รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเตรียมเงินสนับสนุนให้ TSMC มาตั้งโรงงานในจังหวัดคุมาโมโตะรวม 476,000 ล้านเยน หรือกว่า 120,000 ล้านบาท โดยโรงงานนี้จะเป็นการร่วมทุนระหว่าง TSMC, Sony Semiconductor, และ Denso ใช้ชื่อบริษัทว่า Japan Advanced Semiconductor Manufacturing Inc. (JASM)
ตัวโรงงานแห่งนี้จะมีสายการผลิตแบบ 12/16 นาโนเมตรหนึ่งสายการผลิต และ 22/28 นาโนเมตรอีกหนึ่งสายการผลิต ใช้เวเฟอร์ขนาด 12 นิ้ว กำลังผลิตรวม 55,000 เวเฟอร์ต่อเดือน คาดว่าจะใช้ผลิตชิปเช่นเซ็นเซอร์ภาพและไมโครคอนโทรลเลอร์
ทาง Denso ระบุว่าโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะทำให้ซัพพลายเชนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์มีเสถียรภาพกว่าตอนนี้ ช่วงสองปีที่ผ่านมาปัญหาชิปขาดแคลนทำให้บริษัทรถยนต์หลายบริษัทเดินสายการผลิตไม่ได้ หรือหากผลิตรถได้ก็ต้องตัดฟีเจอร์บางอย่างออกไป
คาดว่า JASM จะเปิดสายการผลิตได้เดือนธันวาคม 2024
ที่มา - Kyodonews, Taiwan News
Comments
ทำไมไม่มาไทยบ้างครับ ไทยไม่ดีตรงไหน
คุณลองบอกมาก่อนว่าไทยเหมาะกว่าญี่ปุ่นตรงไหน
ยังหาข้อดีของไทยที่ดีกว่าญี่ปุ่นไม่เจอเลย
ค่าแรงไทยถูกจริง แต่ค่าครองชีพแพง การเดินทางก็ไม่สะดวก อาหารก็ไม่ได้อร่อยขนาดนั้น 10-20 ร้านเจอร้านอร่อยแค่1-2 ร้าน แถมราคา 50-60 ไม่อิ่ม
อืม เรื่องญี่ปุ่นเหมาะกว่าไทยผมไม่เถียงนะครับ แต่ถ้าเทียบค่าครองชีพไทยกับญี่ปุ่นนี่ผมว่าไทยน่าจะดีกว่านะครับ เรื่องที่อยู่อาศัย ไทยก็ถูกกว่า รื่องอาหาร 50-60 ไม่อิ่ม อันนี้แล้วแต่คนแล้วแต่โซนนะ แต่โดยรวม ๆ เรายังหาอาหารทานในราคา 50-60 บาทได้ ทั่ว ๆ ไป แต่ญี่ปุ่นนี้ 50-60 บาทนี่ ได้ข้าวปั้นก้อนเดียวนะครับ
นโยบายปัจจุบันของรัฐบาลญี่ปุ่นคือย้ายโรงงานกลับเข้าญี่ปุ่น แต่ไม่ใช่โรงงานแบบที่เราเคยเห็นนะครับ มันมีข้อแม้ว่าต้องเป็นโรงงานแบบอัตโนมัติที่แทบไม่ใช้แรงงานทั่วไป ดังนั้นค่าครองชีพที่เป็นตัวกำหนดค่าแรงของแรงงานพื้นฐานเลยเอาใช้ไม่ได้
คืออะไรเหรอครับ? ผมแค่แย้งว่าค่าครองชีพบ้านเรายังถูกกว่า ไม่ได้แย้งเรื่องโรงงานตั้งที่ไทยดีกว่านะครับ
ถ้าทำให้รู้สึกไม่ดี ก็ขออภัยด้วยครับ
พูดแบบนี้ไม่ถูกนะครับ การเทียบค่าครองชีพไม่สามารถเอาค่าแรงของประเทศหนึ่งไปเทียบกับค่าใช้จ่ายของประเทศอื่นได้นะครับ
ญี่ปุ่นถ้าซื้อข้าวกินเอาอย่างผมที่อยู่เขตเอโดะกาวะเมืองโตเกียว ถ้าซื้ออาหารทานมื้อเฉลี่ยที่ 500 เยน ค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงนึงทานข้าวได้สองมื้อนะครับ (ค่าแรงประมาณ 1200 เยนต่อชั่วโมง) แถมกินอิ่มด้วย
ที่ไทยค่าแรงขั้นต่ำเอาเป็นสี่ร้อยบาทต่อวัน (จริง ๆ ไม่ถึงด้วย) ทำแปดชั่วโมงได้ชั่วโมงละ 50 บาท กินข้าวได้มื้อเดียวเอง
ที่ญี่ปุ่นแพงคือค่าที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องจริงครับ แต่นั้นคือเมื่อคุณอยู่ในพื้นที่ทางเศรษฐกิจใหญ่ ๆ เท่านั้นแต่ถ้าออกไปไกลหน่อยก็ถูกมากครับ เมื่อเทียบกับค่าแรง ถ้าทำงานวันละ 8 ชั่วโมงที่ค่าแรงขั้นต่ำที่ญี่ปุ่นสามารถมีเงินเก็บเหลือได้ครับถ้าไม่ได้อยู่ที่อยู่อาศัยแบบหรูเกินไปหรือใกล้จุดศูนย์กลางของเมืองมาก แต่ถึงจะอยู่ไกล การคมนาคมเขาสะดวกและถูกมากครับ
ดังนั้นการเปรียบเทียบค่าครองชีพต้องเอาค่าแรงขั้นต่ำสุดมาเทียบกับค่าใช้จ่ายในแต่ละประเทศครับ อาจจะต้องเปรียบเทียบลงระดับพื้นที่ด้วยเพราะประเทศเดียวกันใช่ว่าจะมีค่าครองชีพเท่ากันทั้งประเทศ
เข้าใจผิดแล้วครับ ค่าครองชีพ (Cost of living) คือค่าครองชีพครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับค่าแรงขั้นต่ำ เป็นตัวเลขดัชนีที่แยกกันครับ
ค่าครองชีพที่ไทย ถูกกว่าญี่ปุ่น อันนี้เป็น Fact ครับ ส่วนค่าแรงบ้านเราถูกกว่าญี่ปุ่นอันนี้ก็ Fact เหมือนกันครับ
สิ่งที่คุณว่ามามันคือเรื่องของคุณภาพชีวิตครับที่ว่าค่าครองชีพยังต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมงหรือต่อวันแต่คำว่าค่าครองชีพมันคือตัวเลขดัชนีของแต่ละพื้นที่ครับ ค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นอีกตัวเลขนึงครับ อันนี้ผมพูดถึงแค่ค่าครองชีพไม่ได้พูดถึงคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด ผมไม่ได้บอกว่าค่าครองชีพที่ไทยถูกกว่าแล้วคุณภาพชีวิตคนไทยดีกว่าญี่ปุ่นนะครับ ด้อยกว่าชัดเจน และรายได้น้อยกว่าด้วยอันนี้ก็เรื่องจริง
แสดงว่าผมอาจจะเข้าใจผิดมาตลอดครับว่าค่าครองชีพต้องดูความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ควบคู่กันไป
ผมว่า ค่าครองชีพสูง แต่หาเงินง่ายผมถือว่ามันต่ำนะ เอาจริงๆ ถ้าจะดูค่าครองชีพ ก็ไม่น่าเอา อัตราแลกเปลี่ยนไปคิด นะครับ
ค่าครองชีพอาจจะไม่ได้ต่ำกว่าญี่ปุ่นแล้วก้ได้ครับ
ที่ทำงานผมมีคนนึงกำลังจะย้ายไปญี่ปุ่น เหตุผลนึงคือค่าครองชีพพอ ๆ กันแต่สวัสดิการดีกว่านี่ล่ะ (แต่เค้าเทียบเมืองหลวงกับแค่หัวเมืองใหญ่เฉย ๆ มันก็ไม่ได้เป็นการเทียบที่ยุติธรรมซะทีเดียวป
ไทยมีแผ่นดินไหว น้อยกว่า ญี่ปุ่น
เหยียดแม้กระทั้งเรื่องอาหาร คนเรา
ไกลไปครับ ตัวโรงงานนี้ถ้าสร้างที่คุมาโมโตะ มันจะอยู่ไกล้โรงงานชิปของ Sony เลย
การตั้งโรงงานที่ไหนสักแห่ง ไม่ใช่แค่พื้นที่อย่างเดียว เค้าดูว่าพวกสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ และจุดสำคัญคือ ความรู้ความสามารถของคนในประเทศนั้น ๆ ที่จะเข้ามาในโรงงานที่เปิดใหม่ ว่ามีจำนวนเพียงพอทำงานในโรงงานที่เปิดได้หรือไม่ ยิ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมากๆ ก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญมาก เพราะจะให้นำเข้ามาทำงานรัฐก็คงไม่ยอม
มองว่าไทยเหมาะกว่าญี่ปุ่นในเรื่องทรัพยากร(นำ้)และภัยธรรมชาตินะครับ แต่เรื่องห่วงโซ่อุปทาน/ทรัพยากรมนุษย์อาจจะสู้ไม่ได้ครับ
ต้องมองที่ ภาครัฐ - การเมืองด้วย
ถ้าไม่นิ่ง หรือ ไม่มีอะไรที่น่าดึงดูด ก็ยากที่เข้ามาลงทุน
อยู่แล้วขาดทุน ก็ไม่มีใครอยากมาทำ
ของจะแพงไหมนั้น Made in Japan เนี่ย
ยอมซื้อแพง ดีกว่า Made in Thailand แล้วได้ของคุณภาพแย่ ไม่สมกับราคา จริงๆแล้วสินค้าไทยก็เหมือนจีนแหละ ไม่ต่างกัน
ผมว่าต้องดูเป็นรายยี่ห้อรายชิ้นนะ
ตัวอย่างง่าย ๆ กล้อง Nikon ฐานการผลิตหลักเป็นประเทศไทยครับ พลิกดูด้านหลังก็ Made in Thailand หมดแล้วครับ หรือ Sony Xperia ก็ Made in Thailand เช่นกัน
ซึ่งจากที่ผมได้ใช้สินค้าทั้ง 2 ยี่ห้อแล้ว พบว่าคุณภาพดีมาก งานประกอบก็ดีเช่นกัน
อันนี้ผมเห็นต่างครับ ระหว่าง Made in Thailand กับ Made in China ผมเลือก Made in Thailand ผมว่างานไทยรายละเอียดดีกว่าครับ
พวกชิปนี่จริงๆ จำนวนไม่น้อยมา package/testing ในไทยนะครับ แม้จะไม่มี FAB ก็ตาม
lewcpe.com, @wasonliw
ผลิตภัณฑ์แบบนี้ อยู่ที่การกำหนด Quality Control ของผลิตภัณฑ์สิครับ
QC ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไปทำที่ไหนก็ต้องเหมือนกัน
ถ้าทำที่นั่นแล้วทำได้ไม่เหมือน ก็คือไม่ทำ
ยกเว้นแต่จะตั้งใจปรับมาตรฐานให้ต่างกันและยอมให้ผ่าน
แบบนั้นก็ต้องโทษบริษัทแม่
Made in Thailand เกรดไม่ได้ต่ำนะครับ ยกตัวอย่างของเกรดต่ำมาหน่อย ผมเจอแต่ของจีนนี่ล่ะที่จะเจอเกรดต่ำบ้าง แต่ไม่ทั้งหมด
แบตแท้ไอโฟนก็เมดอินไทยแลนด์นะครับ
อย่าสักแต่แขวะประเทศตัวเองเลย
ถ้าสายอุปกรณ์electronics นี่ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าผลงาน yield ดีระดับโลกนะครับ
แต่หมายถึงพวกโรงงานข้ามชาตินะ คือใช้ระบบระเบียบการตรวจสอบมาตรฐานตปท.คุม แรงงานมีทักษะไทยจะทำผลงานได้ดีเยี่ยมเลย ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านเยอะ จากประสบการณ์ที่เคยไปมาบ้าง
หรือแม้แต่รถยนต์ งานประกอบในไทยที่บ่นๆกันเยอะว่ามีข้อติเยอะก็ยังดีกว่ารถนำเข้าจากเพื่อนบ้าน อาจจะยังเทียบเยอรมัน ญี่ปุ่นไม่ได้ แต่งานประกอบโดยเฉลี่ยดีกว่าอาเซียนด้วยกันแน่นอน
ผมสงสัยครับรัฐสนับสนุน บริษัทต้องยืมเงินส่วนนั้น หรือ รัฐมีหุ้นด้วย ผมถามไม่ถูกว่าจะถามยังไง เห็นหลายประเทศที่รัฐเตรียมเงินสนับสนุน ผมเลยเกิดข้อสงสัยทำไมรัฐต้องเชิญมาเปิดด้วย
โรงงานใหญ่แบบนี้น่า เก็บภาษีคืนทุนได้ไม่เกิน 10 ปีครับ
แค่ vat + ภาษีรายได้ ก็เยอะแล้ว (ยังมีภาษีอื่นๆ อีก)
ตั้งโรงงานมันไปสร้าง ecosystem อื่นด้วย
รัฐก็ยังมีรายได้จากภาษีใน ecosystem อีก
ก็เป็น package สำหรับอุตสาหกรรมที่อยากให้มีครับ แบบเดียวกับ BOI บ้านเรา อย่างก่อนหน้านี้ BioNTech เปิดโรงงานในสิงคโปร์ก็ต้องให้แพ็กเกจไม่น้อยหน้ากัน
กรณีญี่ปุ่น เขาเจ็บหนักจากการที่โรงงานผลิตรถยนต์เดินสายการผลิตไม่ได้ มองว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ทำเศรษฐกิจในประเทศมันเดินหน้าก็ได้ แบบเดียวกับรัฐลงทุนไฟฟ้า, ประปา ฯลฯ
lewcpe.com, @wasonliw
sony เค้าเคยมาตั้งที่ไทยแล้วน้ำท่วมไหมครับ โรงงานชิบ
ทำไมไหนๆๆสร้างไม่ ไม่ทำ เทคโนโลยี พวก 7nm 5nm หรือ 4 nm ไปเลย คือ เข้าใจว่า บางบ้างไม่ต้องการ ชิปขนาดนั้น แต่ไหนๆๆก็ลงทุนสร้างแล้วทั้งที่
12/16 นาโนเมตร กับ 22/28 นาโนเมตร
ใช้ทำ DRAM กับ กล่อง ECU ครับ
ไม่เน้น ประหยัดพลังงานขนาดมือถือ
เน้นทนทาน อัตราผลิตสำเร็จสูง
ดูคนลงทุนแล้ว Denso คือ Toyota ส่วน Sony คือ Honda
ก็ถือว่า ญี่ปุ่นเค้าลงทุนเพื่อความมั่นคงทาง ECU รถยนต์ก็แล้วกันครับ
ผลิตที่ไต้หวันที่เดียว วันดีคืนดี จีนแดง บ้าเลือดปิดทะเลไต้หวัน
ห้ามเรือวิ่ง ได้เละกันทั้งโลก
อย่าลืม chip PS5 ด้วยนะครับขาดตลาด
ผมล่ะเกรงว่า ของที่ผลิตในญี่ปุ่นมูลค่าของจะแพงกว่าผลิตที่ไต้หวันหรือจีนน่ะสิครับ เพราะมาตรฐานสินค้าที่ออกมาแต่ละอย่างของญี่ปุ่นมีแต่สูงๆ ทั้งนั้น ราคาหลังผลิตเสร็จก็น่าจะสูงเป็นเงาตามตัวไปด้วย โทรศัพท์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ว่าราคาถูกก็อาจจะแพงไปตามๆ กัน ยกเว้นแต่ว่าเจ้าของ TSMC จะมีการกำหนดราคาขายของชิปมาแล้วว่า ต้องมีมาตรฐานราคาเท่ากับโรงงานในไต้หวัน
ดูจากรายชื่อผู้ลงทุนแล้ว เค้าเน้นผลิตป้อนบริษัทตัวเอง ชิปที่ JASM ขายให้บริษัทแม่จะขายถูกแบบยอมขาดทุนยังได้เลย เดี๋ยวค่อยไปเพิ่มราคาเอากำไรคืนตอนขายสินค้าที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ยังได้