุณเปิดโปงเค้าได้ ถ้าเปิดโปงได้ทำไม สโนวเดนต้องหนีไปรัสเซียล่ะครับ ถ้าไม่หนีตอนนี้ก็เรียบร้อยแล้ว

By: charles
Ubuntu
on 29 January 2015 - 13:20 #786660 Reply to:786647

สิ่งที่ NSA ทำตามหลักการแล้ว มีกฏหมายรองรับครับ นั่นก็คือ FISA ซึ่งให้อำนาจในการสปายคนหรือหน่วยงานต่างชาติได้

จริงอยู่ที่ว่า Snowden ออกมาเปิดโปงเรื่องที่ NSA สปายคนในชาติเดียวกัน (ด้วยข้ออ้างที่ว่าเราไม่สามารถแบ่งแยกคนสองกลุ่มออกจากกันได้) แต่ในส่วนนั้นเองก็จำเป็นต้องเปิดโปงเรื่องอื่นๆ ที่ NSA ทำตามที่ FISA กำหนดไว้เช่นเดียวกัน เลยผิดกฏหมายไปซะงั้นครับ

เรื่องมันก็ซับซ้อนอย่างนั้นแล

By: kiva
iPhone
on 29 January 2015 - 13:00 #786652 Reply to:786614

จูเลียน อาสซานจ์ดัวยครับ โดนก่อนสโนว์เดนอีก

By: PaPaSEK
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 29 January 2015 - 13:16 #786657 Reply to:786614
PaPaSEK's picture

เอิ่ม ... my argument is so invalid.

คือมันมีข้อมูลที่เปิดเผยได้ กับเปิดเผยได้แต่เป็นภัยต่อความมั่นคงทางประเทศน่ะครับ ในทุกประเทศมีความลับที่ไม่ควรถูกเปิดเผยอยู่นะครับ

By: zerost
AndroidWindows
on 29 January 2015 - 23:18 #786876 Reply to:786614
zerost's picture

ผมว่าถ้าท่านหมายถึงการไม่ปิดกั้นการนินทาหรือการออกข่าวโจมตี nsa ในสื่อหลัก เช่น นสพ. ข่าวทีวี มันก็ต่างอยู่ชัดเจนนะครับ

By: kiva
iPhone
on 29 January 2015 - 11:04 #786600

ขัอห้าผมเห็นด้วยมาก พวกส่งข้อความอีเมล แท๊ก ฝากร้านต่างๆนี่ทุเรศมาก แถมพวกsmsบางทีก็หลอกกินเงินคนอีก ค่ายมือถือก็บอกไม่รู้อะไร มันควรจะมีกฏหมายปกป้องสิทธิ์ส่วนตัว

By: jeepthai
Windows
on 29 January 2015 - 12:07 #786623
jeepthai's picture

คนร่างไม่ได้ให้เหตุผลเลย ว่าข้อที่มีปัญหาน่ะ ร่างเพื่ออะไร ความมั่นคงแบบไหน? อยากให้ออกมาตอบคำถาม ไม่ใช้เงียบๆแล้วแอบผ่านร่างกฏหมายไปเฉยๆ

By: tuttap
Android
on 29 January 2015 - 15:14 #786686
tuttap's picture

ผมหมายถึง สมัย การบริหารครับ ไม่ใช่ ว่าใครทำไม่ทำ หรือทำ ผมหมายถึง จะมีสักกี่ รัฐบาลที่ราคามันเป็นแบบนี้ ไม่ได้หมายถึง ใครเป็นคนทำครับ (ขอโทษจริงๆครับถ้าทำให้เข้าใจผิดครับ)

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 29 January 2015 - 15:26 #786690 Reply to:786686

แล้วสรุปมันเกี่ยวกับราคาน้ำมันยังไงล่ะครับท่าน - -a

ถ้าบอกว่า จะมีสักกี่รัฐบาลที่นายกชื่อประยุทธ์ หรือไม่ก็ จะมีสักกี่รัฐบาลที่นายกขี้โมโห เอ้ออันนี้สิผมว่าเกี่ยวกว่า


^
^
that's just my two cents.

By: tgst
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 29 January 2015 - 17:03 #786732 Reply to:786686
tgst's picture

อย่าว่างั้น งี้เลย อะ คิดกันไปต่างๆ นานา มีสักกี่รัฐบาลที่ ราคาน้ำมัน วันนี้ เท่ากับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

คือมันก็ไม่น่าหยิบยกมาให้คนเขาตีความกันไปแต่แรกนะครับ ผมอ่านตอนแรกก็ตีความได้ว่าคุณพยายามจะโยงเรื่องราคาน้ำมันเป็นผลงานรัฐบาลเพื่อ defend กรณีกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลเหมือนกัน

ว่าแต่ตกลงกฎหมายนี้มันเกี่ยวอะไรกับราคาน้ำมัน - -

By: boboz
iPhoneWindows
on 29 January 2015 - 17:04 #786733 Reply to:786686

ให้ผมเป็นนายกช่วงนี้ ราคาน้ำมันก็ลดครับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 29 January 2015 - 19:14 #786793 Reply to:786686

ราคาน้ำมันอิงตามตลาดโลกเสมอ เข้าใจว่าคุณกำลังเปรียบเทียบกับสมัย $40 ต่อบาเรล(จำปีไม่ได้) แต่ตลาดน้ำมันในประเทศไม่ยอมลดตาม ถูกต้องไหม?

คำถาม1: รัฐบาลไทยมีอำนาจมากถึงขนาดที่สามารถควบคุมราคาน้ำมันทั้งโลกได้ขนาดนั้นเลยหรือ?
คำถาม2: เกี่ยวอะไรกับข่าวนี้
คำถาม3: คุณได้ติดตามข่าวหรือไม่ หรือติดตามเฉพาะฝั่งการเมืองที่ถูกจริตกับตัวเอง

By: yurinachan
AndroidRed HatWindows
on 29 January 2015 - 20:49 #786829 Reply to:786686

ไม่เข้าใจว่าจะสื่ออะไร สรุปเข้าใจรึยังว่าน้ำมันลงเพราะอะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับที่รัฐบาล คสช. มาบริหาร

By: Bank14
ContributorAndroidRed HatWindows
on 30 January 2015 - 11:07 #787047 Reply to:786686

แหม่ ยางไหม้เลยนะครับ

เพลงนี้ขึ้นเลย https://www.youtube.com/watch?v=iuJDhFRDx9M

By: kingrpg
AndroidWindows
on 29 January 2015 - 16:19 #786709

คืนความสุข งดลงทุนต้อนรับ AEC!!! ฮาๆ

By: nottoscale
Windows Phone
on 29 January 2015 - 23:24 #786880

ชื่อดูคืนความสุขดี แต่เนื้อในก็ตามคาด