Tags:
Node Thumbnail

มีรายงานความคืบหน้า หลังทางการจีนออกคำสั่งให้ธุรกิจกวดวิชา ต้องจดทะเบียนเป็นธุรกิจไม่แสวงหากำไร ซึ่งส่งผลต่อสตาร์ทอัพและบริษัทเทคโนโลยีของจีนหลายแห่งสาย EdTech ที่ทำธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากรายได้หลักบริษัทเหล่านี้ก็มาจากส่วนธุรกิจกวดวิชา ตามเนื้อในหลักสูตร

เริ่มที่ New Oriental ได้ประกาศว่าจะยุติบริการติวออนไลน์ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับ K-9 หรือเทียบเท่า ม.3 มีผลภายในสิ้นปีนี้ คาดว่าจะกระทบรายได้ที่หายไป 50-60% โดยบริษัทจะเปลี่ยนมาโฟกัสที่ธุรกิจเนื้อหาสำหรับเตรียมสอบเข้า, การสอนภาษาสำหรับผู้ใหญ่ ไปจนถึงหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับลูกค้าองค์กร นอกจากนี้บริษัทยังทดสอบธุรกิจใหม่ขายสินค้าเกษตรผ่านไลฟ์สตรีมอีกด้วย

ส่วน TAL ก็ประกาศในแนวทางเดียวกัน คือหยุดให้บริการกวดวิชาถึงระดับชั้น ม.3 ภายในปีนี้ โดยจะเปลี่ยนมาขายวิดีโอเนื้อหาสอนสำหรับดูย้อนหลังแทน อีกบริษัทคือ Gaotu Techedu ก็ประกาศหยุดให้บริการกวดวิชาออนไลน์เช่นกัน และจะเปลี่ยนมาเน้นหลักสูตรสำหรับลูกค้าองค์กรและผู้ใหญ่แทน

ที่มา: Kr-Asia, TechNode [1], [2] และ New Oriental

alt="XDF"

Get latest news from Blognone

Comments

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 21 November 2021 - 18:35 #1232209
Noblesse's picture

การที่มีธุรกิจกวดวิชาแสดงถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษา หวังว่าการปฏิรูปจะได้ผลนะ ?

By: ECOS
Windows
on 21 November 2021 - 19:02 #1232212 Reply to:1232209
ECOS's picture

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นปลายทางของความล้มเหลวในระบบการศึกษา
แต่การแก้ปัญหาข้อจีนคือการไปห้ามกวดวิชาซึ่งเป็นการแก้ปัญหาปลายทางอีกที
ไม่น่าคาดหวังผลได้เท่าไหร่แหละครับ

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 21 November 2021 - 20:47 #1232222 Reply to:1232212
Noblesse's picture

ได้ศึกษาก่อนไหมครับ? เขาทำทุกด้าน ใช่รวมถึงการห้ามกวดวิชาเอกชนด้วย

By: ECOS
Windows
on 19 December 2021 - 00:10 #1234911 Reply to:1232222
ECOS's picture

บร๊ะ คุณรู้ด้วยหรอว่าผมศึกษามาก่อนรึเปล่า? ถ้าผมไม่ศึกษามาก่อนผมจะตอบแบบนี้ทำไมกันนะ? น่าสงสัยจัง?

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 21 November 2021 - 20:08 #1232217 Reply to:1232209

ปฎิรูปด้วยการห้ามกวดวิชาเอกชน !?!?!

จริงๆมันต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับเข้ามหาลัยเลยตะหาก

หรือว่าจีนยังยึดติดการสอบแบบจอหงวน วัดทุกอย่างไว้ที่การสอบอย่างเดียว แบบนั้นก็ไม่ช่วยอะไร แค่เปลี่ยนรูปธุรกิจเอกชนไปเป็นแบบอื่นอยู่ดี อย่างข้างล่างว่า พวกติวเตอร์ส่วนตัวจะค่าตัวแพงขึ้นสำหรับคนรวยจ้าง คนจนก็อด แทนที่จะเข้าถึงได้ง่าย กลายเป็นยากกว่าเดิม

ไทยเองพยายามเปลี่ยนเช่นกัน แยกการสอบตามคณะ มีวิชาเฉพาะวิชาชีพ แต่สุดท้ายกลายเป็นเพิ่มการกวดวิชาเฉพาะวิชาชีพเพิ่มมาอีกแทน ส่วนถ้าจะนับแค่เกรดก็....

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 21 November 2021 - 20:47 #1232221 Reply to:1232217
Noblesse's picture

ได้ศึกษาก่อนไหมครับ? เขาทำทุกด้าน ใช่รวมถึงการห้ามกวดวิชาเอกชนด้วย

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 21 November 2021 - 20:50 #1232223 Reply to:1232221

ทำอะไรบ้างครับ ช่วยอธิบายหรือลิงค์ข่าวต้นทางหน่อยจะขอบคุณมาก

เขาเปลี่ยนแปลงการสอบเกาเข่าหรือยัง?

หรือแค่เขียนนโยบายลอยๆว่า ให้ลดการบ้าน ลดการกวดวิชา แต่ยังไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม? แบบการห้ามกวดวิชาแบบเสียเงิน(แต่กวดวิชาฟรีได้? จะมีคนเลี่ยงการจ่ายเงินไปจ่ายด้วยวิธีอื่นไหม?)

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 21 November 2021 - 20:51 #1232224 Reply to:1232223
Noblesse's picture

Can't you even Google? นี่แหละสะท้อนถึงการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 21 November 2021 - 21:02 #1232225 Reply to:1232224

ก็ผมgoogle แล้วไม่เจออะไรที่เป็นรูปธรรมนอกจาก ห้ามกวดวิชาเอกชนไงครับ

ที่เหลือก็นโยบายเชิงนามธรรมล้วนๆ เช่นลดการบ้าน ลดเวลาเรียน (อย่าบอกว่ามันคือรูปธรรมนะครับ ถ้าแค่สั่งให้ลดเฉยๆ แต่วัดประสิทธิผลยังไง?)

แต่อย่างสอบเกาเข่า ผมก็ยังไม่เห็นข่าวการเปลี่ยนแปลงอื่นๆนะครับ เขาเปลี่ยนวิธีสอบหรือยัง เห็นในซินหัวล่าสุดยังลงข่าวน่าซาบซึ้งแบบนักศึกษาจากบ้านนอกที่พยายามสอบต่อเนื่องมาสิบสามปี เพื่อให้สอบติดให้พ่อแม่ภาคภูมิใจอยู่เลย (อ้างอิง https://news.trueid.net/detail/Q2pmmjopq9Re ) แสดงว่าระบบน่าจะยังไม่เปลี่ยนนะ? หรือผมอาจจะหาkeyword ไม่ดีเองก็ได้?

ถ้าคุณทราบข่าวที่ชัดเจนกว่านี้ ก็ช่วยอ้างอิง หรือชี้แหล่งที่มา จะได้พูดคุยกันต่อได้ ไม่งั้นก็ไม่ต่างจากการพูดลอยๆ แล้วบอกว่าอีกฝ่ายผิดเพราะหาข่าวไม่เจอเอง?

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 21 November 2021 - 21:27 #1232228 Reply to:1232224
big50000's picture

การอธิบายให้เข้าใจไปเลยย่อมดีกว่าการไล่คนอื่นแล้วเก่งอยู่คนเดียวนะ

By: luckyman
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 22 November 2021 - 10:36 #1232289 Reply to:1232228

อย่าเสียเวลาเลยครับ ปล่อยให้เค้าฉลาดในจินตนาการเค้าไปคนเดียวเถอะครับ

By: sum0 on 21 November 2021 - 21:43 #1232231 Reply to:1232224

ผมมาช่วยแล้วกัน ถ้าช่วยมากกว่านี้ก็ล้มเหลว แบบที่ท่านบอกจริงๆ

ที่มา ภาษาจีน
http://www.gov.cn/zhengce/2021-07/24/content_5627132.htm
ภาษาอังกฤษที่สรุปเนื้อหา
https://www.china-briefing.com/news/china-bans-for-profit-tutoring-in-core-education-releases-guidelines-online-businesses/

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 22 November 2021 - 00:10 #1232243 Reply to:1232231

ขอบคุณครับ แต่เนื้อหาในข่าวฉบับภาษาอังกฤษก็ไม่ต่างจากที่ผมพูดไปแล้วเท่าไร ว่านโยบายมันนามธรรมมากๆ

ลดการบ้าน เพิ่มเนื้อหาวิชาด้านสุขภาพ ฯลฯ พวกนี้ทุกประเทศก็เขียนไว้ในนโยบายด้านการศึกษา เชื่อไหมว่าของไทย ก็เคยประกาศเช่นกัน แต่ทำจริงได้แค่ไหน?

โดยเฉพาะถ้าไม่เปลี่ยนวิธีการเข้ามหาลัย ถ้ายังสอบเกาเข่า เหมือนเดิม ทุกคนก็ต้องขวนขวายการท่องหนังสือหรือกวดวิชาอย่างเอาเป็นเอาตายอยู่ดี

แต่ที่ชัดเจนตามข่าว คือเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโรงเรียนกวดวิชาอย่างเข้มงวดมากขึ้นเป็นหลัก ตรวจสอบสัญญา การจ้างงาน การจ้างครูต่างชาติ ฯลฯ ดูเผินๆก็เหมือนดีครับ แต่บางอันดูแล้วแหม่งๆ เช่นไปเน้นการตรวจสอบผู้ถือหุ้นต่างชาติ

หรือที่กำหนดระยะเวลาเรียนคอร์สออนไลน์ ไม่เกิน 30 นาทีต่อ session นี่มันก็แปลกๆ เอาตัวเลขจากไหน แถมต้องเรียนไม่เกิน 3 ทุ่ม ซึ่งกลายเป็นจำกัดการเรียนนอกเวลา สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในเวลาปกติหรือเปล่า?(เช่นนักเรียนที่ทำงานparttime ไปด้วยเรียนไปด้วย)

หรือบางอันบอกว่า ให้โรงเรียนปกติสนับสนุนการสอนหลังโรงเรียน ให้เด็กเรียนไม่ทัน มาเรียนเสริม อ้าวจะลดเวลาเรียน แต่ก็ยังให้มาเรียนเสริมแทน ต่างจากไปกวดวิชาตรงไหนตรงนี้จริงๆมันย้อนถึงคุณภาพครูในโรงเรียนด้วยเช่นกัน ต่อให้สอนเสริมเยอะๆ แต่ถ้าสอนไม่เก่งเท่ากวดวิชามันก็ยากอยู่ดี แถมบอกจำกัดการเรียนเสริมให้สอนโดยครู อดีตครู หรืออาสาสมัครเท่านั้น พูดตรงๆคุณภาพจะได้เท่าไหน คือดูแล้วพยายามห้ามการจ้างคนเก่งๆมาสอนแทนเพราะมันจะเข้าวงเวียนกวดวิชาแบบเดิมนั่นแหละ

อย่างที่บอกไป จะเปลี่ยนโครงสร้างระบบการศึกษา มันต้องไปทั้งระบบ ตั้งแต่แผนการเรียนระดับประถม มัธยม แยกสายไป สายอาชีพ และสายอุดมศึกษา มันต้องเปลี่ยนไปพร้อมๆกัน

มาบอกให้ลดการบ้าน ห้ามกวดวิชานอกโรงเรียน ให้ครูในโรงเรียนเท่านั้นที่สอนเสริมหลังเลิกเรียนได้ ฯลฯ แต่สอบเกาเข่าแย่งกันแทบตายเหมือนเดิม? มันจะกลายเป็นบังคับให้ระบบติวเตอร์ลงใต้ดินไปเสียอีก จะบอกว่าจีนเขาตรวจได้หมด ไม่มีทางแอบได้? แล้วสุดท้ายมันแก้ปัญหาการศึกษาอย่างเอาเป็นเอาตายตรงไหน?

By: papaya on 22 November 2021 - 09:39 #1232263 Reply to:1232243

มันไม่มีอะไรที่แก้ปัญหาแบบ 100% หรอกครับ ไม่ใช่แค่ปัญหานี้ หลายๆประเทศก็มีปัญหาแตกต่างกันไป หลายๆประเทศก็สร้างมาตรการแก้ปัญหา แต่มันไม่มีทางแก้ได้ 100% อยู่แล้ว หลายๆมาตรการทำแล้วก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ

ในข่าวนี้ จีนเขามีปัญหาเรื่องกวดวิชาแบบเอาเป็นเอาตาย อันนี้ก็เป็นแค่มาตรการหนึ่ง ส่วนมาตรการอื่นๆ เรายังไม่เห็นหรือไม่เป็นข่าว คือยังเราไม่รู้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยมันแก้ปัญหาเรื่องครูกั๊กข้อสอบ ครูเอาเวลาสอนไปเน้นที่กวดวิชา ทำให้เด็กส่วนหนึ่ง(ไม่ทั้งหมด) ได้มีเวลาทำอย่างอื่น ผมว่าแค่นี้ ถ้ามันไม่ได้สร้างปัญหาเพิ่มก็ถือว่าดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องแก้100%ทุกคนทุกครอบครัว ต่อไปเค้าก็ต้องหามาตรการอื่นมาเสริม(รอข่าว) หรือปรับปรุงมาตรการเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ทันสมัยกับสภาพสังคมในวันข้างหน้า

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 22 November 2021 - 22:26 #1232410 Reply to:1232263

ประเด็นคือตอนนี้ คำสั่งที่ชัดเจนมันเน้นแค่เข้มงวดกับกวดวิชาเอกชนไงครับ ไม่ใช่มีแผนเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบการศึกษาอะไรชัดเจนเท่าไร

เรื่องลดการบ้าน อะไรพวกนี้ ทุกประเทศก็เขียนนโยบายหมด แต่ทำได้จริงกี่ที่ ใครๆก็พูดได้ไงครับ แต่ไม่ใช่มาโม้ว่า นี่ไงปฎิรูปการศึกษาแล้วนะ ทำไมผมจะตั้งคำถามหรือสอบถามแหล่งอ้างอิงไม่ได้ล่ะครับ ทำไมเราจะต้องจินตนาการว่า"เขา"คิดแผนไว้หมดแล้ว แค่ยังไม่ประกาศ(ถ้าประกาศแล้วก็น่าจะมีข่าว) เรากลัวกันไปเอง ทำไมไม่เชื่อ"ท่านผู้นำ"โดยไม่สงสัย?

ส่วนเรื่องครูกั๊กข้อสอบให้ไปเรียนพิเศษกับตัวเองนี่น่าจะมีแค่ระดับประถมนะครับ(ถ้าเทียบของไทย) ถ้าระดับมัธยมเนื้อหามันไปไกลมาก โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการสอนแตกต่างกันสุดๆระหว่างในเมืองกับนอกเมือง และติวเตอร์ดังๆส่วนใหญ่ก็คือมืออาชีพเต็มเวลา ไม่ใช่ครูในโรงเรียนปกติโดนงานสอนในเวลาปกติมาเปิดสอนพิเศษสักเท่าไร

พูดตรงๆนโยบายที่ออกมามันดูมีhidden agenda คล้ายๆกับเรื่องที่ออกคำสั่งควบคุมสื่อบันเทิงเข้มงวด ห้ามมีระบบเชียร์ดาราศิลปินโดยตรง โดยอ้างเรื่องมอมเมา หรือห้ามเด็กเล่นเกมเกินไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ฟังดูราวกับคำสั่งย้อนยุคไปหลายสิบปีที่แล้ว

แต่จริงๆอาจจะเพราะกลัวการสร้างอิทธิพลทางความคิด และเงินที่หมุนเวียนจำนวนมาก จะลดความสำคัญของโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิมๆหรือแนวความคิดของพรรคคอมฯไปหรือเปล่า เลยสกัดดาวรุ่ง เตะตัดขาซะเลย โดยอ้างศีลธรรม?

ถ้าแค่เขียนนโยบายใครๆก็เขียนได้ครับ ตราบใดที่ระบบเข้ามหาลัยยังสอบเข้าแบบเกาเข่า หรือระบบสอบรวมคล้ายๆระบบentrance ยังไงก็ต้องมุ่งกวดวิชา โดยเฉพาะถ้าสายอาชีพอื่นๆไม่มีทางเลือก หรือมีรายได้มากพอสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีระดับนึง ยังไงก็ต้องกัดฟันเข้าเรียนให้ได้ เพื่อเปิดทางสู่การทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดี

อันนี้ผมไม่รู้ของจีนนะ แต่ดูจากของไทย และมีลูกของเพื่อน เรียนมัธยมที่อเมริกา ก็รู้สึกแปลกใจกับหลักสูตรเหมือนกัน ว่าทำไมหลายๆที่ในโลก ยังทำแบบประเทศตะวันตกไม่ได้ โดยเฉพาะสายเอเชีย ไม่ว่า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงไทย ที่ยังต้องเรียนหนักระดับมัธยมและทุ่มเทสุดชีวิตในการสอบเข้ามหาลัยมากกว่าที่อื่นๆ?

By: raindrop
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 23 November 2021 - 09:47 #1232453 Reply to:1232224

คำพูดของคุณดูถูกสติปัญญาคนอื่นมาก แต่คุณคงไม่รู้ตัวครับ แต่ถ้าอีกหน่อยรู้สึกว่าทำไมชีวิตนี้มีแต่ปัญหา ศัตรูเยอะจัง ให้ย้อนกลับมาอ่านกระทู้นี้นะครับ

คือ เขาอาจจะมองว่าคุณมีความรู้ อาจจะอ่านมาเยอะ ก็เลยอยากให้คุณแบ่งปันความรู้ที่กลั่นมาแล้วหน่อยแค่นั้นแหละครับ แต่คุณไปตีความเองว่าเขาขี้เกียจ แบบนี้พวก reddit หรือ stackoverflow อะไรนี่คือเจ๊งหมดครับ เพราะสงสัยอะไรห้าม reply ถาม

โลกที่เต็มไปด้วยความรู้ แต่แห้งแล้ง มันจะเป็นโลกที่น่าอยู่ได้ยังไง..

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 8 July 2022 - 14:46 #1254563 Reply to:1232209
Noblesse's picture

@ECOS @Fourpoint @big50000 @luckyman @raindrop สวัสดีเรามาจากอนาคต

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 8 July 2022 - 20:16 #1254588 Reply to:1254563

คลิปที่คุณยกมา มันก็มีข้อสรุปแต่แรกแล้วนี่ครับ ว่าเกาหลีเคยพยายามแบนเรื่องการทำเงินจากการติวสอบ แต่ก็ไม่ได้ผล จนต้องปรับเปลี่ยนวิธี เป็นการเรียนเสริมหลังเลิกเรียนถึงได้ผลดีขึ้น(แต่อันนี้จีนก็ทำ)

ซึ่งผมก็เคยบอกไปแล้วว่าทำแค่นี้(แบบที่จีนออกข่าวห้ามนู่นนี่)มันไม่ช่วยอะไรตราบใดที่ระบบการสอบเข้า มันยังเป็นแบบเดิม

ล่าสุดฝั่งจีนเองผมก็ยังเห็นข่าวซินหัว ลงเรื่องนักศึกษาจีนจำนวนมากต่อคิวเข้าสอบเกาเข่าไปไม่นานมานี้เองครับ?

https://www.xinhuathai.com/china/287225_20220607
https://www.xinhuathai.com/china/287279_20220608

โดยรวมก็ไม่เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง"ระบบ"อะไร?

จริงๆมีข่าวประมาณ นักเรียนทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อสอบอีก เขียนแนวโรมานซ์ แต่อีกมุมก็คือเหมือนว่าชีวิตมีเส้นทางเดียว? (ยังไม่นับข่าวเก่าแบบเด็กซิ่ว13ปี พยายามสอบเข้ามหาลัยซ้ำๆเพื่อให้พ่อแม่ภูมิใจ คือจะสอบให้ได้แต่ไม่ทำงานสักที?)

ก็อาจจะเป็นcultureแบบอาเซียนก็ได้มั๊ง มีปัญหาเหมือนๆกันหมด

ก็แปลกใจที่ทำไมการรับเข้ามหาลัยฝั่งตะวันตกดูมีประสิทธิภาพและการแข่งขันไม่โหดร้ายเท่าแถวนี้(ไม่ได้ง่ายแต่ก็ไม่ใช่เด็กพยายามสอบซ้ำๆเป็นสิบปี) แต่ผลงานการวิจัยต่างๆก็เป็นอันดับต้นๆของโลกโดยตลอด

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 9 July 2022 - 00:29 #1254602 Reply to:1254588
Noblesse's picture
  1. คือสิ่งที่คุณต้องการคือล้มล้างระบบสอบเข้าเลย? เปลี่ยนแล้วทุกอย่างจะแก้ปัญหาได้ทันที?

ตามที่ผมบอกไปว่ามันต้องทำทุกด้าน แต่จะหักดิบทันทีมันทำไม่ได้ พวกนี้มันต้องค่อยๆ เปลี่ยนไป ไม่งั้นก็เกิดกรณีแบบสูญญากาศปลดล็อกกัญชา แต่มันก็ต้องเริ่มจากที่ใดสักที่ก่อน อย่างเรื่องธุรกิจเรียนพิเศษนี่เป็นปัญหารกรุงรังมากถ้าไม่ตัดไฟตั้งแต่ต้นลมก็เป็นอย่างเกาหลีใต้ที่ผมให้ดูคลิปไป

จะบอกว่าให้เปลี่ยนการสอบ ทุกประเทศที่มีปัญหารวมถึงไทยเอง และทุกประเทศที่มีปัญหาก็ไม่ได้ใช้ระบบสอบเข้าเหมือนกันแต่มันก็ยังมีปัญหาเดียวกัน ปัญหามันไม่ได้เกิดจากจุดเดียว ยิ่งเป็นเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อด้วยแล้วยิ่งแก้ยาก แต่การแก้ปัญหาเรื่องเรียนพิเศษนี่ก็ช่วยเรื่องปัญหาค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้เยอะ ไม่ใช่ว่าทั้งชีวิตเลี้ยงลูกแล้วต้องหาเงินมาทั้งชีวิตเพื่อให้เรียนพิเศษอีก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นตอความเหลื่อมล้ำ

มันดีกว่าที่จะเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งที่ทำได้ทันที และเป็นสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลจีนทำได้ในขณะที่เกาหลีใต้ทำไม่ได้ ทำไมประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่มีปัญหานี้ต้องพยายามแก้ไขจุดนี้ทั้งๆ ที่ต้องเสีย GDP ตั้งเยอะ ก็คงไม่ต้องพูดอะไรมากในคลิปก็บอกอยู่

เกาหลีเคยพยายามแบนเรื่องการทำเงินจากการติวสอบ แต่ก็ไม่ได้ผล จนต้องปรับเปลี่ยนวิธี เป็นการเรียนเสริมหลังเลิกเรียนถึงได้ผลดีขึ้น(แต่อันนี้จีนก็ทำ)

อันนี้ในคลิปก็บอกอยู่ทำไมถึงสรุปแบบนั้นไปได้ เกาหลีใต้ทำไม่ได้ ไม่ใช่ไม่ได้ผล สิ่งที่เกาหลีใต้ทำไม่ได้เพราะควบคุมตลาดมืดไม่อยู่ และเรื่องของนายทุน ซึ่งรัฐบาลจีนไม่แคร์นายทุนและเราก็รู้อยู่ว่าเขาโหดจัดเรื่องการควบคุม ปัจจุบันเกาหลีใต้ก็ยังคงมีปัญหาอยู่ คือ household income ก้อนใหญ่เลยที่ต้องจ่ายค่าเรียนพิเศษให้ลูกอยู่ดี และธุรกิจเรียนพิเศษนี่ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลมาก

2.

การรับเข้ามหาลัยฝั่งตะวันตกดูมีประสิทธิภาพ

อันนี้กว้างมาก เพราะแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน แต่ละมหา'ลัยก็ไม่เหมือนกัน ถ้าของ US ก็ออกแนวธุรกิจ ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศมีเงินก็เข้าได้ Click ส่วนถ้าอยู่แถวๆ นั้นก็ได้ทุนและโควต้า

ผมบอกได้ตรงๆ ว่าการรับเข้ามหา'ลัยนี่มันไม่ใช่ประเด็นหลักเลย คุณเองโฟกัสผิดประเด็น ประเด็นหลักๆ ก็คือวัฒนธรรมความเชื่อ และสภาพสังคม ซึ่งในคลิปที่ผมให้ดูก็บอกกรณีของเยอรมันและเกาหลีใต้ไว้แล้วเรื่องอาชีวศึกษา แต่วัฒนธรรมความเชื่อเอเชียเราเน้นอุดมศึกษามากเกินไป เรื่องระบบสอบเข้านี่ไม่ใช่ปัญหาหลักด้วยซ่ำ และอย่างที่ผมพูดไป จะเปลี่ยนให้ตายยังไงมันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเรื่องเรียนพิเศษหรือแย่งกันสอบเข้า (จริงๆ เกาเข่านี่ไว้จำกัดจำนวนคนที่สอบเข้าได้ เพราะขนาดทำโควต้าแล้วจำนวนสถานศึกษาหรืองานที่รองรับในอนาคตก็มีไม่พอ)

เรื่องวัฒนธรรมความเชื่อนี่แก้ยากที่สุด ขนาดเรื่อง birth rate ปัจจุบันจีนก็ยังแก้ไม่ได้ ซึ่งอย่างที่ผมบอกมันต้องใช้เวลาและแก้ทุกจุดซึ่งก็ทยอยทำเรื่อยๆ อันนี้คิดว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่ไม่ใช่เรื่องเกาเข่าที่คุณย้ำแล้วย้ำอีกเหมือนเป็น holy grail ของปัญหาทั้งหมดซะจนผมว่าเกลียดขนาดนี้ก็เอา nuke ลงซักลูกเลยดีกว่า นี่ขนาดไม่ต้องไปสอบเองนะเนี่ย

ปัญหาจริงๆ ของฝั่งอเมริกาน่าจะเป็นเรื่องนี้มากกว่า อันนี้ต้องไปดูงานยุโรป แต่พอจะทำก็โดนกลุ่มนายทุนขัดขวางและโดนโจมตีทางการเมืองว่าเป็นคอมมิวนิสต์

3.

ผลงานการวิจัยต่างๆ ก็เป็นอันดับต้นๆ ของโลกโดยตลอด

อันนี้ผมว่ามันเหมือนปัญหาไก่กับไข่ ถ้าเปิดมาก่อนมีผลงานและชื่อเสียงมาก่อนในยุคที่ประเทศอื่นยังเพิ่งมีมหา'ลัยและยังต้องส่งคนไปเรียนต่างประเทศ มหา'ลัยนั้นๆ ก็จะดึงดูดคนได้มากกว่า และมีทุนวิจัยจากบริษัทต่างๆ เข้ามา หรือมีโครงการใหญ่ๆ ในประเทศก็เข้าไปร่วมได้ง่าย เช่น CERN เพราะงั้นก็ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและความเจริญในประเทศด้วย

ปัญหาต่อมาคือประโยคที่ว่า "อันดับต้นๆ" อันนี้จะประเมินยังไง ตัวอย่างเช่น งานวิจัยที่ดีกว่าต้องช่วยชีวิตคนได้มากกว่า เช่นการแพทย์? หรือการค้นพบใหม่ๆ เกี่ยวกับ Physic หรือ Computer Science ที่จะช่วยให้ AI คิดเองได้? ซึ่งหลายๆ งานวิจัยก็อาจจะไม่มีประโยชน์ในปัจจุบันเลย แต่อาจจะสำคัญในอนาคตก็ได้

ถ้าเอา Top Pick ของ Nature ปีก่อนก็มีงานวิจัยกระจายอยู่ทั่วโลก แล้วต้องนับของเก่าขนาดไหน เพราะงานใหม่ๆ ก็มีของที่ดีและประเมินค่ากันตรงๆ ไม่ได้เพราะอยู่กันคนละ field บางที่เด่นด้านนี้ อีกที่เด่นอีกด้าน และมีจากทั่วทุกมุมโลก

หรือจะต้องดูที่ Ph.D student ซึ่งแต่ละคนก็มีที่มาจากแต่ละแห่ง ในโลกของ Ph.D นี่มัน international มากซะจนระบบสอบเข้าไม่สำคัญเลย ซึ่งก็มาจบปัญหาเดิมคือไก่กับไข่ คนถนัดด้านไหนก็เลือกมหา'ลัยที่มีชื่อเสียงด้านที่ตัวเองถนัด เพราะเปิดมานาน รุ่นก่อนหน้านั้นก็อยู่ในลูปเดียวกัน คือมีทุนวิจัยหรืออุปกรณ์ตรงสาย หรือจะนับที่ nationality ตัวอย่างเช่นงานวิจัยด้าน AI ถ้าไปหาอ่านงานวิจัยนี่เป็นคนจีนซะส่วนใหญ่เลย แต่ไม่ใช่ทุกมหา'ลัยจะมีทุนหรืออุปกรณ์ให้ใช้ ก็ต้องไปที่ๆ มีพร้อมด้านนี้

หรือจะนับรางวัลโนเบลซึ่งแต่ละคนก็ไปสอนมาหลายที่ อาจจะโดนล็อคตัวด้วยเรื่องทุนวิจัยหรืออุปกรณ์ที่มี แต่ผมว่ามันเกี่ยวกับบุคคลมากกว่าตัวมหา'ลัยเองสำหรับจุดนี้

งานวิจัยต่างๆ จากทุกๆ สาขาในทุกวันนี้นี่มีออกมาเยอะมากจากทั่วทุกมุมโลก อันดับต้นๆ ในแต่ละสาขาก็มีให้เห็นจากทุกที่ ถ้าวัด apple to apple ไม่ได้ แม้กระทั่งในสาขาเดียวกันก็แยกย่อยออกไปอีก ก็วัดที่จำนวนไม่ได้เช่นกัน บางที่อาจจะออกมาเยอะ บางที่น้อย แต่ทุกงานวิจัยก็อาจไม่ได้มีความสำคัญทันทีและอาจจะต้องการต่อยอดในอนาคต ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของงานวิจัย

4.

ซึ่งผมก็เคยบอกไปแล้วว่าทำแค่นี้(แบบที่จีนออกข่าวห้ามนู่นนี่)มันไม่ช่วยอะไรตราบใดที่ระบบการสอบเข้า มันยังเป็นแบบเดิม

เมื่ออ่านจบแล้วทราบปัญหาที่แท้จริง คิดว่าการเปลี่ยนระบบสอบเขาจะช่วยแก้ปัญหาได้ทันทีและเห็นผลทันตาไหม? ไม่ต้องอะไรมาก เอาประเทศเราเอง จะหยุด fever ที่ว่าทุกคนต้องได้ ป.ตรี ไหม

ก็อาจจะเป็นcultureแบบอาเซียนก็ได้มั๊ง มีปัญหาเหมือนๆกันหมด

จริงๆ คุณก็คงรู้ปัญหาจริงๆ อยู่แล้วล่ะ ถึงประโยคนี้จะใช้คำว่า "อาจจะ" ก็เถอะแต่ความเกลียดรัฐบาลจีนน่าจะบังตา แล้วคุณคิดว่าการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและตรงจุดต้องทำยังไง จะแก้วัฒนธรรมความเชื่อของคนในสังคมได้ยังไง จริงๆ ในคลิปของ Asianometry ก็มีคำใบ้ให้อยู่แล้ว แต่การแก้ปัญหาเรียนพิเศษก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

บอกไว้ก่อนว่าอะไรดีผมก็ว่าดีอะไรแย่ก็ว่าแย่ ไม่ว่าจะตะวันตก ตะวันออก หรือที่ไหนก็ตามมันไม่มี ขาวกับดำ ถูกกับผิด หรือ คอมมิวนิสต์/ทุนนิยม เป็น Curse Word, จริงๆ ยุคนี้ก็ไม่มีประเทศไหนสุดกู่ไปทางใดทางหนึ่ง Asianometry เองก็เป็นคนไต้หวัน และเขาเองก็มองสิ่งดีที่และไม่ดีจากทุกประเทศแนะนำให้ดูคลิปเขาเยอะๆ อาจจะช่วยลดอคติลงได้

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 9 July 2022 - 17:06 #1254645 Reply to:1254602

ถ้าคุณอธิบายยาวๆแบบนี้ค่อยน่าถกเถียงหน่อยครับ ไม่ใช่โยนคลิปมาแล้วบอกให้ดู พอถามกลับก็ไล่ไปgoogleบลัฟว่าตัวเองรู้ แต่ก็ไม่สามารถอธิบายอะไรได้

1.ระบบสอบเข้าเป็นปัญหาหลัก เพราะมันชี้วัดความเป็นตายครับ การที่คนจีนสิบล้านคนต่อคิวสอบเข้า หรือมีหลายๆคนยอมซิ่วเป็นสิบปีเพื่อจะสอบเข้า มันก็บ่งบอกถึงปัญหาอย่างหนึ่ง ว่าการสอบแบบทีเดียวจบมันเป็นจุดกำเนิดของปัญหาแบบหนึ่ง แน่นอนแค่ยกเลิกสอบมันไม่ได้แก้ปัญหาทันที แต่ก็เป็นตัวชี้วัดอันหนึ่งเช่นในประเทศใหญ่ๆหลายที่ก็ยกเลิกการสอบแบบนี้ไปแล้ว

2.ผมมีเพื่อนจบphd ทั้งฝั่งจากเมกาและฝั่งยุโรป ผมคิดว่าถ้าUระดับต้นๆ ไม่ใช่แค่มีเงินก็เข้าได้แบบที่คุณคิดนะครับ(ถ้ายกแบบนั้นม.เอกชนในไทยก็มีเพียบเช่นกัน) อยากเล่านิดนึงว่ามีเพื่อนแบบ กลุ่มนึงเก่งแต่เด็กได้ทุนพสวท.หรืออะไรแนวๆนั้นตลอด อันนี้ไม่กังขาว่าโอกาสเกิดจากความเก่งและความพยายาม

แต่อีกเคส มีลูกของเพื่อนเพิ่งเข้าivy league ได้ก็ไม่เกี่ยวกับ"เงิน"(บ้านไม่ได้รวยอะไร) และก็ไม่ใช่เด็กแบบจีเนียสแบบได้ทุนตลอดอะไรตั้งแต่แรกอะไร ตอนอยู่ไทยสอบได้กลางๆครูยังคิดว่าไปต่อม.รัฐดังๆในไทยยังยากเลย แต่มาเรียนม.ปลายที่เมกาเพื่อเตรียมตัว(ครอบครัวเขาอพยพไปทำงานที่เมกา) ก็สามารถปรับตัวจนโดดเด่นขึ้นมาได้ เขียนessay น่าทึ่ง ซึ่งตรงนี้ต่อให้"กวดวิชา"ก็อาจจะยังยากเช่นกัน จนผมคิดว่าสภาพสังคมแวดล้อมในการศึกษามีผลต่อเด็กเยอะมาก อาจจะมากกว่าตัวเด็กอย่างเดียวด้วย(คือต้องบอกว่า เด็กจะได้โอกาสเฉิดฉาย ก็ต้องมีการสนับสนุนที่ถูกต้องด้วย)

แต่เรื่องวัฒนธรรม ผมและคุณก็ยอมรับว่าอาเซียนไม่เน้นเรื่องวิชาชีพอื่นๆนอกสายมหาลัย ก็เลยเกิดปัญหาแย่งชิงเข้ามหาลัย ซึ่งผมก็คิดว่าการแก้ปัญหาด้วยการลดกวดวิชา ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรโดยตรง แค่สร้างภาพว่าลดความเครียดของเด็กลงเท่านั้น? แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริง

ของไทยเองเคยเป็นปัญหามาก แต่ปัจจุบันก็ลดลง ส่วนหนึ่งเพราะอัตราการเกิดต่ำลง และเพราะเด็กยุคนี้มีทางเลือกในอาชีพเยอะขึ้น อ่านที่ไหนสักที่(ไม่มีอ้างอิงนะอาจจะจำผิด) เด็กม.ปลายครึ่งนึงไม่คิดจะเรียนต่อมหาลัย แล้วรีบหางานทำกันมากขึ้นกว่าสมัย10-20ปีก่อนเยอะ แต่อันนี้คิดว่าไม่ใช่เพราะไทยแก้ปัญหาได้ แต่เป้าหมายมันเปลี่ยนไปเพราะสภาพเศรษฐกิจในช่วงสิบกว่าปีหลังรบ.ทหารที่ผ่านมามากกว่า คือเด็กมองว่าธุรกิจขนาดใหญ่(ที่ต้องการวุฒิปริญญาหรือวิชาชีพเฉพาะ)ไม่มีอนาคตและไม่มั่นคง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมในไทย ที่กำลังsunsetแล้วก็ว่าได้ ไปเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันดีกว่า เสียเวลาเรียนไปทำไม?

3.งานวิจัยมีผลจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศครับ ทำไมมหาลัยใหญ่ในเมกาแค่แห่งเดียวก็มีงบประมาณมากพอๆกับประเทศไทยได้? คุณคิดว่าที่อื่นเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่? และมหาลัยใหญ่ๆเขาบริการสังคมเพื่อรับเงินสนับสนุนมากจนเรียกว่าเป็นpartnerทางธุรกิจ เพราะมันต่อยอดกันได้ ไม่ได้ผูกขาดรอรับเงินจาก"รัฐ"อย่างเดียว เงินทุนส่วนใหญ่ของม.ใหญ่ๆในเมกามาจากการบริจาค (แต่ฝั่งยุโรปอาจจะมาจากEUรวมๆมากกว่า เช่นCERN)

เรื่องนับงานวิจัย คุณจะแยกยิบย่อยไประดับfield ระดับหัวข้อก็แล้วแต่ แต่โดยรวมมันก็พอจะเห็นชัดว่างานวิจัยมาจากที่ไหนมากที่สุด (ยังดีคุณไม่อ้างเหมือนสื่อของจีน ที่อ้าง"เชื้อสาย"ว่าคนอเมริกันเชื้อสายจีนไปทำงานวิจัยในสหรัฐได้ดี)

AI จีนต้องยกให้ครับ เพราะทำงานวิจัยโดยไม่ต้องคำนึงถึงจริยธรรม หรือสิทธิมนุษยชนอะไรนี่นาพูดตรงๆนะ ที่อื่นเลียนแบบไม่ได้เลย มันผิดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นเขียนแผนงานวิจัยเลยด้วยซ้ำ เคยอ่านงานวิจัยที่มาทำเป็นsolutionของหัว...พี่แกทำวิจัยด้วยการจดจำใบหน้า คนเข้าออกสถานีรถไฟแห่งหนึ่งทุกคนเป็นเวลาหนึ่งปี คือแค่เริ่มต้นคิดก็ผิดกฎหมายหลายข้อทางยุโรปแล้ว

แต่ผมงงที่คุณคิดว่า ผลงานขึ้นกับ"คน"มากกว่ามหาลัย ก็อาจจะจริงบางส่วน แต่ทำไมไม่สงสัยล่ะครับว่า ทำไม"คนเก่งๆ"ถึงได้ไปรวมกันอยู่ในมหาลัยดังๆในเมกาและยุโรป? บังเอิญ? มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอกครับ การสนับสนุน งบวิจัย การลงทุนของสถาบัน โครงสร้างสังคม พวกนี้เป็นสิ่งดึงดูดคนเก่งให้เข้าไปร่วมครับ ผมเห็นคนตั้งกระทู้ถามในพันทิป ว่าถ้าไทยจ้างอาจารย์เก่งๆมาแล้วจะได้ผลงานวิจัยเท่าเมกา ญี่ปุ่นหรือไม่? ด้วยโครงสร้างสถาบันการศึกษาแบบปัจจุบัน บอกเลยว่ายาก แม้แต่งบจะจ้างยังไม่น่าจะมีพอ(เราคงไม่คิดว่าจ้างแค่คนสองคนแล้วจะมีผลพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินนะครับ)

เรื่องงานวิจัยใช้จริงไม่ได้ เราไม่ได้พูดถึงโครงงานระดับอาชีวะนะครับ แต่เทคโนโลยีขั้นสูงก็เป็นผลจากงานวิจัยเกือบทั้งนั้น แค่อาจต้องรอ5-10ปีกว่าจะออกมาเป็นproduct

4.เอาจริงๆ ข่าวต้นทางของเรื่องคือจีนพยายาม"กีดกัน"ครูต่างชาตินะครับ ประกาศ คำสั่ง เน้นย้ำเรื่องห้ามครู หรือบ.เอกชนต่างชาติ รวมไปถึงเอกชนห้ามทำรายได้จากการสอนยกเว้นไม่แสวงหากำไร ซึ่งมันกว้างมากๆ กลายเป็นให้องค์กรของรัฐเท่านั้นที่ยุ่งเกี่ยวกับการศึกษาได้?

ถ้ามองแบบความเป็นจริงก็จะเห็นการเลือกปฎิบัติ ไม่จำเป็นต้องอคติ แต่รัฐที่แทรกแซงโดยเลือกแค่บางกลุ่ม หรือแม้แต่สกัดทุนจีนที่เริ่มกระด้างกระเดื่องแบบแจ็ค หม่า มันก็พอจะเห็นนัยยะทางการเมืองชัดเจนมากๆอยู่แล้ว

ยกเว้นจะคิดว่าท่านผู้นำคิดดีแล้ววางแผนแล้ว ไม่เคยทำอะไรผิด แบบนี้ก็คงไม่รู้จะพูดอะไรต่อ

By: ECOS
Windows
on 30 July 2022 - 22:54 #1256678 Reply to:1254563
ECOS's picture

คือไรหว่า จู่ก็โยนคลิปที่ context ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันเข้ามา
บอกว่ามาจากอนาคต แล้วพูดเรื่องอดีต
งง???

By: horakung
iPhoneAndroidWindows
on 21 November 2021 - 20:03 #1232216
horakung's picture

คิดว่ามันจะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ เพราะคนที่มีเงินจะจ้างติวเตอร์มาสอนที่บ้านแทน
ส่วนคนไม่มีก็จะเรียนยากขึ้น เพราะไม่ได้ติว หรือเพราะราคาจะแพงขึ้นจากการต้องให้มาสอนตัวต่อตัว
เพราะติวเตอร์แบบเรียนรวมที่ราคาพอไหวหาไม่ได้
แต่คือไม่ได้แก้เรื่องอัตราการการแข่งขันของเด็ก ทำให้อยากสอบผ่าน สอบได้ก็ต้องเรียนแพงขึ้นแทน
คนไม่ได้เรียนหรือเงินไม่พอก็ไม่ไหวเหมือนเดิม

By: moonoiz on 21 November 2021 - 21:20 #1232227 Reply to:1232216

เห็นด้วยครับ กลายมาเป็น personal tutor แทน เฉพาะคนรวยที่เข้าถึง
การที่สถาบันกวดวิชาเป็นที่นิยม มันหมายถึงการศึกษาประเทศนั้นมีปัญหามากกว่าครับ
ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศมันไม่ได้มีปัญหาแบบนี้
การไปแก้ปัญหาว่าห้ามมีสถาบันกวดวิชามันเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุมากกว่า
ควรจะดูว่าทำไมเด็กๆถึงแห่กันไปเรียนที่สถาบันกวดวิชามากกว่า

By: audy
AndroidUbuntu
on 22 November 2021 - 06:53 #1232248
audy's picture

แข่งกันขนาดนั้น ทำแบบนี้จะได้ผลจริงเหรอ
หรือแค่แผนควบคุมเนื้อหา?

By: rainhawk
AndroidWindows
on 22 November 2021 - 09:12 #1232256
rainhawk's picture

ไม่เข้าใจ ติวออนไลน์ไม่ได้ ติวส่วนตัวอยู่ดี
ไม่ประกาศไปเลยการติวเตอร์ผิดกฏหมาย
เท่าเทียมกันแน่นอนแบบนี้

By: api on 22 November 2021 - 10:58 #1232311

การศึกษามันล้มเหลวตั้งแต่ ต้องระบุว่าจบมาจากที่ไหนเป็น Profile เข้าทำงานล่ะ คนมันถึงต้องแย่งกันเข้า
(บางที่ทำอาจไม่ถือ แต่ก็ไม่ใช่ส่วนใหญ่อยู่ดี)

By: 7elven
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 22 November 2021 - 11:16 #1232320 Reply to:1232311

แต่กระบวนการคิด ของคนที่จบจากที่ต่างกัน มันไม่เหมือนกันนะครับ ยิ่งคุณภาพต่างกันยิ่งเห็นได้ชัดถึงกระบวนการคิด

By: impascetic
Android
on 22 November 2021 - 12:19 #1232340 Reply to:1232311

การจะรับคนเข้ามาทำงานในองค์กร มันต้องคัดเลือกครับ ซึ่งการจะคัดใครก็ไม่รู้มาทำงานมันก็ควรจะมี criteria เบื้องต้นที่มันพอจะเชื่อถือได้ ซึ่งการศึกษามันพอจะใช้คัดเบื้องต้นได้บ้าง โอเคมันไม่ 100% แต่อย่างน้อยมันก็คัดตัวเลือกให้แคบลงได้ จากประสบการณ์ส่วนตัว สถาบันการศึกษาก็มีผลกับระดับความคิดความอ่านของคนอยู่บ้างครับ

By: จักรนันท์ on 23 November 2021 - 08:42 #1232444 Reply to:1232311

ผมออกความเห็นตามจริงของผมในฐานะนายจ้างนะครับ
ผมดู "สถาบันที่จบมา" เพื่อประเมิน attitude เท่านั้นแหละครับ
ถ้าเป็น "น้ำเต็มแก้ว" ผมไม่เอาเด็ดขาด! งานผมไม่ใช่งาน routine

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 22 November 2021 - 11:50 #1232331
btoy's picture

บ้านเราเองก็หนัก ไม่รู้ว่าจะมีวันที่หันกลับมาพัฒนาให้ถูกทางได้มั้ย
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน: ครูเก่งมีน้อย เพราะระบบ+รายได้สู้อาชีพอื่นไม่ได้ แถมในระบบเองก็หลงทางไปกับวิทยฐานะที่ไม่ได้วัดกันที่ใครสอนเด็กได้สัมฤทธิ์ผลมากกว่ากัน แต่เป็นแค่หมึกบนกระดาษที่แทบไม่ก่อประโยชน์ต่อเด็ก
- การศึกษาระดับสูง นอกจากแนวคิดการสอนที่ไม่ได้เน้นกระบวนการคิด การแก้ปัญหาเหมือนประเทศที่เค้าพัฒนาตรงนี้แล้ว สาขาวิชาชีพที่เรียนยังไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน อันนี้ก็หนักหนาสาหัส เพราะต้องแก้ทั้งระบบ


..: เรื่อยไป

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 22 November 2021 - 18:40 #1232390 Reply to:1232331

เม้นต์นี้เห็นจุดอ่อนได้ชัดเจนที่สุดละ ที่ผมเคยสัมผัสมา บางคนเคยเป็นอาจารย์พิเศษแต่พอมาเข้าระบบครูปุ๊บ burnout เลย หมดไฟไปกับกองเอกสารและวิทยฐานะ ส่วนระดับมหาวิทยาลัยนี่ผมไม่ปฏิเสธเลย มันตรงจริงๆ

By: 0FFiiz
Windows PhoneAndroidWindows
on 22 November 2021 - 23:02 #1232411 Reply to:1232331
0FFiiz's picture

จริง ๆ ครูนี่ สอบเข้ายากมากเลยนะครับ กรณีบนรรจุอะ
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอัตราจ้างซะเยอะที่จบใหม่ ๆ มา

จริง ๆ ราชการสอบเข้ายากมาก ๆ หมดเลย จะบอกว่าไม่เก่งก็แปลก ๆ
แต่ผมแอบแปลกใจมากสุด คือทำไมคนที่อุตส่าสอบเข้าไปได้
สภาพถึงกลายเป็นแบบนั้นกันนะ . . . . . .

By: Azymik on 22 November 2021 - 23:21 #1232417 Reply to:1232411

น้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำครับ เว้นแต่จะได้เจอปั๊มน้ำดีๆ ซึ่งผมว่าหาได้ยาก...

By: PriteHome
ContributorAndroidWindows
on 25 November 2021 - 08:51 #1232688
PriteHome's picture

ถ้ากลัวติวเตอร์ทำให้คนเหลื่อมล้ำ รัฐก็จ่ายเงินให้ติวเตอร์ไลฟ์สอนฟรีไปเลยสิ ใครยอดวิวเยอะก็จ่ายหนัก