Tags:
Node Thumbnail

ที่งาน Fintech Challenge 2018 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. คุณรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ขึ้นกล่าวเปิดงาน โดยพูดถึงตลาด ICO และเงินคริปโต ว่าได้ผ่านจุดที่ "เห่อแบบบ้าระห่ำ" ไปเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นไปตามกระบวนการที่ตลาดจะพัฒนาไป

คุณรพีระบุว่าอีกมุมมองสุดโต่งสองด้าน ที่ด้านหนึ่งต่อต้านว่าสินทรัพย์คริปโต ว่าเป็นแหล่งการโกง น่าเกลียดน่ากลัว กับอีกด้านที่คิดว่ามันจะมาแทนที่ตลาดไปทั้งหมด นั้นหายไปเยอะแล้ว และเข้ามาอยู่ตรงกลางมากขึ้น โดยเป็นวิวัฒนาการของตัวตลาดเอง ขณะที่ตลาดก็ยังต้องเรียนรู้อีกมาก

ในแง่ของการกำกับดูแล เขาระบุว่าก.ล.ต. เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้รับหน้าที่ให้กำกับดูแลในส่วนนี้ ที่ต้องสร้างสมดุลให้ทั้งการกำกับดูแลและการสนับสนุน

ที่มา - คำกล่าวเปิดงาน Fintech Challenge 2018 (บทถอดเทปอยู่ท้ายข่าว)

No Description

งาน FinTech Challenge ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว เพื่อกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านต่างๆ ทั้งการสร้างโชว์เคสสำหรับคนที่เราคิดว่าจะสามารถทำธุรกิจหรือมีไอเดีย ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรากำลังอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ภายใน ก.ล.ต.เอง เราเชื่อว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจเท่านั้นที่เราจะเปลี่ยนแปลงไปแบบคาดไม่ถึง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปมาก คือ การใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งถ้าถามว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอะไร แน่นอนว่า เทคโนโลยีมาแล้ว เราจะได้เห็นเทคโนโลยีรูปแบบต่างๆเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเรา และเป็นตัวที่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้สูงมาก จากโฆษณาบนรถไฟฟ้า เว็บไซต์หนึ่งทำให้คนสามารถเลือกโรงแรม ร้านอาหารได้ในราคาที่ถูกและถูกใจตัวเอง ในโฆษณายังบอกด้วยว่า คนกว่า 10 ล้านคนที่สามารถเข้าถึงรายการนั้น ๆ จึงเป็นคำถามว่าเมื่อไหร่ที่เทคโนโลยีนี้จะนำพาไปสู่การเปิดตลาดทุน เพราะตลาดทุนบ้านเรานั้นมีขนาดใหญ่มาก มี Market Cap 110% ของ GDP มูลค่าซื้อขายบางวันวิ่งไปถึง 6-7 หมื่น หรืออาจถึงแสนล้านบาทได้ แต่หากดูภาพจริงแล้วคนไทยเข้าถึงตลาดทุนน้อยมาก ถ้าดูแค่จำนวนคนจริงๆ ไม่ได้ดูแค่บัญชี คนที่ใช้งานตลาดทุนให้เป็นประโยชย์มีแค่ 3-4 ล้านคนเท่านั้นเอง ซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับประเทศที่มีประชาชนถึง 60 กว่าล้านคน เราเชื่อว่าเทคโนโลยีจะเป็นอะไรที่สามารถช่วยเปิดศักราชของการลงทุนให้เข้าถึงประชาชนได้ และไม่ใช่มีความสำคัญแค่ตลาดทุนเท่านั้น แต่เป็นสำคัญต่อประเทศของเรา หากประชาชนมีความรู้ในการบริหารการลงทุนของตัวเองได้ สร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้ทุกคนเกิดอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom) ใช้ตลาดทุนสร้างความมั่งคั่งของประเทศ ไม่ต้องพึ่งพากราฟอื่นๆ สร้างคุณภาพชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้ในบั้นปลาย นี่จึงถือเป็นโจทย์ที่สำคัญ

เช้านี้เราจะได้ฟังว่าแนวร่วมต่าง ๆ ว่ามองเรื่องนี้เป็นยังไง แม้กระทั่งคนเข้าประกวด ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าคนที่มีไอเดียพัฒนาโครงการเหล่านี้ สามารถที่จะวิเคราะห์ pain point ของผู้ใช้ได้จริงรึเปล่า และเมื่อแก้จุดนั้นสามารถที่จะทำให้คนติดใจกับระบบที่เขาพัฒนาขึ้นมาแล้วก็จะใช้แก้ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้จริงหรือไม่ ซึ่งถ้าทำได้ อาจจะไม่ใช่คนเพียง 10 ล้านคนอย่างที่เห็นในโฆษณา อาจจะมีคนเข้าถึงได้มากกว่า

อีกด้านหนึ่งก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตลาดของ ICO ซึ่งผมคิดว่าเราเพิ่งห่างจากจุดที่เราเรียกว่า การเห่อแบบบ้าระห่ำ เราผ่านจุดที่เรียกว่า ถ้าผ่านป้าย ICO คริปโตเคอร์เรนซี่ไป ก็จะมีคนเฮเข้าไปโดยที่ไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งจุดนั้นเราได้ผ่านมันมาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามกระบวนการการตลาดจะต้องมีการพัฒนา เราได้เห็นพัฒนาการทางด้านนี้ เห็นมุมมองของคนในแต่ละด้านจากการที่ยืนกันคนละจุด มีการแบ่งแยกชัดเจนยิ่งไปกว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเสียอีก ขณะที่บางรัฐมองว่าคริปโตเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าเกลียดน่ากลัว ไม่น่าสนับสนุน เป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยการโกง กับอีกด้านหนึ่งคนที่มองแบบสุดโต่งว่า คริปโตจะเป็นอะไรที่เข้ามาโอเวอร์เทคตลาด Positional ทั้งหมด และในที่สุดตลาดนี้ก็ไม่สามารถจะอยู่ได้ ถือว่าทั้งสองมุมมองนี้หายไปค่อนข้างเยอะแล้วก็เข้ามาอยู่ตรงกลางมากขึ้น ในการที่ทั้งสองข้างเดินเข้ามาหาตรงกลางมากขึ้นเป็นเพราะคิดเปลี่ยนความคิดรึเปล่า ก็อาจจะไม่เชิง อาจจะเห็นว่าจริงๆ แล้วเป็นวิวัฒนาการของตัวตลาดเอง ทั้งในด้านผู้เล่นและผู้ประกอบการ รวมไปถึงผู้ลงทุนในสิ่งพวกนี้ที่มองเห็นว่าการเก็งกำไรหรือการลงทุนแบบบ้าระห่ำโดยที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ เป็นอะไรที่ไม่สามารถจะสร้างความยืดหยุ่นให้กับเราได้ ตลาดพวกนี้เริ่มจากขนาดกลาง เด็กเข้าสู่วัยรุ่นและก็อาจจะก้าวกระโดดไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่มีเวลาเพียงแค่สั้นๆ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำให้ตลาดยั่งยืนแล้วก็เสริมกับองค์ประกอบในอนาคต เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วตลาดตรงนี้เป็นตลาดที่จะต้องเรียนรู้อีกเยอะมาก ทั้งในด้านผู้ประกอบการ ผู้ลงทุน แล้วก็คนที่มีส่วนร่วม แน่นอนที่สุดผมคิดว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงก็คือคนที่ทำหน้าที่ ติวเตอร์ เราเองก็ฝึกหัดเข้ามาให้จำกัดดูแลในส่วนของตลาดนี้ ก็จำเป็นมาที่จะปรับปรุงค่อนข้างเยอะ การปรับตัวไม่ใช่เพียงแค่การสร้างความรู้ลึก ต้องมี Mindset ในเรื่องของมุมมอง ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในตลาดมันจะนำความเปลี่ยนแปลงขอบเขตของผู้ร่วมอย่างไร ทั้งพฤติกรรมของผู้ลงทุน ผู้ประกอบการ คนที่เข้ามาเล่นใหม่ พวกนี้เป็นเรื่องในส่วนของ mindset ที่สำคัญมาก การที่เราต้องกำกับดูแลในสิ่งที่เป็น precision space เป็นเรื่องที่เราจะต้องคิดว่ามุ่งไปข้างหน้ามากน้อยแค่ไหน และเป็นเรื่องที่ Challenging มาก สำหรับร่างติวเตอร์ของเรา เพราะเป็นเรื่องใหม่ และเราเป็น กลต. ประเทศแรกของโลกเสียด้วยซ้ำ ที่ได้รับบทบาทหน้าที่ให้เข้ากำกับดูแลในส่วนนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังไม่กล้าทำ แต่ของเราไม่ได้ prospect เพราะเป็นหน้าที่เราที่ต้องก้าวเข้ามา และดำเนินการภายใต้บทบาทภาระหน้าที่ ซึ่งก็มีทั้ง 2 ด้านคือด้านกิจการกำกับ และสนับสนุน ความยากก็คือการต้องบาลานซ์ทั้ง 2 ด้าน รวมทั้งทำอย่างไร ที่จะต้องมีเครื่องมือต่างๆ ในที่จะพัฒนาให้ตลาด success ได้ เรื่องการสร้าง education และการสร้าง awareness เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะต้องมี insight และก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 10 November 2018 - 05:48 #1081284
panurat2000's picture

คนที่ใช้งานตลาดทุนให้เป็นประโยชย์มีแค่ 3-4 ล้านคนเท่านั้นเอง

ประโยชย์ => ประโยชนฺ์

เราเองก็ฝึกหัดเข้ามาให้จำกัดดูแลในส่วนของตลาดนี้

จำกัดดูแล => กำกับดูแล

By: syootakarn
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 10 November 2018 - 08:13 #1081287
syootakarn's picture

แล้วถ้าเกิดว่ามันยังไม่ผ่านจุดนั้นหละครับ มันแค่พักฐาน (มันต้องเรียนรู้อีกมาก)

By: checkmate95
ContributorAndroid
on 10 November 2018 - 12:01 #1081320 Reply to:1081287
checkmate95's picture

เหรียญเกือบครึ่งถูกควบคุมด้วยกลุ่มคนเพียง 1% เรียกว่าเดาใจเจ้าดีกว่าครับ ?

By: iambodin
Ubuntu
on 10 November 2018 - 10:16 #1081305

เขาระบุว่าก.ล.ต. เป็นประเทศแรกของโลก

เขาระบุว่าเป็น ก.ล.ต.ประเทศแรกของโลก