Tags:
Node Thumbnail

นักธุรกิจหนุ่มไอทีไทยคนหนึ่งซึ่งดูแลและบริหารคนไอทีนับร้อยในไทยและได้ไปเย ี่ยมชมที่เวียดนามีความคิดเห็นว่า ความรู้และความสามารถของคนไอทีเวียดนามกับคนไอทีไทยน่าจะพอ ๆ กัน แต่คนเวียดนามสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากกว่าคนไอที ไทยประมาณ 4-5 เท่า เหตุผลเป็นเพราะ

1. วิศวกรไทยทำงานจริง ๆ ประมาณ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่วิศวกรเวียดนามทำงานจริง ๆ ประมาณ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2. วิศวกรไทยไม่ค่อยมีระเบียบวินัยในตนเอง ไม่ชอบงานหนักและลำบาก ในขณะที่ชอบเงินเยอะ ๆ ฉะนั้นจึงเปลี่ยนงานบ่อย แทนที่จะมองว่าปัญหาต่าง ๆ เป็นสิ่งน่าท้าทายที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่กลับมองว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ตนเองสบายน้อยลง

3. คนไทยมักส่งงานไม่ตรงต่อเวลา เพราะเราชอบประนีประนอม มักจะพูดว่าไม่เป็นไรเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มีระเบียบวินัยเท่าไหร่ก็อยู่ได้ในสังคมไทย แต่จะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นได้

ดังนั้นเป็นสิ่งส ำคัญที่พ่อแม่และครูบาอาจารย์น่าจะสอนเด็ก ๆ และเยาวชนได้แล้วว่า ชีวิตของเราจะเจอปัญหาเสมอ แต่เราต้องสามารถที่จะแก้ปัญหานั้น และมีความมุมานะจนกว่าจะทำงานและแก้ปัญหาได้สำเร็จ และแทนที่จะเข้าไปในบริษัทแล้วถามว่า เขาจะจ่ายเงินให้เราเท่าไหร่ ควรจะถามว่า เราจะทำประโยชน์อะไรให้เขาได้บ้าง เราจะเพิ่มคุณค่าให้แก่งานขององค์กรได้อย่างไร

ในขณะที่คุณ Thomas Friedman ผู้ซึ่งแต่งหนังสือ "The World is Flat", ได้กล่าวไว้ว่า "สมัยที่เขาเป็นเด็กและเจริญเติบโตนั้น พ่อแม่เขาจะพูดว่า กินข้าวให้หมด คนในเมืองจีนกำลังอดอยากอยู่นะ" ตอนนี้เขากลับต้องพูดกับลูกเขาว่า "ทำการบ้านให้เสร็จ ไม่งั้นคนจีนกับคนอินเดียจะแย่งงานคุณไปนะ"

คุณ Kriengsak Niratpattanasai ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความในภาคภาษาอังกฤษ "The Vietnam challenge: Bye-bye sabai-sabai"

จะกล่าวกับลูกของเขาว่า "ถ้าคุณรักความสบายและไม่ชอบเรียนหนัก คนเวียดนามจะแย่งงานจากคุณ แล้วคุณจะไม่มีวันสบายได้อีกเลย"

สรุปและแปลจาก

ThaiCoach

Get latest news from Blognone

Comments

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 5 January 2007 - 12:59 #15285
lew's picture

ข่าวนี้ไม่ได้ขึ้นหน้าแรกนะครับ เพราะการที่แหล่งข่าวระบุเพียง นักธุรกิจหนุ่มไอทีไทยคนหนึ่ง นั้นขาดข้อเท็จจริงพอที่จะเป็นข่าวที่ขึ้นหน้าแรก และเนื้อข่าวเป็นเพียงความเห็นของคนเพียงคนเดียว

กลับมาเรื่องในเนื้อข่าว ผมว่านี่เป็นมุมมองจากนายจ้างที่ไม่มีอะไรน่าแปลกใจ เพราะนายจ้างทุกคนล้วนแต่อยากให้ลูกจ้างทำงานเยอะๆ เอาสัปดาห์ละร้อยชั่วโมงได้ยิ่งดี แน่นอนว่าวันหนึ่งถ้าผมไปลงทุนในธุรกิจอะไร ผมก็อยากให้ลูกจ้างของผมทุ่มเทแบบถวายชีวิตให้บริษัทเหมือนกัน

เรื่องที่คนเปลี่ยนงานนั้นสมการของมันง่ายดายมากๆ ครับ คือคนมันน้อยกว่างาน พอคนน้อยกว่าแล้วคนเหล่านั้นก็มีอำนาจต่อรองสูง แม้จะมีนายจ้างออกมาโวยวายถึงความไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ของแรงงานไอทีในไทย แต่ฐานเงินเดือนของคนเหล่านี้ก็ปรับขึ้นกับปีต่อปี และการช่วงชิงเด็กจบใหม่ก็ยังเป็นสงครามที่ไม่รู้จบ

เรื่องที่น่าเศร้าคือการที่นักธุรกิจไทยหลายคนพยายาม "พูด" เพื่อขอให้พนักงานลดการย้ายงานเพื่อที่พวกเขาจะไม่ต้องปรับฐานเงินเดือนไปตามกลไกตลาด

ข้อเท็จจริงคือการพูด ไม่ได้ทำให้แรงงานในตลาดมันเยอะขึ้น และความขาดแคลนลดลงแต่อย่างใด ในเมื่อในตลาดยังมีตำแหน่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นในรูปของตัวเงิน หรือจะเป็นโอกาสต่างๆ ผมว่ามันก็แฟร์ดีถ้าแรงงานคนหนึ่งจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตของเขา ในรูปแบบเดียวกัน ถ้าบริษัทมีงานสองงานที่ให้ผลตอบแทนต่างกัน บริษัทก็ต้องเลือกรับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แล้วทำไมเมื่อแรงงานทำเช่นนั้นบ้างจึงกลายเป็นเรื่องที่โดนต่อว่าไป

ผมว่าการแก้ปัญหาที่ดีกว่าคือการพยายามผลักดันให้ภาคการศึกษามีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินให้กับมหาวิทยาลัย (สร้างตึก จ้างอาจารย์พิเศษ ฯลฯ) หรือการให้ทุนการศึกษา และอีกสารพัดทีี่ทำได้เพื่อให้แรงงานในตลาดมันมากขึ้น ถึงตอนนั้นเองฝ่ายนายจ้างเองจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้นเองล่ะครับ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: krunapon on 5 January 2007 - 14:06 #15286

ขอบคุณค่ะคุณลิ่วที่มาให้ข้อคิดเห็น เป็นข้อคิดเห็นที่น่าสนใจและเป็นจริงจากอีกแง่มุมหนึ่ง และเห็นด้วยว่าภาคการศึกษาจะต้องมีการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าภาคการศึกษาจะต้องเร่งเสริมทัศนคติของนักศึกษาไทย ในการมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้สำเร็จ และสนุกกับการเรียนรู้ตลอดชีิวิต รวมทั้งคิดที่จะทำอะไรให้กับส่วนรวม แทนที่คิดว่าตัวเองจะได้อะไรจากผู้อื่นเท่านั้น

By: pphetra
Writer
on 5 January 2007 - 22:53 #15302

ผมชอบข่าวแบบนี้นะ เสียดายไม่ได้ขึ้นหน้า 1

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 6 January 2007 - 00:46 #15308
lew's picture

pphetra - งั้นผมเปลี่ยนใจเอาขึ้นแล้วกันครับ (โลเลจริง..) ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 6 January 2007 - 01:28 #15309
Kerberos's picture

ผมว่าวัดประสิทธิภาพคนจากเวลาที่้ทำงานมันก็ไม่ถูกต้องเท่าไรนะครับ เพราะถ้าคน 2 คนทำงานอย่างเดียวกัน คนแรกทำงาน 10 ชั่วโมง กับอีกคนทำงานใช้เวลาแค่ 8 ชั่งโมง ถ้าตัดสินโดยใช้เกณฑ์จากแหล่งข่าว แสดงว่าคนแรกทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเหรอ แต่อย่างว่าล่ะนายจ้างก็ต้องชอบพวกลูกจ้างที่ทำงานให้มากๆ อยู่แล้ว

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 6 January 2007 - 03:04 #15313

นายจ้างดูแต่ตัวเลขชั่วโมงทำงาน? (ก็คงจะจริง หึหึ)

แต่ถ้ามองอีกมุมหล่ะ.. คนไทยเก่งกว่า เลยทำงานเสร็จได้ในเวลาที่น้อยกว่า? :D

---------- iPAtS


iPAtS

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 6 January 2007 - 06:37 #15317
bow_der_kleine's picture

ผมชอบข่าวนี้ครับ มันเป็นเรื่องจริงที่เราควรยอมรับกันเสียที

ในเรื่องประเด็นตลาดแรงงาน และการเปลี่ยนงานบ่อย ผมคงให้ความเห็นไม่ได้ เพราะผมไม่เคยหางานเอง และคงไม่มีโอกาสหาอีก

แต่ประเด็นลักษณะนิสัยของคนไทยนี่โดนมาก ๆ ครับ หากมีคนถามว่าบ้านเรามีคนเก่งตั้งเยอะตั้งแยะ ทำไมไม่เจริญเสียที ผมว่าข่าวนี้ให้คำตอบได้บางส่วนครับ

ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวผมแล้วกันครับ ในมหาวิทยาลัยที่ผมเรียน มีคนไทยประมาณยี่สิบคนเรียนอยู่ที่นี่ ตามความเข้าใจของผม ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจที่ถูกคือ การที่ผมและคนอื่น ๆ ได้มาเรียนในต่างประเทศก็เพื่อนำความรู้กลับไปใช้ที่บ้านเรา ดังนั้นในการเลือกทำวิทยานิพนธ์ เลือกที่ฝึกงาน หรือแม้แต่การเลือกรายวิชาที่เรียน ผมจึงเลือกอะไรที่ผมคิดว่าเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ ส่วนความยากง่าย หรือค่าตอบแทนค่อยว่ากัน

แต่คนไทยร้อยละเก้าสิบ ที่เรียนมหาลัยเดียวกับผม กลับคิดว่า เรียนอะไรก็ได้ ทำวิทยานิพนธ์เรื่องไหนก็ได้ ฝึกงานที่ไหนก็ได้ ที่ง่าย ได้เกรดเยอะ ผลตอบแทนคุ้มค่า (ยิ่งผลตอบแทนเกินค่ายิ่งดี)

ความคิดแบบนี้ผมว่าไม่ต่างจากนักร้องที่อยากร้องเพลงเพราะอยากดัง ไม่ใช่ร้องเพลงเพราะใจรัก เขาอาจจะดังก็ได้ แต่ที่แน่ ๆ เพลงที่ออกมาไม่มีคุณภาพหรอก สักวันนึงก็มีคนจับได้เองแหละ

จริง ๆ หากเอาลักษณะนิสัย รักสบาย แต่ขอผลตอบแทนเกินทุน ของคนไทยไปอธิบายสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลาย ๆ อย่างทั้งในและนอกวงการไอที ก็คงอธิบายได้ดีทีเดียว

ทำไมคนไทยใช้ซอพท์แวร์เถื่อน : ง่าย ถูก และได้ซอพท์แวร์เกินคุ้ม ทำไมคนไทยใช้ไออี : ง่ายดี เขามีมาให้แล้ว ทำไมคนไทยไม่พัฒนาซอพท์แวร์ใช้เอง (หรือต่อยอดคนอื่นยังมีน้อยเลย) : ยากไป ไม่รู้เมื่อไรจะให้ผล ทำไมโอเพนซอร์สบ้านเราไม่เกิด : ยากไป ซอพท์แวร์เถื่อนก็มี อย่าหาว่ามองแบบ geek เลยครับ เพราะ geek ส่วนมากก็คิดอย่างนี้ ทำไมคนไทย (เคย) เลือกทักษิณ : นอกเรื่องไปละ

ผมว่าหากเราเอาเรื่องนี้ไปพิจรณา แล้วถามตัวเองว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือตัวเราเองครับ

คำชมมักไม่มีประโยชน์หรอกครับ แม้มันจะน่าฟังก็ตาม คำตินี่สิครับ มันเป็นแรงผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า แม้ฟังแล้วจะรู้สึกจุกไปบ้าง

BioLawCom.De

By: oam
In Love
on 6 January 2007 - 07:48 #15321

เอาตามที่ผมเห็นมาจากการทำงานสามปี ผมเห็นว่าแรงงานที่ไม่มีฝีมือ และไม่มีวินัย จะถูกลบออกจากระบบไปซะเป็นส่วนใหญ่นะครับ

ถ้าบริษัทไหน หรือผู้บริหารไอทีคนไหน ยอมเสียเงินให้กับแรงงานแบบนี้ ผมว่าได้เวลาทบทวนอะไรบางอย่างแล้วล่ะครับ

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 6 January 2007 - 08:25 #15322

"คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก" ไม่มีประสบการณ์ตรงเพราะยังไม่เคยย้ายงาน แต่เพื่อนเคยบ่นให้ฟัง

1. ทำงานที่เก่าก็ไม่ได้หนักอะไร แต่รู้สึกน้อยใจที่รุ่นน้องเข้ามาทีหลังได้เลื่อนตำแหน่งเร็วกว่าเพราะสนิทกับหัวหน้า ถึงเวลาก็ได้เสนอชื่อรับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยภายในปีเดียว 2. ที่ทำงานใหม่ขึ้นมานิดนึง สัญญาว่าจะส่งไปญี่ปุ่นถ้าสามารถเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ หลังจากเรียนผ่านหมด ทุกอย่างก็เงียบสนิท

สรุปว่าหาที่ทำงานใหม่เพื่อความสบายใจ ผมไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนงานบ่อยๆ แต่ถ้าคิดว่าจะไปเจอสิ่งที่ดีกว่าก็ดีใจด้วย ช่วงนี้ยังเป็นช่วงไม่เด็กไม่แก่ อยากทำอะไรก็ทำ (เพื่อตัวเอง) พออายุ 30 ปีขึ้นไปก็จะต้องหาที่สิงสถิตที่ค่อนข้างถาวรมากขึ้น (เพื่อครอบครัว) หรือไม่ก็เปิดบริษัทส่วนตัวซะเลย

By: nontster
iPhoneAndroidUbuntu
on 6 January 2007 - 10:13 #15329
nontster's picture

ชอบครับเรื่องนี้มันโดนจริงๆ

เรื่องชั่วโมงการทำงานจากเรื่องนี้ถ้าดูเผินๆแล้ว คนที่ใช้เวลาน้อยกว่าน่าจะดีกว่า ซึ่งดูเหมือนว่าคนไทยอาจจะดีกว่า แต่ผมคิดว่าในเรื่องน่าจะพยายามสื่อว่าคนเวียดนาม มีความมุ่งมั่นกับงานมากกว่าคนไทย

อย่างไรก็ตาม คนไทย และ คนเวียดนามไม่ได้เป็นแบบในเรื่องนั้นหมดทุกคน แต่ถ้ามันเป็นกับคนส่วนใหญ่มันก็น่ากลัวนะ

By: rebotko on 6 January 2007 - 10:35 #15330

เรื่องประสิทธิภาพนี่ ไม่ขอออกความเห็นเพราะไม่ได้ลงไปดูด้วยตัวเอง แต่เรื่องระเบียบวินัยกับความพยายามนี่ โดนมาก เห็นด้วยกับคุณ bow_der_kleine เพราะแค่ในมหาวิทยาลัย ก็เห็นชัดๆอยู่แล้ว ทำไมลงวิชาเลือกนี้ 80-90% ตอบว่าเพราะปล่อยเกรด ได้ A ง่าย แต่ไม่ยักมีคนบอกว่าเพราะอยากเรียน เพราะอยากรู้กันซักเท่าไหร่

เรื่องวินัยก็ชัดเจน แค่เรื่องเวลาก็ผัดผ่อนกันไปเรื่อย ไหนจะคุณภาพงานที่ส่ง ที่บางครั้งแทบไม่มี ดังนั้นผมว่าถ้าต่อไปคนไทยจะหางานลำบาก น่าจะเป็นที่เรื่อง วินัยมากกว่าความสามารถซะอีก

ส่วนเรื่องย้ายงานผมว่าไม่เกี่ยว เพราะโดยมากก็ย้ายเพราะคับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก หรือแม้แต่จะย้ายเพราะเรื่องค่าตอบแทนก็ไม่ผิด เพราะคนเราอยู่ได้ด้วยเงิน บางคน ต้องส่งน้องเรียน ไหนจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ก็เพื่อความมั่นคงของครอบครัว ดังนั้น เรื่องรายได้คงต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่สุด แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับการทำงานเพื่อเงิน อย่างเดียวก็ตาม

By: deksap on 6 January 2007 - 14:04 #15339

จริงๆแล้วเหตุผลที่ comment ข้างบนพูดมาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานว่าไม่ได้วัดกันด้วย ชั่วโมงเวลานั้นก็ถูกส่วนหนึ่งแต่ดูเหมือนว่ากระแสโลกตอนนี้เทไปให้เวียดนามจริงๆ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนคงต้องหันหน้ามาคิดร่วมกันว่าจะช่วยกันยังไงดี

จริงๆแล้วไม่ใช่แค่คุณนักธุรกิจหนุ่มไอทีไทยคนหนึ่งเท่านั้นที่ให้คะแนนเวียดนามมากกว่าไทย ไม่นานมานี้ business week เพิ่งจัดอันดับฐาน outsourcing ที่สำคัญ นอกเหนือจาก india ปรากฏว่าบางกอกไม่ติดอันดับ นอกจากเวียดนามแล้วคู่แข่งสำคัญ ยังมีพวกอเมริกาใต้และยุโรปตะวันออก ที่ได้ภาษาและกำลังไต่อันดับกันมาติดๆ

reference link Best New Outsourcing Hubs

Vietnam's Growing Role in Outsourcing

ความเห็นส่วนตัว :: ตอนนี้แนวทางพัฒนาไอทีในไทยเองน่าจะมีการพัฒนาแนวขนานสองลักษณะ แบบที่รองรับการเติบโตของรูปแบบรับงาน outsourcing จากต่างชาติเนื่องจากการพัฒนาในลักษณะนี้ค่อนข้าง มีผลต่อการขยายฐานธุรกิจบริการและการลงทุนหลักอื่นๆที่ไม่ใช่ IT ด้วย ( HR-Payroll management, Logistic Control, Call Centers) หากคนไทยสามารถมีความสามารถทางภาษาและ computer/IT พื้นฐานจะสามารถ ทำให้งานไหลเข้าประเทศทำให้แรงงานที่จบปวช. ปวส. มีงานทำที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้มากมาย (มันไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องทำให้คนไทย geek กันถ้วนหน้า แต่สิ่งสำคัญคือทำให้มีคน ที่ geek และสื่อสารได้มีเพิ่มขึ้นหรือทำให้คนที่สื่อสารได้นั้นมีดีกรีความ geek เพิ่มขึ้นอีกหน่อย)

อีกแนวทางหนึ่งคือการพัฒนาเชิงลึกเช่นพวกงานพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานภายในประเทศ และ opensource software เพื่อให้เกิดการใช้ software ที่ยั่งยืนไม่ต้องง้อพวก บริษัท software ยักษ์ใหญ่ต่างชาิติ ประเด็นนี้เองแม้แต่ india ที่มีการรับงานจาก อเมริกาก็ยังไม่มองข้ามและมีการพัฒนาภายในประเทศ

By: Kindaichi on 6 January 2007 - 16:38 #15346

เจ็ดปีแล้ว ผมยังไม่เคยเปลี่ยนงานเลย T T ----------------------------- http://www.theryo.com

By: wichanan on 6 January 2007 - 19:30 #15354

จะสี่ปีแล้วยังไม่ได้เปลี่ยนงานเลย

บางคน เรื่องจิตใจ สำคัญหว่าเงินนะครับ

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 6 January 2007 - 21:41 #15360

นั่นสิครับ ปลูกฝังกันแต่เด็ก เรื่องในมหาวิทยาลัยก็ใช่เลย มีแต่คนอยากไปลงวิชาปล่อยเกรด (แต่ผมอยากลงวิชายากๆดึงเกรดตัวเอง อิอิ)

By: haluandaki on 6 January 2007 - 22:37 #15365

ทุกวันนี้ ต้นทุนของไทยสูงมาก ทั้งการจัดซื้อhardware หรือ software ที่ถูกต้องตามระเบียบ ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนการอบรม มันแพงมาก เราก็ปล่อยให้อะไรแพงต่อไป ต้นทุนในการได้ คนIT ดีๆ เก่งๆ ก็จะสูงมากจน จบมาก็จะต้องการถอนทุนคืน แบบทำงานแบบกั๊กๆ และหางานที่เงินเดือน สูงตลอดเวลา เมื่อโตขึ้น เป็นระดับผู้บริหารก็จะเลือก outsource เพราะผลประโยชน์ทับซ้อนมันมากกว่า การจ้างแรงงานคน แล้วยังไม่เหนื่อยที่จะต้องสอนด้วย เรื่องพวกนี้ทุกประเทศคงมี แต่เรามากกว่าประเทศอื่นแน่

By: ม่อน on 7 January 2007 - 20:31 #15397

ผมว่าไม่ต้องคน ไอทีหรอก เอาง่ายๆ ลองจ้าง คนสักร้อยคน เพื่อสัมภาษณ์ คนร้อยคนในอนุสาวรีย์ ในระหว่าง เจ็ดโมงเช้าถึง สามทุ่ม อยากรู้ว่าจะมีคนสักกี่คนที่คนที่ทำตามคำสั่งแป๊ะๆ หรือ จะมีสักกี่คนที่เก็บเสร็จก่อนสามทุ่ม หรือ จะมีสักกี่คนที่มั่วข้อมูล หรือ จะมีสักกี่คนที่มานั่งเฉลี่ย หาจำนวนคนสัมภาษณ์ ต่อชั่วโมง

By: plynoi
WriterAndroidUbuntu
on 8 January 2007 - 00:48 #15404

ในมุมมองของนายจ้าง ลูกจ้างที่ดีคือลูกจ้างที่ไม่คิดจะเจริญแข่งกับนายจ้าง

By: พี่ไท้ on 8 January 2007 - 15:32 #15422

ความจริงเป็นสิ่งที่เจ็บปวด แต่เราก็ต้องรับมัน ความจริงเพียงบางส่วน ย่อมสะท้อนความจริงในทุก ๆ ส่วนได้

----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.