Tags:
Node Thumbnail

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา แอปเปิลอัพเดตผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ Apple Watch Series 4 ที่มีไฮไลท์คือการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram - ECG/EKG) สามารถตรวจหาความผิดปกติของการเต้นของหัวใจได้สร้างความฮือฮาและความตื่นตัวในแง่ของการมี ECG บนอุปกรณ์สวมใส่

แต่การมาถึงของ ECG บน Apple Watch ยังมีคำถามตามมามากมาย ทั้งความสามารถว่าอุปกรณ์เหล่านี้ให้ผลเทียบเท่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในสถานพยาบาลหรือไม่ ความน่าเชื่อถือว่าแม่นยำแค่ไหน ไปจนถึงประเด็นว่าเราควรจะเชื่อผลการตรวจ ECG บนอุปกรณ์สวมใส่มากน้อยแค่ไหน

Blognone จึงขอสัมภาษณ์ น.พ. กฤษฎา วิไลวัฒนากร อายุรแพทย์โรคหัวใจ (Cardiologist) โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยตรง เพื่อช่วยอธิบายและให้ความกระจ่างจากคำถามข้างต้นครับ

No Description

หลักการพื้นฐานของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 จุด

คุณหมอกฤษฎาอธิบายหลักการพื้นฐานว่า การเต้นของกล้ามหัวใจจะมีการสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาเป็นปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าทำให้ทราบว่า หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติหรือไม่ สม่ำเสมอหรือไม่ โดยจะแสดงออกมาในลักษณะของเวกเตอร์ไฟฟ้า และเป็นแนวทางให้กับแพทย์ในการวินิจฉัยว่าอาจเกิดโรคหรือความผิดปกติอะไรขึ้นได้บ้าง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตามมาตรฐานที่โรงพยาบาลจะติดตัววัดสัญญาณชีพจร (marker) บนร่างกายทั้งหมด 10 จุด (12-lead) เพื่อให้เห็นการวิ่งของกระแสไฟฟ้าทั้ง 4 ห้องหัวใจ และตำแหน่งของตัวตรวจจับแต่ละจุดก็ทำหน้าที่วัดการวิ่งของกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

No Descriptionน.พ. กฤษฎา วิไลวัฒนากร, อายุรแพทย์โรคหัวใจ (Cardiologist) โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

อุปกรณ์ ECG สำหรับผู้บริโภคเป็นการวัดแบบจุดเดียว (single-lead)

การตรวจ ECG บนอุปกรณ์ที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป (Portable/Consumer ECG) จะเป็นแบบ single-lead คือวัดกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียว จากมือขวาไปมือซ้ายเท่านั้น ดังนั้นการตรวจจะไม่ได้ภาพรวมของหัวใจทั้งหมด ช่วยบอกได้แค่ว่าจังหวะการเต้นปกติหรือไม่ มีเต้นผิดจังหวะหรือเปล่า

ส่วนอาการผิดปกติที่ ECG แบบ single-lead บ่งบอกได้คืออาการหัวใจเต้นพริ้วหรือเต้นระริก (Atrial Fibrillation) ที่ผนังหัวใจห้องบนเต้นเร็วกว่าหัวใจห้องล่าง ทำให้จังหวะการเต้นของชีพจรไม่สม่ำเสมอ (irregular) ซึ่งการตรวจ Atrial Fibrillation นี้ทำได้เฉพาะการตรวจคลื่นไฟฟ้าเท่านั้น การตรวจจับจากจังหวะการเต้นของหัวใจแบบเดิม อย่างบนสมาร์ทวอชหลายเจ้าที่ไม่มี ECG ทำไม่ได้แน่นอน

No Description

สิ่งที่ต้องระวัง: False Positive กับความแม่นยำของอุปกรณ์

การตรวจอาการหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial Fibrillation) บนอุปกรณ์สวมใส่เหล่านี้ ถึงแม้จะมีประโยชน์ในแง่ความสะดวก และช่วยผู้ป่วยให้รู้ตัวเองได้ไวขึ้นก็จริง แต่ยังไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือวินิจฉัยโรคเต็มรูปแบบได้ทีเดียว เพราะมีโอกาสเกิดผลบวกลวงหรือ False Positive ได้ กล่าวคือ สมาร์ทวอทช์อาจตรวจพบว่ามีอาการหัวใจเต้นพริ้ว แต่ความจริงคือไม่ได้เป็นอะไร

คุณหมอกฤษฎาอธิบายว่า ปกติหัวใจอาจเกิดอาการเต้นแทรกหรือมีการสร้างกระแสไฟฟ้าแทรกขึ้นมาเล็กน้อย นานๆ อาจจะมีครั้งหนึ่ง แต่อาจทำให้เครื่องตรวจวัดออกมาแล้วพบว่าช่องไฟของจังหวะการเต้นมีความผิดปกติและระบุว่าเป็นอาการของ Atrial Fibrillation ก็ได้ ทว่าเมื่อมาตรวจแบบ 12-lead กับแพทย์แล้วไม่พบความผิดปกติอะไร กลายเป็นผลบวกลวงไป ซึ่งก็อาจสร้างความกังวลกับผู้ป่วยหรือผู้ใช้งานที่เชื่อเทคโนโลยีจนเกินไปได้อีก ว่าทำไมผลบนอุปกรณ์เหล่านี้ถึงไม่ตรงกับที่โรงพยาบาล

No Description

คำแนะนำในการใช้งาน ECG บนนาฬิกาหรืออุปกรณ์แบบพกพา

คุณหมอยอมรับว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีประโยชน์ ช่วยให้ผู้ใช้ตรวจสอบตัวเองได้ดีมากขึ้น เมื่อพบปัญหาก็สามารถมาพบแพทย์ได้เร็วขึ้น แต่ข้อแนะนำคืออย่าไปยึดติดหรือกังวลกับมันมาก อุปกรณ์ชิ้นเดียวไม่สามารถบ่งบอกโรคได้ทั้งหมด หากมีปัญหาหรืออาการผิดปกติควรมาพบแพทย์ เพื่อซักประวัติหรือตรวจกับเครื่องมือมาตรฐานอื่นๆ เพิ่มเติม ส่วนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 lead ก็ควรตรวจเป็นประจำไปพร้อมๆ กับการตรวจร่างกายประจำปี และแนะนำว่าสำหรับผู้ที่มาอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ามาตรวจเช็คด้วยเครื่องวัด ECG ในโรงพยาบาล

No Description

อย่าลืมว่า ECG บน Apple Watch ยังไม่เปิดให้ใช้

สำหรับ Apple Watch Series 4 บริษัทแอปเปิลระบุว่า ณ ตอนนี้ใช้ได้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น (แถมเปิดให้ใช้ปลายปีด้วย) เพราะได้รับการรับรองในกลุ่ม Class II จาก FDA (อย. สหรัฐ) แค่ที่เดียว โดยในประเทศไทย เมื่อวางจำหน่ายฟีเจอร์ ECG จะถูกปิดไว้เป็นค่าดีฟอลต์ หากจะเปลี่ยนจาก Series 3 ไปเป็น Series 4 เพราะหวังฟีเจอร์นี้อาจจะต้องผิดหวัง คงต้องรอ อย. ของไทยรับรองและอนุญาตต่อไป

Get latest news from Blognone

Comments

By: sp on 26 September 2018 - 16:47 #1072939

ไม่น่ายากละมังครับ ขออนุญาตน่ะ

By: at1987
ContributorAndroidWindows
on 26 September 2018 - 21:30 #1073006 Reply to:1072939
at1987's picture

เท่าที่ทราบ เกณฑ์อย. บ้านเรา ถ้าเป็นปัจจุบันจะเข้ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ทั่วไป แต่ถ้าเป็นเกณฑ์ใหม่ Class II ต้องจดแจ้งรายการละเอียด ซึ่งมีขั้นตอน ใช้เอกสารและเวลามากกว่าครับ


My life and hobbies blog!

Technology and Gadget blog!

By: marshazz
AndroidUbuntu
on 26 September 2018 - 16:58 #1072942

"ไปจนถึงประเด็นว่าเราควรจะเชื่อผลการตรวจ ECG บนข้อมือมากน้อยแค่ไหน"

ค่อนข้างกำกวมไปหน่อยครับ เพราะการตรวจจริงๆ ใช้ปลายนิ้วสัมผัสที่ตุ่มเม็ดมะยม
แต่ตัวนาฬิกาอยู่บนข้อมือซึ่งแสดงผลตรวจ เป็นผมจะใช้คำว่า

"ไปจนถึงประเด็นว่าเราควรจะเชื่อผลการตรวจ ECG บนอุปกรณ์สวมใส่ที่ข้อมือมากน้อยแค่ไหน"

By: gift099
Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
on 26 September 2018 - 18:09 #1072956

ถามแบบโง่ๆนะ
ถ้าผมผมใส่ Apple Watch 4 ตัว ข้อมือ ซ้าย/ขวา ข้อเท้า ซ้าย/ขวา
แล้วเอาผลที่ได้ 4 จุดมาประมวลผล
จะทำให้แม่นมากขึ้นเยอะแค่ไหน ?

By: marshazz
AndroidUbuntu
on 26 September 2018 - 18:17 #1072959 Reply to:1072956

ตอบแบบโง่ๆ
เวลาตรวจเค้าใช้ปลายนิ้วครับ

By: langisser
In Love
on 26 September 2018 - 18:22 #1072960 Reply to:1072956

คิดว่าไม่ครับ เพราะสี่ตัวที่ว่ามันไม่ได้คุยกันมันก็วัดของใครของมันด้วย algorithm แบบเดิมๆต่อไป

By: Nozomi
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 26 September 2018 - 18:36 #1072968 Reply to:1072960
Nozomi's picture

คิดเห็นตามนี้เช่นกันครับ

By: kentaonline
iPhoneWindows PhoneBlackberry
on 26 September 2018 - 23:28 #1073031 Reply to:1072956

ไม่แน่นะครับ อาจจะตรวจได้แม่นยำมากขึ้น เพราะได้ทั้ง Lead aVR aVL aVF I II II ครับ เข้า Algorithm หน่อยก็ไม่ยากครับ
ที่เหลือก็คือประเด็นด้านสมรรถาพของเครื่องแล้วละครับ เพราะพวกนี้ตัว Noise จะเยอะมาก แค่ คนเราหายใจ กราฟอาจไม่สวยละครับ

สรุป ผมตอบว่า ได้ผลดีขึ้นแน่นอนครับ แต่อาจจะเทียบเคียงของจริงไม่ได้อยู่ดีครับ

By: titleds
AndroidUbuntuWindows
on 27 September 2018 - 10:11 #1073098 Reply to:1072956

เครื่องไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้เป็น bipolar lead ครับ ผมตอบว่าไม่แม่นขึ้น แต่ก็จะมีข้อมูลเยอะขึ้น

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 26 September 2018 - 18:33 #1072965
mr_tawan's picture

ที่นอนตรวจอยู่คือคุณ @nismod หรือเปล่าครับ :)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: nismod
TraineeWriteriPhoneAndroid
on 26 September 2018 - 19:34 #1072983 Reply to:1072965
nismod's picture

ไม่ใช่ค้าบ

By: specimen
Windows PhoneAndroid
on 26 September 2018 - 18:45 #1072971
specimen's picture

ดีใจ ที่มีบทความนี้ ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในการทำงานของอุปกรณ์นี้ ว่าใช้งานจริงได้ระดับไหน

By: Nozomi
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 26 September 2018 - 18:47 #1072972
Nozomi's picture

เอาจริงๆ wearable device หลายตัวในปัจจุบันบอกเลยครับว่าค่อนข้างไม่แม่น ทำให้ได้ข้อมูลจำนวนมากไปแต่ก็แทบจะขยะในทันที อุปกรณ์ที่วัดได้หลายอย่างในตัวเดียวมันมีความไม่แม่นเสมอ

พวกประเภทสายวัดข้อมือคำนวณ calories expenditure ได้นี่ เอามาเทียบกับ doubly-labelled water ทุกครั้งก็เพี้ยนมันซะทุกเครื่อง

ในขณะที่ถ้าเอาเทคนิคเก่าๆ Douglast bag ก็ให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่า แม้จะให้ข้อมูลได้แค่ CO2 Consumption rate ก็ตาม

ยังไม่รวมพวก smart scale ซึ่งพัฒนามาจาก dataset จำนวนน้อยมากหรือวิธีไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ

ทำให้รู้สึกสงสัยทุกครั้งว่าข้อมูลพวกนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม

By: Bluetus
iPhone
on 26 September 2018 - 18:51 #1072973
Bluetus's picture

ผ่านการรับรองของ FDA มาได้ ก็ต้องแม่นระดับนึงละแหละนะ

แต่สุดท้ายก็เป็นอุปกรณ์เอามาไว้เตือนให้ต้องไปโรงบาลนี่แหละ

หลายเคส ที่แค่ตัว HR ใน Apple Watch ก็ช่วยมาหลายชีวิตละ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 26 September 2018 - 19:10 #1072977

ยังสงสัยว่า Apple Watch แค่จุดเดียวมันแตกต่างจาก Pulse Oximeter ยังไง

By: tom789
Windows Phone
on 26 September 2018 - 19:42 #1072984

ใช้ได้ ระดับ หนึ่ง ไว้เตือน ว่า จะอะไร แต่ ต้องไปหา แพทย์ ตรวจโรค ประจำ ด้วย

By: pakakal
Windows Phone
on 26 September 2018 - 19:49 #1072988
pakakal's picture

บางอย่าง Apple ก็ทำเพื่อ marketing นะครับ

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 27 September 2018 - 11:01 #1073118 Reply to:1072988

FDA ที่อนุมัติให้ผ่าน เขาไม่ได้มองในแง่ marketing นะครับ

แต่ผมก็ชอบบทความนี้นะ ได้ความชัดเจนจากหมอมากขึ้น

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 26 September 2018 - 20:02 #1072992
Sephanov's picture

ฟีเจอร์นี้ยังไม่ปล่อยตัวจริงออกมาเลยรีบไปสัมภาษณ์กันซะละ น่าจะได้ลองใช้ก่อนแล้วค่อยคุย
ผมเองก็อยากรู้ว่ามันจะสู้ 12 leads ตามโรงพยาบาลได้รึเปล่า หรือแค่ใช้ดูเบื้องต้น (ซึ่งก็น่าจะอย่างหลังมากกว่า) แต่ก็ไม่รู้ว่าข้อมูลจะครอบคลุมในระดับไหน

By: Aoun
AndroidWindows
on 26 September 2018 - 22:03 #1073012 Reply to:1072992

ผมว่าดีแล้วที่ไปสัมภาษณ์มาก่อน จะได้เข้าใจระบบของมันมากขึ้นก่อนใช้งานจริง
และเมื่อมีมาทดลองเทียบกับของจริง จะได้รู้ถึงความแม่นยำมากขึ้น ผมว่าแพทย์ด้านนี้ก็คงอยากทดลองดูเหมือนกัน
เพราะหมอคงจะบอกคนไข้ได้เต็มปากว่าเป็นอย่างไร หวังว่าBlognone จะมีบทสัมภาษณ์หลังการทดลองอีกครั้งครับ

ปล.1 ถ้าผลจากแพทย์ผู้ทดลองเองออกมาดีหรือดีมาก ผมก็พร้อมซื้อให้ผู้อาวุโสที่บ้านใช้เช่นกัน
ปล.2 เห็นสายอวยเขามองว่า ระบบนี้เทพมาก ทำให้นึกถึงดราม่าสายอวยเทพ Apple map กับ C3 Technology ตอนนั้นนั่งอ่านสนุกจริงๆ

By: nismod
TraineeWriteriPhoneAndroid
on 26 September 2018 - 22:14 #1073013 Reply to:1072992
nismod's picture

อุปกรณ์ ECG แบบ hand-held หรือ single-lead มีวางขายทั่วไปนานแล้วนะครับ แอปเปิลเองก็บอกว่า Apple Watch คือ single-lead ECG ฉะนั้นมันไม่ต่างกับที่มีอยู่แล้วหรอกครับ แค่ว่าที่ขายๆ กันมันไม่ใช่ consumer products แบบนี้

By: tg-thaigamer
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 26 September 2018 - 22:37 #1073020
tg-thaigamer's picture

ไม่มีความเห็น รอใช้ก่อนดีกว่า 555+ ไม่ดีจริงค่อยว่า


มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 27 September 2018 - 10:55 #1073115
panurat2000's picture

และแนะนำว่าสำหรับผู้ที่มาอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ามาตรวจเช็คด้วยเครื่องวัด ECG ในโรงพยาบาล

ผู้ที่มาอายุ ?

ตรวจเช็ค => ตรวจเช็ก

By: ่jisgard on 27 September 2018 - 11:36 #1073125

จะติดตัววัดสัญญาณชีพจร (marker) บนร่างกายทั้งหมด 12 จุด (12-lead) -> 10 จุด (12 leads)

FDA approved ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องแม่นยำแล้ว

By: 255BB
Android
on 27 September 2018 - 15:06 #1073171

แม้แต่วัด ECG ใน รพ ยังวัดได้ไม่หมดเลย จะตรวจละเอียดกว่านั้นต้องวิ่งสายพาน หรือถ้างบเยอะก็ฉีดสี

By: zogzag on 27 September 2018 - 15:34 #1073180
zogzag's picture

รอดูรีวิว

By: animateex
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 28 September 2018 - 06:00 #1073245
animateex's picture

เท่าที่อ่านดูกราฟที่ได้เค้าให้อัพโหลดไปให้หมอประจำตัวต่อไม่ได้ให้อ่านกันเอง อันนี้ในบ้านเราคงเป็นไปไม่ได้สำหรับคนทั่วๆ ไป

ส่วนถ้าจะใช้วิธี AI อ่านเองคิดว่าคงไม่มีทางผ่าน FDA ได้ง่ายๆแน่

By: Nozomi
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 28 September 2018 - 14:49 #1073340
Nozomi's picture

ตัวอย่างที่เกิดจากอุปกรณ์ทำพิษมาแล้ว

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=978899388983823&id=371793389694429

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 28 September 2018 - 16:08 #1073357 Reply to:1073340
TeamKiller's picture

ตัวอย่าง ที่ Apple Watch ช่วยเตือนความผิดปกติ ก็มีเหมือนกันครับ

https://www.iphonemod.net/apple-watch-detect-and-help-asd-patient.html

อันนี้สรุปหลายๆ เคสเลย

https://www.iphonemod.net/7-example-apple-watch-save-life.html

By: Nozomi
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 28 September 2018 - 20:10 #1073381 Reply to:1073357
Nozomi's picture

น่าจะเข้าใจประเด็นของผมผิดไปหน่อย ปัญหาในเคสดังกล่าวคือ ผู้บริโภคเลือกจะเชื่อ device มากกว่าแพทย์หรืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานในการ diag ในเคสที่ยกตัวอย่างมา เห็นชัดเจนว่าเป็น "Placebo effect"

อุปกรณ์ชนิดนี้ได้ FDA approve ก็จริงแต่ Approve สำหรับอะไร ถ้าสำหรับทำ Home monitoring มันก็ไม่ใช่มาตรฐานสำหรับการ diagnosis นะครับ

ผมเชื่อนะว่าบุคลากรทางการแพทย์ชอบให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ที่บ้าน และอุปกรณ์พวกนี้มีประโยชน์สำหรับงานแบบนี้ แต่ไม่ใช่เพื่อการ diagnosis มันมีข้อจำกัดของมัน

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 28 September 2018 - 21:12 #1073383 Reply to:1073381
TeamKiller's picture

ผมจะสื่อว่า มันมีประโยชน์ครับ ไม่ใช่ชี้นำด้านเดียวที่มันทำให้เกิดข้อผิดพลาด แล้วโทษว่าอุปกรณ์มันไม่ดีมันหลอกตั้งแต่แรก

ซึ่งตัวอุปกรณ์มันก็บอก alert เบื้องต้น แล้วให้เราไปเช็คกับหมออยู่แล้วละครับ หมอเขาก็มีอุปกรณ์ครบตรวจละเอียด

By: nismod
TraineeWriteriPhoneAndroid
on 29 September 2018 - 08:20 #1073438 Reply to:1073381
nismod's picture

ขยายความเรื่อง FDA ให้นิดนึงครับ FDA approve แค่ Class II คือคือต้องมีการระบุฉลากพิเศษพร้อมวางขายครับ ยังถือว่าอยู่ในกลุ่มอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป (lower-risk) อาทิ เข็มฉีดยา เก้าอี้รถเข็นไฟฟ้า ไม่ใช่ Class III ที่เปนอุปกรณ์ความเสี่ยงสูง ต้องใช้ clinical report อย่างพวกลิ้นหัวใจเทียมหรือ pacemaker ครับ