Tags:
Node Thumbnail

ซัมซุงเปิดตัวแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาในองค์กร KNOX เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งถือเป็นการอัพเกรดใหญ่ครั้งแรกหลังเปิดตัวเมื่อ 1 ปีก่อน ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่

  • TrustZone-Protected Certificate Management ฟีเจอร์ด้านการจัดการใบรับรอง เพื่อให้ใช้มือถือทำตัวเป็นสมาร์ทการ์ดได้
  • KNOX Key Store สร้างและเก็บกุญแจแบบเข้ารหัสใน TrustZone เพื่อให้แอพภายนอกเรียกใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลภายในแอพอีกทอดหนึ่ง
  • Real-Time Protection for System Integrity ตรวจสอบความถูกต้อง (integrity) ของแกนหลักระบบ เช่น เคอร์เนล พาร์ทิชันของระบบปฏิบัติการ ว่าไม่ถูกดัดแปลงหรือแอบฝังโค้ดโดยไม่รู้ตัว
  • TrustZone-Protected ODE เข้ารหัสข้อมูลบนเครื่องด้วยคีย์ และสามารถปิดไม่ให้เข้าถึงถ้าตรวจสอบพบว่า integrity มีปัญหา
  • Two-factor Biometric Authentication การล็อกอินสองชั้นด้วยลายนิ้วมือ (ใช้ร่วมกับ Galaxy S5)
  • เพิ่มฟีเจอร์ด้าน SSL VPN ของผู้ให้บริการรายต่างๆ เช่น Juniper, F5, Cisco
  • รองรับ APN สองตัวพร้อมกัน สำหรับแยกการเชื่อมต่องานบริษัทและงานส่วนตัวออกจากกัน (และคิดเงินแยกได้ถ้าโอเปอเรเตอร์ร่วมมือด้วย)
  • ทำงานร่วมกับระบบความปลอดภัยของ Android ค่ายอื่นๆ ได้ดีขึ้น

    ซัมซุงยังเปิดตัว KNOX Marketplace สำหรับให้ภาคธุรกิจมาซื้อโซลูชันบนอุปกรณ์พกพาที่อยู่บน KNOX อีกทีหนึ่ง (ตอนนี้บอกว่ามีแอพมากกว่า 140 ตัวแล้ว)

KNOX 2.0 จะเปิดให้ใช้งานช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ โดยมือถือที่มี KNOX 1.0 และได้อัพเกรดเป็น KitKat จะสามารถอัพเกรดเป็น KNOX 2.0 ได้ในภายหลัง ส่วน Galaxy S5 จะพรีโหลด KNOX 2.0 มาให้ตั้งแต่แรก

ซัมซุงประกาศข้อมูลว่ามีมือถือที่ฝัง KNOX ถูกขายออกไปแล้ว 25 ล้านเครื่อง และมีผู้ใช้งานจริง (active users) วันละ 1 ล้านคน มีอุปกรณ์ถูกเปิดใช้งานวันละ 7,000 เครื่อง

ที่มา - Samsung Mobile Press

Get latest news from Blognone

Comments

By: GyM
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 26 February 2014 - 17:17 #683167

เอาไว้ซ่อนคลิปลับ

By: animateex
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 26 February 2014 - 20:19 #683203
animateex's picture

กำลังสงสัยว่า 7,000 คนในแต่ล่ะวันนั้นเป็นพนักงานซัมซุงเองหรือเปล่า ?

By: peekung
Windows PhoneAndroidSUSESymbian
on 26 February 2014 - 22:55 #683234

Real-Time Protection for System Integrity ตรวจสอบความถูกต้อง (integrity) ของแกนหลักระบบ เช่น เคอร์เนล พาร์ทิชันของระบบปฏิบัติการ ว่าไม่ถูกดัดแปลงหรือแอบฝังโค้ดโดยไม่รู้ตัว

ฝันร้ายของคนที่ root เครื่องลง custom kernel แล้วอะสิ แบบนี้ทำอะไรไปก็เนียนไม่ได้แล้ว โดนตัดประกันเรียบสิครับ