Tags:
Node Thumbnail

อันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลก TOP500 ประจำรอบเดือนมิถุนายน 2022 (จัดปีละ 2 ครั้งทุกเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายน) มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือมีแชมป์ใหม่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Frontier ของห้องวิจัย Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ของสหรัฐ แถมยังเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่มีสมรรถนะ 1.102 Exaflop/s ทะลุกำแพง Exaflop ได้เป็นครั้งแรก

Frontier เป็นหนึ่งในซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ 3 เครื่องของกระทรวงพลังงานสหรัฐที่ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2019 (อีกสองเครื่องคือ Aurora และ El Capitan ซึ่งยังไม่เสร็จ) ทั้งสามเครื่องพัฒนาโดยบริษัท Cray (ปัจจุบันคือ HPE) โดยมีแนวทางเทคโนโลยีแตกต่างกันไป

เครื่อง Frontier เลือกใช้แนวทาง AMD ล้วน ซีพียูเป็น AMD Epyc 64C และตัวเร่งประมวลผลเป็น AMD Instinct MI250x เชื่อมต่อกันด้วยระบบเครือข่าย HPE Slingshot, มีจำนวนคอร์รวมทั้งระบบ 8,730,112 คอร์ สมรรถนะ 1.1 Exaflop ทำให้แรงกว่าอันดับสองประมาณ 2.5 เท่า และแรงกว่าอันดับ 2-8 รวมกัน

No Description

อันดับสองคือแชมป์เก่า Fugaku ของญี่ปุ่นที่ครองแชมป์มานานครบ 2 ปีพอดี ใช้ซีพียู Arm Fujitsu A64FX สมรรถนะ 442 Petaflop/s

อันดับสามเป็นเครื่องใหม่ที่เข้ามาติดชาร์ทคือ LUMI ของฟินแลนด์ ใช้แพลตฟอร์ม HPE Cray Ex 235a เดียวกับเครื่อง Frontier (เป็น AMD Eypc+Instinct เหมือนกัน) แต่จำนวนคอร์รวมน้อยกว่าคือประมาณ 1.1 ล้านคอร์ สมรรถนะอยู่ที่ 151 Petaflop/s

อันดับสี่คือ แชมป์เก่ายุคก่อน Summit ที่สร้างโดย IBM และเป็นของศูนย์วิจัย Oak Ridge National Laboratory เช่นกัน ซีพียูสถาปัตยกรรม Power มีสมรรถนะ 148 Petaflop/s ส่วนที่เหลือดูได้จาก TOP500

ทำเนียบซูเปอร์คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกยังน่าจะเปลี่ยนอีกหลายครั้งในรอบ 1-2 ปีข้างหน้า เพราะกระทรวงพลังงานสหรัฐยังมีเครื่องอยู่ในคิวอีก 2 เครื่องคือ Aurora ใช้เทคโนโลยีฝั่งอินเทลล้วน มีกำหนดเสร็จปลายปี 2022 และ El Capitan ใช้เทคโนโลยีฝั่งเอเอ็มดี ทั้งสองเครื่องมีเป้าหมายสมรรถนะที่ราว 2 Exaflop/s

ที่มา - Top500, AMD, HPE

Get latest news from Blognone

Comments

By: zyzzyva
Blackberry
on 30 May 2022 - 17:51 #1250389

เสียดาย Frontier ยังไม่มีผล HPCG ระหว่างนี้ Fugaku เลยครองอันดับหนึ่งไปก่อน
ส่วน Green500 นี่ Frontier TDS (1 rack ของ Frontier) ได้อันดับหนึ่ง ส่วน Frontier ตัวเต็มได้อันดับสอง กลายเป็นยิ่ง scale แล้วยิ่งกินไฟแฮะ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 30 May 2022 - 18:08 #1250392
Ford AntiTrust's picture

"แรงกว่าอันดับสองประมาณ 2.5 เท่า และแรงกว่าอันดับ 2-8 รวมกัน" อ่านแล้วนึกว่าผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม

By: sukoom2001
ContributorAndroidUbuntu
on 30 May 2022 - 19:44 #1250402
sukoom2001's picture

1986 M13 ผ่าน Gigaflop/s
1996 ASCI RED ผ่าน Teraflop/s
2008 IBM Roadrunner ผ่าน Petaflop/s
2022 Frontier ผ่าน Exaflop/s

By: zyzzyva
Blackberry
on 30 May 2022 - 20:10 #1250404 Reply to:1250402

G ไป T 10 ปี
T ไป P 12 ปี
P ไป E 14 ปี
ดูแล้ว zettaflop นี่น่าจะปี 2038 เลย

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 30 May 2022 - 21:04 #1250414

"กาก สู้ควอนตั้มไม่ได้หรอก" - อ่ะ คิดแทนไอ้คนที่สแปมเม้นต์ให้แระ 😑

By: Fzo
ContributorAndroid
on 30 May 2022 - 22:30 #1250422 Reply to:1250414
Fzo's picture

5555


WE ARE THE 99%

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 31 May 2022 - 08:15 #1250441 Reply to:1250414
MaxxIE's picture

ดีไม่บอกว่าสู้ไอโพนไม่ได้หรอก

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 31 May 2022 - 09:37 #1250451
btoy's picture

นอกจากภาคการศึกษาและวิจัยแล้ว มีภาคธุรกิจตัวไหนมั้ยครับที่ใช้บริการซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใน daily work หรือแบบที่ใช้งานประจำเป็นช่วงๆแบบถี่ๆหน่อย


..: เรื่อยไป

By: IDCET
Contributor
on 31 May 2022 - 12:47 #1250487 Reply to:1250451

น่าจะเป็นส่วนของการแพทย์ที่ทำเรื่องวิจัยนั่นหละครับที่ใช้บ่อยสุด พวกวิจัยโครงสร้างโปรตีน โควิด เป็นต้น ก็ใช้การประมวลผลหนักๆ เหมือนกัน

งานส่วนอื่น อาจเป็นพวกงานวิศวกรรม, CAD, งานประมวลผลจำลองขนาดใหญ่, งานประมวลผล Virtual Reality ที่ซับซ้อน หรือแม้แต่พวก Hypervisor เยอะๆ ก็อาจใช้เครื่องพวกนี้ได้พอสมควรอยู่นะ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว