Tags:
Node Thumbnail

Red Hat ประกาศแนวทางพัฒนาโดย RHEL 10 ที่กำลังจะออกต่อไปจะไม่มี Xorg หรือเซิร์ฟเวอร์ X อื่นๆ อีกแล้ว โดยจะเหลือแต่ Wayland และมี Xwayland สำหรับการรองรับไคลเอนต์ X11

แนวทางนี้ไม่ได้น่าแปลกใจนักเพราะ Red Hat ประกาศว่า Xorg เข้าสู่สถานะ deprecated เตรียมถอดออกจากชุดซอฟต์แวร์ที่ซัพพอร์ตมาตั้งแต่ RHEL 9 หลังจากเปลี่ยนมาใช้ Wayland เป็นค่าเริ่มต้นตั้งแต่ RHEL 8

Wayland พัฒนาโดย Red Hat เองมาตั้งแต่ปี 2008 หรือ 15 ปีที่แล้วโดยวางเป้าหมายจะทดแทน X Windows System หรือ X11 ที่พัฒนามาจาก MIT ตั้งแต่ปี 1984 ตัว Fedora ที่เป็นโครงการต้นน้ำของ RHEL นั้นใส่ Wayland เข้ามาในปี 2008

ดิสโทรลินุกซ์จำนวนมากเปลี่ยนไปใช้ Wayland เป็นค่าเริ่มต้นไปเยอะแล้ว แนวทางการถอดแพ็กเกจ X11 ออกอย่างสมบูรณ์ก็เป็นสัญญาณว่าสิ้นสุดกระบวนการอัพเกรดที่ใช้เวลาถึง 15 ปี ระยะเวลาใกล้กับการย้าย Python 2 ไป Python 3 ที่ Debian เพิ่งถอดแพ็กเกจ Python 2 ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ที่มา - Red Hat

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 29 November 2023 - 22:32 #1300276
big50000's picture

Nvidia:
alt="Mike Wazowski Staring"

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 30 November 2023 - 08:41 #1300289
btoy's picture

กำลังจะเข้าสู่ยุค Wayland เต็มตัวแล้วเนอะ


..: เรื่อยไป

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 1 December 2023 - 17:31 #1300379
zerocool's picture

15 ปี ... นานเกินไปนะ

ผมเคยพยายามลองใช้ Linux หลายครั้ง แต่ก็ต้องถอดใจไปทุกที เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็มีปัญหา แม้จะเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการต่อจอเพิ่ม การต่อลำโพงเสียงแยก

ส่วนตัวผมคงสรุปว่า Open Source ยังไงก็สู้ software ที่ทำมาขายไม่ได้ เพราะความตั้งใจที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง ๆ ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น Photoshop ที่ไม่มีใครรมาล้มได้ หรือแม้แต่กระทั่ง Word


That is the way things are.

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 1 December 2023 - 19:16 #1300392 Reply to:1300379
big50000's picture

กลุ่มผู้ใช้ที่เหมาะกับ Linux
1) กลุ่มผู้ใช้ที่ไม่มี เ_ย อะไรเลย แม้กระทั่งเรื่องการใช้งาน (แค่เข้าเบราว์เซอร์ได้ = ใช้ได้)
2) กลุ่ม Power User ที่การแก้ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ผมเคยไปเถียงกับคนพวกนี้นะ เอาไปเอามากลายเป็นสงครามศาสนา omegalul

ส่วนเรื่องโปรแกรมสู้ของขายไม่ได้ผมขอแย้งหน่อย ไม่ว่าซอฟต์แวร์จะพัฒนาด้วยกระบวนการไหน หวังผลกำไรหรือไม่ก็ตาม แต่สำคัญที่สุดก็อย่างที่คุณว่ามาเลย คือมันต้องเข้าใจจริง ๆ ว่าปัญหาคืออะไร อยู่ที่ไหน แก้ไขอย่างไร มีตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพียบที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันโดยที่คนทั่วไปไม่รู้ตัว เว็บเบราว์เซอร์แล้วหนึ่ง VLC หนึ่ง Blender หนึ่ง หรือแม้กระทั่ง AOSP หรือ Chromium OS เอง ทั้งนี้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ฝังตัวอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ขายอยู่เพียบ แม้กระทั่งกับ Windows เองก็มีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอยู่ในตัวส่วนหนึ่งด้วย แต่ก็พอเข้าใจว่าคุณกำลังสื่อถึงพวก Software Suite ที่เกี่ยวกับ Productivity และก็ Linux Desktop ซึ่งมีน้อยนักที่จะตอบโจทย์ ก็ต้องเข้าใจว่าคนเขียนโปรแกรมพวกนี้ส่วนมากเป็น Geek ที่ Niche เยอะ เขียนเอาตัวเองสะดวกเข้าว่า ไม่ได้สนใจผู้ใช้จริง ๆ เท่าไร (หรือสนใจกันเฉพาะในวงศาสนา ครื้นเครงกันเอง) ผมแค่รู้สึกว่าการที่บอกว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่มีทางสู้กับซอฟต์แวร์ขายได้มันไม่ค่อยแฟร์ (และไม่ค่อยจะเป็นความจริง) เท่าไร หนำซ้ำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลายตัวก็ทำโดยบริษัทแสวงผลกำไรอีกด้วย

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 1 December 2023 - 21:14 #1300398 Reply to:1300392
zerocool's picture

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าโลกนี้ไม่มีอะไร 100% ป่วยเป็นหวัดกินยาไม่หายก็ตายได้ ดังนั้นที่ผมบอกว่า software open source สู้ไม่ได้ ผมหมายถึง software สำหรับ consumer ส่วนมาก และต้องไม่แสวงหากำไรจริง ๆ ส่วนแบบ Chromium ที่แสวงหากำไรทางอ้อมนี่ไม่น่าจะนับเป็นประเภทนั้นได้

ผมเองก็ว่าผมเป็น power user ระดับต้นนะ ใช้ Google หาคำตอบได้ แต่ปัญหาสำหรับ Linux ในระดับ consumer คือต้องเขียน program อ่าน script เป็นด้วย ซึ่งผมก็พออ่านเข้าใจแต่เขียนเองไม่ได้ ทีนี้ solution ทาง ๆ สำหรับแก้ปัญหาการใช้งานบน Linux มักจะเกี่ยวกับการไปแก้ config ตามที่ต่าง ๆ คำตอบของปัญหามักจะอยู่ตาม forum ที่ไม่มีใครรู้ว่าคนที่มาตอบเราจริง ๆ นั้นเข้าใจปัญหาเราแค่ไหน และวิธีที่เขาให้มานั้นถูกต้องหรือไม่ หลายต่อหลายครั้งในการแก้ปัญหาง่าย ๆ อย่างการต่อจอภายนอกหลายจอ เปลี่ยนแนววางจอ ตั้งค่า resolution ให้ไม่เท่ากัน กลับต้องไปอ่านตาม forum นับสิบ ลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ จากคำแนะนำของคนอื่นจนกว่าจะแก้ไขได้ ซึ่งสุดท้ายเราก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่านั่นมันคือการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตรงจุดไหม หรือแค่เราอ้อม ๆ ไปแก้ทางอื่นแต่บังเอิญออกมาได้ผลที่เราต้องการเหมือนกัน

นี่ไม่ใช่เรื่อง productivity ด้วยซ้ำ แต่เป็นเรื่องการใช้งานทั่วไป เป็นเรื่องของการเตรียมงานก่อนการใช้งานจริง ยังไม่ทันจะได้ทำงานเลยก็มีปัญหาเสียแล้ว และเรื่องง่าย ๆ แค่นี้ต้องใช้เวลาแก้เป็นทศวรรษ

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผมประสบด้วยตัวเองคือการต่อลำโพงนอกออกจาก laptop ผมเจอปัญหานี้มาน่าจะเกิน 10 ปีได้ ตั้งแต่ laptop ตัวแรกสุดจนกระทั่งตัวปัจจุบัน มันก็ยังจะมีปัญหากวนใจ ถ้าอยากให้เสียงออกลำโพงนอก ผมต้องไปแก้ค่าใน alxamixer เอง

ยิ่งถ้าพูดถึงเรื่องการทำงาน การแต่งรูป ตัดต่อวิดีโอ ออกแบบบ้านอาคารที่อยู่อาศัย ออกแบบตกแต่งภายใน แต่งเพลง ทำเอกสาร ทำสไลด์นำเสนองานในที่ประชุม software ทดแทนพวกนี้ไม่มีตัวไหนทำงานได้ดีเท่า software สำหรับมืออาชีพจริง ๆ ได้เลย ถ้าทำเล่น ๆ ใช้งานง่าย ๆ พอได้ แต่ถ้าทำจริงจังไม่รอด Adobe Photoshop/Illustrator, AutoCAD, MS Office พวกนี้เหนือกว่าหมด

ถ้ามาเรื่องเกมนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ติดทั้งเรื่อง drivers ของ GPU แต่ละเจ้าแล้วยังมาติดเรื่อง game dev ใช้ DirectX กันเป็นหลักอีก เกมนี่เหมือนไม่มีให้เล่นบน Linux แล้วเกมสนุก ๆ เกือบทั้งหมดบนโลกนี้ก็ไม่เคยเป็น open source

จะมีก็แต่งานด้าน programming ที่ผมว่า Linux พอจะทำงานทัดเทียมกับ OS ยอดนิยมอย่าง Windows ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเขียน PC software บน Windows หรือแม้กระทั่ง web application คุณก็ต้องลง Windows เพื่อมาทดสอบงานอยู่ดี เพราะ frontend จากคนส่วนใหญ่ก็ใช้ Windows เกือบหมด

สรุป สำหรับผม ผลงานที่เกิดจากความเป็นมืออาชีพ มีความตั้งใจในการสร้าง มีผลตอบแทนที่ได้รับจากการสร้างผลงานนั้น ๆ (เงินเดือน) มีการรับฟัง feedback จากกลุ่มลูกค้า ยังไง software ที่ได้มันก็ออกมาประณีตกว่า ต่างกับ software จาก opensource ที่อาศัยแนวคิดที่ว่า "อยากได้ก็ต้องทำเอง" เป็นหลัก ต่างคนก็ต่างทำแบบที่ตัวเองชอบหรืออย่างดีหน่อยก็กลุ่มตัวเองชอบ ไม่เคยจะสนใจว่าลูกค้าอยากได้แบบไหน มันก็้เลยออกมาเป็นแบบนี้

ปล. Distro มีเป็นหมื่นแต่ก็ยังทำงานได้ไม่ดี เทียบกับ Windows XP ยังไม่ได้เลยมั๊ง ถ้าพูดถึงเรื่องความสะดวกในการใช้งานทั่วไป


That is the way things are.

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 1 December 2023 - 23:02 #1300403 Reply to:1300398
big50000's picture

ผมว่าคุณมีอคติกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแล้วล่ะ ซึ่งตรงนี้ผมจะไม่แตะต้องละกันเพราะคุยกันยาวแบบไม่จบแน่นอน

และต้องไม่แสวงหากำไรจริง ๆ ส่วนแบบ Chromium ที่แสวงหากำไรทางอ้อมนี่ไม่น่าจะนับเป็นประเภทนั้นได้

อยากจะบอกว่ามีซอฟต์แวร์ประเภทนั้นอยู่จริง ๆ แต่มันก็แล้วแต่คุณเหมือนกันว่าคิดจะรวมมันเข้าไปหรือไม่เพราะเห็นคุณเกริ่นไปตั้งแต่แรก เพราะอย่าง Blender Foundation ที่ดูแล Blender ซอฟต์แวร์ 3D ระดับชั้นนำเองก็ได้ทุนมหาศาล ($15x,xxx ต่อเดือน) หากคุณมองว่า "นี่เป็นการแสวงผลกำไร" มันก็มองแบบนั้นได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ผมแทบไม่เคยเจอปัญหาจุกจิกกวนใจบน Linux Desktop ในรูปแบบอย่างที่คุณว่ามาเลย (ตอนนี้ที่มีคือปัญหา Bluetooth ต่อไม่ค่อยติด แต่บน Windows ตัวเดิมก็เจอเหมือนกันเลยไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่า) ดังนั้นประสบการณ์เราต่างกันมาก และผมจะไม่ยัดเยียดเพราะเหตุนี้เพราะผมเองก็ไม่เคยมีฮาร์ดแวร์ระดับนั้น ดังนั้นผมอาจเข้าหมวดที่ 1 ที่ผมอ้างอิงมาเองได้เลย (ไม่มีเ_ยอะไรเลย) ผมเจอปัญหาฮาร์ดแวร์น้อยมากบน Linux ส่วนมากแทบจะ Plug-and-play แต่ก็แอบได้ยินเรื่องปัญหาฮาร์ดแวร์กับ Linux บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฮาร์ดแวร์ของ Intermediate User เช่นจอภาพต่าง Refresh Rate ซึ่งตรงนี้ผมก็ไม่เคยใช้งานเช่นกัน เห็นว่าถ้าเป็นการ์ด AMD กับ Wayland ถึงจะไม่มีปัญหา แต่ต้นทุนผมไปไม่ถึงเลยไม่เคยได้สัมผัสปัญหานั้น ปัญหาฮาร์ดแวร์เสียงกับ FL Studio (มีของ Linux) ที่กดคีย์บอร์ดไม่ได้ หรือ Drawing Tablet บางตัวที่ใช้ไม่ได้ (ผมไม่เคยเจอแต่เล่าส่วนที่เจอมา) ผมเลยมองประเด็นไปที่ Productivity เป็นหลักเพราะผู้ใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีปัญหาส่วนมากมักจะทำ Productivity กัน ถ้าคุณมองว่ามันควรจะเป็นเรื่องที่ผู้ใช้สามัญเขาทำกันแล้ว ตรงนี้ผมก็ไม่สามารถออกความคิดเห็นอะไรได้อีกเพราะไปไม่ถึงจริง ๆ

พูดถึงเรื่องเสียง ผมกลับเจอปัญหาบน Windows มากกว่าเสียอีก (คนรู้จักเรียกให้ไปซ่อมระบบเสียงให้) บน KDE ผมเองไม่ค่อยซีเรียสกับการกดเลือก Device บนจอเท่าไร (มีประมาณ 3 ตัว เครื่อง, HDMI, กับ Bluetooth) แต่สำหรับคุณมันอาจเป็นปัญหาก็ได้ คือมันไม่ Automatic นั่นแหละ ก็เข้าใจได้เช่นกัน แต่เผอิญผมก็เจอปัญหานี้บน Windows เหมือนกันผมเลยแอบสงสัยนิดหน่อย

ตอนเล่นเกมเองปัญหาไม่ใช่กับ DirectX เลยเพราะมีตัวแปลง "ใหม่" เรียบร้อยแล้วและแทบจะสมบูรณ์ (DXVK, VKD3D ที่เผลอ ๆ อาจได้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ารันบน Windows เองด้วยซ้ำ แถมเอากลับมาใช้บน Windows ได้อีกเป็นอานิสงส์ร่วม) Wine เองถ้าไม่หนี WinAPI ก็รันได้แทบจะ 100% (ปัญหาตอนนี้คือเกมที่ใช้ .NET ส่วนมากหรือ SDK ที่ใช้ฟังก์ชัน NT Kernel แต่ประเด็นคือเกม .NET ส่วนมากมี Linux Port อยู่แล้ว) ปัญหาจริง ๆ ของ Linux Gaming ในขณะนี้ คือ Anti-cheat ที่หลายตัวไม่สามารถใช้งานได้ หรือใช้งานได้เฉพาะเจ้าที่ประกาศรองรับ เช่น EAC, BattlEye และเจ้าของเกมต้องเปิดให้ใช้งานด้วย มีหลายเกมที่เปิดให้ใช้งานบ้างแล้ว เจ้าดังที่เปิดคือ Apex Legends ตอนนี้ผมเล่นแทบทุกเกมบน Linux ได้สบาย ๆ เลี่ยงเฉพาะเกมออนไลน์ก็พอ สถานการณ์ตอนนี้ต่างกันมากแบบลิบลับ แต่ถ้าคุณอยู่ในหมวดผู้เล่นเกมออนไลน์ก็ไม่น่าจะต่างจากเดิมเท่าไร

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเขียน PC software บน Windows หรือแม้กระทั่ง web application คุณก็ต้องลง Windows เพื่อมาทดสอบงานอยู่ดี เพราะ frontend จากคนส่วนใหญ่ก็ใช้ Windows เกือบหมด

พูดถึง Web App ผมไม่เคยทดสอบบน Windows นะ และผมไม่เคยเจอปัญหาที่ลูกค้า Windows รายงานปัญหาด้วย จากประสบการณ์ทั้งหมดทั้งมวล ปัญหา 100% เป็นที่ iOS หรือ macOS Safari ทั้งหมดเลย ผมแอบแปลกใจเหมือนกันทำไมต้องทดสอบขนาดนั้นนอกจากจะลงลึกไปที่ WebGL ที่ Linux มักเป็นฝ่ายที่มีปัญหาเอง เท่าที่เคยเขียนคือถ้าโค้ดรันบน Linux Browser ได้ มันรันบน Windows Browser ได้เลยไม่ต้องไปแก้ไขหรือตรวจสอบอะไร แต่ถ้าย้อนกลับกันคือไม่ได้เลยเพราะไดรเวอร์ WGL2 บน Linux แม้กระทั่ง AMD ก็เน่ามาก คือ Windows นี่แหละพระเจ้าของความ Legacy Support ที่แม้แต่ Linux ยังไม่กล้าเทียบชั้น 55555 ที่เหลือไร้ความคิดเห็นเพราะผมทำแต่ Web App ขายแบบ Commercial ไม่กล้าพูดถึงสิ่งที่ไม่รู้

ต่างคนก็ต่างทำแบบที่ตัวเองชอบหรืออย่างดีหน่อยก็กลุ่มตัวเองชอบ ไม่เคยจะสนใจว่าลูกค้าอยากได้แบบไหน มันก็้เลยออกมาเป็นแบบนี้

Open-source มันไม่มีลูกค้าอยู่แล้วนี่ อย่างที่บอกไป โปรเจกต์พวกนั้นมันทำโดย Geek ที่ Niche เยอะแล้วก็ปล่อยมาให้ใช้เฉย ๆ ถ้าอยากได้ที่ตอบโจทย์โปรเจกต์นั้นก็ต้องมีทีม UX ด้วย ก็มีไม่กี่โปรเจกต์ใหญ่ ๆ ที่ทำแบบนั้น ที่รู้ก็มี KDE, GNOME (ที่พึ่งได้ Government Fund ไป), Blender ที่มีทีมของตัวเองโดยตรง กับโปรเจกต์โอเพนซอร์สของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ แต่ก็อย่างที่ว่ามา แล้วแต่ว่าคุณอยากจะ "นับ" มันเป็น Open-source หรือไม่ ผมแค่อยากจะแย้งว่าโปรเจกต์ Open-source ไม่มีทางประสบความสำเร็จเฉย ๆ เพราะมันประสบความสำเร็จไปแล้ว แต่คุณอยากจะนับมันไหมนั่นก็อีกเรื่อง มันไม่มีเรื่องไหนจะขาวดำ 100% อยู่แล้ว

ส่วนตัวผมไม่หวังอะไรมากกับโลกโอเพนซอร์ส เพราะหลายโปรเจกต์มันทำโดยคนไม่กี่คนยกเว้นกับโปรเจกต์ใหญ่ ไปคาดหวัง Full-blown Replacement และ "Everything should just work" โดยที่ผมไม่ได้ให้อะไรกลับไปก็ฟังดูจะเห็นแก่ตัวเกินไปหน่อย ยกเว้นกับ Linux Desktop นี่แหละที่แอบคาดหวังสูงหน่อยเพราะเป็นโปรเจกต์ที่ Fund โดยบริษัท ผมหวังแค่ให้ Commerical โปรแกรมซื้อทั้งหลายมาลง Linux ทีเถอะ รอ Clip Studio มานานมาก

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 1 December 2023 - 23:10 #1300405 Reply to:1300403
zerocool's picture

ผมขอตอบเฉพาะเรื่องเกมแล้วกัน

ผมลองมาแล้วเหมือนกัน Vulkan ไม่ได้สามารถเล่นได้ทุกเกม มันมี list ของระดับความเข้ากันได้อยู่ บางเกมก็เล่นได้ดี แต่บางเกมก็เล่นแล้วเจอปัญหา ผมจำชื่อ web ไม่ได้แต่มันมีแน่นอน

ประสิทธิภาพที่ชาว Linux หลายคนบอกว่าดีกว่า Windows โดยดูที่ fps เป็นหลัก ผมว่ามันมองไม่ครบโดยเลือกเอาองค์ประกอบที่ตัวเองพอจะชนะมาข่ม โดยผมได้ทำการทดสอบด้วยตัวเองกับเกม Counter Strike ผมบอกได้เลยว่าแม้ตัวเลข fps จะแสดงว่าสูงแต่พอเล่นจริงแล้วความลื่นสู้บน Windows ไม่ได้เลย มันเล่นแล้วไม่เนียนตา ผมบอกไม่ถูกว่ามันตรงไหน อาจจะ tearing หรือ stuttering หรืออะไรก็บอกไม่ถูก ที่สำคัญคุณภาพ texture แย่กว่าอย่างเห็นได้ชัด ลองปาระเบิดควันดูจะเห็นความต่าง

อีกเกมที่ผมลองคือ Hearthstone เล่นแล้วกระตุกมากกว่า Windows อย่างมาก

ดังนั้นเรื่องเกม ผมว่าไม่จริงที่คนอ้างว่าเล่นบน Linux ได้แล้วดีกว่า และไม่สามารถเล่นได้ทุกเกมแน่นอน แม้จะผ่าน Vulkan ก็ตาม


That is the way things are.

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 2 December 2023 - 12:37 #1300433 Reply to:1300405
big50000's picture

เล่นบนการ์ด Nvidia ใช่ไหม ถ้าใช่ก็ไม่แปลกใจอะไร ขนาดไดรเวอร์ Proprietary ยังเอ๋ออยู่บ่อย ๆ ตอนนี้หันมาเล่น AMD APU แทนก็ไม่เจอปัญหาอีกเลย รวมไปถึง Frame-pacing (คำที่คุณพยายามนึกถึง) ก็ปัญหาน้อยลงด้วย ทั้งนี้ผมเองก็แคปเฟรมไว้เพราะ APU ปั่นเฟรมไม่ถึง ของผมขอแค่ 30 FPS นิ่ง ๆ ก็พอใจมาก ๆ แล้ว ตอนนี้ใช้ Gamescope ครอบทับเกมแล้วแคปเฟรมลง ลด Res แล้วเปิด FSR 1 ซึ่งเอาตามตรง ถ้ามีสูตรขี้โกงเยอะขนาดนี้ยังไงก็ชนะ Windows ยกเว้นว่า Windows จะเปิดสูตรเดียวกัน แต่บน Windows ผมรู้สึกว่ายุ่งยากกว่าและปรับจอลงไม่ได้จัดจ้านเท่าเพราะมันลิมิตที่ขนาดต่ำสุดที่ปรับ Windowed Mode ได้ (Lossless Scaling หรือ RivaTuner)

และก็ถ้าใช้ Xorg อย่าลืมปิด Compositor ด้วย ยกเว้นว่าไม่สะดวกจริง ๆ แนะนำให้ใช้ Wayland แต่ก็นะ คนใช้ Nvidia

ผมว่าไม่จริงที่คนอ้างว่าเล่นบน Linux ได้แล้วดีกว่า

ผมชี้แจงไว้ข้างต้นแล้วว่าไม่ทุกกรณี แค่บางกรณีเท่านั้น (อย่าง GTA IV นี่เห็นผลชัดเจนเลย) และต้นตอของความลื่นไหลคือ DXVK ที่จริง ๆ เอามาใช้กับ Windows ก็ได้ มันแก้ปัญหาเฟรมร่วงในหลายเกมได้ ผมไม่ได้เอามา Devaluate ว่า Linux ดีกว่าแต่อย่างใด ประเด็นหลักของเราคือ โปรเจกต์ Open-source ไม่มีทางชนะโปรเจกต์ Commercial แน่นอน ซึ่งก็ไม่ถูกต้อง 100% เช่นกัน อย่าง DXVK เองนี่ประสบความสำเร็จนอก Scope ของโปรเจกต์ด้วยซ้ำ เพราะเจ้าของโปรเจกต์ก็ไม่คิดว่ามันจะรันบน Windows ได้ (และทำได้ดีมาก) เช่นกัน

By: phuket on 2 December 2023 - 06:26 #1300413 Reply to:1300379

เพราะ linux คือ open source เลยมีผู้ใช้งาน linux base มากที่สุดในโลกเพราะมันฝังในอุปกรณ์ไปทุกหย่อมหญ้า ไม่ใช้ทางตรง ก็ทางอ้อม

By: dheerapat on 20 December 2023 - 13:24 #1301551 Reply to:1300379

สำหรับผมคือกลับด้านเลย ใช้ open source เป็นหลัก อย่างน้อยเราไม่พอใจอะไรเรา pull request ส่งโค้ดไปแก้เองได้ แต่ซอฟแวร์ทำขายวันดีคืนดีคิดเงินเพิ่ม เอาฟังก์ชั่นบางอย่างออก เราจะไปเรียกร้องกับใครทีนี้ 55555

By: pexza
AndroidUbuntuWindows
on 4 December 2023 - 14:32 #1300544
pexza's picture

ทุกวันนี้ใช้ Linux โดยเฉพาะ GNOME มากกว่า Windows เพราะใช้ Gesture ได้เหมือนกัน และกินแรมน้อยกว่ากันค่อนนึง ใครว่า GNOME กินแรม เจอ Windows เข้าไป แรม 16 เปิดเครื่องมาพี่ท่านไปถึง 10 ต้องใช้ Virtualbox ในการรันงาน ต้องหนีไป Linux เพราะ GNOME เปิดมากินแรมไม่ถึง 5GB เหลือรัน VM อื่นสบายมาก ความสวยงามก็ไม่ต่างกัน งานที่ต้องทำบน Windows ตอนนี้คือ เอกสารที่ต้องทำร่วมกับคนอื่น เท่านั้นเอง นอกนั้นทุกงานใช้ Linux หมด แม้กระทั่งตอบกระทู้นี้ก็บน Arch Linux GNOME