Tags:
Node Thumbnail

กลุ่มนักเคลื่อนไหว เช่น None Of Your Business (NOYB), Privacy International เริ่มออกมาเคลื่อนไหวด้วยการฟ้อง Google และ Facebook ในข้อหาประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และเป็นการเคลื่อนไหวทันทีหลังจากกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR มีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พ.ค.

กลุ่ม NOYB ก่อตั้งโดย Max Schrems นักกฎหมายชาวออสเตรเลีย เป็นที่รู้จักในฐานะนักรณรงค์ต่อต้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดย Facebook และการละเมิดสิทธิด้านข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ โดย Schrems ระบุว่า Facebook, Google บีบให้ผู้ใช้ต้องให้ความยินยอมต่อข้อตกลง ถึงจะเข้าใช้บริการได้ อย่าง Facebook ก็บล็อคผู้ใช้คนนั้นไปเลย ถ้าไม่กดตกลง ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้ก็ไม่มีทางเลือกอยู่ดี

ตามกฎแล้ว การขอความยินยอมตาม GDPR จะต้องทำเมื่อบริษัทต้องการใช้ข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ไปดำเนินการอะไรสักอย่างที่สร้างรายได้ให้บริษัท ดังนั้น แม้ผู้ใช้ไม่ได้กดตกลงในตอนเช้าใช้งานทีแรก ผู้ใช้ก็ควรจะใช้บริการแพลตฟอร์มนั้นต่อได้ Schrems บอกว่าถ้าชนะคดี มันจะช่วยหยุดปัญหาที่เขากล่าวไว้ข้างต้น ผู้ใช้จะมีทางเลือกไม่ใช่แค่กดตกลงเท่านั้น

กลุ่มเคลื่อนไหวอีกกลุ่มในอังกฤษ Privacy International ก็เริ่มตรวจสอบบริษัทที่ดำเนินการซื้อขายข้อมูลอยู่เบื้องหลัง และส่งจดหมายถึง Acxiom, Criteo และ Quantcast โดยขอให้พวกเขาชี้แจงวิธีจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

No Description
ภาพจาก Shutterstock โดย Rawpixel.com

ที่มา - Fortune

Get latest news from Blognone

Comments

By: checkmate95
ContributorAndroid
on 27 May 2018 - 12:16 #1051845
checkmate95's picture

บางทีไม่เข้าใจ นี่กะจะใช้ฟรีอย่างเดียวเลยหรอ บริษัทนะไม่ใช่องค์กรการกุศล ไม่ยอมรับกฎเค้ายังจะไปฟ้องเค้าอีก

By: phakphumi
AndroidWindows
on 27 May 2018 - 15:51 #1051865 Reply to:1051845

ตรรกะดูเพี้ยนๆนะครับ กฎที่บริษัทตราขึ้นมาไม่ได้เป็นกฎที่มีศักดิ์สูงสุดนะครับ

ทางเลือกที่บริษัทควรทำคือให้เลือกระหว่าง Pay for service หรือ Information for service

By: checkmate95
ContributorAndroid
on 27 May 2018 - 16:20 #1051868 Reply to:1051865
checkmate95's picture

ผมไม่ได้บอกว่ากฏที่บริษัทตราขึ้นมามีศักดิ์สูงสุด แต่ในข่าวก็เขียนไว้ชัดเจนนี่ครับว่าถ้าจะขอข้อมูลไปต้องได้รับการยินยอม ถ้าไม่ยินยอมก็ไม่มีสิทธิ์เอาข้อมูลไป ถ้าต้องการใช้งานเค้าก็ขอข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยน คล้ายกับการแสดงโฆษณา ในเมื่อไม่ยินยอมให้ข้อมูล บริษัทก็ไม่ให้ใช้บริการ ทางเลือกของคุณคือการใช้บริการอื่นที่เค้ายอมให้คุณใช้โดยไม่ขอข้อมูล หรือคุณสามารถยอมรับได้ แต่ถ้าคุณอยากใช้บริการของเค้าแต่ไม่ยอมกดยินยอมให้ข้อมูลแล้วไปฟ้องว่าบริษัทไม่ให้ทางเลือก ผมว่ามันไม่ใช่อ่ะครับ ถ้า Google หรือ Facebook โดนฟ้องว่าเอาเปรียบผู้ใช้บริการ ขอข้อมูลเกินความจำเป็น หรือทำผิดกฎหมายก็อีกเรื่อง

By: phakphumi
AndroidWindows
on 28 May 2018 - 08:47 #1051967 Reply to:1051868

ในการทำสัญญาคุณมีสิทธิจะเลือกนะครับว่าจะใช้ข้อมูลหรือไม่ให้ นึกถึงตอนทำบัตรเครดิต

ไอการที่ถ้าไม่ยอมรับแล้วจะไม่ให้ใช้บริการนี่มันทำให้เกิดภาวะจำยอม อาจจะเข้าข่ายสัญญาไม่เป็นธรรมด้วยซ้ำ ทางที่ดีที่สุดหากบริษัทต้องการรายได้คือให้ผู้บริโภคเลือกว่าจะจ่ายด้วยอะไร

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 28 May 2018 - 09:03 #1051974 Reply to:1051967
McKay's picture

GDPR ไม่ใช่กฎหมายห้ามเก็บข้อมูลนะครับ รวมถึงไม่ได้ห้ามให้ผู้ให้บริการปฏิเสธการให้บริการในกรณีผู้ใช้บริการไม่ยินยอมด้วย

GDPR เป็นกฏหมายที่ว่าถึงการประกาศขอบเขตของข้อมูลและวัตถุประสงค์ที่เก็บ การเก็บรักษาและแก้ไขข้อมูล การส่งต่อข้อมูลที่มี และสิทธิที่จะถูกลืมในกรณีพิเศษ


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: Catzilla
Android
on 27 May 2018 - 18:36 #1051884 Reply to:1051865

ผมว่าคุณซะอีกที่ตรรกะดูเพี้ยนๆ ทำไมบริษัทเขาถึงต้องทำทางให้เลือก
ถ้าเขาเลือกจะเป็น Information for service มันก็เป็นสิทธิของเขา
คุณก็แค่เลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ ไม่ใช่ไปบังคับให้เขาทำทางให้คุณเลือกโดยที่เขาไม่ได้ต้องการ

By: phakphumi
AndroidWindows
on 28 May 2018 - 08:43 #1051965 Reply to:1051884

คืออย่างงี้นะครับ
สิทธิในการเลือกของเขาหมดไปตั้งแต่ GDPR มีผล และการฟ้องสำเร็จ

การที่คุณพูดว่าเขามีสิทธิที่จะเก็บข้อมูลนี่มันโคตรจะไม่ถูกเลยครับ

By: picpost
iPhoneWindows
on 27 May 2018 - 21:08 #1051910 Reply to:1051865
picpost's picture

เห็นด้วยมากๆ ควรทำไว้ 2 ทางเลือก Pay for service หรือ Information for service

By: lee
ContributorAndroidWindows
on 27 May 2018 - 21:59 #1051917 Reply to:1051845
lee's picture

"ไม่ยอมรับกฎเค้ายังจะไปฟ้องเค้าอีก" ... สั้นๆ ที่เขาฟ้องเพราะมันผิดกฏหมาย

By: sdc on 27 May 2018 - 12:28 #1051846

อย่างข้อความนี้ "แม้ผู้ใช้ไม่ได้กดตกลงในตอนเช้าใช้งานทีแรก ผู้ใช้ก็ควรจะใช้บริการแพลตฟอร์มนั้นต่อได้ Schrems บอกว่าถ้าชนะคดี มันจะช่วยหยุดปัญหาที่เขากล่าวไว้ข้างต้น ผู้ใช้จะมีทางเลือกไม่ใช่แค่กดตกลงเท่านั้น"

ถ้ามันมีปัญหาขึ้นมา คุณสามารถปฏิเสธได้สินะเพราะไม่ยอมรับข้อตกลง

อันที่จริงข้อมูลส่วนตัวอย่างที่ให้ใครรู้ไม่ได้ เช่น ที่อยู่ รหัสบัตรปชช./passport credit/debit ก็ควรจะไม่บอก ซึ่งคิดว่าบริษัทพวกนี้น่าจะเป็นแบบนั้น

By: Port80 on 27 May 2018 - 20:47 #1051906
Port80's picture

" ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้ก็ไม่มีทางเลือกอยู่ดี " พูดมาได้ ผู้ใช้มีทางเลือกคือไม่ต้องใช้ไง ในเมื่อไม่สามารถยอมรับข้อตกลงของเค้าได้

By: Zoname on 28 May 2018 - 14:39 #1052063

คือ
ถ้าคุณจะใช้บริการ
คุณก็ต้องยอมให้เราเอาภาพเปลือยของคุณไปเผยแพร่ได้
นั่นแหละประเด็น

การร้องขอภาพเปลือยและจะเอาไปเผยแพร่คือส่วนที่ทำให้บริษัทโดนฟ้อง และเป็นสิ่งที่สมควรจะทำด้วย
มาอ้างว่าถ้าจะใช้บริการก็ต้องยอมมันไม่ได้

By: checkmate95
ContributorAndroid
on 28 May 2018 - 15:13 #1052068 Reply to:1052063
checkmate95's picture

มีส่วนไหนของ Term ที่เขียนว่าขออนุญาติภาพเปลือยครับ ?