Tags:
Node Thumbnail

เหตุการณ์รถไร้คนขับของ Uber ชนคนเมื่อปี 2018 นับเป็นเหตุการณ์รถไร้คนขับชนคนจนถึงแก่ชีวิตเป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมการความปลอดภัยคมนาคม (National Transportation Safety Board - NTSB) ได้ปล่อยรายงานเบื้องต้นหลังสอบสวนไปสองเดือนหลังจากนั้น ตอนนี้รายงานฉบับเต็มก็ออกมาแล้ว

รายงานระบุว่ารถของ Uber นั้นตรวจจับวัตถุด้วยเซ็นเซอร์ 3 ระบบร่วมกันคือ lidar (เซ็นเซอร์แสงเลเซอร์), เรดาร์, และกล้องถ่ายภาพ เมื่อจับวัตถุพบแล้ว ระบบจะจัดหมวดหมู่วัตถุ โดยอาจเป็นยานพาหนะ, คนเดินถนน, รถจักรยาน, หรือหากไม่สามารถจัดประเภทได้ก็จะจัดเป็นวัตถุอื่นๆ โดยประเภทของวัตถุนี้จะใช้เลือกกระบวนการติดตามและคาดเดาทิศทางวัตถุ เช่น หากพบยานพาหนะบนถนนก็จะคาดว่าโดนทั่วไปจะขับรถไม่ย้อนศร และน่าจะพยายามจับตามเลนถนน

ปัญหาของซอฟต์แวร์ Uber คือทุกครั้งที่วัตถุถูกจัดประเภทใหม่ ประวัติการเคลื่อนที่จะหายไปและระบบจะพยายามคาดเดาทิศทางใหม่ทุกครั้ง

เซ็นเซอร์ตรวจพบคนเดินเท้าตั้งแต่ 5.6 วินาทีก่อนการชน โดยจัดประเภทเป็นยานพาหนะที่เส้นทางไม่ทับกับตัวรถ จากนั้น 3.8 วินาทีก่อนชน ระบบตรวจจับเป็นยานพาหนะสลับกับวัตถุอื่นๆ ส่วนเส้นทางที่ตรวจได้ก็สลับกันระหว่างอยู่นอกเส้นทางกับทับเส้นทางรถ ก่อนการชน 1.2 วินาทีจึงยืนยันว่าอยู่ในเส้นทางรถเต็มๆ

เมื่อระบบยืนยันได้ว่าจะชนแน่ๆ ที่ 1.2 วินาทีก่อนการชน ระบบหาเส้นทางหักหลบและพบว่าไม่มีทางหักหลบทัน ระบบจึงยับยั้งการเบรกฉุกเฉินแม้ว่าการลดความเร็วฉุกเฉินในตอนนี้อาจจะรักษาชีวิตคนข้ามได้ก็ตาม ระบบเริ่มเบรกเองก่อนชน 0.2 วินาที

Volvo XC90 ที่ Uber ใช้งานมีเรดาพร้อมระบบเบรกอัตโนมัติช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่เรดาร์ของ XC90 ใช้คลื่นย่านเดียวกับเซ็นเซอร์ของ Uber ทำให้ทาง Uber ตัดสินใจปิดระบบนี้ไป

หลังการสอบสวน Uber พยายามแก้ปัญหาเกือบทั้งหมด โดยเปลี่ยนคลื่นหลบเรดาร์ของ Volvo และกำลังทำงานร่วมกับ Volvo ว่าควรจัดลำดับความสำคัญของระบบเบรกอัตโมัติอย่างไร, ระบบจะไม่ยับยั้งการเบรกฉุกเฉินแม้หลีกเลี่ยงการชนไม่ได้, เพิ่มขีดจำกัดการเบรกสูงสุดของระบบอัตโนมัติ, จำทิศทางวัตถุแม้จัดหมวดหมู่ใหม่, และเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดหมวดหมู่ให้แม่นยำขึ้น

ที่มา - NTSB, ArsTechnica

No Description

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: gololo
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 10 November 2019 - 01:40 #1136790

ถ้ากวนได้แบบนี้กลัวแต่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือแกล้งหรือตบทรัพ จากแก้งปาหินหรือแก้งเบียดชนเป็นแก้งไลดา

By: Remma
AndroidWindows
on 10 November 2019 - 04:02 #1136794
Remma's picture

ก็รู้อยู่แล้วแหละว่าระบบยังเพิ่งเริ่มทำ มีความผิดพลาดเยอะแยะแน่นอน ถึงได้ต้องจ้างคนมานั่งหลังพวงมาลัย แต่ ก็ดันก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือ

แล้วก็อยากรู้ว่ากรณีนี้ ใครต้องได้รับโทษ ระหว่างคนนั่งหลังพวงมาลัย กับ วิศวกร+บริษัท แล้วถ้าตัดสินคดีแล้วจะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับรถยนต์ไร้คนขับในอนาคตหรือปล่าว

By: 24arteezy on 10 November 2019 - 17:48 #1136811 Reply to:1136794

น่าจะเพิ่มในอนาคตนะครับ ตอนนี้ผมว่า บริษัทยังคงรับผิดชอบไปเต็ม ๆ ก่อน
ในอนาคตอาจจะเพิ่มฟังก์ชั่น ปรัชญาการขับรถ เช่น ซื้อรถมาแล้วเลือกเลย ในกรณีฉุกเฉินมี 2 แบบ
1.รักษาคนขับ
2.รักษาส่วนรวม (เสียสละตัวเอง)

By: i_kyle
Android
on 10 November 2019 - 05:44 #1136795

วิ่งเร็วขนาดไหน ทำไมคนไม่หลย

By: langisser
In Love
on 10 November 2019 - 22:00 #1136818 Reply to:1136795

ถามเร็วไปไหนครับ ผมว่าในเนื้อข่าวมี link ที่มีข้อมูลภาษาไทยอย่างละเอียดนะครับ น่าจะตอบคำถามคุณได้

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 November 2019 - 07:45 #1136827 Reply to:1136795
lew's picture

40-50 ไมล์ต่อชั่วโมงก็ 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ ก็ไม่เร็วมาก ถ้าพูดแบบไทยๆ ก็คงบอกได้ว่าคนข้ามประมาทด้วย (รายงานระบุว่ามีทางข้ามอยู่ข้างหน้าไม่ไกล) แต่อย่างที่รายงานระบุ เหตุแบบนี้ถ้าเป็นรถปกติแม้จะมีอุบัติเหตุมันก็ไม่ควรถึงชีวิต


lewcpe.com, @wasonliw

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 November 2019 - 14:47 #1136806

โอ้โห ผิดเต็ม ๆ เลย


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: horakung
iPhoneAndroidWindows
on 10 November 2019 - 17:17 #1136809
horakung's picture

จากภาพผมว่าเป็นคนก็ไม่น่าจะเบรคทัน เลยก็ต้องมาเทียบว่า ในสภาวะแบบนั้นคมนาคมเค้าจะมองว่าหากเป็นมนุษย์ขับจะเบรคทันไหม เพราะมันมืดมากจริง

By: 24arteezy on 10 November 2019 - 17:42 #1136810

ได้อ่านบทความหนึ่ง เขียนว่า การจัดลำดับความสำคัญของรถยังพัฒนาอีกมาก
เห็นว่า ในกรณีนี้เกิดจาก คนที่ถูกชนไม่ได้ข้ามตรงทางม้าลาย (ไม่ได้ปฏิบัติตามกฏจราจร) << AI มันเทรนด้านนี้มาโดยตรง เลยจัดลำดับความสำคัญของคนข้ามถนน แต่ไม่ได้ปฏิบัติกฏจราจรน้อยลงไป
กูรูก็มีการเถียงกันเรื่องนี้อยู่ เช่น อีกคนให้ออกแบบเมือง และการจราจร สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับขี่อัตโนมัติ ให้มนุษย์ปฏิบัติตามกฏจราจร อีกฝ่ายก็ให้มนุษย์เป็นใหญ่กว่า
แต่ล่าสุดกำลังเพิ่มระบบสื่อสารกะมนุษย์อย่างอื่นให้รถ เช่นการส่งสัญญาณแตร หรือไฟ

By: shawn joseph on 12 November 2019 - 02:22 #1136915
shawn joseph's picture

These firms like Uber have made our life much easier on one click we can book ride and can travel anywhere we wan't. But, as we all know that there are some pros and cons of every organization that they need to over look for, we are one of the best and provide Finest Essay Help in cheapest cost and rate visit our blog and try to gain some real time knowledge about every firm that are include in travelling.